มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

ระบบส่งเสริมการเกษตร


ระบบส่งเสริมการเกษตรเหมือนแผนที่เดินทางที่มีเกษตรอำเภอเป็นผู้ขับรถยนต์เข้าสู่จุดหมายปลายทาง

        เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ารับการสัมมนา การสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร  ที่กรมส่งเสริมการเกษตรจัดขึ้น โดยสรุปเนื้อหาสาระของระบบส่งเสริมการเกษตรใหม่ ก็คือการนำของเก่ามาปัดฝุ่น แต่ให้อิสระในการบริหารจัดการแก่เกษตรอำเภอตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

  • ใช้กระบวนการบริหารจัดการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกหลักในการปฏิบัติงานในพื้นที่
  • ใช้ระบบ IT , การบริหาร/พัฒนาบุคลากร, K.M., แผนงาน/งบประมาณ, การติดตาม, การประชุม M.M., D.M., D.W. ฯลฯ เป็นระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน

        นั่นคือแนวทางปฏิบัติ ที่ผู้เขียนได้รับฟังมาในวันนั้น ซึ่งจะเน้นที่ระบบมากกว่าผู้ปฏิบัติ แต่ในมุมมองของผู้เขียนคิดว่า กรมฯ ควรให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มาก ทั้งในด้านขวัญ กำลังใจ ความก้าวหน้า ตลอดจนการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำงาน ผู้เขียนจะเปรียบแนวทางนี้เหมือนแผนที่เดินทางสู่เส้นชัย (เส้นชัยในที่นี่คือเกษตรกรได้รับการพัฒนา มีศักยภาพในการผลิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี) ที่กรมส่งมาให้ 

        ที่นี้มาถึงผู้ปฏิบัติบ้าง

  • เกษตรอำเภอ เป็นพระเอก เพราะต้องเป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งกรมฯ ให้อิสระในการบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ งานนี้พระเอกของเราต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่จะต้องนำพาทีมงานดำเนินการไปสู่จุดหมายปลายทาง  ผู้เขียนขอเปรียบเกษตรอำเภอเป็นคนขับรถยนต์ที่จะเดินทางไปสู้เส้นชัย
  • เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร คือผู้ที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานไปสู่เส้นชัย ผู้เขียนขอเปรียบเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นรถยนต์ของเกษตรอำเภอ

        ที่นี้มาดูกันว่าพระเอกของเราจะสามารถขับรถยนต์ไปสู่เส้นชัยได้อย่างไร

  • เริ่มจากแผนที่เดินทาง ถ้าลายแทงดี ดูง่ายไม่สลับซับซ้อน หรือมีเส้นทางลัด/รายละเอียดแนะนำการเดินทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับได้ ก็จะช่วยให้ผู้ขับไม่ยากลำบากในการเดินทาง
  • แล้วคนขับล่ะ สายตากว้างไกลหรือไม่ อ่านลายแทงออกหรือปล่าว มีการเช็คสภาพรถยนต์ดีหรือยัง ตรวจสอบเส้นทางและสภาพแวดล้อมการเดินทางหรือไม่ และที่สำคัญคุณเป็นคนขับรถประเภทไหน พร้อมลุยหรือยัง
  • และก็มาถึงรถยนต์ในการเดินทาง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมของคุณเป็นเป็นรถยนต์ประเภทใด อายุการใช้งานนานเท่าไหร่แล้ว มีการบำรุงรักษาตัวถังและเครื่องยนต์อย่างสมำเสมอหรือไม่ คุณใช้งานหนักเกินไปหรือเปล่า หรือไม่ค่อยได้นำมาใช้งาน พอต้องการใช้ทีก็สตาร์ทไม่ติด อย่างนี้เป็นต้น

        พอมาถึงตรงนี้แล้วลองนึกย้อนดูว่าการเดินทางสู้เส้นชัยหรือการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น สิ่งสำคัญที่จะนำสู่เป้าหมายได้ดี ต้องคำนึงถึงทั้ง 3 ส่วนข้างต้น โดยเฉพาะคนขับกับรถยนต์มีสมรรถนะพร้อมที่จะลุยแค่ไหน

หมายเลขบันทึก: 179743เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นของเก่าทั้งแท่ง เอามาปัดฝุ่น
  • คนเก่าคนแก่....กับเด็กอ่อนๆ(น้องบรรจุใหม่)
  • ยังไม่รู้จะไปกันได้หรือเปล่า
  • น่าจะชัดเจนมากกว่านี้
  • จังหวัดไม่ต้องคิดวางแผนอีก...แฮะๆๆๆ

สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยมชมเก็บเกี่ยวเรื่องดีๆ

มีหลายเรื่องดี ๆ ที่กรมส่งเสริมการเกษตรทำมา แต่เมื่อสรุปแล้วจะกลายเป็นการจับวางคือ เริ่ม ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ผู้อื่นเห็นดี คว้าไปสานต่อ ดังไปเลย ทำเก่าให้ดี คิดใหม่เพื่อต่อยอดของเก่าให้ดียิ่งขึ้น ครอบคลุม ช่วยเกษตรกรอย่างแท้จริง

แต่ถ้าถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่ไม่สานต่อ ไม่มีงบประมาณทำไม่ได้หรือ ขอตอบแทนเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในพื้นที่เลยครับว่า อยากจะสานต่อ แต่เวลาที่ทำงานหายไปกับการเริ่มงานใหม่ทั้งของกรมส่งเสริมการเกษตร มหาดไทย และงานของกรมอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้อำนาจสั่งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ นายอำเภอ เพราะเราไม่มี พ.ร.บ ในหน้าที่ที่ชัดเจนของเรา

ขออย่าให้คนในพื้นที่เป็นเพียงรถรับจ้างที่ส่งผู้อื่นขึ้นฝังไปได้ดีแล้วถูกทิ้งเมื่อน้ำมันหมดขอเราไปด้วยกัน พร้อมกัน ด้วยความสุข ทุกๆๆ ฝ่ายครับผม

ขอขอบพระคุณ และขออภัยถ้ากล่าวแรงไป แต่อาจเพราะสมองผมคิดไม่ทันเขาก็เป็นไปได้ แต่เมื่อประสบการณ์ผมมีมาก และศึกษามากขึ้นคงคิดทัน เฮ้อ เศร้าใจ กับชีวิต

สู้ สู้ ต่อไปครับ พี่ๆ ที่ทำเพื่อเกษตรกร

ขอบคุณครับ และขออภัยที่ยืมบล๊อกมาระบายไป บ่นไป ครับผม

  • ขอบคุณ คุณประจักษ์ ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ การ์ตูนน่ารักดีค่ะ
  • สวัสดี พี่เกษตรยะลา และ chudchainat คิดว่าพวกเราที่อยู่ในพื้นที่ ย่อมรู้ดีว่าผู้ปฏิบัติรู้สึกกล้ำกลืนกันเพียงไร กับการคิดเอาของเก่ามาเริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง เริ่มใหม่ ดำเนินการ ปล่อยทิ้ง ๆๆๆๆๆๆ  แต่เชื่อว่าพี่น้องชาวส่งเสริมอีกมาก ที่ยังมีพลังขับเคลื่อน ถึงแม้จะมีอุปสรรคขวากหนามมากมาย เพราะเมื่อไรที่เราช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นั่นล่ะ เราจะรู้สึกสุขใจแบบสุดๆ ไปเลย
  • ขอบคุณค่ะที่เข้ามา ลปรร.

สวัสดีครับ พี่น้องนักส่งเสริม

ผมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เคยอยู่ทั้งภูมิภาคและส่วนกลาง และในวันสัมมนา ก็ร่วมรับฟังการชี้แจงอยู่ด้วยก็เข้าใจความรู้สึกของท่านทั้งหลายที่ได้แสดงความคิดเห็นมาตามข้างต้น และอยากจะบอกว่าองค์กรหลายๆองค์กรก็เคยทำอะไรผิดพลาดอยู่บ่อยๆ ผมก็เข้าใจว่ากรมฯเราก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่การที่ผิดพลาดแล้วใช้บทเรียนราคาแพงมาแก้ไข ก็ยังดีกว่าที่จะไม่คิดทำอะไรเลย ในเมื่อเขาเปิดโอกาสให้เรามีอิสระในการคิดพัฒนา ไม่ได้บอกว่าต้องทำ 1 2 3 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรก็ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน ถ้าเราอยากเห็นสุดท้ายที่เกษตรกรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น คงไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง เริ่มจากตัวเรากันเถิดครับ ขวัญกำลังใจ มันอยู่ที่ใจของเราจริงๆ คงหวังคนอื่นมาสร้างให้คงไม่ไหว บางทีการทำงานร่วมกันเป็นทีมต้องช่วยกัน ให้กำลังใจกันให้มากๆ ท่านลองนึกภาพในปัจจุบันซิครับ ถึงแม้นสภาพเศรษฐกิจจะยำแย่อย่างไร เราก็ยังได้รับเงินเดือนอยู่ทุกเดือน ในขณะที่บางคนตกงาน มีรายได้ไม่พอยาไส้ ท่านจะรู้สึกว่ามีคนอีกมากมายเขาด้อยโอกาสกว่าเรา ท่านจะได้มีกำลังใจที่จะทำต่อ และอยากบอกว่าในอีกฐานะหนึ่งที่อยู่ในวงของการจัดการความรู้มาพอสมควร ก็อยากบอกว่าขอให้ท่านได้นึกถึงคุณธรรม 8 ประการของการจัดการความรู้ ฟังแล้วก็ขอให้คิดไตร่ตรองให้นานๆดีๆ ในความที่เอาของเก่ามาปัดฝุ่น มันก็มีแนวคิดหลักการที่ดีๆ ระบบส่งเสริมการเกษตรใหม่ ได้แฝง แนวคิด/หลักการการจัดการความรู้ ไว้อยู่มาก ไม่ว่าจะในเรื่องการพัฒนาคน พัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคน

ก็มีความคิดเห็นที่จะแลกเปลี่ยนกันแค่นี้ก่อน แต่ก็ให้กำลังใจทุกท่านและตัวเองในการที่จะร่วมกันทำงานโดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่เกษตรกร

สวัสดีครับ แวะเข้ามาดู ได้ข้อคิดและการเปรียบเปรยที่เข้าใจง่าย ซึ่งแต่ละจังหวัดก็พยายามจะขับเคลื่อนระบบส่งเสริมฯให้ดี แต่ยังไม่มั่นใจว่าแนวทางใดจะดีที่สุด คงต้องอาศัย เพื่อนพ้องน้องพี่ชาวส่งเสริม ช่วยกัน ขอบคณตรับ

จริงๆ แล้วก็มั่วเข้ามาแต่เมื่อได้อ่านแล้วก็ค่อนข้างเห็นด้วยก็เลยอยากจะระบายอะไรสักหน่อยแม้ว่ามันจะผ่านมาตั้งหลายเดือนแล้วก็เหอะ

ตอนบรรจุครั้งแรกได้อยู่ตำบล ---ที่บรรยายมา...ตรงสุดๆ---- ทุกความคิดเห็น งานจะออกได้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่เกษตรอำเภอส่ง+เสริมหรือไม่ ร่วมกับวงเวียนวัฎจักรของงานใหม่ๆ (ที่ไม่ใช้ของเราหรืองานฝากแต่ต้องทำนั่นเอง)

ตอนนี้ย้ายสับเปลี่ยนมาอยู่ศูนย์ฯ ก็อีกหนึ่งบรรยากาศ --เหมือนว่าจะงานหน้าเดียวแต่บุคลากร(ที่สามารถทำงานได้)น้อยเหลือเกิน ก็เลยได้ฝึกประสบการณ์เพียบเลยทำไปก่อนดีหรือไม่ค่อยว่ากัน

ดังนั้นผมคิดว่าถ้าสามารถสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานได้ ที่เห็นแล้วเห็นจะเป็นระบบแท่งที่ช่วยให้คนเงินเดือนตันได้ขยับเพิ่มขึ้นอีกหน่อยแต่เท่าที่เห็นปฏิกริยาตอบสนองต่องานยังคงไม่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน

"แล้วจะทำอย่างไรให้คน(อยาก)ทำงาน" เพราะถ้าเป็นเอกชนดีหน่อยก็คงถูกจ้างออกไปแล้วแหละ หรือไม่ก็โดนบีบออกก็งานที่ออกกับเงินเดือนที่ได้มันไม่ค่อยสัมพันธ์กันเอาซะเลยซิ -พับผ่า-

การเกษตรไทยจะก้าวหน้าได้ทุกคนต้องช่วยกันผลักดันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท