จุดอ่อนของงานวิจัยและพัฒนา(1)


การเรียนรู้จุดอ่อนของงานวิจัย จะช่วยให้สามารถออกแบบวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ

        29 เม.ย. 2551  ช่วงเช้า ไปเป็นวิทยากรวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนของครูที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตร “การวิจัยในชั้นเรียน”  จัดโดยสถาบันการศึกษาทางไกล และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จุดอ่อนที่พบในงานวิจัยบ่อยมาก คือ

1) การกำหนดประชากรในการวิจัยของครู   เช่น ครูคนหนึ่ง มุ่งพัฒนาชุด E-Learning สำหรับนักเรียนชั้น ม.5  ในการนี้

        กำหนดประชากร คือ นักเรียนชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียน มหาดไทย จำนวน  5 ห้องเรียน

        กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักเรียนชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 42  คน

    ปัญหา คือ   “ในปีหน้า จะสามารถนำชุด E-Learning ไปใช้ได้หรือไม่(เพราะอยู่นอกขอบเขตประชากร)”

    แนวปฏิบัติ  ควรกำหนดประชากร คือ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมหาดไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 (ไม่ต้องระบุว่า เป็นนักเรียนชั้น ม. 5 ปีการศึกษาใด)  และ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้น ม.5 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 42 คน เลือกแบบเจาะจง  หรือแม้จะใช้นักเรียนในปี 2550 เป็นกลุ่มทดลองทั้ง 5 ห้องเรียน ก็ยังถือว่าเป็นกลุ่มตัวอย่าง  

 

2) ครูให้ความสำคัญกับการเขียนรายงานการวิจัย ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ การอธิบายลักษณะหรือกระบวนการของนวัตกรรมให้ชัดเจน   ยังไม่สามารถระบุหลักการหรือแนวคิดที่เป็นหลักวิชาที่สำคัญ ๆ ในการสร้างนวัตกรรม ที่เป็นรูปธรรม(แนวคิดเบื้องหลังของนวัตกรรม)

     “ความสำคัญและคุณค่าของ ผลงานประเภทวิจัยและพัฒนา คือ ตัวนวัตกรรม   ไม่ใช่ รายงานการวิจัย”  จะอย่างไรก็ตาม หากสามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ทั้งตัวนวัตกรรม และ รายงานการวิจัย  ก็จะมีผลทำให้งานมีความสมบูรณ์มากขึ้น

3) การสร้างนวัตกรรมประเภทที่มุ่งพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น พัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนปฐมวัย   ครูยังขาดการพิจารณา “ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม”   ทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะเพียงพอต่อการพัฒนาคุณลักษณะ เช่น ใช้กิจกรรมการเก็บของเล่น 4  สัปดาห์ เป็นต้น  การพัฒนานวัตกรรมประเภทใด ๆ ที่มุ่งใช้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวนักเรียน “จะต้องมีชุดกิจกรรมที่เหมาะสม เพียงพอ ที่จะสร้างให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ จนเป็นนิสัย”

หมายเลขบันทึก: 179560เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีคะ

แวะมาเรียนรู้ จากดร.สุพักตร์ และขอเชิญร่วมโหวต ภาพกิจกรรม เฮฮาศาสตร์4  คะ

ไปร่วมสนุกกันนะคะ

  • บันทึกแบบนี้จะมีประโยชน์แก่คุณครู
  • มากเลยครับ
  • อยากให้อาจารย์แนะนำคุณครูเข้ามาอ่านครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์  เห็นด้วยค่ะกับประเด็นที่ว่างานวิจัยในชั้นเรียนของครูยังมีจุดอ่อนหลายประการ ซึ่งตนเองและเพื่อนครูหลายคนประสบปัญหาอยู่ ได้เข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์วันนี้ทำให้ได้ความรู้มากขึ้น  แต่ยังมีปัญหาหลายประการที่ครูไม่เข้าใจ เพราะขาดผู้รู้ที่แท้จริงเป็นผู้ชี้แนะที่ใกล้ชิด  อบรมเรื่องการวิจัยก็หลายครั้งอยู่ เวลาฟังก็เหมือนจะเข้าใจดีค่ะ แต่พอไปปฏิบัติจริง เกิดปัญหาไม่เข้าใจในรายละเอียดต่างๆ กังวลว่า ทำอย่างนี้จะถูกต้องไหม..ปรึกษาปัญหากับครูที่ผ่านการทำวิทยฐานะซึ่งถือว่าเป็นผู้รู้  หลายท่าน..ก็ตอบไม่ค่อยตรงกัน..บางครั้งไม่รู้จะเชื่อใครดีผู้ที่รู้จริง..ส่วนใหญ่ก็อยู่ในมหาวิทยาลัย  ซึ่งไม่คุ้นเคย..ไม่สามารถไปหาคำตอบได้โดยสะดวก..สรุปว่าจุดอ่อนต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดจากการไม่เข้าใจอย่างแท้จริงนั่นเอง..ถ้าไม่เข้าใจแล้วมีผู้ให้คำตอบได้ทีละปัญหา..ไม่นานจุดอ่อนต่างๆ คงหมดไปอย่างแน่นอนค่ะ จะเข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์บ่อยๆ นะคะ  ขออนุญาตเป็นลูกศิษย์ได้ไหมคะ..ขอบคุณมากสำหรับความรู้ของวันนี้ค่ะ..

สวัวดีค่ะอาจารย์

เป็นครูคนหนึ่งที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตร “การวิจัยในชั้นเรียน” ที่จัดโดยสถาบันการศึกษาทางไกล และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เมื่อวันที่ 28-29 เม.ย. 2551 และได้ฟังการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์ตลอดทั้ง 2 วันที่ผ่านมา ยังรู้สึกประทับใจในความรู้ที่ได้รับ ทำให้เข้าใจในวิธีการทำงานวิจัยมากขึ้น และรู้สึกเสียดายที่อาจารย์มีเวลาในการเติมเต็มความรู้น้อยเกินไป แต่เมื่อได้เข้ามาใน blog ของอาจารย์ก็เริ่มรู้แล้วว่าจะเติมเต็มความรู้ที่ขาดหายไปของตนเองได้อย่างไร ขออนุญาตเป็นลูกศิษย์อีกคนหนึ่งนะคะ

  • ขอบคุณ คุณมะปรางเปรี้ยวที่แวะมาชมและชวนไปโหวต ในที่สุดผมก็โหวตไม่ทันตามกำหนดครับ
  • อาจารย์ขจิตครับ ผมได้แจ้งให้ครูทราบและเข้ามาเรื่อย ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วครับ  ถ้าอย่างไร รบกวนอาจารย์ช่วยมาให้ข้อคิดด้วยนะครับ โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
  • อ.นัฐพร และ อาจารย์สิวลี ครับ  ยินดีมากที่เข้ามาชม ผมเองจะพยายามตอบปัญหา หรือเขียนให้ข้อคิดเป็นระยะ ๆในเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนผ่าน Blog นี้ ครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์เองก็ช่วยได้ดี เช่น ช่วย "ถามคำถามที่ข้องใจ" หรือ "ช่วยตอบโดยอาศัยประสบการณ์ของตนเอง"

เรียนท่านดร.สุพักตร์

ดิฉันได้เข้าสัมมนาในวันที่ 28-29 เม.ย. ที่รอยัลซิตี้เช่นเดียวกัน ได้ฟังที่อาจารย์

วิพากษ์งานวิจัยของครูทุกท่านแล้วเกิดความรู้สึกว่าถ้าได้อบรมจากท่านอาจารย์เรื่องงานวิจัยโดยตรงคงสามารถทำงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น หากมีโอกาสจะเป็นพระคุณยิ่ง ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ด้วยคนนะคะ

วันที่ 6-8 พฤษภาคมนี้ ผมมีจัดอบรมที่ มสธ.ครับ หลักสูตร "การวิจัยและพัฒนาผลงานทางวิชาการ" แล้วผมจะนำข้อคิดต่าง ๆ มาเสนอไว้ที่นี่นะครับ

สวัสดีคะ สงสัยนิวต้องเข้ามาเยี่ยมชม blog ของอาจารย์บ่อย ๆ ซะแล้วคะ จะได้รับความรู้เพิ่มเติมด้วยคะ ทั้งนี้ หนูขออนุญาต sit in เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณค๊า

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์

- มีประโยชน์มากค่ะ เพราะครูส่วนมากยังเน้นที่การเขียนรายงานค่ะ

- ขอบคุณค่ะ โอกาสหน้าจะขอรบกวนเชิญเป็นวิทยากรให้รร.เศรษฐบุตรบำเพ็ญอีกครั้งนะคะ

สวัสดีครับ คุณนิว อ.จตุรัส

  • ยินดีอย่างยิ่งครับที่เข้ามาชม
  • อาจารย์ช่วยเติมจุดอ่อนของงานวิจัยที่พบเห็นได้นะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ รศ.ดร.สุพักตร์

              เว็บไซด์ของอาจารย์มีประโยชน์ต่อครูมาก ทำให้ครูตื่นตัวเรื่องวิจัยชั้นเรียน  และเมื่อได้อ่านงานที่อาจารย์เขียนทำให้มีความเข้าใจเรื่องวิจัยมากยิ่งขึ้น และตัวสิริพร ยิ่งโชคดีที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์อาจารย์

             วันนี้ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำ เรื่องงานวิจัยที่เสนอเมื่อ 28 ต.ค. ที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ว่าสามารถแก้ตามที่อาจารย์สุวรรณี ยหะกร แนะนำเลยได้ไหมคะ เพราะใกล้จะถึงวันที่ 20 พ.ย.แล้ว ยังไม่ได้เอกสารตอบกลับ กลัวแก้งานไม่ทันค่ะ

               การส่งงานให้ส่งตรงที่ดร.อรทัยเลยหรือ เพราะอาจารย์ดร.อรทัยมีหนังสือติดตามงาน และมีข้อความเขียนว่าส่งตรงถึงอาจารย์

                                    ขอบพระคุณค่ะ

                                        สิริพร

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

หนูว่าหนูเข้าใจเรื่องกลุ่มตัวอย่างแล้วตามที่เคยเรียนกับอาจารย์ แต่ว่าในการตรวจผลงานอาจารย์3 เขาบอกว่าถ้าในโรงเรียนที่เราทดลองใช้มี 1 ห้องเรียนเขาบอกว่าให้ใช้ ค่ามิวค่ะ หนูเลยงง หนูเข้าใจถูกแล้วใช้มั้ยคะว่าใช้ค่าเอ็กซ์บาร์ แล้วทดสอบค่าสถิติวัดก่อนหลักใช้ ดีบาร์

  • ต้องอธิบายให้ชัดว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้น มุ่งเอาไปใช้กับกลุ่มใดนอนาคต   หากคิดเช่นนี้ นักเรียนในปีนี้ เป็นเพียงกลุ่มตัวอย่าง
  • แต่ถ้าจะเรียกว่านักเรียนปีนี้เป็นประชากร ก็ไม่มีใครว่าอะไร โดยสามารถคำนวนณค่า มิว ได้ และไม่ต้องทดสอบนัยสำคัญ แต่นักวิจัยก็ตอบไม่ได้ว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้น เหมาะที่จะนำไปใช้ในปีต่อไปหรือไม่
ฌาญภิรมย์ ฉัตรกิตติยาภรณ์

สวัสดีคiy[อาจารย์ เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่างานวิจัยในชั้นเรียนของครูยังมีจุดอ่อนหลายประการ ซึ่งตนเองและเพื่อนครูหลายคนประสบปัญหาอยู่ ได้เข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์วันนี้ทำให้ได้ความรู้มากขึ้น แต่ยังมีปัญหาหลายประการที่ครูไม่เข้าใจ เพราะขาดผู้รู้ที่แท้จริงเป็นผู้ชี้แนะที่ใกล้ชิด อบรมเรื่องการวิจัยก็หลายครั้งอยู่ เวลาฟังก็เหมือนจะเข้าใจดี แต่พอไปปฏิบัติจริง เกิดปัญหาไม่เข้าใจในรายละเอียดต่างๆ กังวลว่า ทำอย่างนี้จะถูกต้องไหม..ปรึกษาปัญหากับครูที่ผ่านการทำวิทยฐานะซึ่งถือว่าเป็นผู้รู้ หลายท่าน..ก็ตอบไม่ค่อยตรงกัน..บางครั้งไม่รู้จะเชื่อใครดีผู้ที่รู้จริง..ส่วนใหญ่ก็อยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่คุ้นเคย..ไม่สามารถไปหาคำตอบได้โดยสะดวก..สรุปว่าจุดอ่อนต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดจากการไม่เข้าใจอย่างแท้จริงนั่นเอง..ถ้าไม่เข้าใจแล้วมีผู้ให้คำตอบได้ทีละปัญหา..ไม่นานจุดอ่อนต่างๆ คงหมดไปอย่างแน่นอน จะเข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์บ่อยๆ นะครับ ขออนุญาตฝากตัวเป็นลูกศิษย์ด้วยครับ..ขอบคุณมากสำหรับความรู้ของวันนี้ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท