การพัฒนาองค์การ : มรภ. ปากช่อง


การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

หมายเลขบันทึก: 179542เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (225)
ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

ควมสำเร็จในการพัมนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองคืการเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดย นายบวร วงศ์สินอุดม ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ รับมอบ รางวัลโรงงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2548 (ENERGY AWARDS) ประเภทโรงกลั่น น้ำมันและเคมี จาก นายไพจิตร เทียนไพบูลย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงพลังงาน โดยบริษัทฯ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นองค์กร ที่ได้นำพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระบบงานวิศวกรรมมาช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานของบริษัทฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ได้ทำการก่อสร้างโรงกลั่นด้วยมาตรฐานเทคโนโลยีระดับโลกของ Shell และ UOP นอกจากนั้นยังมี Shell Global Solution International (SGSI) เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อช่วยให้การบริหารโรงกลั่น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การพัฒนาโรงกลั่นตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ ้ไทยออยล์ก้าวสู่โรงกลั่นน้ำมันแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด และเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยกำลังการกลั่นสูงสุดถึง 220,000 บาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 12,000 ล้านลิตรต่อปี) หรือประมาณร้อยละ 21 ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป ในประเทศได้ร้อยละ 35 เมื่อโครงการขยายกำลังการผลิตเป็น 270,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วเสร็จในปลายปี 2550 จะส่งผลให้ไทยออยล์เป็น 1 ใน 5 ของโรงกลั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

นอกจากศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว โรงกลั่นไทยออยล์ยังได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูง ในการใช้วัตถุดิบหรือน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ *สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ

โรงกลั่นไทยออยล์ประกอบด้วยหน่วยกลั่นหลักๆ

4 ประเภท ดังนี้

1. หอกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units)

ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน

2. หน่วยกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปหนักเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเบา

(Conversion Units)

ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่ามีบทบาท ในการเปลี่ยนโครงสร้าง น้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ ให้เป็นน้ำมันเบาซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล

3. หน่วยเพิ่มคุณภาพน้ำมัน (Reforming Units)

เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีค่าออกเทน และคุณภาพที่เหมาะสม สำหรับการนำไปใช้ เพื่อผสมน้ำมันเบนซิน ให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดต่อไป

4. หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Treatmemt)

เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ของน้ำมันเบา เพื่อกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมัน

* บริษัทฯ รับน้ำมันดิบตะวันออกกลาง 75% เอเชียตะวันออก 5% และจากแหล่งในประเทศ (น้ำมันดิบเพชร, น้ำมันดิบปัตตานี และคอนเดนเสทจากอ่าวไทย) รวม 20%

โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายการส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางทะเล รถไฟ รถบรรทุก และผ่านระบบท่อลำเลียงที่สามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด (Multi-Product Pipeline) ของ

บจ. ท่อส่งปิโตรเลียมไทย ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถอำนวยความสะดวกในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

นางสาวพาขวัญ ฉัตรเงิน

องค์กรที่ยิ่งใหญ่ และสร้างความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน คือองค์กรที่สามารถทำให้บุคลากรของตน มีความรับรู้ ได้ว่า เขามีหน้าที่ทำให้ องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยส่วนรวมได้อย่างไร โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรดังนี้

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นการวางแผนทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงต้องมี

ความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์กร

- การพัฒนาองค์กร ต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการที่ได้จากกิจกรรม

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ย้อนรอยเส้นทางความสำเร็จของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด" ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย กับการได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2546

หากนึกถึง "เครือซิเมนต์ไทย" หลายคนมักจะนึกถึงความมั่นคง , ความแข็งแกร่ง , ความมีธรรมาภิบาล , ผลประกอบการ , รวมถึงการสร้างและพัฒนาผู้นำที่มีความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพราะที่ผ่านมาเครือซีเมนต์ไทยให้ความสำคัญกับผู้นำในระดับต่าง ๆ โดยพนักงานแต่ละระดับจะมีบาทบาทภาวะผู้นำที่เชื่อมโยงกัน ที่สำคัญเครือซิเมนต์ไทย มีการสรรหาและคัดเลือก "คนเก่ง" และ "คนดี" เข้ามาร่วมงาน ซึ่งจะผ่านกระบวนการประเมิณความสามารถ ผ่านการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์พัฒนาพนักงานของเครือซิเมนท์ไทย

นอกจากนี้ ผู้นำจะต้องมีความรู้ทั้งด้านธุรกิจ และด้านการเป็นผู้นำ ดังนั้นเครือซิเมนท์ไทยจึงมีหลักสูตรการอบรมพัฒนาเพื่อให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งหลักสูตรด้านการพัฒนาภาวะการเป็นผู้นำ เพื่อพัฒนาผู้นำของเครือฯ ให้มีต้นแบบเดียวกัน โดยจะเน้นให้เป็น Innovative Leader ซึ่งเปิดให้เข้าอบรมหลังเวลาเลิกงาน แต่หากเป็นผู้บริหารระดับสูงเช่น CEO หรือ Vice President จะจัดอบรมที่สิงคโปร์

ที่สำคัญเครือซิเมนท์ไทยยังสร้างและพัฒนาให้ผู้นำมีลักษณะเป็นไปตามอุดมการณ์ของเครือฯ โดยหล่อหลอมให้ผู้นำมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติตามที่องค์กรต้องการ มีการถ่อนทอดประสบการณ์ผ่านการสอนงานและระบบพี่เลี้ยง มีการสร้างความผูกพันธ์เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทกับงาน

"เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมากเป็นอันดับ 1" กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปูนซีเมนต์ไทย บอกไว้เช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าธุรกิจจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งอยู่ที่ "คน" นั่นก็คือ "บุคลากร" ของบริษัท โดยปัจจุบันเครือซีเมนต์ไทยมีพนักงานอยู่ประมาณ 24,000 คน ใน 80 บริษัท 5 ธุรกิจในเครือ

"ตอนนี้คนของเราเก่งอยู่แล้ว แต่เราต้องการที่ให้พวกเขาเก่งและดี ๆ ขึ้นไปอีก เราจึงต้องมีการเทรนนิ้งอยู่เสมอ" กานต์ กล่าว

เช่นเดียวกับ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด เป็นอีกหนึ่งองค์กรในเครือซีเมนต์ไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2526 เพื่อผลิตและจำหน่ายกระดาษพิมพ์และกระดาษเขียน โดยให้ความสำคัญกับ "ผู้นำ" และ "พนักงาน" ในระดับต่าง ๆ จนในที่สุดได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

ว่ากันว่า แนวทางในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย" เพื่อให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้นั่นมาจากผู้นำสูงสุดขององค์กรเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเอง ร่วมคิดร่วมทำและเป็นแบบอย่างให้กับพนักงานทุกระดับ มีการสื่อสารวิสัยทัศน์ให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจน

2. เน้นการทำงานเป็นทีม ดึงทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม 3. พนักงานมีคุณภาพ โดยพัฒนาพนักงานจากข้อเท็จจริง เปรียบเทียบขีดความสามารถที่น่าจะเป็นกับที่อยู่เพื่อหาช่องว่างแล้วจัดทำเป็น Roadmap และแผนพัฒนารายบุคคล

ทั้งนี้ จากแผนภาพข้างต้น แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยองค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปประยุทธ์ใช้ได้ดังนี้

โดย "กฏ" ข้อ 1 ของแนวทางที่ว่านั้นอยู่ที่ "ผู้นำ" ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กร โดย "ผู้นำ"จำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และวิธีการของการได้มาซึ่งรางวัลอย่างแท้จริง พร้อมทั้งแสดงให้เห็นเป็นแบบอย่าง (Role model) ในการดำเนินการตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติด้วยตนเอง

2. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนภายในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติร่วมกัน โดยควรมีการเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที

3. องค์กรต้องมีระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้แก่ ระบบติดต่อสื่อสาร ระบบการทำงานเป็นทีม ระบบการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PDCA) ระบบการทำงานต่าง ๆ รวมไปถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลหรือหลักฐานในการเปรียนบเทียบและอ้างอิงในการดำเนินการ โดยจะต้องทำการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป

4. องค์กรต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง โดยจะต้องมีการประเมิณผลการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละปี เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของพนักงานโดยทั่วกัน

เพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616

ส่งงาน

เรียน อาจารย์ประจวบ ไกรขาว

เรื่อง ส่งงานทางอินเตอร์เน็ต (ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ)

ในทัศนะคติส่วนตัวของดิฉันเห็นว่า องค์กรที่ดีต้องพร้อมที่จะเติบโตทีละเล็กละน้อยอย่างเหมาะสมที่จะก้าวกระโดดเมื่อมีโอกาสมาถึง อีกทั้งต้องสามารถที่จะปรับปรุงตนเองเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในโลกของเรา องค์กรที่ดีต้องมีการวิเคราะห์ตนเองอยู่ตลอดเวลาและพร้อมที่จะออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรโดยนำเครื่องมือบริหารใหม่ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาตนเองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี คศ.1990 โลกของเราได้ผ่านยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีนักวิชาการหลายท่านกล่าวว่าปัจุบันเรากำลังจะเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีชีวภาพ ยุคของดิจิตอลเทคโนโลยีหรือบางท่านก็กล่าวเป็นยุคของนาโนเทคโนโลยีขณะเดียวกันนี้ถ้ามองถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหาร ดิฉันว่ามีนักวิชาการหลายท่านทีเดียวที่ได้คิดค้นเครื่องมือเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning) การคิดด้านมุมมองสี่ด้าน (Balance Scorecard) ด้านความรู้สึกและพฤติกรรม

(Competence at work) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์, การบริหารองค์ความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับการพัฒนาองค์กรได้

คำถาม ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ ?

ตอบ. บุคลากรทุกคนในองค์กรต้องให้ความร่วมมือกันและมีเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงาน โดยมีหัวข้อดังนี้

1. มีการวางแผนในการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและมีโครงการอย่างต่อเนื่อง

2. มีความสัมพันธ์กันทั้งนโยบายและเป้าหมาย

3. มีการพัฒนาที่มุ่งเน้นเปลี่ยนแปลงทัศนคติ,พฤติกรรม

4. มีการเสริมเทคนิคในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในองค์กร

5. มีการติดต่อสื่อสารที่ประสิทธิภาพ

6. มีการร่วมรับผิดชอบร่วมกัน

7. มีความผูกพันในองค์กรและมีความรับผิดชอบ

8. เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

9. การพัฒนาต้องเน้นพัฒนาเป็นทีม

10. เน้นการปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนา

ตัวอย่างการพัฒนาองค์กรที่สำเร็จ โดยใช้ HRIT ยุคดิจิตอลเทคโนโลยี

บริษัทซีเกทเทคโนโลยี จำกัด

หัวข้อการเปลี่ยนแปลง

* ปรับโครงสร้าง

แนวทางการพัฒนาโดย HRIT

* ออกแบบ HR service model เพื่อทำหน้าที่และกำหนดบทบาทของงาน HR ให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ เช่น ออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ วิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง

ผลประโยชน์ที่ได้รับ

* HR จะเป็นหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนในการบริหารเพื่อกำหนดทิศทางของ บริษัทและช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เช่น สร้างความสำเร็จในทุกกิจกรรมของงานดึงดูดและรักษาคนที่ดีที่สุดให้แก่องค์กร กระจายอำนาจความรับผิดชอบให้แก่ผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

* HR จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลักดันแก้ปัญหาในการทำงานและสร้างความเป็นหุ่นส่วนทางธุรกิจ

* HR สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดงานประจำที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับ องค์กรโดยรวมได้โดยมีตัวชี้วัดสำคัญ ดังนี้

1. การลดต้นทุน/ROI

2. ได้รับผลตอบแทนหรือมูลค่าเพิ่ม

3. ขยายงาน/เพิ่มการผลิต

4. เทคโนโลยีสูงขึ้น

5. แข่งขันได้

นางเพลินพิศ ใสสะอาด รหัสนักศึกษา 5050504616 เลขที่ 16

บริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) ศูนย์ปากช่อง รุ่น 11

นางสาวอาภาพร สีขาว

**ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ?

ตอบ องค์กรทุกองค์กรต้องการที่จะประสบความสำเร็จกันทุกหน่วยงาน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกันจะต้องมีการวางแผน และการจัดองค์กรอย่างมีระบบ โดยเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรก่อน ร่วมมือร่วมแรงกันพัฒนาองค์กร มีความทันสมันในการทำงาน จนมาถึงผู้บริหารด้วย

**มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มจดทะเบียนในปี ค.ศ. 1985 โดยในเริ่มต้นมีสัมปทานเพียง 3 แห่ง ปัจจุบันมีพนักงาน 1,026 คน และมีโครงการร่วม 31 โครงการ ใน 9 ประเทศ หน้าที่ สำรวจหาพลังงานในรูปของน้ำมันหรือก๊าซมาใช้ในประเทศ ซึ่งควรมีปริมาณที่มากพอและราคาถูกเมื่อสังเกตจากภูมิประเทศของประเทศไทยพบว่าไม่สามารถหาได้มากเช่นนั้น จึงต้องหาพลังงานจากภายนอกมาสนับสนุน วิสัยทัศน์ เป็นบริษัทแนวหน้าและสามารถเทียบเคียงกับบริษัทในต่างประเทศจากหน้าที่และวิสัยทัศน์ที่กำหนดบริษัทจึงจำเป็นต้องมีการกระจายการทำงานไปทั่วโลก ดังนั้นพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีความสามารถในการทำงาน ซื่อสัตย์ และพร้อมที่จะเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน ทำไมถึงต้องมีการจัดการความรู้ ในปีพ.ศ. 2540 เป็นยุคที่เศรษฐกิจฟองสบู่ของประเทศ รัฐบาลของความร่วมมือในในการงดจ้างชาวต่างประเทศและการฝึกอบรมนอกประเทศ การพัฒนาคนจึงหันมาที่การพัฒนาภายใน บริษัทจึงหันมาศึกษาแนวคิดของการจัดการความรู้ และนอกจากนี้บริษัทได้เริ่มทำงานกับบริษัท โทเทล จำกัด และพบว่าการทำงานของพนักงานทั้ง 2 กลุ่มมีจุดประสงค์ต่างกัน จากวัฒนธรรมการทำงานต่างกัน บริษัทจึงหันมาใช้แนวคิดของการสร้างองค์กรการเรียนรู้มาแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากพนักงานระดับธุรการ และ เลขานุการให้สร้างมาตรฐานในการเขียนรายงาน การออกหนังสือ เป็นต้น และให้นำมาเสนอที่ประชุมผู้บริหาร ในปีต่อมาจึงเริ่มในฝ่ายบุคลากรและทุก ๆ คนในองค์กร ในปี 1997 บริษัทต้องการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และเป็นช่วงที่ Peter Senge มาประเทศไทย จึงให้มาพูดแนวคิดของการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้บริษัทฟัง แนวคิดและวิธีดำเนินการ การที่บริษัทจะเป็น Knownlege Base Company ได้บริษัทต้องปรับคนให้เห็นประโยชน์ มีวิสัยทัศน์ร่วมกันก่อน โดยเริ่มจากการให้ความรู้กับผู้บริหารเพื่อให้มีความเข้าใจเหมือนกันก่อน จึงใช้วิธีที่ให้ผู้บริหารเลือกพนักงานมา 1 คน มาเป็นกระจกเงาให้ผู้บริหาร มีหน้าที่จดพฤติกรรมของผู้บริหารท่านนั้นและรายงานให้ทราบ

**ได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ 1. ได้ความคิดที่ดี

2. ได้การปฏิบัติที่ดี

3. ได้ผลผลิตที่ดี

4. ได้ความสัมพันธ์ที่ดี และทำให้เกิดความไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน

นางสาวอาภาพร สีขาว รหัสนักศึกษา 5050504640 เลขที่ 40

สาขาการจัดการทั่วไป ศูนย์ปากช่อง รุ่นที่11

น.ส.รัตนาภรณ์ หินนอก

-ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร

ธนาคาร Unibanco

แต่เดิมธนาคาร Unibanco ของเม็กซิโก ใช้ระบบ Management Agreement (MA) ในองค์การ ระบบนี้เป็นการเชื่อมโยง “เป้าหมายการทำงาน” ของพนักงานแต่ละคนเข้ากับ “เป้าหมายกลยุทธ์” ของหน่วยงานที่พนักงานคนนั้นทำงานอยู่

ต่อมาธนาคารได้นำ BSC มาใช้ในองค์การ โดยปรับ MA ที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัย ให้สามารถสะท้อนแต้มคะแนน (Scorecard) ของพนักงานแต่ละคน และใช้ “ตัววัด” ที่ชี้ไปในแนวทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์การ เรียกได้ว่าเป็นแผนกลยุทธ์รายบุคคลเลยทีเดียว โดยในหน้าแรกของ MA กำหนดว่า แต่ละกิจกรรมที่พนักงานทำจะเกี่ยวข้องกับ 1 ใน 4 มุมมองของ BSC และงานเหล่านั้นต้องนำไปสู่ความสำเร็จของหน่วยงานและกลยุทธ์ขององค์การในที่สุด

ตัวอย่างเช่น พนักงานที่มีส่วนร่วมในการกระตุ้นยอดลูกค้าใหม่ จะกำหนดงานนี้ไว้ในมุมมองด้านการเงิน (Financial) ขณะที่กิจกรรมที่เป็นการส่งต่องานให้แก่แผนกอื่นๆ ภายในธนาคาร จะวางอยู่ในมุมมองด้านลูกค้า (Customer) เป็นต้น

บริษัท Kinnarps

Kinnarps เป็นบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของฝรั่งเศส บริษัทนี้เข้าใจดีว่าจำเป็นต้องมีการพัฒนา Competency ของพนักงานให้เป็นแนวทางเดียวกับ BSC เพื่อให้กลยุทธ์ของบริษัทได้รับการปฏิบัติทั่วทั้งองค์การ บริษัทจึงได้จัดตั้ง “กลุ่มฝึกอบรมภายใน” ขึ้น ใช้ชื่อว่า Kinnarps Academy โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของพนักงานที่จะช่วยให้บริษัทบรรลุผลสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ที่ประกาศไว้อย่างชัดเจนใน BSC ขององค์การ

Kinnarps Academy ได้จัดทำแผนการพัฒนา Competency ให้แก่พนักงานทั้งบริษัทโดยผูกโยงเข้ากับ BSC ขององค์การ นอกจากนี้ Kinnarps Academy ยังได้วาด “แผนที่ competency” ของพนักงานทุกคนเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ Competency ที่พนักงานแต่ละคนมีอยู่กับ Competency ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานนั้นๆ ตามแผนกลยุทธ์ ถ้าพนักงานขาด Competency เรื่องใดก็อาจให้มีการพัฒนาเพิ่มเติมหรือส่งไปฝึกอบรมตามความเหมาะสม เพื่อให้พนักงานมีทักษะที่จำเป็นตามตำแหน่งและตรงตามแผนกลยุทธ์

บรรดาผู้บริหารของ Kinnarps ตระหนักดีว่าการกำหนด Competency ที่ถูกต้องให้แก่พนักงานทุกคน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้กลยุทธ์ของบริษัทบรรลุผล นอกจากนี้ บริษัท Kinnarps ยังได้นำโปรแกรม IT มาช่วยในกระบวนการติดตามผลการพัฒนา Competency ของพนักงานในองค์การ ตั้งแต่การระบุทักษะที่จำเป็นต้องมีตามแผนกลยุทธ์ และผลกำไร/ขาดทุนที่สามารถวัดได้จากระดับ Competency ของพนักงานแต่ละคน เพื่อจะดูว่าการพัฒนา Competency มีผลกระทบต่อผลลัพธ์ด้านการเงินของบริษัทอย่างไรสรุป

การจะเป็น Strategy-Focused Organization ที่ประสบความสำเร็จ วิธีการก็คือ ต้องทำให้ “กลยุทธ์หลัก” ขององค์การเป็นศูนย์กลางของกระบวนการจัดการทั้งหมด กล่าวคือ การทำงานทุกอย่าง จากทุกแผนก ต้องสอดคล้องไปตามแผนกลยุทธ์ และการจะทำเช่นนั้นได้ องค์การต้องกระตุ้นให้ “กลยุทธ์” กลายเป็นงานประจำวันของทุกคนในองค์การ ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัย “ระบบการจัดการทรัพยากรบุคคล” เข้ามาช่วย ดังนั้น ถ้าออกแบบ HR ได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลให้กลยุทธ์แทรกซึมเข้าไปในงานของพนักงานทุกคน และเป็นแรงส่งให้การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์กลายเป็น Core Competency ในที่สุด

แต่จะทำให้สำเร็จได้อย่างไร ผู้บริหารคงต้องเรียกฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้ามาจับเข่าคุยแล้วล่ะ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.มีองค์การที่แข็งแรงอยากต่อการล้มละลาย

2. พนักงานมีความเชื่อมั่นในองค์การ

3. องค์การมีกำไรสูง ต้นทุนต่ำ

4. มีบุคคลากรที่มีความสามารถ รักองค์การ

5. มีความก้าวหน้าในสายการดำเนินงาน

น.ส. รัตนาภรณ์ หินนอก รหัส 5050504617 เลขที่ 17

กศ.ปช. รุ่น 11 ศูนย์ปากช่อง

นางสาวรัตนา เจริญวรรณ

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

การพัฒนาองค์กรจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมารวมกันแล้วจัดตั้งเป็นองค์กร มีกิจกรรมร่วมกัน มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน มีกฎระเบียบ วินัย และข้อบังคับเป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีความผูกพันกันในองค์กร และได้เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม และได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในองค์กรเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการวัดและประเมินผลในการปฏิบัติงาน และประสานงานให้มีระเบียบแบบแผนมีหลักเกณฑ์การบริหารงานได้อย่างชัดเจนวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ให้สมาชิกในองค์กรได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ดังนั้น การพัฒนาองค์กรจะสำเร็จได้ก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กรให้มีความเหมาะสม ทันสมัย และมีความกระชับเพื่อให้การทำงานคล่องตัวเร็วขึ้นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรก่อนเพื่อนำไปสู่การทำงานที่ถูกต้องได้โดยไม่มีอุปสรรคต่อการทำงานและมีการร่วมมือกันอย่างจริงใจ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้หรือรับข่าวสาร ข้อเท็จจริงด้านต่างๆโดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดี เพื่อกระตุ้นและโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

มีองค์ใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ

- องค์กรเป็นกลุ่มของบุคคล เป็นองค์กรที่กลุ่มคนมารวมกันมีเป้าหมายรวมกันสามารถทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการได้ มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์กันและกัน

- องค์กรเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ คือ ความสัมพันธ์เป็นกรอบของความสัมพันธ์ที่กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการทำงานระหว่างบุคคล

- องค์กรของการบริหารหรือการจัดการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำปัจจัยต่างๆ ทางบริหาร เช่น บุคคล ที่ดิน งบประมาณ วัสดุ มารวมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงสยบรรลุเป้าหมายขององค์กร

- องค์กรกระบวนการ เป็นองค์กรที่แบ่งงานกันทำตามถนัด มีการระบุความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรให้ร่วมใจกันทำงาน และเกิดประสิทธิผลสูงสุด เพื่อบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

สาวิตรี อุ่นแท่น 5050504620 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์กรจะเกิดความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร

•การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

•การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

•ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

•การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

•การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

•เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย

•มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ตัวอย่างองค์กร

ปตท. ถือว่าการบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญ และจำเป็นต่อธุรกิจ โดยมุ่งมั่นส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานในองค์กรดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยมีแนวทางยึดถือและปฏิบัติ ดังนี้

1.มุ่งเน้นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ด้วยกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า

2.ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยถือเป็นบรรทัดฐานเบื้องต้น

3.ถือว่าความปลอดภัยเป็นหัวใจในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงและ ควบคุมความสูญเสียจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย ทรัพย์สินเสียหาย การละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย ตามมาตรฐานสากล

4.ดูแลในเรื่องอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน

5.ดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ผู้บริหารทุกหน่วยงานมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ มีองค์กรไดบ้างที่ทำสำเร็จ สำเร็จได้อย่างไร และได้ประโยชน์ได้อย่างไร

ตอบ  องค์กรใดๆที่จะประสบผลสำเร็จได้หรือหน่วยงานที่มีศักยภาพในด้านการพัฒนาอย่างครบวงจรและมีความเป็นเลิศเฉพาะทางจึงได้ดำเนินการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและต้องมีการพัฒนาองค์กรอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การดังนี้

   1.การยอมรับปัญหา

   2.การเข้ามาขอที่ปรึกษา การพัฒนาองค์กร

   3.การวิเคราะห์ปัญหา

   4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

   5.การวางแผนดำเนินงาน

   6.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์กร

   7.การประเมินผล

เงื่อนไขความสำเร็จดังนี้

   1.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็น เป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ  

   2.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง 

   3.ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจ เข้ามามีส่วนร่วม

   4.การเปลี่ยนแปลงต้องมีการสัมพันธ์กับนโยบายเป้าหมายองค์กร

   5.การพัฒนาองค์กรต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม

   6.เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

   7.มุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมาก กว่ารายบุคคล

** มีองค์กรใดบ้างที่ประสบความสำเร็จ สำเร็จได้อย่างไร และได้รับรับประโยชน์อย่างไร

ตอบ  บริษัท ออกแบบเว็บไซต์ ของ ทีมงาน เอนจีเนียริง ซ๊อฟท์แวร์ เทคโนโลยี

เป็นเจ้าของเว็บไซด์ ไม่เพียงแต่เป็นการสริมภาพลักษณ์ขององค์กรยังหมายถึงโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า จากทุกมุมโลก การจะทำเว็ปไซต์ที่มีคุณภาพ สวย เก๋ เท่ ทันสมัยและทำได้อย่างรวดเร็ว เราต้องมีความรู้ บริการอย่างใกล้ชิดตลอดจนเริ่มตั้งแต่การวางแผนแนวคิดในการออกแบบไปสู่การก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ต่อเนื่องไปจนถึงการปรับปรุงในระยะยาว มีความเอาใจใส่และเข้าใจถ่องแท้ทั้งศิลปะและการเขียนโปรแกรมจึงสามารถวางใจได้ว่าเว็บไซต์นั้นสวยงามเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วแสดงผลได้ถูกต้องบนเว็ปบราวเซอร์ทุกตัวและทุกโหมดแสดงผลของจอ นอกจากจะออกแบบเว็ปไซต์แล้วยังติดตั้งระบบเน็ตเวิร์ค เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบฐานข้อมูลทั่วไป จัดทำโปรแกรมระบบโรงงานอัตโนมัติและเชื่อต่อบาร์โคท และทีมงานของเรายังสามารถวิเคราะห์และจัดการทางด้านเน็ตเวิร์คเพื่อลดปัญหาของระบบเน็ตเวิร์คของหน่วยงานนั้น

** ประโยชน์ที่ได้รับ

  1.เสริมสร้างธรุกิจให้แข็งแรงด้วยประโยชน์ของ Internet

  2. อธิบายขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมได้

  3.วิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปพัฒนาโปรแกรมได้

  4. บอกประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์ช่วยแก้วปัญหาได้

  5. มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการเขียนโปรแกรม

  6. มีความก้าวหน้าที่ทันสมัย

  7. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

นางสาววรรณ์วิสา  วงค์ผา รหัสนักศึกษา 5050504636 เลขที่ 36

กศ.ปช. รุ่น 11 ศูนย์ปากช่อง

 

  

ปัจจุบัน .... เป็นที่ยอมรับกันหมู่นักบริหารองค์การโดยทั่วไปแล้วว่า ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การบริหารองค์การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ก็คือปัจจัยเกี่ยวกับการบริหาร “คน” โดยที่ทรัพยากรคนที่เรียกกันว่าทุนมนุษย์ที่มีความพร้อมทางสมรรถนะในการปฏิบัติงานจะเป็นทรัพยากรที่ทุก ๆ องค์การต้องสรรหาเข้ามาปฏิบัติงาน หรือถ้าเป็นทุนมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในองค์การ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการรักษา และจูงใจให้ทุนมนุษย์เหล่านั้นอยู่ปฏิบัติงานนาน ๆ สรุปง่าย ๆ ได้ว่าปัจจุบันองค์การต่าง ๆ กำลังถูกทุนมนุษย์ที่มีสมรรถนะพร้อมในการปฏิบัติงานเลือกว่าพวกเขาจะเลือกองค์การใดในการทำงาน เพราะฉะนั้นองค์การต่าง ๆ จึงต้องมีการปรับตัวพัฒนาแนวคิดในการบริหารองค์การเสียใหม่ เพื่อที่จะพัฒนาองค์การให้เป็น “องค์การแห่งทางเลือก (Employer of choice)” ในหมู่ทุนมนุษย์ที่มีฝีมือเหล่านั้น การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งทางเลือกนั้น HR ในฐานะหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ขององค์การจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมกับผู้บริหารพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งทางเลือก และแนวทางในการพัฒนาองค์การให้เป็นหนึ่งในทางเลือกของทุนมนุษย์จะมีหลากหลายแนวทางกันออกไป ซึ่งแนวทางอันหนึ่งที่หลาย ๆ องค์การพยายามพัฒนาขึ้นมาก็คือ การพัฒนาให้องค์การเป็นองค์การที่มีบรรยากาศในการทำงานที่มีความสุข (Workplace Happiness) โดย HR ควรจะมีบทบาทดังต่อไปนี้

1. การสร้างศรัทธาต่อ “ความสุข” การสร้างศรัทธาก็คือ การสร้างความเชื่อถือ ความเลื่อมใส และการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อ “ความสุข” HR จะต้องมีบทบาทในการชี้แจง โน้นน้าว ชักจูง และเชิญชวนให้คนในองค์การตระหนังถึงคุณค่าของการทำงานอย่างมีความสุขว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ต่อพนักงาน หน่วยงาน และองค์การอย่างไรได้บ้างเช่น ถ้าที่ทำงานมีบรรยากาศที่เปี่ยมไปด้วยความสุข พนักงานก็อยากจะมาทำงาน อัตราการลาออก อัตราการขาดงาน หรืออัตราการลาอื่น ๆ จะลดลง ก็จะส่งผลให้องค์การมีพนักงานที่พร้อมจะทำงานตลอดเวลา และผลประโยชน์โดยอ้อมก็คือจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการหาคน และการพัฒนาพนักงานใหม่ ได้มาก พนักงานที่ทำงานด้วยความสุข จะมีสมาธิ และใช้ปัญญาในการทำงาน ผลสัมฤทธิ์ของงานก็จะออกมาดี พนักงานและองค์การก็จะเจริญเติบโตไปด้วยกัน นอกจากนี้การใช้สมาธิ และปัญญาในการทำงาน จะก่อประโยชน์ให้เกิดการปรับปรุงงาน และการรังสรรค์นวัตกรรม ได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ในกระบวนการสร้างศรัทธาต่อ “ความสุข” นี้จะต้องเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่ง HR จะต้องวางกลยุทธ์ในการเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การประชุมชี้แจง อธิบาย หรือการฝึกอบรม การทำกิจกรรมกลุ่มลักษณะสุนทรีเสวนา หรือการใช้สื่ออิเลคโทรนิค ในการแบ่งปันความรู้ จะใช้กับพนักงานกลุ่มไหน ใช้เมื่อไร และใช้อย่างไร เป็นต้น

2. เปิดโลกทัศน์ “ความสุข” เมื่อพนักงานเริ่มมีศรัทธาต่อ “ความสุข” แล้ว HR ก็ควรจะเสริมต่อด้วยการให้เห็นภาพกระบวนการปฏิบัติจริง ซึ่งกิจกรรมที่ใช้ควรจะเป็นการพาพนักงานไปเยี่ยมชมองค์การที่พัฒนาความสุขในที่ทำงานจนประสบความสำเร็จแล้ว หรือในทางกลับกันก็เชิญผู้แทนขององค์การที่ได้รับการยอมรับว่าที่ทำงานของท่านมีบรรยากาศของการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยความสุขมาเล่าประสบการณ์ในการบริหารความสุขให้พนักงานฟัง การได้เห็นการปฏิบัติจริง หรือฟังจากผู้รู้ที่ปฏิบัติจนประสบความสำเร็จแล้ว จะทำให้พนักงานเกิดประสบการณ์ตรงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในองค์การ

3. เปิดโอกาสในการพัฒนาองค์ประกอบของ “ความสุข” แนวคิดในการสร้างความสุขในที่ทำงาน ตัวความสุขจะต้องมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ที่พนักงานส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสุขได้ เพราะฉะนั้นในการสร้างความสุขในที่ทำงาน HR จะต้องสร้างกระบวนการในการมีส่วนร่วมเสนอแนะว่าองค์ประกอบ หรือปัจจัยอะไรบ้างที่จะส่งเสริมให้เกิดความสุขได้ ซึ่งการมีส่วนร่วมอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ให้พนักงานเสนอผ่านผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาเสนอเอง (บนสมมุติฐานว่าผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดกับพนักงาน) หรือ HR ทำการสอบถามจากพนักงานโดยตรง เป็นต้น ในการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมแบบเสรีมาก ๆ จะได้องค์ประกอบของความสุขมาหลากหลาย HR และคณะผู้บริหารจะต้องมาคัดกรองเอาที่คิดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญจริง ๆ แล้วก็ชี้แจงให้พนักงานทราบ

4. ประสานงานในการสร้าง “ความสุข” เมื่อได้องค์ประกอบของความสุขมาแล้ว ในการลงมือปฏิบัติ HR จะมีบทบาทในการประสานงาน อำนวยความสะดวก ทำการประชาสัมพันธ์ หรือร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสุข เป็นต้น เพื่อให้กิจกรรมการสร้างความสุขดำเนินไปอย่างราบรื่นตามแนวคิดที่ว่าการเริ่มต้นที่ดีก็จะประสบความสำเร็จที่ดีตามไปด้วย

5. สร้าง “ดัชนีความสุขในที่ทำงาน” เพื่อให้การสร้างความสุขในที่ทำงานเป็นการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ HR ควรจะสร้างกระบวนการสำรวจหรือวัดความสุขในที่ทำงานขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อหาระดับความสุขในมุมมองของพนักงาน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ HR ก็ควรจะมาวิเคราะห์ และสรุปผลชี้แจงกับผู้ที่เกี่ยวข้อง พนักงาน และเสนอแนะกระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของความสุขที่ในมุมมองของพนักงานยังไม่ก่อให้เกิดความสุขเท่าที่ควร ในการสร้างดัชนีความสุขในที่ทำงานจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องเสียก่อนว่า การสำรวจหรือวัดองค์ประกอบความสุขจะเป็นกระบวนการทางการหาข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงการทำงานอย่างมีความสุขที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ไม่ใช่จะใช้เป็นเครื่องมือในการให้คุณให้โทษแก่ใคร

6. ประสานพลังในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานอย่างมี “ความสุข” การที่จะบริหารองค์การให้เป็นสถานที่ทำงานที่มีความสุขอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องเป็นกระบวนการในการประสานพลังของคนในองค์การให้ประพฤติ ปฏิบัติ หรือแสดงพฤติกรรม ที่ตกลงร่วมกันแล้วว่าจะเป็นสิ่งซึ่งก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความสุข และการแสดงออกเหล่านี้จะต้องกระทำด้วยความจริงใจ จริงจัง ต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมองค์การ เช่น องค์การแห่งหนึ่งสร้างวัฒนธรรมในการทักทายกันด้วยความยิ้มแย้มเมื่อพนักงานมาทำงานในตอนเช้า และช่วงเลิกงานตอนเย็นก็จะสร้างวัฒนธรรมในการลากันเมื่อกลับบ้านอย่างยิ้มแย้ม เช่นกัน โดยมีสโลแกนขององค์การว่า “วันนี้คุณยิ้มให้เพื่อน ๆ หรือยัง” เมื่อแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ไปนาน ๆ ก็จะพบว่าพนักงานสนิทสนมกันมากขึ้น ทั้งในระหว่างพนักงานด้วยกันเอง และระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา ข้อขัดแย้งในการทำงานก็ลดลงไปเป็นอันมาก เป็นต้น ในการประสานพลังเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์การนั้น HR จะต้องประสานใจของผู้บริหารให้ได้เสียก่อน เพราะผู้นำจะต้องประพฤติและปฏิบัติเป็นต้นแบบ ถ้าต้นแบบเอาจริง เอาจัง สม่ำเสมอ พนักงานก็จะประพฤติ ปฏิบัติ อย่างเอาจริง เอาจัง สม่ำเสมอ เช่นกันบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดย นายบวร วงศ์สินอุดม ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ รับมอบ รางวัลโรงงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2548 (ENERGY AWARDS) ประเภทโรงกลั่น น้ำมันและเคมี จาก นายไพจิตร เทียนไพบูลย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงพลังงาน โดยบริษัทฯ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นองค์กร ที่ได้นำพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระบบงานวิศวกรรมมาช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานของบริษัทฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ได้ทำการก่อสร้างโรงกลั่นด้วยมาตรฐานเทคโนโลยีระดับโลกของ Shell และ UOP นอกจากนั้นยังมี Shell Global Solution International (SGSI) เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อช่วยให้การบริหารโรงกลั่น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การพัฒนาโรงกลั่นตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ ้ไทยออยล์ก้าวสู่โรงกลั่นน้ำมันแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด และเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยกำลังการกลั่นสูงสุดถึง 220,000 บาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 12,000 ล้านลิตรต่อปี) หรือประมาณร้อยละ 21 ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป ในประเทศได้ร้อยละ 35 เมื่อโครงการขยายกำลังการผลิตเป็น 270,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วเสร็จในปลายปี 2550 จะส่งผลให้ไทยออยล์เป็น 1 ใน 5 ของโรงกลั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

นอกจากศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว โรงกลั่นไทยออยล์ยังได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูง ในการใช้วัตถุดิบหรือน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ *สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ

โรงกลั่นไทยออยล์ประกอบด้วยหน่วยกลั่นหลักๆ

4 ประเภท ดังนี้

1. หอกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units)

ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน

2. หน่วยกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปหนักเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเบา

(Conversion Units)

ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่ามีบทบาท ในการเปลี่ยนโครงสร้าง น้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ ให้เป็นน้ำมันเบาซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล

3. หน่วยเพิ่มคุณภาพน้ำมัน (Reforming Units)

เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีค่าออกเทน และคุณภาพที่เหมาะสม สำหรับการนำไปใช้ เพื่อผสมน้ำมันเบนซิน ให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดต่อไป

4. หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Treatmemt)

นางสาวพิมพ์ชนก พรเพ็ง

การที่จะพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จนั้นทุก ๆ คน ในองค์กรต้องให้ความร่วมมือกันในทุก ๆ ด้าน ซึ่งองค์กรจะต้องทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยองค์กร

เป็นขั้นตอนที่อง๕กรทราบถึงปัญหาขององค์กรทราบถึงความจำเป็นของการที่จะพัฒนาองค์กร ต้องมีการแต่งตั้งคณะผู้ทำงานเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจและอธิบายถึงสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและหาวิธีการพัฒนาองค์กรต่อไป

ขั้นที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์และวางแผนพัฒนา

หลังจากวินิจฉัยองค์กรแล้วก็ต้องกำหนดเป็นแผนการพัฒนา เลือกเทคนิค โดยร่างแผนปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุความเป้าหมายที่ตั้งไว้และดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้แผนปฏิบัติการสามารถปฏิบัติได้กับกลยุทธ์ขององค์กรและสามารถปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้

ขั้นที่ 3 การดำเนินงานพัฒนาองค์กร

หลังจากวางแผนแล้วทีมงานต้องนำแผนที่วางไว้มาปฏิบัติกำหนดตารางกิจกรรมกำหนดตารางเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

ขั้นที่ 4 การประเมินการพัฒนาองค์กร

เป็นขั้นตอนสุดท้ายเป็นการติดตามผลตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาว่าสอดคล้องกับเป้าหมาย เกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใด และต้องมีการแก้ไขปรับปรุงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

นางสาวพิมพ์ชนก พรเพ็ง 5050504615

กศ.ปช. รุ่น 11 ศูนย์ปากช่อง

นางทัศนีย์ ปาปะขัง

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จมีดังนี้

1. การวิเคราะห์หาความจำเป็น

เป็นการสำรวจหาข้อมูล ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดภายในองค์กร เพื่อทราบข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องทำการพัฒนาเรื่องใด

2. การรวบรวมข้อมูลและจัดลำดับความจำเป็น

หลังจากที่ได้ข้อมูลมาจะเป็นการรวบรวม การจัดหมวดหมู่และจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นลำดับแรก

3. กำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนา

เมื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาแล้วจะมีการกำหนดวางแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนาให้ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยแผนกลยุทธ์จะต้องมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

4. ดำเนินตามแผนปฏิบัติการ

ขั้นตอนนี้เป็นการนำแผนกลยุทธ์มาปฏิบัติโดยลงมือปฏิบัติจริงและใช้เครื่องมือสอดแทรกให้เข้ากับองค์การและสถานการณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์การได้อย่างเหมาะสม

5. การประเมินและสรุปผลการพัฒนา

เป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบและชี้วัดได้ว่าการพัฒนาองค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ขณะเดียวกันสามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงว่าสำเร็จมากน้อยอย่างไร โดยพิจารณาผลการประเมินและสรุปผลการพัฒนาเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงอนาคต

นางสาวฉัตร์ติยา ไชยพยวน

องค์กรใดๆที่จะประสบผลสำเร็จได้นั้นต้องมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การดังนี้

1.การยอมรับปัญหาว่าองค์กรมีปัญหาอะไร

2.การเข้ามาขอที่ปรึกษา การพัฒนาองค์กร

3.การวิเคราะห์ปัญหา

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

5.การวางแผนดำเนินงาน วางแนวทางแก้ปัญหา

6.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์กร

7.การประเมินผลการดำเนินงาน

เงื่อนไขความสำเร็จดังนี้

1.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็น เป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

2.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจ เข้ามามีส่วนร่วม

4.การเปลี่ยนแปลงต้องมีการสัมพันธ์กับนโยบายเป้าหมายองค์กร

5.การพัฒนาองค์กรต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม

6.เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

7.มุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมาก กว่ารายบุคคล

นางสาวฉัตร์ติยา ไชยพยวน 5050504606

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

1. การวิเคราะห์หาความจำเป็น

เป็นการสำรวจหาข้อมูล ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดภายในองค์กร เพื่อทราบข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องทำการพัฒนาเรื่องใด

2. การรวบรวมข้อมูลและจัดลำดับความจำเป็น

หลังจากที่ได้ข้อมูลมาจะเป็นการรวบรวม การจัดหมวดหมู่และจัดเรียงลำดับความสำคัญ

3. กำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนา

เมื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาแล้วจะมีการกำหนดวางแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนาให้ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

4. ดำเนินตามแผนปฏิบัติการ

ขั้นตอนนี้เป็นการนำแผนกลยุทธ์มาปฏิบัติโดยลงมือปฏิบัติจริงและใช้เครื่องมือสอดแทรกให้เข้ากับองค์การ

5. การประเมินและสรุปผลการพัฒนา

ตรวจสอบและชี้วัดได้ว่าการพัฒนาองค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่

เงื่อนไขความสำเร็จดังนี้

1.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็น เป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

2.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจ เข้ามามีส่วนร่วม

4.การเปลี่ยนแปลงต้องมีการสัมพันธ์กับนโยบายเป้าหมายองค์กร

5.การพัฒนาองค์กรต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม

6.เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

7.มุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมาก กว่ารายบุคคล

นายอภิเชษฐ ภาษี 5050504630

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

เงื่อนไขความสำเร็จ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูงการพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

นายจิระศักดิ์ หวังปรุงกลาง 5050504626

สาวิตรี อุ่นแท่น 5050504620 (ศูนย์ปากช่อง)

องค์กรจะพัฒนาได้สำเร็จจะต้องอาศัยเทคนิคในการพัฒนาจึงจะประสบผลสำเร็จ

เทคนิคการพัฒนาองค์การหรือที่เรียกกันว่าเครื่องมือสอดแทรกนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่าง โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล

1.1 การวางแผนชีวิตและอาชีพ

1.2 การวิเคราะห์บทบาท

1.3 การทำให้งานมีความหมาย

1.4 การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น

1.5 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ

1.6 การพัฒนาแบบของผู้บริหาร

2. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล

2.1 การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน

2.2 การวิเคราะห์พฤติกรรม

2.3 การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม

3. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม

3.1 การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ

3.2 การพัฒนาทีมงาน

3.3 การพัฒนาคุณภาพงาน

3.4 การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์

3.5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

4. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม

4.1 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม

4.2 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด

4.3 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป

5. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ

5.1 เทคนิคการพัฒนาโครงสร้างขององค์การ

5.1.1 การออกแบบโครงสร้างขององค์การ

5.1.2 การออกแบบงาน

5.1.3 การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

5.1.4 การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน

5.2 เทคนิคการพัฒนาพฤติกรรมและกระบวนการทำงาน

5.2.1 การประชุมปรึกษาหารือเพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

5.2.2 การพัฒนาองค์การแบบกริดขั้นที่ 4, 5 และ 6

5.2.3 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด จะเป็นเครื่องมือสอดแทรกที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในองค์การต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้เครื่องมือสอดแทรก เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การให้ดีนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจความหมายของการพัฒนาองค์การอีกอย่างหนึ่ง คือ การทำหรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์การ เช่น "การฝึกอบรม" เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่คาดว่าจะมีผลทำให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นผลการพัฒนาความรู้ ความชำนาญ และทัศนคติ จะนำไปเสริมสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์การ

ดังนั้นคำว่า "เครื่องมือ" ในที่นี้ก็คือ การเข้าช่วยเหลือของผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในระบบสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย และกลุ่มในแนวความคิดของการพัฒนาองค์การ

แนวความคิดเกี่ยวกับเครื่องมือ ที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรจะยึดถือ มีหลักสำคัญ 3 ประการด้วยกันคือ

1.) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ และปัญหาที่ค้นพบให้แก่ผู้รับบริการอย่าง เปิดเผย และข้อมูลนั้นควรจะเป็นตัวแทนของระบบองค์การทั้งหมดในส่วนรวม มิใช่เฉพาะคนใดคนหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การเท่านั้น

2.) ผู้รับบริการจะต้องมีสิทธิเลือกทางเลือกอย่างอิสระ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้รับบริการไม่ควรจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3.) ผู้รับบริการจะต้องมีความรับผิดชอบผูกพันทางใจสูง หากเราพิจารณาถึงการสร้างบ้าน เครื่องมือหรือเทคนิคที่ใช้ก็จะมีหลักการอยู่ว่า จะสร้างอย่างไรจึงไม่ทำให้บ้านทรุด น้ำหนักของพื้นบนของบ้านจึงจะทานได้ เหล็กควรจะเป็นกี่หุน ตอกเข็มลึกเท่าใด ต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นเทคนิคในการสร้างบ้าน จะต้องทำความเข้าใจก่อนลงมือสร้าง ในด้านการพัฒนาองค์การก็เช่นกัน จำเป็นต้องศึกษาก่อนว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจอยู่ในองค์การนั้น อำนาจนั้นได้มาอย่างไร ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจที่ผ่าน ๆ มา รวมทั้งระบบการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องศึกษาให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาองค์การว่าควรจะเริ่มที่ใด? ควรจะพัฒนาต่อไปอย่างไร และควรจะมีวิธีการเช่นไรบ้าง เป็นต้น

น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ -ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

องค์กรตัวอย่าง

กรรมการผู้จัดการ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ไทย) ธุรกิจไอทีเป็นธุรกิจที่พัฒนาและเติบโตค่อนข้างเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจไอทีต้องพัฒนาตามอย่างรวดเร็ว

บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด หรือที่รู้จักกันในนามของ HP เป็นบริษัทหนึ่งที่ทำธุรกิจไอทีและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวางทั้งในระดับองค์กรและกลุ่มผู้บริโภค ความสำเร็จของ HP นี้ ผู้บริหารอย่าง "คุณสรรพัชญ โสภณ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่าไม่ได้มาจากตัวผู้บริหารเพียงคนเดียว หากแต่มาจากทีมงาน HP ทั้งองค์กรที่ช่วยกันผลักดันจนทำให้ HP ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับจนถึงทุกวันนี้

แม้ความสำเร็จจะมาจากทีมงาน แต่ผู้นำที่ดีย่อมทำให้องค์กะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก นอกจากผู้บริหาร HP แล้ว "คุณสรรพัชญ" ยังเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจไอที และยังเคยดำรงตำแหน่งคณะผู้บริหารในหลายองค์กร รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทยด้วย เรียกว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในวงการไอทีมาโดยตลอด แต่กว่าจะมาเป็นผู้นำระดับแนวหน้าได้นั้น "คุณสรรพัชญ" ใช้หลักการบริหารแบบชาวสวน ที่ดูแลพนักงานแบบต้นไม้ เพื่อให้ผลิดอกออกผลให้มากที่สุด

"การบริหารองค์กรก็เหมือนเราเป็นชาวสวน พนักงานเป็นต้นไม้ หน้าที่ของเราคือจะทำอย่างไรให้ทุกต้นมีโอกาสได้เจอแสงแดดเท่ากัน รดน้ำเท่าเทียมกัน ให้ปุ๋ยเท่าเทียมกัน ดูแลเรื่องของแมลงต่าง ๆ นั่นคือหน้าที่เรา ถ้าสวนเราใหญ่โต สวยงาม ออก ดอก ออกผลเยอะ ก็มีความสุข ต้นไหนที่มีกาฝากเยอะเราก็ตัดทิ้ง เพื่อไม่ให้รบกวนต้นอื่น นั่นเป็นวิธีการที่ผมนำมาใช้ในการบริหารองค์กร คือให้โอกาสพนักงานเติบโตในองค์กรของเรา ให้เขาแสดงความสามารถออกมาเต็มที่ นั่นคือความแข็งแรงขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่เราทำอยู่เป็นประจำ เหมือนเราอยู่บ้าน เป็นบ้านที่น่าอยู่ มีการปฏิบัติต่อกันที่ดี คนก็อยากอยู่ในบ้าน บ้านก็มีความสุข ร่มรื่น องค์กรก็เช่นเดียวกัน เราต้องดูแลเขาดี ให้โอกาสเขา เหมือนที่เคยทำในอดีต ถ้าบอกว่าองค์กรต้องการให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ ก็เปิดเวทีให้เขาแสดงความคิดเห็น นั่นคือวัฒนธรรมองค์กร เพราะฉะนั้น HP เมืองไทย วัฒนธรรมอาจจะไม่เหมือนกับ HP ประเทศอื่น เพราะการทำงานแตกต่างกัน"

"หน้าที่หลักในการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ คือทำอย่างไรจะทำให้องค์กรที่เรารับจ้างเข้ามาบริหารเติบโตก้าวหน้า อีกอย่างเรื่องของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญมาก สินค้าจะไม่ดีเลยถ้าคนไม่ดี จะทำอย่างไรที่จะให้คนเติบโตก้าวหน้าไปกับเรา ให้องค์กรเป็นที่อยากทำงานของคนข้างนอก"

นอกจากตัวผู้นำที่ทำหน้าที่ผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จแล้ว อีกภาระหนึ่งนั่นคือการดูแลบุคลากรในองค์กร "คนในองค์กรจะเติบโตมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์ว่าจะเก่งหรือไม่เก่ง ต้องให้ทุกคนมีโอกาสได้ในสิ่งที่เท่าเทียมกัน ต้นไม้ต้นไหนไม่ดีมีกาฝากขึ้นมาก็ต้องตัดทิ้งและเปลี่ยนแปลง คนที่ดีก็ต้องให้เติบโตพัฒนาต่อไป

การดูแลที่ดีที่สุดคือการให้ข้อมูล ให้ความรู้ให้มากที่สุด ทุกคนต้องเรียนรู้ได้มากกว่าแต่ก่อน เพราะเราแข่งขันกันเยอะมาก ที่ HP มีเครื่องมือต่าง ๆ ให้ได้ศึกษามากมาย มอบหมายงานให้เหมาะกับคน ให้ต่างคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อเรียนรู้จากการทำงาน"

"ทุกองค์กรให้ความสำคัญเรื่องคน คนยิ่งให้โอกาสได้ใช้ความรู้มากเท่าไรก็ยิ่งเก่งมากขึ้นเท่านั้น หลักการคือให้แสดงความสามารถของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่องค์กรต้องยอมรับในความสามารถของเขาก่อน ที่ HP จะให้โอกาสพนักงานค่อนข้างมาก ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงผู้บริหารทั้งนั้น ทุกสัปดาห์จะมีการพบปะกับพนักงานทุกคน ทั้งช่าง พนักงาน และตำแหน่งอื่น ๆ เพื่อให้พูดคุยแสดงความคิดเห็น ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกัน

"ผมได้ไอเดียมากมายจากการพบกับพนักงาน พยายามจะจัดให้มีการพูดคุยกันแบบนี้ทุกสัปดาห์ ที่ผ่านมาก็ทำมา 1 ปีกว่าแล้ว ที่สำคัญการดึงไอเดียมาใช้ทำให้ทำงานได้ตรงและคล่องตัวมากขึ้น"

"เรื่องการทำงานเป็นทีมถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด การทำงานคนเดียวไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ต้องทำกันเป็นทีม แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน เพราะบางคนชอบเก่งคนเดียว และคนที่เก่งมาก ๆ ส่วนใหญ่จะทำงานเป็นทีมไม่ค่อยได้ จึงต้องฝึกให้แสดงความคิดเห็นและความสามารถร่วมกัน แล้วให้รางวัลเป็นทีม เป็นการสร้างบรรยากาศ ในการทำงานร่วมกัน คนเก่งคนเดียวทำงานไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อให้องค์กรเติบโตไปข้างหน้าได้"

แม้ว่าจะทำงานได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือปัญหา ยิ่งเจอปัญหาเร็ว เท่าไรก็ยิ่งประสบความสำเร็จได้เร็วเท่านั้น "จุดแข็งของ HP คือเป็นบริษัทไอทีเซอร์วิสที่มีสินค้าครบวงจร แต่ก็เป็นองค์กรใหญ่ที่จะต้องทำให้คนในองค์กรเดินไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการจัดบ้านให้เข้าที่ทุกอย่างไปได้ดีเกินคาด เพราะปัญหาที่คิดว่าจะเยอะก็ไม่เยอะอย่างที่คิด สำหรับปัญหานั้นถือว่าเป็นเรื่องปรกติของการทำงาน เพราะหน้าที่ของผมคือต้องแก้ปัญหา ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่มีงานทำ"

"ผมชอบเจอปัญหา และชอบแก้ปัญหา พอมีการพูดคุยกันเป็นประจำทุกอาทิตย์ ทำให้ผมได้ไอเดียจากพนักงานมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทุกคนจะช่วยกันคิด วิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสีย แล้วตัดสินใจแก้ปัญหา ที่ผ่านมามีการแข่งขันกันตลอดเวลา มีคนที่อยู่ได้และอยู่ไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงตัวเองให้ดีที่สุด นั่นคือสิ่งที่เราจะอยู่รอดได้ จะทำอย่างไรให้คนมีความเข้าใจ ในสินค้าให้ดี เข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ถ่องแท้ ให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุดจากสินค้าของเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นได้เขาต้องซื้อเรา เสนอสินค้าที่เหมาะสม และบริการที่เหมาะสม ในราคาที่ยุติธรรม"

ทุกวันนี้แม้จะยังบอกไม่ได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยตอกย้ำในเรื่องนี้คือความเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ชาวสวนอย่าง "คุณสรรพัชญ" ได้ปลูกไว้

"อย่างที่บอกว่าผมเป็นชาวสวนคนหนึ่ง ถ้าต้นไม้ที่ผมปลูกเติบโตขึ้นก็ถือว่าผมประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมาผมก็มีลูกน้องหลายคนที่ทุกวันนี้กลายเป็นผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ มากมาย ถือว่าผมมีส่วนร่วมในการผลักดันความสำเร็จของคนอื่น ๆ ตรงนี้ทำให้รู้สึกว่ามีความสุขที่เห็นคนเติบโตในหน้าที่การงาน"

"การที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่พื้นฐานคือต้องเป็นคนที่ทำงานหนัก ทำงานเป็น ทำงานร่วมกัน คนเก่งคนเดียวทำงานไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อทีม หน้าที่ของผมคือการทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกน้องเอาความรู้ ความสามารถ ออกมาใช้ให้ได้มากที่สุด ยิ่งมากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องเปิดโอกาสให้แก่พนักงานทุกคน ผู้บริหารจะต้องเป็นคนที่ฟังมากกว่าพูด ไม่ใช่พูดอย่างคิดอย่าง และทำอีกอย่าง แต่ต้องเป็นคนพูดในสิ่งที่คิด ทำในสิ่งที่พูด พนักงานก็จะเกิดความชัดเจนและเข้าใจว่าจะต้องทำงานกันอย่างไร"

"ที่สำคัญคือต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว เราเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ต้องยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คู่แข่งเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ก็คงอยู่ไม่ได้ ต้องปรับตัวและคิดว่าความต้องการใหม่ ๆ คืออะไร แล้วตัวเราเองคิดอย่างไร"

"คนเรามีตัวเลือกในการทำงานหลายอย่าง ผมเองเลือกที่จะเป็นลูกจ้าง หรือบางคนอาจเลือกเป็นเจ้าของกิจการก็ได้ ผมเป็นลูกจ้างทำงานมากว่า 30 ปี ผมคิดเสมอว่าตัวเองเป็นเจ้าของกิจการ ต้องคิดว่าเราทำงานเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร ความเป็นมืออาชีพของเราจะช่วยพัฒนาองค์กร ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรเติบโตและพัฒนาต่อไปได้ ถ้าคิดได้แบบนี้ก็สามารถจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน" คุณสรรพัชญ กล่าวทิ้งท้าย

- ประโยชน์ของการพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใหญ่

2. มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะระบบย่อยบางระบบเท่านั้น องค์การจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ด้านวัตถุประสงค์, ด้านสังคม-มนุษย์, ด้านเทคโนโลยี, ด้านงาน, ด้านโครงการ และด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

3. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา

5. การพัฒนาองค์การ มุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ เพราะ

5.1ความสำเร็จขององค์การ สืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

5.2วัฒนธรรมของทีมงาน มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

5.3การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่ม ตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม จะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อน แล้วต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ

ถึงแม้ว่าการพัฒนาองค์การจะเป็นวิธีการที่มีข้อดีเด่นอยู่หลายประการก็ตาม แต่ก็มีปัญหาซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การอยู่หลายประการเช่นกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาองค์การเอง ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับจุดอ่อนที่เกิดขึ้นคือ

1. เน้นด้านปรัชญามนุษย์นิยมจนเกินไป จนลืมให้ความสนใจในด้านโครงสร้าง งานและเทคโนโลยี ซึ่งทุกด้านควรมีความสำคัญและสัมพันธ์กัน

2. เทคนิคของการพัฒนาองค์การ บางอย่างควรจะมีการพิจารณาความเหมาะสมของการนำมาใช้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การนำเทคนิคที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้แก้ปัญหาขององค์การ อันเนื่องมาจากความนิยมหรือการเห่อเทคนิคใหม่ ๆ มากกว่า กลายเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การที่ใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาขององค์การ

3. ต้องการการลงทุนสูงทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากลักษณะเฉพาะบางอย่างของการพัฒนาองค์การ คือ เป็นวิธีการพัฒนาที่ไม่มีหนทางลัดที่จะแก้ปัญหาขององค์การ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรขององค์การ โดยไม่ใช้เวลาและความพยายามที่ต่อเนื่อง

4. ข้อจำกัดด้านทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้ต้องสำรวจการพัฒนาองค์การว่า ขัดกับประเพณี ความเชื่อและวัฒนธรรมหรือไม่ เพราะการนำเทคนิคการพัฒนาองค์การไปใช้ในที่ที่มีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจเกิดข้อจำกัดที่ทำให้การพัฒนาองค์การไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนหรือประเทศไต้หวัน มีวัฒนธรรมที่ให้ความเคารพผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ ซึ่งสืบเนื่องมาช้านาน ดังนั้น การจะวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่จึงทำได้ลำบาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่ส่งเสริมด้านการพัฒนาองค์การ แต่ประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี นั่นคือ ประเพณีดั้งเดิมของการอภิปราย ถกเถียงปัญหาเป็นกลุ่ม การมีมติเอกฉันท์ มิใช่จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นวัฒนธรรมอันนี้จึงช่วยส่งการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี ในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ คนไทยยังติดนิสัยที่ทำตาม ขอให้สั่ง รับรองว่าทำได้แน่ แต่ไม่ชอบคิด เลยกลายเป็นคิดไม่เป็น และยังไม่สามารถพูดกันอย่างตรงไปตรงมาได้ ผู้ใหญ่ยังชอบคำยกยอ ไม่ชอบให้ใครมาเป็นกระจกส่องดูเงาที่แท้จริง เมื่อสภาวะของวัฒนธรรมยังคงรูปเช่นนั้น ก็นับว่าวัฒนธรรมเป็นตัวถ่วงในการพัฒนาองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การนั้น เน้นที่ผู้บริหารต้องมีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในองค์การได้กล้าแสดงออก กล้าเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการปฏิบัติงานขององค์การ

5. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้นำการเปลี่ยนแปลง หากผู้นำการเปลี่ยนแปลง ขาดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และขาดทักษะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี การพัฒนาองค์การก็จะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์

6. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้บริหาร การพัฒนาองค์การจะประสบความสำเร็จได้ดีส่วนหนึ่งก็คือ การยอมรับและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง แต่การพัฒนาองค์การต้องดำเนินการสืบเนื่องเป็นระยะเวลายาว บางครั้งจึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสับเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารคนใหม่เกิดไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์การก็จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์การ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ลักษณะเด่นของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การเป็นศูนย์รวมจุดสุดยอดทางด้านวิชาการจากแขนงต่าง ๆ เช่น สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาองค์การ และทฤษฎีทางด้านการจัดการ และเมื่อรวมเข้ากับลักษณะและเนื้อหาสาระทั้งหมดของการพัฒนาองค์การแล้ว จะเห็นได้ว่าการพัฒนาองค์การนั้นแน่นหนาไปด้วยแก่นของเนื้อหาสาระและหลักการ

แม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา เป็นลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างแพร่หลาย

การมุ่งเน้นที่วัฒนธรรมขององค์การ การพัฒนาองค์การไม่เพียงแต่เล็งเห็นความสำคัญขององค์การเท่านั้น แต่ยังยึดหลักการวิเคราะห์วัฒนธรรมขององค์การ และมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การอีกด้วย เช่น การพิจารณาความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้การพัฒนาองค์การมีลักษณะแตกต่างจากเทคนิคการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ และลักษณะที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การนี้เอง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิถีทางสู่ความสำเร็จในการทำให้องค์การมีความสมบูรณ์ หรือทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การพัฒนาองค์การ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นข้อดี ที่จะช่วยให้องค์การประสบความสำเร็จ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งความมั่นคงขององค์การ เพราะเทคนิคการพัฒนาองค์การต่างๆ นั้น เป็นการนำเอาวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ มาช่วยแก้ปัญหาขององค์การ ทั้งทางด้านสังคมและมนุษย์ เน้นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีการแข่งขันเพื่อแพ้หรือชนะในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม มีแต่มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม, ประสิทธิภาพของกลุ่มและองค์การโดยรวม ไม่มุ่งเน้นการแตกแยกชิงดีชิงเด่น มุ่งการผสมผสานวัตถุประสงค์และสมาชิกขององค์การให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การคือกระบวนการของการวิเคราะห์โครงสร้างขององค์การ เพื่อความพึงพอใจสูงสุด และประสิทธิภาพของแต่ละบุคคลกลุ่มคนและลูกค้า การเติบโตและความน่าเชื่อถือขององค์กรคือสิ่งที่คนทำ ในขอบเขตนี้ การพัฒนาองค์การคือการคอยนำกระบวนการเติบโตขององค์การโดยตรง นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่ทำงานในด้านนี้ จะทำงานในขอบเขตของการทำให้มีความรู้สึก ที่จะเป็นปัจจัยที่จะชักนำให้เกิดพฤติกรรมในองค์การ

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

(OD Process)

ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย

1. การยอมรับปัญหา

2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

3. การวิเคราะห์ปัญหา

4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ

5. การวางแผนดำเนินงาน

6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

7.การประเมินผล

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

-เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

-เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

-เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

-เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

-มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

-ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

-ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

-มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

-ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

-ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

-การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

-ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

-ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

-ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

-ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ

-ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629 ( ศูนย์ปากช่อง )

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ หมายถึง วิธีการดำเนินงานการวางแผน การเปลี่ยนวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงองค์การให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแหล่ง ที่มาของการอยู่ร่วมกันทางสสังคม และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ตามประเภทของเนื้อหา สาระในขอบเขตที่ประกอบด้วย จิตวิทยาทางสังคม สาขาวิชากลศาสตร์ จิตวิทยาเกี่ยวกับการอุตสาหกรรม รวมทั้งทฤษฎีการจัดการ หลักการสำคัญของการพัฒนาองค์การ คือการติดต่อเชื่อม โยงของหน่วยงานให้เป็นไปตามความต้องการ

สรุปความหมายของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1. เป็นความพยายามในการเปลี่ยนแปรงองค์การอย่างมีแบบแผนไว้ล่วงหน้า

2. เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบทุกระบบที่ประกอบขึ้นเป็นองค์การ

3. เพื่อวัตถุประสงค์ในการเจริญก้าวหน้าของส่วนต่าง ๆ ภายในองค์การ

4. โดยอาศัยขอมูลของความรู้จากพฤติกรรมเข้ามาสอดแทรกในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง

5. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวขององค์การให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

ปัจจัยสู่ความสำเร็จการพัฒนาองค์กร

1. การพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) ให้กับบุคลากรภายในองค์กรทุกระดับ ภาวะผู้นำไม่ได้มีเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้บริหารผู้จัดการ หรือหัวหน้างานเท่านั้นแต่ภาวะผู้นำสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับพนักงานระดับปฏิบัติการ การพัฒนาภาวะผู้นำนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการพัฒนาการทำงานเป็นทีม

2. การเรียนรู้ร่วมกับเป็นทีม (Team Learning) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม จะช่วยพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เท่าเทียมและทันกัน

3. ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) คือ การที่บุคลากรภายในองค์กรสามารถเข้าใจภาพรวมขององค์กร และเห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ องค์กรต้องสร้างรูปแบบและแนวคิดการคิดอย่างเป็นระบบไว้ให้ทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งกระตุ้นให้บุคลากรทุกระดับได้ตระหนักถึง

นางสาวปาริชาต ต่วนสูงเนิน รหัสนักศึกษา 5050504634

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใหญ่

2. มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะระบบย่อยบางระบบเท่านั้น องค์การจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ด้านวัตถุประสงค์, ด้านสังคม-มนุษย์, ด้านเทคโนโลยี, ด้านงาน, ด้านโครงการ และด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

3. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา

5. การพัฒนาองค์การ มุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ เพราะ

5.1ความสำเร็จขององค์การ สืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

5.2วัฒนธรรมของทีมงาน มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

5.3การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่ม ตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม จะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

ความหมายของ การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อน แล้วต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ

ถึงแม้ว่าการพัฒนาองค์การจะเป็นวิธีการที่มีข้อดีเด่นอยู่หลายประการก็ตาม แต่ก็มีปัญหาซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การอยู่หลายประการเช่นกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาองค์การเอง ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับจุดอ่อนที่เกิดขึ้นคือ

1. เน้นด้านปรัชญามนุษย์นิยมจนเกินไป จนลืมให้ความสนใจในด้านโครงสร้าง งานและเทคโนโลยี ซึ่งทุกด้านควรมีความสำคัญและสัมพันธ์กัน

2. เทคนิคของการพัฒนาองค์การ บางอย่างควรจะมีการพิจารณาความเหมาะสมของการนำมาใช้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การนำเทคนิคที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้แก้ปัญหาขององค์การ อันเนื่องมาจากความนิยมหรือการเห่อเทคนิคใหม่ ๆ มากกว่า กลายเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การที่ใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาขององค์การ

3. ต้องการการลงทุนสูงทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากลักษณะเฉพาะบางอย่างของการพัฒนาองค์การ คือ เป็นวิธีการพัฒนาที่ไม่มีหนทางลัดที่จะแก้ปัญหาขององค์การ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรขององค์การ โดยไม่ใช้เวลาและความพยายามที่ต่อเนื่อง

4. ข้อจำกัดด้านทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้ต้องสำรวจการพัฒนาองค์การว่า ขัดกับประเพณี ความเชื่อและวัฒนธรรมหรือไม่ เพราะการนำเทคนิคการพัฒนาองค์การไปใช้ในที่ที่มีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจเกิดข้อจำกัดที่ทำให้การพัฒนาองค์การไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนหรือประเทศไต้หวัน มีวัฒนธรรมที่ให้ความเคารพผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ ซึ่งสืบเนื่องมาช้านาน ดังนั้น การจะวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่จึงทำได้ลำบาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่ส่งเสริมด้านการพัฒนาองค์การ แต่ประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี นั่นคือ ประเพณีดั้งเดิมของการอภิปราย ถกเถียงปัญหาเป็นกลุ่ม การมีมติเอกฉันท์ มิใช่จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นวัฒนธรรมอันนี้จึงช่วยส่งการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี ในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ คนไทยยังติดนิสัยที่ทำตาม ขอให้สั่ง รับรองว่าทำได้แน่ แต่ไม่ชอบคิด เลยกลายเป็นคิดไม่เป็น และยังไม่สามารถพูดกันอย่างตรงไปตรงมาได้ ผู้ใหญ่ยังชอบคำยกยอ ไม่ชอบให้ใครมาเป็นกระจกส่องดูเงาที่แท้จริง เมื่อสภาวะของวัฒนธรรมยังคงรูปเช่นนั้น ก็นับว่าวัฒนธรรมเป็นตัวถ่วงในการพัฒนาองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การนั้น เน้นที่ผู้บริหารต้องมีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในองค์การได้กล้าแสดงออก กล้าเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการปฏิบัติงานขององค์การ

5. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้นำการเปลี่ยนแปลง หากผู้นำการเปลี่ยนแปลง ขาดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และขาดทักษะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี การพัฒนาองค์การก็จะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์

6. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้บริหาร การพัฒนาองค์การจะประสบความสำเร็จได้ดีส่วนหนึ่งก็คือ การยอมรับและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง แต่การพัฒนาองค์การต้องดำเนินการสืบเนื่องเป็นระยะเวลายาว บางครั้งจึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสับเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารคนใหม่เกิดไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์การก็จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์การ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ลักษณะเด่นของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การเป็นศูนย์รวมจุดสุดยอดทางด้านวิชาการจากแขนงต่าง ๆ เช่น สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาองค์การ และทฤษฎีทางด้านการจัดการ และเมื่อรวมเข้ากับลักษณะและเนื้อหาสาระทั้งหมดของการพัฒนาองค์การแล้ว จะเห็นได้ว่าการพัฒนาองค์การนั้นแน่นหนาไปด้วยแก่นของเนื้อหาสาระและหลักการ

แม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา เป็นลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างแพร่หลาย

การมุ่งเน้นที่วัฒนธรรมขององค์การ การพัฒนาองค์การไม่เพียงแต่เล็งเห็นความสำคัญขององค์การเท่านั้น แต่ยังยึดหลักการวิเคราะห์วัฒนธรรมขององค์การ และมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การอีกด้วย เช่น การพิจารณาความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้การพัฒนาองค์การมีลักษณะแตกต่างจากเทคนิคการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ และลักษณะที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การนี้เอง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิถีทางสู่ความสำเร็จในการทำให้องค์การมีความสมบูรณ์ หรือทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การพัฒนาองค์การ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นข้อดี ที่จะช่วยให้องค์การประสบความสำเร็จ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งความมั่นคงขององค์การ เพราะเทคนิคการพัฒนาองค์การต่างๆ นั้น เป็นการนำเอาวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ มาช่วยแก้ปัญหาขององค์การ ทั้งทางด้านสังคมและมนุษย์ เน้นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีการแข่งขันเพื่อแพ้หรือชนะในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม มีแต่มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม, ประสิทธิภาพของกลุ่มและองค์การโดยรวม ไม่มุ่งเน้นการแตกแยกชิงดีชิงเด่น มุ่งการผสมผสานวัตถุประสงค์และสมาชิกขององค์การให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

(OD Process)

ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย

1. การยอมรับปัญหา

2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

3. การวิเคราะห์ปัญหา

4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ

5. การวางแผนดำเนินงาน

6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

7.การประเมินผล

การยอมรับปัญหา

ก่อนที่กระบวนการพัฒนาองค์การจะเริ่มต้นได้ สมาชิกบางคนภายในองค์การ จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน สมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้น ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว กระบวนการการพัฒนาองค์การก็ไม่สามารถเริ่มต้นได้ เมื่อปัญหาถูกยอมรับ และรู้สึกว่าการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว องค์การอาจจะติดต่อที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ เพื่อการค้นหาความเป็นไปได้ของการใช้การพัฒนาองค์การ เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การ ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องมีความรู้ทางด้านพฤติกรรมขององค์การและการพัฒนาองค์การ และจะต้องมีประสบการณ์ในการใช้การพัฒนาองค์การเพื่อแก้ปัญหาภายในองค์การด้วย

การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

การเข้าของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วยขั้นตอน การติดต่อ การสำรวจ และการทำสัญญา

2.1 การติดต่อ หมายถึง การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายนอก และ ที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายใน ในกรณีของที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายนอก การติดต่อมักจะเริ่มขึ้นโดยองค์การ ซึ่งจะรู้จักบุคคลที่เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ไม่ว่าจะรู้จักโดยส่วนตัวหรือโดยความมีชื่อเสียงของที่ปรึกษาฯ นั้นๆ และติดต่อเขาเพื่อความมุ่งหมายของการพิจารณาความเป็นไปได้ ของการใช้การพัฒนาองค์การภายในองค์การนั้น ในกรณีของที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายใน ที่เป็นลูกจ้างขององค์การ การติดต่ออาจจะเริ่มขึ้นมาโดยองค์การ หรือโดยที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การเองก็ได้

2.2 การสำรวจ เป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ การสำรวจจะเป็นการประชุมร่วมกัน โดยทั่วไปจะใช้ผู้บริหารอาวุโสเป็นตัวแทนขององค์การ การสำรวจกำหนดขึ้นมาเพื่อให้โอกาสแก่องค์การและที่ปรึกษาฯ จะได้มีการประเมินซึ่งกันและกัน เช่น การประเมินว่าที่ปรึกษาฯ นั้น มีคุณสมบัติเหมาะสมในฐานะเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ หรือไม่ โดยพิจารณาถึงประสบการณ์และความรู้ทางพฤติกรรมองค์การของผู้เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

ส่วนผู้ที่เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะประเมินว่าองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาอะไร และความพร้อมของสมาชิกภายในองค์การต่อการเปลี่ยนแปลง โอกาสความสำเร็จของการพัฒนาองค์การจะขึ้นอยู่กับ

1. ความพร้อมขององค์การที่จะยอมรับปัญหาภายในองค์การอย่างเปิดเผย

2. ความเต็มใจขององค์การที่จะรับผิดชอบปัญหาภายในองค์การอย่างแท้จริง และ

3. ความเต็มใจขององค์การที่จะผูกพัน เวลา ทรัพยากรและพลัง กับกระบวนการการพัฒนาองค์การ

ผู้เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องสำรวจปัจจัยเหล่านี้ทุกอย่าง เพื่อการติดสินใจว่าพวกเขาควรจะดำเนินการพัฒนาองค์การภายในองค์การนี้หรือไม่

การทำสัญญา สัญญาที่ชัดเจนระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การและองค์การจะมีความสำคัญมาก องค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องรู้ว่าแต่ละฝ่ายคาดหวังอะไรจากกัน เพื่อการดำเนินการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ปรึกษาฯ ต้องการความร่วมมือและความผูกพันจากองค์การ เช่น การเข้าหาข้อมูลและคน, ความเต็มใจเข้าร่วมการประชุม เป็นต้น ส่วนองค์การก็ต้องการรู้แผนงานของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ, ระยะเวลาของการดำเนินงานการพัฒนาองค์การ, ค่าบริการของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และผลลัพธ์จากการดำเนินการพัฒนาองค์การ เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัญหา

การวางแผนและการดำเนินการพัฒนาองค์การ จะต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงานของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการของความร่วมมือร่วมใจ การมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในองค์การอย่างจริงจัง ภายในกระบวนการของการรวบรวมข้อมูลจะเป็นสิ่งจำเป็น พวกเขาจะต้องพิจารณาประเภทของข้อมูลที่ต้องถูกรวบรวม สภาวะขององค์การในปัจจุบัน และอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่

3.1 การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์จะเป็นเทคนิคการรวบรวมข้อมูล ที่ใช้ในการพัฒนาองค์การมากที่สุด เพราะมีความคล่องตัวมาก ในระหว่างการสัมภาษณ์ สมาชิกขององค์การสามารถกล่าวถึงแหล่งที่มาของปัญหา หรือความยุ่งยากภายในองค์การได้อย่างเสรี นอกจากนี้เมื่อปัญหาบางอย่างถูกกล่าวถึง ที่ปรึกษาฯ สามารถถามคำถามเพิ่มเติม เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น การสัมภาษณ์จะให้โอกาสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างที่ปรึกษาฯ กับสมาชิกขององค์การได้ การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง โดยทั่วไปการสัมภาษณ์จะคัดเลือกสมาชิกขององค์การเพื่อการสัมภาษณ์เพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้ภาพรวมที่ถูกต้องของปัญหา ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจะถูกกระทบจากความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์อีกด้วย ผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้ถามคำถามบางอย่างประการสุดท้ายการสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ให้ชัดเจนและถูกต้องจะยุ่งยาก นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้แบบสอบถาม

3.2 แบบสอบถาม แบบสอบถามจะถูกสร้างขึ้นเพื่อการมุ่งปัญหาที่สำคัญภายในองค์การ แบบสอบถามจะมีข้อดีคือ การรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจำนวนมากได้ภายในเวลาระยะสั้น ความคิดเห็นของสมาชิกภายในองค์การ สามารถรวบรวมได้โดยใช้คำถามมาตรฐาน คำตอบของสมาชิกภายในองค์การจะถูกวัดโดยใช้มาตราส่วน ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาตรฐานเป็นตัวเลข จะช่วยให้การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การง่ายขึ้น แบบสอบถามจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ขาดความคล่องตัว เราไม่อาจจะรู้ได้ว่า คำตอบของเขาถูกต้องหรือไม่ แบบสอบถามอาจจะมองข้ามปัญหาที่สำคัญภายในองค์การ นอกจากนี้แบบสอบถามยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจระหว่างที่ปรึกษาฯ กับสมาชิกขององค์การได้ โดยทั่วไปการเผชิญหน้าหนึ่งต่อหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นเมื่อเราใช้แบบสอบถาม การใช้แบบสอบถามค่อนข้างจะเป็นทางการและชาเย็น

3.3 การสังเกต ที่ปรึกษาฯ สามารถรวบรวมข้อมูลภายในองค์การได้โดยใช้การสังเกต จากบรรยากาศโดยทั่วไปภายในองค์การ ที่ปรึกษาฯ สามารถมองเห็นปัญหาภายในองค์การได้ พวกเขาสามารถมุ่งความสนใจไปยังส่วนต่าง ๆ ขององค์การเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ได้ การสังเกตจะเสียเวลามากและไม่เป็นระบบ แม้ว่าที่ปรึกษาฯ จะมองเห็นปัญหาภายในองค์การโดยทั่วไป ยิ่งกว่านี้การบันทึกและการสรุปผลจากการสังเกตเพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับไปยังสมาชิกขององค์การจะยุ่งยาก ประการสุดท้าย เราไม่อาจจะรู้ได้ว่าพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การที่ถูกสังเกตโดยที่ปรึกษาฯ นั้น จะเป็นจริงหรือไม่

3.4 ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลเพิ่มเติมหมายถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ภายในองค์การ ที่ไม่ไดถูกรวบรวมอย่างเปิดเผย เพื่อความมุ่งหมายของการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ เช่น อัตราการขาดงาน อัตราการออกจากงาน อัตราการผลิต และอัตราของเสีย เป็นต้น

การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

เมื่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาภายในองค์การเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับ ที่ปรึกษาฯ จะรายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ เป้าหมายของการให้ข้อมูลป้อนกลับจะมีอยู่สองด้าน คือ ที่ปรึกษาฯ ต้องการความมั่นใจว่าสมาชิกขององค์การยอมรับว่า ปัญหาและภาพรวมสถานะขององค์การในปัจจุบันมีความถูกต้อง เป้าหมายอีกอย่างคือ เพื่อสร้างความกระตือรือร้นท่ามกลางสมาชิกขององค์การ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในองค์การ โดยทั่วไปการใช้ข้อมูลป้อนกลับจะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมร่วม ระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และกลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์การ บทบาทของที่ปรึกษาฯ ในระหว่างการประชุม คือ การเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้ และการช่วยเหลือในระหว่างการอภิปรายและการตีความข้อมูลของพวกเขา ที่ปรึกษา ฯ จะไม่บอกว่าข้อมูลที่เสนอนั้น องค์การจะต้องไปดำเนินการอะไรบ้าง แต่ให้อธิบายข้อมูลเฉพาะเพื่อให้เห็นชัดเจน และช่วยเหลือพวกเขาในการแก้ไขปัญหาขององค์การอย่างสร้างสรรค์เท่านั้น

การวางแผนดำเนินงาน (Action Planning)

เมื่อปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การวางแผนดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ บทบาทของที่ปรึกษาฯ คือ การช่วยเหลือสมาชิกขององค์การ สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาขององค์การขึ้นมา ที่ปรึกษาฯ จะต้องไม่บอกว่าสมาชิกขององค์การควรจะดำเนินการอะไร หรือไม่ควรจะดำเนินการอะไร สมาชิกขององค์การนั้นๆ ควรจะกำหนดทางเลือกแก้ปัญหาของพวกเขาขึ้นมาเอง นี่จะเป็นการสร้างความเป็นเจ้าของและความผูกพันต่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จของกระบวนการการพัฒนาองค์การเป็นอย่างยิ่ง

การช่วยเหลือของที่ปรึกษาฯ ในระหว่างการวางแผนดำเนินงานจะมีอยู่สามด้าน คือ ประการแรก ที่ปรึกษาฯ สามารถเสนอแนะทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา บนรากฐานประสบการณ์และความรู้ของเขา สมาชิกขององค์การจะรู้เรื่ององค์การดีกว่า แต่อาจจะมองไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ภายในองค์การ ประการที่สอง ที่ปรึกษาฯ สามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาบางอย่างที่คาดไม่ถึงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงที่ถูกดำเนินการ ที่ปรึกษาฯ จะสามารถคาดคะเนปัญหาเหล

สาวิตรี อุ่นแท่น 5050504620 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาทีมงาน

ทีมงาน หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันและกัน ในอันที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น การพัฒนาทีมงานจึงมีความหมายว่า เป็นกระบวนการในการวางแผนด้วยความสุขุมรอบคอบ ในอันที่จะส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล และในขณะเดียวกันก็เป็นการหาช่องทางที่จะลดความยุ่งยากและปัญหาหรือ อุปสรรคต่างๆ ที่จะเข้ามาขัดขวางการใช้ความสามารถและทรัพยากรอันมีค่าของทีมงาน ทีมงานแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ทีมงานที่มีอยู่แล้วและทีมงานที่สร้างขึ้นมาใหม่ภายหลัง ซึ่งอาจได้แก่ทีมงานในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นใหม่ จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนากันก่อนที่จะเริ่มทำงาน

แมกเกรเกอร์ เห็นว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการดังนี้

1. สมาชิกของทีมงานแต่ละคน ต้องเข้าใจบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตนและวัตถุประสงค์ของทีมงานได้เป็นอย่างดี

2. สมาชิกแต่ละคนต่างก็ยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากความกลัวและความละอายแต่อย่างใด

3. การติเพื่อก่อ มิใช่การติเพื่อทำลาย มักเกิดขึ้นเสมอ

การพัฒนาทีมงานที่มีอยู่แล้ว ย่อมมีความแตกต่างจากการพัฒนาทีมงานที่ตั้งขึ้นใหม่อย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะลักษณะปัญหาของกลุ่มหรือทีมงานที่มีอยู่แล้ว แตกต่างจากปัญหาของทีมงานใหม่นั่นเอง.

การพัฒนาคุณภาพงาน

เทคนิคการพัฒนาคุณภาพงาน เกิดครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้รับคามช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และอาศัยหลักสถิติเบื้องต้นเข้าช่วย ต่อมาญี่ปุ่นได้พยายามผสมผสานกิจกรรมการควบคุมคุณภาพของสินค้า เข้ากับหลักการบริหารแบบการมีส่วนร่วมที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น

นอกจากจะใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังกล่าวแล้ว เทคนิคการพัฒนาคุณภาพงาน ยังได้ใช้เทคนิคอื่นได้อีกหลายประการ เช่น เทคนิคการประชุม การระดมสมอง

การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพงานตามวงจรเดมิง มีอยู่ 4 ขั้นตอนดังนี้

1.การวางแผนร่วมกัน (Plan)

2.การนำแผนไปปฏิบัติร่วมกัน (Do)

3.การติดตามและตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคในการทำงานร่วมกัน (Check)

4.การปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน (Action)

เทคนิคการพัฒนาคุณภาพงานจะสำเร็จหรือไม่ จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างด้วยกัน แต่ที่สำคัญก็คือ ฝ่ายบริหารทุกระดับจะยินยอมสละอำนาจของตนเองให้ปฏิบัติงานอย่างแท้จริงหรือไม่ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การยอมรับและการให้การสนับสนุนอย่างแท้จริงจากผู้มีอำนาจในระดับสูงมากน้อยเพียงใดด้วย

การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

การพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพของงาน เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานนั้นเกิดขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ และการพัฒนาคุณภาพงานนั้นมีประวัติความเป็นมาจากญี่ปุ่น ซึ่งแนวคิดทั้งสามเหมือนกันและมีเป้าหมายคือ "จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของงานไปพร้อมๆ กันกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต"

โรเบิร์ต ที โกเลมบิวสกี ได้กล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีและเครื่องมือสอดแทรกการพัฒนาองค์การ และสรุปว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานนั้น แท้ที่จริงก็เป็นเพียงวิธีการหรือเทคนิคการพัฒนาองค์การเทคนิคหนึ่งเท่านั้น เอดการ์ ฮิวส์ และโทมัส ดัมมิงส์ มองว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน เป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาองค์การก็ได้ แม้จะมีวิธีการในรายละเอียดแตกต่างกันบ้างก็ตาม

ฮิวส์และดัมมิงส์ กล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน หมายถึง แนวทางที่คำนึงถึงคนงานและองค์การ ซึ่งจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ และเป็นเรื่องของการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้เข้ามามีบทบาทร่วมในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการทำงานที่สำคัญๆ

เกณฑ์การพิจารณาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน ตามแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้แก่ลักษณะ ดังนี้

1.ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและอย่างเพียงพอ

2.สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะและปลอดภัย

3.ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี

4.ลักษณะงานนั้นจะต้องส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคงให้แก่ผู้ปฎิบัติงานนั้นๆ ด้วย และอื่นๆ อีกหลายประการ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสอดแทรกการพัฒนาองค์การนั้น มีลักษณะดังนี้

1.โครงการพัฒนาความร่วมมืออันดีระหว่างสหภาพกับฝ่ายบริหารองค์การ

2.การสร้างหรือปรับปรุงองค์การ ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เข้ามามีบทบาทร่วมมากยิ่งขึ้น

3.การพัฒนาคุณภาพงาน

4.การกำหนดเวลาการทำงานแบบยืดหยุ่น

การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม

วิธีการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มนี้ จะปรับปรุงและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ ความขัดแย้งไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลเสียกับองค์กรเสมอไป แต่ในที่นี้จะเป็นการปรับปรุงความขัดแย้งที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะงานของทั้งสองกลุ่ม ที่ต้องทำความเข้าใจอันดีเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผล ในการทำงานนั้นๆ โดยส่วนรวมอีกด้วย

ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่ม ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกปกป้องกลุ่มของตนเอง และต้องไม่มองกลุ่มอื่นเป็นศัตรู ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องรับรู้และเข้าใจปัญหาเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มกันและกัน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน

การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มในองค์การนั้น จะต้องอาศัยความเต็มใจและร่วมมือจากสมาชิกทั้งสองกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำกลุ่มทั้งสองนั้นที่ต้องการจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยอาศัยที่ปรึกษาซึ่งทั้งสองเห็นว่าเป็นคนกลางและเชื่อถือได้ เข้ามาช่วยในกระบวนการแก้ปัญหาขัดแย้งระหว่างกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มได้ช่วยกันค้นปัญหาและสาเหตุของปัญหา ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มดังกล่าว แล้วช่วยกันแก้ปัญหานั้นต่อไป

นางสาวศริญญา หลายนอก 5050504618

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ?

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความมุ่งมั่นที่พัฒนาอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์การ โดยการนำความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์ มาประยุกต์เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และอาศัยแรงผลักดันจากผู้บริหารคอยสนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์การโดยภาพรวม

กระบวนการพัฒนาองค์การ

1. การวินิจฉัยองค์การ เพื่อทำการศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจและอธิบายถึงสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และหาวิธีการพัฒนาองค์การต่อไป

2. การกำหนดกลยุทธ์และวางแผนพัฒนา เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้แผนปฏิบัติการสามารถปฏิบัติได้กับกลยุทธ์ขององค์การและทำให้เกิดผลสมบูรณ์ตามที่ต้องการ โดยปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้

3. การดำเนินงานพัฒนาองค์การ โดยทีมงานพัฒนาองค์การที่ได้แต่งตั้งให้รับผิดชอบในการนำแผนไปปฏิบัติงาน ตารางกิจกรรมกำหนดตารางเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน สิ่งสำคัญของทีมพัฒนาองค์การต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด จึงต้องพยายามแก้ไขปัญหาตลอดเวลา

4. การประเมินการพัฒนาองค์การ เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญที่จะแสดงให้เห็นการช่วยในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาองค์การว่ามีความสอดคล้องกับเป้าหมาย เกณฑ์ และมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใด

มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร

การพัฒนาองค์กรขององค์การบริหารส่วนตำบลตะกาง จังหวัดตราด

- ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจและจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอ และแผนชุมชน

- วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

1)เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาของตำบลให้มุ่งไปสู่สภาพการณ์อันพึงประสงค์ในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้สอดคล้องกับศักยภาพตำบลและปัญหาความต้องการของประชาชนในตำบล

2)เพื่อให้สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3)เพื่อให้สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

- ขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

1)คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น รับทราบปัญหาความต้องการประเด็นการพัฒนาและประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนความช่วยเหลือทางวิชาการ และแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่าง ๆ และข้อมูลในแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

2)คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น รวบรวมแนวทางและข้อมูล นำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

3)คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อเสนอผู้บริ

หารท้องถิ่น

4)ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และประกาศใช้แผน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้ความเห็นชอบก่อน แล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป

และได้ประโยชน์อะไร?

- ประโยชน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

1)สามารถพัฒนาตำบลให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ไปสู่สภาพการณ์อันพึงประสงค์ในอนาคตของตำบล ให้สอดคล้องกับศักยภาพตำบลและปัญหาความต้องการของประชาชนในตำบล

2)ประหยัด สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบในงานต่าง ๆ เป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการประหยัดในองค์กร

3)สามารถแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้

นางสาวศริญญา หลาบนอก รหัสนักศึกษา 5050504618

กศ.ปช.รุ่น 11 ศูนย์ปากช่อง

นางทัศนีย์ ปาปะขัง รหัสนักศึกษา 5050504609

จะพัฒนาองค์กรอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผน

งานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

- การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

- การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่

เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1.ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2.ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3.การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4.ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5.ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6.ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7.ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8.ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

น.ส.เสาวนีย์ จึงเจริญ รหัส 5050504621

1.ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

2. หน่วยงาน องค์กรที่มีการพัฒนาองค์การ

หน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลได้มีการจัดทำแผนประจำตำบล 3 ปี เพื่อพัฒนาองค์การให้ตอบสนองกับงานในปัจจุบัน โดย เพิ่มกรอบอัตรากำลัง ของผู้ปฎิบัติงาน ให้มีเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

ประโยขน์ที่ได้รับจากการพัฒนาองค์การ

1. ทำให้องค์การมีการบริหารจัดการได้ดีขึ้น

2. บุคคลากรของหน่วยงานมีความมั่นใจและเชื่อมั่นต่อองค์การมากขึ้น

3. ผลสำเร็จของงานมีมากขึ้น สามารถทำให้องค์การได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกงค์การ

นางทัศนีย์ ปาปะขัง รหัสนักศึกษา 5050504609

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

1 การสร้างความไว้วางใจกัน นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาทีมงานที่สำคัญ ยิ่งหัวหน้าทีมงานจะต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันในหมู่สมาชิกของทีมงานเพื่อไม่ให้เกิดความหวาดระแวง และสร้างทีมงานให้ร่วมมือกันแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ภายใต้บรรยากาศการทำงานแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างเต็มที่

2 การพูดจาพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ความไว้วางใจกันเป็นเหตุชักนำให้สมาชิกในทีมงานพูดจา พูดคุยกันอย่างเปิดเผย ทำให้สามารถทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ ให้ตรงกันได้ เป็นการลดหรือปิดช่องว่างความหวาดระแวงและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการพูด การอภิปรายแสดงความคิดเห็นลงได้ ความรู้สึกที่ดีต่อกันจึงเกิดขึ้น

3 การหันหน้าเข้าหากันหรือปรึกษาหารือกัน เมื่อความไว้วางใจและการพูดจากันอย่างเปิดเผย การประชุมปรึกษากันจึงจะประสบความสำเร็จในแง่การเผชิญกับปัญหา การช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งในทีมงาน ดังนั้น กระบานการกลุ่มจึงเกิดขึ้น

4 การสร้างความร่วมมือกันอย่างแข็งขัน เป็นการทำให้สมาชิกในทีมงานทำกิจกรรมร่วมกัน โดยกำหนดขอบเขตและบทบาทที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลก่อให้เกิดลักษณะการทำงานเป็นทีมและร่วมมือกันอย่างแข็งขัน มีชีวิตชีวา และร่วมมือกันแก้ปัญหา พัฒนาทีมงานแบบสร้างสรรค์ ดังนั้นความสำเร็จหรือความล้มเหลวจึงขึ้นอยู่กับทีมงานนั่นเอง

5 การติดตามเสริมการพัฒนาทีมงาน ผู้บริหารทีมงานจะต้องเห็นความสำคัญของงานติดตามเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาทีมงานจึงควรใช้การเสริมแรงกลุ่มในทางบวกซึ่งอาจ เป็นการยกย่องชมเชย การให้รางวัล การเปิดโอกาสให้เสนอผลการพัฒนา ส่งเสริมและเสริมสร้างการใช้ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาทีมงาน และอื่นๆ การเสริมแรงทางบวกจะช่วยให้สมาชิกของทีมงานแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำแล้วซ้ำอีกหรือการพัฒนาทีมงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การพัฒนาองค์กรโดยใช้รูปแบบการสร้างทีมงาน

การพัฒนาองค์การ เป็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงองค์การทั้งระบบ โดยเริ่มดำเนินการจากผู้บริหารระดับสูงลงมา เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและความเจริญเติบโตให้กับองค์การ การสร้างทีมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์การใดที่ทีมงานที่เข้มแข็ง ความก้าวหน้า การเจริญเติบโต และความสำเร็จในการทำงานย่อมเกิดขึ้น การพัฒนาองค์การที่มุ่งสร้างทีมงานซึ่งเป็นแนวคิดในการทำงานเป็นกลุ่ม มีขั้นตอนหรือกระบวนการทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน ดังนี้

กระบวนการพัฒนาองค์การโดยใช้รูปแบบการสร้างทีมงาน พอสรุปได้ดังนี้

1 การวินิจฉัยเบื้องต้น (Initial Diagnosis) เป็นการกำหนดโครงการพัฒนาองค์การโดยผู้บริหารระดับสูง การวินิจฉัยจะมุ่งเน้นที่องค์การเพื่อให้ทราบจุดเปลี่ยนทั้งโครงสร้างระบบและบุคคลกร

2 การรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์การซึ่งจะทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจทำได้โดยการออกแบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ อื่นๆ

3 การตรวจสอบข้อมูล (Data) เป็นการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้แล้วเพื่อทำให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมรวมมาได้นั้นน่าเชื่อถือ

4 การวางแผนปฏิบัติงาน (Action Planning) เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา แผนการปฏิบัติจะต้องมีลักษณะเด่น สามารถนำไปปฏิบัติได้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมองค์การ

5 การสร้างทีมงาน (Team Building) การสร้างทีมงานอาจทำได้สองลักษณะคือ การสร้างทีมในแผนกงาน และการสร้างทีมเฉพาะกิจซึ่งเมื่อภาระสิ้นสุดลง ทีมก็จะสิ้นสุดลง

6 การสร้างความสัมพันธ์เฉพาะกลุ่ม (Intergroup Development) เป็นการสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในทีม สามารถช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยกันได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

7 การประเมินผลและการติดตามผล (Evaluation and Follow-Up) นับเป็นกระบานการขั้นสุดท้ายของการพัฒนาองค์การโดยการสร้างทีมงาน ในขั้นนี้จะเป็นการประเมินผลว่าผลงานที่เกิดขึ้น บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เป็นการเปรียบเทียบผลที่คาดหวัง รวมทั้งการติดตามผลขณะดำเนินการว่ามีปัญหา อุปสรรค หรือ ผลกระทบสำเร็จมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุเป้าหมายมากที่สุด

องค์กรใดบ้างที่ประสบผลสำเร็จ ทำสำเร็จได้อย่างไร และได้ประโยชน์

Benchmarking

กล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นของการเกิดขึ้นของเครื่องมือ Benchmarking นั้นจะต้องให้เกียรติว่าเกิดขึ้นจาก บริษัท XEROX Corporation ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในช่วงขณะนั้นบริษัทได้ประสบปัญหาอย่างรุนแรงในการแข่งขันกับบริษัทของประเทศญี่ปุ่น โดยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1970 บริษัท XEROX Corporation ได้นำบริษัทตนเองไปเปรียบเทียบกับบริษัท Fuji-Xerox ถึงกับตกใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ว่าบริษัท Fuji-Xerox ในญี่ปุ่นได้ตั้งราคาจำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสารไว้เท่ากับราคาที่เป็นต้นทุนการผลิตจากโรงงานในสหรัฐอเมริกา ประเด็นนี้ทำให้บริษัท XEROX ในสหรัฐอเมริกาได้หันมาค้นหาในการที่จะลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกระบวนการผลิต ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาเทคนิค Benchmarking ก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้ โดยประธานกรรมการบริหารของบริษัท XEROX Corporation ได้แก่ เดวิด ที เคิร์นส์ (David T. Kearns) ได้ให้ความหมายไว้ว่า Benchmarking หมายถึง กระบวนการที่ต่อเนื่องในการวัดผลผลิต บริการ และการปฏิบัติงานต่างๆ โดยเปรียบเทียบในเชิงแข่งขันกับองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำ

สถาบัน Benchnet ซึ่งเป็นสถาบันแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ของการทำ Benchmarking ขององค์การต่างๆ ทั่วโลกโดยใช้สื่อทางอินเทอร์เน็ตออนไลน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า Benchmarking หมายถึง กระบวนการของการระบุ การทำความเข้าใจ และการประยุกต์ด้วยการนำเอาการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เพื่อมาช่วยปรับปรุงผลการปฏิบัติงานองค์การของตนเองให้ดียิ่งขึ้น (Benchmarking is the process of identifying, understanding, and adapting outstanding practices from organizations anywhere in the world to help your organization improve its performance) โดยเป็นกิจกรรมที่มองออกไปข้างนอกเพื่อค้นหาและผลการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จในระดับสูง และนำมาหาทางในการวัดผลการปฏิบัติงานจริงขององค์การตนเองเทียบกับสิ่งที่ดีที่สุดนั้น

โรเบิร์ต ซี. แค้มป์ (Robert C. Camp) เห็นว่า Benchmarking หมายถึง กระบวนการของการที่องค์กรหนึ่งมุ่งสำรวจองค์กรอื่นเพื่อดูว่าองค์การต้นแบบมีวิธีปฏิบัติอย่างไรใน มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงให้เหมือนกับองค์กรต้นแบบ

จอห์น เอส. โอ๊คแลนด์ เห็นว่า Benchmarking หมายถึง การกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเพื่อสำหรับใช้ในการเปรียบเทียบ โดยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องในการระบุ การทำความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้สิ่งที่ดีที่สุดและกระบวนการของงานเพื่อนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่สูงขึ้นกว่าเดิม

แนวทางของการทำ Benchmarking

การทำ Benchmarking แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การทำ Benchmarking ภายในองค์การ (Internal Benchmarking) และการทำ Benchmarking กับภายนอกองค์การ (External Benchmarking) โดยนักวิชาการที่สำคัญท่านหนึ่ง คือ เอช. เจมส์ แฮริงตัน (H. James Harrington) เห็นว่าในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์การโดยใช้เทคนิค Benchmarking สามารถทำได้โดย 4 แนวทางใหญ่ ๆ คือ

1. การทำ Benchmarking จากภายใน (Internal Benchmarking)

2. การทำ Benchmarking จากคู่แข่งขันทางธุรกิจ (Competitive Benchmarking)

3. การทำ Benchmarking จากองค์การที่ประสบผลสำเร็จ (World-Class Operations Benchmarking)

4. การทำ Benchmarking ระดับกิจกรรม (Activity-Type Benchmarking)

จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ หมายถึง เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1.การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาองค์การ ความหมายของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่เรียกว่า O.D. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์การที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์การเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ องค์การมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิดมีความเจริญเติบโตมีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์การมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานในการพัฒนาองค์การ

รูปแบบการบังคับบัญชา 1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

วิธีการในการพัฒนาองค์การ รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ซึ่งประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม (Unfreezing)การเปลี่ยนแปลง (Changing) การดำรงพฤติกรรมใหม่ (Refeezing)

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกในองค์การได้ใช้ศักยภาพ หรือสติปัญญาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และกระทำการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุตามจุดมุ่งหมายขององค์การ

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพองค์การที่มีประสิทธิภาพ หรือองค์การที่มีสุขภาพที่ดีจะมีลักษณะดังนี้ ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมาย รูปแบบองค์การต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์การขึ้นอยู่กับที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ มีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเทคนิค และกรรมวิธีการในการปฏิบัติงานระบบการวินิจฉัยสั่งการ การจูงใจ การสื่อสารข้อความ และระบบในการให้รางวลมีความจำเป็นต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์การให้เหมาะสม ซึ่งถ้าผู้บริหารในองค์การได้มีการตระหนักถึงความต้องการนี้อย่างแท้จริงแล้ว องค์การก็อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการพัฒนาองค์การมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบทบาทต่าง ๆ เอง

องค์การที่ยังไม่เหมาะสมและขาดความชัดเจน

การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาองค์การ มีความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันมีการร่วมมือในการทำงาน มีความเปิดเผยและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการสร้างทีมงานที่ดีก่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายมีการกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานที่ดี

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ข้อจำกัดในการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและใช้ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง การที่จะปรากฏผลการพัฒนาต้องใช้เวลารอคอยที่นาน และการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่เน้นพฤติกรรมมากกว่ากระบวนการในการปฏิบัติงาน

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ปัญหาด้านองค์การ

2. ปัญหาด้านผู้บริหารระดับสูง

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3.การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4.สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5.วางแผนปฏิบัติการ

6.ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ

โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

6. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

7. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

8. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

นางสาวปาริชาต ต่วนสูงเนิน รหัสนักศึกษา 5050504634

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยน

แปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อ

ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการ

สร้างปัจจัยตา่ง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการ

พัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของ

องค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกัน

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกใน

องค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตน

ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ

องค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2.

แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปล่ียนแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่าง

คน และสังคม (People and Social)

โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่

(Technology) ระบบงาน (Work System) ให้

สอดคล้องกัน

วงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการ

ย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การ

การวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และ

การประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action

planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

(Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and

follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบาย

หน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบ

ด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยน

แปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การ

เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่

สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรง

บังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนของ

องค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตาม

ลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2.

สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่

องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลา

ป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้าน

ผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางสาวพิมพ์ชนก พรเพ็ง รหัสนักศึกษา 5050504615

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ และปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การวางแผนกับการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายและคุณลักษณะการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

ความหมาย

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

ก. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

การพัฒนาองค์การมีความสำคัญอย่างไร

จากการศึกษาความหมาย ของ คุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผน

2. การเปลี่ยนแปลงเข้าระบบ

3. การปฏิสัมพันธ์ที่ทำต่อเนื่องและใช้เวลานาน

4. ใช้ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

5. เน้นการเพิ่มสมรรถนะและสุขภาพที่สมบูรณ์ขององค์การ

6. เน่นการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรมในการปฏิบัติงาน

7. ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

8. เน้นการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

9. การเปลี่ยนแปลงที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน

10. ใช้ประสบการเป็นพื้นฐาน

11. เน่นการกำหนดเป้าหมายและการวางแผน

12. เป็ภารกิจของสมาชิกทุก ๆ คนในองค์การ

จากคุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การทั้ง 12 ข้อ สามารถประมวลแนวคิดโดยสรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การมีการเริ่มจากฝ่ายบริหารหรือผู้นำ โดยใช้กระบวนการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องใช้เวลานาน มุ่งเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติค่านิยม และวัฒนธรรฒการปฏิบัติงานให่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันนำความรู้ด้านพฤติกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคลากรภายในองค์การทุกระดับ รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ หลักสำคัญมีการศึกษาข้อมูลก่อนลงมือปฏิบัติและใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานของข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอนและนำประสบการจากการเรียนรู้โดยการกระทำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

นางสาวอมรทิพย์ คงวง

ความหมายของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

นางสาวอมรทิพย์ คงวง 5050504623

จะพัฒนาองค์กรอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ

-• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

นางสาวศริญญา หลาบนอก 5050504618

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

- เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

- เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

- เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

- เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

- มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

- ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อม ๆ กัน

- ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

- มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม

- การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

- การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

- การยอมรับปัญหา

- การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

- การวิเคราะห์ปัญหา

- การให้ข้อมูลป้อนกลับ

- การวางแผนดำเนินงาน

- การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

- การประเมินผล

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

5. สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ดีขึ้น

6. การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เลี่ยงงาน และหนีงานลดลง

7. เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

นางณิชนันทน์ สินปรุ รหัสประจำตัว 5050504632

ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ

  1. การวิเคราะห์หาความจำเป็น เป็นขั้นตอนแรกใช้การสำรวจหาข้มูล ปัญหา อุปสรรคที่เกิดภายในองค์การ เพื่อทราบข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องทำการพัฒนาเรื่องใด
  2. การรวบรวมข้อมูลและจัดลำดับความจำเป็น เป็นการรวบรวม จัดหมวดหมู่และจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาพัฒนาองค์กรลำดับแรก ตามเหตุผลของการวิเคราะห์
  3. กำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนา การกำหนดวางแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนาให้ตรงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยแผยกลยุทธ์จะต้องมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัตถุประสงค์
  4. การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ เป็นการนำแผนกลยุทธ์ มาเป็นแผนปฏิบัติโดยลงมือปฏิบัติจริงและใช้เครื่องมือสอดแทรกให้เข้ากับองค์การและสถานการณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์การได้อย่างเหมาะสม
  5. การประเมินและสรุปผลการพัฒนา ตรวจสอบชี้วัดได้ว่าการพัฒนาองค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ขณะเดียวกันสามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงว่าสำเร็จมากน้อยอย่างไร โดยพิจารณาผลการประเมินและสรุปผลการพัฒนาเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงในอนาคต

ตัวอย่างการพัฒนาองค์กร บริษัท TPI

มุ่งมั่นในการผลิต จำหน่าย ส่งมอบปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของลูกค้าสูงสุด และให้มีการปรับปรุงประสิทธิผล ของระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2000
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย TIS 18001

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ที่บริษัททีพีไอ โพลีนฯ ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9000 เป็นครั้งแรก
ความสำเร็จในครั้งนั้น เป็นแรงผลักดันที่ทำให้บริษัทยิ่งมุ่งมั่นในปรับปรุงระบบในการทำงานให้ดียิ่งๆขึ้น
จนเมื่อมาตรฐาน ISO 9000 มีการปรับเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นปี 2000 บริษัทฯได้กำหนดแนวทางในการนำ
ความพึงพอใจของลูกค้ามากำหนดเป็นเป้าหมายในทำงาน โดยเน้นให้มีการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จากความพร้อมเพรียง ความร่วมมือของพนักงาน ทำให้การดำเนินการขอการรับรอง ISO 9001 : 2000
เป็นไปด้วยความราบรื่น จนได้รับการรับรองมาตรฐานISO 9001 : 2000 ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2546
จากสถาบันนานาชาติ AJA Registrars

นอกจากนั้น บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงได้นำมาตรฐาน ISO 14001
ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มาดำเนินการ และได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ AJA Registrars
ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฏาคม 2545 บริษัทฯ ได้จัดทำดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย
มาใช้ เช่น เครื่องดักฝุ่นชนิดไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitation) ตลอดจนการตรวจวัดผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อม ในบริเวณรอบ ๆ โรงงาน และชุมชนใกล้เคียง จึงจัดทำเป็นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
นำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นมาปรับปรุงการทำงาน และการจัดสภาพแวดล้อมในโรงงานให้ทัศนวิสัยดูสวยงาม
และร่มรื่นและยังมีการดำเนินการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน จนได้รับรางวัลโรงงาน
ควบคุมที่อนุรักษ์พลังงานยอดเยี่ยม จากการประกวดอนุรักษ์พลังงานดีเด่นปี พ.ศ. 2541
จากสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน

บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคล จึงได้นำมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย มอก. 18001 มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพโดยระบบดังกล่าว มุ่งเน้นในการลดความเสี่ยง
อันตราย และอุบัติเหตุต่าง ๆ ของพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น การประเมิน
ความเสี่ยงจากการทำงาน การสร้างจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน การเตรียมความพร้อม
และตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน จนสามารถทำให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลสถาน
ประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับจังหวัดและระดับ
ประเทศในปี พ.ศ. 2545 จากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม นับเป็นความสำเร็จที่สำคัญ และบริษัทยัง
ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
มอก. 18001 และ OHSAS 18001 จากสถาบันนานาชาติ AJA Registrars ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2546

ความสำเร็จของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ในวันนี้ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ
ด้านต่าง ๆ เกิดจากการสนับสนุนของทุกส่วนงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร และความร่วมมือจากพนักงานทุกระดับ
ชั้น เป็นความภาคภูมิใจที่สำคัญ ทำให้เราก้าวเดินต่อไปในการปรับปรุง พัฒนาศักยภาพของ”ทีพีไอ โพลีน”
อย่างไม่หยุดยั้ง

 

นางณิชนันทน์ สินปรุ รหัสประจำตัว 5050504632

 

พัฒนาองค์กรคือ กลุ่มกระบวนการของคน (Human Process Interventions) ซึ่งเป็นส่วนละเอียดและพัฒนาเชิงลึกแต่ละคน อีกสามส่วนมองภาพกว้างขององค์กรตั้งแต่กลุ่มโครงสร้างเทคโนโลยี่ซึ่งเน้นการเปลี่ยนโครงสร้าง กลุ่มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการพัฒนาระบบงานบุคคล และกลุ่มการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กร

กลุ่มโครงสร้างเทคโนโลยี (Technostructural Interventions)

ตัวอย่างการพัฒนาองค์กรในกลุ่มนี้ได้แก่ การปรับโครงสร้างองค์กรหรือโครงสร้างงาน (Structural or Work Design) การลดขนาดองค์กร (Downsizing) การบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) เป็นต้น เป็นกลุ่มที่เน้นการปรับโครงสร้าง หรือเทคโนโลยีการทำงานต่างๆ ดังเราเห็น บางธนาคารปรับโฉมสาขาต่างๆ ย้ายไปอยู่ในห้างบ้าง ระบบการทำงานภายในต่างๆเปลี่ยนแปลงบ้าง เหล่านี้เป็นเทคนิคอีกกลุ่มหนึ่งที่จะพัฒนาองค์กรไปพร้อมๆกันทีเดียวทั้งองค์กร

เป้าหมายหลักส่วนใหญ่ก็เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิผลประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มีผลหรือไม่ต่อการพัฒนาองค์กรให้มีความสุขด้วย จะมีผลก็ตอนเราวางโครงสร้างนี่แหล่ะค่ะ เราจะปรับบิดหรือคำนึงถึงประเด็นนี้แค่ไหนอย่างไร ในบางกรณี การออกแบบโครงสร้างการทำงานที่ดี สามารถสร้างการทำงานเป็นทีมได้ เป็นการบังคับกลายๆให้ทำงานร่วมกัน ให้เพิ่มประสิทธิภาพของแต่ละคนเพิ่มขึ้น เช่น Horizontal structure design ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละโครงสร้างแต่ละการเปลี่ยนแปลง ย่อมสร้างความกระอักกระอ่วนให้คนถูกเปลี่ยนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่วนนี้จึงจำเป็นต้องใช้ศาสตร์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Organizational Change Management) เข้าช่วยระหว่างทาง เช่นเดียวกับเทคนิคการพัฒนาองค์กรในกลุ่มอื่นเช่นกัน

สำหรับองค์กรที่ต้องการเป็นองค์กรที่มีความสุขสมดุล การวางโครงสร้างที่ทำให้คนไม่ทะเลาะกันโดยไม่จำเป็นเป็นเรื่องที่ควรพิจารณา ผู้เขี่ยนเคยเห็นบางบริษัท โกรธกัน ทะเลากัน ไม่ชอบกัน โดยเข้าใจว่าเป็นเพราะบุคลิกของคนนั้นๆ กลายเป็นไม่ชอบกันส่วนตัวบานปลายเป็นการเมืองในบริษัท แต่พอเข้าไปดูจริงๆ โธ่ถัง ปัญหาง่ายๆนิดเดียว เพราะโครงสร้างทำให้คนนั้นๆต้องตัดสินใจในประเด็นต่างๆมากไป น้ำหนักก็ไปกองอยู่กับคนนั้น หงุดหงิดเพราะงานมากไป หรือมีอิทธิพลมากไป เป็นการทำร้ายคนนั้นโดยไม่ตั้งใจก็มี หรือบางกรณีงานไม่ชัดเจน เดี๋ยวกลุ่มนี้ทำงานนั้นงานนี้ ไปซ้ำซ้อนกับแผนกอื่นๆบ้าง ทำให้เกิดการเขม่นกันบ้าง ไม่ให้ความร่วมมือกันบ้าง ปัญหาคนแนวนี้จัดการได้เพียงแค่ปรับโครงสร้างงานโครงสร้างองค์กรนิดหน่อยเท่านั้นเอง ในทางกลับกัน ถ้าแก้ผิดจุด มัวแต่ไปทำกลุ่มเล่นเกมทำงานเป็นทีมกันอยู่นั่นก็แก้ปัญหาไม่ได้เพราะเกาไม่ถูกที่คัน องค์กรก็ไม่สงบสุขเสียที

กลุ่มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management Interventions)

กลุ่มนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันไม่น้อย ที่เราอาจคุ้นกับชื่อ Competency Management (การบริหารสมรรถนะ) หรือการใช้ KPI (Key Performance Indicators) และ BSC (Balance Scorecard) ฯลฯ ชื่อเหล่านี้อยู่ในกลุ่มย่อยที่เรียกว่า การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ซึ่งรวมทั้งเรื่องการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) การประเมินผล (Performance Evaluation) และการให้รางวัล (Reward Management)

ระบบเหล่านี้ช่วยให้หลายองค์กรโตแบบก้าวกระโดด เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อให้คนในองค์กรเห็นชัดว่าจะเดินไปไหน วัดผลพวกเขาอย่างไร และเขาจะได้รางวัลอย่างไรเมื่อบรรลุเป้าหมายนั้นๆ ที่นี้ศิลปะก็อยู่ในแต่ละส่วน ส่วนที่จะเป็นตัวชี้นำให้คนของเราเป็นไปในรูปแบบใดนั่นคือการตั้งเป้า ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลขวัดได้เชิงปริมาณจำพวก KPI หรือวัดโดยการประเมินผลเช่น Competency หรือการใช้เกณฑ์เชิงคุณภาพต่างๆ เมื่อเราอยากให้คนทำงานเป็นทีมกัน เราก็วัดตัวนั้น ใส่ไปใน Competency หรือ KPI ถ้าเราอยากให้คนฝึกพัฒนาจิตใจ ก็ใส่เข้าไว้เป็นเกณฑ์ในการวัดได้ จะนับเป็นชั่วโมงการไปทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม หรือ จะนับเป็นวันไปภาวนา ก็แล้วแต่เรา บางองค์กรโดยเฉพาะองค์กรข้ามชาติใช้ชั่วโมง Community Services เป็นส่วนหนึ่งของ Training hours หรือชั่วโมงการพัฒนาตัวเอง อันนี้ก็แล้วแต่เราจะออกแบบให้องค์กรของเรา สิ่งเหล่านี้จะได้ผลชัดเจนขึ้น เมื่อเป้าหมายเหล่านี้วัดแล้วมีรางวัลตามนั้นจริง

รูปแบบอื่นๆในกลุ่มนี้ เช่น การพัฒนาขั้นบันไดอาชีพ (Career Development) ซึ่งจะดูให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละช่วงอายุ หรือช่วงการทำงาน ซึ่งอาจมีความต้องการที่ต่างกัน เข้ามาใหม่ๆอาจต้องการพัฒนาฝีมือการทำงาน ทักษะต่างๆ พออยู่ไปนานหน่อยอาจต้องการฝึกฝนการบริหาร หรือเริ่มเป็น Coach ให้กับรุ่นใหม่กว่า โตขึ้นไปอีกเริ่มอยากเป็นผู้ดูแลผู้อื่นทั้งทางการงานและจิตใจ บางคนที่มีความเป็นผู้ใหญ่มากโดยเฉพาะทางอารมณ์อาจอยากเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาให้น้องๆได้ หรือบางคนที่ใกล้จะเกษียณแล้วก็อาจอยากได้การเตรียมพร้อมก่อนเกษียณทั้งงานอดิเรกและการดูแลสุขภาพ เรียกว่าดูแลกันเหมือนครอบครัวใหญ่ที่มีใจแก่กัน ใครล่ะจะไม่รักองค์กรแบบนี้

กลุ่มการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ (Strategic Interventions)

ตัวอย่างตั้งแต่การเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กร การควบรวมกิจการ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เป็นกลุ่มที่เรามักจะมองข้ามว่านี่แหล่ะคือการพัฒนาองค์กรแบบขนานใหญ่ เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรแต่ละครั้งมีผลกระทบกับคนทำงานแทบทุกระดับ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร นี้ละเอียดอ่อนและเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้ทั้งองค์กรพร้อมๆกัน ต้องปรับกันตั้งแต่วิสัยทัศน์ ค่านิยม กลยุทธ์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์กรเป็นเรื่องเป็นราว

ที่นี้ผู้บริหารแต่ละท่านอาจใช้วิธีนี้ในการพลิกโฉมองค์กรของท่านให้กลายเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือเป็น Corporate Citizen หรือมี CSR: Corporate Social Responsibility เลยก็ได้ ก็ปรับทั้งโครงสร้างส่วนอ่อน และระบบส่วนแข็งให้สอดคล้องกัน วิ่งไปในแนวทางเดียวกันมุ่งไปเป็นองค์กรที่เน้นประสิทธิภาพประสิทธิผลในขณะเดียวกันพนักงานก็ทำงานไปด้วยชีวิตที่สมดุลมีความสุขอย่างพอเพียง องค์กรใดมุ่งทำแนวนี้จะเล่าเรื่องให้ฟังกันบ้างก็ดีนะคะ จะได้ช่วยกันเล่าให้คนอื่นต่อๆกันได้เพื่อการแลกเปลี่ยนเทคนิคดีดีซึ่งกันและกัน เผื่อสังคมเรานี้จะมีความสุขกันมากขึ้นได้...ด้วยมือของพวกเราเอง ไม่ต้องรอใคร

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์กร 

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

นางณิชนันทน์ สินปรุ รหัสประจำตัว 5050504632

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

ปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ความสำเร็จของ Toyota

ความสำเร็จอย่างมากของ Toyota มาจากชื่อเสียงเกี่ยวกับคุณภาพอันเป็นที่กล่าวขวัญ ผู้ใช้รถทราบดีว่าพวกเขาสามารถวางใจได้ว่ายานยนต์ Toyota นั้น เมื่อผ่านการใช้งานครั้งแรกแล้วจะสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บริษัทรถยนต์ทางยุโรปและสหรัฐอเมริกาผลิตยานยนต์ที่อาจจะใช้งานได้ดีเมื่อยังใหม่อยู่ แต่สักปีหนึ่งผ่านไปจะต้องถูกนำไปเข้าอู่เป็นส่วนมาก (อย่างค่อนข้างแน่นอน) การเรียกคืน (Recall) รถยนต์ Toyota ในปี 2003 ในสหรัฐอเมริกา ต่ำกว่าการเรียกคืนของ Ford อยู่ 79% และน้อยกว่า Chrysler อยู่ 92% จากการศึกษาของนิตยสาร Consumer Reports ในปี 2003 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิตยสารสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์ที่มีผู้อ่านกว้างขวางที่สุด ระบุไว้ว่ามีรุ่นของรถยนต์ Toyota/Lexus จำนวน 15 รุ่นจากทั้งหมด 38 รุ่นของผู้ผลิตอื่น ๆ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด ในช่วงเจ็ดปีล่าสุดที่ผ่านมา ไม่มีผู้ผลิตรายอื่นใดที่สามารถทำได้ใกล้เคียงนี้เลย และไม่มีรถยนต์รุ่นใดของ ทั้ง GM, Mercedes และ BMW อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ไม่มีรถยนต์ Toyota แม้แต่รุ่นเดียวที่อยู่ในรายชื่อ "ยานยนต์ที่ต้องหลีกเลี่ยง" (Vehicle to Avoid) ในขณะที่มีรถยนต์ Ford บางรุ่น รวมถึงเกือบครึ่งหนึ่งของ GM และกว่าครึ่งของ Chrysler นั้นควรต้องหลีกเลี่ยง

นางทัศนีย์ ปาปะขัง รหัสนักศึกษา 5050504609

โดยหลักการองค์การควรเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจและยุทธศาสตร์ที่กำหนดได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เรียกว่า SWOT (SWOT analysis technique) ซึ่งต้องวิเคราะห์ให้ทราบถึงจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) ภายในองค์การ และต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกในแง่โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์การ เพื่อนำมาพิจารณาว่ามี องค์ประกอบอะไรบ้างที่จำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ด้านต่อไปนี้

1. เป้าหมายและกลยุทธ์ (Goals and strategies) องค์การมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป้าหมายและกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อมีการขยายกิจการหรือเมื่อต้องเสนอสินค้าหรือบริการตัวใหม่เข้าสู่ตลาด เมื่อต้องแสวงหาตลาดใหม่เพื่อรองรับสินค้า เป็นต้น

2. เทคโนโลยี (Technology) การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงระดับสำคัญ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สายตรงเป็นระบบเครือข่ายให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงสินค้าและใช้บริการได้สะดวก ถือเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีระดับเล็กน้อยแต่ถ้าทั้งกิจการต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดเพื่อการผลิตให้ทันสมัย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่

3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign) องค์การจำเป็นต้องจัดงานออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ใหม่ให้มีระดับความมากหรือน้อยในประเด็น เช่น ความหลากหลาย (Variety) การให้อิสระ (Autonomy) การมีลักษณะเฉพาะ (Identity) การให้ความสำคัญ (Significance) ตลอดจนการจัดระบบข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นต้น

4. โครงสร้าง (Structure) เช่น จัดโครงสร้างแบบตามหน้าที่หรือแบบที่เน้นผลผลิต จะมีความเป็นทางการและรวมศูนย์เพียงไร เน้นแบบแนวราบหรือแนวตั้ง (Flat or tall

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ มีดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การเป้าหมาย

1.1การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงต้องมีการวางแผนไว้ทั้งระบบ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงเฉพาะระบบย่อยระบบใดระบบหนึ่ง และต้องเป็นโครงการระยะยาวที่ต่อต่อเนื่อง

1.2การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบายและเป้าหมายขององค์การนอกจากนี้โครงสร้างขององค์การต้องสามารถเปลี่ยนได้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายขององค์การ

1.3การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม

1.4เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์การด้วย

1.5การติดต่อสื่อสารภายในองค์การจะต้องมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างเปิดเผยในทุกระดับ

1.6การไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างบุคคลในกลุ่มจะต้องมีสูง

1.7การวินิจฉัยสั่งการจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลในกลุ่มที่เกี่ยวข้องและอยู่ใกล้ชิดกับปัญหามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีระบบการตัดสินใจ

1.8บุคคลในกลุ่มขององค์การต้องมีความผูกพันและมีความรับผิดชอบต่อโปรแกรมการพัฒนาองค์การ

1.9การกำหนดเป้าหมายขององค์การต้องให้ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสได้มีส่วนร่วม

1.10การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานกลุ่มมากกว่ารายบุคคล

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

2.1 ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนโครงการพัฒนาองค์การ ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและขึ้นการวัดผลและประเมินผล

2.2 ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเข้าใจแนวคิด และหลักการของการพัฒนาองค์การอย่างท่องแท้

2.3 ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาขององค์การอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

2.4 ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง

2.5 ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแรงจูงใจในการทำงานของมนุษย์

2.6 ผู้บริหารระดับสูงจะต้องส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของบุคคลในองค์การโดยมีการเคารพความคิดเห็น

2.7 ผู้บริหารระดับสูงจะต้องศรัทธาและเชื่อถือในคณะที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3.1 ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และมีทักษะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3.2 ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกพิจารณาใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้น

3.3 ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

- มีความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์

- มีทักษะในการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาขององค์การ

- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกทุกระดับ

- มีศิลปะในการจูงใจการทำงาน

- มีความอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

- รักษาความลับขององค์การ

- วางตัวเป็นกลางและมีความยุติธรรม

- มีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นในองค์การ

4. เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

4.1 องค์การหน่วยเหนือจะต้องเห็นความจำเป็นและสนับสนุนให้มีการพัฒนาองค์การ

4.2 องค์การหน่วยเหนือจะต้องอำนวยความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากรการบริหารอย่างเพียงพอ

4.3 องค์การหน่วยเหนือจะต้องให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความร่วมมือในการประสานงาน

5.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความร่วมมือในการประสานทรัพยากร

5.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยสนับสนุนด้านทรัพยากรการบริหารในส่วนที่รับผิดชอบ

ผลประโยชน์แของการพัฒนาองค์การ

“ ..หลังจากได้มีการพัฒนาองค์การ บรรยากาศขององค์การจะมีลักษณะดังนี้ องค์การได้รับความเชื่อถือไว้วางใจมากขึ้น การสนับสนุนองค์การมีมากขึ้น องค์การสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายมากขึ้นและอื่นๆถ้าจะพิจารณาด้านพฤติกรรมการบังคับบัญชาพลว่าผู้บริหารรับฟังมากขึ้น สามารถแก้ไขความขัดแย้ง มีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่นและมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงถ้าพิจารณาผลการปฏิบัติงานพลว่า การพัฒนาองค์การทำให้ระดับคุณภาพของงานและหน่วยงานได้รับผลประโยชน์มากขึ้น โดยแน่ชัดการพัฒนาองค์การมีผลกระทบต่อองค์การอย่างกว้างขวาง”

นางสาวพิมพ์ชนก พรเพ็ง รหัสนักศึกษา 5050504615

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การมักใช้หลายๆวิธีร่วมกัน ซึ่งแต่ละวิธีการมีสาระดังนี้

1.การฝึกการรับรู้(Sensiivity Training)

การฝึกการรับรู้หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์ (T-griup)มีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้

1.เพื่อความเข้าใจในตนเองและรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น

2.เพื่อเป็นการเรียนรู้จากสบการณ์

3.เพื่อความเข้าใจบทบาท

4.เพื่อวินิจฉัยความเปลี่ยนแปลงขององค์การ

การฝึกอบรมมีการสูญเสียค่าใช้จ่ายที่สำคัญ 4ประการคือ

1.เสียเวลา (Time Cost)

2.สิ้นเปลืองในการจัดเตรียม(Preparation Cost)

3.เสียค่าพาหนะเดินทาง (Transpertation Cost)

4.ความสิ้นเปลืองเครืองอำนวยความสะดวก(Facilities Cost)

2.การประชุมแบบเผชิญหน้า (Cunfrontation Meeting) มีหลายรูปแบบเช่นการประชุมแบบต่อรอง เป็นลักษณะที่สองฝ่ายประชุมเพื่อประนีประนอมปัญหา การประชุมกลุ่มย่อย (Heterogeneous Group) ประชุมเพื่อพิจารณาส่วนต่างๆรวมกันเพื่อสรุปการแก้ปัญหานั้น และอีกรูปแบบหนึ่งคือ ผู้นำหรือที่ปรึกษาเป็นผู้แยกแยะปัญหาให้แล้วแบ่งเป็นกลุ่มให้ดำเนินการแก้ปัญหาตามภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยที่ปรึกษาองค์การจะคอยรับรายงานความก้าวหน้าจากทุกหน่วยงานย่อยอยู่ตลอดเวลา เชิญตัวแทนแต่ละหน่วยงานย่อยวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน

3.การแสดงบทบาท (Role Ptaying)เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาบุคคลในองค์การ ในรูปแบบการรักษาทางจิตที่เรียกว่า “จิตนาฏกรรม (Psychodrama)” หรือ “สังคมนาฏกรรม (Sociodrama)”และได้พัฒนาเรี่อยมาจรเป็นวิธีการหนึง การฝึกอบรมเพื่อการบริหารงานและเพื่ออบรมกลุ่มบุคคลในองค์การนั้น

4. กระบวนการให้การปรึกษา (Process Consulting) เป็นการพัฒนาการที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มคณะ วิเคราะห์บทบาทและหน้าที่สมาชิกของกลุ่มช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงานให้กับกลุ่มช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มรู้จักงาน (Tasks) ของตน รู้จักสายงาน(Work flows)และรู้จักกระบวนการ (Processes)ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งการให้รู้ถึงวิธีการแก้ความขัดแย้ง (Conflicts)ที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกของกลุ่มด้วย

5. การปฏิบัติงานในห้องทดลอง (Organization Task laboratory) เรียกสั้นๆว่า “OTL” ซึ่งเป็นวิธีการพัฒนาบุคคลขององค์การในห้องทดลอง การทดลองมักกระทำกับคนกลุ่มเล็กอาจมีจำนวนระหว่าง 5-15 คนเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเรียนรู้ในเรื่องดังต่อไปนี้

ก. การรับรู้ถึงความขัดแย้ง

ข. การพิจารณาทบทวนการกำหนดแนวทางปฏิบัติ

ค. การกำหนดเป้าหมายให้แน่นอนชัดเจน

ง. การทดลอง

6.การประสานประโยชน์วิเคราะห์ (Transactional Analysis) เรียกสั้นๆว่า “TA”ซึ่งเป็นวิธฑีการในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ละบุคคลมีลักษณะส่วนตัว(Ego) เป็นสามสภาพคือ สภาพบิดามารดา (Parent) สภาพเด็ก (Child)และสภาพผู้ใหญ่(Adult)ซึ่งแต่ละสภาพที่เกิดขึ้นจะชี้ให้เห็นการแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นอย่างชัดเจน สรุปได้ว่าการประสานประโยชน์วิเคราะห์เป็นการพัฒนาองค์การที่มุ่งเน้นให้สมาชิกขององค์การแสดงพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ให้มากกว่าที่จะแสดงเป็นแบบเด็กหรือแบบบิดามารดา นั้นคือให้บุคคลแสดงออกในลักษณะที่มีเหตุผล มีความรับผิดชอบและมีความเคารพในสิทธิของผู้อื่น เพื่อให้เกิดความเจ้าใจถึงการพัฒนาองค์การด้วยวิธีนี้มากขึ้น โปรดพิจารณาการเจรจาโต้ตอบของบุคคลคู่นี้

การพัฒนาองค์การประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญคือ การวินิจฉัยเบื้องต้น การรวบรวมข้อมูลการพิสูจน์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงาน การสร้างทีมงาน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและการประเมินและติดตามผล ซึ่งขั้นตอนที่กล่าวแล้วนั้นอาจขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การและวัฒนธรรมของสังคมที่องค์การตั้งอยู่เป็นสำคัญ

การพัฒนาองค์การมีหลายวิธีการ วิธีการสำคัญๆได้แก่การฝึกความรับรู้การประชุมแบบเผชิญหน้า การแสดงบทบาท กระบวนการให้การปรึกษา การปฏิบัติงานในห้องทดลอง การประสานประโยชน์วิเคราะห์ ซึ่งแต่ละวิธีการอาจมีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว และการพัฒนาองค์การแต่ละวิธีนั้นอาจใช้ผสมผสานกันได้

การพัฒนาองค์การมีหลายรูปแบบหลายวิธีการ แต่ถ้าจะพิจารณาโดยสรุปแล้ว การพัฒนาองค์การมีเพียง 2 ลักษณะเท่านั้นคือ การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างและรูปแบบของตัวองค์การเอง ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือการปรับปรุงพัฒนาบุคคลซึ่งอยู่ในองค์การนั้น ให้มีความสามารถและเข้าใจใจระบบงานอย่าเพียงพอที่จะปฏิบัติงานให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาองค์การที่กล่าวในหนังสือเล่มรี้เน้นการพัฒนาบุคคล โดยอาศัยเชื่อพื้นฐานว่า คนคือองค์ประกอบที่สำคัญขององค์การ องค์การจะดีไม่ได้ถ้าองค์การนั้นปราศจากบุคคลที่ดีมีคุณภาพการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ หรือโครงสร้างองค์การจะไมมีความหมายแม้แต่น้อย หากบุคคลในองค์การขาดคุณภาพหรือขาดคุณค่าของความเป็นคน ฉะนั้นคุณภาพของคนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญและเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาองค์การ

นางณิชนันทน์ สินปรุ รหัสนักศึกษา 5050504632

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การที่ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติการพัฒนาองค์การโดยตรงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการพัฒนาองค์การแต่ละรูปแบบได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องก่อให้เกิดประโยชน์ของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1.ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2.คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3.ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4.เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

5.สามารถแก้ปัญหาความาขัดแย้งได้ดีขึ้น

6.การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เลี่ยงงานและหนีงานลดลง

7.การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ประโยชน์ในการพัฒนาบุคคลากร บริษัท ซีพ๊
 
การดำเนินนโยบายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  
บริษัทเรามี Asset ที่สำคัญที่สุดคือคน ดังนั้นเราจึงต้องการพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงสุด และเชื่อว่าหมากล้อมจะช่วยทำให้คนในองค์กรมีความคิด มีกลยุทธ์ และมีการวางแผนในการทำงานมากขึ้น อีกประเด็นที่สำคัญคนส่วนใหญ่ที่นี่ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านความคิดและด้านอื่นๆ
 
พอได้ทราบว่าหมากล้อมจะมีประเด็นที่สอนเรื่องความเปลี่ยนแปลง ความแปรผันไม่ยั่งยืน พร้อมทั้งสอนให้เรายอมรับได้ จึงสนใจประเด็นนี้มากเป็นพิเศษ ที่ผ่านๆ มาก็เคยส่งบุคลากรของเราเข้าอบรมการพูด หรือพวกการตลาด การอบรมที่จะช่วยพัฒนาความคิดและบุคลิกภาพ ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ กลับมาแล้วพวกเขาก็เหมือนเดิม เราเลยลองเปลี่ยนแนวบ้าง เปลี่ยนออกมานอกตำราบ้าง และหมากล้อมก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจจริงๆ
 
พอเรา เสนอไปที่บริษัทแม่ในฮ่องกง ประธานบริหาร ก็ตื่นตัวและสนใจการพัฒนาศักยภาพของคนด้วยหมากล้อมมากๆ จนให้บริษัทในฮ่องกงส่งทีมวิจัยออกค้นคว้าจริงจัง ว่าหมากล้อมจะช่วยพัฒนาคนได้อย่างไร พวกเขาก็เลยอยากที่จะให้บริษัทในฮ่องกงจัดสอนหมากล้อมในองค์กรเหมือนกับเรา กลายเป็นว่าเราเป็นผู้นำแนวคิดการพัฒนาคนด้วยหมากล้อมตรงนี้ขึ้นมา

นางณิชนันทน์ สินปรุ รหัสประจำตัว 5050504632

ผลที่ตามมาในอนาคตของการพัฒนาองค์การ

1.การพัฒนาองค์การกำลังถูกฝังรากลงในการจัดการองค์การมากขึ้น

2.การพัฒนาองค์การกำลังได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

3.วงจรการพัฒนาองค์การจะสั้นลง

4.การพัฒนาองค์การกำลังมีกฎระเบียบข้อบังคับที่แตกต่างมากขึ้น

5.การพัฒนาองค์การกำลังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับองค์การที่มีความหลากหลาย

6.การพัฒนาองค์การกำลังประสบกับความแตกต่างด้านวัฒนธรรมข้ามชาติ

ตัวอย่างความสำเร็จในการพัฒนาองค์การของบริษัทเสริมสุข เป๊ปซี่

"เสริมสุข" คือบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มที่นำความสดชื่นครบวงจร มาสู่ชาวไทยทั่วประเทศ เราครองความเป็นผู้นำในตลาดน้ำอัดลมมาถึง 5 ทศวรรษ นับตั้งแต่วันแรกที่ "เป๊ปซี่" ขวดแรกได้ผลิตออกสู่ตลาดจากโรงงานสีลม ซึ่งมีกำลังการผลิตเพียงวันละ 20,000 ขวด จนถึงวันนี้ที่ เป๊ปซี่ มิรินด้า เซเว่นอัพ และเครื่องดื่มแห่งความสดชื่นอีกมากมาย ถูกผลิตออกจากโรงงานของเสริมสุข 5 แห่ง สู่คลังสินค้าใน 40 จังหวัด เพื่อกระจายไปยังร้านค้าทุกระดับทั่วประเทศกว่า 300,000 แห่ง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา แทบจะพูดได้ว่าคนไทยทุกคนรู้จัก "เป๊ปซี่" ดี จนยากจะจินตนาการได้ว่า

ครั้งหนึ่งเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว ไม่เคยมีคนไทยคนใดรู้จักน้ำอัดลมชื่อนี้มาก่อนเลย

ย้อนไปถึงอดีตในช่วงนั้น นับเป็นเรื่องยาก ที่ใครสักคนจะนำสินค้าน้ำอัดลมตัวใหม่จากต่างประเทศเข้ามาแนะนำให้คนไทยรู้จัก ยากเพียงใด ที่จะทำให้คนไทยสนใจและชื่นชอบ ยากเพียงใด ที่จะผลักดันให้สินค้าใหม่ตัวนี้ ให้ผงาดขึ้นสู่ตำแหน่งน้ำอัดลมที่ขายดีเป็นอันดับหนึ่ง ยากเพียงใด ที่จะรักษาสถานภาพเป็นที่หนึ่งอยู่ในตลาดได้ ด้วยรสชาติต้นฉบับที่ไม่เคยเปลี่ยนสูตรแม้แต่ครั้งเดียวตลอดเวลากว่า 50 ปี และยากเพียงใด ที่จะก้าวไกลไปกว่านั้น ถึงขั้นเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรบริษัทแรกในประเทศไทย

จะยากลำบากเพียงใด แต่ความสำเร็จทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลและความมุ่งมั่นเหนือธรรมดาของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ที่มารวมตัวกันภายใต้ชื่อว่า "บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)" ด้วยการดำเนินการอย่างมุ่งมั่น ส่งผลให้บริษัทเสริมสุขในปัจจุบันนี้ ได้เติบโต เป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง มีพนักงานกว่า 8,000 คน มีโรงงาน 5 โรง และ คลังสินค้า 46 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ

จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า OD เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์การทุกระบบอย่างมีแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้องค์การมีการเปลี่ยนแปลง ในทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นในอนาคต เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนความเจริญเติบโตและเพื่อความสามารถในการปรับตัวขององค์การให้เข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป

แผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านการผลิตบัณฑิต

เพิ่มจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าใหม่ในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของตลาดและสาขาขาดแคลน พัฒนาหลักสูตรใหม่ตามความต้องการของตลาดแรงงาน/สังคมและเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัย จัดรายวิชา/กิจกรรมให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่รู้และรับผิดชอบต่อสังคม ให้พัฒนาหลักสูตรเพื่อเน้นพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กระจายโอกาสทางการศึกษา พัฒนาให้นักศึกษามีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ จัดกิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาสื่อการสอนที่ทันสมัย มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา สร้างเครือข่ายและกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอื่น เร่งรัดการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และพัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านการวิจัย

กำหนดทิศทางการวิจัยที่เน้นการสร้างและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ให้มีผลงานวิจัยที่นำไปบูรณาการสู่การเรียนการสอนและการบริการวิชาการแก่สังคม แสวงหาเงินทุนและทรัพยากรให้พอต่อการวิจัยของบุคลากร ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อพัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มจำนวนการตีพิมพ์ผลงานการวิจัย/นำเสนอผลงานวิจัย/จดสิทธิบัตรและนวัตกรรม สนับสนุนให้มีการนำเสนอผลงานหรือตีพิมพ์บทความจากวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาในวารสารวิชาการ จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านพัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่ความเป็นสากล และนำมาใช้ในการเรียนการสอน การบริหารจัดการ งานวิจัย และงานบริการวิชาการแก่สังคม สร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมฝึกอบรมให้บุคลากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านการเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม

จัดตั้งวิทยาลัย ศูนย์ สถานบริการวิชาการตามความต้องการของสังคม จัดตั้งหน่วยงานงานบริหารและดำเนินงานเชิงธุรกิจ ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ตลอดจนแสวงหาแหล่งทุนเพื่อการพึ่งพาตนเอง

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านการบริการวิชาการ

จัดให้มีสถานีวิทยุเพื่อชุมชน จัดทำโครงการนำร่องด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ให้มีองค์กรบริการวิชาการด้านการเกษตร พัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริการวิชาการที่ทันสมัย จัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยที่สามารถบูรณาการสู่การเรียนการสอนและการบริการวิชาการสู่สังคมและท้องถิ่น

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฟื้นฟูและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูระบบนิเวศและธรรมชาติวิทยา ส่งเสริมและสืบสานประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

เป้าหมายกลยุทธ์ : ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัย

พัฒนาระบบงบประมาณ การเงิน พัสดุ และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายลักษณะ 3 มิติ มีระบบการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมพัฒนาเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร ให้การสนับสนุนบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีระบบการจัดการสารสนเทศที่สมบูรณ์

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

1. มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญในหลักการพื้นฐานของวิชาชีพ

2. มีการพัฒนาจิตสำนึกและทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีสมรรถวิสัยในการแสวงหาความรู้โดยอิสระ

3. มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น ทักษะการสื่อสารด้านภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

4. มีความสามารถในเชิงสหวิทยาการในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

5. มีความเป็นผู้นำ รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองในสังคม

6. มีการบ่มเพาะจิตสำนึกอันดีในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม

7. มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมในการครองชีพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

นางทัศนีย์ ปาปะขัง รหัสนักศึกษา 5050504609

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3.การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4.สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5.วางแผนปฏิบัติการ

6.ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1.วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2.วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3.วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2.เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3.เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4.เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5.ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6.ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7.ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8.มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9.มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

นางสาวพิมพ์ชนก พรเพ็ง รหัสนักศึกษา 5050504615

ความหมายของ การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อน แล้วต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603 (AOM)

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ

-การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

-การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

-การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

-การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

-มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

*ความสำเร็จของการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ทนพญ. จินตนา ว่องวิไลรัตน์

ขั้นที่ 1. การสำรวจความพร้อมของห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่นโยบายของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร และการสนับสนุนทรัพยากรที่จะสร้างแรงผลักดัน ความมุ่งมั่นของหัวหน้าหน่วยงาน ที่จะนำพาทีมงานพัฒนาระบบคุณภาพ และความตั้งใจของผู้ปฏิบัติงานทุกคนในหน่วยงาน ที่จะมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพ ถ้าสำรวจแล้วมีความพร้อมทุกระดับ ให้รีบก้าวสู่

ขั้นที่ 2. หาเจ้าภาพดำเนินการ ซึ่งจะ เป็นผู้นำจริงๆที่เข้าใจระบบคุณภาพและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วย ทีมคุณภาพ ได้แก่ ผู้จัดการคุณภาพ มีหน้าที่รับผิดชอบระบบคุณภาพ ติดตามการนำระบบคุณภาพไปใช้ และ ผู้จัดการวิชาการ มีความรู้ด้านวิชาการที่ดี มีประสบการณ์ในสาขางาน ห้องปฏิบัติการที่ตนเอง รับผิดชอบ

ขั้นที่ 3. จัดอบรมบุคลากรห้องปฏิบัติการทุกคนให้มีความรู้เข้าใจตามข้อกำหนดของมาตรฐานทุกข้อ ทั้งรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของแต่ละข้อกำหนด

ขั้นที่4. วางระบบประกันคุณภาพ และ พัฒนาหน่วยงาน โดยบุคลากรทุกคนต้องทบทวนระบบบริหารจัดการและ วิเคราะห์กิจกรรมงานบริการ ในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเริ่ม ตั้งแต่ การรับคำร้องขอใช้บริการ จนถึงการทำลายตัวอย่าง ว่าสถานการณ์ปัจจุบันที่เราเป็นอยู่ เป็นอย่างไร โดยให้พิจารณา กิจกรรมที่ห้องปฏิบัติการดำเนินการ เป้าหมายของกิจกรรม การจัดองค์กร และระบบเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง เมื่อเทียบกับมาตรฐานแล้วต้องแก้ไข ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง ซึ่งการดำเนินการทั้งปวง ต้องเน้น ความต้องการของลูกค้า และ กำหนดเป้าหมายคุณภาพภายใต้การกำกับของตัวชี้วัด นำผลที่วิเคราะห์ได้ไปหาวิธีการหรือกิจกรรม ที่จะปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้การปฏิบัติงานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการที่จะพัฒนาในประเด็นที่ยังขาด หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามระยะเวลาที่กำหนด

ขั้นที่ 5. เพิ่มสาระให้ถึงข้อกำหนด ปรับปรุงระบบคุณภาพที่จัดทำไว้แล้วให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรมองค์กร พัฒนางานอย่างเชื่อมโยง เน้นองค์กรเรียนรู้ เพื่อให้ คุณภาพดีขึ้น และต้องมีการทบทวนระบบบริหารคุณภาพ โดยทีมคุณภาพขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอน มาตรฐานที่จะใช้กับการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติโดยแท้จริง แม้ว่าการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ ก็ไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าบุคลากรทุกคนในห้องปฏิบัติการได้เรียนรู้ ได้ลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาดำเนินการอย่างน้อย 90 วัน บางแห่ง อาจใช้เวลานานประมาณ 6 -12 เดือน หรือนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนบุคลากร และการมุ่งมั่น ของบุคลากรที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ เมื่อห้องปฏิบัติการสามารถดำเนินงานตามมาตรฐานแล้ว จะพบว่า องค์กรมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ เป็นธรรม การบริหารจัดการเป็นระบบ เป็นขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้ทั่วทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ รู้ปัญหาที่เกิดขึ้น และมีขั้นตอนที่สามารถเข้าถึงปัญหาและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ห้องปฏิบัติการมีการดำเนินการอย่างมีวิสัยทัศน์ เป็นรูปธรรม ปรับปรุงงาน อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ห้องปฏิบัติการกลายเป็นองค์กรที่มีชีวิตชีวา มีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้นตามลำดับ เกิดความเชื่อมั่นในระบบตนเองมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่น และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า

หัวใจสำคัญของการพัฒนาห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดของมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ คือ ความต้องการให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด แต่ก็อาจจะไม่ถูกใจผู้ใช้บริการเสมอไป บางครั้งผู้ใช้บริการอาจรู้สึกว่าไม่ได้รับความสะดวกบ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะ ความจำกัดของทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนที่ห้องปฏิบัติการได้รับ โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการที่เคร่งครัดต่อความถูกต้องเหนือความถูกใจ และ ผู้เขียนหวังว่างานบริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทย จะมีการพัฒนาก้าวให้ถึงบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้องค์กรอื่นในหน่วยงานได้รับรู้ว่าผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทุกคนมีความมุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพอย่างสมศักดิ์ศรี

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603 (AOM)

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

-การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

-การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

-การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

-สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

-วางแผนปฏิบัติการ

-ลงมือปฏิบัติการ

การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา การพัฒนาองค์การมุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ เพราะ

- ความสำเร็จขององค์การสืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

- วัฒนธรรมของทีมงานมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

- การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่ม ตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม จะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

ประโยชน์ที่ได้รับในการพัฒนาองค์การ

การที่ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติด้านการพัฒนาองค์การโดยตรงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการพัฒนาองค์การแต่ละรูปแบบได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์ของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

5. สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้ดีขึ้น

6. การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เลี่ยวงาน และหนีงานลดลง

7. เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

แนวคิดการพัฒนาองค์การล้วนแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงในองค์การให้ดีขึ้นและได้รับประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงขณะเดียวกัน การพัฒนาองค์การยังมีข้อควรระมัดระวัง ที่ต้องคำนึงเช่นกัน ดังนี้

1. ใช้เวลาและงบประมาณค่าใช้จ่ายสูงในการพัฒนา

2. เกิดการต่อต้านและไม่ร่วมมือ

3. ไม่ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

4. ไม่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดของบางคนได้

สาวิตรี อุ่นแท่น 5050504620 (ศูนย์ปากช่อง)

เครื่องมือสอดแทรกการพัฒนาองค์การ

เทคนิคการออกแบบองค์การ

การที่จะดำเนินการพัฒนาองค์การในด้านโครงสร้างนั้น วิธีการที่มักนิยมกระทำกันได้แก่ การพัฒนาด้านการออกแบบองค์การเสียใหม่ โดยเน้นการออกแบบองค์การแบบการมีส่วนร่วมระหว่างกัน หรือที่เรียกว่า การจัดองค์การแบบเมตริกซ์ (Matrix Organization) ซึ่งเป็นรูปแบบองค์การที่มีกลไกการปฏิบัติงานในลักษณะที่เปิดกว้าง เปิดรับข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำเอาข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น ไปประกอบการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการปรับปรุงองค์การให้ดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

เทคนิคการออกแบบงาน

เทคนิคการออกแบบงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงองค์การให้ดีขึ้น ซึ่งมักจะถูกใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกว่า งานที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นงานที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดความรู้สึกที่อยากจะทำงานนั้นๆ ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เป็นการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล วิธีการออกแบบงานที่นิยมจัดทำกัน ได้แก่ การหมุนเวียนงาน, การขยายขอบเขตงาน, การผสมผสานงานเข้าด้วยกัน, การเพิ่มความรับผิดชอบในงาน และการทำงานเป็นกลุ่มอย่างมีอิสระ

เทคนิคการจัดระบบค่าตอบแทน

ระบบค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ที่องค์การจัดให้มีขึ้นนั้น เป็นเครื่องมือจูงใจอีกชนิดหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นต่อการทำงานเพื่อองค์การ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับขององค์การ มีพฤติกรรมที่สนับสนุนประโยชน์ต่อเป้าหมายองค์การ กระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์การ และบรรยากาศสภาพแวดล้อมขององค์การเป็นอย่างดี ทำให้องค์การได้ผลงานที่มีคุณภาพ พร้อมๆ กับได้บุคลากรที่มีความจงรักภักดีต่อองค์การ เป็นผู้ที่ยินดีปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ และเพื่อความสุขของตนเอง และได้รับค่าตอบแทนจากการปฏิบัตินั้นอย่างยุติธรรม คือ ถ้าบุคลากรปฏิบัติงานที่เท่ากัน ก็ย่อมต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันด้วย

เทคนิคการจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน

ระบบการปฏิบัติงานขององค์การ จะต้องมุ่งเน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างสอดคล้อง เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์กับแนวทางปฏิบัติจะต้องไปด้วยกันได้ ระบบการปฏิบัติงานที่สามารถตอบสนองโดยตรงต่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ จะช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การในระดับโครงสร้างขึ้น ซึ่งระบบด้งกล่าวจะตอบสนองต่อเป้าหมายได้หรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย การประเมินเพื่อให้ทราบว่าผลการปฏิบัติงานนั้นๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่นั้น จึงเป็นกลไกและเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่จะจัดให้ระบบการทำงานขององค์การกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ อยู่ในแนวทางเดียวกันได้

เทคนิคการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

เทคนิคการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นเครื่องมือสอดแทรกการพัฒนาองค์การอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีประโยชน์ต่อผู้บริหารขององค์การ ในการประเมินสุขภาพขององค์การในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว เทคนิคการพัฒนาองค์การประเภทนี้ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

1.การสร้างบรรยากาศ

2.การรวบรวมข่าวสารข้อมูล

3.การร่วมรับรู้ข่าวสารข้อมูลร่วมกัน

4.การจัดลำดับความสำคัญและการวางแผนปฏิบัติการของกลุ่ม

5.การวางแผนปฏิบัติการขององค์การ

6.การติดตามผลในทันทีของผู้บริหารระดับสูง

เทคนิคการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกันนั้น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การในแง่ของการปรับปรุงกฎระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนการปรับปรุงสุขภาพองค์การโดยส่วนรวม ทั้งนี้ ต้องมีการนำเทคนิคนี้ไปใช้อย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน จึงจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

เทคนิคการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

เทคนิคการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวให้เข้ากับความจำเป็นและความต้องการของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยการนำวิธีการวางแผนระบบเปิดมาประยุกต์ใช้ นอกจากการที่องค์การจะต้องพยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว หลายครั้งยังพบว่าองค์การยังจำเป็นที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ขึ้นมาเองสำหรับองค์การด้วย เพื่อการเป็นผู้นำในการพัฒนาองค์การไปสู่สภาพแวดล้อมแบบใหม่ และเป็นไปตามความต้องการขององค์การอีกด้วย

น.ส.เสาวนีย์ จึงเจริญ รหัส 5050504621

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

น.ส.เสาวนีย์ จึงเจริญ รหัส 5050504621

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ

(Organizational Change and Development)

ความนำ

โลกปัจจุบันอยู่ในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ย่นโลกให้เล็กลง การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถทำได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยความเร็วเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านบริหารองค์การจากเดิมไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ เช่น จากแนวคิดแบบยุคอุตสาหกรรม ไปสู่ยุคสารสนเทศ จากเดิมองค์การเน้นความมั่นคงไปสู่ มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยใช้วิธีควบคุมที่ศูนย์อำนาจไปสู่การมุ่งกระจายอำนาจความรับผิดชอบในการตัดสินใจให้แก่พนักงานระดับล่าง จากแนวคิดขององค์การที่มุ่งการแข่งขันไปเป็นการมุ่งแสวงหาความร่วมมือ จากที่เคยให้ความสำคัญของวัตถุเป็นหลักไปเป็นการยึดความสำคัญของคนและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และจากการเน้นความเหมือนกันไปสู่การเน้นให้มีความแตกต่างที่หลากหลาย เป็นต้น

แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ

องค์การก็เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกระแสโลกาภิวัตน์ของยุคสารสนเทศได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ขององค์การให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ได้แก่

1. ด้านโครงสร้าง (Structure) มีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นแบบแนวนอนมากขึ้น เกิดรูปแบบโครงสร้างใหม่ ๆ มีการเน้นการใช้ทีมงานและองค์การแบบไร้พรมแดน

2. องค์ประกอบของประชากร (Demographic) ประกอบด้วยคนทำงานที่มาจากต่าง วัฒนธรรมมากขึ้น ช่องว่างระหว่างวัยของพนักงานเก่ากับพนักงานใหม่เพิ่มขึ้น

3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (New work ethic) โดยความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานจะลดลง เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมในการทำงานมากขึ้น

4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (Learning and knowledge) องค์การจะมีพนักงานที่เป็นผู้มีคุณวุฒิและมีความรู้สูงขึ้น องค์การจะเปลี่ยนไปเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ที่ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลง

5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (Technology and access to information) มีเทคโนโลยีทรงประสิทธิภาพเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศร่วมกันได้รวดเร็วมากขึ้น

6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (Emphasis on flexibility) กล่าวคือ องค์การต้องมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว พนักงานขององค์การต้องมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นได้สูงเช่นกัน

7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Fast-paced change) อันเนื่องมาจากภาวะไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การซึ่งไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้

สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การ

โดยหลักการองค์การควรเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจและยุทธศาสตร์ที่กำหนดได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เรียกว่า SWOT (SWOT analysis technique) ซึ่งต้องวิเคราะห์ให้ทราบถึงจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) ภายในองค์การ และต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกในแง่โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์การ เพื่อนำมาพิจารณาว่ามี องค์ประกอบอะไรบ้างที่จำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ด้านต่อไปนี้

1. เป้าหมายและกลยุทธ์ (Goals and strategies) องค์การมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป้าหมายและกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อมีการขยายกิจการหรือเมื่อต้องเสนอสินค้าหรือบริการตัวใหม่เข้าสู่ตลาด เมื่อต้องแสวงหาตลาดใหม่เพื่อรองรับสินค้า เป็นต้น

2. เทคโนโลยี (Technology) การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงระดับสำคัญ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สายตรงเป็นระบบเครือข่ายให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงสินค้าและใช้บริการได้สะดวก ถือเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีระดับเล็กน้อยแต่ถ้าทั้งกิจการต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดเพื่อการผลิตให้ทันสมัย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่

3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign) องค์การจำเป็นต้องจัดงานออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ใหม่ให้มีระดับความมากหรือน้อยในประเด็น เช่น ความหลากหลาย (Variety) การให้อิสระ (Autonomy) การมีลักษณะเฉพาะ (Identity) การให้ความสำคัญ (Significance) ตลอดจนการจัดระบบข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นต้น

4. โครงสร้าง (Structure) เช่น จัดโครงสร้างแบบตามหน้าที่หรือแบบที่เน้นผลผลิต จะมีความเป็นทางการและรวมศูนย์เพียงไร เน้นแบบแนวราบหรือแนวตั้ง (Flat or tall

การพัฒนาองค์การส่วนราชการให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

ในการบริหารราชการแนวใหม่ ส่วนราชการจะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็ว และสถานการณ์ของต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งในการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะต้อง มีการวางแผนการปฏิ บัติราชการทุ กระยะ ต้ องมีการปรั บแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้ องมีการ กำหนดผลสัมฤทธิ์ของงานที่เป็นความจริง ฉะนั้น แนวความคิดของผูปฏิบัติงานภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิม เสียใหม่จากการที่ยึดแนวความคิ ดว่ าต้ องปฏิบั ติงานตาม ระเบี ยบแบบแผนที่วางไว้ ตั้งแต่อดี ตจนต่อเนื่องถึ งปัจจุบัน เน้นการสร้างความคิดใหม่ ๆ ตามวิชาการสมัยใหม่และนํามาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการ ตลอดเวลาในพระราชกฤษฎีกาฉบั บนี้จึ งกําหนดเป็นหลั กการว่ า ส่วนราชการต้องมีการพัฒนาความรู้เพื่อใหมีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. ต้องสร้างระบบใหสามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง

2. ต้องสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่ าง ๆ เพื่อนํามาประยุ กต์ใช้ในการปฏิ บัติราชการ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

3. ต้ องมีการส่งเสริมและพั ฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิ สัยทั ศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อใหข้าราชการทุกคนเป็นผู้มีความรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีคุณธรรม

4. ต้องมีการสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการนํามาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติราชการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ”

การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสร้าง “พลังทวี คู ณ” (synergy) ในการปฏิบั ติ ราชการคื อพลังของ ข้าราชการระดับสูง ข้าราชการระดับกลาง และข้าราชการระดับล่าง ให้สามารถสร้างผลงานในระดับสร้างสรรค์ มีผลสัมฤทธิ์สูงส่งการจัดการความรู้ เน้นความรู้ของข้าราชการทั้ ง 3 ระดับ แต่ ที่เน้นมาก คื อ ความรู้ของ ข้า ราชการระดั บล่างหรือระดับปฏิ บัติการ เน้นความรู้ที่ ควบคู่อยู่ กั บการปฏิ บัติ ใน ลั กษณะ “ไม่ทํา ไม่รู้” ซึ่งไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎี เป็นการดึงเอาพลังปัญญาที่ถูกละเลย คือ พลังปัญญา ของข้าราชการระดับล่างออกมาใช้ซึ่ งพลั งปั ญญาของข้ าราชการระดั บนี้ส่วนใหญ่ หรือเกื อบทั้งหมดอยู่ในรูปของความรู้ฝังลึก แต่ก็ไม่ละเลยความรู้ที่เปิดเผยหรือความรู้เชิงทฤษฎี

น.ส.เสาวนีย์ จึงเจริญ รหัส 5050504621

การพัฒนาองค์การส่วนราชการให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

ในการบริหารราชการแนวใหม่ ส่วนราชการจะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็ว และสถานการณ์ของต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งในการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะต้อง มีการวางแผนการปฏิ บัติราชการทุ กระยะ ต้ องมีการปรั บแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้ องมีการ กำหนดผลสัมฤทธิ์ของงานที่เป็นความจริง ฉะนั้น แนวความคิดของผูปฏิบัติงานภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิม เสียใหม่จากการที่ยึดแนวความคิ ดว่ าต้ องปฏิบั ติงานตาม ระเบี ยบแบบแผนที่วางไว้ ตั้งแต่อดี ตจนต่อเนื่องถึ งปัจจุบัน เน้นการสร้างความคิดใหม่ ๆ ตามวิชาการสมัยใหม่และนํามาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการ ตลอดเวลาในพระราชกฤษฎีกาฉบั บนี้จึ งกําหนดเป็นหลั กการว่ า ส่วนราชการต้องมีการพัฒนาความรู้เพื่อใหมีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. ต้องสร้างระบบใหสามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง

2. ต้องสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่ าง ๆ เพื่อนํามาประยุ กต์ใช้ในการปฏิ บัติราชการ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

3. ต้ องมีการส่งเสริมและพั ฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิ สัยทั ศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อใหข้าราชการทุกคนเป็นผู้มีความรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีคุณธรรม

4. ต้องมีการสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการนํามาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติราชการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ”

การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสร้าง “พลังทวี คู ณ” (synergy) ในการปฏิบั ติ ราชการคื อพลังของ ข้าราชการระดับสูง ข้าราชการระดับกลาง และข้าราชการระดับล่าง ให้สามารถสร้างผลงานในระดับสร้างสรรค์ มีผลสัมฤทธิ์สูงส่งการจัดการความรู้ เน้นความรู้ของข้าราชการทั้ ง 3 ระดับ แต่ ที่เน้นมาก คื อ ความรู้ของ ข้า ราชการระดั บล่างหรือระดับปฏิ บัติการ เน้นความรู้ที่ ควบคู่อยู่ กั บการปฏิ บัติ ใน ลั กษณะ “ไม่ทํา ไม่รู้” ซึ่งไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎี เป็นการดึงเอาพลังปัญญาที่ถูกละเลย คือ พลังปัญญา ของข้าราชการระดับล่างออกมาใช้ซึ่ งพลั งปั ญญาของข้ าราชการระดั บนี้ส่วนใหญ่ หรือเกื อบทั้งหมดอยู่ในรูปของความรู้ฝังลึก แต่ก็ไม่ละเลยความรู้ที่เปิดเผยหรือความรู้เชิงทฤษฎี

สวัสดีครับ พี่ประจวบ มาเยี่ยมครับ มาแล้ว ก็ถือโอกาสแลกเปลี่ยนกันไปด้วย ความเห็นผม องค์กร เป็นหน่วยหนึ่ง ที่ต้องทำหน้าที่เพื่อให้สังคมมีวิวัฒนาการ และองค์กรก็มีเป้าหมายเป็นของตนเอง และสมาชิกก็มีภาระหน้าที่ของตน เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือครอบครัวที่มีความสุข เช่น ครอบครัว ถือ เป็นองค์กรประเภทหนึ่ง ที่ประกอบด้วย พ่อ แม่  ลูก หรือ พ่อ แม่ ลูกและญาติ ๆ  หัวหน้าครอบครัว ก็คือ หัวหน้าองค์กร แม่ ก็ทำหน้าที่แม่ พี่ น้อง ต่างก็มีหน้าที่ของตน และเมื่อเติบโต ก็แยกกันไปตั้งบริษัทใหม่ หรือ องค์กรใหม่ เพื่อทำหน้าที่ของตนต่อไปสอดประสานกันต่อไป  

น.ส.เสาวนีย์ จึงเจริญ รหัส 5050504621

Organization Development

การพัฒนาองค์การและความจำเป็นในการพัฒนาองค์การ

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคน ในระบบนี้จะมีสายงานการบังคับบัญชาที่มีการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้ายเป็นรูปปิรามิคหรือลำดับโครงสร้างองค์กรแบบต้นไม้ (Hierarchical) มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง เช่น ระบบการบริหารราชการ หรือองค์กรที่มีการแบ่งงานในโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนและเฉพาะด้าน การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นจะมีอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากแต่ละคนในหน่วยงานจะใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่าเพื่องานส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่องานของตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดให้สมาชิกในองค์การ กล่าวได้ว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าความผูกพันต่อกันหรือการมีค่านิยมร่วมกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ปัญหาเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Warren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง มีระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อยครั้ง ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ขนาดขององค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้นไม่สามารถทำให้ทุกหน่วยเติบโตตามองค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกันความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็มีความจำเป็นต้องฝึกฝนพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถในการประสานกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น

ในมุมมองด้านค่านิยมของคน เราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การและการบริหารงานของผู้บังคับบัญชา เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมที่มีการจูงใจให้มีคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นกว่าวัตถุหรือค่าตอบแทน แนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผลโดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้าและเกรงใจ แนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมนี้จะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและหันมามองว่าจะทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้

1. การสร้างระบบหรือปรับปรุงระบบในสายการทำงานให้มีความยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน

2. การแก้ปัญหาร่วมกัน เนื่องจากการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาในหน่วยงานที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหาแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ

3. การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่

4. เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม

5. ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบเป้าหมายของงาน

6. ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคนและประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก

7. มุ่งเน้นสมาชิกเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่งเพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

8. ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

9. การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

10. สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงานและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายามหลีกเลี่ยง บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

11. ส่งเสริมระบบการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ คือ แนวนอนและแนวตั้งอย่างเปิดเผยไม่ซ่อนเร้น

12. การตอบปัญหาแบบเสริมสร้างและสร้างสรรค์มากกว่าการตอบปัญหาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งโดยมีเป้าประสงค์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันหรือเป้าหมายเดียวกัน

13. เพื่อพัฒนาบุคลากรและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงาน มีภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การ

14. เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ด้วยการวางแผนงานและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

หลักเบื้องต้นในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นมิได้หมายถึงองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นที่ควรพัฒนา ส่วนองค์การใดที่ความเจริญอยู่แล้ว ก็ควรพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นเพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนพัฒนาดีแล้วหยุดนิ่งก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา ดังนั้นผู้บริหารที่สนใจพัฒนาองค์การของตนควรอาศัยหลักการดังต่อไปนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การ

1. กำหนดเป้าหมาย (Goal Setting ) ในองค์การควรชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับการเผชิญหน้าและอภิปรายร่วมกันของผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างตรงไปตรงมา

2. ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) โดยอาศัยความเข้าใจร่วมกันว่าความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน

3. การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การจะเป็นผลพลอยได้อยู่ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี Organization Development (OD) ซึ่งหมายความว่าปัญหาและความรู้สึกที่ดีต่อกันของคนในองค์การจะส่งเสริมให้ทุกคนมีความพึงพอใจจะทำงานร่วมกันและรู้ว่าสัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งที่มีค่าของการทำงานร่วมกัน

4. การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสถานการณ์ หมายถึง ให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force ) ภายในระบบนั้นเอง

5. การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการเชื่อโยงคนในหน่วยงานเข้าด้วยกันให้มากที่สุด

จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์การที่อ่อนแอกับองค์การทีแข็งแรงหรือองค์การที่ที่มีสุขภาพดีนั้น สังเกตได้จากค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การ ซึ่งค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานของคนและบรรยากาศของการทำงานร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากสำหรับคนในองค์การนั้น แต่บุคคลภายนอกหรือที่เรียกว่า ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ (Advisory Development) จะได้เห็นดีกว่าเพราะมีทัศนะเป็นกลาง กล้าเสนอปัญหาในส่วนที่องค์การไม่กล้าพูด สามารถสอดแทรกวิธีการ OD ได้ชัดเจนและเหมาะสมข้อสำคัญคือ คนในองค์การยอมรับบุคคลภายนอกมากกว่าที่ปรึกษา OD ภายในองค์การเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนกิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาธรรมดา คือ จะต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบตามขั้นตอนและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงในระบบองค์การทุกระบบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยอนุระบบ 4 ระบบ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญดังนี้

1. งาน (Tasks)

2. โครงสร้าง (Structure)

3. คน (People)

4. วิธีการ (Technology)

ผลจากการพัฒนาองค์การ

การเปลี่ยนแปลงระบบใด ๆ ในองค์การ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นในองค์การเสมอมีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพของงานจะมุ่งตรงไปสู่ถนนที่ตัดผ่านการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการมักส่งผลให้เกิดในสิ่งต่อไปนี้

1. เกิดบทบาทและเป้าหมายใหม่ขึ้นในองค์การ

2. การประเมินค่าของคนในองค์การสูงขึ้น

3. การวินิจฉัยสถานการณ์เป็นผลมาจากการสังเกตจากคนหลายกลุ่ม

4. เกิดจาการแสวงหาการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

5. เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

6. คนทุกคนในองค์การสามารถระบายความทุกข์ใจหรือความคับข้องใจได้

7. เกิดประสบการณ์ใหม่

8. มีการประกาศเป้าหมายใหม่

9. เริ่มการวางแผนเป็นระยะ

10. สมาชิกเริ่มรู้ตัวเองว่ามีอะไรบ้างที่ตนไม่รู้

11. ตัดสินใจร่วมกันและสำนึกดีว่าต้องทำงานร่วมกับคน ไม่ใช่ทำงานบนคน

12. พบเป้าหมายที่เป็นจริงแต่ละคนมีความเสี่ยงมากขึ้น

13. สามารถลบล้างระบบเก่าให้เป็นขอบฟ้าใหม่

14. สมาชิกงานทุกงานเริ่มต้นภาพโลกใหม่ เป็นกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวอมรทิพย์ คงวง 5050504623

หน่วยงานและองค์การที่มีการพัฒนาองค์กร

1. กลุ่มผู้ใช้ในวงการราชการ ซึ่งได้แก่กระทรวง กรม และองค์การต่างๆ ของรัฐ ซึ่งรับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องกับการวางแผนงาน และการควบคุม ดูแล บริหารงานในด้านต่างๆ

2. กลุ่มผู้ใช้ในวงการเอกชน ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ นักลงทุนทางธุรกิจ อุตสาหกรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สถาบันวิจัยธุรกิจ การโฆษณา สื่อมวลชน

3. สถาบันการศึกษาและวิจัย ซึ่งได้แก่หน่วยงานที่ดำเนินการทางด้านการศึกษา และการวิจัยด้านต่าง ๆ

4. องค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะองค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยชำนาญพิเศษของ สหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือทางด้านความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม การยกระดับการกินดีอยู่ดีของประชากรของโลก เช่น FAO ILO WHO IMF เป็นต้น

จริยาพร พวงมณี 5050504604

การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางสาวจริยาพร พวงมณี 5050504604

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

นางสาวอาภาพร สีขาว 5050504640 (ศูนย์ปากช่อง)

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ?

องค์กรต้องมีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์กร ให้ทันสมัย ให้องค์กรมีระบบที่สามารถยืดหยุ่นปรัปให้เหมาะสมกับสภาพงานในทุกลักษณะ และหลุดพ้นจากระเบียบปฏิบัติ ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจที่ดี ผู้บริหารต้องมีความสนใจและพร้อมที่จะพัฒนาองค์กรต่อไป

บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้ง องค์กรที่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น

ได้ประโยชน์อะไร?

1.องค์กรมีคุณภาพ

2.องค์กรมีมาตรฐานมากขึ้น

3.การทำงานเป็นทีมมากขึ้น

4.ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

อาภาพร สีขาว 5050504640 (ศูนย์ปากช่อง)

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาคของค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยเติบโตขององค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสารกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้

1.การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน

2.การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ

3.การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่

4.เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม

5.ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน

6.ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก

7.มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

8.ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

9.การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

10.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

11.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

12.การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง

13.เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์

14.เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา

การที่องค์กรหลายๆ องค์การจะประสบผลสำเร็จได้นั้น โดยมีปัจจัยหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้องค์การประสบผลสำเร็จ

1. การมีวิสัยทัศน์และการมีทัศนคติที่ดีของผู้บริหารที่มีต่อการปรับปรุง

2. การมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องในทุกระดับต่อการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับองค์การ

3. การที่องค์การให้ความสำคัญแก่พนักงาน มุ่งเน้นการอบรมและพัฒนา รวมถึงการแสวงหาความพึงพอใจที่ดีร่วมกัน

4. การมีผู้บริหารระดับต้นและกลางที่มีศักยภาพ รู้จักบทบาทของตนเองอย่างดี

5. การเปิดใจกว้างยอมรับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง "ตนเอง" โดยมุ่งแสวงหาหนทางการทำงานที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ

6. การรู้จักเก็บ วิเคราะห์และใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลการสื่อสารและการประสานงานที่ดีในองค์การ รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เช่น นโยบายขององค์การ เป้าหมายการดำเนินงานประจำปี ตลอดจนกิจกรรมการปรับปรุงผลงานขององค์กรต่าง ๆ เป็นต้น

เช่น เรื่อง การจัดการความรู้ในวงราชการไทย : ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้จัดการประชุมวิชาการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๑๗ เรื่อง “การจัดการความรู้ในวงราชการไทย : ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ” โดยมีตัวแทนจาก ๖ หน่วยงานราชการไทยที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้แล้วประสบผลสำเร็จมาเล่าเรื่องให้ที่ประชุม ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมฟังกว่า ๑๐๐ คน

ช่วงแรกของการประชุม ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้เกริ่นนำถึงเรื่องของการเรียนรู้การจัดการความรู้ใน ๓ แนวทาง คือ ๑. ลงมือปฏิบัติ

๒. เรียนรู้จากผู้ปฏิบัติ / มีประสบการณ์

๓. เรียนรู้จากตำรา ฟังการบรรยาย

พร้อมทั้งกล่าวถึงรูปแบบของการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นการเรียนรู้แบบที่ ๒ ดำเนินการประชุมด้วยการให้ตัวแทนหน่วยงานราชการทั้ง ๖ แห่ง นำเสนอเล่าเรื่องประสบการณ์ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของหน่วยงาน โดยเน้นความรู้ปฏิบัติ / จากประสบการณ์และเน้นการแลกเปลี่ยน / แบ่งปัน ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ต่อมา ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ได้นำเสนอถึง “ที่มา...ที่ไป...ของการทำ KM ในหน่วยงานราชการ”

หลังจากนั้น จึงเป็นการนำเสนอเล่าเรื่องประสบการณ์ความสำเร็จของการดำเนินการจัดการความรู้ของหน่วยงานราชการไทย หน่วยงานแรก คือ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย รศ.พญ.ปารมี ทองสุกใส ผู้ดำเนินโครงการ “พยาธิ ๑ ทีม ๑ โครงการ หรือ Patho-Otop” ซึ่งเป้าหมายของภาควิชาพยาธิวิทยา คือ ห้องปฏิบัติการผ่านการรับรองมาตรฐาน และเนื่องจากโครงสร้างของภาควิชานี้มีห้องปฏิบัติการย่อยๆ เยอะมาก บุคลากรก็มีความหลากหลายทั้งด้านการศึกษาและอายุ จึงมีความคิดว่า น่าจะมีการประกวดการนำเสนอโครงการพัฒนาบุคลากรของคณะขึ้น ซึ่งเดิมทีคณะแพทยศาสตร์ มีการจัดทำโครงการเช่นนี้อยู่แล้ว แต่เป็นการสนับสนุนผ่านหัวหน้างาน บุคลากรระดับปฏิบัติมีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย เมื่อได้ยินได้ฟังได้อ่านเกี่ยวกับเรื่องการจัดการความรู้ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวไว้ว่า การจะทำการจัดการความรู้ ไม่ต้องยึดติด อะไรก็ได้ที่พัฒนางาน แต่ที่สำคัญ ต้องมี “หัวปลา” และ ใช้คนหลากหลาย ใช้ความรู้ทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งภายในภาควิชานี้ ก็มีคนหลากหลายมาก แต่ยังไม่เคยได้ให้คนเหล่านั้นมาร่วมกันพัฒนางานมากนัก ต่อมาได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการจัดการความรู้อีกครั้ง มีการพูดถึงเรื่องการทบทวนตนเอง จึงนำสองเรื่องนี้มาโยงกันว่า เริ่มจากทบทวนปัญหาที่มีอยู่ หาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงแนวคิดในการทำงาน และนำหลักการจัดการความรู้มาผสมรวมกัน เพื่อให้เป้าหมายไปสู่ผลสัมฤทธิ์เร็วขึ้น และเน้นการทำเป็นทีม เน้นผู้ปฏิบัติ ไม่เน้นหัวหน้า (หัวหน้าถอยเป็นพี่เลี้ยง) จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น โดยจัดให้มี peer assist คือผู้รู้หน่วยงานอื่นทั้งในและนอกภาคเป็นที่ปรึกษา จัดให้มีรางวัล เปิดรับทีม มีบรรยายเล็กน้อย จากนั้นก็เข้ากลุ่ม และมานำเสนอแนวคิดโครงการ โดยมีทีมสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๒๒ ทีม และให้ทุกทีมนำเสนอโครงการของตนเอง ซึ่งได้รับความสนใจมาก ส่วนแผนงานหลังจากนี้ไป คือ ตอนปลายปีจะมีการจัดสัมมนานอกสถานที่ ทางภาควิชาจะทำย้อนกับวิธีของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช คือ ให้ทำไปก่อน แล้วค่อยเล่าในตอนท้าย โดยเลือกกลุ่มที่ทำได้ดีมาเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง จะมีการ จัดกลุ่มสกัดความรู้ ให้แต่ละทีมวางแผนโดยใช้เทคนิคจากกลุ่มอื่นมาปรับใช้

ส่วนผลสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ

- การทำงานเป็นทีม

- การพัฒนางานทุกกระบวนการพร้อมๆ กันไป

- บุคลากรกระตือรือร้นในการพัฒนางาน

- บุคลากรได้แสดงศักยภาพออกมา

- บุคลากรได้พัฒนาตนเองหลายด้าน

รหัสนุกศึกษา 5050504636 เลขที่ 36

นางสาวฉัตร์ติยา ไชยพยวน (ศูนย์ปากช่อง)

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

การพัฒนาองค์การนั้นมิได้หมายถึงองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นที่ควรพัฒนา ส่วนองค์การใดที่ควมเจริญอยู่แล้ว ก็ควรพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนพัฒนาดีแล้วหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลักตลอดเวลา ฉะนั้นผู้บริหารที่สนใจพัฒนาองค์การของตนควรอาศัยหลักการดังนี้

1.กาำกำหนดเป้าหมาย (Goal Seting ) ในองค์การควรชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับการเผชิญหน้าและอภิปรายร่วมกันของผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างตรงไปตรงมา

2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relaations)โดยอาศัยความเข้าใจร่วมกันว่าความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน

3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations)สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การจะเป็นผลพลอยได้อยู่ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี โอ ดี ( O D) คือ ทั้งปัญหาและความรู้สึกที่ดีต่อกันของคนในองค์การควรได้เปิดเผยซึ่งกันและกัน ทุกคนเริ่มพอใจจะทำงานรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าของการทำงานร่วมกัน

4.การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสถานการณ์ หมายถึง ให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force ) ภายในระบบนั้นเอง

5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการเชื่อโยงคนในหน่วยงานเข้าด้วยกันให้มากที่สุด

จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์การที่อ่อนแอกับองค์การทีแข็งแรงหรือองค์การที่ที่มีสุขภาพดีนั้น สังเกตได้จากค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การ ซึ่งค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานของคนและบรรยากาศของการทำงานร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากสำหรับคนในองค์การนั้น แต่บุคคลภายนอกหรือที่เรียกว่า ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ (AD) จะได้เห็นดีกว่าเพราะมีทัศนะเป็นกลาง กล้าเสนอปัญหาในส่วนที่องค์การไม่กล้าพูด สามารถสอดแทรกวิธีการ OD ได้ชัดเจนและเหมาะสมข้อสำคัญคือ คนในองค์การยอมรับบุคคลภายนอกมากกว่าที่ปรึกษา OD ภายในองค์การเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนกิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาธรรมดา คือ จะต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบตามขั้นตอนและพัฒนาการเปลียนแปลงในระบบองค์การทุกระบบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยอนุระบบ 4 ระบบ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญดังนี้

งาน (Tasks)

โครงสร้าง (Structure)

คน (People).

วิธีการ (Technology)

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ การพัฒนาองค์กร เพื่อทำให้องค์กรมั่นคง ทำให้ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง ให้ทันสมัยมีประสิทธิ์ภาพ มีการประสานงานกับลูกน้องอย่างดี เพื่อให้ประสบความสำเร็จ

เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผู้นำเสนอ ๒ คน คือ คุณเกศราภรณ์ สุขทรัพย์ศรี จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ คุณรุ่งเพชร แสงทอง จากโรงพยาบาลบ้านแพรก

คุณรุ่งเพชร ได้เล่าว่า เป็น “คุณอำนวย” ของโรงพยาบาลบ้านแพรก ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ต่อมาทำหน้าที่ประสานงานให้กับเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) ด้วย เพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ รวม ๑๖ อำเภอ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการรับรองคุณภาพ HA

โดยที่มาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย คือ ต้องการพัฒนากระบวนการทำงานเป็นหลัก ซึ่งเริ่มจากการที่ พรพ. เข้าไปช่วยให้รู้จักการเรียนรู้ส่วนหนึ่งและได้เคยเข้าร่วมฟัง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ในเวทีต่างๆ จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประชุมระดมสมองร่วมกัน เพื่อหาแนวทางหรือหลักการพัฒนาเครือข่ายและขยายผลสู่ความสำเร็จในนโยบายต่อไป ในที่สุดจึงได้ให้ PCU เป็นโครงการนำร่อง เพื่อจัดเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จึงทำให้เกิดเครือข่าย PCU และกลุ่ม HCA

สำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นฐานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย คือ มีการจัดเวทีเพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการความรู้, มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน, กำหนดตัวชี้วัดชัดเจน, คัดเลือกเรื่องที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยน, มีการกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน, มีทีมระดับจังหวัดเป็นศูนย์กลางการประสานงานที่ดี และมีนำผู้ประสานงานภาคอำเภอเข้ามาร่วมด้วย หลังจากกลุ่มได้รับทราบเรื่องของการจัดการความรู้บ้างแล้ว ก็เริ่มลงมือทำจริง จับกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันและมี “คุณอำนวย” ดึงประเด็นการเรียนรู้

ผลการดำเนินการ คือ มีการปรับปรุงการทำงาน รู้ว่าอุปสรรคคืออะไร ต่อไปต้องทำอย่างไร ความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่

• บรรยากาศการจัดกลุ่มมีบรรยากาศที่เป็นกันเองขึ้น ช่องว่างระหว่างกันลดลง

• พี่เลี้ยงมีทักษะในการกระตุ้นกลุ่มและการจับประเด็นหลัก ทำให้มีความสุขในการร่วมกัน

• ผู้เข้าร่วม มีประกายในดวงตา ได้รับความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น ได้เห็นแบบอย่างในการทำกลุ่มและนำไปใช้ได้

• เกิดสัมพันธภาพเชิงเครือข่ายมากกว่าที่เคยทำมา หลังจากที่มีการทำกลุ่มขึ้น ทำให้มีความเชื่อใจกัน ทำให้เกิดกำลังใจว่ามีคนมาเอาใจใส่ตัวเอง รู้จักกันและกันมากขึ้น

• สรุปประเด็นความรู้ของกลุ่ม สามารถนำไปขยายผลต่อได้ เริ่มมีทักษะการจับประเด็นมากขึ้น

• เกิดความช่วยเหลือกันและกันในระดับ สสจ. และระดับอำเภอ ฝึกการสร้างการทำงานร่วมกัน

• ทบทวนผลการเรียนรู้เทียบกับตัวชี้วัด หลังจากการแลกเปลี่ยนกันแล้วจึงมีการปรับตัวชี้วัดการเรียนรู้ระดับ

รหัสนักศึกษา 5050504636 เลขที่ 36

จิรวัฒน์ สุวรรณแสวง

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใหญ่

2. มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะระบบย่อยบางระบบเท่านั้น องค์การจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ด้านวัตถุประสงค์, ด้านสังคม-มนุษย์, ด้านเทคโนโลยี, ด้านงาน, ด้านโครงการ และด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

3. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา

5. การพัฒนาองค์การ มุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ เพราะ

5.1ความสำเร็จขององค์การ สืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

5.2วัฒนธรรมของทีมงาน มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

5.3การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่ม ตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม จะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

ความหมายของ การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อน แล้วต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ

ถึงแม้ว่าการพัฒนาองค์การจะเป็นวิธีการที่มีข้อดีเด่นอยู่หลายประการก็ตาม แต่ก็มีปัญหาซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การอยู่หลายประการเช่นกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาองค์การเอง ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับจุดอ่อนที่เกิดขึ้นคือ

1. เน้นด้านปรัชญามนุษย์นิยมจนเกินไป จนลืมให้ความสนใจในด้านโครงสร้าง งานและเทคโนโลยี ซึ่งทุกด้านควรมีความสำคัญและสัมพันธ์กัน

2. เทคนิคของการพัฒนาองค์การ บางอย่างควรจะมีการพิจารณาความเหมาะสมของการนำมาใช้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การนำเทคนิคที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้แก้ปัญหาขององค์การ อันเนื่องมาจากความนิยมหรือการเห่อเทคนิคใหม่ ๆ มากกว่า กลายเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การที่ใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาขององค์การ

3. ต้องการการลงทุนสูงทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากลักษณะเฉพาะบางอย่างของการพัฒนาองค์การ คือ เป็นวิธีการพัฒนาที่ไม่มีหนทางลัดที่จะแก้ปัญหาขององค์การ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรขององค์การ โดยไม่ใช้เวลาและความพยายามที่ต่อเนื่อง

4. ข้อจำกัดด้านทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้ต้องสำรวจการพัฒนาองค์การว่า ขัดกับประเพณี ความเชื่อและวัฒนธรรมหรือไม่ เพราะการนำเทคนิคการพัฒนาองค์การไปใช้ในที่ที่มีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจเกิดข้อจำกัดที่ทำให้การพัฒนาองค์การไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนหรือประเทศไต้หวัน มีวัฒนธรรมที่ให้ความเคารพผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ ซึ่งสืบเนื่องมาช้านาน ดังนั้น การจะวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่จึงทำได้ลำบาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่ส่งเสริมด้านการพัฒนาองค์การ แต่ประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี นั่นคือ ประเพณีดั้งเดิมของการอภิปราย ถกเถียงปัญหาเป็นกลุ่ม การมีมติเอกฉันท์ มิใช่จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นวัฒนธรรมอันนี้จึงช่วยส่งการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี ในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ คนไทยยังติดนิสัยที่ทำตาม ขอให้สั่ง รับรองว่าทำได้แน่ แต่ไม่ชอบคิด เลยกลายเป็นคิดไม่เป็น และยังไม่สามารถพูดกันอย่างตรงไปตรงมาได้ ผู้ใหญ่ยังชอบคำยกยอ ไม่ชอบให้ใครมาเป็นกระจกส่องดูเงาที่แท้จริง เมื่อสภาวะของวัฒนธรรมยังคงรูปเช่นนั้น ก็นับว่าวัฒนธรรมเป็นตัวถ่วงในการพัฒนาองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การนั้น เน้นที่ผู้บริหารต้องมีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในองค์การได้กล้าแสดงออก กล้าเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการปฏิบัติงานขององค์การ

5. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้นำการเปลี่ยนแปลง หากผู้นำการเปลี่ยนแปลง ขาดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และขาดทักษะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี การพัฒนาองค์การก็จะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์

6. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้บริหาร การพัฒนาองค์การจะประสบความสำเร็จได้ดีส่วนหนึ่งก็คือ การยอมรับและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง แต่การพัฒนาองค์การต้องดำเนินการสืบเนื่องเป็นระยะเวลายาว บางครั้งจึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสับเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารคนใหม่เกิดไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์การก็จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์การ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ลักษณะเด่นของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การเป็นศูนย์รวมจุดสุดยอดทางด้านวิชาการจากแขนงต่าง ๆ เช่น สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาองค์การ และทฤษฎีทางด้านการจัดการ และเมื่อรวมเข้ากับลักษณะและเนื้อหาสาระทั้งหมดของการพัฒนาองค์การแล้ว จะเห็นได้ว่าการพัฒนาองค์การนั้นแน่นหนาไปด้วยแก่นของเนื้อหาสาระและหลักการ

แม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา เป็นลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างแพร่หลาย

การมุ่งเน้นที่วัฒนธรรมขององค์การ การพัฒนาองค์การไม่เพียงแต่เล็งเห็นความสำคัญขององค์การเท่านั้น แต่ยังยึดหลักการวิเคราะห์วัฒนธรรมขององค์การ และมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การอีกด้วย เช่น การพิจารณาความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้การพัฒนาองค์การมีลักษณะแตกต่างจากเทคนิคการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ และลักษณะที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การนี้เอง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิถีทางสู่ความสำเร็จในการทำให้องค์การมีความสมบูรณ์ หรือทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การพัฒนาองค์การ ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นข้อดี ที่จะช่วยให้องค์การประสบความสำเร็จ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งความมั่นคงขององค์การ เพราะเทคนิคการพัฒนาองค์การต่างๆ นั้น เป็นการนำเอาวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ มาช่วยแก้ปัญหาขององค์การ ทั้งทางด้านสังคมและมนุษย์ เน้นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีการแข่งขันเพื่อแพ้หรือชนะในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม มีแต่มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม, ประสิทธิภาพของกลุ่มและองค์การโดยรวม ไม่มุ่งเน้นการแตกแยกชิงดีชิงเด่น มุ่งการผสมผสานวัตถุประสงค์และสมาชิกขององค์การให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

(OD Process)

ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย

1. การยอมรับปัญหา

2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

3. การวิเคราะห์ปัญหา

4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ

5. การวางแผนดำเนินงาน

6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

7.การประเมินผล

การยอมรับปัญหา

ก่อนที่กระบวนการพัฒนาองค์การจะเริ่มต้นได้ สมาชิกบางคนภายในองค์การ จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน สมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้น ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว กระบวนการการพัฒนาองค์การก็ไม่สามารถเริ่มต้นได้ เมื่อปัญหาถูกยอมรับ และรู้สึกว่าการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว องค์การอาจจะติดต่อที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ เพื่อการค้นหาความเป็นไปได้ของการใช้การพัฒนาองค์การ เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การ ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องมีความรู้ทางด้านพฤติกรรมขององค์การและการพัฒนาองค์การ และจะต้องมีประสบการณ์ในการใช้การพัฒนาองค์การเพื่อแก้ปัญหาภายในองค์การด้วย

การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

การเข้าของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วยขั้นตอน การติดต่อ การสำรวจ และการทำสัญญา

2.1 การติดต่อ หมายถึง การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายนอก และ ที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายใน ในกรณีของที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายนอก การติดต่อมักจะเริ่มขึ้นโดยองค์การ ซึ่งจะรู้จักบุคคลที่เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ไม่ว่าจะรู้จักโดยส่วนตัวหรือโดยความมีชื่อเสียงของที่ปรึกษาฯ นั้นๆ และติดต่อเขาเพื่อความมุ่งหมายของการพิจารณาความเป็นไปได้ ของการใช้การพัฒนาองค์การภายในองค์การนั้น ในกรณีของที่ปรึกษาฯ ที่เป็นบุคคลภายใน ที่เป็นลูกจ้างขององค์การ การติดต่ออาจจะเริ่มขึ้นมาโดยองค์การ หรือโดยที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การเองก็ได้

2.2 การสำรวจ เป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ การสำรวจจะเป็นการประชุมร่วมกัน โดยทั่วไปจะใช้ผู้บริหารอาวุโสเป็นตัวแทนขององค์การ การสำรวจกำหนดขึ้นมาเพื่อให้โอกาสแก่องค์การและที่ปรึกษาฯ จะได้มีการประเมินซึ่งกันและกัน เช่น การประเมินว่าที่ปรึกษาฯ นั้น มีคุณสมบัติเหมาะสมในฐานะเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ หรือไม่ โดยพิจารณาถึงประสบการณ์และความรู้ทางพฤติกรรมองค์การของผู้เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

ส่วนผู้ที่เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะประเมินว่าองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาอะไร และความพร้อมของสมาชิกภายในองค์การต่อการเปลี่ยนแปลง โอกาสความสำเร็จของการพัฒนาองค์การจะขึ้นอยู่กับ

1. ความพร้อมขององค์การที่จะยอมรับปัญหาภายในองค์การอย่างเปิดเผย

2. ความเต็มใจขององค์การที่จะรับผิดชอบปัญหาภายในองค์การอย่างแท้จริง และ

3. ความเต็มใจขององค์การที่จะผูกพัน เวลา ทรัพยากรและพลัง กับกระบวนการการพัฒนาองค์การ

ผู้เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องสำรวจปัจจัยเหล่านี้ทุกอย่าง เพื่อการติดสินใจว่าพวกเขาควรจะดำเนินการพัฒนาองค์การภายในองค์การนี้หรือไม่

การทำสัญญา สัญญาที่ชัดเจนระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การและองค์การจะมีความสำคัญมาก องค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องรู้ว่าแต่ละฝ่ายคาดหวังอะไรจากกัน เพื่อการดำเนินการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ปรึกษาฯ ต้องการความร่วมมือและความผูกพันจากองค์การ เช่น การเข้าหาข้อมูลและคน, ความเต็มใจเข้าร่วมการประชุม เป็นต้น ส่วนองค์การก็ต้องการรู้แผนงานของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ, ระยะเวลาของการดำเนินงานการพัฒนาองค์การ, ค่าบริการของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และผลลัพธ์จากการดำเนินการพัฒนาองค์การ เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัญหา

การวางแผนและการดำเนินการพัฒนาองค์การ จะต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงานของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการของความร่วมมือร่วมใจ การมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในองค์การอย่างจริงจัง ภายในกระบวนการของการรวบรวมข้อมูลจะเป็นสิ่งจำเป็น พวกเขาจะต้องพิจารณาประเภทของข้อมูลที่ต้องถูกรวบรวม สภาวะขององค์การในปัจจุบัน และอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่

3.1 การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์จะเป็นเทคนิคการรวบรวมข้อมูล ที่ใช้ในการพัฒนาองค์การมากที่สุด เพราะมีความคล่องตัวมาก ในระหว่างการสัมภาษณ์ สมาชิกขององค์การสามารถกล่าวถึงแหล่งที่มาของปัญหา หรือความยุ่งยากภายในองค์การได้อย่างเสรี นอกจากนี้เมื่อปัญหาบางอย่างถูกกล่าวถึง ที่ปรึกษาฯ สามารถถามคำถามเพิ่มเติม เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น การสัมภาษณ์จะให้โอกาสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างที่ปรึกษาฯ กับสมาชิกขององค์การได้ การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง โดยทั่วไปการสัมภาษณ์จะคัดเลือกสมาชิกขององค์การเพื่อการสัมภาษณ์เพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้ภาพรวมที่ถูกต้องของปัญหา ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจะถูกกระทบจากความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์อีกด้วย ผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้ถามคำถามบางอย่างประการสุดท้ายการสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ให้ชัดเจนและถูกต้องจะยุ่งยาก นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้แบบสอบถาม

3.2 แบบสอบถาม แบบสอบถามจะถูกสร้างขึ้นเพื่อการมุ่งปัญหาที่สำคัญภายในองค์การ แบบสอบถามจะมีข้อดีคือ การรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจำนวนมากได้ภายในเวลาระยะสั้น ความคิดเห็นของสมาชิกภายในองค์การ สามารถรวบรวมได้โดยใช้คำถามมาตรฐาน คำตอบของสมาชิกภายในองค์การจะถูกวัดโดยใช้มาตราส่วน ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาตรฐานเป็นตัวเลข จะช่วยให้การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การง่ายขึ้น แบบสอบถามจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ขาดความคล่องตัว เราไม่อาจจะรู้ได้ว่า คำตอบของเขาถูกต้องหรือไม่ แบบสอบถามอาจจะมองข้ามปัญหาที่สำคัญภายในองค์การ นอกจากนี้แบบสอบถามยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจระหว่างที่ปรึกษาฯ กับสมาชิกขององค์การได้ โดยทั่วไปการเผชิญหน้าหนึ่งต่อหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นเมื่อเราใช้แบบสอบถาม การใช้แบบสอบถามค่อนข้างจะเป็นทางการและชาเย็น

3.3 การสังเกต ที่ปรึกษาฯ สามารถรวบรวมข้อมูลภายในองค์การได้โดยใช้การสังเกต จากบรรยากาศโดยทั่วไปภายในองค์การ ที่ปรึกษาฯ สามารถมองเห็นปัญหาภายในองค์การได้ พวกเขาสามารถมุ่งความสนใจไปยังส่วนต่าง ๆ ขององค์การเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ได้ การสังเกตจะเสียเวลามากและไม่เป็นระบบ แม้ว่าที่ปรึกษาฯ จะมองเห็นปัญหาภายในองค์การโดยทั่วไป ยิ่งกว่านี้การบันทึกและการสรุปผลจากการสังเกตเพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับไปยังสมาชิกขององค์การจะยุ่งยาก ประการสุดท้าย เราไม่อาจจะรู้ได้ว่าพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การที่ถูกสังเกตโดยที่ปรึกษาฯ นั้น จะเป็นจริงหรือไม่

3.4 ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลเพิ่มเติมหมายถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ภายในองค์การ ที่ไม่ไดถูกรวบรวมอย่างเปิดเผย เพื่อความมุ่งหมายของการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ เช่น อัตราการขาดงาน อัตราการออกจากงาน อัตราการผลิต และอัตราของเสีย เป็นต้น

การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

เมื่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาภายในองค์การเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับ ที่ปรึกษาฯ จะรายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ เป้าหมายของการให้ข้อมูลป้อนกลับจะมีอยู่สองด้าน คือ ที่ปรึกษาฯ ต้องการความมั่นใจว่าสมาชิกขององค์การยอมรับว่า ปัญหาและภาพรวมสถานะขององค์การในปัจจุบันมีความถูกต้อง เป้าหมายอีกอย่างคือ เพื่อสร้างความกระตือรือร้นท่ามกลางสมาชิกขององค์การ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในองค์การ โดยทั่วไปการใช้ข้อมูลป้อนกลับจะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมร่วม ระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และกลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์การ บทบาทของที่ปรึกษาฯ ในระหว่างการประชุม คือ การเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้ และการช่วยเหลือในระหว่างการอภิปรายและการตีความข้อมูลของพวกเขา ที่ปรึกษา ฯ จะไม่บอกว่าข้อมูลที่เสนอนั้น องค์การจะต้องไปดำเนินการอะไรบ้าง แต่ให้อธิบายข้อมูลเฉพาะเพื่อให้เห็นชัดเจน และช่วยเหลือพวกเขาในการแก้ไขปัญหาขององค์การอย่างสร้างสรรค์เท่านั้น

การวางแผนดำเนินงาน (Action Planning)

เมื่อปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การวางแผนดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ บทบาทของที่ปรึกษาฯ คือ การช่วยเหลือสมาชิกขององค์การ สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาขององค์การขึ้นมา ที่ปรึกษาฯ จะต้องไม่บอกว่าสมาชิกขององค์การควรจะดำเนินการอะไร หรือไม่ควรจะดำเนินการอะไร สมาชิกขององค์การนั้นๆ ควรจะกำหนดทางเลือกแก้ปัญหาของพวกเขาขึ้นมาเอง นี่จะเป็นการสร้างความเป็นเจ้าของและความผูกพันต่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จของกระบวนการการพัฒนาองค์การเป็นอย่างยิ่ง

การช่วยเหลือของที่ปรึกษาฯ ในระหว่างการวางแผนดำเนินงานจะมีอยู่สามด้าน คือ ประการแรก ที่ปรึกษาฯ สามารถเสนอแนะทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา บนรากฐานประสบการณ์และความรู้ของเขา สมาชิกขององค์การจะรู้เรื่ององค์การดีกว่า แต่อาจจะมองไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ภายในองค์การ ประการที่สอง ที่ปรึกษาฯ สามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาบางอย่างที่คาดไม่ถึงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงที่ถูกดำเนินการ ที่ปรึกษาฯ จะสามารถคาดคะเนปัญหาเหล

ณิชนันทน์ สินปรุ รหัสนักศึกษา 5050504632(ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์กร

วินัย 5 ประการ : กุญแจสู่ความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความนำ ปัจจุบันนี้แนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization ) ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ทั่วโลกในฐานะที่เป็นการบริหารรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นฐานในการก้าวไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้ทุกประเภท ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว เป็นการเน้นความสำคัญที่เป็นผู้นำ ( leadership) ความคิดเชิงระบบ( System Thinking ) และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning ) ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกันในทีมงานนั้นเอง องค์กรแห่งการเรียนรู้คืออะไร ปีเตอร์ เซงกี้ ได้อธิบายความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้ “ องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการกระตุ้นเร่งเร้า จูงใจให้สมาชิกทุกคนมีความกระตือรืนร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อขยายศักยภาพของตนเองและขององค์กรไปพร้อมกัน” องค์กรแห่งการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างไร องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเป็นกลยทธ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจที่มีความสลับซับซ้อน มีลักษณะเป็นพลวัตและมีการแข่งขันกันในระดับโลกมากขึ้น ซึ่งองค์กรยุคใหม่จะต้องเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาระสำคัญและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องเป็นองค์กรที่มีการขยายศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะ สร้างสรรค์นั้นคือ การขยายศักยภาพของสมาชิกและขององค์กรโดยมุ่งไปสู่เป้าหมายสูงสุดขององค์กรนั้น ๆ วินัย 5 ประการ พื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ปีเตอร์ เซงกี้ ได้เสนอ วินัย 5 ประการ อันเป็นพื้นฐานของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 1. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ( Personal Mastery )

2. รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง( Mental Models )

3. การสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ( Share Vision )

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ( Team Learning )

5. ความคิดเชิงระบบ

   สรุป องค์กรใด ๆ ที่จะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาองค์กรของตนให้เป็น “ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ” ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญรวม 3 ประการ คือ

1. การพัฒนาภาวะผู้นำ โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาท 3 ด้านคือ

1.1 ผู้ออกแบบหรือผู้นำความคิด

1.2 ผู้สอน

1.3 ผู้ช่วยเหลือ

2. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

3. ความคิดเชิงระบบ

 

อุปสรรคของ องค์กรแห่งการเรียนรู้

-ประการที่หนึ่ง ความครำครึขององค์กรที่มีทัศนคติต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

-ประการที่สอง ความหลงละเมอเพ้อพกกับความสำเร็จเก่า ๆ ในอดีต จนไม่คำนึงถึงความเป็นจริงในอนาคต

-ประการที่สาม ไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ประการที่สี่ ผู้นำองค์กรไร้ความสามารถ ประการที่ห้า ผู้นำองค์กรทุกระดับไม่สนใจใฝ่รู้ ประการที่หก การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรไม่มีประสิทธิผล ประการที่เจ็ด การขาดวินัย 5 ประการ ดังที่กล่าวมาแล้ว

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

(OD Process)

ขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย

1. การยอมรับปัญหา

2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

3. การวิเคราะห์ปัญหา

4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ

5. การวางแผนดำเนินงาน

6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

7.การประเมินผล

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

ความหมายของการพัฒนาองค์การ ( Organization Development )

การพัฒนาองค์การหมายถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างมีแบบแผน มีการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนกลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือการพัฒนาระบบโดยส่วนรวมทั้งองค์การเริ่มจากระดับผู้บริหารลงสู่ระดับล่างทั้งองค์การ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ(ชวลิต ประภาวนนท์ , 2541, หน้า 336)

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การจะสำเร็จได้ ถ้ามีการวางแผนและการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เข้าช่วย เช่น เรื่องการจูงใจ เรื่องอำนาจ การสื่อสาร ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมองค์การ การแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม การขจัดความขัดแย้งต่าง ๆ ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย ( ชวลิต ประภวานนท์ , 2541, หน้า336-341)

1.ความแตกต่างระหว่างการพัฒนาองค์การและการฝึกอบรม ( The Differences between Organization development and Training ) การฝึกอบรม (Training ) เป็นการพัฒนาความรู้ ความชำนาญ ทัศนคติ ลักษณะนิสัย และหน้าที่การทำงาน โดยการฝึกอบรมเน้นที่ตัวบุคคลมากกว่าองค์การ ส่วนการพัฒนาองค์การจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทั้งตัวบุคคล กลุ่มองค์การ โครงสร้างองค์การ ระบบการทำงานและอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคคลทั้งองค์การ จึงมีความหมายที่กว้างกว่าฝึกอบรม

2.ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ( The Nature of Organizational Development ) การพัฒนาองค์การนั้นจะมีลักษณะต่าง ๆ หลายประการ เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมองค์การ ( Organization Cultural ) ค่านิยม (Value) และทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งต้องทำแผนแม่แบบในการปฎิบัติการพัฒนาจะต้องเริ่มกระทำอย่างต่อเนื่องมีการสอดแทรก (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

3.คุณค่าของการพัฒนาองค์การ ( Organization Development Values) การพัฒนาองค์การมีคุณค่าต่อมนุษย์และการเจริญเติบโตขององค์การ ขบวนการ การมีส่วนร่วม และความต้องการที่เป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การพัฒนาองค์การ ต้องการความสำคัญต่อความร่วมมือ ( Collaboration ) แนวความคิด (Concepts) โดย

องค์การจะต้องมีการแยกถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นในความพยายามพัฒนาองค์การประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

• ความคาดหวังสำหรับบุคคล ( Respect for People ) เพื่อระมัดระวังต่อการกระทำเพื่อไม่ให้เกิดความผิดหวัง

• ต้องมั่นใจและได้รับการสนับสนุน ( Trust and Support ) ประสิทธิภาพขององค์การและความแข็งแรงจะต้องมีลักษณะที่ทำให้มั่นใจ และมีบรรยากาศในการสนับสนุนการพัฒนาองค์การ

• อำนาจที่เท่าเทียมกัน ( Power Equalization ) ประสิทธิภาพขององค์การและความแข็งแรงจะต้องมีลักษณะที่ทำให้มั่นใจและมีบรรยากาศในการสนับสนุนการพัฒนาองค์การ

• การเผชิญหน้า ( Confrontation ) ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์การจะต้องได้รับการเผชิญหน้าโดยมีการติดต่อเพื่อร่วมแก้ปัญหาไม่หลีกเลี่ยงหรือสะสมปัญหา

• การมีส่วนร่วม (Participation ) พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาองค์การจะต้องมีส่วนร่วมในการรับรู้ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นโดยร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติ

4.การพัฒนาอย่างเป็นระบบ ( Organization Development System ) จะต้องมีการสร้างแผนแม่บทในการเปลี่ยนแปลง มีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การโดยมีกลไก การควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้อง พิจารณาว่าองค์การมีการร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบ เน้นที่เป้าหมายองค์การ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์ต่อองค์การ และลักษณะโครงสร้างองค์การจะเป็นแบบกว้าง โดยอาศัย การให้คำแนะนำมากกว่า การสั่งการ โดยการบังคับบัญชา ดังนั้น พนักงานจึงมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล

กรณีศึกษาของ บริษัท ร่วมเจริญกรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของภาคตะวันออก สำนักงานใหญ่ อยู่ที่ อาคารร่วมเจริญ 83/50 ถนนสุขุมวิท อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 21130 โดยมีโครงสร้างของกลุ่มรวม 12 บริษัทและ 2 บุคคลธรรมดา ทุนจดทะเบียนรวม 299 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 9 ประเภทธุรกิจ ดังนี้

1.ธุรกิจซื้อขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมภาคตะวันออก-

- บริษัท ร่วมเจริญกรุ๊ป จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท

- บริษัท 331 ซัพพลาย จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท

- บริษัท อาร์ ซี ฮาร์ดแวร์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท

- บริษัท อาร์ ซี ซัพพลาย( 1999 ) จำกัด ทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท

- บริษัท นอร์ทเทิร์น ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริง จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท

2.ธุรกิจค้าของเก่าและ Site Clearing เศษวัสดุเหลือใช้ในโรงงาน

- บริษัท รวมเศษ จำกัด ทุนจดทะเบียน 74 ล้านบาท

บุคคลธรรมดา

- แหลมฉบังค้าของเก่า

3. ธุรกิจให้เช่าเครื่องมือ อุปกรณ์โรงงานต่าง ๆ บริการขนส่ง รถเทรลเล่อร์ รถเครน

- บริษัท ร่วมดี เอ็นจิเนียริง แอนด์ ทรานสปอร์ต จำกัด ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท

4. ธุรกิจรับจ้างก่อสร้าง เดินท่อก๊าซ

- บริษัทโพรเจ็คแมนแนจจิ้งเอ็นจิเนียริงคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ทุนจดทะเบียน 11 ล้านบาท

5. ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายลวดเชื่อม KOBE

- บริษัท อีสเทิร์น โกเบ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท

6. ธุรกิจนำเข้าอุปกรณ์วิศวกรรมให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมภาคตะวันออก

- บริษัท ดีโก้ อินเตอร์เทรด จำกัด ทุนจดทะเบียน 12 ล้านบาท

7. ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงาน

- ร้านอาร์ซีเทค

8. ธุรกิจ Logistics

- บริษัท 2000 โลจิสติคส์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท

9. ธุรกิจ Leasing

- บริษัท อาร์ ซี ลิสซิ่ง จำกัด ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท

จากการที่ บริษัท ร่วมเจริญกรุ๊ป จำกัดได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนที่เกิดขึ้นจึงเกิด กลยุทธ์เพื่อการพัฒนาองค์การสู่สากล หมายถึง การดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืนให้กับองค์การโดยมีการปรับเปลี่ยน วิถีแนวทางการดำเนินการประกอบการ วิธีบริหารงาน เทคโนโลยี และมุ่งเน้นสร้างพัฒนาบุคคลากรในการสร้างจิตสำนึกร่วมกัน นำมาซึ่งพฤติกรรมการทำงานช่วยสนับสนุนส่งเสริมขวัญและกำลังใจของบุคคลากรให้ปฎิบัติภารกิจให้ได้ผลสำเร็จ โดยที่องค์การมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ของธุรกิจโลก

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อศึกษากลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารงานและเปลี่ยนแปลงองค์การ ซึ่งทำให้บริษัท

ร่วมเจริญกรุ๊ป จำกัด อยู่รอดในยุคการแข่งขันในสภาวการณ์ซับซ้อน

2.เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อการพัฒนาองค์การสู่สากล

3.เพื่อศึกษาการนำผลกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

ขอบเขตของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ปรัชญาการบริหารองค์การยุคใหม่ ซึ่งเป็นการบริหารงานตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดโดยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ให้บรรลุเป้าหมาย โดยใช้วิธีการนำแผนงานมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ โดยมุ่งศึกษากลยุทธ์ที่บริษัท ร่วมเจริญกรุ๊ป จำกัด นำมาใช้ ในช่วงปี 2543-ปัจจุบัน

วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research ) เน้นการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร เริ่มด้วยการศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี และปรัชญาการบริหารองค์การ ด้วยการบริหารเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) เพื่อการพัฒนาองค์การให้สามารถดำรงอยู่และสืบทอดจุดมุ่งหมายขององค์การในการก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารที่มีส่วนกำหนดทิศทางและนโยบายหลักขององค์การแล้วสร้างเป็นข้อสรุปต่อไป

วิธีดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎี ปรัชญาการบริหารองค์การยุคใหม่ การพัฒนาองค์การและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวิธีการศึกษาใน 4 ลักษณะประกอบกัน ดังนี้

1.การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ( Documentary Research ) เป็นการศึกษารวบรวม ข้อมูลเนื้อหาจากเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

1.1 การศึกษาจากเอกสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2 แนวคิดการดำเนินงาน ปรัชญาการดำเนินงานของการบริหารองค์การยุคใหม่

2.การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามการวิจัย (Questionaire Research) ใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริหารในกลุ่มร่วมเจริญยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่าย/บริษัท จนถึงกรรมการผู้จัดการ จำนวนทั้งหมด 30 ท่าน โดยแบ่งแบบสอบถามเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้

2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาองค์การ

2.3 ข้อมูลแนวคิดในการแก้ปัญหาอุปสรรคในการทำงานและข้อเสนอแนะ

ก่อนที่จะนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลได้จัดส่งให้ อาจารย์รักกิจ ศรีสรินทร์ อาจารย์ที่ปรึกษาทำการตรวจ แนะนำรายละเอียดและแก้ไขแบบสอบถาม นำแบบสอบถามมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำผลข้อมูลเข้าสู่การวิเคราะห์ต่อไป

3.การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (In-depth Interview ) การเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ผู้นำขององค์การที่มีวิสัยทัศน์และมีบทบาทหลักในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ คือท่านประธานกรรมการบริหาร ทั้งนี้จะใช้แบบสัมภาษณ์แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ และบันทึกความคิดเห็น ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป วิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยที่ประสบความสำเร็จและแนวคิดในการแก้ปัญหาและอุปสรรค

ขั้นตอนการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้

3.1 ขั้นตอนก่อนการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะกล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์รวมทั้งหัวข้อการวิจัยโดยย่อ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์มีความเข้าใจตรงกัน

3.2 ขั้นสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะมีการเตรียมประเด็นการสัมภาษณ์คำถามต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า(ภาคผนวก) เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สัมภาษณ์ หลักจากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เข้าสู่การวิเคราะห์ต่อไป

4.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ด้วยการรวบรวมประมวลในทุกประเภทข้อมูลได้แก่ การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

4.1การวิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกส่วน ( Sectoral Analysis)โดยจะประมวลผล และวิเคราะห์ในแต่ละส่วนของข้อมูล

4.2การวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสาน ( Integrated Analysis) โดยศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลทุกประเภท และเปรียบเทียบข้อมูล เพื่อให้เห็นภาพรวม (Holistic Approach) ของความสัมพันธ์เหล่านั้นได้ละเอียดและมีความครอบคลุมรอบด้าน อันเป็นการตอบปัญหาการวิจัยได้ชัดเจนและหนักแน่นขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การ การพัฒนาบุคคลากร การวางแผนกลยุทธ์ และการตัดสินใจนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมในการบริหารองค์การ

2. เพื่อเป็นการสนับสนุนว่าองค์ความรู้ของ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการภาคธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้

นิยามศัพท์

กลยุทธ์ ( Strategy) หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และ วัตถุประสงค์องค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์การมีทิศทางเป้าหมายชัดเจน โดยครอบคลุมถึงการนำวิธีการ หรือแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้คิดค้นขึ้นมาประยุกต์ใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

การพัฒนาองค์การ (Organization Development) หมายถึง ความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างมีแบบแผน มีการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนกลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือการพัฒนาระบบโดยส่วนรวมทั้งองค์การเริ่มจากระดับผู้บริหารลงสู่ระดับล่าง ทั้งองค์การ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ

วัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture ) หมายถึง ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติที่บุคคลากร/สมาชิกส่วนใหญ่ในองค์การนั้นยึดถือร่วมกันเป็นจิตสำนึกของคนในองค์การเดียวกัน ซึ่งจิตสำนึกนี้เกิดจากการปลูกฝังถ่ายทอด วัฒนธรรมองค์การ จะมีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพขององค์การ

การพัฒนาสู่สากล (World Class) หมายถึง องค์การที่สามารถมีความพร้อมรุกสู่มาตราฐานสากลและสามารถปรับตัวให้ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ของธุรกิจโลก

นางสาวปาริชาต ต่วนสูงเนิน รหัสนักศึกษา 5050504634

ความหมายการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

ก. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

การพัฒนาองค์การเกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่าองค์ทั้งองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงมุ่งหวังการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยกลุ่ม จะต้องได้รับการฝึกอบรม การเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความตัองการขององค์การ

นางสาวปาริชาต ต่วนสูงเนิน รหัสนักศึกษา 5050504634

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

ผลประโยชน์และข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ

คิมเบอร์ลีและนีลเซนได้เขียนถึงข้อดีของการพัฒนาองค์การดังนี้

“ ..หลังจากได้มีการพัฒนาองค์การ บรรยากาศขององค์การจะมีลักษณะดังนี้ องค์การได้รับความเชื่อถือไว้วางใจมากขึ้น การสนับสนุนองค์การมีมากขึ้น องค์การสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายมากขึ้นและอื่นๆถ้าจะพิจารณาด้านพฤติกรรมการบังคับบัญชาพลว่าผู้บริหารรับฟังมากขึ้น สามารถแก้ไขความขัดแย้ง มีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่นและมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงถ้าพิจารณาผลการปฏิบัติงานพลว่า การพัฒนาองค์การทำให้ระดับคุณภาพของงานและหน่วยงานได้รับผลประโยชน์มากขึ้น โดยแน่ชัดการพัฒนาองค์การมีผลกระทบต่อองค์การอย่างกว้างขวาง”

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การมักใช้หลายๆวิธีร่วมกัน ซึ่งแต่ละวิธีการมีสาระดังนี้

1. การฝึกการรับรู้(Sensiivity Training)

การฝึกการรับรู้หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์ (T-griup)มีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้

1. เพื่อความเข้าใจในตนเองและรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น

2. เพื่อเป็นการเรียนรู้จากสบการณ์

3. เพื่อความเข้าใจบทบาท

4. เพื่อวินิจฉัยความเปลี่ยนแปลงขององค์การ

การฝึกอบรมมีการสูญเสียค่าใช้จ่ายที่สำคัญ 4ประการคือ

1. เสียเวลา (Time Cost)

2. สิ้นเปลืองในการจัดเตรียม(Preparation Cost)

3. เสียค่าพาหนะเดินทาง (Transpertation Cost)

4. ความสิ้นเปลืองเครืองอำนวยความสะดวก(Facilities Cost)

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า (Cunfrontation Meeting) มีหลายรูปแบบเช่น

การประชุมแบบต่อรอง เป็นลักษณะที่สองฝ่ายประชุมเพื่อประนีประนอมปัญหา การประชุมกลุ่มย่อย (Heterogeneous Group) ประชุมเพื่อพิจารณาส่วนต่างๆรวมกันเพื่อสรุปการแก้ปัญหานั้น และอีกรูปแบบหนึ่งคือ ผู้นำหรือที่ปรึกษาเป็นผู้แยกแยะปัญหาให้แล้วแบ่งเป็นกลุ่มให้ดำเนินการแก้ปัญหาตามภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยที่ปรึกษาองค์การจะคอยรับรายงานความก้าวหน้าจากทุกหน่วยงานย่อยอยู่ตลอดเวลา เชิญตัวแทนแต่ละหน่วยงานย่อยวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน

3.การแสดงบทบาท (Role Ptaying)เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาบุคคลในองค์การ ในรูปแบบการรักษาทางจิตที่เรียกว่า “จิตนาฏกรรม (Psychodrama)” หรือ “สังคมนาฏกรรม (Sociodrama)”และได้พัฒนาเรี่อยมาจรเป็นวิธีการหนึง การฝึกอบรมเพื่อการบริหารงานและเพื่ออบรมกลุ่มบุคคลในองค์การนั้น

4. กระบวนการให้การปรึกษา (Process Consulting) เป็นการพัฒนาการที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มคณะ วิเคราะห์บทบาทและหน้าที่สมาชิกของกลุ่มช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงานให้กับกลุ่มช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มรู้จักงาน (Tasks) ของตน รู้จักสายงาน(Work flows)และรู้จักกระบวนการ (Processes)ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งการให้รู้ถึงวิธีการแก้ความขัดแย้ง (Conflicts)ที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกของกลุ่มด้วย

5. การปฏิบัติงานในห้องทดลอง (Organization Task laboratory) เรียกสั้นๆว่า “OTL” ซึ่งเป็นวิธีการพัฒนาบุคคลขององค์การในห้องทดลอง การทดลองมักกระทำกับคนกลุ่มเล็กอาจมีจำนวนระหว่าง 5-15 คนเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเรียนรู้ในเรื่องดังต่อไปนี้

ก. การรับรู้ถึงความขัดแย้ง

ข. การพิจารณาทบทวนการกำหนดแนวทางปฏิบัติ

ค. การกำหนดเป้าหมายให้แน่นอนชัดเจน

ง. การทดลอง

6.การประสานประโยชน์วิเคราะห์ (Transactional Analysis) เรียกสั้นๆว่า “TA”ซึ่งเป็นวิธฑีการในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ละบุคคลมีลักษณะส่วนตัว(Ego) เป็นสามสภาพคือ สภาพบิดามารดา (Parent) สภาพเด็ก (Child)และสภาพผู้ใหญ่(Adult)ซึ่งแต่ละสภาพที่เกิดขึ้นจะชี้ให้เห็นการแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นอย่างชัดเจน สรุปได้ว่าการประสานประโยชน์วิเคราะห์เป็นการพัฒนาองค์การที่มุ่งเน้นให้สมาชิกขององค์การแสดงพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ให้มากกว่าที่จะแสดงเป็นแบบเด็กหรือแบบบิดามารดา นั้นคือให้บุคคลแสดงออกในลักษณะที่มีเหตุผล มีความรับผิดชอบและมีความเคารพในสิทธิของผู้อื่น เพื่อให้เกิความเจ้าใจถึงการพัฒนาองค์การด้วยวิธีนี้มากขึ้น โปรดพิจารณาการเจรจาโต้ตอบของบุคคลคู่นี้

หัวหน้างาน

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ?

องค์กรกับการพัฒนา การที่องค์กรจะพัฒนาได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบการจัดการขององค์กร หรือแม้แต่บุคลากรที่อยู่ในส่วนขององค์กรก็ตามก็มีส่วนสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการที่จะนำองค์กรไปสู่การพัฒนา และจุดมุ่งหมายตามที่กลุ่มหรือองค์กรมุ่งหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพองค์กรนั้นจะต้องมีระเบียบแบบแผนที่เป็นทฤษฏี ที่เน้นความสำคัญโครงสร้างขององค์กรในอุดมคติ ที่จะนำไปสู่การบรรลุจุดหมายปลายทางส่วนระบบการบริหารการจัดการขององค์กรนั้นก็จะมีหน้าที่ลดหลั่นกันตามลำดับขั้น การบังคับบัญชามีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด บริหารงานโดยอาศัยกฏ ระเบียบ ข้อบังคับ บริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว เน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคลอาศัยผู้ชำนาญการสาขาต่างๆ แยกประโยชน์ส่วนตัวออกจากผลประโยชน์ขององค์กร มีการวางแผนไว้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพองค์กรใดจะประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการ แม้จะมีคน เงิน วัสดุสิ่งของมากมายเพียงใดก็ตาม ถ้าการจัดการไม่ดีก็มีโอกาสล้มเหลวได้มากเช่นกัน

ชนนิกานต์ แสงสุข รหัส5050504645

วินัย 5 ประการ : กุญแจสู่ความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

ความนำ ปัจจุบันนี้แนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization ) ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ทั่วโลกในฐานะที่เป็นการบริหารรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นฐานในการก้าวไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้ทุกประเภท ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว เป็นการเน้นความสำคัญที่เป็นผู้นำ ( leadership) ความคิดเชิงระบบ( System Thinking ) และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning ) ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกันในทีมงานนั้นเอง

องค์กรแห่งการเรียนรู้คืออะไร

ปีเตอร์ เซงกี้ ได้อธิบายความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้ “ องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการกระตุ้นเร่งเร้า จูงใจให้สมาชิกทุกคนมีความกระตือรืนร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อขยายศักยภาพของตนเองและขององค์กรไปพร้อมกัน”

องค์กรแห่งการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างไร

องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเป็นกลยทธ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจที่มีความสลับซับซ้อน มีลักษณะเป็นพลวัตและมีการแข่งขันกันในระดับโลกมากขึ้น ซึ่งองค์กรยุคใหม่จะต้องเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

สาระสำคัญและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องเป็นองค์กรที่มีการขยายศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะ สร้างสรรค์นั้นคือ การขยายศักยภาพของสมาชิกและขององค์กรโดยมุ่งไปสู่เป้าหมายสูงสุดขององค์กรนั้น ๆ

วินัย 5 ประการ พื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรู้

ปีเตอร์ เซงกี้ ได้เสนอ วินัย 5 ประการ อันเป็นพื้นฐานของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ( Personal Mastery )

2. รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง( Mental Models )

3. การสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ( Share Vision )

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ( Team Learning )

5. ความคิดเชิงระบบ

สรุป องค์กรใด ๆ ที่จะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาองค์กรของตนให้เป็น “ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ” ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญรวม 3 ประการ คือ

1. การพัฒนาภาวะผู้นำ โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาท 3 ด้านคือ

1.1 ผู้ออกแบบหรือผู้นำความคิด 1.2 ผู้สอน 1.3 ผู้ช่วยเหลือ

2. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

3. ความคิดเชิงระบบ

อุปสรรคของ องค์กรแห่งการเรียนรู้

ประการที่หนึ่ง ความครำครึขององค์กรที่มีทัศนคติต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

ประการที่สอง ความหลงละเมอเพ้อพกกับความสำเร็จเก่า ๆ ในอดีต จนไม่คำนึงถึงความเป็นจริงในอนาคต

ประการที่สาม ไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่

ประการที่สี่ ผู้นำองค์กรไร้ความสามารถ

ประการที่ห้า ผู้นำองค์กรทุกระดับไม่สนใจใฝ่รู้

ประการที่หก การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรไม่มีประสิทธิผล

ประการที่เจ็ด การขาดวินัย 5 ประการ ดังที่กล่าวมาแล้ว

นางสาวปาริชาต ต่วนสูงเนิน รหัสนักศึกษา 5050504634

การพัฒนาองค์การ เป็นทฤษฎีที่อาศัยหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ สร้างความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่านิยมและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ โดยเน้น 3 ด้านคือ เพิ่มความสามารถในการทำงาน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิก และให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกในองค์การ

โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ

1.การวินิจฉัยองค์การ คือ การศึกษา ทำความเข้าใจ และอธิบายถึงสภาพ หรือสถานการณ์ในปัจจุบันขององค์การ เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้เห็นสิ่งที่เป็นจริง ตระหนักถึงปัญหาที่องค์การประสบอยู่ หรือมองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์การ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ไขหรือพัฒนาได้อย่างตรงเป้าหมาย ผ่านกระบวนการทำงานแบบเป็นทีม

2. กำหนดกลยุทธ์ และวางแผนพัฒนาองค์การ เป็นการนำข้อมูลจาการวินิจฉัยองค์การ มากำหนดเป็นแผนพัฒนาองค์การ เลือกเทคนิคและระดับในการพัฒนา ร่างแผนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมาย ซึ่งต้องเป็นไปอย่างมีระบบ และสามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับภาพรวมและกลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม

3.การดำเนินงานพัฒนาองค์การ เป็นการนำแผนการพัฒนาไปปฏิบัติ โดยกำหนดกิจกรรม ตารางเวลา ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉที่เกิดขึ้นในขณะดำเนินงานได้เฉพาะหน้า

4.การประเมินการพัฒนาองค์การ คือการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาตามแผนงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมาย เกณฑ์ มาตรฐานที่วางไว้ในระดับใด และต้องปรับแก้ไขอย่างไรต่อไป เพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ

สี่ขั้นตอนนี้คือกรอบแนวคิดหลักของการพัฒนาองค์การ ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเข้าใจในภาพปัจจุบัน และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อองค์การ ซึ่งจะส่งผลให้องค์การสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถเพิ่มมูลค่าให้องค์การ และเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยั่งยืน

หากเราจะเอาแนวคิดข้างต้นไปเชื่อมโยงกับการใช้ภาษาแล้ว จะเห็นว่า ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ จะต้องมีการใช้วาทกรรม เข้าไปมีส่วนร่วมตลอด ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะวาทกรรมในรูปแบบต่างๆ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาองค์การ ทำให้สมาชิกเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการต่างๆอย่างเต็มที่ อันเป็นจุดสำคัญยิ่งที่จะทำให้กระบวนการพัฒนาองค์การ เป็นไปตามที่มุ่งหวังไว้

นายจิระศักดิ์ หวังปรุงกลาง 5050504626

การพัฒนาองค์การ

หมายถึง ความเพียรพยายามในระยะยาวที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ในอันที่จะพัฒนาศักยภาพในการแก้ปัญหาขององค์การ และฟื้นฟูองค์การ โดยใช้วิธีการแสวงหาความร่วมมือจากสมาชิก เพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของทีมงานที่เป็นทางการ

- การพัฒนาองค์การ (O.D.) Organization development) เป็นการรายงานเปลี่ยนแปลงองค์การเชิงระบบ อย่างมีระเบียบแบบแผน

- เวนเดล เฟรนซ์ และเซซิล เนลล์ จูเนียร์ เปรียบเทียบว่า “การพัฒนาองค์การ เปรียบเสมือนต้นไม้ ซึ่งประกอบด้วย อย่างน้อย 3 ราก”

- รากที่ 1 การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ

- รากที่ 2 การสำรวจ และการป้อนข้อมูลย้อนกลับ ทั้งสองรากเกี่ยวพันกับ

- รากที่ 3 ได้แก่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และยังมีอีกรากหนึ่งที่คู่ขนานกับรากที่ 3 คือ ระบบเทคนิคและสังคม

*การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (เรื่องเดียวกัน แต่คนละพื้นที่จะได้ผลไม่เหมือนกัน)*

- สาระสำคัญของที่มาแต่ละทาง

รากที่ 1 การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ Laboratory Training / Sensitivity / T-Group

คือ การประชุมกลุ่มย่อยเล็ก ๆ

- จุดเริ่มต้นปี 1945 โดย เดิร์ท เลวิน จัดตั้งศูนย์วิจัยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ “บิดาแห่งพลวิต”

- ปี 1946 ประชุมย่อยกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ผลสรุปที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาองค์การ 2 ประการ

1. การให้และการรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ของสมาชิก ช่วยให้เกิดประสบการณ์การรับรู้กับตนเอง

2. กระบวนการกลุ่ม นำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ที่ทำงานได้

- ปี 1947 สถานบัน NTL ได้จัดทำโปรแกรมฝึกอบรม มีชื่อเรียกว่า “รายชื่อ” เช่น อบรมรับรู้ – ความรู้สึก อบรมในห้องปฏิบัติการ T-Group

ในทางปฏิบัติ จัดรูปแบบอย่างไม่เป็นทางการ ยืดหยุ่นได้ บางกรณีอาจฝึกอบรม วันละ 2 - 3 ชม.

- ปี 1985

- ดักลาส แมกเกร์เกอร์ ที่ บ.เอสโซ่แบดนดาร์ดออยจำกัด ขยายการอบรมไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์การที่ซับซ้อนทั้งระบบ ตั้งกลุ่มที่ปรึกษา เพื่อนำความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในองค์การ ต่อมาเรียกว่า “กลุ่มพัฒนาองค์การ”

- เฮอร์เบิรก์ เซฟเฟิร์ด นักวิจัยของ บ.เอสโซ่ จำกัด ได้ทดลองเกิดสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ

1. มีการใช้แนวคิดเรื่อง “กริดของการบริหาร (Menagerie Grid)” ของ แบลด และบูตัน (Blake and Mouton)

2. ให้ความสนใจในโปรแกรมการสร้างทีมงาน การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ทดลองใช้เทคนิค และกลยุทธ์ ในการพัฒนาองค์การอื่น ๆ มากว่าการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ

รากที่ 2

การสำรวจข้อมูลและการป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Savory research free back) เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ วิธีการที่ใช้สำรวจทัศนคติของสมาชิก แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประชุมปฏิบัติการย้อนมายังองค์การอีกครั้งหนี่ง

ผู้ริเริ่ม และมีอิทธิพลต่อวิธีการนี้ คือ “เดริก เลวิน” เป็นบุคคลแรก ใช้แบบสอบถาม สำรวจทัศนคติของพนักงาน และป้อนข้อมูลที่รวบรวมได้ กลับไปยังองค์การ

เรมซิล ลิด เดิรก์ และคณะได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ หรือสำรวจพฤติกรรม ทัศคติ ค่านิยม และความรู้สึกของสมาชิก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา ประสิทธิภาพขององค์การ

การนำข้อมูลย้อนกลับสู่องค์การ มาวิเคราะห์ และอภิปรายร่วมกัน ระหว่างผู้บังคับบัญชา กับฝ่ายปฏิบัติการ ทำให้มีการวางแผนแก้ปัญหาร่วมกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลขององค์การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

วิธีการสำรวจข้อมูล และป้อนข้อมูลย้อนกลับ ได้กลายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาองค์การ

รากที่ 3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

เป็นขบวนการที่ปรึกษา ดำเนินการแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับองค์การ มีขั้นตอนดังนี้

1. การรับรู้ปัญหา และการสำรวจวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้น

2. การเก็บรวมรวมข้อมูลกับกลุ่มลูกค้า

3. การให้ข้อมูลย้อนกลับ และวินิจฉัยร่วมกัน

4. กลุ่มวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน

5. กลุ่มลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดให้

6. การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลของขั้นที่ 5

เฟรนซ์ และ เบลล์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า แหล่งที่มาของปัญหาองค์การ ไม่ว่า การฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการ การสำรวจข้อมูล และป้อนข้อมูลย้อนกลับ หรือข้อวิจารณ์ขององค์การ ล้วนมีคุณลักษณะของแม่แบบการปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติการทั้งสิ้น

* การพัฒนาองค์การ จึงมีวิวัฒนาการ มาจาก “แบบการวินิจฉัยเชิงปฏิบัติ”

รากที่ 4 ระบบเทคนิค และสังคม

มีจุดกำเนิดมาจากสถาบัน ทวิสสต๊อก แก้ปัญหาเกิดจากการเปลี่ยนแปบงทางเทคนิค ฯ บ.นำเทคโนฯ มาใช้ในการปฏิบัติงาน คนงานจำนวนมากขาดงาน โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ผลผลิตลดลง

* ผลการศึกษา บ.ไม่สนใจความสัมพันธ์ทางสังคม ของคนงาน

* บ.ดูแลเทคโนโลยี จนลืมคนงาน *

แนวคิดของสถาบันสวิสสต๊อก เริ่มถูกนำไปเผยแพร่ได้กลายเป็นรากฐานของเทคนิคการพัฒนาองค์การหลายประเทศ ซึ่งมุ้งเนินการพัฒนาทั้งทางด้านงานและด้านสังคมควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน

ความหมายของการพัฒนาองค์การ

สมยศ นาวีการ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้ เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ

คุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย

1. เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการแก้ปัญหาองค์การ

2. เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

3. เป็นกระบวนการปฏิบัติสัมพันธ์ที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และใช้เวลานาน

4. ต้องอาศัยผู้นำการเปลี่ยนแปลง

5. มุ่งเน้นการเพิ่มความมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพขององค์การ (ลงทุนน้อย กำไรมาก)

6. เป็นการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ทัศนคติ ปทัสถาน และพฤติกรรมการปฏิบัติงานของกลุ่มต่าง ๆ มากกว่าเน้นการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจกบุคคล

7. จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

8. เป็นการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นแม่แบบของเทคนิคการสอดแทรก

9. จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (ที่เป็นข้อเท็จจริง)

10.เป็นกระบวนการที่ใช้ประสบการณ์เป็นพื้นฐาน เน้นเปิดโอกาสให้บุคคลได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้

11. เน้นความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย และการวางแผน(ให้สอดคล้องกัน,มีส่วนร่วม)

12. เป็นการพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม และเป็นภารกิจของสมาชิกทุกคนในองค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ 9 ประการ

การพัฒนาองค์การไม่ใช่ทีพอโอสถ

1. เพื่อสร้างบรรยากาศการแก้ปัญหาขององค์การแบบเปิดเผย

2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหาร

3. เพื่อส่งเสริมให้มีการตัดสินใจ ณ จุดที่มีข้อมูล

4. สร้างความไว้วางใจ และส่งเสริมความร่วมมือของสมาชิก

5. เพิ่มความตระหนักในความรู้สึกเป็นเจ้าของ

6. เปิดโอกาให้สมาชิกได้กำหนดทิศทางการทำงาน และควบคุมตนเองในการปฏิบัติงาน

7. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น

8. เพื่อประมาณเป้าหมายส่วนบุคคล และขององค์การเข้าด้วยกัน โดยยึดวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นหลัก

9. มุ่งเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานที่ล้าสมัย และเป็นตัวอย่าง ความเจริญขององค์การ

โดยสรุป * วัตถุประสงค์การพัฒนาองค์การ เพื่อ

1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน

2. เพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์การ

*โดยมีการรวมพลังกับการปฏิบัติงาน อันนำไปสู่ความสำเร็จ*

ชนนิกานต์ แสงสุข รหัส5050504645

ควมสำเร็จในการพัมนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองคืการเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดย นายบวร วงศ์สินอุดม ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ รับมอบ รางวัลโรงงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2548 (ENERGY AWARDS) ประเภทโรงกลั่น น้ำมันและเคมี จาก นายไพจิตร เทียนไพบูลย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงพลังงาน โดยบริษัทฯ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นองค์กร ที่ได้นำพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระบบงานวิศวกรรมมาช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานของบริษัทฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ได้ทำการก่อสร้างโรงกลั่นด้วยมาตรฐานเทคโนโลยีระดับโลกของ Shell และ UOP นอกจากนั้นยังมี Shell Global Solution International (SGSI) เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อช่วยให้การบริหารโรงกลั่น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การพัฒนาโรงกลั่นตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ ้ไทยออยล์ก้าวสู่โรงกลั่นน้ำมันแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด และเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยกำลังการกลั่นสูงสุดถึง 220,000 บาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 12,000 ล้านลิตรต่อปี) หรือประมาณร้อยละ 21 ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป ในประเทศได้ร้อยละ 35 เมื่อโครงการขยายกำลังการผลิตเป็น 270,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วเสร็จในปลายปี 2550 จะส่งผลให้ไทยออยล์เป็น 1 ใน 5 ของโรงกลั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

นอกจากศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว โรงกลั่นไทยออยล์ยังได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูง ในการใช้วัตถุดิบหรือน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ *สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ

โรงกลั่นไทยออยล์ประกอบด้วยหน่วยกลั่นหลักๆ

4 ประเภท ดังนี้

1. หอกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units)

ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน

2. หน่วยกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปหนักเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเบา

(Conversion Units)

ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่ามีบทบาท ในการเปลี่ยนโครงสร้าง น้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ ให้เป็นน้ำมันเบาซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล

3. หน่วยเพิ่มคุณภาพน้ำมัน (Reforming Units)

เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีค่าออกเทน และคุณภาพที่เหมาะสม สำหรับการนำไปใช้ เพื่อผสมน้ำมันเบนซิน ให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดต่อไป

4. หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Treatmemt)

เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ของน้ำมันเบา เพื่อกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมัน

* บริษัทฯ รับน้ำมันดิบตะวันออกกลาง 75% เอเชียตะวันออก 5% และจากแหล่งในประเทศ (น้ำมันดิบเพชร, น้ำมันดิบปัตตานี และคอนเดนเสทจากอ่าวไทย) รวม 20%

โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายการส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางทะเล รถไฟ รถบรรทุก และผ่านระบบท่อลำเลียงที่สามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด (Multi-Product Pipeline) ของ

บจ. ท่อส่งปิโตรเลียมไทย ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถอำนวยความสะดวกในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

นางสาวศริญญา หลาบนอก 5050504618

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น

3. การพิสูจน์ข้อมูล

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน

5. การสร้างทีมงาน

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

7. การประเมินและติดตามผล

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึกการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

นายจิระศักดิ์ หวังปรุงกลาง 5050504626

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

Richard Beckhad ได้ให้ความหมายของการพัฒนาองค์การไว้ว่าเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย

1.โครงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน (Planned Change)

2.บังเกิดผลต่อระบบงานทั้งหมด (The Total System)

3.เป็นการบริหารงานจากเบื้องบน (Management from the Top)

4.มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์การ(Organization Effectiveness and Health)

5.บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์

เนื่องจากการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนในการดำเนินการส่วนหนึ่ง และประกอบด้วยเครื่องมือทางการพัฒนาองค์การที่เรียกว่าสิ่งสอดแทรก (Tactic) อีกส่วนหนึ่งซึ่งจะต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละองค์การ ฉะนั้นความเข้าใจการพัฒนาองค์การ คือความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานและสิ่งสอดแทรกทั้งหมดซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในลักษณะและข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การในที่สุด

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

1.การยอมรับปัญหา ก่อนที่กระบวนการพัฒนาองค์การจะเริ่มต้นได้ สมาชิกบางคนภายในองค์การ จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน สมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้น ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว กระบวนการการพัฒนาองค์การก็ไม่สามารถเริ่มต้นได้ เมื่อปัญหาถูกยอมรับ และรู้สึกว่าการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว องค์การอาจจะติดต่อที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ เพื่อการค้นหาความเป็นไปได้ของการใช้การพัฒนาองค์การ เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การ ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องมีความรู้ทางด้านพฤติกรรมขององค์การและการพัฒนาองค์การ และจะต้องมีประสบการณ์ในการใช้การพัฒนาองค์การเพื่อแก้ปัญหาภายในองค์การด้วย

2.การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ การเข้าของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วยขั้นตอน การติดต่อ การสำรวจ และการทำสัญญา

1.การติดต่อ หมายถึงการประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ ในกรณีของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การที่เป็นบุคคลภายนอก การติดต่อมักจะเริ่มขึ้นโดยองค์การหรือสมาชิกขององค์การ ซึ่งจะรู้จักที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การโดยส่วนตัวหรือโดยความมีชื่อเสียง และติดต่อเขาเพื่อความมุ่งหมายของการพิจารณาความเป็นไปได้ของการใช้การพัฒนาองค์การภายในองค์การนั้น ในกรณีของที่ปรึกษาภายในที่เป็นลูกจ้างขององค์การ การติดต่ออาจจะเริ่มขึ้นมาโดยองค์การหรือโดยที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การก็ได้

2.การสำรวจ เป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การและองค์การ การสำรวจจะเป็นการประชุมร่วมกัน โดยทั่วไปจะใช้ผู้บริหารอาวุโสเป็นตัวแทนขององค์การ การสำรวจกำหนดขึ้นมาเพื่อให้โอกาสแก่องค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การได้ประเมินซึ่งกันและกัน การประเมินว่าที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ มีคุณสมบัติเหมาะสมในฐานะเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ หรือไม่ การประเมินที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะขึ้นอยู่ประสบการณ์ของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และความรู้ทางพฤติกรรมองค์การของพวกเขา ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะประเมินเกี่ยวกับว่าองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาอะไร และความพร้อมของสมาชิกภายในองค์การต่อการเปลี่ยนแปลง โอกาสความสำเร็จของการพัฒนาองค์การจะขึ้นอยู่กับ

1.ความพร้อมขององค์การที่จะยอมรับปัญหาภายในองค์การอย่างเปิดเผย

2.ความเต็มใจขององค์การที่จะรับผิดชอบปัญหาภายในองค์การอย่างแท้จริง

3.ความเต็มใจขององค์การที่จะผูกพันเวลาทรัพยากรและพลังกับกระบวนการการพัฒนาองค์การ ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องสำรวจปัจจัยเหล่านี้ทุกอย่าง เพื่อการติดสินใจว่าพวกเขาควรจะดำเนินการพัฒนาองค์การภายในองค์การนี้หรือไม่

1.การทำสัญญา สัญญาที่ชัดเจนระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การและองค์การจะมีความสำคัญมาก องค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ จะต้องรู้ว่าแต่ละฝ่ายคาดหวังอะไรจากกัน เพื่อการดำเนินการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ปรึกษาฯ ต้องการความร่วมมือและความผูกพันจากองค์การ เช่น การเข้าหาข้อมูลและคน, ความเต็มใจเข้าร่วมการประชุม เป็นต้น ส่วนองค์การก็ต้องการรู้แผนงานของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ, ระยะเวลาของการดำเนินงานการพัฒนาองค์การ, ค่าบริการของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และผลลัพธ์จากการดำเนินการพัฒนาองค์การ เป็นต้น

1.การวิเคราะห์ปัญหา

การวางแผนและการดำเนินการพัฒนาองค์การ จะต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงานของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการของความร่วมมือร่วมใจ การมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในองค์การอย่างจริงจัง ภายในกระบวนการของการรวบรวมข้อมูลจะเป็นสิ่งจำเป็น พวกเขาจะต้องพิจารณาประเภทของข้อมูลที่ต้องถูกรวบรวม สภาวะขององค์การในปัจจุบัน และอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่

1.การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์จะเป็นเทคนิคการรวบรวมข้อมูล ที่ใช้ในการพัฒนาองค์การมากที่สุด เพราะมีความคล่องตัวมาก ในระหว่างการสัมภาษณ์ สมาชิกขององค์การสามารถกล่าวถึงแหล่งที่มาของปัญหา หรือความยุ่งยากภายในองค์การได้อย่างเสรี นอกจากนี้เมื่อปัญหาบางอย่างถูกกล่าวถึง ที่ปรึกษาฯ สามารถถามคำถามเพิ่มเติม เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น การสัมภาษณ์จะให้โอกาสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างที่ปรึกษาฯ กับสมาชิกขององค์การได้ การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง โดยทั่วไปการสัมภาษณ์จะคัดเลือกสมาชิกขององค์การเพื่อการสัมภาษณ์เพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้ภาพรวมที่ถูกต้องของปัญหา ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจะถูกกระทบจากความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์อีกด้วย ผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้ถามคำถามบางอย่างประการสุดท้ายการสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ให้ชัดเจนและถูกต้องจะยุ่งยาก นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้แบบสอบถาม

2.แบบสอบถาม แบบสอบถามจะถูกสร้างขึ้นเพื่อการมุ่งปัญหาที่สำคัญภายในองค์การ แบบสอบถามจะมีข้อดีคือ การรวบรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจำนวนมากได้ภายในเวลาระยะสั้น ความคิดเห็นของสมาชิกภายในองค์การ สามารถรวบรวมได้โดยใช้คำถามมาตรฐาน คำตอบของสมาชิกภายในองค์การจะถูกวัดโดยใช้มาตราส่วน ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาตรฐานเป็นตัวเลข จะช่วยให้การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การง่ายขึ้น แบบสอบถามจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ขาดความคล่องตัว เราไม่อาจจะรู้ได้ว่า คำตอบของเขาถูกต้องหรือไม่ แบบสอบถามอาจจะมองข้ามปัญหาที่สำคัญภายในองค์การ นอกจากนี้แบบสอบถามยังไม่สามารถสร้างความเข้าใจระหว่างที่ปรึกษาฯ กับสมาชิกขององค์การได้ โดยทั่วไปการเผชิญหน้าหนึ่งต่อหนึ่งจะไม่เกิดขึ้นเมื่อเราใช้แบบสอบถาม การใช้แบบสอบถามค่อนข้างจะเป็นทางการและชาเย็น

3.การสังเกต ที่ปรึกษาฯ สามารถรวบรวมข้อมูลภายในองค์การได้โดยใช้การสังเกต จากบรรยากาศโดยทั่วไปภายในองค์การ ที่ปรึกษาฯ สามารถมองเห็นปัญหาภายในองค์การได้ พวกเขาสามารถมุ่งความสนใจไปยังส่วนต่างๆ ขององค์การเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ได้ การสังเกตจะเสียเวลามากและไม่เป็นระบบ แม้ว่าที่ปรึกษาฯ จะมองเห็นปัญหาภายในองค์การโดยทั่วไป ยิ่งกว่านี้การบันทึกและการสรุปผลจากการสังเกตเพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับไปยังสมาชิกขององค์การจะยุ่งยาก ประการสุดท้าย เราไม่อาจจะรู้ได้ว่าพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การที่ถูกสังเกตโดยที่ปรึกษาฯ นั้น จะเป็นจริงหรือไม่

4.ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลเพิ่มเติมหมายถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ ภายในองค์การ ที่ไม่ได้ถูกรวบรวมอย่างเปิดเผย เพื่อความมุ่งหมายของการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ เช่น อัตราการขาดงาน อัตราการออกจากงาน อัตราการผลิต และอัตราของเสีย เป็นต้น

2.การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

เมื่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาภายในองค์การเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับ ที่ปรึกษาฯ จะรายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ เป้าหมายของการให้ข้อมูลป้อนกลับจะมีอยู่สองด้าน คือ ที่ปรึกษาฯ ต้องการความมั่นใจว่าสมาชิกขององค์การยอมรับว่า ปัญหาและภาพรวมสถานะขององค์การในปัจจุบันมีความถูกต้อง เป้าหมายอีกอย่างคือ เพื่อสร้างความกระตือรือร้นท่ามกลางสมาชิกขององค์การ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในองค์การ โดยทั่วไปการใช้ขอมูลป้อนกลับจะเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมร่วม ระหว่างที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ และกลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์การ บทบาทของที่ปรึกษาฯ ในระหว่างการประชุม คือ การเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้ และการช่วยเหลือในระหว่างการอภิปรายและการตีความข้อมูลของพวกเขา ที่ปรึกษา ฯ จะไม่บอกว่าข้อมูลที่เสนอนั้น องค์การจะต้องไปดำเนินการอะไรบ้าง แต่ให้อธิบายข้อมูลเฉพาะเพื่อให้เห็นชัดเจน และช่วยเหลือพวกเขาในการแก้ไขปัญหาขององค์การอย่างสร้างสรรค์เท่านั้น

3.การวางแผนดำเนินงาน (Action Planning)

เมื่อปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การวางแผนดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา เนื่องจากการพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ บทบาทของที่ปรึกษาฯ คือ การช่วยเหลือสมาชิกขององค์การ สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาขององค์การขึ้นมา ที่ปรึกษาฯ จะต้องไม่บอกว่าสมาชิกขององค์การควรจะดำเนินการอะไร หรือไม่ควรจะดำเนินการอะไร สมาชิกขององค์การนั้นๆ ควรจะกำหนดทางเลือกแก้ปัญหาของพวกเขาขึ้นมาเอง นี่จะเป็นการสร้างความเป็นเจ้าของและความผูกพันต่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการบรรลุความสำเร็จของกระบวนการการพัฒนาองค์การเป็นอย่างยิ่ง การช่วยเหลือของที่ปรึกษาฯ ในระหว่างการวางแผนดำเนินงานจะมีอยู่สามด้าน ประการแรก ที่ปรึกษาฯ สามารถเสนอแนะทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา บนรากฐานประสบการณ์และความรู้ของเขา สมาชิกขององค์การจะรู้เรื่ององค์การดีกว่า แต่อาจจะมองไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ภายในองค์การ ประการที่สอง ที่ปรึกษาฯ สามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาบางอย่างที่คาดไม่ถึงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงที่ถูกดำเนินการ ที่ปรึกษาฯ จะสามารถคาดคะเนปัญหาเหล่านี้ ด้วยการใช้ความรู้และประสบการณ์ของเขา และวางแผนดำเนินงานเพื่อการรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ประการที่สาม ที่ปรึกษาฯ ต้องสามารถสร้างแรงจูงใจเพื่อการดำเนินงานตามแผน จะต้องมีการบอกกล่าวเกี่ยวกับแผนงานอย่างชัดเจน เพื่อให้สมาชิกได้รับรู้ การดำเนินงานจะต้องมีเป้าหมายที่วัดได้ ที่พวกเขาจะต้องเข้าใจอย่างชัดเจนว่าความรับผิดชอบส่วนบุคคลของพวกเขาคืออะไร และพวกเขาจะบรรลุความสำเร็จเมื่อไร การบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีระยะเวลาที่เป็นจริง และพวกเขาจะต้องถูกยกย่องและได้รับรางวัลจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลงจนบรรลุความสำเร็จ แรงจูงใจและความผูกพันของพวกเขาจะขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้

4.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ (Implementation)

ขั้นตอนนี้ของกระบวนการพัฒนาองค์การ จะเกี่ยวข้องการดำเนินการเปลี่ยนแปลงแผนดำเนินงาน ณ จุดนี้การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นภายในองค์การ เทคนิคการพัฒนาองค์การจะมีอยู่หลายแบบ แต่ที่ถูกนำใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล และเทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกระบวนการ เทคนิคระดับบุคคลจะถูกนำมาใช้เมื่อการวิเคราะห์ปัญหาสรุปได้ว่า ปัญหาขององค์การเกิดจากการขาดความสามารถและ/หรือแรงจูงใจของสมาชิกขององค์การ ส่วนเทคนิคระดับกระบวนการจะถูกนำมาใช้เมื่อ ปัญหาขององค์การเกิดขึ้นจากกระบวนการที่เกี่ยวพันระหว่างกันของบุคคลและกลุ่มภายในองค์การ

5.การประเมินผล (Evaluation)

ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาองค์การ คือ การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ภายหลังจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การแล้ว ข้อมูลจะต้องถูกเก็บรวบรวมเพิ่มเติม เพื่อการประเมินผลว่า ปัญหาภายในองค์การได้ถูกแก้ไขหรือถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ต้องกลับไปวิเคราะห์ปัญหากันใหม่

ดังนั้น นอกจากการประเมินผลจะถูกมองว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาองค์การแล้ว การประเมินผลจะถูกมองว่าเป็นการหมุนรอบกระบวนการพัฒนาองค์การกลับไปยังขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาด้วย

นายจิระศักดิ์ หวังปรุงกลาง 5050504626

การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อนแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำๆ ซากๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

นายจิระศักดิ์ หวังปรุงกลาง 5050504626

การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

• การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

• การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

• การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

• สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

• วางแผนปฏิบัติการ

• ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมายและการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

• วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

• วัตถุประสงค์ของทีมงาน

• วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

• เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

• เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

• เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

• เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

• ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

• ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

• ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

• มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

• มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

• ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

• สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ

• ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

• ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

• การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

• ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

• ผลจากทฤษฎีการบริหารที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

• ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

• ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ

• ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

นางสาวอมรทิพย์ คงวง 5050504623

ประโยชน์ที่ได้รับในการพัฒนาองค์การ

-1. เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การ การพัฒนาบุคคลากร การวางแผนกลยุทธ์ และการตัดสินใจนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมในการบริหารองค์การ

2. เพื่อเป็นการสนับสนุนว่าองค์ความรู้ของ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการภาคธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้

นายจิรวัฒน์ สุวรรณแสวง

การพัฒนาองค์กร (Organization Development)

หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1. มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร

โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

นายจิรวัฒน์ สุวรรณแสวง

วินัย 5 ประการ : กุญแจสู่ความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

ความนำ ปัจจุบันนี้แนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization ) ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ทั่วโลกในฐานะที่เป็นการบริหารรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นฐานในการก้าวไปสู่ความสำเร็จขององค์กรได้ทุกประเภท ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว เป็นการเน้นความสำคัญที่เป็นผู้นำ ( leadership) ความคิดเชิงระบบ( System Thinking ) และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning ) ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกันในทีมงานนั้นเอง

วินัย 5 ประการ พื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรู้

1. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ( Personal Mastery )

2. รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง( Mental Models )

3. การสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน ( Share Vision )

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ( Team Learning )

5. ความคิดเชิงระบบ

นายอภิเชษฐ์ ภาษี 5050504630 (ศูนย์ปากช่อง)

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.มีองค์การที่แข็งแรงอยากต่อการล้มละลาย

2. พนักงานมีความเชื่อมั่นในองค์การ

3. องค์การมีกำไรสูง ต้นทุนต่ำ

4. มีบุคคลากรที่มีความสามารถ รักองค์การ

5. มีความก้าวหน้าในสายการดำเนินงาน

นางสาวอาภาพร สีขาว 5050504640 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่เราต้องการมากที่สุด หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์กร

1.องค์มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

2.ระบบการทำงานมีมาตรฐาน

3.คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

4. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

5.เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

6. สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้ดีขึ้น

7. การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เลี่ยวงาน และหนีงานลดลง

8. เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย ภายใต้สถานการณ์ที่สลับซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การแข่งขันอย่างรุนแรงจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลให้กระแสความต้องการพัฒนาองค์การมีอิทธิพลแผ่ขยายไปยังทุกส่วนของโลก การเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อให้สามารถดำรงอยู่และสืบทอดจุดมุ่งหมายขององค์การต่อไป เพื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 องค์การใดที่ไม่มีการเรียนรู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์การนั้นก็ไม่อาจจะต่อสู้กับกระแสการแข่งขันในยุคของข่าวสาร และเปิดเสรีที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปได้เป็นแน่

ความหมายเกี่ยวกับการจัดองค์การ

แมคครานีย์ (Mclarney, 1964 , p.11)ได้ให้ความหมายของการจัดองค์การว่า หมายถึง การวางระเบียบให้กิจการรวมต่าง ๆ ขององค์การสมดุลย์กันโดยกำหนดว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรทั้งนี้ เพื่อการดำเนินงานขององค์การบรรลุตามแผนที่กำหนดไว้

การจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ

(ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,2542 , หน้า 98-99) องค์การจะมีประสิทธิภาพเกิดขึ้น ได้โดยอาศัยสมาชิกภายในองค์การและการจัดวางระบบทำงาน รวมทั้งการจัดโครงสร้างการบริการตลอดจนผู้นำที่มีประสิทธิภาพ สถานการณ์จะเกิดขึ้นได้โดย

1.การติดต่อสื่อสารที่ดี ของทั้งภายในองค์การ กับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลภายในองค์การทำให้องค์การสามารถดำรงอยู่ได้ และมีประสิทธิภาพ เพราะความเข้าใจกัน ความสามารถในการสื่อความหมายให้ตรงกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์การ

2.ความคล่องตัวของการทำงานในองค์การ ความคล่องตัวของการบริหารงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ สามารถติดต่อถึงกัน โดยไม่มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน ความคล่องตัวของพนักงานในการปฏิบัติงาน มีอิสระในการทำงานและการตัดสินใจในงานบางอย่าง

3.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นความสามารถขององค์การที่จะกระตุ้นให้สมาชิกในองค์การให้มีความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานจะช่วยให้ประสิทธิภาพองค์การดีขึ้น

4.ความผูกพันกับองค์การ หมายถึงความเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและมีความต้องการ ที่จะให้องค์การบรรลุเป้าหมาย รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การ ความเข้าใจกัน ความมีมนุษย์สัมพันธ์ต่อกัน ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายงาน ลุล่วงไปด้วยดีเพราะสมาชิกร่วมกันทำงาน และมีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การจะสำเร็จได้ ถ้ามีการวางแผนและการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เข้าช่วย เช่น เรื่องการจูงใจ เรื่องอำนาจ การสื่อสาร ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมองค์การ การแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม การขจัดความขัดแย้งต่าง ๆ ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย ( ชวลิต ประภวานนท์ , 2541, หน้า336-341)

1.ความแตกต่างระหว่างการพัฒนาองค์การและการฝึกอบรม ( The Differences between Organization development and Training ) การฝึกอบรม (Training ) เป็นการพัฒนาความรู้ ความชำนาญ ทัศนคติ ลักษณะนิสัย และหน้าที่การทำงาน โดยการฝึกอบรมเน้นที่ตัวบุคคลมากกว่าองค์การ ส่วนการพัฒนาองค์การจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทั้งตัวบุคคล กลุ่มองค์การ โครงสร้างองค์การ ระบบการทำงานและอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคคลทั้งองค์การ จึงมีความหมายที่กว้างกว่าฝึกอบรม

2.ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ( The Nature of Organizational Development ) การพัฒนาองค์การนั้นจะมีลักษณะต่าง ๆ หลายประการ เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมองค์การ ( Organization Cultural ) ค่านิยม (Value) และทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งต้องทำแผนแม่แบบในการปฎิบัติการพัฒนาจะต้องเริ่มกระทำอย่างต่อเนื่องมีการสอดแทรก (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

3.คุณค่าของการพัฒนาองค์การ ( Organization Development Values) การพัฒนาองค์การมีคุณค่าต่อมนุษย์และการเจริญเติบโตขององค์การ ขบวนการ การมีส่วนร่วม และความต้องการที่เป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การพัฒนาองค์การ ต้องการความสำคัญต่อความร่วมมือ ( Collaboration ) แนวความคิด (Concepts) โดยองค์การจะต้องมีการแยกถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นในความพยายามพัฒนาองค์การประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

• ความคาดหวังสำหรับบุคคล ( Respect for People ) เพื่อระมัดระวังต่อการกระทำเพื่อไม่ให้เกิดความผิดหวัง

• ต้องมั่นใจและได้รับการสนับสนุน ( Trust and Support ) ประสิทธิภาพขององค์การและความแข็งแรงจะต้องมีลักษณะที่ทำให้มั่นใจ และมีบรรยากาศในการสนับสนุนการพัฒนาองค์การ

• อำนาจที่เท่าเทียมกัน ( Power Equalization ) ประสิทธิภาพขององค์การและความแข็งแรงจะต้องมีลักษณะที่ทำให้มั่นใจและมีบรรยากาศในการสนับสนุนการพัฒนาองค์การ

• การเผชิญหน้า ( Confrontation ) ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์การจะต้องได้รับการเผชิญหน้าโดยมีการติดต่อเพื่อร่วมแก้ปัญหาไม่หลีกเลี่ยงหรือสะสมปัญหา

• การมีส่วนร่วม (Participation ) พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาองค์การจะต้องมีส่วนร่วมในการรับรู้ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นโดยร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติ

4.การพัฒนาอย่างเป็นระบบ ( Organization Development System ) จะต้องมีการสร้างแผนแม่บทในการเปลี่ยนแปลง มีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การโดยมีกลไก การควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้อง พิจารณาว่าองค์การมีการร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบ เน้นที่เป้าหมายองค์การ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์ต่อองค์การ และลักษณะโครงสร้างองค์การจะเป็นแบบกว้าง โดยอาศัย การให้คำแนะนำมากกว่า การสั่งการ โดยการบังคับบัญชา ดังนั้น พนักงานจึงมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล

• ปตท.เป็นองค์กรด้านพลังงานของชาติ ซึ่งประกอบธุรกิจปิโตรเลียม และธุรกิจต่อเนื่อง

อย่างครบวงจรโดยใส่ใจ คุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการชั้นเลิศภายใต้การบริหารและการจัดการตามมาตราฐานระดับสากล

ข.ภารกิจ (Mission)

การกำหนดภารกิจหรือกรอบในการดำเนินงานขององค์การภารกิจที่ดีจะช่วยให้องค์การสามารถตอบคำถามที่ว่า “เราคือใคร เราทำอะไรและเราจะมุ่งไปในทิศทางไปในทิศทางไหน” (Who Are We , What We Do , and Where We’re Headed) ภารกิจแต่ละแห่งจะมีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์การเนื่องจากภารกิจจะช่วยสร้างคุณค่า และความแตกต่างขององค์การจากองค์การอื่น ภารกิจที่เขียนไว้ชัดเจนจะช่วยให้องค์การธุรกิจในการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ชัดเจนและเป็นหนึ่งเดียวไปสู่สังคมภายนอกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ แนวคิดในเรื่องภารกิจขององค์การเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า องค์การมีแนวคิดหรือหลักการในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งย่อมจะเป็นผลดีต่อการดำเนินงานขององค์การที่มีธุรกิจหลายประเภท เนื่องจากเมื่อมีธุรกิจหรือสินค้าชนิดใหม่ขึ้นมาการที่มีภารกิจร่วมกัน ย่อมทำให้การดำเนินงานของธุรกิจชนิดใหม่ไปในทิศทางเดียวกับธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การ

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

บริษัท ฮอนด้าคาร์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ปรัชญาแห่งชัยชนะของยนตรกรรมระดับโลก

ไม่ว่าประเทศใดในโลก ฮอนด้าทุกแห่งล้วนมีจุดมุ่งหมายแห่งชัยชนะบนเส้นทางเดียวกันคือการสร้างสรรค์มาตราฐานใหม่ของยนตรกรรมระดับโลก ที่มีคุณภาพสูงในราคาที่สมเหตุสมผล สามารถตอบสนองความพึงพอใจของผู้ขับขี่ได้อย่างเป็นเลิศนับจากจุดเริ่มต้นถึงจุดหมายปลายทาง

ง. การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ (Developing Objectives)

หมายถึงการแปลวิสัยทัศน์หรือภารกิจขององค์การ ให้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่มีลักษณะชัดเจนขึ้น การตั้งวัตถุประสงค์ที่มีความท้าทายแต่สามารถบรรลุได้จะช่วยป้องกันความเฉื่อยชาภายในองค์การโดยปกติวัตถุประสงค์ขององค์การจะถูกจัดสรรและกระจายไปเป็นวัตถุประสงค์ย่อยสำหรับแต่ละหน่วยงาน ทำให้แต่ละส่วนหรือหน่วยงานขององค์การจะปฎิบัติงานเพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน จากการศึกษาประวัติองค์การธุรกิจที่ประสบความสำเร็จล้วนแล้วแต่มีการจัดตั้งวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น และมีความพยายามจากทุกฝ่ายในองค์การที่จะดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในขณะที่บริษัทที่มักจะไม่ประสบความสำเร็จ จะมีการบริหารและดำเนินงานที่ยึดติดอยู่กับความหวังที่เลื่อนลอย หรือรอให้โชคเข้าข้างโดยที่ไม่มีกำหนดเป้าหมายชัดเจนและพยายามดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นวัตถุประสงค์ขององค์การต่าง ๆ อาจมีรูปแบบ เนื้อหาแตกต่างกันออกไปตามภารกิจหรือหน้าที่หลักขององค์การนั้น ๆ เช่น องค์การธุรกิจ หรือ องค์การของรัฐที่ดำเนินการเชิงธุรกิจ อาจมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น

1.ความสามารถในการทำกำไร หรือผลตอบแทนในการลงทุน

2.ระดับการเติบโตของกิจการ โดยพิจารณาจาก ส่วนแบ่งของ ตลาด กำลังการผลิต ยอดขายฯลฯ

3.คุณภาพของบริการ โดยพิจารณาจากความพอใจของผู้ใช้บริการ ฯลฯ เป็นต้น

4.ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยอาจจะประเมินจาก “ภาพลักษณ์” ที่ผู้คนในสังคมมององค์การในเรื่องการอนุรักษ์สภาวะแวดล้อม คุณภาพของการบริการ ฯลฯ เป็นต้น

5.ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร โดยอาจจะประเมินจากการประหยัดต้นทุนการผลิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

6.ความมั่นคง และเสถียรภาพขององค์การ โดยอาจจะประเมินจากความมั่นคงทางการเงิน และระดับการออกจากงานของพนักงาน ฯลฯ เป็นต้น

7.การละเลยวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ขององค์การธุรกิจและให้ความสำคัญต่อวัตถุประสงค์ทางการเงินเพียงอย่างเดียวจะขาดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวสูญเสียความเป็นผู้นำตลาด อันตรายของความหลงผิดนี้จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ถ้าคู่แข่งขันที่สำคัญขององค์การเน้นการลงทุน ในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือบริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่นที่ค่อย ๆ สะสมความสามารถในการแข่งขันอย่างช้า ๆ และรอเวลาที่จะล้มผู้นำตลาดอย่างบริษัทจากอเมริกาและยุโรปที่ให้ความสนใจต่อผลตอบแทนในระยะสั้น หรือวัตถุประสงค์ทางการเงินมากกว่า

3.การกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน ( Strategic Formulation ) หมายถึงวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานที่กำหนดขึ้น เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามทิศทางที่กำหนดไว้ข้างต้น

กลยุทธ์ ควรมีเนื้อหาที่สามารถระบุ “จุดยืน” ขององค์การ “จุดยืน” นี้ จะตอบคำถามว่าองค์การจะเลือกแนวทางการดำเนินงานอย่างไรต่อไปกลยุทธ์ทั่วไปขององค์การมีหลายลักษณะ เช่น

กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Level Strategy) ประกอบด้วยทางเลือกซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพขององค์การ คือ กลยุทธ์เน้นการเจริญเติบโต (Growth) เช่น เพิ่มยอดขาย เปิดตลาดใหม่กลยุทธ์การแสวงหาธุรกิจใหม่ (diversification) เช่น การซื้อกิจการ (Acquisition) การสร้างพันธมิตร (Strategic Alliance) หรือการร่วมลงทุน (Joint Venture) การพัฒนาธุรกิจ (Internal Development) และการรวมกิจการ (Merger) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ (Stabilizing Strategy)กลยุทธ์การฟื้นฟูธุรกิจ (Turnaround Strategy) กลยุทธ์ลดการลงทุน(Divestment Strategy) เช่น การตัดทอน (Retrenchment) การขายธุรกิจ (Divestiture) การขายทอดทรัพย์สิน (Liquidation)สำหรับกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน (Business level Strategy) ประกอบด้วยการรักษาความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน(Compettitive Advantage)โดยพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยหลักBetter,Cheaper และ Fasterโดยอาศัยการสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์(Differentiation) การเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน(Cost Leadership) และการสนองตอบอย่างรวดเร็ว(Quick Response) การเจาะช่องตลาด (Market Niche) เพื่อยึดครองพื้นที่หรือฐานการตลาดที่ได้เปรียบการเข้าถึงวงจรชีวิตการตลาด (Market Life Cycle)ได้แก่ การเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ เพื่อการเติบโตเป็นผู้นำทางการตลาด ในภาวะถดถอยควรใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม เช่นการถอนตัว(Divest) การเก็บเกี่ยว (Harvest) การรักษาฐานการตลาด (Hold) และการทุ่มทุน (Build) การฟื้นฟู(Turn around)

กลยุทธ์ระดับหน้าที่ ( Operational Level Strategy ) หรือกลยุทธ์ระดับการดำเนินงาน มุ่งเน้นคุณค่าในสายตาลูกค้า(Customer Value) ด้วยการทำความเข้าใจกระบวนหลัก (Core Process) ของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาการผลิต (Production Development Process) กระบวนการจัดการด้านความต้องการ (Demand Management Process) และตอบสนองต่อการสั่งสินค้าหรือบริการ (Order Fullfillment) โดยมุ่งปรับสมรรถนะของกระบวนการโดยใช้ Total Quality Management (TQM) และ Core Process Reengineering(CPR)

4 การปฎิบัติตามกลยุทธ์ ( Strategic Implementation ) เมื่อกำหนดกลยุทธ์แต่ละระดับแล้ว จะต้องประเมินทางเลือกที่เหมาะสมกับองค์การเพื่อจะนำไปปฎิบัติทำให้องค์การบรรลุภารกิจที่วางไว้ การปฎิบัติตามกลยุทธ์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้เป็นการปฎิบัติและผลลัพท์ กลยุทธ์ที่เกิดจากความคิดที่รอบคอบ สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ปัญหาแนวทางปฏิบัติต้องพิจารณาถึงกระบวนการกำหนดเป้าหมายในโลกธุรกิจ กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ล้มเหลวเนื่องจากขาดทางเลือกของกลยุทธ์และขาดการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ เช่น โครงสร้างของงองค์การ ระบบการให้รางวัล และความสามารถต่าง ๆ

บริษัทแมคเคนซี่(Mckinsey) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรีกษาได้พัฒนาแบบจำลองขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการบริหารขององค์การต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในองค์การและรวมถึงปรัชญาของสมาชิกภายในองค์การ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถที่จะวัดประสิทธิภาพในการทำงานของสมาชิกในองค์การรวมถึงการใช้ทรัพยากรมนุษย์ช่วยให้ผู้บริหารสามารถใช้หลักของ 7-S โดยเป็นเครื่องมือของการดำเนินกลยุทธ์ตามแผนที่วางไว้

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างภารกิจขององค์การ

ภารกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ดำเนินการขนส่งผู้โดยสาร พัสดุ และไปรษณีย์ภัณฑ์ทางอากาศ ทั้งภายใน และต่างประเทศ รวมทั้งกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนกัน เช่น การบริการภาคพื้น ศูนย์ซ่อมบำรุง อากาศยาน คลังสินค้า กิจการทัศนาจรโรงแรม ภัตตาคาร ครัวการบิน ตลอดจนเป็นตัวแทนการขนส่งให้กับกิจการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ภารกิจของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจต่อเนื่องอย่างครบวงจรเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน

• การตอบสนองความต้องการลูกค้าและผู้ถือหุ้น

• การบริหารองค์กร

- พัฒนา/ปรับปรุง กระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

- ดำเนินนโยบายคุณภาพทั่วทั้งองค์กร

• การพัฒนาพนักงาน

- พัฒนาศักยภาพทุกด้านให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ

ภารกิจขององค์การย่อมที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อมีความจำเป็น หรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540-2541 ทำให้องค์การต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงภารกิจขององค์การให้เหลือเฉพาะธุรกิจหลัก ( Core Business ) เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ จะเน้นเฉพาะธุรกิจหลัก3 ชนิด ได้แก่ เกษตร ค้าปลีก และโทรคมนาคม หรือเครือซิเมนต์ไทยจะเน้นเฉพาะธุรกิจวัสดุก่อสร้าง กระดาษและเยื่อกระดาษ ปิโตรเคมีและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น

ค.ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ( Business Philosophy)

ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ เป็นความเชื่อ ค่านิยม สิ่งที่มุ่งหวังโดยบ่งบอกถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจของกิจการและความสังคม และจรรยาบรรณทางธุรกิจที่องค์การธุรกิจมี

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603(AOM)

งานที่ไม่แสดงตนอยู่ข่างบนเป็นของ หนูเองค่ะ(ขันทอง  สุขเพ็ง5050504603)

ย้ายมาจากข้างบนลืมลงชื่อ

การในการพัฒนาองค์การ 1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่ 2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ 1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ 2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้ 1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน 2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ 3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ 1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ 1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ 2. บุคลากรทุกคนในองค์การ 3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ 4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์ การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง ปัญหาของการพัฒนาองค์การ 1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง ความสำเร็จขององค์การ 1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างภารกิจขององค์การ ภารกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการขนส่งผู้โดยสาร พัสดุ และไปรษณีย์ภัณฑ์ทางอากาศ ทั้งภายใน และต่างประเทศ รวมทั้งกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนกัน เช่น การบริการภาคพื้น ศูนย์ซ่อมบำรุง อากาศยาน คลังสินค้า กิจการทัศนาจรโรงแรม ภัตตาคาร ครัวการบิน ตลอดจนเป็นตัวแทนการขนส่งให้กับกิจการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ภารกิจของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจต่อเนื่องอย่างครบวงจรเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน • การตอบสนองความต้องการลูกค้าและผู้ถือหุ้น • การบริหารองค์กร - พัฒนา/ปรับปรุง กระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง - ดำเนินนโยบายคุณภาพทั่วทั้งองค์กร • การพัฒนาพนักงาน - พัฒนาศักยภาพทุกด้านให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ภารกิจขององค์การย่อมที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อมีความจำเป็น หรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540-2541 ทำให้องค์การต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงภารกิจขององค์การให้เหลือเฉพาะธุรกิจหลัก ( Core Business ) เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ จะเน้นเฉพาะธุรกิจหลัก3 ชนิด ได้แก่ เกษตร ค้าปลีก และโทรคมนาคม หรือเครือซิเมนต์ไทยจะเน้นเฉพาะธุรกิจวัสดุก่อสร้าง กระดาษและเยื่อกระดาษ ปิโตรเคมีและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ค.ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ( Business Philosophy) ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ เป็นความเชื่อ ค่านิยม สิ่งที่มุ่งหวังโดยบ่งบอกถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจของกิจการและความสังคม และจรรยาบรรณทางธุรกิจที่องค์การธุรกิจมี

ณิชนันทน์ สินปรุ รหัสนักศึกษา 5050504632(ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์กรในรอบปี 2549 ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน

บุคคลากรคือพลังขับเคลื่อนที่สำคัญขององค์กร

บริษัทยึดมั่นในการพัฒนาบุคคลากรที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จตลอดจนต่อให้เกิดความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรของ

บริษัทอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้่ยังมุ่งเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศที่ดีในการทำงาน รวมทั้งการจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆโดยให้พนักงานได้มีส่วนร่วม และบริษัทยังได้ใ่ห้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ และสวัสดิการของพนักงาน ประกอบด้วยการจัดให้มีทุนการศึกษาเล่าเรียนบุตรของพนักงานตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับอุดมศึกษา ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ จัดหาอุปกรณ์กีฬาต่างๆให้แก่พนักงานเืพื่อเสริมสร้าง

พลานามัย มีบริการรับส่งพนักงานจากที่พักไปโรงงาน และมีเครื่องแบบให้แก่พนักงาน มีสวัสดิการห้องพยาบาล โดยจัดให้มีแพทย์และพยาบาลประจำโรงงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงานและดูแลเรื่องยาเสพติดโดยสุ่มตรวจเป็นประจำทุก 2-3 เดือน ภายใต้โครงการ "โรงงานสีขาว" นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงานและครอบครัวรวมทั้งการปรับเพิ่มเงินเดือนพื้นฐานเพื่อ

เป็นขวัญและกำลังใจแก่พนักงาน

ความสำเร็จของบริษัทในวันนี้ เกิดจากแรงสนับสนุนของทุกส่วนงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารและความร่วมมือจากพนักงานทุกระดับชั้น นับเป็นความภูมิใจที่สำคัญที่ทำให้บริษัทก้าวเดินต่อไปในการปรับปรุงศักยภาพอย่างไม่หยุดยั้ง

นางสาวศริญญา หลาบนอก 5050504618

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ประเภทของเทคนิคการพัฒนาองค์การ

เทคนิคการพัฒนาองค์การหรือที่เรียกกันว่าเครื่องมือสอดแทรกนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่าง โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. ] เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล

1.1 ] การวางแผนชีวิตและอาชีพ

1.2 ] การวิเคราะห์บทบาท

1.3 ] การทำให้งานมีความหมาย

1.4 ] การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น

1.5 ] การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ

1.6 ] การพัฒนาแบบของผู้บริหาร

2. ] เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล

2.1 ] การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน

2.2 ] การวิเคราะห์พฤติกรรม

2.3 ] การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม

3. ] เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม

3.1 ] การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ

3.2 ] การพัฒนาทีมงาน

3.3 ] การพัฒนาคุณภาพงาน

3.4 ] การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์

3.5 ] การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

4. ] เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม

4.1 ] การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม

4.2 ] การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด

4.3 ] การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป

5. ] เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ

5.1 ] เทคนิคการพัฒนาโครงสร้างขององค์การ

5.1.1 ] การออกแบบโครงสร้างขององค์การ

5.1.2 ] การออกแบบงาน

5.1.3 ] การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

5.1.4 ] การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน

5.2 ] เทคนิคการพัฒนาพฤติกรรมและกระบวนการทำงาน

5.2.1 ] การประชุมปรึกษาหารือเพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

5.2.2 ] การพัฒนาองค์การแบบกริดขั้นที่ 4, 5 และ 6

5.2.3 ] การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

นางสาวธัญลักษณ์ มาทาจันทึก 5050504612

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

นางสาวธัญลักษณ์ มาทาจันทึก 5050504612

การวางแผนกับการตัดสินใจและการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของหน่วยงานเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพราะองค์การจะดำเนินก้าวหน้าไปด้วนดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้นั้นตองอาศัยการวางแผน

การตัดสินใจ

(decision maling) หมายถึงกระบวนในการสร้างทางเลือกการดำเนินงานใดๆไว้หลายๆทางแล้วพิจารณาตรวจสอบประเมินผลทางเลือกเหบ่านั้นเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียวเพื่อนำไปดำเนินงาน

ประสิทธิภาพของการตัดสินใจ

คือความเป็นจริงและความชัดเจนของข้อมูลที่ใช้ แต่ไม่แน่นอนเพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีช่วงการตัดสินใจที่เลวที่สุดถึงการตัดสินใจที่ดีที่สุด มินท์ซเบอร์ก (henry mintzberg) ได้อธิบายบทหลัก 4 ประการที่ผู้บริหารยึดถือในการตัดสินใจคือ

1. การตัดสินใจในบทบาทของผู้ประกอบการ จะต้องพยายามคิดและหาวิธีการเพื่อมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยงาน หาประโยชน์จากโอกาสต่างๆ การปรับปรุงกิจกรรมของหน่วยงานให้ดีขึ้นไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2. การตัดสินใจในบทบาทของผู้พิชิตความยุ่งยาก ต้องดัดสินใจยุติปัญหาที่อาจสร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้นเพื่อมิให้ปัญหานั้นมีความรุนแรงลุกลามใหญ่โต กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความสูญเสียแกหน่วยงาน

3. การตัดสินใจในบทบาทของผู้จัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจแบ่งสรรให้ตามลักษณะงานและตามความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างยุติธรรม

4. การคัดสินใจบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง ถึงรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานไว้ให้มากที่สุด

กระบวนการตัดสินใจ

แสดงถึงอิทธิพลของเวลา ใน3ลักษณะ 1)อดีต เป็นเวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นและความตัดสินใจย่อมเกิดขึ้น 2) ปัจจุบัน เป็นเวลาที่แนวทางเลือกต่างๆได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำไปดำเนินการและ 3)อนาคต เป็นเวลาตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดไปปฏิบัติตรวจสอบประเมินผลหรือเปลี่ยนแปลงทางเลือกนั้นตามความเหมาะสม

นางสาวธัญลักษณ์ มาทาจันทึก 5050504612

การวางแผนกับการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายและคุณลักษณะการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

ความหมาย

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

ก. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

การพัฒนาองค์การเกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่าองค์ทั้งองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงมุ่งหวังการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยกลุ่ม จะต้องได้รับการฝึกอบรม การเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความตัองการขององค์การ

นายจิรวัฒน์ สุวรรณแสวง

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3.การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4.สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5.วางแผนปฏิบัติการ

6.ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

นางสาวธัญลักษณ์ มาทาจันทึก 5050504612

ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาองค์การเพื่อนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

หลังจากที่องค์การได้วางวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนของการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติซึ่งโดยปกติองค์การต่างๆ ก็มักใช้การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โดยการแปลงกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการนั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึง “สิ่งที่อยากจะทำ” ซึ่งอยู่ในแผนกลยุทธ์แล้ว ก็ยังต้องคำนึงถึง “สิ่งที่ต้องทำ” กับองค์การเพื่อให้องค์การสามารถที่จะนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ด้วย

สำหรับ “สิ่งที่ต้องทำ” เพื่อเตรียมองค์การให้พร้อมสำหรับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นก็ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อทราบถึงขอบเขตของผลกระทบของการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่จะมีต่อส่วนต่างๆ ขององค์การ

2. การวิเคราะห์และปรับโครงสร้างองค์การ

3. การวิเคราะห์และปรับปรุงระบบงาน

4. การปรับการจัดอัตรากำลังคน

5. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์การ

6. การพัฒนาวัฒนธรรมขององค์การ

นางสาวศริญญา หลาบนอก 5050504618

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาองค์การเป็นการเปลี่ยนแปลอย่างมีแผนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาขององค์การ มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนใช้กลยุทธ์เพื่อการพัฒนา และการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์การเพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลง

3. การพัฒนาองค์การจำเป็นจะต้องอาศัยฐานข้อมูล ลักษณะที่เด่นชัดก็คือก็คือการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นภารกิจของสมาชิกทุก ๆ คนในองค์การการจะปรับปรุงฟื้นฟูองค์การให้ดีขึ้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกทุกคนในองค์การ

เทคนิคการพัฒนาองค์การในภาครัฐ

- Good Governance การใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อจัดการงานของบ้านเมือง อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบที่ยุติธรรม มีกระบวนการกฎหมายที่อิสระ

- การรื้อปรับระบบ (Re-engineering) เป็นการปรับปรุงระบบราชการ อันเนื่อง มาจากจำนวนข้าราชการมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการแผ่นดินจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน

เทคนิคการพัฒนาองค์การในภาคเอกชน

- Re-engineering โดยธนาคารกสิกรไทย

- การตั้งองค์กรใหม่ในระบบแฟนชาร์ย (Seven Eleven) ได้แก่ Seven eleven

- Internet

การพัฒนาองค์การระดับองค์การ

1. โครงข่ายการบริหาร (Managerial Grid)

2. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (Survey Feedback)

3. การประชุมแบบเผชิญหน้า (Confrontation Meeting)

4. การจัดการโดยกำหนดวัตถุประสงค์ (Management by objectives)

5. การปรับโครงสร้างองค์การ (Restructure)

6. การรื้อปรับระบบ (Reengineering)

เป้าหมาย

- เกิดการพัฒนาตน คนงาน

- สร้างความเข้าใจที่ดี

- สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

นายจิรวัฒน์ สุวรรณแสวง

ไม่แสดงตนความคิดเห็นที่97ของผมครับลืมพิมพ์ชื่อครับ

นางสาวธัญลักษณ์ มาทาจันทึก 5050504612

องค์การแบบสองหน้า (The Two-faced Organization)

เป็นองค์การที่คล้าย pulsating organizations ตรงที่ว่ามีการยืดหดได้ และสามารถปรับเปลี่ยนบรรยากาศ หรือวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ ขนาดขององค์การประเทภนี้จะไม่เปลี่ยนขนาดได้มากนัก แต่อาจเปลี่ยนจากที่เคยเน้นระบบสายงานมีความเป็นราชการสูง ให้กลายเป็นระบบที่คล่องตัวอย่างสูง เน้นการทำงานให้ได้ผลงานเป็นที่ตั้ง เช่น The Special Air Service หรือ SAS อันเป็นหน่วยทหารที่มีภารกิจพิเศษที่ได้รับตามการมอบหมาย หรือหน่วยสืบราชการลับของทางทหาร หรือตำรวจลับ ซึ่งงานเหล่านี้ไม่สามารถใช้ระบบสายงานตามแบบราชการได้

องค์การแบบเล่นกันคนละที (The Checkerboard Organization)

องค์การประเภทนี้อาจจะเรียกว่าเล่นกันคนละที หรือแบ่งกันปกครองก็ตามที อาจเป็นเพราะต้องการให้มีการผลัดกันเป็นใหญ่ หรือแบ่งกันปกครองเพื่อความสมดุลย์และการตรวจสอบ เช่นกรณีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในประเทศออสเตรีย ไม่มีพรรคการเมืองใดครองอำนาจแท้จริง จึงต้องมีการประสมกัน ถ้าให้ตำแหน่งสูงสุดแก่ใคร ตำแหน่งสูงสุดรองลงมาก็จะเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นเช่นนี้ไปจนถึงระดับล่าง เหมือนเกมหมากรุก หรือหมากฮอสที่ผลัดกันเดินคนละที ซึ่งในออสเตรียเรียกระบบนี้ว่า The Proparz System องค์การธนาคารที่ต้องไปตั้งสาขาในประเทศอื่นๆ เช่น The Japanese bank in California ก็อาศัยวิธีการนี้ คือผลัดกันระหว่างคนจากท้องถิ่นในสหรัฐ และคนจากประเทศบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น

องค์การแบบคอมมิสซาร์ (The Commissar Organization)

เป็นลักษณะองค์การที่ใช้วัฒนธรรมในการปกครองเหมือนในกองทัพสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามเย็น กล่าวคือในกองทัพจะมีทั้งในส่วนที่เป็นนายทหารสายบังคับบัญชา และในส่วนที่เป็นฝ่ายการเมืองที่เข้ามาอยู่ภายในองค์การ ในขณะที่นายทหารรายงานตรงไปตามสายบังคับบัญชา แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองก็จะรายงานโดยตรงไปยังพรรคการเมือง คือพรรคคอมนิวนิสต์ ซึ่งเป็นบรรยากาศของความไม่ไว้วางใจ

ระบบราชการของไทยจัดได้ว่ามีลักษณะเช่นนี้ ตรงที่มีพรรคการเมืองเข้ามาสอดแทรก ก็ทำให้มีข้าราชการจำนวนหนึ่งที่อาศัยช่องทางการเข้าสู่ตำแหน่งและอำนาจราชศักดิ์ด้วยวิธีการของการเมือง เพราะในท้ายสุดนั้น นักการเมืองสามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวในระบบโยกย้ายข้าราชการได้ในระดับล่างมากทีเดียว แม้สิ่งนี้จะไม่ปรากฏในระเบียบหรือกฏหมาย

องค์การแบบเจ้าขุนมูลนาย (The Feudal Organization)

Toffler มองระบบเจ้าขุนมูลนายที่ยังหลงเหลืออยู่คือในมหาวิทยาลัยนั้นเอง โดยเขาให้ความเห็นว่า บรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นเหมือนเป็น ท่านขุน หรือ Baron มีนิสิตนักศึกษาช่วยวิจัยและช่วยสอนเป็นระดับลองลงมา เหมือนเป็น ทหารรับใช้ตามอัศวิน หรือที่เรียกกันว่า serfs และบรรดาอาจารย์นั้นก็ทำตัวเหมือนกับเจ้าครองนคร ทั้งหลาย ที่มักจะต้องสู้รบตบมือกับระบบที่เข้ามาครอบครอง นั้นคือระบบบริหารของมหาวิทยาลัย เขาคงมองว่าเป็นบรรยากาศคล้ายๆกับสังคมยุโรปในยุคกลาง ที่มีรัฐอิสระเล็กๆมากมาย และก็มีความพยายาม ที่จะรวมไปสู่ความเป็นประเทศ แต่ก็ได้รับการต่อต้านจากบรรดาผู้ครองนครทั้งหลายอยู่ในที

องค์การแบบทีมนักวิชาชีพ (The Self-Start Team)

เป็นองค์การแบบขนาดไม่ใหญ่ ที่เป็นการริเริ่มเองโดยกลุ่มที่เป็นนักวิชาชีพ มีการเชื่อมต่อกันด้วยระบบเครือข่ายอีเลคโทรนิค เป็นศูนย์กลางของข้อมูลในการติดต่อ ทำงานเหมือนกับเป็น Freelance คือทำงานอย่างเป็นอิสระ ไม่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทใหญ่ มีการขายบริการ แต่ก็ไม่ได้ทำตามลำพังเพราะต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับบริษัท หรือองค์การอื่นๆ งานประเภทนี้ต่อไปจะมีมากขึ้น จะทำได้เพราะเป็นองค์การที่ไม่ใช้ทุนทรัพย์สูง แต่เป็นเรื่องของการใช้ความสามารถทางวิชาชีพ ที่ผู้ปฏิบัติงานเองก็ไม่ประสงค์จะรับผลประโยชน์แบบเป็นเงินเดือนตายตัว และบริษัทขนาดใหญ่เองก็ไม่อยากเสี่ยงกับคาใช้จ่ายที่สูง แต่ไม่ได้งานที่มีคุณภาพ ตัวอย่างของงานประเภทนี้ได้แก่ การออกแบบชิ้นงาน การจัดทำแม่พิมพ์ที่เป็นทั้งพลาสติคและโลหะ การเป็นศูนย์นักข่าวประจำเขต การเป็นนายหน้าให้กับบริษัท แสวงหาคน ทรัพยากร สถานที่ ฯลฯ

องค์การแบบทำงานเกะกะๆได้ (The skunkworks Organization)

หน่วยงานประเภทนี้เป็นทีมงานในระบบราชการหรือบริษัทขนาดใหญ่ ที่ได้รับมอบหมายงานที่ชัดเจนในเป้าหมาย แต่วิธีการไปสู่เป้าหมายนั้นปล่อยให้เป็นไปแบบหลวมๆ มีการอนุญาตให้ดำเนินการได้แบบนอกกฏระเบียบขององค์การหรือบริษัท คนที่ทำงานในหน่วยงานประเภทนี้ จึงไม่มองตัวเองเหมือนกับเป็นลูกแหง่ที่ต้องได้รับการปกป้อง หรือต้องเป็นเหมือนข้าราชการตามสายงาน ที่ต้องขึ้นตรงตามสายบังคับบัญชา องค์การดังที่ว่า เช่น

• The New Product Development Game- Honda ใช้ในการผลิตหรือประดิษฐผลิตภัณฑ์ใหม่

• Nippon Electric Company (NEC)- ในการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขา

• IBM's PC-Projects ซึ่งได้ให้ทีมพัฒนางานนั้นมีเสรีภาพในการดำเนินการสูงมาก

แต่ทีม Skunk Organizations จะแตกต่างจากพวก self-started teams ตรงที่งานบางอย่างบริษัทไม่สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีจากภายนอกได้ เพราะเทคโนโลยีได้กลายเป็นหัวใจของงานในบริษัทแม่ด้วย นอกจากนี้ บางทีแม้ต้องการให้คนอื่นทำ ก็ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือ การสนับสนุนทางด้านการเงิน การประสานงานกับเทคโนโลยีหลายแขนง เพื่อรวมเป็นชิ้นงานสำคัญในท้ายสุด เช่นงานวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท ซึ่งบาบริษัท เช่นบริษัทยาบางแห่ง ต้องลงทุนไปในกิจการประเภทนี้ถึงร้อยละ 15 ของงบประมาณทั้งสิ้น

(Alvin Toffler Power Shift. New York: Bantam Books, 1991, pp 186-199. จาก "Tribal Chiefs and Corporate Commissars")

องค์การที่ได้กล่าวมาแล้วโดย Alvin Toffler นั้น เราจะได้เห็นความสำคัญขององค์การในรูปการจัดตั้งแบบใหม่ๆในทศวรรษนี้ และจะมีการออกแบบงานให้เหมาะแก่การดำเนินงานอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาในอดีตอีกมากมาย

นางสาวสายชล สีสวย รหัส 5050504619

การพัฒนาองค์การ

-เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

การสร้างทีมงาน

-เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การจัดการจะประสบความสำเร็จหากผู้จัดการนำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาใช้และเปิดโอกาสให้ทีมงานของตนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหรือนำเทคนิคการสร้างทีมงานมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ปัจจุบันหัวหน้างานต้องร่วมงานกับลูกจ้างที่มีการศึกษาและทักษะสูง ขณะเดียวกันค่านิยมและเจตคติของลูกจ้างก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะสืบสวนความจริงในอำนาจหน้าที่ของหัวหน้างานมากขึ้น ดังนั้นกุญแจที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือค่านิยมและเจตคติของลูกจ้างดังกล่าวแล้วก็คือการสร้างทีมงานและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมนั่นเอง มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ จึงเกี่ยวข้องกับบุคลากรของสถานประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะองค์การต้องอาศัยบุคคลและกลุ่มบุคคลช่วยปฏิบัติภารกิจต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายด้านให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การจัดตั้งองค์การเป็นการแสวงหาบุคลากรมาช่วยทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลโดยการแบ่งทั้งงานหน้าที่และความรับผิดชอบให้พนักงานตามความรู้ความสามารถ รวมทั้งความถนัดของแต่ละบุคคลผู้จัดการต้องตระหนักว่าพนักงานมีความรู้ความสามารถแตกต่างกันถนัดหรือเชี่ยวชาญกันคนละด้าน การประสานความร่วมมือร่วมใจ การทุ่มเทกำลังความคิดและสติปัญญาย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จของงาน การทำงานเป็นทีมจึงเกิดขึ้น ผู้จัดการจะต้องสร้างเงื่อนไขให้กลุ่มบุคคลในองค์การตระหนักว่าพวกตนต้องปฏิบัติงานร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยประสบการณ์ ความสามารถ และความยินยอมพร้อมใจของทุกคน และสมาชิกของกลุ่มจะต้องยอมรับความคิดเรื่องการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มหรือทีมงาน

การทำงานเป็นทีมนอกจากจะช่วยให้ การดำเนินงานประสบความสำเร็จแล้วยังช่วยให้สมาชิกของทีมงานเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ มีความจงรักภักดีต่อทีมงานและเกิดความรู้สึกเป็นหมู่คณะหลังจากการฝึกคนให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมงานแล้วท่านจะสามารถทำงาน บรรลุจุดมุ่งหมายได้ดีกว่าและประสบความสำเร็จในภารกิจของท่าน การทำงานเป็นทีมอาจเริ่มจากการจัดการในระดับสูงมาถึงการจัดการระดับต่ำขององค์การหรือทุกระดับขององค์กร

นางอ้อมเดือน ทะยอมใหม่

การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา :"การพัฒนาองค์การ," วารสารรัฐสภา. 49(3) : 29 - 42.

การพัฒนาองค์การ

ความหมายของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่เรียกว่า O.D. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์การที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์การเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ องค์การมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิดมีความเจริญเติบโตมีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์การมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานในการพัฒนาองค์การ

รูปแบบการบังคับบัญชา 1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

วิธีการในการพัฒนาองค์การ รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ซึ่งประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม (Unfreezing)การเปลี่ยนแปลง (Changing) การดำรงพฤติกรรมใหม่ (Refeezing)

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกในองค์การได้ใช้ศักยภาพ หรือสติปัญญาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และกระทำการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุตามจุดมุ่งหมายขององค์การ

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพองค์การที่มีประสิทธิภาพ หรือองค์การที่มีสุขภาพที่ดีจะมีลักษณะดังนี้ ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมาย รูปแบบองค์การต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์การขึ้นอยู่กับที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ มีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเทคนิค และกรรมวิธีการในการปฏิบัติงานระบบการวินิจฉัยสั่งการ การจูงใจ การสื่อสารข้อความ และระบบในการให้รางวลมีความจำเป็นต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์การให้เหมาะสม ซึ่งถ้าผู้บริหารในองค์การได้มีการตระหนักถึงความต้องการนี้อย่างแท้จริงแล้ว องค์การก็อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการพัฒนาองค์การมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบทบาทต่าง ๆ เอง

องค์การที่ยังไม่เหมาะสมและขาดความชัดเจน

การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาองค์การ มีความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันมีการร่วมมือในการทำงาน มีความเปิดเผยและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการสร้างทีมงานที่ดีก่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายมีการกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานที่ดี

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ข้อจำกัดในการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและใช้ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง การที่จะปรากฏผลการพัฒนาต้องใช้เวลารอคอยที่นาน และการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่เน้นพฤติกรรมมากกว่ากระบวนการในการปฏิบัติงาน

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ 1. ปัญหาด้านองค์การ 2. ปัญหาด้านผู้บริหารระดับสูง

แหล่งที่มา :"การพัฒนาองค์การ (2)," วารสารพัฒนาชุมชน. 41(9):25-30.

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3.การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4.สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5.วางแผนปฏิบัติการ

6.ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1.วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2.วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3.วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2.เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3.เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4.เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ

โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5.ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

6.ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

7.มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

8.มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

อ้างอิง : วรพงศ์ มหาโพธิ์. 2547. การพัฒนาองค์การ.

การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา :"การพัฒนาองค์การ," วารสารรัฐสภา. 49(3) : 29 - 42.

นางอ้อมเดือน ทะยอมใหม่

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ

การวางแผนกับการตัดสินใจและการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของหน่วยงานเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพราะองค์การจะดำเนินก้าวหน้าไปด้วนดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้นั้นตองอาศัยการวางแผน

การตัดสินใจ

(decision maling) หมายถึงกระบวนในการสร้างทางเลือกการดำเนินงานใดๆไว้หลายๆทางแล้วพิจารณาตรวจสอบประเมินผลทางเลือกเหบ่านั้นเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียวเพื่อนำไปดำเนินงาน

ประสิทธิภาพของการตัดสินใจ

คือความเป็นจริงและความชัดเจนของข้อมูลที่ใช้ แต่ไม่แน่นอนเพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีช่วงการตัดสินใจที่เลวที่สุดถึงการตัดสินใจที่ดีที่สุด มินท์ซเบอร์ก (henry mintzberg) ได้อธิบายบทหลัก 4 ประการที่ผู้บริหารยึดถือในการตัดสินใจคือ

1. การตัดสินใจในบทบาทของผู้ประกอบการ จะต้องพยายามคิดและหาวิธีการเพื่อมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยงาน หาประโยชน์จากโอกาสต่างๆ การปรับปรุงกิจกรรมของหน่วยงานให้ดีขึ้นไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2. การตัดสินใจในบทบาทของผู้พิชิตความยุ่งยาก ต้องดัดสินใจยุติปัญหาที่อาจสร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้นเพื่อมิให้ปัญหานั้นมีความรุนแรงลุกลามใหญ่โต กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความสูญเสียแกหน่วยงาน

3. การตัดสินใจในบทบาทของผู้จัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจแบ่งสรรให้ตามลักษณะงานและตามความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างยุติธรรม

4. การคัดสินใจบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง ถึงรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานไว้ให้มากที่สุด

กระบวนการตัดสินใจ

แสดงถึงอิทธิพลของเวลา ใน3ลักษณะ 1)อดีต เป็นเวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นและความตัดสินใจย่อมเกิดขึ้น 2) ปัจจุบัน เป็นเวลาที่แนวทางเลือกต่างๆได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำไปดำเนินการและ 3)อนาคต เป็นเวลาตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดไปปฏิบัติตรวจสอบประเมินผลหรือเปลี่ยนแปลงทางเลือกนั้นตามความเหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ

(Organizational Change and Development)

กระบวนของการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาชื่อดัง ได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการให้การเปลี่ยนแปลงออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) และระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing)

1. ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) เป็นขั้นตอนที่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและ

สถานภาพเดิมที่องค์การเป็นอยู่ขณะนั้นเกิดปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจเกิดจากการมีโครงสร้าง การจัดรูปแบบงาน หรือเทคโนโลยีที่ขาดประสิทธิผลหรือการที่พนักงานขาดทักษะและเจตคติที่เหมาะสม การเกิดวิกฤตการณ์เป็นตัวเร่งให้ฝ่ายต่าง ๆ ยอมรับและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงของพนักงาน หรือยอดตัวเลขการขายสินค้าตกลงอย่างฮวบฮาบหรือการเกิดกรณีฟ้องร้องทางกฎหมายกับบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ดี การยอมรับถึงความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่จำเป็นต้องมีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นก็ได้ แต่อาจจะมาจากการได้ข้อมูลจากแหล่งอื่น เช่น การสำรวจทัศนะของลูกค้า พนักงานหรือดูจากบัญชีการเงินของบริษัท เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ในการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดภาวะวิกฤตได้

2. ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) เป็นขั้นตอนของการนำแผนงานวิธีการและ

เทคนิคต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพที่ต้องการ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีแผนงานก็ได้ เช่น การจัดฝึกอบรมทักษะการทำงาน การปรับขั้นตอนการสรรหาพนักงาน เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนไม่กี่คน แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ต้องเกี่ยวกับคนจำนวนมาก เช่น การปฏิรูปปรับรื้อองค์การใหม่ การปรับนโยบายจากรวมศูนย์ไปเป็นการกระจายอำนาจความรับผิดชอบในการตัดสินใจลงสู่ระดับล่าง เป็นต้น จำเป็นต้องมีแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ

3. ระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing) กล่าวคือ เมื่อมีการเปลี่ยน

แปลงเกิดขึ้นแล้ว พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาด้านพฤติกรรมและเจตคติของพนักงานหรือปรับโครงสร้างใหม่แล้ว ในขั้นตอนจากนี้ก็คือ การทำให้การเปลี่ยนแปลงใหม่ในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นคงอยู่และกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์การต่อไป ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่เกิดขึ้นมีประสิทธิผลหรือไม่ และขั้นตอนต่อเนื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นอย่างไร แนวคิดในการบริหารปัจจุบันจึงให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) เพื่อกระตุ้นทุกคนในองค์การให้มีนิสัยการเรียนรู้ตลอดเวลาและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ

นางอ้อมเดือน ทะยอมใหม่

การวางแผนกับการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายและคุณลักษณะการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

ความหมาย

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

ก. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

การพัฒนาองค์การเกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่าองค์ทั้งองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงมุ่งหวังการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยกลุ่ม จะต้องได้รับการฝึกอบรม การเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความตัองการขององค์การ

นางสาววิรัญชญา พจน์สูงเนิน

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ

การวางแผนกับการตัดสินใจและการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของหน่วยงานเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพราะองค์การจะดำเนินก้าวหน้าไปด้วนดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้นั้นตองอาศัยการวางแผน

การตัดสินใจ

(decision maling) หมายถึงกระบวนในการสร้างทางเลือกการดำเนินงานใดๆไว้หลายๆทางแล้วพิจารณาตรวจสอบประเมินผลทางเลือกเหบ่านั้นเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียวเพื่อนำไปดำเนินงาน

ประสิทธิภาพของการตัดสินใจ

คือความเป็นจริงและความชัดเจนของข้อมูลที่ใช้ แต่ไม่แน่นอนเพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีช่วงการตัดสินใจที่เลวที่สุดถึงการตัดสินใจที่ดีที่สุด มินท์ซเบอร์ก (henry mintzberg) ได้อธิบายบทหลัก 4 ประการที่ผู้บริหารยึดถือในการตัดสินใจคือ

1. การตัดสินใจในบทบาทของผู้ประกอบการ จะต้องพยายามคิดและหาวิธีการเพื่อมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยงาน หาประโยชน์จากโอกาสต่างๆ การปรับปรุงกิจกรรมของหน่วยงานให้ดีขึ้นไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2. การตัดสินใจในบทบาทของผู้พิชิตความยุ่งยาก ต้องดัดสินใจยุติปัญหาที่อาจสร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้นเพื่อมิให้ปัญหานั้นมีความรุนแรงลุกลามใหญ่โต กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความสูญเสียแกหน่วยงาน

3. การตัดสินใจในบทบาทของผู้จัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจแบ่งสรรให้ตามลักษณะงานและตามความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างยุติธรรม

4. การคัดสินใจบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง ถึงรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานไว้ให้มากที่สุด

กระบวนการตัดสินใจ

แสดงถึงอิทธิพลของเวลา ใน3ลักษณะ 1)อดีต เป็นเวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นและความตัดสินใจย่อมเกิดขึ้น 2) ปัจจุบัน เป็นเวลาที่แนวทางเลือกต่างๆได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำไปดำเนินการและ 3)อนาคต เป็นเวลาตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดไปปฏิบัติตรวจสอบประเมินผลหรือเปลี่ยนแปลงทางเลือกนั้นตามความเหมาะสม

นางสาวรัตนา เจริญวรรณ

การพัฒนาองค์กรจะสำเร็จได้อย่างไร

การพัฒนาองค์กรจะสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หรือการวางแผนล่วงหน้าอย่างมีระบบ มีนโยบายและเป้าหมายขององค์กร ในการพัฒนาองค์กรจะมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม ในการพัฒนาองค์กรจะต้องมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ในการพัฒนาองค์กรให้สำเร็จ มีการไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างสมาชิกภายในองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีความอดทนในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่องานและมีการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะต้องมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างเปิดเผยในทุกระดับ

หน่วยงาน องค์กรที่มีการพัฒนาองค์การ

หน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลได้มีการจัดทำแผนประจำตำบล 3 ปี เพื่อพัฒนาองค์การให้ตอบสนองกับงานในปัจจุบัน โดย เพิ่มกรอบอัตรากำลัง ของผู้ปฎิบัติงาน ให้มีเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาองค์การ

1. บุคคลากรของหน่วยงานมีความมั่นใจและเชื่อมั่นต่อองค์การมากขึ้น

2. ผลสำเร็จของงานมีมากขึ้น สามารถทำให้องค์การได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกงค์การ

3. ทำให้องค์การมีการบริหารจัดการได้ดีขึ้น

4. การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ

5. การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

6. ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ

7. ลดความขัดแย้งภายในองค์การ

8. ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

9. ได้ความสัมพันธ์ที่ดี และทำให้เกิดความไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน

นางสาวอาภาพร สีขาว 5050504640 (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1.มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร

โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3.เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

สาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา

1.ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร

การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร (Downsizing) เป็นต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผนและทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร

2.พลวัตของสภาพแวดล้อม

การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น

3.ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา

องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี

4.แรงผลักดันของเทคโนโลยี

ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ ดังนี้

4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์

4.2 เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production/Operations Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดำเนินงานของธุรกิจ

4.3 เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) หรือ การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล และช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) รวมขององค์กร ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่

5.การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็มใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ และปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การวางแผนกับการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายและคุณลักษณะการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

ความหมาย

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

ก. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

ชรัญธิดา หวังแหวกกลาง

การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ข้อจำกัดในการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและใช้ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง การที่จะปรากฏผลการพัฒนาต้องใช้เวลารอคอยที่นาน และการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่เน้นพฤติกรรมมากกว่ากระบวนการในการปฏิบัติงาน

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ 1. ปัญหาด้านองค์การ 2. ปัญหาด้านผู้บริหารระดับสูง

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข รหัส5050504645

ควมสำเร็จในการพัมนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองคืการเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) โดย นายบวร วงศ์สินอุดม ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ รับมอบ รางวัลโรงงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2548 (ENERGY AWARDS) ประเภทโรงกลั่น น้ำมันและเคมี จาก นายไพจิตร เทียนไพบูลย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงพลังงาน โดยบริษัทฯ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นองค์กร ที่ได้นำพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระบบงานวิศวกรรมมาช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานของบริษัทฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ได้ทำการก่อสร้างโรงกลั่นด้วยมาตรฐานเทคโนโลยีระดับโลกของ Shell และ UOP นอกจากนั้นยังมี Shell Global Solution International (SGSI) เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อช่วยให้การบริหารโรงกลั่น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การพัฒนาโรงกลั่นตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ ้ไทยออยล์ก้าวสู่โรงกลั่นน้ำมันแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด และเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยกำลังการกลั่นสูงสุดถึง 220,000 บาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 12,000 ล้านลิตรต่อปี) หรือประมาณร้อยละ 21 ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการน้ำมันสำเร็จรูป ในประเทศได้ร้อยละ 35 เมื่อโครงการขยายกำลังการผลิตเป็น 270,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วเสร็จในปลายปี 2550 จะส่งผลให้ไทยออยล์เป็น 1 ใน 5 ของโรงกลั่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

นอกจากศักยภาพด้านกำลังการผลิตแล้ว โรงกลั่นไทยออยล์ยังได้รับการออกแบบ ให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุด จากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอน คือมีทั้งหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูง ในการใช้วัตถุดิบหรือน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ *สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิด ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ

โรงกลั่นไทยออยล์ประกอบด้วยหน่วยกลั่นหลักๆ

4 ประเภท ดังนี้

1. หอกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units)

ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน

2. หน่วยกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปหนักเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเบา

(Conversion Units)

ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่ามีบทบาท ในการเปลี่ยนโครงสร้าง น้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ ให้เป็นน้ำมันเบาซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล

3. หน่วยเพิ่มคุณภาพน้ำมัน (Reforming Units)

เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีค่าออกเทน และคุณภาพที่เหมาะสม สำหรับการนำไปใช้ เพื่อผสมน้ำมันเบนซิน ให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดต่อไป

4. หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Treatmemt)

เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ของน้ำมันเบา เพื่อกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมัน

* บริษัทฯ รับน้ำมันดิบตะวันออกกลาง 75% เอเชียตะวันออก 5% และจากแหล่งในประเทศ (น้ำมันดิบเพชร, น้ำมันดิบปัตตานี และคอนเดนเสทจากอ่าวไทย) รวม 20%

โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายการส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางทะเล รถไฟ รถบรรทุก และผ่านระบบท่อลำเลียงที่สามารถขนส่งผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด (Multi-Product Pipeline) ของ

บจ. ท่อส่งปิโตรเลียมไทย ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถอำนวยความสะดวกในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

- เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

- เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

- เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

- เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

- มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

- ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อม ๆ กัน

- ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

- มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม

- การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

- การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ

- การยอมรับปัญหา

- การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

- การวิเคราะห์ปัญหา

- การให้ข้อมูลป้อนกลับ

- การวางแผนดำเนินงาน

- การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

- การประเมินผล

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

5. สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ดีขึ้น

6. การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เลี่ยงงาน และหนีงานลดลง

7. เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

นางสาวรัตนา เจริญวรรณ 5050504635

การพัฒนาองค์การ คือ

ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ประสิทธิภาพของการตัดสินใจ

คือความเป็นจริงและความชัดเจนของข้อมูลที่ใช้ แต่ไม่แน่นอนเพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีช่วงการตัดสินใจที่เลวที่สุดถึงการตัดสินใจที่ดีที่สุด มินท์ซเบอร์ก (henry mintzberg) ได้อธิบายบทหลัก 4 ประการที่ผู้บริหารยึดถือในการตัดสินใจคือ

1. การตัดสินใจในบทบาทของผู้ประกอบการ จะต้องพยายามคิดและหาวิธีการเพื่อมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยงาน หาประโยชน์จากโอกาสต่างๆ การปรับปรุงกิจกรรมของหน่วยงานให้ดีขึ้นไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2. การตัดสินใจในบทบาทของผู้พิชิตความยุ่งยาก ต้องดัดสินใจยุติปัญหาที่อาจสร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้นเพื่อมิให้ปัญหานั้นมีความรุนแรงลุกลามใหญ่โต กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความสูญเสียแกหน่วยงาน

3. การตัดสินใจในบทบาทของผู้จัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจแบ่งสรรให้ตามลักษณะงานและตามความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างยุติธรรม

4. การคัดสินใจบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง ถึงรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานไว้ให้มากที่สุด

กระบวนการตัดสินใจ

แสดงถึงอิทธิพลของเวลา ใน3ลักษณะ

1)อดีต เป็นเวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นและความตัดสินใจย่อมเกิดขึ้น

2) ปัจจุบัน เป็นเวลาที่แนวทางเลือกต่างๆได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำไปดำเนินการและ

3)อนาคต เป็นเวลาตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดไปปฏิบัติตรวจสอบประเมินผลหรือเปลี่ยนแปลงทางเลือกนั้นตามความเหมาะสม

ชรัญธิดา หวังแหวกกลาง

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพองค์การที่มีประสิทธิภาพ หรือองค์การที่มีสุขภาพที่ดีจะมีลักษณะดังนี้ ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมาย รูปแบบองค์การต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์การขึ้นอยู่กับที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ มีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเทคนิค และกรรมวิธีการในการปฏิบัติงานระบบการวินิจฉัยสั่งการ การจูงใจ การสื่อสารข้อความ และระบบในการให้รางวลมีความจำเป็นต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์การให้เหมาะสม ซึ่งถ้าผู้บริหารในองค์การได้มีการตระหนักถึงความต้องการนี้อย่างแท้จริงแล้ว องค์การก็อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการพัฒนาองค์การมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบทบาทต่าง ๆ เอง

องค์การที่ยังไม่เหมาะสมและขาดความชัดเจน

การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาองค์การ มีความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันมีการร่วมมือในการทำงาน มีความเปิดเผยและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการสร้างทีมงานที่ดีก่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายมีการกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานที่ดี

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

ชรัญธิดา หวังแหวกกลาง

1 การพัฒนาองค์การ

• ตามแนวคิดของ Porras และ Robrtson กล่าวว่า

การพัฒนาองค์การ หมายถึง กลุ่มของทฤษฎี กลยุทธ์ และเทคนิคทางพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงาน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาหน่วยงานและความสามารถขององค์การโดยรวม

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาองค์การเป็นการเปลี่ยนแปลอย่างมีแผนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาขององค์การ มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนใช้กลยุทธ์เพื่อการพัฒนา และการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์การเพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลง

3. การพัฒนาองค์การจำเป็นจะต้องอาศัยฐานข้อมูล ลักษณะที่เด่นชัดก็คือก็คือการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบและกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นภารกิจของสมาชิกทุก ๆ คนในองค์การการจะปรับปรุงฟื้นฟูองค์การให้ดีขึ้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกทุกคนในองค์การ

วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาองค์การ

1. เพื่อพัฒนาองค์การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัย ให้องค์การมีระบบสามารถยืดหยุ่นปรับให้เหมาะสมกับสภาพงานในทุกลักษณะ

2. เพื่อเพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยส่งเสริมให้มีการรวมพลัง (High Collaboration) คิดค้นหาเทคนิคกลไก ในการปรับปรุงองค์การอย่าง

3. เพื่อส่งเสริมให้มีทัศนคติแบบร่วมมือร่วมใจต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อประสานเป้าหมายส่วนบุคคลและเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

เทคนิคการพัฒนาองค์การในภาครัฐและเอกชน

- Good Governance

- Re-engineering , Hammer & Champy

- Balan ca Score Card (BSC)

- Key Performance Indicators(KPI)

เทคนิคการพัฒนาองค์การในภาครัฐ

Good Governance การใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อจัดการงานของบ้านเมือง อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบที่ยุติธรรม มีกระบวนการกฎหมายที่อิสระ

การรื้อปรับระบบ (Re-engineering) เป็นการปรับปรุงระบบราชการ อันเนื่อง มาจากจำนวนข้าราชการมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการแผ่นดินจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน

การพัฒนาองค์กรในภาคเอกชน

แนวคิดของ แฮมเมอร์และแชมฟี่ (Hammer & Champy) จะเน้น The Three Cs ซึ่งได้แก่

- Customers (ลูกค้า)

- Competition (การแข่งขัน)

- Change (การเปลี่ยนแปลง)

เทคนิคการพัฒนาองค์การในภาคเอกชน

- Re-engineering โดยธนาคารกสิกรไทย

- การตั้งองค์กรใหม่ในระบบแฟนชาร์ย (Seven Eleven) ได้แก่ Seven eleven

- Internet

เทคนิคการพัฒนาองค์การในระดับนานาชาติ

- การรวมกลุ่ม / เครือข่าย เช่น กลุ่ม G7 , GATT

- FTA

เทคนิคการพัฒนาองค์การ

เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล

การวางแผนชีวิตและอาชีพ (Life and career planning)

การวางแผนชีวิตคือการวางแผนเพื่อให้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าและความหมาย และได้เข้าใจว่าปัจจุบันตนได้ยืนอยู่ ณ จุดใดของชีวิตและในขณะเดียวกันก็จะได้พิจารณาว่าตำแหน่งหน้าที่ของตนเองในปัจจุบันเป็นอย่างไร

เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม

การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ (Survey Feedback)

องค์ประกอบสำคัญ ๆ อยู่ 2 ส่วน คือ

1. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ

2. การสำรวจข้อมูลก็โดยอาศัยแบบสอบถามเพื่อสำรวจ

เทคนิคการพัฒนาองค์การระหว่างกลุ่ม

วิธีการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม (Intergroup relations interventions) จะช่วยแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้

ความขัดแย้งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเสียตั้งแต่แรกแล้ว จะเป็นอันตรายต่อการทำงานร่วมกันอย่างยิ่ง การติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มจะลดน้อยถอยลง

การพัฒนาองค์การระดับองค์การ

1. โครงข่ายการบริหาร (Managerial Grid)

2. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (Survey Feedback)

3. การประชุมแบบเผชิญหน้า (Confrontation Meeting)

4. การจัดการโดยกำหนดวัตถุประสงค์

(Management by objectives)

5. การปรับโครงสร้างองค์การ (Restructure)

6. การรื้อปรับระบบ (Reengineering)

การพัฒนาองค์การระดับองค์การ

1. โครงข่ายการบริหาร (Managerial Grid)

2. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (Survey Feedback)

3. การประชุมแบบเผชิญหน้า (Confrontation Meeting)

4. การจัดการโดยกำหนดวัตถุประสงค์

(Management by objectives)

5. การปรับโครงสร้างองค์การ (Restructure)

6. การรื้อปรับระบบ (Reengineering)

เป้าหมาย

- เกิดการพัฒนาตน คนงาน

- สร้างความเข้าใจที่ดี

- สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

นางสาวรัตนาภรณ์ หินนอก 5050504617

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายและคุณลักษณะการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

1. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

นางสาวรัตนา เจริญวรรณ 5050504635

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ และปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การวางแผนกับการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

5. สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ดีขึ้น

6. การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เลี่ยงงาน และหนีงานลดลง

7. เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

วิรัญชญา พจน์สูงเนิน

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1.มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร

โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3.เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

นางสาวรัตนาภรณ์ หินนอก 5050504617

องค์กรที่ยิ่งใหญ่ และสร้างความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน คือองค์กรที่สามารถทำให้บุคลากรของตน มีความรับรู้ ได้ว่า เขามีหน้าที่ทำให้ องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยส่วนรวมได้อย่างไร โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรดังนี้

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นการวางแผนทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงต้องมี

ความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์กร

- การพัฒนาองค์กร ต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการที่ได้จากกิจกรรม

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ได้ประโยชน์อะไร?

1. ได้ความคิดที่ดี

2. ได้การปฏิบัติที่ดี

3. ได้ผลผลิตที่ดี

4. ได้ความสัมพันธ์ที่ดี และทำให้เกิดความไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน

วิรัญชญา พจน์สูงเนิน

การพัฒนาองค์การ

เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้ 1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ 2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน 3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ 1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น โครงสร้างการเปลี่นแปลง การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล กระบวนการในการพัฒนาองค์การ 1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection) 2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis) 3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation) 4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning) 5. การสร้างทีมงาน (Team building) 6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development) 7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up รูปแบบในการพัฒนาองค์การ 1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์ 2. การประชุมแบบเผชิญหน้า 3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน 4. กระบวนการให้การปรึกษา 5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ 6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์ วิธีการในการพัฒนาองค์การ 1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่ 2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ 1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ 2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้ 1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน 2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ 3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ 1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ 1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ 2. บุคลากรทุกคนในองค์การ 3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ 4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์ การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง ปัญหาของการพัฒนาองค์การ 1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง ความสำเร็จขององค์การ 1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

นายอภิเชษฐ์ ภาษี 5050504630

องค์กรใดๆที่จะประสบผลสำเร็จได้หรือหน่วยงานที่มีศักยภาพในด้านการพัฒนาอย่างครบวงจรและมีความเป็นเลิศเฉพาะทางจึงได้ดำเนินการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและต้องมีการพัฒนาองค์กรอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การดังนี้

1.การยอมรับปัญหา

2.การเข้ามาขอที่ปรึกษา การพัฒนาองค์กร

3.การวิเคราะห์ปัญหา

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

5.การวางแผนดำเนินงาน

6.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์กร

7.การประเมินผล

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.เสริมสร้างธรุกิจให้แข็งแรงด้วยประโยชน์ของ Internet

2. อธิบายขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมได้

3.วิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปพัฒนาโปรแกรมได้

4. บอกประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์ช่วยแก้วปัญหาได้

5. มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการเขียนโปรแกรม

6. มีความก้าวหน้าที่ทันสมัย

7. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

นางสาวรัตนา เจริญวรรณ 5050504635

การพัฒนาองค์การ คือ

กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

- เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

- เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

- เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

- เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

- มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

- ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อม ๆ กัน

- ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

- มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม

- การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

วิรัญชญา พจน์สูงเนิน

องค์กรใดๆที่จะประสบผลสำเร็จได้หรือหน่วยงานที่มีศักยภาพในด้านการพัฒนาอย่างครบวงจรและมีความเป็นเลิศเฉพาะทางจึงได้ดำเนินการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและต้องมีการพัฒนาองค์กรอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การดังนี้

1.การยอมรับปัญหา

2.การเข้ามาขอที่ปรึกษา การพัฒนาองค์กร

3.การวิเคราะห์ปัญหา

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

5.การวางแผนดำเนินงาน

6.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์กร

7.การประเมินผล

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.เสริมสร้างธรุกิจให้แข็งแรงด้วยประโยชน์ของ Internet

2. อธิบายขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมได้

3.วิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปพัฒนาโปรแกรมได้

4. บอกประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์ช่วยแก้วปัญหาได้

5. มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการเขียนโปรแกรม

6. มีความก้าวหน้าที่ทันสมัย

7. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

วิรัญชญา พจน์สูงเนิน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ข้อจำกัดในการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและใช้ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง การที่จะปรากฏผลการพัฒนาต้องใช้เวลารอคอยที่นาน และการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่เน้นพฤติกรรมมากกว่ากระบวนการในการปฏิบัติงาน

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ปัญหาด้านองค์การ

2. ปัญหาด้านผู้บริหารระดับสูง

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3.การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4.สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5.วางแผนปฏิบัติการ

6.ลงมือปฏิบัติการ

วิรัญชญา พจน์สูงเนิน

การพัฒนาองค์การมีความสำคัญอย่างไร

จากการศึกษาความหมาย ของ คุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผน

2. การเปลี่ยนแปลงเข้าระบบ

3. การปฏิสัมพันธ์ที่ทำต่อเนื่องและใช้เวลานาน

4. ใช้ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

5. เน้นการเพิ่มสมรรถนะและสุขภาพที่สมบูรณ์ขององค์การ

6. เน่นการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรมในการปฏิบัติงาน

7. ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

8. เน้นการใช้ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

9. การเปลี่ยนแปลงที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน

10. ใช้ประสบการเป็นพื้นฐาน

11. เน่นการกำหนดเป้าหมายและการวางแผน

12. เป็ภารกิจของสมาชิกทุก ๆ คนในองค์การ

จากคุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การทั้ง 12 ข้อ สามารถประมวลแนวคิดโดยสรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การมีการเริ่มจากฝ่ายบริหารหรือผู้นำ โดยใช้กระบวนการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องใช้เวลานาน มุ่งเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติค่านิยม และวัฒนธรรฒการปฏิบัติงานให่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันนำความรู้ด้านพฤติกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคลากรภายในองค์การทุกระดับ รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ หลักสำคัญมีการศึกษาข้อมูลก่อนลงมือปฏิบัติและใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานของข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอนและนำประสบการจากการเรียนรู้โดยการกระทำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

นางสาวรัตนา เจริญวรรณ 5050504635

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การจะสำเร็จได้ ถ้ามีการวางแผนและการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เข้าช่วย เช่น เรื่องการจูงใจ เรื่องอำนาจ การสื่อสาร ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมองค์การ การแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม การขจัดความขัดแย้งต่าง ๆ ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย ( ชวลิต ประภวานนท์ , 2541, หน้า336-341)

1.ความแตกต่างระหว่างการพัฒนาองค์การและการฝึกอบรม ( The Differences between Organization development and Training ) การฝึกอบรม (Training ) เป็นการพัฒนาความรู้ ความชำนาญ ทัศนคติ ลักษณะนิสัย และหน้าที่การทำงาน โดยการฝึกอบรมเน้นที่ตัวบุคคลมากกว่าองค์การ ส่วนการพัฒนาองค์การจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทั้งตัวบุคคล กลุ่มองค์การ โครงสร้างองค์การ ระบบการทำงานและอื่น ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคคลทั้งองค์การ จึงมีความหมายที่กว้างกว่าฝึกอบรม

2.ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ ( The Nature of Organizational Development ) การพัฒนาองค์การนั้นจะมีลักษณะต่าง ๆ หลายประการ เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมองค์การ ( Organization Cultural ) ค่านิยม (Value) และทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งต้องทำแผนแม่แบบในการปฎิบัติการพัฒนาจะต้องเริ่มกระทำอย่างต่อเนื่องมีการสอดแทรก (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

3.คุณค่าของการพัฒนาองค์การ ( Organization Development Values) การพัฒนาองค์การมีคุณค่าต่อมนุษย์และการเจริญเติบโตขององค์การ ขบวนการ การมีส่วนร่วม และความต้องการที่เป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การพัฒนาองค์การ ต้องการความสำคัญต่อความร่วมมือ ( Collaboration ) แนวความคิด (Concepts) โดย

องค์การจะต้องมีการแยกถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นในความพยายามพัฒนาองค์การประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

• ความคาดหวังสำหรับบุคคล ( Respect for People ) เพื่อระมัดระวังต่อการกระทำเพื่อไม่ให้เกิดความผิดหวัง

• ต้องมั่นใจและได้รับการสนับสนุน ( Trust and Support ) ประสิทธิภาพขององค์การและความแข็งแรงจะต้องมีลักษณะที่ทำให้มั่นใจ และมีบรรยากาศในการสนับสนุนการพัฒนาองค์การ

• อำนาจที่เท่าเทียมกัน ( Power Equalization ) ประสิทธิภาพขององค์การและความแข็งแรงจะต้องมีลักษณะที่ทำให้มั่นใจและมีบรรยากาศในการสนับสนุนการพัฒนาองค์การ

• การเผชิญหน้า ( Confrontation ) ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์การจะต้องได้รับการเผชิญหน้าโดยมีการติดต่อเพื่อร่วมแก้ปัญหาไม่หลีกเลี่ยงหรือสะสมปัญหา

• การมีส่วนร่วม (Participation ) พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาองค์การจะต้องมีส่วนร่วมในการรับรู้ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นโดยร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติ

4.การพัฒนาอย่างเป็นระบบ ( Organization Development System ) จะต้องมีการสร้างแผนแม่บทในการเปลี่ยนแปลง มีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การโดยมีกลไก การควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้อง พิจารณาว่าองค์การมีการร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบ เน้นที่เป้าหมายองค์การ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์ต่อองค์การ และลักษณะโครงสร้างองค์การจะเป็นแบบกว้าง โดยอาศัย การให้คำแนะนำมากกว่า การสั่งการ โดยการบังคับบัญชา ดังนั้น พนักงานจึงมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบควมสำเร็จในการพัมนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองคืการเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติ 1

. เป็นผู้มีความสามารถรอบด้าน มีความคล่องตัวในการทำงาน

2. เป็นผู้ที่สนใจในการปกครอง การบริหาร ทั้งเป็นจากในหน้า ที่และความรู้ทั่วไป

3. มีความรั้งในที่จะทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติมีความสนใจต่อสภาพและความเปลี่ยตนแปลงของสังคม

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

2. ทำให้เกิคความก้าวหน้าขององค์กร

3. การทำงานเป็นระบบมากขึ้น

ชรัญธิดา หวังแหวกกลาง

(งานข้างบนของชรัญธิดาเองค่ะลืมใส่ชื่อ)เลยส่งใหม่

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบควมสำเร็จในการพัมนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองคืการเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติ 1

. เป็นผู้มีความสามารถรอบด้าน มีความคล่องตัวในการทำงาน

2. เป็นผู้ที่สนใจในการปกครอง การบริหาร ทั้งเป็นจากในหน้า ที่และความรู้ทั่วไป

3. มีความรั้งในที่จะทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติมีความสนใจต่อสภาพและความเปลี่ยตนแปลงของสังคม

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

2. ทำให้เกิคความก้าวหน้าขององค์กร

3. การทำงานเป็นระบบมากขึ้น

ชรัญธิดา หวังแหวกกลาง

การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

กระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. วรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะคทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

เพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616

การพัฒนาองค์การโดยการสร้างทีมงาน

ในปัจจุบันความจำเป็นของการพัฒนาทีมงานจัดเป็นกิจกรรมสำคัญที่ควรจะต้องศึกษาเพราะเป็นเป็นเทคนิคในการพัฒนาองค์การที่นิยมนำมาใช้มากวิธีหนึ่ง โดยศึกษาจากพฤติกรรมบุคคลในกลุ่มและระหว่างกลุ่มที่เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยการทำงานจะเห็นได้ว่า แม้ว่าท่านจะเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถสูงแต่ถ้าท่านไม่สามารถทำงานกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ประโยชน์สำหรับบริษัท เพราะการทำงานในปัจจุบันจะมีลักษณะเป็นกลุ่มเป็นทีมเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว

นางเพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616 เลขที่ 16 ครั้งที่ 2

เพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616

การติดตามประเมินผลการพัฒนาองค์การ

แนวโน้มของการประเมินผลการพัฒนาองค์การในปัจจุบัน ล้วนแต่สะสมหลักองค์ความรู้สืบต่อเนื่องกันมา และยังเป็นลักษณะของการประเมินผลทั้งระบบทั้งในส่วนปัจจัยนำเข้า(Input) ในกระบวนการ (Process) และในส่วนปัจจัยการผลิต (Output) ลักษณะเด่นคือ มีการกำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดเพื่อบอกเกณฑ์การประเมินที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น บอกพฤติกรรมที่คาดหวังนำความคิดแบบลูกค้านิยมและการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า อย่างไรก็ตามมาตรฐาน ดัชนีวัดคุณภาพนั้นถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยในการประเมินผลในการพัฒนาองค์การ

นางเพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616 เลขที่ 16 ครั้งที่ 3

เพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616

การบริหารองค์การสมัยใหม่

ในโลกของความเปลี่ยนแปลง การบริหารองค์การสมัยใหม่ไม่สามารถที่จะมองเพียงผลกระทบที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการระดับโลก การแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติและการแสวงหาทรัพยากรใหม่ๆ สำหรับประเทศไทยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างมากนั่นหมายถึงการเกิดองค์การสมัยใหม่ขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการจึงเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมเพรียงที่จะเรียนรู้และวางแผนการบริหารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน

นางเพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616 เลขที่ 16 ครั้งที่ 4

เพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616

การบริหารความขัดแย้งเพื่อการพัฒนาองค์การ

ความขัดแย้งเป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่งในองค์การ เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นองค์การความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม จึงมักจะปรากฏขึ้นมาให้ได้พบเห็นผู้บริหารจะต้องสนใจที่รับรู้ศึกษาสภาพของความขัดแย้ง โดยที่ความขัดแย้งบางลักษณะจะมีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น เกิดการแข่งขัน เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการบริหารใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้เป็นตามเป้าหมายขององค์การ

นางเพลินพิศ ใสสะอาด 5050504616 เลขที่ 16 ครั้งที่ 5

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ

ถึงแม้ว่าการพัฒนาองค์การจะเป็นวิธีการที่มีข้อดีเด่นอยู่หลายประการก็ตาม แต่ก็มีปัญหาซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การอยู่หลายประการเช่นกัน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาองค์การเอง ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับจุดอ่อนที่เกิดขึ้นคือ

1. เน้นด้านปรัชญามนุษย์นิยมจนเกินไป จนลืมให้ความสนใจในด้านโครงสร้าง งานและเทคโนโลยี ซึ่งทุกด้านควรมีความสำคัญและสัมพันธ์กัน

2. เทคนิคของการพัฒนาองค์การ บางอย่างควรจะมีการพิจารณาความเหมาะสมของการนำมาใช้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การนำเทคนิคที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้แก้ปัญหาขององค์การ อันเนื่องมาจากความนิยมหรือการเห่อเทคนิคใหม่ ๆ มากกว่า กลายเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนของการพัฒนาองค์การที่ใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาขององค์การ

3. ต้องการการลงทุนสูงทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องจากลักษณะเฉพาะบางอย่างของการพัฒนาองค์การ คือ เป็นวิธีการพัฒนาที่ไม่มีหนทางลัดที่จะแก้ปัญหาขององค์การ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรขององค์การ โดยไม่ใช้เวลาและความพยายามที่ต่อเนื่อง

4. ข้อจำกัดด้านทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้ต้องสำรวจการพัฒนาองค์การว่า ขัดกับประเพณี ความเชื่อและวัฒนธรรมหรือไม่ เพราะการนำเทคนิคการพัฒนาองค์การไปใช้ในที่ที่มีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจเกิดข้อจำกัดที่ทำให้การพัฒนาองค์การไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนหรือประเทศไต้หวัน มีวัฒนธรรมที่ให้ความเคารพผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ ซึ่งสืบเนื่องมาช้านาน ดังนั้น การจะวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่จึงทำได้ลำบาก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่ส่งเสริมด้านการพัฒนาองค์การ แต่ประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี นั่นคือ ประเพณีดั้งเดิมของการอภิปราย ถกเถียงปัญหาเป็นกลุ่ม การมีมติเอกฉันท์ มิใช่จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นวัฒนธรรมอันนี้จึงช่วยส่งการพัฒนาองค์การเป็นอย่างดี ในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ คนไทยยังติดนิสัยที่ทำตาม ขอให้สั่ง รับรองว่าทำได้แน่ แต่ไม่ชอบคิด เลยกลายเป็นคิดไม่เป็น และยังไม่สามารถพูดกันอย่างตรงไปตรงมาได้ ผู้ใหญ่ยังชอบคำยกยอ ไม่ชอบให้ใครมาเป็นกระจกส่องดูเงาที่แท้จริง เมื่อสภาวะของวัฒนธรรมยังคงรูปเช่นนั้น ก็นับว่าวัฒนธรรมเป็นตัวถ่วงในการพัฒนาองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การนั้น เน้นที่ผู้บริหารต้องมีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในองค์การได้กล้าแสดงออก กล้าเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการปฏิบัติงานขององค์การ

5. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้นำการเปลี่ยนแปลง หากผู้นำการเปลี่ยนแปลง ขาดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และขาดทักษะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี การพัฒนาองค์การก็จะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์

6. ข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวผู้บริหาร การพัฒนาองค์การจะประสบความสำเร็จได้ดีส่วนหนึ่งก็คือ การยอมรับและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง แต่การพัฒนาองค์การต้องดำเนินการสืบเนื่องเป็นระยะเวลายาว บางครั้งจึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสับเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารคนใหม่เกิดไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์การก็จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์การ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

กลยุทธ์ในการพัฒนาองค์การ

ที่กล่าวมาเป็นการเสนอให้เห็นถึงส่วนสำคัญขององค์การ ที่อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์การสามารถนำกลยุทธ์ไปสู่การปกิบัติได้สำเร็จ ซึ่งการปรับเปลี่ยนส่วนต่างๆ ดังกล่าวนั้นมีกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนได้หลายกลยุทธ์ ซึ่งมีพอสรุปได้ดังนี้

1. การปรับเปลี่ยนโดยการสั่งการ

การปรับเปลี่ยนองค์การด้วยวิธีนี้เป็นการที่ผู้บริหารใช้อำนาจสั่งการอย่างเป็นทางการให้มีการปรับเปลี่ยนในส่วนต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งโดยผู้ที่ปฏิบัติงานมีหน้าที่เพียงปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมเฉพาะในสถานการณ์ที่วิกฤติที่ทุกส่วนมีความสับสนวุ่นวายและในสถานการณ์ที่ทุกอย่างสงบเรียบร้อยราบรื่นอย่างมากโดยที่ทุกคนในองค์การพร้อมจะปฏิบัติตามทุกอย่างที่ผู้นำต้องการ

2. การปรับเปลี่ยนโดยการให้มีส่วนร่วมในวงจำกัด

การปรับเปลี่ยนองคืการด้วยวิธีนี้ใช้การเปิดโอกาสให้บุคลากรที่มีสำคัญโดยตำแหน่งหน้าที่หรือโดยการยอมรับอย่างไม่เป้นทางการเข้ามามีส่วนร่วมในการเป้นผู้นำในการปรับเปลี่ยน

องค์การ คณะกรรมการปฏิรูปองค์การ และการใช้การบริหารโดยวัตถุประสงค์ (Management By Objectives หรือ MBO) ฯลฯ ซึ่งอาจจะเป็นการลดกระแสการต่อต้านได้บ้าง และเป็นการระดมความคิดความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องความล่าช้า ความเบี่ยงเบนจากเป้าหมายเดิมได้

3. การปรับเปลี่ยนองค์การโดยการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่

วิธีนี้ใช้การเปิดโอกาสให้ทุกๆ คนในองค์การสามารถริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ องค์การได้อย่างกว้างขวางที่สุด เช่น การจักให้มีระบบข้อเสนอแนะ การจัดให้มีการจัดระบบงานกันเองในทีม (Autonomous Workteam) หรือการจัดให้มีระบบการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Mangement) ฯลฯ วิธีการเหล่านี้อาจช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงองค์การในจุดต่างๆ อยู่เสมอซึ่งเป็นการทำให้องค์การเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นไปเพียงในวงจำกัดหากองค์การไม่มีระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในที่ดีพอ และที่สำคัญก็คือการปเลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ และเมื่อผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมปรับสร้างสิ่งใดขึ้นมาแล้ว ความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของอาจเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เขาคิดริเริ่มขึ้นมาได้

4. กลยุทธ์แบบผสม

เป็นการนำกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงองค์การหลายๆ แบบมาใช้ร่วมกัน เช่น ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งใช้ กลยุทธ์การสั่งโดยผู้บริหารระดับสูงลงมาเป็นวิทยากรในการบรรยาเรื่องการปรับกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์การด้วยตัวเอง การประกอบกับการสร้างทีมงานการรื้อปรับระบบงานของสาขา และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ขององค์การอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการพัฒนาส่วนต่างๆ ขององค์การด้วยกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงองค์การที่ต่างกัน

การพัฒนาองค์กรเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง

(OD for Change Management)

ปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นเกมการแข่งขันที่มีความซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ

อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ด้วยสาเหตุนี้

องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างเหมาะสม

และทันท่วงที

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูก

นำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1. มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่น

การบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนา

องค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจ และหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์

มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร

โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้อง

จัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้

พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาใน

ระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคลหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลสูงขึ้น

การพัฒนาองค์กร (OD) จะแตกต่างจากหลาย ทฤษฏีที่เคยศึกษา เพราะว่า OD จะเป็นทั้งทฤษฎี

และการปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบองค์กรอย่างมีแบบแผนเพื่อให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหา

และมีการพัฒนาการอย่างเหมาะสมโดยที่การพัฒนาองค์กรจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสิทธิภาพ และ

ประสิทธิผลในการทำงานขององค์กร

สาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา

1. ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กรการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน

ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็น

รูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย

(Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร (Downsizing) เป็น

ต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพ

และจิตใจ ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผน

และทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร

2. พลวัตของสภาพแวดล้อม

การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง

เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มี

อิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ในระดับมหภาคของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กร

ธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการ

ทำงานที่ดีขึ้น

3. ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหาองค์กร

ต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง

และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรค

ให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถ

ตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมของ

องค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากร

มนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี

4. แรงผลักดันของเทคโนโลยี

ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของ

ธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้

สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่

แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้าน

ต่างๆ ดังนี้

4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง

อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่

องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสม

กับข้อจำกัดของสถานการณ์

4.2 เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production/Operations Technology) เป็นเทคโนโลยี

สมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้

สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดำเนินงานของธุรกิจ

4.3 เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การ

ทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking

การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) หรือ

การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงาน

ขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล และช่วยเร่ง

การพัฒนาผลิตภาพ (Productivity)รวมขององค์กร ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้

เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่าง

เต็มที่

5. การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว

ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และ

รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับ

หนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็ม

ใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่น

ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง เราจะเห็นได้ชัดว่า

พลวัต ความซับซ้อน และความเกี่ยวข้องกันของปัจจัยแวดล้อมและแรงผลักดันภายในองค์กร นับเป็นสาเหตุ

ของปัญหาและโอกาสในการอยู่รอดและเจริญเติบโตขององค์กร ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องกล้าตัดสินใจอย่างกล้า

หาญและเด็ดขาดที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร ก่อนที่เหตุการณ์เล็กๆ จะลุกลามเป็นปัญหาร้ายแรงต่อไป

กระบวนการพัฒนาองค์กร

ปัจจุบันการพัฒนาองค์กร(OD) ได้รับการยอมรับในความสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

ต่างๆมากขึ้นทั้งที่นำไปประยุกต์โดยตรงหรือใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ทำให้มีการพัฒนาองค์กรในมิติต่างๆให้

ก้าวหน้าขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำ OD ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาทุกอย่างของธุรกิจ

และพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าได้ทุกกรณี ทำให้นักบริหารที่ไม่เข้าใจหลักการของ OD เกิดความคาดหวังที่เกิน

จริง (Over Expectation) และเมื่อ OD ไม่สามารถช่วยให้องค์กรของตนแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดก็โทษว่า OD ไร้

ประสิทธิภาพและหันไปใช้เทคนิคอื่นแทน ดังนั้นก่อนที่เราจะศึกษารายละเอียดของการพัฒนาองค์กร เรา

ควรทำความเข้าใจหลักการของ OD เพื่อที่จะสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้งานจริง โดยเริ่มต้นจาก

กระบวนการพัฒนาองค์กร ( OD Process ) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและ

ต่อเนื่อง ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจวินิจฉัยองค์กร (Organization Diagnosis)

หลังจากที่ผู้บริหารตระหนักถึงปัญหาที่องค์กรประสบอยู่หรือมองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กร

เขาก็จะแต่งตั้งผู้ที่มีอำนาจพัฒนาองค์กร(OD Team) ให้ทำการศึกษา ทำความเข้าใจและอธิบายสถานการณ์

ปัจจุบันเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และเสนอแนะวิธีการพัฒนาองค์กรในอนาคต

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์และวางแผนพัฒนาองค์กร ( Establish OD Strategy and

Implementation Plan )

ทีมงานพัฒนาองค์กรนำข้อมูลจากการวินิจฉัยองค์กร มากำหนดแผนพัฒนาองค์กรเลือกเทคโนโลยี

และระดับในการพัฒนาองค์กรและร่างแผนปฏิบัติงาน ( Action Plan ) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตาม

เป้าหมายที่ต้องการซึ่งจะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน โดยพิจารณาภาพรวมขององค์กร

เพื่อให้แผนปฏิบัติการสามารถบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร และสร้างผลงานที่สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

ขั้นตอนที่ 3 การนำกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรไปประยุกต์ (OD Intervention)

หรือการใส่สิ่งสอดแทรกการพัฒนาองค์กร จัดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จ หรือความ

ล้มเหลวในการพัฒนาองค์กร โดยมีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำแผนการพัฒนาองค์กร ที่

มีการวางแผนปฏิบัติงาน ตารางกิจกรรม กำหนดตารางเวลา และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการ

เตรียมพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินการพัฒนาองค์กร (OD Evaluation)

เป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรที่ช่วยในการติดตามตรวจสอบ และประเมินผล

การพัฒนาองค์กรว่าสอดคล้องกับเป้าหมายเกณฑ์ และมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใด ตลอดจนจะต้องมีการ

แก้ไขและปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็จะเป็นการส่งเสริม

การเรียนรู้ของทีมงานพัฒนาองค์กรที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อปรับปรุงตนเองให้สามารถทำ

การพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นในอนาคต

จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้และความเข้าใจในกรอบความคิด และหลักการของ OD ย่อมจะช่วยให้

ผู้บริหาร และพนักงานสามารถปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายด้วยความเข้าใจ และสามารถสร้างการ

เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถ

ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีการพัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

การใส่สิ่งสอดแทรกเพื่อการพัฒนาองค์กร (OD Intervention)

ไม่ว่าการพัฒนาองค์กรจะเป็นรูปแบบใด ต่างก็มีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการคือ มุ่งที่จะแก้ปัญหา

และพัฒนาศักยภาพขององค์กร โดยให้ความสำคัญกับการลดข้อบกพร่อง และการเพิ่มศักยภาพขององค์กร

ผ่านทางพนักงานและระบบงาน เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์และระบบงาน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้

องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทาง และความต้องการขององค์กร

ขั้นตอนที่สำคัญของการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์กร คือ การกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง

ทั้งหมดขององค์กร และกำหนดบทบาทความสัมพันธ์ระหว่างที่ปรึกษากับสมาชิกในองค์กร จากนั้นที่ปรึกษา

ภายในหรือภายนอกองค์กรจะเริ่มทำการแทรกแซงระบบองค์กร โดยเข้าไปปฏิบัติงานระหว่างกลุ่มหรือสมาชิก

ขององค์กร และใช้กิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม และการสังเกตกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่าง

สมาชิกของกลุ่มหรือขององค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน และช่วย

ให้การเปลี่ยนแปลงบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

แต่หัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กร มิได้อยู่ที่การกำหนดกลยุทธ์และการวางแผนอย่างเป็นระบบ

และมีเหตุผลแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นการนำกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรไปปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า “ การ

แทรกแซงเพื่อการพัฒนาองค์กร (OD Intervention) ”จะมีความสำคัญและเป็นเครื่องกำหนดความสำเร็จ

หรือความล้มเหลวในการพัฒนาองค์กร ซึ่งผู้นำและตัวแทนการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ

และทักษะในการสร้างผลงานให้เป็นรูปธรรม มิเช่นนั้น ถึงแม้ว่าเขาจะมีความคิดและแผนการที่ดีเลิศอย่างไร

ก็อาจจะไม่มีประโยชน์อะไรต่ออนาคตขององค์กรถ้าไม่สามารถนำความคิดมาสร้างสรรค์และใช้ให้ได้ผลตามที่

ต้องการได้จริง

อย่างไรก็ดี ที่ปรึกษาในการพัฒนาองค์กรควรทำการประเมินการยอมรับของสมาชิก และ

ผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการพัฒนาองค์กรก่อนการนำกลยุทธ์พัฒนาองค์กรไปปฏิบัติ เพื่อว่าที่ปรึกษาจะทำการ

สื่อสาร จูงใจ หรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยที่ปรึกษาจะต้องหาคำตอบจากคำถามสำคัญ 4 ข้อ

คือ

1. วัตถุประสงค์ในการทำการพัฒนาองค์กรเหมาะสมหรือไม่

2. วัฒนธรรมองค์กรมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาองค์กรหรือไม่

3. คนที่มีบทบาทสำคัญในความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการพัฒนาองค์กรมีส่วนร่วมในโครงการหรือไม่

และในระดับความสำคัญอย่างไร

4. คนในองค์กร มีการตื่นตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาองค์กรหรือไม่

แนวทางในการเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาเราอาจจะสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กรจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ (Revolutionary Change)

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่หวังผลอย่างฉับพลันทันที ซึ่งผู้บริหารมักจะใช้อำนาจและสั่งให้พนักงานปฏิบัติ

ตามที่ตนต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกหรือความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และมักจะเป็นการกระทำตาม

ความต้องการของฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียว เช่นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ระบบงาน และโครงสร้างองค์กร

เป็นต้น การปฏิวัติอาจจะมีผู้ต่อต้านมาก เพราะผลจากการเปลี่ยนแปลงอาจจะสร้างความไม่พอใจ และ

ความรู้สึกขัดแย้งระหว่างสมาชิกกลุ่มต่าง ๆได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจ ความขัดแย้ง และไม่ให้

ความร่วมมือในอนาคต

2. การเปลี่ยนแปลงแบบมีวิวัฒนาการ (Evolutionary Change)

เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างช้า ๆ ที่เรียกได้ว่าเกือบจะอยู่ตรงกันข้ามกับวิธีการ

ปฏิวัติ โดยปกติการเปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการในองค์กรจะไม่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นหรือประหลาดใจมาก

นักในหมู่สมาชิก เพราะการเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆเกิดขึ้น ทำให้ผู้คนปรับตัวตามโดยไม่รู้สึกตัวว่ามีการ

เปลี่ยนแปลง นาน ๆ ครั้งจึงจะปรากฏว่าไปกระทบกระเทือนต่อผู้เกี่ยวข้องสักครั้ง

3. การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน (Planned Change)

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำอย่างเป็นระบบ เพราะมีการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่งจะ

ช่วยให้องค์กรเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างเป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น โดยเปิดโอกาสให้

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเข้ามาร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ดี การปลี่ยน

แปลงแบบวางแผนอาจจะได้รับการต่อต้านจากบุคคลทั่วไปเหมือนกัน แต่น้อยกว่าวิธีการปฏิวัติ เนื่องจากทุก

ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจะมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ประการสำคัญการวางแผนเปลี่ยนแปลง

จะต้องมีผู้นำที่เข้าใจอนาคต มีวิสัยทัศน์ และคิดอย่างเป็นระบบ ตลอดจนสามารถประสานงานและสื่อความ

เข้าใจกับสมาชิกได้ทุกคน มิเช่นนั้นอาจเสียเวลา และทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน

เราจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารขององค์กรนั้นต้องการ

จะนำรูปแบบใดมาใช้ ซึ่งเขาจะต้องตัดสินใจโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้

การเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามสภาพของสิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่างๆในองค์กร ซึ่ง

อาจจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ดีจากสมาชิก หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ และแรงต้านต่อการ

เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้บริหารและตัวแทนการเปลี่ยนแปลง จะต้องทำการศึกษาถึงผลกระทบที่สะท้อน

กลับมาอย่างรอบคอบ และหาแนวทางและวิธีแก้ไข เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้า

และประสบความสำเร็จได้

นางสาวจริยาพร พวงมณี

กระบวนการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การคืออะไร

Richard Beckhad ได้ให้ความหมายของการพัฒนาองค์การไว้ว่าเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย

1. โครงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน (Planned Change)

2. บังเกิดผลต่อระบบงานทั้งหมด (The Total System)

3. เป็นการบริหารงานจากเบื้องบน (Management from the Top)

4. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์การ(Organization

Effectiveness and Health)

5. บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์

เนื่องจากการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนในการดำเนินการส่วนหนึ่ง และประกอบด้วย

เครื่องมือทางการพัฒนาองค์การที่เรียกว่าสิ่งสอดแทรก (Tactic) อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมใน

แต่ละองค์การ ฉะนั้นความเข้าใจการพัฒนาองค์การ คือความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานและสิ่งสอดแทรกทั้งหมด

ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในลักษณะและข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การในที่สุด

นางสาวจริยาพร พวงมณี

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีมเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี ถ้าท่านประสงค์ที่จะนำทีมให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ท่านจำเป็นต้องค้นหาคุณลักษณะของการทำงานเป็นทีมให้พบ ระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีอิสระในตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม แล้วจึงนำเอากลยุทธ์ในการสร้างทีมเข้ามาใช้เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกันและประสบความสำเร็จ

คุณลักษณะของทีม

ทีมที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานคือกลุ่มของบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีม ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่านและเพื่อนร่วมทีมจะต้องยึดถือเป็นกรอบเพื่อทำงานร่วมกัน :

v มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

v จัดการด้วยตนเอง

v พึ่งพาตัวเอง

v ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะ

มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

สมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุก ๆ คนจะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน และ/หรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วงาน และ/หรือเป้าหมายอาจบรรลุได้เมื่อทำงานร่วมกันแทนที่จะต่างคนต่างทำ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมีลักษณะโดดเด่นและสมาชิกทุกคนมีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในความสำเร็จด้วย

จัดการด้วยตนเอง

ทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีแนวโน้มว่าจะสร้างโครงสร้างเฉพาะตนขึ้นมา เนื่องจากสมาชิกยอมรับบทบาท ของตนในเวลาต่าง ๆ กัน คล้อยตามความจำเป็น ความต้องการและความสามารถของตน บางคนอาจมีประสบการณ์ในงานเฉพาะอย่างจึงอาจเป็นคนจัดการให้คนอื่น ๆ ทำตาม คนอื่น ๆ ก็จะทำหน้าที่ในกิจกรรมของตนไปในงานที่เขาคุ้นเคย พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกพัฒนาไปในแนวของโครงสร้างองค์กร และสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม

พึ่งพาตัวเอง

สมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะร่วมมือกับคนอื่น ๆ เพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จอย่างไม่หลีกเลี่ยง ร่วมกันทำงานตามกำลังความสามารถของตนเอง ให้คำปรึกษาแนะนำและชักจูงเมื่อจำเป็น ร่วมประสานงานในหน้าที่และแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน ทุกคนต่างเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำงานเกินกำลังหรือประสบปัญหายุ่งยากอันใดพวกเขาจะร่วมมือกัน เช่น อาจปกปิดคนที่มาทำงานสายหรือ เลิกงานก่อนเวลา เป็นต้น

การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อนแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายใน

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

• การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

• การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

• การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

• สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

• วางแผนปฏิบัติการ

• ลงมือปฏิบัติการ

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603

การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

1. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ หมายถึง กระบวนการที่องค์การจะปรับตัวให้เข้ากับวิทยาการใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ

2.1 ปัจจัยภายนอก (External forces) ได้แก่ ด้านแรงงาน เทคโนโลยี ความผันผวนทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางสังคม การเมือง กฎหมาย ลูกค้า คู่แข่งขัน ผลกระทบในระดับโลก และอื่น ๆ เช่น การระบาดของโรคไข้หวัดนก ฯลฯ

2.2 ปัจจัยภายในองค์การ (Internal forces) เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตต่ำลง ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงนโนบายและกลยุทธ์หลักขององค์การ

การที่องค์การจะก้าวไปสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ “High Performance

Organization” หรือการเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ตนเองดำเนินการอยู่ได้นั้น หลายๆ

องค์การต้องผ่านการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ ผ่านพ้นวิกฤติ และฟันฝ่าอุปสรรคน่านับ

ประการที่เข้ามา อาจต้องเตรียมแผนรองรับ และวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบ

ต่อการทำงานให้สามารถปฏิบัติภารกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทันเวลา และเกิดผลงานที่มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ

โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สภาวะทางสังคมสถานการณ์เศรษฐกิจ และการเมืองที่ผันแปรอยู่

อย่างต่อเนื่อง องค์การที่ดำเนินธุรกิจต่างได้รับผลกระทบ จึงจำเป็นต้องมีการวาง

แผนเพื่อปรับกระบวนทัพการบริหารจัดการกันขนานใหญ่ ให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการ

ไปสู่ความเลิศได้อย่างที่ตั้งใจ และอยู่รอดต่อไปได้อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่

ต้องคำนึงถึง คือการสร้างความสมดุลระหว่างปัจจัยหลัก และปัจจัยสนับสนุน โดย

ปัจจัยหลักที่สำคัญในการสร้างความสำเร็จให้องค์การไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการปรับ

โครงสร้าง กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เครื่องมือและการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มี

ประสิทธิภาพ ส่วนประเด็นปัจจัยสนับสนุนที่คำนึงในเรื่องการดูแลทุกข์สุขของ

พนักงานให้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข เกิดความรักองค์การ รวมถึงความรับผิดชอบต่อ

สังคม (Corporate Social Responsibility) ซึ่งในการสร้างความสมดุลของปัจจัย

ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น HR เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการขับ

เคลื่อนทั่วทั้งองค์การ โดยเน้นลักษณะการบริหารจัดการที่เป็นเชิงรุกมากกว่าการ

ตั้งรับ

เมื่อโลกย่างก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 กระแสโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีต่างๆ ก่อให้เกิด

ความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในทุก ๆ ด้าน เป็นผลให้องค์การทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องปฏิรูป

ตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ องค์การที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเท่านั้นที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ การพัฒนาองค์การ (Organization Development) ให้เป็นองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization) ในยุคปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากนักบริหาร และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ดังนั้นจึงเกิดมีแนวคิดใหม่ ๆเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาองค์การ เช่น Strategic Planning, Balanced Scorecard, Six Sigma Competency, Knowledge Management และ Learning Organization เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ จะต้องเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเหมาะสม โดยต้องมีการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในแนวคิดและปรัชญาของ ทฤษฎีองค์การ พฤติกรรมองค์การและ เครื่องมือทางด้านการบริหารและการพัฒนาองค์การนั้นๆ ว่าเครื่องมือใดเหมาะสมกับองค์การของเราและสามารถนำมาใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริงต่อองค์การ

ความหมายและประเภทขององค์การ

ในความหมายที่เป็นพื้นฐานที่สุดขององค์การ (Organization) นั้น ก็คือ การที่คนมากกว่าหนึ่งคนได้มาร่วมกันทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หรือหลายกิจกรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน วัตถุประสงค์นั้นอาจเป็นไปเพียงชั่วคราว หรือต้องใช้เวลายาวนาน อาจมีความยากง่าย หรือจริงจังแตกต่างกันไป จึงได้มีองค์การเกิดขึ้น แต่ถ้าองค์การนั้นมีการเติบใหญ่ เริ่มมีระบบระเบียบ และการยอมรับจากสังคมมากขึ้น ก็จะมีสถานะ “เป็นทางการ” (Formal Organization) ซึ่งจะต่างจากองค์การที่ไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ และไม่มีระบบระเบียบในการดำเนินการเอาไว้ หรือมีการยอมรับกันแต่อย่าง

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603

หลักการและเหตุผล

เป็นที่ทราบและยอมรับกันทั่วไปว่า ยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสารและยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีฯ และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าในการที่จะบริหารองค์การต่างๆ หรือ บริหารกิจการสหกรณ์ให้ประสบความสำเร็จด้วยดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้นำที่มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ มีจริยธรรม คุณธรรม มีเหตุผล และมีวิสัยทัศน์สามารถ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทีมงานและองค์การได้เป็นอย่างดี

ปัญหาในการพัฒนาองค์การ หรือขบวนการสหกรณ์ก็คือ ผู้นำขาดความรู้ความสามารถด้านการจัดการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง รวมทั้งไม่ปรับปรุงแนวคิดและพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมแก่สถานการณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนไม่คาดการเหตุการณ์ความน่าจะเป็นในอนาคต อันจะส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างขีดความสามารถในการขับเคลื่อนองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด จึงได้จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง” ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในยุคข้อมูลข่าวสาร

และยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานในองค์การ

2. เพื่อให้ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คาดการณ์ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่จะส่งผลต่อการพัฒนาขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

3. เพื่อให้ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสามารถกำหนดทิศทางการบริหารงานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

4. เพื่อให้ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ มีดังนี้

1. เงื่อนไขเกื่ยวกับองค์การเป้าหมาย

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3. เงื่อนไขเกื่ยวกับผู้นำการเปลียนแปลง

4. เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5. เงื่อนไขเกื่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สรุปได้ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ หลายประเด็นเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านั้นได้แก่องค์การเป้าหมาย ผู้บริหารระดับสูงผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การหน่วยเหนือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นในการพัฒนาองค์การ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่น ๆ ในการพัฒนาองค์การเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการพัฒนาองค์การและในการประเมินผลการพัฒนาองค์การจะต้องมีการประเมินผลเงื่อนไขของความสำเร็จในการพัฒนาองค์การด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

ความหมายของ การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อน แล้วต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ขันทอง สุขเพ็ง 5050504603

อนาคตไม่ใช่สิ่งที่เคยเป็นอยู่ องค์การ โดยทั่วไปเหมือนช้างเปลี่ยนแปลงยาก เราทุกคนรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก แต่การปรับเพื่อเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสิ่งที่ท้าท้ายและสนุกกว่า สิ่งต่อไปนี้ท่านสามารถทำให้ความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนแปลงลดน้อยลงได้

ลองมองโลกในแง่ดีในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสและสิ่งท้าท้ายมากกว่าเป็นอุปสรรค

ผู้คนมักคาดเดาว่าการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่องานของตน ลองค้นหาความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวินิจฉัยจากสิ่งเหล่านี้

- ใครจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง

- การเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญอย่างไร

- การเปลี่ยนแปลงในองค์การ กฎหมาย เทคโนโลยี วิธีการ

- การเปลี่ยนแปลงเร่งด่วนหรือไม่

ประเมินความสามารถของบุคลากรของท่าน ในการดูดซับการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวอาจจะได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์เดิม ช่วงเวลาของการให้บริการ และสไตล์ผู้นำของท่าน เมื่อเป็นไปได้ ประกาศให้เพื่อนของท่านทราบล่วงหน้า ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลง เพื่อเขาจะได้มีเวลาปรับตัว รวมบุคลากรขอลท่านพบกับสิ่งท้าท้ายด้วยกัน

เมื่อท่านถ่ายทอดข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่อยู่รอบ ๆ ตัวท่านอธิบายถึงสภาพแวดล้อม "ภาพรวมใหญ่" แสดงให้เห็นถึงวิธีการว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบต่อเป้าหมาย และภารกิจขององค์การอย่างไร

ชี้แจ้งว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบต่อบุคคลอย่างไร บุคลากรกลัวสิ่งต่าง ที่จะส่งผลกระทบต่อเขาโดยตรง การเปลี่ยนแปลงงานประจำ การว่างงาน การย้ายงาน ใช้วิธีการตอบคำถามและรับฟังผู้ที่เกี่ยวข้อง

เตรียมบุคลากรโดยการใช้เครื่องมือ ที่จะช่วให้เขามีความเชี่ยวชาญการเปลี่ยนแปลง ทางกระบวนการและเทคโนโลยี เตรียมสัมมนา เอกสารทางวิชาการ และพาไปศึกษาดูงานองค์การที่มีการ เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน

ชี้แจ้งให้บุคลากรรู้ว่าเขาอาจได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ถ้างานต้องการความพยายามมากขึ้น หรือความรับผิดชอบ เตรียมรางวัลเพื่อจ่ายให้มากขึ้น ให้เวลาพักมากขึ้น หรือมีการอบรมพิเศษ

รับฟังความคิดจากคนของท่านในการทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความราบรื่นมากขึ้น การมีส่วนร่วมมาก ย่อมเพิ่มความมุ่งมั่นมากขึ้น

ถามข้อความคิดใหม่ทันทีหลังจากการเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อเสริมแรงความจริงว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

เรียนรู้จากความผิดพลาด

แผนการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของท่าน อาจเกิดจากความผิดพลาด เรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นประสบการณ์วิเคราะห์ว่าท่านทำอะไรผิด เพื่อท่านจะได้ ไม่ผิดซ้ำที่

ถ้าความผิดพลาดอย่ายกเลิก ลุกขึ้น ปัดฝุ่นให้ตนเอง และพยายามใหม่จนประสบความสำเร็จ

ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้จากความผิดพลาดของท่าน ให้ข้อมูลกับเพื่อนเกี่ยวกับปัญหาที่ท่านเผชิญหน้า เพื่อเขาจะได้สามารถหลีกเลี่ยง หลุมพรางที่เหมือนกัน

ให้เพื่อนร่วมงานของท่านรู้ว่าท่านยินยอมให้เกิดความผิดพลาดได้ ในทางตรงกันข้ามท่านควรส่งเสริมให้เขารับผิดชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาด และเรียนรู้จากเขากำหนดเวลาเพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลง : การเอาชนะแรงต้าน

ศาสตร์ของวันนี้ เป็นเทคโนโลยีของพรุ่งนี้

ท่านอย่าคิดว่าบุคลากรจะตื่นเต้นกับแนวคิดใหม่ ๆ ของท่าน คนทั่วไปปรกติจะเห็นอุปสรรคก่อนเห็นประโยชน์ในฐานะผู้นำ ท่านต้องยอมรับด้วยความเมตตาอย่างรวดเร็ว และทำให้ความเจ็บปวดมีน้อยที่สุด สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดที่มีประโยชน์

แสดงความมุ่งมั่นของตนเองในวิธีการต่าง ๆ ที่มีความหมาย เช่น แสดงว่าท่านได้ลงทุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อความคิดใหม่ ๆ

ประเมินบุคลากรว่ามีความมุ่งมั่นอย่างไร ถ้ามีแรงต้านต้องค้นหาว่าทำไม นัดประชุม ถามหาเหตุผลโดยไม่ให้วิจารณ์ หรือโต้แย้ง

ให้ตระหนักถึงเหตุผลต่าง ๆ แก้ปัญหา ถ้าปัญหามีการรับรู้ผิดพลาด ชี้แจ้งสิ่งต่าง ๆ ว่าที่แท้จริงคืออะไร ยกตัวอย่างหรืออธิบายให้เข้าใจ ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องขาดทักษะต่างๆ เสนอให้มีการฝึกอบรม

เสนอให้การสนับสนุนและส่งเสริมระหว่างการเปลี่ยนแปลง ชี้ให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะยอมรับระดับความไม่สมบูรณ์และข้อผิดพลาดตลอดการเปลี่ยนแปลง สิ่งนี้จะช่วยลดความกลัว ความผิดพลาดของบุคลากรลง

ให้ข้อมูลให้มากเท่าที่จะมากได้ มุ่งเน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องของท่าน

ให้บุคคลมีส่วนร่วม เพื่อวินิจฉัยวิธีการต่าง ๆ ที่จะแสดงถึงความมุ่งมั่นของเขา การมีส่วนร่วมมาก การมีความมุ่งมั่นมาก

เจรจาต่อรองเป้าหมายที่จะใช้ประเมินความมุ่งมั่นของบุคลากร เป้าหมายควรชี้วัด วัดได้จริงกำหนดการประชุมเพื่อประเมินความก้าวหน้า

ยอมรับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง

- ปฏิเสธ

- โกรธ

- ยอมรับ

- ปฏิบัติตาม

ทำให้บุคลากรตระหนักถึงขั้นตอนต่าง ๆเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่าปฏิกิริยาสนองตอบเหล่านี้เป็นเรื่องปกติช่วยให้บุคลากรของท่านมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง

ตอบ: 27/02/2007 10:58 am ชื่อกระทู้: การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

--------------------------------------------------------------------------------

การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

1. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ หมายถึง กระบวนการที่องค์การจะปรับตัวให้เข้ากับวิทยาการใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ

2.1 ปัจจัยภายนอก (External forces) ได้แก่ ด้านแรงงาน เทคโนโลยี ความผันผวนทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางสังคม การเมือง กฎหมาย ลูกค้า คู่แข่งขัน ผลกระทบในระดับโลก และอื่น ๆ เช่น การระบาดของโรคไข้หวัดนก ฯลฯ

2.2 ปัจจัยภายในองค์การ (Internal forces) เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตต่ำลง ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงนโนบายและกลยุทธ์หลักขององค์การ

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Leadership ) คือ ผู้นำคุณภาพที่จะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่ความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ ความคิดที่ออกนอกกรอบหรือกฏเกณฑ์เดิม เพื่อประยุกต์งานให้เกิดความก้าวหน้า อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ กล่าวว่า " การแก้ปัญหาในเรื่องเดิม จะต้องใช้วิธีการใหม่เท่านั้นจึงจะประสบผลสำเร็จ "ถ้าเรายังมัวย่ำอยู่กับปัญหาปัญหาเดิม ๆ โดยไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการมีแต่จะสะสมปัญหาไปเรื่อย ๆ เหมือนดินพอกหางหมูและในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงจึงต้องอาศัยผู้นำที่มีความกล้าหาญและอาศัยความเสี่ยง เพราะครูอาจารย์และคนที่อยู่รอบข้าง ย่อมเกิดความกลัวในเรื่องการเปลี่ยนแปลง บางคนกลัวเสียผลประโยชน์บางคนกลัวว่าจะทำให้การปฏิบัติงานเกิดความยุ่งยากขึ้น บางคนกลัวผลกระทบกับหน้าที่การงานซึ่งผู้นำจะต้องวางแผนระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงลงไป เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด สุภาษิตจีนกล่าวว่า " เข้าถ้ำเสือ จึงจะได้ลูกเสือ"ผู้นำจึงต้องอาศัยความเสี่ยงในการตัดสินใจต่อความเสี่ยงนั้นจะทำให้งานเกิดความก้าวหน้ายิ่งขึ้นเพราะการทำงานนอกเหนือจากหน้าที่แล้วได้ผลดี ถือว่าเป็นงานชิ้นโบแดงที่ควรแก่ความภูมิใจ ดูตัวอย่างพระเจ้าตากสินที่ให้แม่ทัพนายกองทุบหม้อข้าวแล้วปลุกใจให้ไพล่พลฮึกเหิม เพื่อตีเมืองจันทบุรีเพื่อจะไปกินข้าวในเมืองเป็นต้นซึ่งเป็นการใช้หลักของการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เกิดชัยชนะเป็นต้น ดังนั้นในปัจจุบันนี้การบริหารที่รอนโยบายหรือ" การทำงานแบบขุนพลอยพยักหรือนายว่าขี้ข้าพลอย "ควรหมดสมัยได้แล้ว

• การพัฒนาองค์การ

(Organization Development)

 การพัฒนาองค์การเป็นการางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นแกนนำ

 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

 เพื่อพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ ปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่วกับสภาพงานในทุก ๆ ลักษณะเสมอ

 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร โดยการคัดค้นหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้

 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหา เห็นประโยชน์ร่วมกัน

 เพิ่มพูนสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง

 ส่งเสริมให้ทุกระดับได้วางแผนปฏิบัติงาน โดยถือเป้าหมายเป็นหลัก

 เพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจ ไว้วางใจกันระหว่างสมาชิกในองค์การ

 สร้างระบบสื่อสารแบบเปิด ให้สมาชิกในองค์การติดต่อกันเข้าใจกันทุกวิถีทาง

 หลักในการพัฒนาองค์การ

 มุ่งกระทำต่อองค์การเป็นส่วนรวม

 เน้นการพัฒนาองค์การให้ใหม่อยู่เสมอ

 ลดความขัดแย้งภายในและภายนอกองค์การ

 ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในการแก้ปัญหา

 ยึดถือวิธีการทำงานเป็นทีม

 สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในมวลสมาชิก

 ให้โอกาสแก่สมาชิกในการช่วยกันแก้ปัญหา

 สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

 ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ

 ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจ ให้เห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์การ

 ขั้นที่ 2 การรวบรวมปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา จุดอ่อน

 ขั้นที่ 3 วางแผนเพื่อพัฒนาองค์การ เน้นทีมงาน สร้างขวัญกำลังใจ

 ขั้นที่ 4 สร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์การ เป็นทีมร่วมกันคิดร่วมกันทำ ลดทิฐิ อิจฉา สร้างความรู้สึกที่ดีในการทำงาน

 ขึ้นที่ 5 การสอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์การ เริ่มจากแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถ มี 4 ขั้นตอนคือ

 กำหนดข้อตกลงและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง เน้นสมาชิก

 เลือกเวลาสถานที่และวิธีปฏิบัติงาน เลือกหัวหน้าทีมที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน ที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้

 รวบรวมข้อมูล จากการสังเกต สัมภาษณ์ ฯลฯ

 สอดแทรกกิจกรรม เช่น การประชุม หรือให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม

 ข้อควรคิด ในการพัฒนาองค์การ

 การพัฒนาองค์การจะได้ผล อยู่ที่ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้า

 ระบบค่านิยมทางสังคม ของไทยยังถือตัวถืออาวุโสเกรงใจกันอยู่

 การพัฒนาองค์การ จำเป็นมากที่จะต้องได้ผู้มีหน้าที่ในการดำเนินงาน เข้าใจบทบาทอย่างแท้จริง ลึกซึ้ง ปราศจากอคติ จริงใจ

 พฤติกรมของคนหรือกลุ่ม เป็นตัวการสำคัญ มักขาดความจริงใจ รวมตัว ฉวยโอกาส แสวงหาผลประโยชน์ ปากกับใจไม่ตรงกัน อาฆาตริษยา

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

ความสำคัญของการจัดองค์การ

การจัดองค์การมีความสำคัญดังต่อไปนี้

1.เป็นแนวทางให้ผู้บริหารดำเนินงานไปได้โดยสะดวก

2.ทำให้สมาชิกขององค์การได้ทราบถึงอำนาจหน้าที่รับผิดชอบของตน

3.ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด

4.ทำให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

5.ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน ป้องกันการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การประการหนึ่งก็คือ การจัดองค์การไม่ดี ขาดประสิทธิภาพและขาดผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดองค์การ หรือแม้แต่การมีความรู้ในเรื่องการจัดองค์การ แต่มีอิทธิพลและสิ่งแวดล้อมเข้ามาบังคับกดดัน เช่น ความไม่เชื่อมันในวิทยาการจัดการ การเชื่อถือสิ่งเก่า ๆ ไม่ยอมเปลียนแปลง การไม่นำความรู้ในเรื่องการจัดการหรือการบริหารมาใช้อย่างจริงจัง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

วัตถุประสงค์ขององค์การ

องค์การเกิดขึ้นและคงอยู่ได้เพราะสมาชิกขององค์การเป็นผู้นำให้เกิดและเป็น ผู้รักษาไว้สมาชิกเข้าร่วมองค์การเพราะมีวัตถุประสงค์ และร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การขึ้นมาเป็นวัตถุประสงร่วม องค์การจึงมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน จะแตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ของสมาชิกบ้างแต่ก็พัฒนาขึ้นมาจากวัตถุประสงค์ของสมาชิกนั่นเอง วัตถุประสงค์ของสมาชิกบ้างทีก็หันเหไปจากขององค์การจนองค์การไม่สามารถตอบสนองได้ กรณีเช่นนี้สมาชิกผู้นั้นก็อาจถอนตัวออกไปจากองค์การ ไปแสวงหาองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงของตน วัตถุประสงค์ขององค์การเมื่อได้กำหนดขึ้นมาแล้วสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม

ความสำคัญของวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การมีความสำคัญดังนี้คือ

1.เป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติงานขององค์การ

2.เป็นแนวในการประสานงาน

3.เป็นเครื่องบอกทางเดินขององค์การ

ลักษณะของวัตถุประสงค์ขององค์การ

1.มีลำดับขั้นและประกอบกันเป็นโครงสร้าง

2.สอดคล้องสัมพันธ์กันกับวัตถุประสงค์ของสมาชิก

3.มีผลกระทบต่อความสำเร็จ

4.มีลำดับขั้นคือมีวัตถุประสงค์ใหญ่ และวัตถุประสงค์ย่อยในองค์การ

5.วัตถุประสงย่อยจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใหญ่

6.สมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น

7.ยืดหยุ่นได้

8.แจ่มแจ้งชัดเจนเป็นรูปธรรม

นายสมพง บุญตาม รหัส 5050504628

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาคของค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยเติบโตขององค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสารกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้

1.การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน

2.การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ

3.การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่

4.เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม

5.ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน

6.ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก

7.มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

8.ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

9.การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

10.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

11.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

12.การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง

13.เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์

14.เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

นายสมพง บุญตาม รหัส 5050504628

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยน

แปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อ

ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการ

สร้างปัจจัยตา่ง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการ

พัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของ

องค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกัน

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกใน

องค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตน

ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ

องค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2.

แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปล่ียนแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่าง

คน และสังคม (People and Social)

โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่

(Technology) ระบบงาน (Work System) ให้

สอดคล้องกัน

วงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการ

ย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การ

การวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และ

การประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action

planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

(Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and

follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบาย

หน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบ

ด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยน

แปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การ

เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่

สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรง

บังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนของ

องค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตาม

ลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2.

สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่

องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลา

ป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้าน

ผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายสมพง บุญตาม รหัส 5050504628

องค์กรที่ยิ่งใหญ่ และสร้างความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน คือองค์กรที่สามารถทำให้บุคลากรของตน มีความรับรู้ ได้ว่า เขามีหน้าที่ทำให้ องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยส่วนรวมได้อย่างไร โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรดังนี้

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นการวางแผนทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงต้องมี

ความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์กร

- การพัฒนาองค์กร ต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการที่ได้จากกิจกรรม

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ย้อนรอยเส้นทางความสำเร็จของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด" ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย กับการได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2546

หากนึกถึง "เครือซิเมนต์ไทย" หลายคนมักจะนึกถึงความมั่นคง , ความแข็งแกร่ง , ความมีธรรมาภิบาล , ผลประกอบการ , รวมถึงการสร้างและพัฒนาผู้นำที่มีความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพราะที่ผ่านมาเครือซีเมนต์ไทยให้ความสำคัญกับผู้นำในระดับต่าง ๆ โดยพนักงานแต่ละระดับจะมีบาทบาทภาวะผู้นำที่เชื่อมโยงกัน ที่สำคัญเครือซิเมนต์ไทย มีการสรรหาและคัดเลือก "คนเก่ง" และ "คนดี" เข้ามาร่วมงาน ซึ่งจะผ่านกระบวนการประเมิณความสามารถ ผ่านการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์พัฒนาพนักงานของเครือซิเมนท์ไทย

 

นอกจากนี้ ผู้นำจะต้องมีความรู้ทั้งด้านธุรกิจ และด้านการเป็นผู้นำ ดังนั้นเครือซิเมนท์ไทยจึงมีหลักสูตรการอบรมพัฒนาเพื่อให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งหลักสูตรด้านการพัฒนาภาวะการเป็นผู้นำ เพื่อพัฒนาผู้นำของเครือฯ ให้มีต้นแบบเดียวกัน โดยจะเน้นให้เป็น Innovative Leader ซึ่งเปิดให้เข้าอบรมหลังเวลาเลิกงาน แต่หากเป็นผู้บริหารระดับสูงเช่น CEO หรือ Vice President จะจัดอบรมที่สิงคโปร์

 

ที่สำคัญเครือซิเมนท์ไทยยังสร้างและพัฒนาให้ผู้นำมีลักษณะเป็นไปตามอุดมการณ์ของเครือฯ โดยหล่อหลอมให้ผู้นำมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติตามที่องค์กรต้องการ มีการถ่อนทอดประสบการณ์ผ่านการสอนงานและระบบพี่เลี้ยง มีการสร้างความผูกพันธ์เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทกับงาน

 

"เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมากเป็นอันดับ 1" กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปูนซีเมนต์ไทย บอกไว้เช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าธุรกิจจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งอยู่ที่ "คน" นั่นก็คือ "บุคลากร" ของบริษัท โดยปัจจุบันเครือซีเมนต์ไทยมีพนักงานอยู่ประมาณ 24,000 คน ใน 80 บริษัท 5 ธุรกิจในเครือ

 

"ตอนนี้คนของเราเก่งอยู่แล้ว แต่เราต้องการที่ให้พวกเขาเก่งและดี ๆ ขึ้นไปอีก เราจึงต้องมีการเทรนนิ้งอยู่เสมอ" กานต์ กล่าว

 

เช่นเดียวกับ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด เป็นอีกหนึ่งองค์กรในเครือซีเมนต์ไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2526 เพื่อผลิตและจำหน่ายกระดาษพิมพ์และกระดาษเขียน โดยให้ความสำคัญกับ "ผู้นำ" และ "พนักงาน" ในระดับต่าง ๆ จนในที่สุดได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

 

ว่ากันว่า แนวทางในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย" เพื่อให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้นั่นมาจากผู้นำสูงสุดขององค์กรเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเอง ร่วมคิดร่วมทำและเป็นแบบอย่างให้กับพนักงานทุกระดับ มีการสื่อสารวิสัยทัศน์ให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจน

 

2. เน้นการทำงานเป็นทีม ดึงทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม 3. พนักงานมีคุณภาพ โดยพัฒนาพนักงานจากข้อเท็จจริง เปรียบเทียบขีดความสามารถที่น่าจะเป็นกับที่อยู่เพื่อหาช่องว่างแล้วจัดทำเป็น Roadmap และแผนพัฒนารายบุคคล

 

ทั้งนี้ จากแผนภาพข้างต้น แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยองค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปประยุทธ์ใช้ได้ดังนี้

 

โดย "กฏ" ข้อ 1 ของแนวทางที่ว่านั้นอยู่ที่ "ผู้นำ" ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กร โดย "ผู้นำ"จำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และวิธีการของการได้มาซึ่งรางวัลอย่างแท้จริง พร้อมทั้งแสดงให้เห็นเป็นแบบอย่าง (Role model) ในการดำเนินการตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติด้วยตนเอง

 

2. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนภายในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติร่วมกัน โดยควรมีการเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที

 

3. องค์กรต้องมีระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้แก่ ระบบติดต่อสื่อสาร ระบบการทำงานเป็นทีม ระบบการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (PDCA) ระบบการทำงานต่าง ๆ รวมไปถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลหรือหลักฐานในการเปรียนบเทียบและอ้างอิงในการดำเนินการ โดยจะต้องทำการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป

 

4. องค์กรต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง โดยจะต้องมีการประเมิณผลการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละปี เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของพนักงานโดยทั่วกัน

 

นายสมพง บุญตาม รหัส 5050504628

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

การพัฒนาองค์การนั้นมิได้หมายถึงองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นที่ควรพัฒนา ส่วนองค์การใดที่ควมเจริญอยู่แล้ว ก็ควรพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนพัฒนาดีแล้วหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลักตลอดเวลา ฉะนั้นผู้บริหารที่สนใจพัฒนาองค์การของตนควรอาศัยหลักการดังนี้

1.กาำกำหนดเป้าหมาย (Goal Seting ) ในองค์การควรชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับการเผชิญหน้าและอภิปรายร่วมกันของผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างตรงไปตรงมา

2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relaations)โดยอาศัยความเข้าใจร่วมกันว่าความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน

3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations)สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การจะเป็นผลพลอยได้อยู่ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี โอ ดี ( O D) คือ ทั้งปัญหาและความรู้สึกที่ดีต่อกันของคนในองค์การควรได้เปิดเผยซึ่งกันและกัน ทุกคนเริ่มพอใจจะทำงานรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าของการทำงานร่วมกัน

4.การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสถานการณ์ หมายถึง ให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force ) ภายในระบบนั้นเอง

5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการเชื่อโยงคนในหน่วยงานเข้าด้วยกันให้มากที่สุด

จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์การที่อ่อนแอกับองค์การทีแข็งแรงหรือองค์การที่ที่มีสุขภาพดีนั้น สังเกตได้จากค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การ ซึ่งค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานของคนและบรรยากาศของการทำงานร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากสำหรับคนในองค์การนั้น แต่บุคคลภายนอกหรือที่เรียกว่า ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ (AD) จะได้เห็นดีกว่าเพราะมีทัศนะเป็นกลาง กล้าเสนอปัญหาในส่วนที่องค์การไม่กล้าพูด สามารถสอดแทรกวิธีการ OD ได้ชัดเจนและเหมาะสมข้อสำคัญคือ คนในองค์การยอมรับบุคคลภายนอกมากกว่าที่ปรึกษา OD ภายในองค์การเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนกิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาธรรมดา คือ จะต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบตามขั้นตอนและพัฒนาการเปลียนแปลงในระบบองค์การทุกระบบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยอนุระบบ 4 ระบบ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญดังนี้

งาน (Tasks)

โครงสร้าง (Structure)

คน (People).

วิธีการ (Technology)

นางสาวอาภาพร สีขาว 5050504640

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยตา่ง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

ประโยชน์

1.องค์กรมีความเจริญมากขึ้น

2.องค์กรมีระบบการทำงานที่ดี

3.ก่อให้เกิดความสามัคคีภายในองค์กร

4.องค์กรมีมาตรฐาน

5.ผู้บริหารพึ่งพอใจ

นายอภิเชษ ภาษี (ศูนย์ปากช่อง)

กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

- เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

- เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

- เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

- เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

- มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

- ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อม ๆ กัน

- ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

- มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม

- การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

วิรัญชญา พจน์สูงเนิน 5050504637

กระบวนการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การคืออะไร

Richard Beckhad ได้ให้ความหมายของการพัฒนาองค์การไว้ว่าเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย

1. โครงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน (Planned Change)

2. บังเกิดผลต่อระบบงานทั้งหมด (The Total System)

3. เป็นการบริหารงานจากเบื้องบน (Management from the Top)

4. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์การ(Organization

Effectiveness and Health)

5. บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยการใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์

เนื่องจากการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนในการดำเนินการส่วนหนึ่ง และประกอบด้วย

เครื่องมือทางการพัฒนาองค์การที่เรียกว่าสิ่งสอดแทรก (Tactic) อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมใน

แต่ละองค์การ ฉะนั้นความเข้าใจการพัฒนาองค์การ คือความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานและสิ่งสอดแทรกทั้งหมด

ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในลักษณะและข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การในที่สุด

139. นางสาวจริยาพร พวงมณี

เมื่อ จ. 09 มิ.ย. 2551 @ 12:00

#693466 [ลบ]

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีมเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี ถ้าท่านประสงค์ที่จะนำทีมให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ท่านจำเป็นต้องค้นหาคุณลักษณะของการทำงานเป็นทีมให้พบ ระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีอิสระในตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม แล้วจึงนำเอากลยุทธ์ในการสร้างทีมเข้ามาใช้เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกันและประสบความสำเร็จ

คุณลักษณะของทีม

ทีมที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานคือกลุ่มของบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีม ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่านและเพื่อนร่วมทีมจะต้องยึดถือเป็นกรอบเพื่อทำงานร่วมกัน :

v มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

v จัดการด้วยตนเอง

v พึ่งพาตัวเอง

v ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะ

มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

สมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุก ๆ คนจะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน และ/หรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วงาน และ/หรือเป้าหมายอาจบรรลุได้เมื่อทำงานร่วมกันแทนที่จะต่างคนต่างทำ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมีลักษณะโดดเด่นและสมาชิกทุกคนมีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในความสำเร็จด้วย

จัดการด้วยตนเอง

ทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีแนวโน้มว่าจะสร้างโครงสร้างเฉพาะตนขึ้นมา เนื่องจากสมาชิกยอมรับบทบาท ของตนในเวลาต่าง ๆ กัน คล้อยตามความจำเป็น ความต้องการและความสามารถของตน บางคนอาจมีประสบการณ์ในงานเฉพาะอย่างจึงอาจเป็นคนจัดการให้คนอื่น ๆ ทำตาม คนอื่น ๆ ก็จะทำหน้าที่ในกิจกรรมของตนไปในงานที่เขาคุ้นเคย พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกพัฒนาไปในแนวของโครงสร้างองค์กร และสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม

พึ่งพาตัวเอง

สมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจะร่วมมือกับคนอื่น ๆ เพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือทำให้เป้าหมายสำเร็จอย่างไม่หลีกเลี่ยง ร่วมกันทำงานตามกำลังความสามารถของตนเอง ให้คำปรึกษาแนะนำและชักจูงเมื่อจำเป็น ร่วมประสานงานในหน้าที่และแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน ทุกคนต่างเอื้ออาทรช่วยเหลือกันและมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำงานเกินกำลังหรือประสบปัญหายุ่งยากอันใดพวกเขาจะร่วมมือกัน เช่น อาจปกปิดคนที่มาทำงานสายหรือ เลิกงานก่อนเวลา เป็นต้น

140. สมพงษ์ บุญตาม 5050504628

เมื่อ จ. 09 มิ.ย. 2551 @ 18:28

#694163 [ลบ]

การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อนแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายใน

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

• การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

• การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

• การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

• สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

• วางแผนปฏิบัติการ

• ลงมือปฏิบัติการ

นายอภิเชษ ภาษี (ศูนย์ปากช่อง)

องค์กรที่ดีต้องพร้อมที่จะเติบโตทีละเล็กละน้อยอย่างเหมาะสมหรือต้องพร้อมที่จะก้าวกระโดดเมื่อมีโอกาสมาถึง อีกทั้งต้องสามารถที่จะปรับปรุงตนเองเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในโลกของเรา องค์กรที่ดีต้องมีการวิเคราะห์ตนเองอยู่ตลอดเวลาและพร้อมที่จะออกแบบระบบสถาปัตยกรรมองค์กรโดยนำเครื่องมือบริหารใหม่ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาตนเองให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน

นางสาวรัตนาภรณ์ หินนอก

ความหมายของการพัฒนาองค์การ ( Organization Development )

การพัฒนาองค์การหมายถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างมีแบบแผน มีการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนกลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือการพัฒนาระบบโดยส่วนรวมทั้งองค์การเริ่มจากระดับผู้บริหารลงสู่ระดับล่างทั้งองค์การ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

นางสาวรัตนาภรณ์ หินนอก (ศูนย์ปากช่อง)

การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

นางสาวอาภาพร สีขาว 5050504640

องค์กรที่ยิ่งใหญ่ และสร้างความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน คือองค์กรที่สามารถทำให้บุคลากรของตน มีความรับรู้ ได้ว่า เขามีหน้าที่ทำให้ องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยส่วนรวมได้อย่างไร โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรดังนี้

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นการวางแผนทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงต้องมี

ความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์กร

- การพัฒนาองค์กร ต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

- เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการที่ได้จากกิจกรรม

- มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ย้อนรอยเส้นทางความสำเร็จของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด" ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย กับการได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2546

หากนึกถึง "เครือซิเมนต์ไทย" หลายคนมักจะนึกถึงความมั่นคง , ความแข็งแกร่ง , ความมีธรรมาภิบาล , ผลประกอบการ , รวมถึงการสร้างและพัฒนาผู้นำที่มีความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพราะที่ผ่านมาเครือซีเมนต์ไทยให้ความสำคัญกับผู้นำในระดับต่าง ๆ โดยพนักงานแต่ละระดับจะมีบาทบาทภาวะผู้นำที่เชื่อมโยงกัน ที่สำคัญเครือซิเมนต์ไทย มีการสรรหาและคัดเลือก "คนเก่ง" และ "คนดี" เข้ามาร่วมงาน ซึ่งจะผ่านกระบวนการประเมิณความสามารถ ผ่านการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์พัฒนาพนักงานของเครือซิเมนท์ไทย

ผู้นำจะต้องมีความรู้ทั้งด้านธุรกิจ และด้านการเป็นผู้นำ ดังนั้นเครือซิเมนท์ไทยจึงมีหลักสูตรการอบรมพัฒนาเพื่อให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งหลักสูตรด้านการพัฒนาภาวะการเป็นผู้นำ เพื่อพัฒนาผู้นำของเครือฯ ให้มีต้นแบบเดียวกัน โดยจะเน้นให้เป็น Innovative Leader ซึ่งเปิดให้เข้าอบรมหลังเวลาเลิกงาน แต่หากเป็นผู้บริหารระดับสูงเช่น CEO หรือ Vice President จะจัดอบรมที่สิงคโปร์

ที่สำคัญเครือซิเมนท์ไทยยังสร้างและพัฒนาให้ผู้นำมีลักษณะเป็นไปตามอุดมการณ์ของเครือฯ โดยหล่อหลอมให้ผู้นำมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติตามที่องค์กรต้องการ มีการถ่อนทอดประสบการณ์ผ่านการสอนงานและระบบพี่เลี้ยง มีการสร้างความผูกพันธ์เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทกับงาน

"เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมากเป็นอันดับ 1" กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปูนซีเมนต์ไทย บอกไว้เช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าธุรกิจจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งอยู่ที่ "คน" นั่นก็คือ "บุคลากร" ของบริษัท โดยปัจจุบันเครือซีเมนต์ไทยมีพนักงานอยู่ประมาณ 24,000 คน ใน 80 บริษัท 5 ธุรกิจในเครือ

"ตอนนี้คนของเราเก่งอยู่แล้ว แต่เราต้องการที่ให้พวกเขาเก่งและดี ๆ ขึ้นไปอีก เราจึงต้องมีการเทรนนิ้งอยู่เสมอ" กานต์ กล่าว

เช่นเดียวกับ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด เป็นอีกหนึ่งองค์กรในเครือซีเมนต์ไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2526 เพื่อผลิตและจำหน่ายกระดาษพิมพ์และกระดาษเขียน โดยให้ความสำคัญกับ "ผู้นำ" และ "พนักงาน" ในระดับต่าง ๆ จนในที่สุดได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

ว่ากันว่า แนวทางในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย" เพื่อให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้นั่นมาจากผู้นำสูงสุดขององค์กรเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเอง ร่วมคิดร่วมทำและเป็นแบบอย่างให้กับพนักงานทุกระดับ มีการสื่อสารวิสัยทัศน์ให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจน

2. เน้นการทำงานเป็นทีม ดึงทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม 3. พนักงานมีคุณภาพ โดยพัฒนาพนักงานจากข้อเท็จจริง เปรียบเทียบขีดความสามารถที่น่าจะเป็นกับที่อยู่เพื่อหาช่องว่างแล้วจัดทำเป็น Roadmap และแผนพัฒนารายบุคคล

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

นางสาวรัตนาภรณ์ หินนอก

การพัฒนาองค์กรจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมารวมกันแล้วจัดตั้งเป็นองค์กร มีกิจกรรมร่วมกัน มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน มีกฎระเบียบ วินัย และข้อบังคับเป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีความผูกพันกันในองค์กร และได้เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม และได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในองค์กรเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการวัดและประเมินผลในการปฏิบัติงาน และประสานงานให้มีระเบียบแบบแผนมีหลักเกณฑ์การบริหารงานได้อย่างชัดเจนวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ให้สมาชิกในองค์กรได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ดังนั้น การพัฒนาองค์กรจะสำเร็จได้ก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กรให้มีความเหมาะสม ทันสมัย และมีความกระชับเพื่อให้การทำงานคล่องตัวเร็วขึ้นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรก่อนเพื่อนำไปสู่การทำงานที่ถูกต้องได้โดยไม่มีอุปสรรคต่อการทำงานและมีการร่วมมือกันอย่างจริงใจ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้หรือรับข่าวสาร ข้อเท็จจริงด้านต่างๆโดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดี เพื่อกระตุ้นและโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

มีองค์ใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

- มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

สาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา

- ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร

การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร (Downs

บริษัทคิวบ์ อินโฟ(ประเทศไทย)จำกัด Cube Info(Thailand) Co.,Ltd ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ 8/55 ซอฟท์แวร์วิลเลจ หมู่ที่ 8 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230 ทุนจดทะเบียน 54 ล้านบาท เกิดจากผู้บริหารที่มีประสบการณ์ด้าน ไอที มากว่า 15 ปี รวมกันสร้างทีมวิจัยและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นสูง รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รูปแบบอุตสาหกรรม ซอฟท์แวร์วิลเลจ เครื่องหมายการค้า Cube Info ในนามบริษัทคิวบ์ อินโฟ (ประเทศไทย) จำกัด

บุกเบิกอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ ในรูปแบบซอฟท์แวร์วิลเลจ มีทีมพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมสร้างพันธมิตรในการพัฒนาซอฟท์แวร์ ที่มีฐานใหญ่ ณ บังกาลัง ประเทศอินเดีย ในนามบริษัทคิวบ์ อินโฟ (ประเทศไทย) จำกัด โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ และเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองในระยะแรก จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย โปรแกรม ERP เครื่องหมายการค้า Cube Enterprise โปรแกรมเรียน Onlineเครื่องหมายการค้า Cube E-learning ระบบอินเทอร์เน็ตทีวีความละเอียดสูง(IPTV)ซึ่งพัฒนาเสร็จแล้วพร้อมออกจำหน่าย เป็นลักษณะ Streaming Solution Provider ภายใต้เครื่องหมายการค้า CSSP(Cube Streaming Solution Provider)

ผลงานผู้บริหารระยะเวลา 12 ปี ในการบริหารงานบริษัทไอที เริ่มจาก พ.ศ. 2537 ทำธุรกิจฝึกอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เปิดหลักสูตรกระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง ความสำเร็จอย่างรวดเร็วในธุรกิจฝึกอบรม ได้ขยายธุรกิจเพิ่มให้มีงานออกแบบติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้บริการออกแบบติดตั้งสายสัญญาณเครือข่ายฯและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดีประสบผลสำเร็จในการเป็นผู้บุกเบิกระบบเครือข่าย 100Mbps เป็นรายแรกๆ และเป็นผู้นำในการนำเสนอ Gigabit Ethernet ให้เป็นทางเลือกในยุคต้นๆ ซึ่งถือเป็นยุคที่ต้องแข่งขันกับระบบเครือข่าย ATM และก็ประสบความสำเร็จที่สามารถติดตั้ง Gigabit Ethernet (Intel) เป็นรายแรกๆในประเทศ พัฒนาบริษัทฯ ได้เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง ทำให้มีลูกค้าโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน ตัวอย่างโครงการได้แก่ ระบบเครือข่ายห้างเทสโก้โลตัส ทั่วประเทศ, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, ระบบเครือข่ายโครงการขนาดใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ (สนามบินน้ำ) ระบบเครือข่ายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตโรงเรียนอัสสัมชัน

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา

ปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นเกมการแข่งขันที่มีความซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ด้วยสาเหตุนี้องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ให้ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1.มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร

โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3.เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

การพัฒนาองค์กร (OD) จะแตกต่างจากหลาย ทฤษฏีที่เคยศึกษา เพราะว่า OD จะเป็นทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบองค์กรอย่างมีแบบแผนเพื่อให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาและมีการพัฒนาการอย่างเหมาะสมโดยที่การพัฒนาองค์กรจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานขององค์การ

สาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา

1.ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร

การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร (Downsizing) เป็นต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผนและทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร

2.พลวัตของสภาพแวดล้อม

การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น

3.ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา

องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี

4.แรงผลักดันของเทคโนโลยี

ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ ดังนี้

4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์

4.2 เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production/Operations Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดำเนินงานของธุรกิจ

4.3 เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) หรือ การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล และช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) รวมขององค์กร ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่

5.การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็มใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

เราจะเห็นได้ชัดว่า พลวัต ความซับซ้อน และความเกี่ยวข้องกันของปัจจัยแวดล้อมและแรงผลักดันภายในองค์กร นับเป็นสาเหตุของปัญหาและโอกาสในการอยู่รอดและเจริญเติบโตขององค์กร ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องกล้าตัดสินใจอย่างกล้าหาญ และเด็ดขาดที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร ก่อนที่เหตุการณ์เล็กๆ จะลุกลามเป็นปัญหาร้ายแรงต่อไป

การเปลี่ยนแปลงองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารขององค์กรนั้นต้องการจะนำรูปแบบใดมาใช้ ซึ่งเขาจะต้องตัดสินใจโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้การเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามสภาพของสิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่างๆในองค์กร ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ดีจากสมาชิก หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ และแรงต้านต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้บริหารและตัวแทนการเปลี่ยนแปลง จะต้องทำการศึกษาถึงผลกระทบที่สะท้อนกลับมาอย่างรอบคอบ และหาแนวทางและวิธีแก้ไข เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าและประสบความสำเร็จได้

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา 5050504636

ความหมายของการพัฒนาองค์กร การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่เรียกว่า O.D. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์กรเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์กร

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์กร องค์กรมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิดมีความเจริญเติบโตมีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานในการพัฒนาองค์กร

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การออกเป็น

1. การรวบรวมข้อมูล (Data Gathering)

2. การตรวจวินิจฉัยปัญหา (Diagnosis)

3. การใส่สิ่งสอดแทรก (Intervention)

4. การประเมิน (Evaluation)

การแก้ปัญหาในองค์การโดยการนำการพัฒนาองค์การมาใช้สิ่งที่ต้องทำในขั้นแรก คือ แม่แบบ (Model) ซึ่งก็คือ การดำเนินการรวบรวมข้อมูล การตรวจวินิจฉัยปัญหา การกำหนดแนวปฏิบัติในการใส่สิ่งสอดแทรก ตลอดจนการกำหนดวิธี ระยะเวลาใน

การประเมินผล

การรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในองค์การเพื่อ

จะได้ตรวจวินิจฉัยปัญหาและกำหนดแนวยุทธศาสตร์ใส่สิ่งสอดแทรกที่เหมาะสมสำหรับองค์การต่อไป ตัวแปรที่ใช้ศึกษาพฤติกรรมขององค์การตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ได้แก่

1. ภาวะผู้นำ (Leadership)

2. แรงจูงใจ (Motivation)

3. การสื่อสาร (Communication)

4. การติดต่อประสานงาน (Interaction)

5. การกำหนดเป้าหมายในองค์การ (Goal Sitting)

6. การควบคุมงาน (Control)

7. ผลการปฏิบัติงาน (Performance)

นางสาววรรณ์วิสา วงค์ผา 5050504636

Organization Development หรือการพัฒนาองค์กร หมายถึงการบริหารจัดการกลยุทธ์ วิธีการ และแนวทางหลายๆ อย่างให้ทำงานร่วมกันตามหลักวิชาการบริหารจัดการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร โดยการปรับปรุง พัฒนา และสนับสนุนองค์กรในด้านต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาทิเช่น การวางแผนกลยุทธ์ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร การบริหารจัดการผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น ทั้งนี้ APMConsulting ได้พัฒนาบริการไปอีกขั้นสู่ความเป็นเลิศด้วยมาตรฐานระดับสากลโดยการศึกษาและพัฒนาอย่างลงลึกเพื่อ ให้เข้าถึงแนวทาง วิธีการและขั้นตอนการพัฒนาอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับประสบการณ์และความรู้เฉพาะด้านในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร รวมไปถึงการสรรหาเครื่องมือและเทคนิคการจัดการพัฒนาที่เหมาะสมจากองค์กรพันธมิตรที่มีชื่อเสียงระดับสากล

นางสาวอาภาพร สีขาว 5050504640

ความจำเป็นในการพัฒนาองค์การ

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาคของค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยเติบโตขององค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสารกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้

1.การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน

2.การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ

3.การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่

4.เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม

5.ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน

6.ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก

7.มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

8.ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

9.การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

10.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

11.ส่งเสริมระบบการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ คือ แนวนอนและแนวตั้งอย่างเปิดเผยไม่ซ่อนเร้น

12.

การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง

13.เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์

14.เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

วิธีการสร้างความผูกพันธ์ในทีมเพื่อการพัฒนาองค์การมีดังนี้.-

1.การมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน วิธีการปฏิบัติงานต่าง ๆ มีความเข้าใจตรงกัน

2.เปิดโอกาสให้สมาชิกของทีมมีส่วนร่วมในการทำงานให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้นโนบายเป้าหมายการทำงาน การเสนอข้อมูลการแสดงความคิดเห็น และการตัดสินใจ

3.การกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกของทีมให้เป็นธรรมและทั่วถึงโดยเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน

4.ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันด้วยความจริงใจและไวใจกันไม่มีคำว่า เรื่องของฉัน เรื่องของเขา มีแต่เรื่องของเรา

5.การสร้างสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกันเพื่อให้เกิดความผูกพันร่วมกัน เช่น ธงเครื่องหมายสัญลักษณ์ เพลง และคำขวัญ เป็นต้น

พฤติกรรมการทำงานของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปตามความรู้ประสบการเดิมทักษะในการทำงานและทัศนคติส่วนบุคคล ดังนั้จึงถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องสร้างและพัฒนาการทำงานเป็นทีมอยู่เสมอเพื่อให้แต่ละคนเห็นความสำคัญของงาน และประโยชน์ร่วมกันมากกว่าความสำคัญของบุคคล หรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล บรรกาศในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ผลตอบแทนที่ได้รับ ความยุติธรรม ความเสมอภาคและการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้มีส่วนเสริมการทำงานเป็นทีมทั้งสิ้น การตัดสินใจอาจกระทำโดยผู้บริหารคนเดียวได้ แต่ในการปฏิบัติงานนั้นไม่สามารถจะกระทำโดยผู้บริหารเพียงคนเดียว ทีมงานที่ดีจึงเปรียบเสมือนพลังในการปฏิบัติงานของผู้บริหารนั้นเอง

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

ประเภทของระบบองค์การ

มองในแง่การเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ระบบอาจจำแนกตามความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ ระบบปิดและระบบเปิด

1.ระบบปิด เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การน้อยที่สุด ระบบนี้ให้ความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์การเท่านั้น เช่น ระบบการทำงานตามโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายในองค์การ

2.ระบบเปิด เป้นระบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กามาก ตัวอย่าง ระบบเปิดคืองค์การธุรกิจ หน่วยราชการ เป็นต้น

มองในแง่ความสลับซับซ้อนอาจจำแนกระบบได้ตามขนาดของความสลับซับซ้อนได้ดังต่อไปนี้คือ

1.ระบบง่าย เป็นระบบที่กำหนดตายตัว เช่น ระบบของเครื่องคำนวณเลข

2.ระบบที่สลับซับซ้อน เช่นระบบสมองกลอิเลคทรอนิค

3.ระบบที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น แบบที่กำหนดตายตัวของระบบนี้ไม่มี แต่แบบที่น่าจะเป็นไปได้ คือ ระบบเศรษฐกิจ ระบบมนุษย์ องค์การมนุษย์ เป็นต้น

มองในแง่การวิเคราะห์แยกแยะระบบ อาจจำแนกระบบออกได้ดังนี้คือ

1.ระบบโครงสร้างสถิตย์ เป็นที่กล่าวถึงกรองและกายภาคของระบบ

2.ระบบพลานุวัตรเบื้องต้น มีลักษณะกำหนดความเคลื่อนไหวไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างแน่นอน เช่น การทำงานของนาฬิการ

3.ระบบวัฎเกณฑ์ เป็นระบบเคลื่อนไหวเพื่อความคงที่มีวงจรรักษาดุลยภาพอยู่

ในตัว

4.ระบบเปิด มีลักษณะสามารถขยายเติบโต เปลี่ยนแปลงขึ้นได้ในตัวเอง

5.ระบบพันธุ์สังคม ได้แก่ระบบสัมพันธ์ของเซลล์ต่าง

6.ระบบสัตว์พันธ์ เป็นระบบของการเคลื่อนย้าย มีพฤติกรรมที่มีจุดหมายเป็นเครื่องนำ

7.ระบบมนุษย์ ระบบนี้สามารถแปลงหรือตีความสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ และสามารถสื่อสัมพันธ์ กันได้

8.ระบบทางสังคม คือระบบการจัดการระเบียบของสังคมอันดีว่าเป็นองค์การของมนุษย์

9.ระบบโลกุตระ ได้แก่ระบบที่มีระดับสูงที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งแสดงโครงสร้างเป็นระบบ แต่ไม่สามารถรู้แจ้งเห็นจริงถึงแก่นได้

นางสาวธีราภรณ์ แท่งทอง รหัสนักศึกษา 5050504646

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางสาวธีราภรณ์ แท่งทอง รหัสนักศึกษา 5050504646

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

1.การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

2.การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

4.การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

5.การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

6.เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

7.มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปมีดังนี้

1.เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2.เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3.เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4.เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5.ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

6.ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

7.ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

8.มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

9.มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

นางสาวธีราภรณ์ แท่งทอง รหัสนักศึกษา 5050504646 ศูนย์ปากช่อง

สิ่งที่ต้องพิจารณาความสำเร็จในองค์การ

โดยหลักการองค์การควรเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจและยุทธศาสตร์ที่กำหนดได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เรียกว่า SWOT (SWOT analysis technique) ซึ่งต้องวิเคราะห์ให้ทราบถึงจุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness) ภายในองค์การ และต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกในแง่โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์การ เพื่อนำมาพิจารณาว่ามี องค์ประกอบอะไรบ้างที่จำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ด้านต่อไปนี้

1. เป้าหมายและกลยุทธ์ (Goals and strategies) องค์การมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เป้าหมายและกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อมีการขยายกิจการหรือเมื่อต้องเสนอสินค้าหรือบริการตัวใหม่เข้าสู่ตลาด เมื่อต้องแสวงหาตลาดใหม่เพื่อรองรับสินค้า เป็นต้น

2. เทคโนโลยี (Technology) การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงระดับสำคัญ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สายตรงเป็นระบบเครือข่ายให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงสินค้าและใช้บริการได้สะดวก ถือเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีระดับเล็กน้อยแต่ถ้าทั้งกิจการต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดเพื่อการผลิตให้ทันสมัย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่

3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign) องค์การจำเป็นต้องจัดงานออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ใหม่ให้มีระดับความมากหรือน้อยในประเด็น เช่น ความหลากหลาย (Variety) การให้อิสระ (Autonomy) การมีลักษณะเฉพาะ (Identity) การให้ความสำคัญ (Significance) ตลอดจนการจัดระบบข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นต้น

4. โครงสร้าง (Structure) เช่น จัดโครงสร้างแบบตามหน้าที่หรือแบบที่เน้นผลผลิต จะมีความเป็นทางการและรวมศูนย์เพียงไร เน้นแบบแนวราบหรือแนวตั้ง (Flat or tall

ตัวอย่างองค์การมีการการพัฒนาองค์การที่ประสบความสำเร็จ

คือองค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ

องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง ให้พัฒนาเจริญก้าวหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้

การพัฒนาที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสำเร็จสูงสุด จะต้องมีการวางแผนซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุจุดมุ่งหมาย ซึ่งตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ . 2548 กำหนดแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ 2 ประเภท ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นแผนพัฒนาระยะยาว และแผนพัฒนาสามปีเป็นแผนพัฒนาแบบหมุนเวียนต้องทบทวนและจัดทำทุกปี โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะใช้แผนพัฒนาดังกล่าวเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และจัดทำแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ซึ่งแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเอกสารที่รวบรวม แผนงาน / โครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะดำเนินการจริงในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้ทราบกิจกรรมการพัฒนาใน

พื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ ได้จัดทำแผนดำเนินการประจำปี 2551 ซึ่งรวบรวมแผนงาน / โครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะดำเนินการจริงในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนดำเนินการประจำปี 2551 นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการและพัฒนาตำบล ที่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

นางสาวดวงใจ วาปีกัง รหัส 5050504608

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยน

แปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อ

ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการ

สร้างปัจจัยตา่ง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการ

พัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของ

องค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกัน

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกใน

องค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตน

ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ

องค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2.

แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปล่ียนแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่าง

คน และสังคม (People and Social)

โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่

(Technology) ระบบงาน (Work System) ให้

สอดคล้องกัน

วงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการ

ย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การ

การวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และ

การประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action

planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

(Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and

follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบาย

หน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบ

ด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยน

แปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การ

เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่

สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรง

บังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนของ

องค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตาม

ลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2.

สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่

องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลา

ป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้าน

ผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางสาวดวงใจ วาปีกัง รหัส 5050504608

วัตถุประสงค์ขององค์การ

องค์การเกิดขึ้นและคงอยู่ได้เพราะสมาชิกขององค์การเป็นผู้นำให้เกิดและเป็น ผู้รักษาไว้สมาชิกเข้าร่วมองค์การเพราะมีวัตถุประสงค์ และร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การขึ้นมาเป็นวัตถุประสงร่วม องค์การจึงมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน จะแตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ของสมาชิกบ้างแต่ก็พัฒนาขึ้นมาจากวัตถุประสงค์ของสมาชิกนั่นเอง วัตถุประสงค์ของสมาชิกบ้างทีก็หันเหไปจากขององค์การจนองค์การไม่สามารถตอบสนองได้ กรณีเช่นนี้สมาชิกผู้นั้นก็อาจถอนตัวออกไปจากองค์การ ไปแสวงหาองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงของตน วัตถุประสงค์ขององค์การเมื่อได้กำหนดขึ้นมาแล้วสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม

ความสำคัญของวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การมีความสำคัญดังนี้คือ

1.เป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติงานขององค์การ

2.เป็นแนวในการประสานงาน

3.เป็นเครื่องบอกทางเดินขององค์การ

ลักษณะของวัตถุประสงค์ขององค์การ

1.มีลำดับขั้นและประกอบกันเป็นโครงสร้าง

2.สอดคล้องสัมพันธ์กันกับวัตถุประสงค์ของสมาชิก

3.มีผลกระทบต่อความสำเร็จ

4.มีลำดับขั้นคือมีวัตถุประสงค์ใหญ่ และวัตถุประสงค์ย่อยในองค์การ

5.วัตถุประสงย่อยจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใหญ่

6.สมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น

7.ยืดหยุ่นได้

8.แจ่มแจ้งชัดเจนเป็นรูปธรรม

153. นายสมพง บุญตาม รหัส 5050504628

เมื่อ อ. 10 มิ.ย. 2551 @ 16:08

695556 [ลบ]

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาคของค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยเติบโตขององค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสารกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้

1.การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน

2.การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ

3.การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่

4.เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม

5.ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน

6.ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก

7.มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

8.ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

9.การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น

10.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

11.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ

12.การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง

13.เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์

14.เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

154. นายสมพง บุญตาม รหัส 5050504628

เมื่อ อ. 10 มิ.ย. 2551 @ 16:13

695560 [ลบ]

การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยน

แปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อ

ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการ

สร้างปัจจัยตา่ง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการ

พัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของ

องค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกัน

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกใน

องค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตน

ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ

องค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2.

แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปล่ียนแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่าง

คน และสังคม (People and Social)

โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่

(Technology) ระบบงาน (Work System) ให้

สอดคล้องกัน

วงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการ

ย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การ

การวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และ

การประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action

planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

(Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and

follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบาย

หน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบ

ด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยน

แปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การ

เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่

สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรง

บังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนของ

องค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพ

แวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตาม

ลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2.

สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่

องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลา

ป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์

การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1. ด้านองค์การ 2. ด้าน

ผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1. ด้านองค์การ

2. ด้านผู้บริหารระดับสูง

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางสาวดวงใจ วาปีกัง รหัส 5050504608

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

การพัฒนาองค์การนั้นมิได้หมายถึงองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นที่ควรพัฒนา ส่วนองค์การใดที่ควมเจริญอยู่แล้ว ก็ควรพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนพัฒนาดีแล้วหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลักตลอดเวลา ฉะนั้นผู้บริหารที่สนใจพัฒนาองค์การของตนควรอาศัยหลักการดังนี้

1.กาำกำหนดเป้าหมาย (Goal Seting ) ในองค์การควรชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับการเผชิญหน้าและอภิปรายร่วมกันของผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างตรงไปตรงมา

2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relaations)โดยอาศัยความเข้าใจร่วมกันว่าความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน

3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations)สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การจะเป็นผลพลอยได้อยู่ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี โอ ดี ( O D) คือ ทั้งปัญหาและความรู้สึกที่ดีต่อกันของคนในองค์การควรได้เปิดเผยซึ่งกันและกัน ทุกคนเริ่มพอใจจะทำงานรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าของการทำงานร่วมกัน

4.การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสถานการณ์ หมายถึง ให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force ) ภายในระบบนั้นเอง

5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการเชื่อโยงคนในหน่วยงานเข้าด้วยกันให้มากที่สุด

จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์การที่อ่อนแอกับองค์การทีแข็งแรงหรือองค์การที่ที่มีสุขภาพดีนั้น สังเกตได้จากค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การ ซึ่งค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานของคนและบรรยากาศของการทำงานร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากสำหรับคนในองค์การนั้น แต่บุคคลภายนอกหรือที่เรียกว่า ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ (AD) จะได้เห็นดีกว่าเพราะมีทัศนะเป็นกลาง กล้าเสนอปัญหาในส่วนที่องค์การไม่กล้าพูด สามารถสอดแทรกวิธีการ OD ได้ชัดเจนและเหมาะสมข้อสำคัญคือ คนในองค์การยอมรับบุคคลภายนอกมากกว่าที่ปรึกษา OD ภายในองค์การเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนกิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาธรรมดา คือ จะต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบตามขั้นตอนและพัฒนาการเปลียนแปลงในระบบองค์การทุกระบบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยอนุระบบ 4 ระบบ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญดังนี้

งาน (Tasks)

โครงสร้าง (Structure)

คน (People).

วิธีการ (Technology)

นางสาวดวงใจ วาปีกัง รหัส 5050504608

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ การพัฒนาองค์กร เพื่อทำให้องค์กรมั่นคง ทำให้ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง ให้ทันสมัยมีประสิทธิ์ภาพ มีการประสานงานกับลูกน้องอย่างดี เพื่อให้ประสบความสำเร็จ

เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผู้นำเสนอ ๒ คน คือ คุณเกศราภรณ์ สุขทรัพย์ศรี จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ คุณรุ่งเพชร แสงทอง จากโรงพยาบาลบ้านแพรก

คุณรุ่งเพชร ได้เล่าว่า เป็น “คุณอำนวย” ของโรงพยาบาลบ้านแพรก ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ต่อมาทำหน้าที่ประสานงานให้กับเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) ด้วย เพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ รวม ๑๖ อำเภอ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการรับรองคุณภาพ HA

โดยที่มาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย คือ ต้องการพัฒนากระบวนการทำงานเป็นหลัก ซึ่งเริ่มจากการที่ พรพ. เข้าไปช่วยให้รู้จักการเรียนรู้ส่วนหนึ่งและได้เคยเข้าร่วมฟัง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ในเวทีต่างๆ จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประชุมระดมสมองร่วมกัน เพื่อหาแนวทางหรือหลักการพัฒนาเครือข่ายและขยายผลสู่ความสำเร็จในนโยบายต่อไป ในที่สุดจึงได้ให้ PCU เป็นโครงการนำร่อง เพื่อจัดเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จึงทำให้เกิดเครือข่าย PCU และกลุ่ม HCA

สำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นฐานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย คือ มีการจัดเวทีเพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการความรู้, มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน, กำหนดตัวชี้วัดชัดเจน, คัดเลือกเรื่องที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยน, มีการกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน, มีทีมระดับจังหวัดเป็นศูนย์กลางการประสานงานที่ดี และมีนำผู้ประสานงานภาคอำเภอเข้ามาร่วมด้วย หลังจากกลุ่มได้รับทราบเรื่องของการจัดการความรู้บ้างแล้ว ก็เริ่มลงมือทำจริง จับกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันและมี “คุณอำนวย” ดึงประเด็นการเรียนรู้

ผลการดำเนินการ คือ มีการปรับปรุงการทำงาน รู้ว่าอุปสรรคคืออะไร ต่อไปต้องทำอย่างไร ความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่

• บรรยากาศการจัดกลุ่มมีบรรยากาศที่เป็นกันเองขึ้น ช่องว่างระหว่างกันลดลง

• พี่เลี้ยงมีทักษะในการกระตุ้นกลุ่มและการจับประเด็นหลัก ทำให้มีความสุขในการร่วมกัน

• ผู้เข้าร่วม มีประกายในดวงตา ได้รับความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น ได้เห็นแบบอย่างในการทำกลุ่มและนำไปใช้ได้

• เกิดสัมพันธภาพเชิงเครือข่ายมากกว่าที่เคยทำมา หลังจากที่มีการทำกลุ่มขึ้น ทำให้มีความเชื่อใจกัน ทำให้เกิดกำลังใจว่ามีคนมาเอาใจใส่ตัวเอง รู้จักกันและกันมากขึ้น

• สรุปประเด็นความรู้ของกลุ่ม สามารถนำไปขยายผลต่อได้ เริ่มมีทักษะการจับประเด็นมากขึ้น

• เกิดความช่วยเหลือกันและกันในระดับ สสจ. และระดับอำเภอ ฝึกการสร้างการทำงานร่วมกัน

• ทบทวนผลการเรียนรู้เทียบกับตัวชี้วัด หลังจากการแลกเปลี่ยนกันแล้วจึงมีการปรับตัวชี้วัดการเรียนรู้ระดับ

นางสาวดวงใจ วาปีกัง รหัส 5050504608

องค์กรใดๆที่จะประสบผลสำเร็จได้หรือหน่วยงานที่มีศักยภาพในด้านการพัฒนาอย่างครบวงจรและมีความเป็นเลิศเฉพาะทางจึงได้ดำเนินการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและต้องมีการพัฒนาองค์กรอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การดังนี้

1.การยอมรับปัญหา

2.การเข้ามาขอที่ปรึกษา การพัฒนาองค์กร

3.การวิเคราะห์ปัญหา

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

5.การวางแผนดำเนินงาน

6.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์กร

7.การประเมินผล

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.เสริมสร้างธรุกิจให้แข็งแรงด้วยประโยชน์ของ Internet

2. อธิบายขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมได้

3.วิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปพัฒนาโปรแกรมได้

4. บอกประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์ช่วยแก้วปัญหาได้

5. มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการเขียนโปรแกรม

6. มีความก้าวหน้าที่ทันสมัย

7. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

นางสาวพาขวัญ ฉัตรเงิน

การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์การ และประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็คือ

ด้านการคัดเลือกบุคคล

1.ช่วยให้การคัดเลือกคนเข้าทำงานถูกต้องมากขึ้น เหมาะกับลักษณะการทำงานในตำแหน่งนั้นๆ

2.นำไปใช้ในการออกแบบคำถามหรือแบบทดสอบ

3.ลดการสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาฝึกอบรมพนักงานที่มีความสามารถไม่ตรงตามความต้องการของตำแหน่งงาน

4.ป้องกันความผิดพลานการคัดเลือก

ด้านการพัฒนาและฝึกอบรม

1. นไมใช้ในการจัดทำเส้นความก้าวหน้าในการพัฒนาและฝึกอบรม

2. ช่วยให้ทราบว่าผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ จะต้องมีความสามารถเรื่องอะไรบ้าง เพื่อนำไป ใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาความสามารถส่วนบุคคล

3. ช่วยในการวางแผนการพัฒนาผู้ดำรงตำแหน่งให้สอดคล้องกับเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ

กระบวนการพัฒนาองค์การจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยขั้นตอนจะมีการปรับตามสถานการณ์ขององค์การได้ สรุปตามขั้นตอนดังนี้

- การวิเคราะห์หาความจำเป็น

- การรวบรวมข้อมูลและจัดลำดับความจำเป็น

- กำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนา

- ดำเนินตามแผนปฏิบัติการ

- การประเมินและสรุปผลการพัฒนา

นางสาวพาขวัญ ฉัตรเงิน

เงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จของกาพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงจะต้องตั้งใจและเต็มใจจริงที่จะพัฒนาองค์การ

2. ผู้บริหารระดับกลางและระดับล่างจะต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริหารระดับสูงในลักษณะที่ยอมรับและรับฟัง พร้อมที่รับนโยบายไปปฏิบัติ

3. ต้องมีบรรยากาสของความไว้วางใจ การยินดีเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมกำหนดวัดถุประสงค์ การเจรจาต่อรองและการประเมินผล

  บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ ในการที่จะทำให้เกิด " การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน " ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำระดับโลก จากเจตนารมณ์ดังกล่าว ได้เป็นแรงผลักดันในการดำเนินการนำเอาระบบบริหารงานต่างๆ เข้ามาใช้ในองค์กร นับตั้งแต่ ปี พ. ศ. 2513 ทางบริษัทฯ ได้พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง หัวใจของระบบการจัดการดังกล่าว คือการนำเอาระบบมาตรฐานสากล หรือที่รู้จักกันในนามของมาตรฐานระบบ ISO (International Organization for Standardization) เป็นแกนหลักและมีความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยควบคู่ไปกับการบริหารจัดการองค์กรเพื่อที่จะบรรลุและสนองตอบต่อความพึงพอใจของลูกค้า ภายใต้กระแสของการวิวัฒนาการและการแข่งขันทางธุรกิจของโลกในปัจจุบัน
 
วิวัฒนาการความเป็นมาขององค์กร ในการนำเอาระบบบริหารตามระบบมาตรฐานสากล เข้ามาใช้ในองค์กร
ปี พ.ศ. 2538 -   เริ่มนำระบบบริหารงานมาตรฐาน (ISO) เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร
ปี พ.ศ. 2540 -   ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System) ISO 9002 จาก BVQI
ปี พ.ศ. 2541 -   ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ระบบบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 จาก BVQI
ปี พ.ศ. 2544 - ได้รับการรับรองตาม ระบบการจัดการอาชีิวอนามัยและความปลอดภัย TIS/OHSAS 18001 จาก สรอ. (MASCI)
ปี พ.ศ. 2545 -   ได้รับการรับรองตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System) ISO 9001 จาก สรอ. (MASCI)
- ได้รับการรับรองการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ (ISO/IEC 17025) จาก สมอ. (TISI)
นางสาวชฎารัตน์ ศรีเศษ รหัส 5050504607 ศูนย์ปากช่อง

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

ความสำคัญของการพัฒนาองค์การ คือ

1.ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2.ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3.การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4.ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5.ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6.ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7.ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8.ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

นางอ้อมเดือน ทะยอมใหม่

ทำอย่างไรองค์จึงจะประสบความสำเร็จ

พัฒนาทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง TQA

สถานการณของCompetency• ทําเพราะเปนกระแส/ขาดความเขาใจที่แทจริง• กลัวไมผาน HA • ทําแลวเปนภาระงาน

Competency Pitfalls 1. ขาดความเขาใจในแนวคิดหลักการที่ชัดเจน(Competency หมายถึงความรูความสามารถทัศนคติ)2. Competency เปนเกณฑมาตรฐานหรือความคาดหวังสูงสุด3. หาCompetency จากเอกสารตําราและจากองคกรตางๆที่เขามีการกําหนดและนําไปใชโดยขาดการศึกษาและดูบริบทของตนเอง

Competency Pitfalls 4. การกําหนดcompetency Model ขาดการพูดคุยตกลงกันสวนใหญเปนไปตามตําราหรือขาดความเขาใจวาทําไมตองเปนcompetency Model เชนCore Competency และFunctional Competency เทานั้นเปนตน5. จํานวนCompetency มีจํานวนมากและใชเครื่องมือประเมินเปนลักษณะ check list อยางเดียว

Competency Pitfalls6. Competency-based Pay ใชในการพิจารณาความดีความชอบใหคาตอบแทนเร็วเกินไปโดยที่โรงพยาบาลไมพรอม7. ประเมินCompetency เหมือนกับประเมินพฤติกรรมธรรมดา

• แนวคิด หลักการ วัตถุประสงคเกี่ยวกับ competency ที่ชัดเจน

ประเด็นสําคัญ เปาหมาย HA เกี่ยวกัการพัฒนาบุคลากร????

ระบบงานขององคกร, การกําหนดหนาที่รับผิดชอบ, ระบบประเมินและพัฒนาผลงานของบุคลากร, การบริหารคาตอบแทน, และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวของกับบุคลากรเกื้อหนุนใหบุคลากรและองคกรมีผลงานที่ดีมีการเรียนรูและปรับตัวเขากับการเปลี่ยนแปลง.Overall Req.Multiple Req.วางรูปแบบและจัดการระบบงานหนาที่รับผิดชอบทักษะความรวมมือความคิดริเริ่มการใหอํานาจตัดสินใจนวัตกรรมวัฒนธรรมองคกรสงเสริมความหลากหลายขอคิดเห็นวัฒนธรรมความคิดอานผลงานดีเรียนรูปรับตัวสื่อสาร/แลกเปลี่ยนความรู/ทักษะระบบประเมินและพัฒนาผลงานบุคลากรการประเมินและสื่อสารผลการประเมินการบริหารคาตอบแทนการยกยองชมเชย/รางวัล/แรงจูงใจกําหนดคุณสมบัติสรรหาความกาวหนาในสายงานการศึกษาทักษะความรูกําหนดหนาที่รับผิดชอบมอบหมายหนาที่วาจางธํารงรักษาสรางผูนําตรวจสอบ/ประเมินคุณสมบัติประเมินปรับปรุงก. การวางรูปแบบและจัดการระบบงานข. ระบบประเมินฯค. การจางงานความกาวหนา3123124I –5.1 ระบบงาน

ระบบการศึกษาฝกอบรมและแรงจูงใจขององคกรทําใหบุคลากรมีความรูทักษะและความสามารถที่จะสงเสริมใหองคกรบรรลุวัตถุประสงคและมีผลงานที่ดี.Overall Req.Multiple Req.ความรูทักษะความสามารถบรรลุวัตถุประสงคองคกรสรางผลงานที่ดีจัดการศึกษาอบรมกําหนดเนื้อหาความตองการขององคกรสงเสริมการใชความรู/ทักษะใหมๆประเมินผลการศึกษาอบรมจูงใจชวยเหลือพัฒนาตนเองใชศักยภาพเต็มที่การเรียนรูความกาวหนาบุคลากรใหมความหลากหลายจริยธรรมคุณภาพความปลอดภัยการสรางเสริมสุขภาพการพัฒนาผูนําขอมูลจากบุคลากรขอมูลจากหัวหนางานความรู/บทเรียนขององคกรการสรางเสริมสุขภาพOJT หองเรียนระยะไกล คอมพิวเตอรผลงานของบุคคลผลงานขององคกร312456ข. แรงจูงใจความกาวหนาก. การศึกษาฝกอบรมพัฒนาI –5.2 การเรียนรูและการสรางแรงจูงใจสําหรับบุคลากร

องคกรจัดใหมีสภาพแวดลอมในการทํางานและบรรยากาศที่สนับสนุนใหบุคลากรมีสุขภาพดีมีความผาสุกมีความพึงพอใจและมีแรงจูงใจในการทํางานOverall Req.Multiple Req.ที่ทํางานเอื้อตอสุขภาพ/ความปลอดภัยสุขภาพดีผาสุกพึงพอใจมีแรงจูงใจเตรียมพรอมตอภัยพิบัติ/ภาวะฉุกเฉินวิเคราะหปจจัยใหการดูแลประเมินปรับปรุงดูแลสุขภาพตนเองเปนแบบอยางพฤติกรรมปองกันความเสี่ยงจากการทํางานขอมูลสุขภาพปองกันภัย,การยศาสตรตัววัด, ปรับปรุงบริการ, สิทธิประโยชน, นโยบายความกาวหนา, อํานาจตัดสินใจ, ขอมูลขาวสาร, การสื่อสาร, ปริมาณงาน, คาตอบแทน, โอกาส ฯลฯสภาพแวดลอมบรรยากาศสภาพแวดลอมดีบรรยากาศดีเรียนรู ตัดสินใจ ปฏิบัติมีขอตกลงรวมกันTB, HBV, HIV, Sharp Inj, Lab Chemicals,Anesthetic Gas, Chemotherapeutic Agentดูแลเมื่อเจ็บปวย/สัมผัสเชื้อแรกเขาทํางานติดตามเปนระยะภูมิคุมกันโรคค. สุขภาพบุคลากรข. การดูแล/ความพึงพอใจก. สภาพแวดลอมในการทํางาน3124561231274I –5.3 ความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากร

กระบวนการบริการสุขภาพสําคัญไดรับการออกแบบควบคุมติดตามกํากับและปรับปรุงเพื่อใหตอบสนองความตองการและสรางคุณคาใหแกผูปวยผูรับผลงานและองคกรอยางมีประสิทธิผล.Overall Req.Multiple Req.กําหนดกระบวนการสําคัญการออกแบบความคาดหวัง/ขอกําหนดของกระบวนการผลงานที่ดีขึ้นผลลัพธสุขภาพดีขึ้นตอบสนองการเปลี่ยนแปลงผูประกอบวิชาชีพผูสงมอบ, คูพันธมิตรความปลอดภัย, กฎหมายขอมูลวิชาการ, มาตรฐานวิชาชีพผลลัพธที่ดีขึ้น, ประสิทธิภาพประสิทธิผลออกแบบกระบวนการนําไปปฏิบัติ/ควบคุมกํากับบริหารความคาดหวังและการมีสวนรวมใชKPI ติดตามประเมินปรับปรุงกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรูการปฏิบัติควบคุมปรับปรุงลดการตรวจสอบปองกันความผิดพลาดผปวย, ผูรับผลงานอื่นๆ5631274ก. กระบวนการบริการสุขภาพI –6.1 กระบวนการบริการสุขภาพ

กระบวนการสนับสนุนสําคัญไดรับการออกแบบควบคุมติดตามกํากับและปรับปรุงเพื่อใหตอบสนองความตองการและสรางคุณคาใหแกผูปวยผูรับผลงานและองคกรอยางมีประสิทธิผล. มีหลักประกันวาจะมีทรัพยากรทางการเงินเพียงพอและมึความตอเนื่องในการดําเนินการ.Overall Req.Multiple Req.กําหนดกระบวนการสําคัญความคาดหวัง/ขอกําหนดความราบรื่นและความตอเนื่องของกระบวนการบริการสุขภาพออกแบบกระบวนการนําไปปฏิบัติ/ควบคุมกํากับใชKPI ติดตามประเมินปรับปรุงกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรูลดการตรวจสอบปองกันความผิดพลาด5126ก. กระบวนการสนับสนุนทรัพยากรดานการเงินความตอเนื่องในภาวะฉุกเฉินข. การวางแผนดําเนินการ4123I –6.2 กระบวนการสนับสนุนและการวางแผนดําเนินงาน

ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาบุคลากรในภาพรวม• มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปฏิบัติงานทั้งในดานความรูทางเทคนิคและการบริการ, มีการทํางานรวมกันเพื่อใหเกิดการพัฒนาคุณภาพอยางตอเนื่อง

ผลลัพธที่คาดหวังบทบาทองคสําคัญ• มีแพทยที่มีความรู ทักษะ และจํานวนเหมาะสมกับภาระงาน, แพทยใหการดูแลอยางมีมาตรฐานและจริยธรรม• พยาบาลมีพยาบาลที่มีความรู ทักษะ และจํานวนเหมาะสมกับภาระงาน, มีการใหบริการพยาบาลอยางมีมาตรฐานและจริยธรรม

ผลลัพธที่คาดหวังเกี่ยวกับการมีสวนรวม• คุณภาพบริการทางการแพทยอยูในระดับที่ยอมรับไดหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น• คุณภาพบริการทางการพยาบาลอยูในระดับที่ยอมรับไดหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

Goal สุดทายของการพัฒนาคุณภาพระบบสุขภาพ (HA) ????

Goal สุดทายการพัฒนาคุณภาพ HAสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลคุณภาพและความปลอดภัยPATEINT SAFETY

• การใชระบบบริหารความเสี่ยง /วิธีการจัดการเชิงระบบ• ปจจัยหนึ่งที่สําคัญอีกคือ บุคลากรที่ตองมีความสามารถในการปฏิบัติหนาที่ตามวิชาชีพในความรับผิดชอบที่เหมาะสม ถูกตองไดมาตรฐาน และตระหนักในความปลอดภัยแกผูปวยเสมอระบบ/การปฎิบัติที่จะทําใหเกิดตาม goalสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

• สิ่งทาทายคือ- ทําอยางไรจึงจะไดบุคลากรที่มีความสามารถมาปฏิบัติงานในองคกร- ทําอยางไรจึงจะพัฒนาบุคลากรที่มีอยูใหมีความสามารถตามที่องคฺคาดหวังได เพราะ มนุษยยอมมีความผิดพลั้ง (To Error is Human)ระบบ/การปฎิบัติที่จะทําใหเกิดตาม goalสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

สาเหตุของเหตุการณไมพึงประสงค80% เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย แบงออกเปน 4 ประเภท1. ความผิดพลาดจากความรู (Knowledge-based errors)2. ความผิดพลาดจากกฎระเบียบ (Rule-based errors) 3. ความผิดพลาดจากความพลั้งเผลอ (Skill-based errors)4. ความผิดพลาดทางการปฏิบัติ (Technical errors)

• การประเมินศักยภาพของผูปฏิบัติงานในทุกจุดทุกระดับ วามีความรู และทักษะเหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบเพียงใด ( credential) เพื่อนําไปสูการพัฒนาความรูและทักษะเฉพาะตัวของผูปฏิบัติงานแตละคนGoal สุดทายการพัฒนาคุณภาพ HAสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลคุณภาพและความปลอดภัยPATEINT SAFETY

พฤติกรรมของบุคลากรที่มุงเนนความปลอดภัย• การแยกแยะ ( discriminating ) ความผิดพลาดออกจากความถูกตอง หรือแยกแยะขอมูลจริง( data) กับ ผลลวง (artefact)• การรับรู (recognizing) ตอสิ่งอันตรายที่เขามาใกล• การตรวจพบ ( detecting) ความเสี่ยง/ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

พฤติกรรมของบุคลากรที่มุงเนนความปลอดภัย• การตอบสนอง (reacting) อยางสุขุมรอบครอบตอการผิดพลาดที่กอตัวขึ้น• การบริหารจัดการ ( managing) กับความผิดพลาด• การแกไขใหพนจากสภาวะความผิดพลาดสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

สิ่งที่บุคลากรตองมี ????• ความรู ( knowledge) • ความเชี่ยวชาญ( expertise) • อื่นๆ- mental skill - และสวน hidden competency ( motivation , traits) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลทางออก (จากประสบการณ)

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจะเลือก model competency ???

British Approachสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล• จุดประสงค – ประเมินเพื่อใหประกาศนียบัตร รับรองวิทยฐานะของพนักงาน หรือบุคลากรผูนั้น• กระบวนการ – กําหนดมาตรฐานผลการปฏิบัติงานที่สามารถรับไดของงานและวิชาชีพนั้น• ขอบเขต - competency เปนการกําหนดเฉพาะงานและเปนไปตามวิชาชีพ

American Approachสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล• จุดประสงค – เพื่อพัฒนา competency ใหกับบุคลากร• กระบวนการ – พรรณนาพฤติกรรมที่เกงเพื่อกําหนดเปนcompetency• ขอบเขต - competency เปนการกําหนดเฉพาะแตกตางกันตามองคกร

Competency หาไดจาก• ปจจุบัน : อะไรที่ทําใหการทํางานออกมาเปนผลดีที่สุดโดเดนจากผลงานทั่วไป Best practice สิ่งที่ควรเปน : เทียบเคียงวาอะไรที่ทําใหคนอื่นทํางานแลวผลออกมาดีในการทํางานเดียวกันBenchmark• สิ่งที่กําลังเกิดขึ้นในอนาคต : อะไรที่เราจําเปนตองมีเพื่อรองรับการทํางานในอนาคตสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

ทักษะเชิงวิชาชีพที่สําคัญ• กระบวนการพยาบาล ; ใชเปนแนวทางการปฏิบัติงาน- การประเมิน /การระบุปญหา ความตองการผูปวย/ครอบครัว-การพยาบาลสอดคลองกับปญหา/ความตองการของผูปวย/ผูใชบริการและครอบครัวแตละรายสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

ทักษะเชิงวิชาชีพที่สําคัญ• กระบวนการพยาบาล ; ใชเปนแนวทางการปฏิบัติงาน (ตอ)-ใหขอเสนอแนะแกทีมงานในการวางแผนการพยาบาลและแกไขปญหาของผูปวย-ปรับปรุงวิธีการ/การบําบัดทางการพยาบาลใหเหมาะสมกับปญหา/ความตองการของผูปวยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

ทักษะเชิงวิชาชีพที่สําคัญ• การคาดการณลวงหนาเกี่ยวกับปญหาฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นกับผูปวย/ผูใชบริการและการรายงาน อาการไดทันเวลา• ทักษะการแกไขปญหาเฉพาะหนาและแกไขปญหาไดอยางถูกตองเหมาะสมกับเหตุการณสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

ทักษะเชิงวิชาชีพที่สําคัญ• มีทักษะในการใหการพยาบาล สามารถชวยเหลือเจาหนาที่ระดับต่ํากวาในกรณีที่ตองการใหการพยาบาลที่ซับซอน• ตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการไดเปนอยางดีมีเหตุมีผลสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

ทักษะเชิงวิชาชีพที่สําคัญ• มีทักษะในการใหความรูและใหการปรึกษา เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผูปวย/ผูใชบริการและครอบครัว• ประยุกตความรูทางวิทยาศาสตรมาใชในการปฏิบัติงานไดอยางมีเหตุผลสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลCore value & concept

Visionary LeadershipSystems PerspectiveAgilityValue on StaffIndividual CommitmentTeamworkEthic & Professional StandardLearningEmpowermentทิศทางนําผูรับผลคนทํางานการพัฒนาพาเรียนรูPatient / Customer FocusFocus on HealthCommunity ResponsibilityCreativity & InnovationManagement by FactCont. Process ImprovementFocus on Results Evidence- based Approach“ เห็นโอกาสในวิกฤติ เห็นในสิ่งที่คนอื่นไมเห็น รวมพลังทุกคนมารวมงาน ”“คนคือสินทรัพยที่นับวันยิ่งมีคาตองรักษามิใหเปนเหยื่อของระบบ”“ชวยคนไขใหพึ่งตนเองได ตามศักยภาพของตน”“ใหอํานาจการตัดสินใจอยูที่หนางานมากที่สุด”“การเรียนรูเกิดขึ้นไดทุกหนแหง จากทุกเรื่องราว”“มองความเปนทั้งหมดมองความเชื่อมโยง”“ยืดหยุน รวดเร็วในการตอบสนอง”“เรียบงาย ใหคุณคา อยายึดติด”“ใสหมวกสีขาวเอาขอมูลมาใช”“เปาหมายชัด วัดผลได”“ทํางานประจําใหดี”“มีอะไรใหคุยกัน”“ขยันทบทวน”“ลูกคาสําคัญที่สุด”“สุขภาพคือดุลยภาพ”“เสริมพลังชุมชน ”“หลักฐานชัด จัดเปนแนวทาง”“พัฒนากระบวนการไมหยุดนิ่ง ”คานิยมและแนวคิดหลัก(Core Values& Concepts)

นางสาวชฎารัตน์ ศรีเศษ รหัส 5050504607 ศูนย์ปากช่อง

การพัฒนาองค์การ นั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1.วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2.วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3.วัตถุประสงค์ขององค์การ

โครงการ “การศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วย กระบวนการ Benchmarking” มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการประเมินด้านการบริหารจัดการ และวิธีการที่เหมาะสมในการหาและแลกเปลี่ยน Best Practices ของสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยเฉพาะ ในด้านการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องมือ Benchmarking รวมทั้งสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนและ เรียนรู้ข้อมูลระหว่างองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการทำงาน Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการปรับปรุง ด้วยการเปรียบเทียบการบริหารจัดการหรือ กระบวนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ Best Practices และนำไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตน ดังนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินโครงการ ใน 3 คณะวิชา คือ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 6 แห่ง ในประเทศไทย ได้แก่ ม.มหิดล (ศิริราช และ รามาธิบดี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เชียงใหม่ และ สงขลานครินทร์ โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้

1. การเตรียมการด้านการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญและการเชิญชวนสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ

2. การดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย - การประเมินองค์กรตามเกณฑ์ Baldrige เพื่อให้ทราบข้อดี และข้อควรปรับปรุงขององค์กร - การแลกเปลี่ยน Best Practices และคัดเลือกสถาบันที่มี Best Practices โดดเด่น - การ Site Visit เพื่อเรียนรู้ Best Practices อย่างเป็นระบบ - การจัดทำรายงาน Site Visit และแผนปรับปรุงองค์กร (Action Plan) รวมทั้งการนำเสนอ แผนดังกล่าว

3. การสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ ตลอดการดำเนินโครงการ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงาน คือ การจัดสรร เวลาของผู้เข้าร่วมโครงการในการดำเนินงาน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าภาระงานของผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งมีมาก ทั้งด้านการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และอื่นๆ ส่งผลให้ต้องมีการจัดสรรเวลาอย่าง มีประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและ มีการแลกเปลี่ยน Best Practices อย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งมีการประเมินองค์กรอย่าง เป็นระบบ และสรุปข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพให้แก่สำ นักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. เพื่อความยั่งยืนขององค์การ

2. เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด

3. เพื่อสนับสนุนรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

นางอ้อมเดือน ทะยอมใหม่

ตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

การจัดการเทคโนโลยีต้องอาศัยหลักการในการจัดการเข้ามาใช้ในการบริหาร TQM (Total Quality Management) เป็นหลักการอย่างหนึ่ง เมื่อนำไปใช้จนได้คุณภาพก็สามารถนำเสนอเพื่อขอรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award (TQA) อันเป็นรางวัลระดับชาติ กรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ โรงแยกก๊าซ ปตท. ได้รับรางวัล TQA ในปี พ.ศ.2547 มีประเด็นที่น่าศึกษาติดตาม อันเป็นระดับ Best Practise นั่นเอง

เส้นทางรางวัลคุณภาพ TQA โรงแยกก๊าซ ปตท. พัฒนาคน เรียนรู้ตลอดเวลา

โครงการ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เป็นรางวัลอันทรงเกียรติซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นเลิศในการบริหารจัดการขององค์กรที่ทัดเทียมระดับมาตรฐานโลกนับจากปี 2545 ที่ได้มีการมอบรางวัลนี้

โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถือเป็นบริษัทแห่งที่ 3 ที่คว้ารางวัลแห่งความภาคภูมินี้ไปเชยชม

"ทรัพย์สินที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร คือ คน ดังนั้นปรัชญาในการพัฒนาองค์กรจึงเน้นไปที่เรื่องคนเป็นหลัก บริษัทใช้เวลาถึง 10 กว่าปีจะมาถึงตรงจุดนี้ เริ่มดูเรื่องคนตั้งแต่ปี 2547"หัวใจความสำเร็จ โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท.ฟังดูอาจจะธรรมดา แต่การปฏิบัตินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

"สุวนันท์ ชาติอุดมพันธ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ย้อนถึงเส้นทางการก้าวเดินสู่รางวัลคุณภาพว่า บริษัทจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ จากนั้นจึงหันสร้างระบบงานมุ่งให้บริษัทเป็นสากล หยิบมาตรฐานสากลที่มีอยู่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น ISO 9000 ระบบมาตรฐานต่างๆ เมื่อพัฒนาถึงตรงนี้ กำหนดจุดหมายปลายทางขององค์กรที่อยากจะไปให้ถึงเป็นกรอบวิสัยทัศน์ ที่สำคัญ ทำอย่างไรให้ทุกคนรู้ว่าสิ่งที่บริษัทวางไว้นั้นไม่ไกลเกินเอื้อมสิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อคือจะต้องกระตุ้นให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่าตัวเองกำลังแข่งขันอยู่ นั่นคือการสื่อสารให้พนักงานรู้ว่าวันนี้บริษัทอยู่ระดับไหนของประเทศ บริษัทอยู่ระดับไหนของภูมิภาค และต้องสร้างความรู้สึกนี้ให้ถึงพนักงานระดับล่างตรงนี้คือสิ่งที่ผู้บริหารต้องสื่อความให้ชัดเจนมากที่สุดและสิ่งที่พนักงานเฝ้ามองอีกประการหนึ่งคือ ทุกสายตาในบริษัทจะจับจ้องไปยังผู้บริหารว่า ในขณะที่ประกาศว่าบริษัทมีวิสัยทัศน์อย่างนี้ แล้วผู้บริหารเองทำอะไรบ้าง นั่นคือผู้บริหารจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร ทั้งเรื่องความมุ่งมั่น ความมานะพยายาม

"ปัจจุบันโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท.มีทั้งหมด 5 โรง มียอดจำหน่ายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย

จากการเก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทก็มีการพัฒนาและดูดีขึ้นเรื่อยๆ ผลประกอบการก็ดูดีขึ้น แต่การจะดูแต่ตัวเองคงไม่ได้ นั่นคือจุดริ่มต้นที่ต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จึงเริ่มมองหาเกณฑ์การประเมินที่เป็นมาตรฐาน

ปี 2545 ได้ทราบข่าวว่าภาครัฐมีการส่งเสริมเรื่องการตรวจประเมินบริษัทในระดับมาตรฐานโลก คือ TQA จึงสนใจเสนอตัวเข้ามา เพราะอยากตรวจสอบสุขภาพบริษัทว่าอยู่ในระดับไหน เพราะขณะนั้น ปตท.เองกำลังเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจมาสู่

การบริหารธุรกิจแบบเอกชน

เป็นความหนักใจ เป็นความท้าทายที่ทำให้ต้องรู้ตัวเองก่อนว่า ณ วันนี้เรายืนอยู่ ณ จุดไหน แล้วจะก้าวต่อไปอย่างไร"

เพียงปีแรกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง เดินเข้าสู่เส้นทางของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ผู้บริหารขององค์กรก็รู้ทันทีว่า องค์กรมีจุดอ่อนมากมาย

"สุวนันท์" บอกว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติใช้เกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัล 7 หมวด คือ การ นำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้าและการตลาด การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดการกระบวนการและผลลัพธ์ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัล เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้มาเกือบ 70 ปี

โดยองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA จะต้องมีผลการตรวจประเมิน 650 คะแนนขึ้นไป ส่วนองค์กรที่ได้คะแนนระหว่าง 351-650 คะแนน จากคะแนนเต็ม 1,000 จะได้รับรางวัล TQC

ในปีแรกบริษัทได้ไม่ถึง 350 ทำให้เห็นว่าบริษัทยังมีจุดอ่อนที่คณะกรรมการบ่งชี้หลายจุด

และรายงานการป้อนกลับนี่เองที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ โดยองค์กรจะให้ความสำคัญในเรื่องการรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน การควบคุมป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ มีการบริหารงานในรูปแบบคณะทำ งาน ทำให้การดำเนินงานเป็นที่ยอมรับและถูกนำไปปฏิบัติในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีประสิทธิภาพ

ทั้งผู้บริหารและพนักงานทุกระดับต่างมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบการบริหารจัดการตามแนวเกณฑ์รางวัลคุณภาพอย่างเป็นระบบ และมีการเปรียบเทียบการดำเนินงาน (benchmarking) กับหน่วยงานที่เป็นเลิศเพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ปี 2547 ก็มีการพัฒนาบริษัทให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ปี 2548 ก็ส่งประเมินอีกครั้ง คราวนี้เริ่มมองเห็นโอกาสมากขึ้นเรื่อยๆ จากคะแนน 350 เราก็พัฒนา ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการอุดจุดอ่อนของปีที่ผ่านๆ มา

จนกระทั่งปี 2549 ก็ได้ส่งแนวทางการบริหารจัดการของบริษัทให้คณะกรรมการได้ตรวจสอบในระบบการทำงานถึง 3 วันเต็ม ผลที่ออกมา คือ สิ่งที่พนักงานทุกคนได้ทุ่มเทร่วมกัน

วันนี้ทุกคนไปถึงจุดหมายปลายทางที่ได้เอื้อมไว้ แต่ยังไม่ใช่ที่สุดของการทำธุรกิจ เพราะว่าเกณฑ์ของการประเมินเป็นเรื่องของการบริหารจัดการธุรกิจเป็นระบบที่มีอยู่ เพียงแต่ว่าเครื่องมือในการบริหารจัดการตรงนี้ใครจะนำไปใช้ปฏิบัติให้ได้มากที่สุด ถ้าใครปฏิบัติได้ครบถ้วนมากที่สุด คือถ้าใครปฏิบัติได้ครบถ้วน คือได้เต็ม 100

แต่เกณฑ์คุณภาพแห่งชาติใช้เกณฑ์แค่ 65% ถือว่าเป็นการบริหารที่เป็นเลิศแล้ว ยังเหลืออีก 35% ที่จะปรับปรุงให้ดี และนี่คือสิ่งที่จะต้องทำ ต่อไป เพื่อให้การทำธุรกิจและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ถือหุ้นทั้งหมดได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่

"รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ นักลงทุนที่ถือหุ้นก็มีความเชื่อมั่นว่าเราจะทำธุรกิจเพื่อให้มีผลตอบแทนที่เหมาะสม ลูกค้าก็พึงพอใจ พนักงานองค์กรก็มีความสุขที่จะทำงานกับองค์กรแห่งนี้ แต่สำคัญกว่านั้นที่บริษัทต้องทำต่อไปคือ ประชาชนทั่วไปต้องได้รับการดูแลและการพัฒนาร่วมไปกับการทำธุรกิจ"

เหนือสิ่งอื่นใด "สุวนันท์" ย้ำว่า สิ่งที่จะยากกว่ารางวัล คือทำอย่างไรที่จะรักษาการจัดการเป็นเลิศให้คงอยู่กับองค์กรตลอดไป นี่คือภารกิจที่ยิ่งใหญ่ที่ต้องทำต่อไป และต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงานทุกคนในองค์กร

และเมื่อองค์กรแข็งแรงแล้วจะขยายผลอย่างไร ทำให้คนอื่นแข็งแรงเหมือนๆ กับเรา ภารกิจที่สอง คือการแชร์ความรู้ความสามารถให้องค์กรอื่นๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกองค์กรที่อยากเดินตามแนวทางนี้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างเต็มที่

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เรื่องการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร คณะกรรมการจะมีอยู่ในเกณฑ์การประเมินเหมือนกันว่าจะรักษาองค์ความรู้อย่างไรให้อยู่อย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาหลายองค์กรรุ่งโรจน์เพราะมีผู้บริหารที่เก่งอยู่ในองค์กร แต่เมื่อผู้บริหารคนนั้นถูกซื้อตัวไป องค์กรนั้นแทบล้มเพราะองค์ความรู้ไม่ได้อยู่ในองค์กร ตรงนี้บริษัทยังมีพื้นที่ที่จะพัฒนาเรื่ององค์ความรู้อีกมาก เพราะองค์กรนี้เป็นองค์กรที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

สำหรับองค์กรที่ได้รับรางวัล Thailand Quality Class (TQC) ในปี 2549 มี 2 บริษัท คือ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด

นางสาวพาขวัญ ฉัตรเงิน

โครงการ “การศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วย กระบวนการ Benchmarking” มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการประเมินด้านการบริหารจัดการ และวิธีการที่เหมาะสมในการหาและแลกเปลี่ยน Best Practices ของสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยเฉพาะ ในด้านการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องมือ Benchmarking รวมทั้งสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนและ เรียนรู้ข้อมูลระหว่างองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการทำงาน Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการปรับปรุง ด้วยการเปรียบเทียบการบริหารจัดการหรือ กระบวนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ Best Practices และนำไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตน ดังนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินโครงการ ใน 3 คณะวิชา คือ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 6 แห่ง ในประเทศไทย ได้แก่ ม.มหิดล (ศิริราช และ รามาธิบดี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เชียงใหม่ และ สงขลานครินทร์ โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้

1. การเตรียมการด้านการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญและการเชิญชวนสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ

2. การดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย - การประเมินองค์กรตามเกณฑ์ Baldrige เพื่อให้ทราบข้อดี และข้อควรปรับปรุงขององค์กร - การแลกเปลี่ยน Best Practices และคัดเลือกสถาบันที่มี Best Practices โดดเด่น - การ Site Visit เพื่อเรียนรู้ Best Practices อย่างเป็นระบบ - การจัดทำรายงาน Site Visit และแผนปรับปรุงองค์กร (Action Plan) รวมทั้งการนำเสนอ แผนดังกล่าว

3. การสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ ตลอดการดำเนินโครงการ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงาน คือ การจัดสรร เวลาของผู้เข้าร่วมโครงการในการดำเนินงาน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าภาระงานของผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งมีมาก ทั้งด้านการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และอื่นๆ ส่งผลให้ต้องมีการจัดสรรเวลาอย่าง มีประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและ มีการแลกเปลี่ยน Best Practices อย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งมีการประเมินองค์กรอย่าง เป็นระบบ และสรุปข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพให้แก่สำ นักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. เพื่อความยั่งยืนขององค์การ

2. เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด

3. เพื่อสนับสนุนรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

นางสาวพาขวัญ ฉัตรเงิน

ประโยชน์ที่องค์การจะได้รับจากการพัฒนาองค์การ

1. ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์การได้ชัดเจน

2. ได้รับความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ

3. ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์การ

4. เกิดการสื่อสารทั่วทั้งองค์การ

5. ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้ย่าง เหมาะสม

6. เป็นการวางแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน

7. สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

นางสาวชฎารัตน์ ศรีเศษ รหัส 5050504607 ศูนย์ปากช่อง

หน่วยงาน องค์กรใดที่มีการพัฒนาองค์การ องค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ ได้จัดทำแผนดำเนินการประจำปี 2551 ซึ่งรวบรวมแผนงาน / โครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะดำเนินการจริงในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ

ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนครอบคลุมการพัฒนาทุก ๆ ด้านสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ตลอดจนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลที่วางไว้โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน องค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระจึงได้จัดทำแผนดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูล แผนงาน / โครงการพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ ทุกหน่วยงานที่จะดำเนินการจริงในพื้นที่

2. เป็นเอกสารที่แสดงถึงเป้าหมาย รายละเอียด กิจกรรม งบประมาณ ระยะเวลาที่ชัดเจนและแสดงถึงการดำเนินงานจริง

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาตำบลและทราบถึงกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่

4. เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้องค์การบริหารส่วนตำบล สามารถดำเนินการพัฒนาได้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. เป็นมาตรการที่แสดงถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสามปี และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ขององค์การบริหารส่วนตำบล

6. เป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบในการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสามปี และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ขององค์การบริหารส่วนตำบล

นางสาวชฎารัตน์ ศรีเศษ รหัส 5050504607 ศูนย์ปากช่อง

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1.เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2.เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3.เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์ การทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ

1.ด้านองค์การ

2.ด้านผู้บริหารระดับสูง

ความสำเร็จขององค์การ

1.ด้านองค์การ

2.ด้านผู้บริหารระดับสูง

3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการพัฒนา

-การที่ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติด้านการพัฒนาองค์การโดยตรงได้ปฏิบัติการขั้นตอนการพัฒนาองค์การแต่ละรูปแบบได้ถูกต้องและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2.คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3.ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

4.เกิดการทำงานเป็นทีมสูง

5.สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดีขึ้น

6.การเปลี่ยนงาน การขาดงาน และการหนีงานลดลง

7.มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

แนวคิดการพัฒนาองค์การล้วนแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงในองค์การให้ขึ้นและได้รับประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงขณะเดียวกัน การพัฒนาองค์การยังมีข้อควรระวังที่ต้องคำนึง ดังนี้

1.ใช้เวลาและงบประมาณค่าใช้จ่ายสูงในการพัฒนา

2.เกิดการต่อต้านและไม่ร่วมมือ

3.ไม่ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

4.ไม่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดของคนบางคนได้

ตัวอย่างองค์การที่มีการพัฒนา

-บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ที่เคยมีชื่อย่อสำหรับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ว่า EGCOMP ได้ปรับภาพลักษณ์ใหม่และเปลี่ยนชื่อย่อสำหรับซื้อขายใหม่ว่า EGCO พร้อมชูคอนเซ็ปต์ Energy for Life เพื่อสร้างความชัดเจนและเป็นหนึ่งเดียวของบริษัทในเครือ

นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค กรรมการผู้จัดการใหญ่ EGCO กล่าวว่า “ในวาระครบรอบ 15 ปีของการดำเนินธุรกิจว่านับเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของกลุ่มธุรกิจ และในโอกาสพิเศษนี้ได้ปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่ให้มีความโดดเด่น ทันสมัย และมีความชัดเจนยิ่งขึ้น”

วัตถุประสงค์อีกประการ คือ เพื่อให้เกิดความแตกต่างของ EGCO กับบริษัทอื่นๆ ในธุรกิจเดียวกัน โดยดึงจุดแข็งของบริษัทในเครือทั้งหมดมาเสริมกันแบบ Synergy ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นอกจากนี้ ยังถือเป็นการปูรากฐานความเชื่อมั่น สร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับชุมชนและสังคมในระยะยาว ต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่เอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสังคมตลอดมา

สำหรับคอนเซ็ปต์ใหม่ในการปรับภาพลักษณ์ EGCO ได้เลือกใช้แนวคิด Energy for Life เป็นคำนิยามในการสะท้อนภาพลักษณ์ของบริษัท ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) แห่งแรกของไทย

โดย EGCO เป็น IPP รายเดียวที่ดำเนินงานครอบคลุมธุรกิจอย่างครบวงจรทั้งการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ตลอดจนให้บริการด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษาทั้งในและต่างประเทศ โดยมีบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นจุดแข็งของบริษัทที่ต้องการประชาสัมพันธ์ผ่านการ Re-branding ในครั้งนี้

การปรับภาพลักษณ์ในครั้งนี้ EGCO ยังได้ปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของกลุ่มธุรกิจร่วมกัน เนื่องจากเดิมโลโก้ของบริษัทในเครือมีความแตกต่างกันทำให้ยากต่อการจดจำและเชื่อโยงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจในเครือ

อีกทั้ง บริษัทตั้งได้ขอเปลี่ยนชื่อย่อสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์จาก EGCOMP มาเป็น EGCO เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจได้อย่างชัดเจนอีกด้วย จึงถือว่าการปรับภาพลักษณ์นี้ ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งใหญ่ของบริษัทเลยทีเดียว ซึ่ง EGCO ได้ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท สำหรับการ Re-branding ในครั้งนี้

“เอ็กโก กรุ๊ป ได้ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท สำหรับการปรับภาพลักษณ์ในครั้งนี้ โดยแบ่งการสื่อสารออกเป็น 2 ส่วน คือ งานสื่อสารภายใน ซึ่งได้มีการจัดตั้ง Brand Ambassador ประกอบด้วยตัวแทนจากทุกบริษัทในเครือ เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจถึงที่มาของการปรับภาพลักษณ์ใหม่ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับพนักงาน และงานสื่อสารภายนอก โดยจะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนและนักลงทุนได้ทราบว่า เอ็กโก กรุ๊ป เป็นใคร ทำอะไร รวมทั้งเราจะสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ จะจัดกิจกรรมเพื่อสังคมจำนวน 15 โครงการทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรบริเวณใกล้โรงไฟฟ้า เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ 80 พรรษา องค์ราชัน” วิศิษฎ์ กล่าว

จากการปรับภาพลักษณ์ในครั้งนี้ ถือเป็นการปรับโฉมหน้าครั้งใหญ่ เพื่อเน้นย้ำถึงความเป็น Energy for Life หรือผู้ผลิตพลังงานเพื่อชีวิต ซึ่งน่าจะทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงความเป็นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ใกล้ชิดประชาชนและสร้างเสริมสิ่งดีๆ ในชีวิตของประชากรไทยทุกคน

นางสาวอมรทิพย์ คงวง 5050504623

ความสำคัญของการพัฒนาองค์การ

-1. การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใหญ่

2. มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะระบบย่อยบางระบบเท่านั้น องค์การจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ด้านวัตถุประสงค์, ด้านสังคม-มนุษย์, ด้านเทคโนโลยี, ด้านงาน, ด้านโครงการ และด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

3. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา

5. การพัฒนาองค์การ มุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ เพราะ

5.1ความสำเร็จขององค์การ สืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

5.2วัฒนธรรมของทีมงาน มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

5.3การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่ม ตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม จะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

นางสาวฉัตรติยา ไชยพยวน 5050504606

การพัฒนาองค์การนั้นมิได้หมายถึงองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นที่ควรพัฒนา ส่วนองค์การใดที่ควมเจริญอยู่แล้ว ก็ควรพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนพัฒนาดีแล้วหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลักตลอดเวลา ฉะนั้นผู้บริหารที่สนใจพัฒนาองค์การของตนควรอาศัยหลักการดังนี้

1.กาำรกำหนดเป้าหมาย (Goal Seting ) ในองค์การควรชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับการเผชิญหน้าและอภิปรายร่วมกันของผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างตรงไปตรงมา

2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relaations)โดยอาศัยความเข้าใจร่วมกันว่าความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน

3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations)สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การจะเป็นผลพลอยได้อยู่ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี โอ ดี ( O D) คือ ทั้งปัญหาและความรู้สึกที่ดีต่อกันของคนในองค์การควรได้เปิดเผยซึ่งกันและกัน ทุกคนเริ่มพอใจจะทำงานรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าของการทำงานร่วมกัน

4.การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสถานการณ์ หมายถึง ให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force ) ภายในระบบนั้นเอง

5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการเชื่อโยงคนในหน่วยงานเข้าด้วยกันให้มากที่สุด

จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์การที่อ่อนแอกับองค์การทีแข็งแรงหรือองค์การที่ที่มีสุขภาพดีนั้น สังเกตได้จากค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การ ซึ่งค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานของคนและบรรยากาศของการทำงานร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากสำหรับคนในองค์การนั้น แต่บุคคลภายนอกหรือที่เรียกว่า ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ (AD) จะได้เห็นดีกว่าเพราะมีทัศนะเป็นกลาง กล้าเสนอปัญหาในส่วนที่องค์การไม่กล้าพูด สามารถสอดแทรกวิธีการ OD ได้ชัดเจนและเหมาะสมข้อสำคัญคือ คนในองค์การยอมรับบุคคลภายนอกมากกว่าที่ปรึกษา OD ภายในองค์การเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนกิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาธรรมดา คือ จะต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบตามขั้นตอนและพัฒนาการเปลียนแปลงในระบบองค์การทุกระบบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยอนุระบบ 4 ระบบ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญดังนี้

1.งาน (Tasks)

2.โครงสร้าง (Structure)

3.คน (People).

4.วิธีการ (Technology)

นางสาวฉัตรติยา ไชยพยวน 5050504606

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

นางสาวฉัตรติยา ไชยพยวน 5050504606

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่เรียกว่า O.D. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์กรเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์กร

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์กร องค์กรมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิดมีความเจริญเติบโตมีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานในการพัฒนาองค์กร

นางสาวดวงใจ วาปีกัง 5050504608

องค์การเกิดขึ้นและคงอยู่ได้เพราะสมาชิกขององค์การเป็นผู้นำให้เกิดและเป็น ผู้รักษาไว้สมาชิกเข้าร่วมองค์การเพราะมีวัตถุประสงค์ และร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การขึ้นมาเป็นวัตถุประสงร่วม องค์การจึงมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน จะแตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ของสมาชิกบ้างแต่ก็พัฒนาขึ้นมาจากวัตถุประสงค์ของสมาชิกนั่นเอง วัตถุประสงค์ของสมาชิกบ้างทีก็หันเหไปจากขององค์การจนองค์การไม่สามารถตอบสนองได้ กรณีเช่นนี้สมาชิกผู้นั้นก็อาจถอนตัวออกไปจากองค์การ ไปแสวงหาองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงของตน วัตถุประสงค์ขององค์การเมื่อได้กำหนดขึ้นมาแล้วสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม

ความสำคัญของวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การมีความสำคัญดังนี้คือ

1.เป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติงานขององค์การ

2.เป็นแนวในการประสานงาน

3.เป็นเครื่องบอกทางเดินขององค์การ

ลักษณะของวัตถุประสงค์ขององค์การ

1.มีลำดับขั้นและประกอบกันเป็นโครงสร้าง

2.สอดคล้องสัมพันธ์กันกับวัตถุประสงค์ของสมาชิก

3.มีผลกระทบต่อความสำเร็จ

4.มีลำดับขั้นคือมีวัตถุประสงค์ใหญ่ และวัตถุประสงค์ย่อยในองค์การ

5.วัตถุประสงย่อยจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใหญ่

6.สมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น

7.ยืดหยุ่นได้

8.แจ่มแจ้งชัดเจนเป็นรูปธรรม

นางสาวฉัตรติยา ไชยพยวน 5050504606

กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

- เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ

- เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

- เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

- เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

- มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

- ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อม ๆ กัน

- ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

- มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

- การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

- ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม

- การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

ประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

1. ผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มาก

นางสาวอาภาพร สีขาว 500504640

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ(OD Process) ประกอบด้วย

1. การยอมรับปัญหา

2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

3. การวิเคราะห์ปัญหา

4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ

5. การวางแผนดำเนินงาน

6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

7. การประเมินผล

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

นางสาววรรณ์วิสา วงค็ผา 5050504636

การพัฒนาองค์การ คือ กาทำให้องค์กรมีความเติบโตทั้งในด้านภายในเเละในส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านอื่นๆ เช่น การฝึกอบรมพนักงานในด้านต่างๆให้มีความรู้ทักษะเเละความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อนำความรุ้ที่ได้มาพัฒนาองค์การให้เกิดความเจริญเติบโตก้าวหน้าทั้งในปัจจุบันเเละอนาคตต่อไป

ทำไมต้องพัฒนาองค์การ

เหตุผลที่ต้องพัฒนาองค์การคือ

1.เพื่อให้องค์การสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงต่อสภาวะการเเข่งขันที่เเต่ละองค์การ

มีการเจริญเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

2.เป็นการเพิ่มศักยภาพของคนในองค์การให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นซึ่งจะ

ทำให้ก่อเกิดผลประโยชน์ต่อองค์การ

3.ทำให้เกิดต้นทุนตำในการทำธุรกิจ

4.ทำให้พนักงานในองค์การมีความเชื่อมั่นมีผลกำลังใจที่ดีทำให้เกิดความจงรัก

ภักดีต่อองค์การ

ใครได้ผลประโยชน์จากการพัฒนาองค์การ

ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาองค์การคือ

1.พนักงาน

เนื่องจากพนักงานได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นจึงทำ

ให้พนักงานมีศักยภาพเพิ่มขึ้นรวมทั้งทำให้พนักงานได้เกิดความรู้ความคิดในการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น

2.องค์การ

จากการที่องค์การได้มีการพัฒนาในด้านบุคลากรทำให้องค์การได้รับประโยชน์จากการที่พนักงานมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นดังนั้นองค์การก้จะถูกพัฒนาให้เติบโตขึ้นโดยตัของพนักงานเอง

3.สังคม

ทำสังคมมีความเจริญเติบโตพนักงานมีความรู้ความสามารถ ธุรกิจสามารถเเข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงทำให้สังคมมีความเเข็งเเกร่งเเละพัฒนาไปในสิ่งที่ดี

4.เศรษฐกิจ

ทำให้เศรษฐกิจเกิดการกระตุ้นทำให้เกิดการสร้างรายได้ทำให้ประเทศชาติมรายได้ที่เพิ่มขึ้นจึงทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ

นายสุทัศน์ โพธิ์เงิน รหัส 5050504629

คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง

คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องมีความรู้ ความรู้ความสามารถในการดำเนินการพัฒนาจะใช้วิธีการว่างแผน การปรับปรุง การติดต่อสื่อสาร กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มอย่างไรเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์การและประสบผลสำเร็จ

คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ด้าน ดังนี้.-

1.ทักษะในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล

- ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องสามารถสื่อสารความเข้าใจและกระตุ้นการสื่อสารแบบสองทางให้เกิดขึ้นในองค์การ โดยเขาจะต้องมีความสามารถในการชักจูง และเกลี้ยกล่อมให้ผู้อื่นคล้อยตาม ตลอดจนต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

2.ความสามารถในการประมวล วิเคราะห์และแก้ปัญหา

- ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความรู้ทั้งในด้านทฤษฎี และทักษะปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลงองค์การ ประการสำคัญเขาจะต้องสามารถนำความรู้ไปใช้กับสถานการณ์จริง และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์

- สร้างสภาพแวดล้อมในการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเลือกสร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และพัฒนาองค์การที่เหมาะสม ไม่ถือความเป็นตัวเองจนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่นเพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ จากสมาชิกทุกคนที่มีส่วนได้เสียจากการเปลี่ยนแปลง

4.ความสามารถในการรับรู้สถานการและความรู้สึกของผู้อื่น

- การพัฒนาองค์การจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างกัน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงสมควรจะรับรู้และเข้าใจถึงความต้องการ และความรู้สึกของบุคคลอื่น เพื่อจะเสนอนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

องค์กรใดๆที่จะประสบผลสำเร็จได้นั้นต้องมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การดังนี้

1.การยอมรับปัญหาว่าองค์กรมีปัญหาอะไร

2.การเข้ามาขอที่ปรึกษา การพัฒนาองค์กร

3.การวิเคราะห์ปัญหา

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

5.การวางแผนดำเนินงาน วางแนวทางแก้ปัญหา

6.การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์กร

7.การประเมินผลการดำเนินงาน

เงื่อนไขความสำเร็จดังนี้

1.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็น เป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

2.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจ เข้ามามีส่วนร่วม

4.การเปลี่ยนแปลงต้องมีการสัมพันธ์กับนโยบายเป้าหมายองค์กร

5.การพัฒนาองค์กรต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม

6.เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

7.มุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมาก กว่ารายบุคคล

นางสาวฉัตร์ติยา ไชยพยวน 5050504606

13. นายอภิเชษฐ ภาษี

เมื่อ อา. 01 มิ.ย. 2551 @ 09:28

679797 [ลบ]

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

1. การวิเคราะห์หาความจำเป็น

เป็นการสำรวจหาข้อมูล ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดภายในองค์กร เพื่อทราบข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องทำการพัฒนาเรื่องใด

2. การรวบรวมข้อมูลและจัดลำดับความจำเป็น

หลังจากที่ได้ข้อมูลมาจะเป็นการรวบรวม การจัดหมวดหมู่และจัดเรียงลำดับความสำคัญ

3. กำหนดเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนา

เมื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาแล้วจะมีการกำหนดวางแผนกลยุทธ์เพื่อหาวิธีการพัฒนาให้ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

4. ดำเนินตามแผนปฏิบัติการ

ขั้นตอนนี้เป็นการนำแผนกลยุทธ์มาปฏิบัติโดยลงมือปฏิบัติจริงและใช้เครื่องมือสอดแทรกให้เข้ากับองค์การ

5. การประเมินและสรุปผลการพัฒนา

ตรวจสอบและชี้วัดได้ว่าการพัฒนาองค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่

เงื่อนไขความสำเร็จดังนี้

1.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็น เป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

2.การพัฒนาองค์กรจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจ เข้ามามีส่วนร่วม

4.การเปลี่ยนแปลงต้องมีการสัมพันธ์กับนโยบายเป้าหมายองค์กร

5.การพัฒนาองค์กรต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม

6.เทคนิคการพัฒนาองค์กรที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม

7.มุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมาก กว่ารายบุคคล

นายอภิเชษฐ ภาษี 5050504630

14. ไม่แสดงตน

เมื่อ อา. 01 มิ.ย. 2551 @ 11:29

679983 [ลบ]

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

เงื่อนไขความสำเร็จ

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นเป็นการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ มิใช่มองแต่ระบบย่อยใดระบบย่อยหนึ่งเท่านั้น

• การพัฒนาองค์การจะต้องเป็นความพยายามระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

• ผู้บริหารระดับสูงต้องรับทราบ รับรู้ เต็มใจเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนงานจนถึงขั้นการลงมือปฏิบัติงานและชั้นวัดผลประเมินผล

• การเปลี่ยนแปลงต้องมีความสัมพันธ์กับนโยบาย เป้าหมายขององค์การ

• การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม

• เทคนิคการพัฒนาองค์การที่นำมาใช้ควรเสริมด้วยประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในองค์ด้วย

• มุ่งพัฒนาทีมงาน เน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่ารายบุคคล

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การ

อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูงการพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

นายจิระศักดิ์ หวังปรุงกลาง 5050504626

15. สาวิตรี อุ่นแท่น 5050504620 (ศูนย์ปากช่อง)

เมื่อ จ. 02 มิ.ย. 2551 @ 11:51

681314 [ลบ]

องค์กรจะพัฒนาได้สำเร็จจะต้องอาศัยเทคนิคในการพัฒนาจึงจะประสบผลสำเร็จ

เทคนิคการพัฒนาองค์การหรือที่เรียกกันว่าเครื่องมือสอดแทรกนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่าง โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล

1.1 การวางแผนชีวิตและอาชีพ

1.2 การวิเคราะห์บทบาท

1.3 การทำให้งานมีความหมาย

1.4 การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น

1.5 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ

1.6 การพัฒนาแบบของผู้บริหาร

2. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล

2.1 การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน

2.2 การวิเคราะห์พฤติกรรม

2.3 การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม

3. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม

3.1 การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ

3.2 การพัฒนาทีมงาน

3.3 การพัฒนาคุณภาพงาน

3.4 การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์

3.5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

4. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม

4.1 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม

4.2 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด

4.3 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป

5. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ

5.1 เทคนิคการพัฒนาโครงสร้างขององค์การ

5.1.1 การออกแบบโครงสร้างขององค์การ

5.1.2 การออกแบบงาน

5.1.3 การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

5.1.4 การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน

5.2 เทคนิคการพัฒนาพฤติกรรมและกระบวนการทำงาน

5.2.1 การประชุมปรึกษาหารือเพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

5.2.2 การพัฒนาองค์การแบบกริดขั้นที่ 4, 5 และ 6

5.2.3 การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด จะเป็นเครื่องมือสอดแทรกที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในองค์การต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้เครื่องมือสอดแทรก เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การให้ดีนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจความหมายของการพัฒนาองค์การอีกอย่างหนึ่ง คือ การทำหรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์การ เช่น "การฝึกอบรม" เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่คาดว่าจะมีผลทำให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นผลการพัฒนาความรู้ ความชำนาญ และทัศนคติ จะนำไปเสริมสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์การ

ดังนั้นคำว่า "เครื่องมือ" ในที่นี้ก็คือ การเข้าช่วยเหลือของผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในระบบสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย และกลุ่มในแนวความคิดของการพัฒนาองค์การ

แนวความคิดเกี่ยวกับเครื่องมือ ที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงควรจะยึดถือ มีหลักสำคัญ 3 ประการด้วยกันคือ

1.) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ และปัญหาที่ค้นพบให้แก่ผู้รับบริการอย่าง เปิดเผย และข้อมูลนั้นควรจะเป็นตัวแทนของระบบองค์การทั้งหมดในส่วนรวม มิใช่เฉพาะคนใดคนหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การเท่านั้น

2.) ผู้รับบริการจะต้องมีสิทธิเลือกทางเลือกอย่างอิสระ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้รับบริการไม่ควรจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3.) ผู้รับบริการจะต้องมีความรับผิดชอบผูกพันทางใจสูง หากเราพิจารณาถึงการสร้างบ้าน เครื่องมือหรือเทคนิคที่ใช้ก็จะมีหลักการอยู่ว่า จะสร้างอย่างไรจึงไม่ทำให้บ้านทรุด น้ำหนักของพื้นบนของบ้านจึงจะทานได้ เหล็กควรจะเป็นกี่หุน ตอกเข็มลึกเท่าใด ต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นเทคนิคในการสร้างบ้าน จะต้องทำความเข้าใจก่อนลงมือสร้าง ในด้านการพัฒนาองค์การก็เช่นกัน จำเป็นต้องศึกษาก่อนว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจอยู่ในองค์การนั้น อำนาจนั้นได้มาอย่างไร ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจที่ผ่าน ๆ มา รวมทั้งระบบการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องศึกษาให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาองค์การว่าควรจะเริ่มที่ใด? ควรจะพัฒนาต่อไปอย่างไร และควรจะมีวิธีการเช่นไรบ้าง เป็นต้น

16. น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

เมื่อ จ. 02 มิ.ย. 2551 @ 12:42

681404 [ลบ]

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ -ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ

ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน และเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ ดังนี้

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การเป้าหมาย

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับองค์การหน่วยเหนือขององค์การเป้าหมาย

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

องค์กรตัวอย่าง

กรรมการผู้จัดการ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ไทย) ธุรกิจไอทีเป็นธุรกิจที่พัฒนาและเติบโตค่อนข้างเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจไอทีต้องพัฒนาตามอย่างรวดเร็ว

บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด หรือที่รู้จักกันในนามของ HP เป็นบริษัทหนึ่งที่ทำธุรกิจไอทีและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวางทั้งในระดับองค์กรและกลุ่มผู้บริโภค ความสำเร็จของ HP นี้ ผู้บริหารอย่าง "คุณสรรพัชญ โสภณ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่าไม่ได้มาจากตัวผู้บริหารเพียงคนเดียว หากแต่มาจากทีมงาน HP ทั้งองค์กรที่ช่วยกันผลักดันจนทำให้ HP ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับจนถึงทุกวันนี้

แม้ความสำเร็จจะมาจากทีมงาน แต่ผู้นำที่ดีย่อมทำให้องค์กะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก นอกจากผู้บริหาร HP แล้ว "คุณสรรพัชญ" ยังเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจไอที และยังเคยดำรงตำแหน่งคณะผู้บริหารในหลายองค์กร รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทยด้วย เรียกว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในวงการไอทีมาโดยตลอด แต่กว่าจะมาเป็นผู้นำระดับแนวหน้าได้นั้น "คุณสรรพัชญ" ใช้หลักการบริหารแบบชาวสวน ที่ดูแลพนักงานแบบต้นไม้ เพื่อให้ผลิดอกออกผลให้มากที่สุด

"การบริหารองค์กรก็เหมือนเราเป็นชาวสวน พนักงานเป็นต้นไม้ หน้าที่ของเราคือจะทำอย่างไรให้ทุกต้นมีโอกาสได้เจอแสงแดดเท่ากัน รดน้ำเท่าเทียมกัน ให้ปุ๋ยเท่าเทียมกัน ดูแลเรื่องของแมลงต่าง ๆ นั่นคือหน้าที่เรา ถ้าสวนเราใหญ่โต สวยงาม ออก ดอก ออกผลเยอะ ก็มีความสุข ต้นไหนที่มีกาฝากเยอะเราก็ตัดทิ้ง เพื่อไม่ให้รบกวนต้นอื่น นั่นเป็นวิธีการที่ผมนำมาใช้ในการบริหารองค์กร คือให้โอกาสพนักงานเติบโตในองค์กรของเรา ให้เขาแสดงความสามารถออกมาเต็มที่ นั่นคือความแข็งแรงขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่เราทำอยู่เป็นประจำ เหมือนเราอยู่บ้าน เป็นบ้านที่น่าอยู่ มีการปฏิบัติต่อกันที่ดี คนก็อยากอยู่ในบ้าน บ้านก็มีความสุข ร่มรื่น องค์กรก็เช่นเดียวกัน เราต้องดูแลเขาดี ให้โอกาสเขา เหมือนที่เคยทำในอดีต ถ้าบอกว่าองค์กรต้องการให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ ก็เปิดเวทีให้เขาแสดงความคิดเห็น นั่นคือวัฒนธรรมองค์กร เพราะฉะนั้น HP เมืองไทย วัฒนธรรมอาจจะไม่เหมือนกับ HP ประเทศอื่น เพราะการทำงานแตกต่างกัน"

"หน้าที่หลักในการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ คือทำอย่างไรจะทำให้องค์กรที่เรารับจ้างเข้ามาบริหารเติบโตก้าวหน้า อีกอย่างเรื่องของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญมาก สินค้าจะไม่ดีเลยถ้าคนไม่ดี จะทำอย่างไรที่จะให้คนเติบโตก้าวหน้าไปกับเรา ให้องค์กรเป็นที่อยากทำงานของคนข้างนอก"

นอกจากตัวผู้นำที่ทำหน้าที่ผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จแล้ว อีกภาระหนึ่งนั่นคือการดูแลบุคลากรในองค์กร "คนในองค์กรจะเติบโตมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์ว่าจะเก่งหรือไม่เก่ง ต้องให้ทุกคนมีโอกาสได้ในสิ่งที่เท่าเทียมกัน ต้นไม้ต้นไหนไม่ดีมีกาฝากขึ้นมาก็ต้องตัดทิ้งและเปลี่ยนแปลง คนที่ดีก็ต้องให้เติบโตพัฒนาต่อไป

การดูแลที่ดีที่สุดคือการให้ข้อมูล ให้ความรู้ให้มากที่สุด ทุกคนต้องเรียนรู้ได้มากกว่าแต่ก่อน เพราะเราแข่งขันกันเยอะมาก ที่ HP มีเครื่องมือต่าง ๆ ให้ได้ศึกษามากมาย มอบหมายงานให้เหมาะกับคน ให้ต่างคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อเรียนรู้จากการทำงาน"

"ทุกองค์กรให้ความสำคัญเรื่องคน คนยิ่งให้โอกาสได้ใช้ความรู้มากเท่าไรก็ยิ่งเก่งมากขึ้นเท่านั้น หลักการคือให้แสดงความสามารถของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่องค์กรต้องยอมรับในความสามารถของเขาก่อน ที่ HP จะให้โอกาสพนักงานค่อนข้างมาก ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงผู้บริหารทั้งนั้น ทุกสัปดาห์จะมีการพบปะกับพนักงานทุกคน ทั้งช่าง พนักงาน และตำแหน่งอื่น ๆ เพื่อให้พูดคุยแสดงความคิดเห็น ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกัน

"ผมได้ไอเดียมากมายจากการพบกับพนักงาน พยายามจะจัดให้มีการพูดคุยกันแบบนี้ทุกสัปดาห์ ที่ผ่านมาก็ทำมา 1 ปีกว่าแล้ว ที่สำคัญการดึงไอเดียมาใช้ทำให้ทำงานได้ตรงและคล่องตัวมากขึ้น"

"เรื่องการทำงานเป็นทีมถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด การทำงานคนเดียวไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ต้องทำกันเป็นทีม แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน เพราะบางคนชอบเก่งคนเดียว และคนที่เก่งมาก ๆ ส่วนใหญ่จะทำงานเป็นทีมไม่ค่อยได้ จึงต้องฝึกให้แสดงความคิดเห็นและความสามารถร่วมกัน แล้วให้รางวัลเป็นทีม เป็นการสร้างบรรยากาศ ในการทำงานร่วมกัน คนเก่งคนเดียวทำงานไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อให้องค์กรเติบโตไปข้างหน้าได้"

แม้ว่าจะทำงานได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือปัญหา ยิ่งเจอปัญหาเร็ว เท่าไรก็ยิ่งประสบความสำเร็จได้เร็วเท่านั้น "จุดแข็งของ HP คือเป็นบริษัทไอทีเซอร์วิสที่มีสินค้าครบวงจร แต่ก็เป็นองค์กรใหญ่ที่จะต้องทำให้คนในองค์กรเดินไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการจัดบ้านให้เข้าที่ทุกอย่างไปได้ดีเกินคาด เพราะปัญหาที่คิดว่าจะเยอะก็ไม่เยอะอย่างที่คิด สำหรับปัญหานั้นถือว่าเป็นเรื่องปรกติของการทำงาน เพราะหน้าที่ของผมคือต้องแก้ปัญหา ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่มีงานทำ"

"ผมชอบเจอปัญหา และชอบแก้ปัญหา พอมีการพูดคุยกันเป็นประจำทุกอาทิตย์ ทำให้ผมได้ไอเดียจากพนักงานมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทุกคนจะช่วยกันคิด วิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสีย แล้วตัดสินใจแก้ปัญหา ที่ผ่านมามีการแข่งขันกันตลอดเวลา มีคนที่อยู่ได้และอยู่ไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงตัวเองให้ดีที่สุด นั่นคือสิ่งที่เราจะอยู่รอดได้ จะทำอย่างไรให้คนมีความเข้าใจ ในสินค้าให้ดี เข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ถ่องแท้ ให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุดจากสินค้าของเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นได้เขาต้องซื้อเรา เสนอสินค้าที่เหมาะสม และบริการที่เหมาะสม ในราคาที่ยุติธรรม"

ทุกวันนี้แม้จะยังบอกไม่ได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยตอกย้ำในเรื่องนี้คือความเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ชาวสวนอย่าง "คุณสรรพัชญ" ได้ปลูกไว้

"อย่างที่บอกว่าผมเป็นชาวสวนคนหนึ่ง ถ้าต้นไม้ที่ผมปลูกเติบโตขึ้นก็ถือว่าผมประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมาผมก็มีลูกน้องหลายคนที่ทุกวันนี้กลายเป็นผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ มากมาย ถือว่าผมมีส่วนร่วมในการผลักดันความสำเร็จของคนอื่น ๆ ตรงนี้ทำให้รู้สึกว่ามีความสุขที่เห็นคนเติบโตในหน้าที่การงาน"

"การที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่พื้นฐานคือต้องเป็นคนที่ทำงานหนัก ทำงานเป็น ทำงานร่วมกัน คนเก่งคนเดียวทำงานไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อทีม หน้าที่ของผมคือการทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกน้องเอาความรู้ ความสามารถ ออกมาใช้ให้ได้มากที่สุด ยิ่งมากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องเปิดโอกาสให้แก่พนักงานทุกคน ผู้บริหารจะต้องเป็นคนที่ฟังมากกว่าพูด ไม่ใช่พูดอย่างคิดอย่าง และทำอีกอย่าง แต่ต้องเป็นคนพูดในสิ่งที่คิด ทำในสิ่งที่พูด พนักงานก็จะเกิดความชัดเจนและเข้าใจว่าจะต้องทำงานกันอย่างไร"

"ที่สำคัญคือต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว เราเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ต้องยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คู่แข่งเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ก็คงอยู่ไม่ได้ ต้องปรับตัวและคิดว่าความต้องการใหม่ ๆ คืออะไร แล้วตัวเราเองคิดอย่างไร"

"คนเรามีตัวเลือกในการทำงานหลายอย่าง ผมเองเลือกที่จะเป็นลูกจ้าง หรือบางคนอาจเลือกเป็นเจ้าของกิจการก็ได้ ผมเป็นลูกจ้างทำงานมากว่า 30 ปี ผมคิดเสมอว่าตัวเองเป็นเจ้าของกิจการ ต้องคิดว่าเราทำงานเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร ความเป็นมืออาชีพของเราจะช่วยพัฒนาองค์กร ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรเติบโตและพัฒนาต่อไปได้ ถ้าคิดได้แบบนี้ก็สามารถจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน" คุณสรรพัชญ กล่าวทิ้งท้าย

- ประโยชน์ของการพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย ลากิจ ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง

17. จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

เมื่อ จ. 02 มิ.ย. 2551 @ 15:21

681626 [ลบ]

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

18. จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

เมื่อ จ. 02 มิ.ย. 2551 @ 15:32

681637 [ลบ]

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใหญ่

2. มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะระบบย่อยบางระบบเท่านั้น องค์การจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ด้านวัตถุประสงค์, ด้านสังคม-มนุษย์, ด้านเทคโนโลยี, ด้านงาน, ด้านโครงการ และด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

3. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ

4. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา

5. การพัฒนาองค์การ มุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ เพราะ

5.1ความสำเร็จขององค์การ สืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

5.2วัฒนธรรมของทีมงาน มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

5.3การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่ม ตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม จะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

19. จีราพร โคตรทองทิพย์ รหัส 5050504605 (ศูนย์ปากช่อง)

เมื่อ จ. 02 มิ.ย. 2551 @ 15:38

681642 [ลบ]

การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อน แล้วต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

2. การสร้างทีมงาน

ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

6. คู่แข่งขันรายใหม่

องค์การประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงอย่างสูงเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าคู่แข่ง บริษัทมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพของสินค้าสูงและได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีคู่แข่งขันจากต่างประเทศได้รุกเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด ด้วยคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่าและราคาต่ำกว่า ผู้บริหารขององค์การไม่รู้ว่าจะตอบโต้การคุกคามฐานะทางตลาดของพวกเขาอย่างไร นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

7. การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของผู้บริหาร

เทคนิคการพัฒนาผู้บริหารขององค์การขนาดใหญ่ อย่างหนึ่งคือ การโยกย้ายผู้บริหารวัยหนุ่มไปยังบริษัทสาขาต่างประเทศทั่วโลก ในอดีตการโยกย้ายเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริหารวัยหนุ่ม เพราะว่าเงินเดือนของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้นมาก และพวกเขาจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารอาวุโสขององค์การในอนาคตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัดส่วนของผู้บริหารวัยหนุ่มที่ปฏิเสธการโยกย้ายเช่นนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น พวกเขาได้อ้างครอบครัวและเหตุผลส่วนตัวเป็นข้อปฏิเสธของพวกเขา ผู้บริหารวัยหนุ่มหลายคนกล่าวว่าพวกเขาจะลาออกจากบริษัทถ้าถูกบังคับ นี่คือปัญหาอีกอย่างหนึ่งขององค์การ

ข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ

ถึงแม้ว่าการพัฒนาองค์การจะเป็นวิธีการที่มีข้อ

ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การ และปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การวางแผนกับการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจึงเป็นทั้งการปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ และการพัฒนาเจตคติและสมรรถภาพการปฏิบัติงานของบุคคลาการในองค์การให้สามารถให้การบริการแก่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือสังคมอย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพ และโดยสม่ำเสมอ

ความหมายและคุณลักษณะการพัฒนาการพัฒนาองค์การ

ความหมาย

การพัฒนาองค์การ(Organization Development)หรือเรียกสั้นๆว่า “OD” ประกอบด้วยการพัฒนาบุคคลในหน่วยงาน การคัดเลือกผู้บริหาร การค้นหาวิธีการบริหารงาน การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน และการปรับปรุงการสื่อความหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้องค์การมีความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าได้กับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คุณลักษณะของการพัฒนาองค์การ

จำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การได้ดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะต้องเกิดขึ้นกังองค์การทั้งหมด(Whole Organization หรือ Entire organization)

2. การพัฒนาองค์การการเน้นความเป็นระบบ(System-Oriented)ซึ่งความเกี่ยวข้องเหล่านี้จะต้องเป็นทั้งโครงสร้างกระบวนการและทัศนคติ

3. การพัฒนาองค์การเป็นปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กล่าวคือ การพัฒนาองค์การเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

4. การพัฒนาองค์การเป็นการแก้ปัญหา (Problem solving) ช่วยปรับองค์การให้เข้ากับปัญหาโดยปราศจากความขัดแย้งหรือผลกระทบที่รุนแรง

5. การพัฒนาองค์เป็นการใช้กระบวนการหมู่พวก (Group Process)ด้วยการวิพากวิจารณ์เป็นกลุ่ม การร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งและการประจันหน้ากันและพยามยามสร้างความสัมพันธ์

6. การพัฒนาองค์การขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ผู้บริหารนำข้อมูลมาพิจารณาและผสมผสานกันเพื่อการตัดสินใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่บุคคลเหล่านั้นมีส่วนร่วมและพอใจในการตัดสินใจนั้น

7. การพัฒนาองค์การจะให้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์(Experiential Learning)มีลักษณะทำงานอย่างมีประสบการณ์มากกว่าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน

8. การพัฒนาองค์การเน้นสภาวการณ์(Contingency Oriented)มีลักษณะที่สอนให้คนมีความยืดหยุ่น รู้จักประยุกใช้หลักการและปรับปรุงการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์

9. การพัฒนาองค์การใช้เป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเป็นที่ปรึกษา(Consultant)สำหรับกลุ่มผู้มีส่วนร่วม

การพัฒนาองค์การมุ่งที่จะผสมผสานองค์ประกอบที่สำคัญ 4ประการ คือ คน(People)โครงสร้าง(Structure)วิทยาการสมัยใหม่ (Technology)และสังคมสงเคราะห์ (Social System)ขององค์การเข้าด้วยกัน

วัตถุประสงค์และความสำคัญของการพัฒนาองค์การ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ

ก. เพื่อฝึกบุคคลให้มีทักษะเฉพาะ และมีความรู้ในสาขาวิชาที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นปฏิยัติงานของตนได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข. เพื่อึกบุคคลให้มีทักษะในการปฏิสัมพันธ์และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

การที่ทุกส่วนขององค์การได้รับการปรับปรุงพัฒนาย่อมนำผลดีมาสู่องค์การในลักษณะต่างๆดังนี้

1. การพัฒนาองค์การจะเป็นกลไกชักนีให้สมาชิกขององค์การได้มีส่วนผูกพันและมีส่วนร่วม

2. ทำให้สามารถใช้ข้อเสนอแนะ และการแนะนำปรึกษาจากภายนอกได้

3. จะเป็นเครื่องชี้แนวทางในการปฏิบัติงานของบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย

4. ช่วยให้ผู้ปรับปรุงพฤติกรรมในการบริหารงาน

5. จะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหาร

6. จะช่วยให้เกิดความร่วมใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

7. เปิดโอกาสให้บุคคลในหน่วยงานได้รับประสบการณ์มากขึ้น

การพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ความหมายและแนวคิด

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3.การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4.สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5.วางแผนปฏิบัติการ

6.ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

1. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ หมายถึง กระบวนการที่องค์การจะปรับตัวให้เข้ากับวิทยาการใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ

2.1 ปัจจัยภายนอก (External forces) ได้แก่ ด้านแรงงาน เทคโนโลยี ความผันผวนทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางสังคม การเมือง กฎหมาย ลูกค้า คู่แข่งขัน ผลกระทบในระดับโลก และอื่น ๆ เช่น การระบาดของโรคไข้หวัดนก ฯลฯ

2.2 ปัจจัยภายในองค์การ (Internal forces) เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผลผลิตต่ำลง ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงนโนบายและกลยุทธ์หลักขององค์การ

การที่องค์การจะก้าวไปสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ “High Performance

Organization” หรือการเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ตนเองดำเนินการอยู่ได้นั้น หลายๆ

องค์การต้องผ่านการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ ผ่านพ้นวิกฤติ และฟันฝ่าอุปสรรคน่านับ

ประการที่เข้ามา อาจต้องเตรียมแผนรองรับ และวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบ

ต่อการทำงานให้สามารถปฏิบัติภารกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทันเวลา และเกิดผลงานที่มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ

โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สภาวะทางสังคมสถานการณ์เศรษฐกิจ และการเมืองที่ผันแปรอยู่

อย่างต่อเนื่อง องค์การที่ดำเนินธุรกิจต่างได้รับผลกระทบ จึงจำเป็นต้องมีการวาง

แผนเพื่อปรับกระบวนทัพการบริหารจัดการกันขนานใหญ่ ให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการ

ไปสู่ความเลิศได้อย่างที่ตั้งใจ และอยู่รอดต่อไปได้อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่

ต้องคำนึงถึง คือการสร้างความสมดุลระหว่างปัจจัยหลัก และปัจจัยสนับสนุน โดย

ปัจจัยหลักที่สำคัญในการสร้างความสำเร็จให้องค์การไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการปรับ

โครงสร้าง กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เครื่องมือและการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มี

ประสิทธิภาพ ส่วนประเด็นปัจจัยสนับสนุนที่คำนึงในเรื่องการดูแลทุกข์สุขของ

พนักงานให้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข เกิดความรักองค์การ รวมถึงความรับผิดชอบต่อ

สังคม (Corporate Social Responsibility) ซึ่งในการสร้างความสมดุลของปัจจัย

ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น HR เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการขับ

เคลื่อนทั่วทั้งองค์การ โดยเน้นลักษณะการบริหารจัดการที่เป็นเชิงรุกมากกว่าการ

ตั้งรับ

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ(OD Process) ประกอบด้วย

1. การยอมรับปัญหา

2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ

3. การวิเคราะห์ปัญหา

4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ

5. การวางแผนดำเนินงาน

6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ

7. การประเมินผล

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

ความสำคัญของการพัฒนาองค์การ คือ

1.ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่

2.ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์

3.การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม

4.ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ

5.ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์

6.ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ

7.ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ

8.ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

1. ทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. สร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. ทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

ตัวอย่างองค์กรที่ได้รับความสำเร็จ

28 เม.ย. ที่ผ่านมา INSEAD สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจชั้นนำของโลกได้ประกาศให้นาย Carlos Ghosn ซึ่งเป็นซีอีโอบริษัทรถยนต์ 2 แห่งคือนิสสันและเรโนลด์ ได้รับรางวัล Transcultural Leader 2008

รางวัลนี้มอบให้กับผู้นำขององค์กรที่สามารถบริหารจัดการการทำงานต่างวัฒนธรรมได้ยอดเยี่ยม คาร์ลอสได้รับรางวัลนี้ เพราะผลงานที่สามารถบริหารจัดการบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือนิสสันจากญี่ปุ่น และเรย์โนลด์จากฝรั่งเศส ทำให้กลายเป็นหนึ่งในองค์กรที่ได้รับความสำเร็จจากการบริหารข้ามวัฒนธรรม

หลังรับรางวัลเขาได้ให้สัมภาษณ์กับ Stuart Pallister จาก INSEAD ที่ http://knowledge.insead.edu/ILSTransculturalLeader Ghosn 080501.cfm?vid=45 ถึงแนวคิดในการบริหารคนที่มาจากต่างวัฒนธรรม

สจ๊วต : “คุณคิดว่าคุณสมบัติของผู้นำแบบ Transcultural Leader ควรเป็นแบบไหนครับ”

คาร์ลอส : “สำหรับผมมันเป็นเหตุบังเอิญนะครับ ผมเกิด เติบโต และได้เดินทางไปหลายประเทศตั้งแต่เด็กมันช่วยผมได้มาก

แต่ว่าที่สำคัญมันอยู่ที่ทัศนคติและมุมมอง คือต้องเข้าใจคนอื่น (Empathy) ซึ่งมันจะช่วยให้คุณปรับตัว เมื่อต้องเดินทางจากประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมแบบหนึ่งไปยังที่ใหม่ได้ อีกทั้งคุณต้องมีความใฝ่รู้ (Curiosity) ซึ่งจะผลักดันคุณให้อยากจะติดต่อและเรียนรู้จากคนใหม่ๆ”

สจ๊วต : “คุณบอกว่าเราต้องรักประเทศที่เราไปอยู่ เคารพและให้เกียรติคนท้องถิ่น”

คาร์ลอส : “ถ้าคุณจะไปทำงานที่ไหน ซึ่งจะต้องทำอะไรที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแล้วล่ะก็ มันจะง่ายกว่ามากหากคุณเข้าหาคนท้องถิ่น คุณชื่นชมประเทศเขา ยกย่องให้เกียรติเขา และคุณอยากเรียนรู้วัฒนธรรมของเขา

ที่มันสำคัญเพราะว่า เราจะทำอะไรที่ผิดพลาดมากมายในวัฒนธรรมใหม่ แต่ว่าคนท้องถิ่นเขาพร้อมที่จะให้อภัยเรา หากเขาสังเกตออกว่าเราพยายามเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่และคุณมีความสุขกับที่ใหม่ คุณมีความอยากรู้อยากเห็นและคุณสนใจรับฟัง

ในทางตรงกันข้าม หากคุณไม่ใส่ใจพวกคนท้องถิ่นอาจจะไม่ไว้วางใจคุณ และคอยระวัง เพราะเขากังวลใจว่าคุณไม่เข้าใจ หรือคุณมีคำตอบที่สำเร็จรูปมาล่วงหน้า โดยไม่คำนึงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือคุณไม่อยากจะรับฟังพวกเขา”

สจ๊วต : “คุณปรับตัวอย่างไรในตอนแรกที่คุณไปเริ่มงานที่ญี่ปุ่น คุณได้รับความประหลาดใจจากวัฒนธรรมของเขาเรื่องการเข้าลิฟต์กับสุภาพสตรี ตอนแรกคุณขัดๆ เขินๆ ลองเล่าให้ฟังหน่อยครับ”

คาร์ลอส : “โดยธรรมชาติ เมื่อเราไปอยู่ที่ใหม่ เราก็เรียนรู้เรื่องพื้นฐานก่อน ภาษา อาหารการกิน การเดินทาง

แต่ว่าเราทุกคนจะมีกรอบความคิดที่เรามีมาก่อน อุปนิสัย สัญชาตญาณ ซึ่งได้รับมาจากวัฒนธรรมเดิมที่เราเติบโตมา กรอบความคิดเดิมนี่แหละคือสิ่งที่เราต้องคอยตั้งคำถามทบทวนมัน เมื่อเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างจากที่เราคุ้นเคย

เรื่องของลิฟต์ หากเราอยู่ในตะวันตกเป็นมารยาทที่เราต้องให้สุภาพสตรีเดินเข้าลิฟต์ก่อน ซึ่งในญี่ปุ่นที่นี่เขามีธรรมเนียมว่า ผู้ชายเดินเข้าก่อน หากคุณทำแบบตะวันตกในญี่ปุ่น คุณก็อาจจะไปทำอะไรที่แปลกแยกกับธรรมเนียมท้องถิ่นของพวกเขา มันน่าสนใจมาก

ในตอนแรกพวกตะวันตกก็ทำตามที่ตนคุ้นเคย เพราะคิดว่าไม่สุภาพ จนกระทั่งเข้าใจว่าเมื่ออยู่ในญี่ปุ่นก็ต้องปฏิบัติตัวตามแบบคนญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างกันมากกับที่ฝรั่งเศสหรืออเมริกา ตรงนี้แหละที่คุณต้องต่อสู้และฝืนกับกรอบความคิดเดิม ที่จะคอยผลักดันให้คุณไม่เปิดรับธรรมเนียมท้องถิ่น เพราะยังยึดติดกับสิ่งที่เคยเชื่อมาก่อน”

สจ๊วต : “ญี่ปุ่นค่อนข้างจะแตกต่างกับที่อื่นมาก”

คาร์ลอส : “มันเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับผม ผมอยากเรียนรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นมาก ในตอนแรกผมรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นน้อยมาก แต่ความอยากรู้อยากเห็นประกอบกับการที่ผมอยากสร้างผลงานที่นั่น เพราะว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เข้าไปแก้ไขนิสสันที่เป็นองค์กรชั้นนำ มันไม่ใช่เรื่องงานอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันเป็นการค้นพบวัฒนธรรมใหม่ด้วย”

สจ๊วต : “คุณพยายามผสมผสานคนต่างวัฒนธรรมหรือไม่”

คาร์ลอส : “จากประสบการณ์ผมเชื่อว่า เมื่อคุณมีทีมงานที่มีความหลากหลาย พื้นฐาน วัฒนธรรม อายุ เพศ มาทำงานร่วมกัน คุณจะได้ผลงานที่สร้างสรรค์กว่า แต่ก็ต้องมีการจัดการที่มีนวัตกรรมเพื่อทำให้พวกเขาไม่ยึดติดกรอบความคิดเดิมของเขามาก

ทีมยิ่งมีความหลากหลาย คุณก็จะเข้าใจสถานการณ์จากมุมมองที่แตกต่างกันได้มากขึ้น และสร้างสรรค์ได้ดีกว่า”

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ผผลผลิตหรือเชิงปริมาณมากขึ้น

2. คุณภาพได้มาตรฐานสูงขึ้น

3. ความพึงพอใจทั้งผู้ปฎิบัติและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น

4. เกิดการทำงานเป็นทีมสูงขึ้น

5. สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดีขึ้น

6. การเปลี่ยนงาน การขาดงาน เบี้ยวงาน และหนีงานลดลง

7. เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ

โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

6. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

7. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

8. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

องค์กรที่ได้รับความสำเร็จ

ความสำเร็จขององค์กร กับวิสัยทัศน์ทาง IT ของ CIO/CEO เกี่ยวข้องกันอย่างไร (IT มี impact กับการบริหารองค์กรอย่างไร)

ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ต่างเล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงาน แต่ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าหากผู้บริหารไม่มีความรู้ความเข้าใจในด้าน IT อย่างพอเพียง และ/หรือขาดวิสัยทัศน์ทาง IT อย่างไรก็ดี องค์กรที่ได้รับความสำเร็จอย่างแท้จริงจากการนำเทคโนโลยีใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่มีวิสัยทัศน์ทาง IT อย่างเดียว แต่องค์กรจะต้องมีที่ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจที่จะจัดการกับความเสี่ยงด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรอย่างเหมาะสม การบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี จึงกลายเป็นส่วนที่มีนัยสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม โดยเฉพาะองค์กรที่มุ่งสู่การเป็น Good Corporate Governance นั่นคือวิสัยทัศน์ที่สำคัญในทาง IT ด้วย

ในการทำงานนั้นมีสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารควรทราบ นั่นคือ CoBIT หรือ Control Objectives for Information and Related Technology เป็นทั้งแนวคิดและแนวทางการปฎิบัติเพื่อการควบคุมภายในที่ดีด้านเทคโนโลยีสำหรับองค์กรต่างๆที่จะใช้อ้างอิงถึงแนวทางการปฎิบัติที่ดี (Best Practice) ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกองค์กร โดยโครงสร้างได้ออกแบบอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ซึ่งแบ่งเป็น 4 กระบวนการหลัก (Domain) ได้แก่

- การวางแผนและการจัดการองค์กร (Planning and Organization)

- การจัดหาและติดตั้ง (Acquisition and Implementation)

- การส่งมอบและบำรุงรักษา (Delivery and Support)

- การติดตามผล (Monitoring)

อีกทั้งหากผู้บริหารให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่มแนวทางสำหรับผู้บริหาร (Management Guidelines) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ควบคุมและจัดการกิจกรรมด้านเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลักได้แก่

- Maturity Model

- Critical Success Factors

- Key Goal Indicators

- Key Performance Indicators

สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในวิสัยทัศน์ด้าน IT ที่จะนำองค์กรสู่ความสำเร็จ มิใช่เป็นการตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

แนวคิดในการพัฒนาองค์การ

นักบริหารย่อมตระหนักดีว่า องค์การหรือหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งใน

ส่วนตัวบุคคล กลุ่ม และองค์การ โดยไม่มีผู้ใดสามารถขัดขวางหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงได้ และ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆอย่างไม่หยุดยั้ง ฉะนั้นการที่จะพยายามรักษา

เสถียรภาพ และความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการขัดขวางต่อกฎแห่งความจริง นักบริหารตะหนักต่อไป

ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ผู้ทำงานมักมีกิริยาต่อต้านขัดขืนไม่พอใจ เพราะเข้าใจว่าการ

เปลี่ยนแปลงคือการขัดขวางต่อฐานะ และคุณค่าของตน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพของงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจต่อต้านไม่พอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใต้บังคับบัญชา

ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสวัสดิการ ผู้บังคับบัญชาอาจต่อต้าน ขัดขืนไม่พอใจเพราะเข้าใจ

ว่าเป็นการกระทบกระเทือนต่ออำนาจการปกครองหรือความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงานของตน

ดังนี้เป็นต้น แต่ถ้าจะพิจารณาให้ถ่องแท้ตามเหตุผล และความเป็นจริงแล้ว การเกิดแนวความคิดใน

การเปลี่ยนแปลงต่างหากที่ทำให้เกิดประโยชน์ และคุณภาพใหม่อันเป็นที่น่าพอใจมากขึ้น ด้วย

เหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดแรงจูงใจต่อนักบริหาร ในการให้ได้มาซึ่งกระบวนการใด ๆที่สามารถนำมา

แก้ปัญหา และควบคุมการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การ

ในระยะสงครามโลกครั้งที่สอง มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกาได้ใช้ความ

พยายามร่วมกันสร้างวิทยาศาสตร์สังคมสาขาใหม่ขึ้น โดยนำเอาทฤษฎีและข้อมูลในวิชาจิตวิทยา

สังคมวิทยา มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มาผสมกัน ตั้งสมมติฐาน

และทำการศึกษาค้นคว้า พิสูจน์สมมติฐานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดเป็นสาขาใหม่ของ

วิทยาศาสตร์สังคม คือ สาขาพฤติกรรมศาสตร์อันเป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับ

พฤติกรรมของมนุษย์ที่รวมกันอยู่อย่างเป็นระบบสังคม แม้ว่าข้อยุติทางพฤติกรรมศาสตร์จะไม่

สมบูรณ์ จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป แต่พบว่าสมมติฐานของวิชานี้มีประโยชน์อย่างมากต่อ

วงการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอิทธิพลในยุคใหม่ที่เน้นหนักถึงการเปลี่ยนแปลง (Change)

และการแปรเปลี่ยน(Variability)สมมติฐานของพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งนำมาประยุกต์เป็นกระบวนการ

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงองค์การนั้นคือ การพัฒนาองค์การ (Organization Deelopement) หรือ

ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า O.D.

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายของท่านอาจารย์ ประกาย ชลหาญ (Prakai Cholahan , Director, ACAP Advisory PCL) เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่อง “ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์” เพิ่มขึ้น ซึ่งพอจะสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้

1. จากคำกล่าวของแจ๊ค เวลช์ (Jack Welch ผู้เข้าไปบริหารจีอี (General Electric) ในฐานะ CEO เมื่อปี 2524 ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 20 ปี และประสบความสำเร็จอย่างสูง จนทำให้หุ้นของจีอี มูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 13,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 596,000 ล้านดอลลาร์ นับเป็นมูลค่าหุ้นสูงที่สุดในโลกในช่วงเวลานั้น) ที่ว่า “ธุรกิจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยทั่วไป และในความเป็นจริงชีวิตก็ประกอบด้วยครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ครู ผู้สอน ผู้ฝึกฝน เพื่อนบ้าน ซึ่งในที่สุดแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญก็คือมนุษย์”

(“Business is about people. In fact life is only people-family, friends, colleages, bosses, teachers, coaches, neighbors. At the end of the day, its only people that matter.”…Jack Welch in WINNIG)

กล่าวโดยสรุปก็คือ “มนุษย์เท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” และอีกคำพูดหนึ่งของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่ว่า ”คนเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร” (Human Capital is the most valuable asset in any Organization”…K. Paron Issarasena, Former Cement Thai President)

2. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายพันธุ์แท้อย่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (ผู้ก่อตั้งสถาบัน ทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2523 และ ต่อมาได้ผลักดันให้ ก่อตั้งมูลนิธิ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. 2539) เจ้าของทฤษฏี ทุนในทรัพยากรมนุษย์ 8K’s ก็ได้ให้ความสำคัญกับ “คน” ในฐานะทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นอันดับแรก และมีความหมายครอบคลุมถึงทุนขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาแต่วัยเยาว์ ตั้งแต่การได้รับการอบรม และเลี้ยงดูจากบิดามารดา พื้นฐานการศึกษา และพื้นฐานทางสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

เช่นเดียวกับคุณหญิงดร.ทิพาวดี เมฆสวัสดิ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ซึ่งมองว่า “คน… เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี” (2 พลังความคิด ชีวิตและงาน 2 ผู้นำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้, 2549)

3. แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) ได้ให้ข้อคิดที่ว่า ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องมีความสามารถใน 2 ด้าน กล่าวคือ 1. มีความสามารถในการบริหารคนและ 2. มีความสามารถในการบริหารเงินจึงจะประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย

4. การที่บุคคลหรือนักบริหารจะประสบความสำเร็จ และมีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่จะบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัย ปรัชญาความเชื่อใน 4 ปัจจัย (4E’s) กล่าวคือ

1. Energy : ต้องมีพลัง มีความกระตือรือล้น

บุคคลต้องทุ่มเทพลัง และตั้งใจทำงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ ให้กับองค์กร

2. Energize : ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดพลัง เติมพลังได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลแสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงาน ต้องให้ความสนใจในสิ่งต่างๆ ทั้งปัจจัยจากรายได้ และสวัสดิการ รวมทั้งการสร้างบรรยากาศแวดล้อมที่ดีให้กับองค์กร

3. Edge : ต้องสร้างแรงผลักดัน

ทั้งนี้ ผู้บริหารต้องส่งเสริมความสามารถของบุคลากรในองค์กร ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การอบรม การเพิ่มเติมความรู้ เป็นต้น

4. Execution : ต้องทำให้สำเร็จ

ผู้บริหารต้องผลักดันให้บุคลากรขององค์กรได้ทำงานที่มอบหมายให้สำเร็จผลอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปรัชญาความเชื่อใน 4E’s คือ ทั้ง 1. Energy 2. Energize 3. Edge 4. Execution นั้น ควรได้เพิ่ม E ที่ 5 เข้าไปด้วย คือ

Ethics ซึ่งหมายถีง ผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรมในการทำงาน ควรสร้างค่านิยม สร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เป็นองค์กรที่มีคุณธรรม จริยธรรม การสร้างค่านิยมนี้ต้องสร้างตั้งแต่สถาบันครอบครัวจนถึงสถาบันการศึกษา ในระดับอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย เพราะค่านิยมดังกล่าวเมื่ออยู่ในตัวผู้บริหารหรือผู้นำแล้ว จะทำให้การบริหารบรรลุเป้าหมาย หากเป็นองค์กรก็เป็นองค์กรธรรมาภิบาล เป็นบุคคลก็เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม เหล่านี้ล้วนสร้างให้สังคมเป็นสังคมคุณธรรม เป็นรัฐก็เป็นรัฐนิติธรรมอย่างสมบูรณ์

5. การบริหารจัดการที่เกี่ยวกับ “คน” นั้นมักจะมีโครงสร้างเหมือนวงกลม 3 วง ซ้อนทับกันและคล้องประสานกัน โดยมีพื้นที่ที่ทั้ง 3 วงประสานกันคือ

1. Leader ผู้นำ

2. Follower ผู้ตาม

3. Environment สภาพแวดล้อม

การบริหารจัดการต้องมีการประสานกันอย่างต่อเนื่องของผู้นำ ผู้ตาม และสภาพแวดล้อม ซึ่งต้องขึ้นกับสภาพความเป็นจริงขององค์กรเป็นหลัก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดของ แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch)

6. Human Performance Framework ในระดับ Organization หน้าที่หลักของผู้นำ จะต้องสร้างให้องค์กร ซึ่งมี “คน” เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ให้มี Ability หรือ Competency ให้เกิดการสร้างเสริมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จนเกิดความสามารถในการประกอบสัมมาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการ

สร้างกระบวนการของ Motivation คือการปลุกเร้า การสร้างเสริมแรงจูงใจ การกระตุ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ อันได้แก่

1. Structure ต้องมีโครงสร้างการบริหาร ความรับผิดชอบของคน ของงาน ของงบประมาณ อย่างชัดเจน ต้องมีงานที่เหมาะสมกับคน สายบังคับบัญชาต้องชัดเจน มีการสร้าง Job description ที่ละเอียดชัดเจน รวมถึงค่าตอบแทนที่เหมาะกับงานและ คน อย่างกรณีที่มีการปรับโครงสร้างสายบังคับบัญชาของระบบราชการใหม่โดยยกเลิกระบบซี ทั้งนี้ก็เพื่อให้ความรู้ ความสามารถ ของผู้ทำงานได้เติบโตตามสายงานของตนโดยตรง ทั้งยังสร้างองค์กรผดุงคุณธรรมเพื่อตรวจสอบ และถ่วงดุลการวิ่งเต้นตำแหน่ง สร้างองค์กรคุณธรรมขึ้น

แนวคิดของ วอร์เรน เบนนิส (Warren Bennis) ที่ว่า “ในอนาคตองค์กรที่อาศัยการออกคำสั่ง การควบคุมอย่างใกล้ชิดและการคาดการณ์จะหมดสมัยแล้ว บริษัทในยุคต่อไปจะต้องอาศัยการทำงานในรูปสหพันธ์ ซึ่งกระจายความรับผิดชอบและอำนาจในการตัดสินใจให้แก่หน่วยเล็กๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้ทันกับสภาพแวดล้อม” (คิดนอกรอบ ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547) แนวคิดดังกล่าวดูจะสอดคล้องกับหลัก structure นี้

2. Resourcing มีการบริหารจัดการกับกำลังคนให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและ งบประมาณ กับกำลังการผลิต สร้างให้เกิดการสมดุล จัดให้พอดี ไม่มากไป หรือน้อยไป เพราะถ้าคนมากกว่างานองค์กรก็จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าหากกำลังคนน้อยกว่า งานก็จะสร้างสภาวะกดดันให้บุคลากรเกิดความเครียด และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์กร เช่น กรณีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค กำลังคนไข้ที่ไปรักษาพยาบาลของรัฐมีมากกว่าหมอ อีกทั้งงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ตลอดจนคนไข้เรียกร้องสิทธิมากกว่าในอดีต จนหมอเกิดความเครียดมากขึ้น ทำให้เกิดการขาดแคลนหมอในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากหมอเริ่มมีการลาออกจากหน่วยงานรัฐไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

3. Performance Management ต้องมีระบบการประเมินที่ดี มีเป้าหมายชัดเจน ผู้บริหารต้องรู้ว่าผลการประเมินเอาไปใช้ทำประโยชน์อะไร ต้องวัดและประเมินผลในงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ต้องทำการประเมินเป็นระยะๆ ควรบอกจุดอ่อน จุดแข็งให้กับผู้ถูกประเมินทราบ ทั้งนี้ต้องประเมินไปเพื่อการพัฒนาคน พัฒนาความรู้ เพื่อประสิทธิภาพของงบประมาณ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม เพื่อสร้างมาตรฐานของคุณธรรมเป็นที่ตั้ง

4. Training/ Knowledge Support องค์กรต้องมีการสนับสนุน ส่งเสริม “คน” ให้ได้รับการอบรม ฝึกฝน ฝึกงาน ต้องได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอๆ เพื่อทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถ เป็นการพัฒนาทั้งด้าน IQ และด้าน EQ ต้องให้ได้รับการฝึกฝนทั้งด้านความรู้ ด้านเทคโนโลยี

แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) สนับสนุนใฟ้พนักงานแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากการเฝ้าดูคู่แข่ง เพื่อนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในองค์กรของตน ผู้ที่มีความคิดใหม่ๆ จะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ มีเรื่องเล่าว่า... พนักงานคนหนึ่งไปได้ความคิดใหม่มาจากอังกฤษ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ผู้น้อยเป็นครู (Reverse Mentoring) เรื่องนี้มีที่มาจากเมื่อระบบอินเตอร์เน็ต เริ่มแพร่ระบาด พนักงานหนุ่มสาวเท่านั้นที่มีความเรื่องอินเตอร์เน็ต ส่วนผู้บริหารอายุมากๆ มักไม่ค่อยเข้าใจและใช้ไม่เป็น บริษัทในอังกฤษจัดให้พนักงาน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านอินเตอร์เน็ตฝึกผู้บริหารตัวต่อตัว จนผู้บริหารสามารถใช้เครื่องมือสำคัญนั้นได้อย่างคล่องแคล่ว

แจ๊ค เวลช์ เห็นว่านั่นเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์มาก เขาจัดให้จีอีมีการฝึกเช่นนั้น ภายใน 2 สัปดาห์ ตัวเขาเองก็เข้ารับการฝึกจากพนักงานระดับปลายแถวด้วย (คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547)

5. Performance Support องค์กรต้องสนับสนุนในทุกๆ ด้าน เพื่อให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการจัดบรรยากาศ ในที่ทำงานให้เหมาะกับงาน สร้างความสะดวกในการปฏิบัติงาน สร้างอุปกรณ์ในการทำงานให้ทันสมัย และสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งดูแลเรื่องสภาพแวดล้อม ด้านสุขอนามัย ของสถานที่ทำงานให้สะอาด ปราศจากแหล่งเพาะเชื้อโรค แสงและเสียง ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

6. Leader ship องค์กรต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่มีความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรแห่งความสุข

ผู้นำที่ดี จะต้องมี 4 บทบาทด้วยกัน กล่าวคือ

1. Pathfinder เป็นผู้นำที่สร้างเป้าหมายให้พนักงานได้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคน ต่างทำ คนละเป้าหมาย เพื่อให้ทุกคนเดินไปในทางที่ถูกต้อง

2. Aligning All เป็นผู้นำที่ให้ทุกคนในองค์กรได้ปฏิบัติงานไปตามบทบาทหน้าที่อย่างพร้อมเพรียงกัน เปรียบเสมือนฟันเฟืองทุกตัวที่เดินไปพร้อมๆ กัน ในทิศทางเดียวกัน

3. Empower เป็นผู้นำที่ต้องบริหารแบบกระจายอำนาจให้แก่ลูกน้อง กล้าคิด กล้าทำ ด้วยตนเอง ให้เขากล้าตัดสินใจในอัตราที่เสี่ยงได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกน้องเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของผู้นำได้ ทั้งยังเป็นการสร้างกลไกของสภาวะผู้นำในรุ่นต่อๆ ไป ขององค์กร

4. Role Model ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กร เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกน้อง

ผู้นำต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Do the right things) ทำในสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดจรรยาบรรณ จริยธรรม และต้องสร้างแบบอย่างของการให้กับสังคม มีจิตสาธารณะเป็นองค์ประกอบ

บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) ดูจะมีบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำ ตามที่กล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี เขาได้กล่าวว่า “คนฉลาดควรมีอำนาจขับเคลื่อนความคิดรีเริ่ม” เขาจึงมุ่งสร้างบริษัทไมโครซอฟท์ ให้เป็นองค์กรแห่งปัญญา โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลของบริษัทได้อย่างทั่วถึง ให้ได้รับการฝึกให้รู้จักวิเคราะห์ ตีความ และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นพนักงานไมโครซอฟท์ ยังมีช่องทางในการเสนอความคิดเห็นโดยตรงต่อผู้บริหารทุกระดับ ซึ่งผู้บริหารในบริษัทต้องมีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของทุกคน บิลล์ เกตส์ มองว่าในภาวะเช่นนั้น ทุกส่วนขององค์กรจะทำงานร่วมกัน เป็นปึกแผ่นเสมือนมันสมองก้อนใหญ่อันชาญฉลาด และปราดเปรียว

เกตส์ เองทำตัวเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนบริษัทฯ โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัททุกคนส่งข่าว และความคิดเห็นไปถึงเขาทางอีเมลล์ได้ตลอดเวลาไม่ว่า ข่าวร้ายหรือความคิดใหม่ๆ ซึ่งแย้งกับเขา ยิ่งเป็นข่าวร้ายเขายิ่งต้องการได้รับเร็วที่สุด

ความใจกว้าง ถ่อมตน และยืดหยุ่นได้ ของบิลล์ เกตส์ เป็นที่รู้กันทั่วไปในไมโครซอฟท์ (คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547)

7. Communication ต้องทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีการสื่อสารที่ดี ต้องสร้างระบบที่ดี เหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กรควรจัดทำคู่มือ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ ไม่ควรพึ่งพาคนเพียงคนเดียว เช่น มีคนรู้ข้อมูลเพียงคนเดียว เพราะอยู่มานาน เป็นการสร้างอำนาจของผู้นำโดยธรรมชาติ (Information is power) ให้เกิดขึ้นในองค์กร องค์กรควรสร้างระบบการสื่อสารที่เข้าใจได้ตรงกับนโยบายขององค์กร ไม่ให้มีการสื่อสารผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ต้องสื่อสารให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน

8. Culture ต้องสร้างให้มีวัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้น เพราะวัฒนธรมมองค์กรที่ดีจะทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดการมีความจงรักภักดีต่อองค์กร มีความสามัคคีกลมเกลียว ทำงานมุ่งไปในทางเดียวกัน เกิดการร่วมมือในการฝ่าฟันอุปสรรคด้วยกัน ช่วยลดภาระ และค่าใช่จ่ายขององค์กร

จอห์น คอตเตอร์ (John Kotter) ได้อธิบายว่า...”วัฒนธรรมเป็นมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ของพฤติกรรมที่สมาชิกในองค์กรถือปฎิบัติ มาตรฐานหรือหลักเกณฑ์นี้ไม่มีเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นที่รู้กันในหมู่สมาชิกว่ามันคืออะไร อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ

วัฒนธรรมจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในองค์กรที่ได้รับความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

อย่างกรณีของจีอี (GE) ที่ แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) ได้สร้างให้มีวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ “เขาได้ใช้เงินกว่า 45 ล้านดอลลาร์เพื่อปรับปรุงศูนย์ฝึกอบรมของบริษัทให้กลายเป็นสถาบันในการฝึก และระดมสมองของผู้บริหารและพนักงานอย่างแท้จริง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ศูนย์นั้นตั้งขึ้นเพื่อผู้บริหารและพนักงานทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น เพราะเขาเชื่อว่าไม่มีใครจะรู้อะไรไปหมดทุกอย่าง รวมทั้งตัวของเขาเองด้วย แจ๊ค เวลช์ เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ฝึกอบรมเป็นประจำ รวมทั้งเป็นครูผู้สอน เพื่อใช้ความรู้ระดับปริญญาเอก ทางด้านวิศวกรรมเคมีของเขาให้เป็นประโยชน์ด้วย” (คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547)

7. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Organization หน้าที่หลักของผู้นำองค์กร ต้องทำให้ “คน” ถูกพัฒนาเป็น “ทรัพยากรมนุษย์” ต้องสร้าง “คน” ให้มีความรู้ ความสามารถและมีประสิทธิภาพ ทำให้ “คน” ต้องมี Ability หรือ competency ซึ่งมีทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อสร้างความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ โดยผ่านขบวนการ Motivation ต้องสร้างทั้งแรงจูงใจ ต้องปลุกเร้า กระตุ้นให้บุคคลในองค์กรได้พัฒนาตนเอง ด้วยการอาศัยปัจจัยสนับสนุนจาก 1. Structure 2. Resourcing 3. Performace Management 4. Train/Know Support 5. Performance Support 6. Leadership ซึ่งประกอบด้วย Pathfinder, Aligning All, Empower, Role model 7. Communication 8. Culture เหล่านี้ล้วนต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

8. Human Performance Framework ในระดับ Operations

องค์กรต้องสร้างบุคลากรขององค์กรให้วัฒนธรรมในการทำงาน และพัฒนาตน โดยองค์กรต้องมี

1. Process สร้างกระบวนการในการทำงานให้เหมาะสมทั้งลักษณะของงาน สถานที่ทำงาน อุปกรณ์เครื่องใช้ เพื่อสร้างประสิทธิภาพของงานภายใต้กรอบนโยบายและงบประมาณที่จำกัด กระบวนการจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อน “คน” ให้เป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร

2. Technology มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ใช้ และการลงทุนขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสิทธิภาพ และลดต้นทุน ตลอดจนเพื่อการบริหารเวลาที่คุ่มค่า

3. Physical Setting ต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องกับ process เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และสร้างกระบวนการทำงานให้ราบรื่น สะดวกสบาย อีกทั้งเป็นการลดต้นทุน และลดเวลาการทำงานให้น้อยลง

9. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Operations ความสัมพันธ์ของทั้ง 1. Process 2. Technology 3. Physical Setting ได้ช่วยให้องค์กรพัฒนาบุคลากรให้มีการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่นกรณีที่สำนักทะเบียน บัตรประชาชนของกรมการปกครองได้นำเทคโนโลยีระบบออนไลน์มาใช้ทั้งประเทศ ช่วยให้ประชาชนสามารถอยู่ที่ไหนของประเทศไทยก็สามารถทำบัตรประชาชนได้ โดยไม่ต้องกลับมาที่ภูมิลำเนาเดิม เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน อีกทั้งยังได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วกว่าในอดีต

10. Human Performance Framework ในระดับ Strategy

องค์กรต้องจัดให้บุคลากรได้มีทักษะ มีความสามารถ ได้สะท้อนให้เห็น

1. Corporate Vision สร้างให้องค์กรเป็นสถาบันที่มองการณ์ไกล เป็นองค์กรที่สะท้อนภาพพจน์ของอนาคตได้ ต้องพัฒนาทั้งคนและกระบวนการต่างๆ ในการเสริมสร้างองค์กร เช่น บริษัทข้อมูลแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ซึ่งเป็นองค์กรที่สะท้อนข้อมูลที่สร้างเสถียรภาพ เครดิตของประชากรของชาติในการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่าขึ้นหรือลงด้วยการประเมินจากอัตราการบริโภคแต่ละภาคส่วนของการลงทุนในประเทศกับการจับจ่ายใช้สอยของคนในชาติ

2. Corporate Strategy ให้เป็นองค์กรที่มียุทธศาสตร์ ต้องพัฒนาบุคลากรให้มีภาพพจน์ดังกล่าวตามแนวคิดนี้ เช่น การที่กรณีที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ได้สร้างให้องค์กรของตนเป็นโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพที่ทันสมัยครบวงจรที่ดีที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้

3. Corporate Values สร้างให้องค์กรเป็นองค์กรที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ตลอดเวลา เช่น บริษัทไมโครซอฟท์ของบิลล์ เกตส์ (Bill Gates) ที่เป็นองค์กรที่มีมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา ในกรณีของประเทศไทยองค์กรที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทมหาชน “ปูนซีเมนต์ไทย” เป็นต้น

11. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Strategy บุคลากรและผู้นำต้องสร้างองค์กรให้เป็นสถาบันทางยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วย 1. Corporate Vision 2. Corporate Strategy 3. Corporate Values

12. Human Performance Framework ในระดับ Environment

องค์กรต้องจัดให้บุคลากรได้มีการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ยึดโยงและเชื่อมโยงกันอยู่ ตลอดจนสร้างสรรค์เครือข่ายที่เอื้อต่อสภาพแวดล้อมขององค์กร องค์กรต้องคำนึงถึง

1. Economic สภาวะแวดล้อมด้านเศรษฐกิจทั้งระบบการเงิน การคลัง อัตราดอกเบี้ย อัตรา การแลกเปลี่ยน เช่น กลุ่มค้ากุ้งของไทยในเวลานี้ ต่างก็ติดตามข้อมูลข่าวสารทั้งของรัฐ และเอกชน ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้คนทั้งระบบ

2. Regulatory กฎระเบียบต่างๆ ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของบริบทในสังคมไทยที่มีวัฒนธรรมชุมชนเป็นหน่วยยึดโยง วิถีการดำเนินชีวิต

3. Physical ที่ตั้งขององค์กรต้องสอดคล้องกัน และเอื้อต่อผู้ประกอบการ ที่ตั้งทำเลธุรกิจใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเป็นต้น

4. Social ด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนของความต่างทั้งในด้านศาสนา และวิถีชีวิตของแต่ละชาติพันธุ์ แต่ละกลุ่ม ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งสิ้น

5. Technological ต้องให้องค์กรใช้ และพัฒนาให้สอดคล้องกับธรรมชาตินิสัยของผู้บริหารหรือผู้นำ เช่น ในกรณีที่ประเทศไทยนำเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดหรือสิ่งผิดกฎหมาย โดยผ่านเครื่อง CTX ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดเสียขึ้นมา ทั้งนี้เป็นเพราะความชำนาญของผู้ใช้ไม่เพียงพอ การรีบเปิดสนามบิน เพื่อให้ทันกับพิธีกรรมบางอย่างของผู้นำ จึงก่อให้เกิดการคอรัปชั่นเชิงนโยบายขึ้นในสังคมไทย

13. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Environment ผู้บริหารขององค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะระดับดังกล่าวมีผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคมมากมายทั้ง 1. Economic 2. Regulatory 3. Physical 4. Social 5. Technological

เพราะรัฐและองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ปูนซีเมนต์ไทย ปตท. ล้วนเป็นองค์กรที่มีความละเอียดอ่อนทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นต้องฝึกฝนบุคลากรให้มีความสามารถสูง และสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดเวลา

14. การประยุกต์ใช้ Human Performance Framework ของ HR ในระดับจุลภาค (Micro)

เราจะพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันใกล้ๆ ตัวเราอยู่เป็นประจำ อีกทั้งตัวของเราก็เป็นส่วนหนึ่งของการนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา

หากเราเอาตัวของเราเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ HR กับวิถีชีวิตของเรากับคนรอบข้าง การทำงาน การบริโภคและอื่นๆ อาทิ เราจะต้องสร้างความสามารถของเราอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนารายได้ พัฒนาความรู้ บุคลิกภาพ การยกฐานะตนเองกับสังคม ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้าง Ability ให้กับตนเอง เราได้สร้างและรับอิทธิพลจากวิถีชีวิตประจำวัน ในการสร้าง Motivation การจูงใจทั้งผู้อื่น และตัวเราเองเพื่อบรรลุเป้าหมายของการงานที่วางไว้ เราต้องสร้างแรงจูงใจให้กับคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่กับคนขับรถ ลูกจ้าง ด้วยคำพูดเพียง 2 ประโยค เช่น ขอบคุณ และขอโทษ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองและคนรอบข้างตลอดเวลา

ในระดับโครงสร้าง (Stucture) ตั้งแต่ระดับครอบครัว ซึ่งเป๋นหน่วยเล็กๆ ของสังคมเราก็มีระบบโครงสร้าง ชั้นปกครอง การแบ่งงาน แบ่งภารกิจของสมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่พ่อซึ่งเป็นผู้นำ (Leadership) ต้องรับผิดชอบในการสร้างความมั่นคงด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องแสดงความรับผิดชอบกับรายรับมากกว่ารายจ่าย คนเป็นแม่ต้องเป็นทั้งหลักในการควบคุมรายจ่าย สภาพแวดล้อมของครอบครัว ลูกต้องรับผิดชอบในการศึกษาเล่าเรียน ประพฤติตัวเป็นคนดีของพ่อแม่ ต่อสถาบันการศึกษา ตลอดจนต่อสังคมอีกด้วย

และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ พ่อและแม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้ และให้การศึกษาแก่บุตรเพื่อกล่อมเกลาให้เป็นคนดีของสังคม เป็นทรัพยากรที่มีค่าของครอบครัวและสังคมในอนาคต

จะต้องบริหารจัดการทั้งทางโครงสร้าง (Structure) ด้านบุคลากรของครอบครัว (Resourcing) ต้องมีการประเมินความสามารถของผู้นำ และผู้ตาม (Perform Management) ดูได้จากรายรับ และผลการศึกษาของลูก และรายจ่ายของครอบครัว ต้องมีการให้การศึกษาอบรมสมาชิกในครอบครัว (Train/Know Support) เช่นการเรียนเสริมของลูก การอบรมหลักสูตรระยะสั้นของพ่อแม่ การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน (Performance Support) และคนรอบข้าง มีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) ต้องรับผิดชอบตลอดเวลา ต้องกระตุ้นให้คนในครอบครัวกระตือรือร้น และมีพลัง กำลังใจในการทำงาน และศึกษาเล่าเรียนอยู่ตลอดเวลา ต้องมีการสื่อสารให้ชัดเจน ทั้งสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน (Communications) ตลอดจนต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรเล็กๆ ของครอบครัว (Culture) ด้วยการสร้างวัฒนธรรมรักการอ่าน เคารพการใช้เหตุและผล สร้างค่านิยมการไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีคุณธรรม ครอบครัวเราจะสอนลูกให้รู้จักกตัญญู ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างจริยธรรม คุณธรรม สอนให้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและความผิด ต้องกล้ายืนยันในหลักการความถูกต้อง เป็นต้น

หากเราจะมอง HR ในระดับจุลภาคที่อยู่ไกลจากตัวเราไปอีกนิด เช่น เราจะพบว่าคนขายก๋วยเตี๋ยว คนขายข้าวแกง ต่างก็ต้องใช้การบริหารจัดการกับอาชีพของตนให้ดีเป็นเลิศให้ได้ ไม่อย่างนั้นร้านค้าของเขาก็จะไม่มีคนเข้าร้าน เพราะการบริหารจัดการที่ไม่ดี ความชำนาญ ทักษะ ไม่เพียงพอ ทำให้อาหารไม่อร่อย เป็นต้น

ธุรกิจระดับ SME ดูจะเป็นธุรกิจที่เรามองการประยุกต์ใช้ HR ได้เป็นอย่างดี

15. การประยุกต์ใช้ด้วยการมอง ด้วยการศึกษา วิเคราะห์ Human Performance Framework ในระดับมหภาค (Macro)

เราจะมองเห็นการประยุกต์ใช้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะที่ผ่านมาไม่นานนี้ อาทิเช่น นโยบายการปรับโครงสร้างโดยผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) (26 มิถุนายน 2550) มีกฎหมายบังคับใช้อีก 1 ปี ข้างหน้า (ปลายปี 2551) ของตำแหน่งและเงินเดือนของข้าราชการ ที่ได้จัดโครงสร้างให้บุคลากรของรัฐ ปรับขีดความสามารถให้ตรงกับสายงาน แข่งขันกัน ในสายงานของตน ยกเลิกระบบซี เพื่อให้ทุกคนอยู่บนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เท่ากับรายได้ (เงินเดือน) ใช้ความสามารถเป็นตัวบ่งชี้ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น มีโครงสร้างระบบคุณธรรม เพื่อป้องกัน และปราบปรามการวิ่งเต้น มีการให้โทษ ลงโทษในระดับปลัดกระทรวงและอธิบดีได้ ด้วยโครงสร้างทีมบริหารมีการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) มี 7 คน เป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ มีการปรับโครงสร้างเงินสร้างเงินเดือนแบ่งเป็นกลุ่มๆ

1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นกับระดับสูง

2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้นกับระดับสูง

3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ

ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับ ทักษะพิเศษ

โครงสร้างการปรับดังกล่าว จุดมุ่งหมายใหญ่ก็คือ การสร้างทรัพยากรบุคคลของราชการเป็นหลัก เป็นการปฏิวัติ ปฏิรูป การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HR) ของรัฐไทยอีกครั้งหลังจากการปฎิรูปโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ในสมัยนายกทักษิณ ที่ทำให้กลไกข้าราชการนี้มีอายุการบริหารมากกว่า 100 กว่าปี เกือบพังลงไป โดยการบริหารแบบคุณธรรม ขาดหลักนิติธรรมในการปกครองประเทศ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

การวางแผนกับการตัดสินใจและการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของหน่วยงานเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพราะองค์การจะดำเนินก้าวหน้าไปด้วนดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้นั้นตองอาศัยการวางแผน

การตัดสินใจ

(decision maling) หมายถึงกระบวนในการสร้างทางเลือกการดำเนินงานใดๆไว้หลายๆทางแล้วพิจารณาตรวจสอบประเมินผลทางเลือกเหบ่านั้นเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียวเพื่อนำไปดำเนินงาน

ประสิทธิภาพของการตัดสินใจ

คือความเป็นจริงและความชัดเจนของข้อมูลที่ใช้ แต่ไม่แน่นอนเพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีช่วงการตัดสินใจที่เลวที่สุดถึงการตัดสินใจที่ดีที่สุด มินท์ซเบอร์ก (henry mintzberg) ได้อธิบายบทหลัก 4 ประการที่ผู้บริหารยึดถือในการตัดสินใจคือ

1. การตัดสินใจในบทบาทของผู้ประกอบการ จะต้องพยายามคิดและหาวิธีการเพื่อมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยงาน หาประโยชน์จากโอกาสต่างๆ การปรับปรุงกิจกรรมของหน่วยงานให้ดีขึ้นไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2. การตัดสินใจในบทบาทของผู้พิชิตความยุ่งยาก ต้องดัดสินใจยุติปัญหาที่อาจสร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้นเพื่อมิให้ปัญหานั้นมีความรุนแรงลุกลามใหญ่โต กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความสูญเสียแกหน่วยงาน

3. การตัดสินใจในบทบาทของผู้จัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจแบ่งสรรให้ตามลักษณะงานและตามความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างยุติธรรม

4. การคัดสินใจบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง ถึงรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานไว้ให้มากที่สุด

กระบวนการตัดสินใจ

แสดงถึงอิทธิพลของเวลา ใน3ลักษณะ 1)อดีต เป็นเวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นและความตัดสินใจย่อมเกิดขึ้น 2) ปัจจุบัน เป็นเวลาที่แนวทางเลือกต่างๆได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำไปดำเนินการและ 3)อนาคต เป็นเวลาตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดไปปฏิบัติตรวจสอบประเมินผลหรือเปลี่ยนแปลงทางเลือกนั้นตามความเหมาะสม

องค์กรที่ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดและกล่าวขวัญกันมากที่สุดคือกรณีของ Encyclopaedia Britannica ซึ่งถือเป็นสารานุกรมอันดับหนึ่งของโลก ที่ประสบความสำเร็จมาตลอดจากการขายสารานุกรมที่เป็นเล่มใหญ่ๆ ตามบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาและทางผู้บริหารไม่สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงองค์กรตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก็ส่งผลให้สารานุกรมที่เคยเป็นที่หนึ่งของโลกมีอันต้องเกือบล้มละลายและเปลี่ยนมือเจ้าของไปในที่สุด จริงๆ แล้วจะโทษว่าผู้บริหารของ Encyclopaedia Britannica ไม่สามารถมองเห็นถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่นะครับ เนื่องจากผู้บริหารของบริษัทเขาก็เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสุดท้ายก็ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของทั้งบริษัท

ผู้บริหารที่ผมได้เจอหลายๆ ท่านก็เห็นนะครับว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภายนอกจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อองค์กรบ้าง เพียงแต่ท่านเหล่านั้นจะมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้สอดคล้องต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่ ผมเองเชื่อว่า ในปัจจุบันเราควรที่จะเห็นได้แล้วครับว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เพียงแต่เราจะยอมรับและปรับเปลี่ยนองค์กรให้เหมาะสมได้หรือไม่?

จริงๆ แล้วเราอาจจะมองในอีกมุมหนึ่งได้นะครับว่า การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะต้องมีความสามารถในการละทิ้งต่อสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำกันมา ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะต้องพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าและหาวิธีการใหม่ๆ โดยพร้อมที่จะละทิ้งในสิ่งเก่าๆ ที่เคยทำกันมา แต่อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

เมื่อมีแนวร่วมแล้วก็จะต้องขยายผลต่อไปทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้ทั่วทั้งองค์กรมีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ในบางองค์กรอาจจะมีการกำหนดมาตรการหรือแนวทางที่เข้มงวดสำหรับบุคลากรในการปฏิบัติ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ที่โรงแรมแห่งหนึ่งที่ต้องการเน้นการบริการที่เป็นมิตรให้มากขึ้น ได้มีการออกกฎเลยครับว่า โทรศัพท์ที่มีการโทร.เข้ามาทุกครั้งจะต้องได้รับการตอบรับภายในเสียงเรียกครั้งที่สาม และเป็นการตอบรับด้วยรอยยิ้ม หรือกรณีของจีอีที่อดีต CEO อย่าง Jack Welch ออกกฎเลยว่าทุกธุรกิจของจีอีถ้าไม่เป็นที่หนึ่งก็ต้องเป็นที่สองในอุตสาหกรรมของตนเอง

ประเด็นสุดท้ายของการบริหารการเปลี่ยนแปลงก็คือต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง การแสดงความไม่เห็นด้วยหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดาในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีก็คงต้องเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งวิธีที่เหมาะสมที่สุดก็หนีไม่พ้นในเรื่องของการสื่อสารที่จะต้องเน้นอย่างมากและมีการเปิดช่องทางในการสื่อสารไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้นำสามารถสื่อสารถึงการเปลี่ยนแปลงให้กับทุกคนในองค์กร

ลองนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ แต่อย่างที่ผมเรียนไว้แล้วว่าการเขียนเรื่องของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าทำให้เกิดผลจริงมากนัก

บทความนี้นำมาจากคอลัมภ์มองมุมใหม่ โดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

น.ส.ศิรินภา โพธิ์ทอง รหัสนักศึกษา 5050504638

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

เมื่อคราวประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ผ่านมา ผมได้พูดถึงแนวนโยบาย และวิสัยทัศน์ของสหกรณ์ ฯ ให้ฟังไปแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ยังไม่ได้พูดถึงก็คือองค์กร องค์กรที่จะประสบความสำเร็จจะต้องได้รับการพัฒนาให้ยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จึงขอยกมาพูดตรงนี้

องค์กรสหกรณ์ เป็นองค์กรที่มีสมาชิกเป็นหลัก สมาชิกส่วนหนึ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารองค์กร เรียกว่า กรรมการ ปัจจุบันมี 15 คน ส่วนสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งนั้น ทำหน้าที่ควบคุมการบริหาร ที่เรียกว่า ผู้แทนสมาชิก ในข้อบังคับเขียนไว้ว่า สหกรณ์ ฯ มีสมาชิกเกินกว่า 500 คน ให้ประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก ผู้แทนจึงมีบทบาทเหมือนผู้แทนราษฎร กรรมการเหมือนคณะรัฐมนตรี ส่วนสมาชิกทั่วไปเหมือนราษฎร การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนจึงต้องพัฒนาสมาชิก เพราะองค์ประกอบสำคัญขององค์กร คือ สมาชิก สมาชิกเลือกผู้แทน และเลือกกรรมการ ถ้าเลือกผู้แทนมีคุณภาพ ติดตามงานสหกรณ์ฯ ผู้แทนจะกำหนดทางเดินของนโยบาย และให้งบประมาณแก่คณะกรรมการ คณะกรรมการก็จะวางนโยบายตามที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้ฝ่ายจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ ประโยชน์ก็เกิดเต็มที่

แต่องค์กรของเราออกจะพิเศษกว่าองค์กรอื่น ๆ เพราะสมาชิก แม้จะยอมรับในเงื่อนไขต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การผ่านงบประมาณ การอนุมัติเรื่องสำคัญ ๆ เช่น การให้จัดหาที่ทำการใหม่ เป็นต้น แต่สมาชิกขอสงวนไว้ซึ่ง อำนาจของตนที่เลือกกรรมการ ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิ์เบื้องต้นตามระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นสิทธิ์พื้นฐานของหลักการสหกรณ์ฯ ที่ทุกคนมีเสียงหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน แต่เจตนารมณ์ ของ พ.ร.บ. สหกรณ์ ฯ และข้อบังคับคำนึงถึงสถานการณ์ คือเมื่อสหกรณ์ฯ มีขนาดโตขึ้น ( มีสมาชิกเกินกว่า 500 คน ) บางแห่งมีสมาชิกหลายหมื่นคน หรือของเรานนทบุรี มีกว่า 6,800 คน สมาชิกสมทบอีก 700 คน รวมเป็น 7,000 กว่าคน หาสถานที่ยาก ประชุมทั้งหมดกว่าจะพูดจากันรู้เรื่องก็มืดค่ำ การประชุมด้วยผู้แทนสมาชิก จึงเป็นเรื่องชอบด้วยเหตุและผล แต่เมื่อสมาชิกยังขอสงวนสิทธิ์เลือก ก็อาจจะหาวิธีกระจายการเลือกออกไปตามหน่วยงาน โรงเรียน หรือเขต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร และสถานที่จัดการประชุม เพราะเวลานี้สมาชิกก็พัฒนาไปมากแล้ว จะมีสมาชิกที่ไม่ยอมรับรู้อะไรเลยอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อย การพัฒนาสมาชิกทุกส่วนทุกคน จึงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และการพัฒนาที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิก และผู้แทนสมาชิกให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เข้าใจบทบาท และนำเอาความรู้ความเข้าใจไปบอกต่อ นำข่าวสารที่ได้รับไปขยายความต่อ ก็จะเกิดผลดีต่อองค์กร จะเกิดความมั่นคง เกิดการสื่อสารที่ดีกับองค์กร ก็พัฒนาไปในทางที่สร้างสรรค์ เพราะสมาชิกที่เป็นหลักสำคัญขององค์กร มีการพัฒนาทุกด้านโดยเฉพาะ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติ การเงิน ภาวะดอกเบี้ย การให้บริการ สวัสดิการต่าง ๆ ตลอดจนประกาศ มติต่าง ๆ ที่ปฏิบัติอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่สมาชิก กรรมการ ผู้แทน และฝ่ายจัดการต้องสื่อสารถึงกัน องค์กรจึงจะมี่ความเข้าใจต่อกัน การบริหารจัดการก็คล่องตัวเกิดผลดี เป็นการบริหารจัดการบนพื้นฐานของความเข้าใจที่ดีต่อกัน ผลที่ตามมาก็จะเกิดความมั่นคง เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้และให้บริการอย่างประทับใจ ตรงตามความต้องการของสมาชิก คือมีความถูกต้อง รวดเร็ว และประทับใจเมื่อมาใช้บริการ สมาชิกก็ติดตามงานทุกขั้นตอน มีข้อข้องใจอันใดก็สอบถาม หรือมีข้อเสนอแนะใด ก็ฝากผ่านฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารทางโทรศัพท์ ตลอดจนข่าวสารทางอินเตอร์เนต ส่งข่าวสารผ่านทาง E-mail ก็ล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางเสริมสร้างความมั่นคง โปร่งใส ให้บริการบนพื้นฐานของการบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการบริการ ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรอย่างมั่นคง และยั่งยืน

น.ส.วิรัญชญา พจน์สูงเนิน 5050504637

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ “เกาถูกที่คัน” หรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรค หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่าเราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างที่จะสำรวจ ค้นหาและประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้ายผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่าปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหามากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหาน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเราในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไรก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคนดังนี้

กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์

เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวมทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน

เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา

เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้ายวิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้นสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัยที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆโดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึกที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ

การประเมินระดับของปัญหา

เมื่อแน่ใจว่าปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้องและสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กรอะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่าปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อนจึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน

จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร

เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมดมาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอกเข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อยเราจะได้มั่นใจได้ว่าแผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ)

การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร

เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหาอาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผลควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน/ทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้(ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขหรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น

สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาบุคลากรขององค์กรควรจะทำอย่างเป็นระบบและเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มากเพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆมาไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตามควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ สุดท้ายนี้หวังว่าทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

น.ส.วิรัญชญา พจน์สูงเนิน 5050504637

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1. มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์

แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร

โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร

การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

น.ส.วิรัญชญา พจน์สูงเนิน 5050504637

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ

โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

6. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

7. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

8. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

จีราพร โคตรทองทิพย์

การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

จีราพร โคตรทองทิพย์ 5050504605

การพัฒนาองค์การ

ความหมายของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่เรียกว่า O.D. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์การที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์การเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ องค์การมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิดมีความเจริญเติบโตมีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์การมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานในการพัฒนาองค์การ

รูปแบบการบังคับบัญชา 1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

วิธีการในการพัฒนาองค์การ รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ซึ่งประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม (Unfreezing)การเปลี่ยนแปลง (Changing) การดำรงพฤติกรรมใหม่ (Refeezing)

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกในองค์การได้ใช้ศักยภาพ หรือสติปัญญาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และกระทำการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุตามจุดมุ่งหมายขององค์การ

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพองค์การที่มีประสิทธิภาพ หรือองค์การที่มีสุขภาพที่ดีจะมีลักษณะดังนี้ ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมาย รูปแบบองค์การต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์การขึ้นอยู่กับที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ มีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเทคนิค และกรรมวิธีการในการปฏิบัติงานระบบการวินิจฉัยสั่งการ การจูงใจ การสื่อสารข้อความ และระบบในการให้รางวลมีความจำเป็นต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์การให้เหมาะสม ซึ่งถ้าผู้บริหารในองค์การได้มีการตระหนักถึงความต้องการนี้อย่างแท้จริงแล้ว องค์การก็อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการพัฒนาองค์การมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบทบาทต่าง ๆ เอง

องค์การที่ยังไม่เหมาะสมและขาดความชัดเจน

การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาองค์การ มีความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันมีการร่วมมือในการทำงาน มีความเปิดเผยและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการสร้างทีมงานที่ดีก่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายมีการกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานที่ดี

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ข้อจำกัดในการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและใช้ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง การที่จะปรากฏผลการพัฒนาต้องใช้เวลารอคอยที่นาน และการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่เน้นพฤติกรรมมากกว่ากระบวนการในการปฏิบัติงาน

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ 1. ปัญหาด้านองค์การ 2. ปัญหาด้านผู้บริหารระดับสูง

จีราพร โคตรทองทิพย์ 5050504605

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ

3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ

4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด

5. วางแผนปฏิบัติการ

6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ

2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน

3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง

3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน

4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ

โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ

5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล

ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน

6. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด

มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ

7. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่

8. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

จีราพร โคตรทองทิพย์ 5050504605

Organization Development (OD) – การพัฒนาองค์การ เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ระยะยาว ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร ถือได้ว่าเป็นศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดในเชิงสังคมศาสตร์และในเชิงวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน เกี่ยวข้องกับเครื่องมือในเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การที่ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบ

พบว่าปัจจุบันผู้บริหาร นักพัฒนาบุคลากรหลายคนสงสัยว่า OD นั้นมีความหมายแตกต่างไปจาก HRD อย่างไร จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาความหมายของคำว่า OD จะเห็นได้ว่ามีนักคิด นักวิชาการมากมายที่ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ OD ที่เหมือนและแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

Richard Beckhard (1969) กล่าวถึง OD ว่าเป็นความพยายามที่เกี่ยวข้องกับ 1) แผนงานที่ถูกกำหนดขึ้น 2) องค์การในภาพรวม 3) การบริหารจัดการจากผู้บริหารระดับสูง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในระดับองค์การ และ 5) เครื่องมือที่มีการวางแผนงานและถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานขององค์การ

Wendell French (1969) กล่าวถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอกองค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ

Michael Beer (1980) กล่าวว่า OD กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ

Warner Burke (1982) กล่าวว่า OD เป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการนำแนวคิด การวิจัย และเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในองค์การ

จากแนวคิดของนักคิดและผู้รู้ดังกล่าวข้างต้น พบว่า OD เป็นกระบวนการหรือเครื่องมือที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมภายนอกในยุคของการแข่งขัน ดังนั้นองค์การต่างๆ จึงมุ่งเน้นให้คนในองค์การเกิดการปรับปรุง และการพัฒนาในขีดความสามารถของตน ทั้งนี้แนวคิดของ OD จะเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง มิใช่การหยุดนิ่งอยู่กับที่ และหลายครั้งที่การทำ OD ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้บริหารไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของ “คน” ในองค์การเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ผู้บริหารขาดการมีส่วนร่วม ขาดการผลักดันในการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในองค์การอย่างจริงจัง ซึ่งบุคคลที่จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของเครื่องมือ OD ก็คือ

นักพัฒนาบุคลากร ที่จะต้องค้นหาปัญหา (Problem Identification) ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหากองค์การไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และวิธีการทำงานของบุคลากรในองค์การ

เมื่อค้นหาว่าอะไรเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการหาแนวร่วมจากผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ รวมทั้งพนักงานทุกคนในองค์การ การจัดทำแผนการสื่อสาร (Communication Plan) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานเกิดความเข้าใจในเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง นักพัฒนาบุคลากรจะต้องสร้างจิตสำนึกของคนในองค์การก่อนเพื่อให้พวกเขาไม่ต่อต้านและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบงานหรือกระบวนการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติ และเมื่อพนักงานทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ โดยไม่ควรลอกเลียนรูปแบบหรือแนวปฏิบัติจากองค์การอื่น โดยเฉพาะองค์การที่ได้ชื่อว่าเป็น Best Practices ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการนำเครื่องมือ OD มาใช้เพื่อพัฒนาองค์การ และเพื่อให้เครื่องมือที่คิดขึ้นถูกนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ข้อพึงระวังก็คือ การให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดและรูปแบบของเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในองค์การ โดยเข้าไปพบเพื่อสอบถามความคิดเห็น หรือการทำแบบสำรวจเพื่อสอบถามถึงแนวคิดในการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาองค์การ

ดังนั้น OD จึงเป็นเรื่องของแผนงาน กิจกรรม และระบบงานที่ถูกคิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงว่าปัจจุบันองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องใด เช่น หากองค์การเผชิญปัญหาว่าพนักงานเก่ง (Talented People) ลาออกค่อนข้างมาก นักพัฒนาบุคลากรสามารถนำเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง โดยการสร้างจิตสำนึก หรือ Talent Mindset ให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ก่อน และหากผู้บริหารมีจิตสำนึกของการบริหารจัดการคนเก่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการหาเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง พัฒนา จูงใจและรักษาพนักงานเก่งเหล่านี้ไว้ให้ได้

จีราพร โคตรทองทิพย์ 5050504605

ความหมายของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การเป็นผลมาจากการที่บรรดานักปฏิบัติการทางด้านการจัดการและนักวิชาการโดยเฉพาะด้านพฤติกรรมศาสตร์ ได้คิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ ในอันที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้ดีกว่าแบบเดิมที่เป็นอยู่ แนวความคิดและวิธีการใหม่นี้ได้มุ่งไปสู่การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง “องค์การ” เพื่อประสิทธิผล และความเจริญเติบโตขององค์การโดยส่วนรวม แนวความคิดเชื่อว่าสามารถจะแก้ไขข้อบกพร่อง และความไร้ประสิทธิภาพของเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงในแนวเก่าได้เป็นอย่างดี และได้รับการขนานนามว่า “การพัฒนาองค์การ” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Organization Development” และเรียกสั้นๆ ว่า “OD”

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “การพัฒนาองค์การ” ย่อมมีหลายแนวด้วยกัน เช่น การพัฒนาองค์การ หมายถึง

1) ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนไว้ล่วงหน้า

2) เกี่ยวกับองค์การโดยส่วนรวมทั้งหมด

3) เริ่มดำเนินการจากฝ่ายจัดการระดับสูง

4) เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์การ

5) โดยวิธีการใช้เครื่องมือสอดแทรกอย่างมีแผนในกระบวนการต่างๆ ภายในองค์การ อาศัยความรู้จากพฤติกรรมศาสตร์

อีกแนวหนึ่ง การพัฒนาองค์การหมายถึง เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อมุ่งที่จะเปลี่ยนความเชื่อเจตคติ ค่านิยม และโครงสร้าง ในอันที่จะให้องค์การปรับตัวให้เข้ากับวิทยาการใหม่ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

แนวสุดท้าย การพัฒนาองค์การเป็นความพยายามที่ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อที่จะปรับปรุงความสามารถขององค์การให้พร้อมเพื่อต้อนรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในองค์การเอง ตลอดจนเป็นการปรับปรุงความสามารถขององค์การในการแก้ปัญหาต่างๆ ในองค์การ

จากความหมายและองค์ประกอบต่างๆ พอสรุปถึงความหมายของการพัฒนาองค์การได้ คือ

1) เป็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนไว้ล่วงหน้าในองค์การ

2) เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบทุกระบบที่ประกอบกันขึ้นเป็นองค์การ

3) โดยอาศัยผลของความรู้จากพฤติกรรมศาสตร์เข้ามาสอดแทรกในกระบวนการต่างๆ ขององค์การที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการต่างๆ ขององค์การที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง

4) เพื่อวัตถุประสงค์ในการเจริญก้าวหน้าของส่วนต่างๆ ภายในองค์การ

5) เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ – ประสิทธิผล ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวขององค์การให้เข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง

แนวความคิดพื้นฐานของการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การมีคุณสมบัติเบื้องต้นบางประการ เช่น

1) จะต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์การอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน

2) การไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างบุคคลในกลุ่มนั้นจะต้องมีสูงพอสมควร

3) การวินิจฉัยสั่งการจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ เข้าใจ และผู้ใกล้ชิดกับปัญหาได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

4) มีความรับผิดชอบร่วมกัน มิใช่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่รวมถึงความผูกพันทางจิตใจอยู่ด้วย

5) ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสกำหนดเป้าหมายขององค์การร่วมกัน

6) การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยหลักพฤติกรรมศาสตร์

นอกจากคุณสมบัติของการพัฒนาองค์การดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว จะต้องมีการคำนึงถึงเงื่อนไขเพิ่มเติมอย่างน้อยอีก 2 ประการด้วยกัน คือ

ก) จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของบุคคลในองค์การ โดยเน้นที่ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

ข) การปรับปรุงโครงสร้างขององค์การให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในด้านพฤติกรรม เจตคติที่ได้รับ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาตัวบุคคลนั้นๆ (หรือหวังว่าจะเกิดขึ้น)

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข 5050504645

การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์การ เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้

1. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

2. เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน

3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นต้น

แนวความคิดในการพัฒนาองค์การ

1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

โครงสร้างการเปลี่นแปลง

การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure) วิทยาการสมัยใหม่ (Technology) ระบบงาน (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล

กระบวนการในการพัฒนาองค์การ

1. การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

2. การวินิจฉัยเบื้องต้น (Innitial diagnosis)

3. การพิสูจน์ข้อมูล (Data confrontation)

4. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Action planning)

5. การสร้างทีมงาน (Team building)

6. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (Intergroup development)

7. การประเมินและติดตามผล (Appraisal and follow - up

รูปแบบในการพัฒนาองค์การ

1. การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์

2. การประชุมแบบเผชิญหน้า

3. การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน

4. กระบวนการให้การปรึกษา

5. การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ

6. การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์

วิธีการในการพัฒนาองค์การ

1. รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง และการดำรงพฤติกรรมใหม่

2. วิธีการของ Larry Greiner กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มักจะเกิดจากเหตุที่สำคัญสองประการ คือ แรงบังคับจากภายนอก และแรงบังคับจากภายใน

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ

1. การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ

2. การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมายและตามแผนงาน

2. รูปแบบต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์

3. การตัดสินใจอยู่ที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด มิใช่ตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ

1. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ 2. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด และผู้บริหารระดับต่าง ๆ

2. บุคลากรทุกคนในองค์การ

3. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

4. ที่ปรึกษาภายนอก และที่ปรึกษาภายใน

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข 5050504645

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

แนวคิดในการพัฒนาองค์การ

นักบริหารย่อมตระหนักดีว่า องค์การหรือหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งใน

ส่วนตัวบุคคล กลุ่ม และองค์การ โดยไม่มีผู้ใดสามารถขัดขวางหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงได้ และ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆอย่างไม่หยุดยั้ง ฉะนั้นการที่จะพยายามรักษา

เสถียรภาพ และความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการขัดขวางต่อกฎแห่งความจริง นักบริหารตะหนักต่อไป

ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ผู้ทำงานมักมีกิริยาต่อต้านขัดขืนไม่พอใจ เพราะเข้าใจว่าการ

เปลี่ยนแปลงคือการขัดขวางต่อฐานะ และคุณค่าของตน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพของงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจต่อต้านไม่พอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใต้บังคับบัญชา

ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสวัสดิการ ผู้บังคับบัญชาอาจต่อต้าน ขัดขืนไม่พอใจเพราะเข้าใจ

ว่าเป็นการกระทบกระเทือนต่ออำนาจการปกครองหรือความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงานของตน

ดังนี้เป็นต้น แต่ถ้าจะพิจารณาให้ถ่องแท้ตามเหตุผล และความเป็นจริงแล้ว การเกิดแนวความคิดใน

การเปลี่ยนแปลงต่างหากที่ทำให้เกิดประโยชน์ และคุณภาพใหม่อันเป็นที่น่าพอใจมากขึ้น ด้วย

เหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดแรงจูงใจต่อนักบริหาร ในการให้ได้มาซึ่งกระบวนการใด ๆที่สามารถนำมา

แก้ปัญหา และควบคุมการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การ

ในระยะสงครามโลกครั้งที่สอง มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกาได้ใช้ความ

พยายามร่วมกันสร้างวิทยาศาสตร์สังคมสาขาใหม่ขึ้น โดยนำเอาทฤษฎีและข้อมูลในวิชาจิตวิทยา

สังคมวิทยา มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มาผสมกัน ตั้งสมมติฐาน

และทำการศึกษาค้นคว้า พิสูจน์สมมติฐานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดเป็นสาขาใหม่ของ

วิทยาศาสตร์สังคม คือ สาขาพฤติกรรมศาสตร์อันเป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าถึงปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับ

พฤติกรรมของมนุษย์ที่รวมกันอยู่อย่างเป็นระบบสังคม แม้ว่าข้อยุติทางพฤติกรรมศาสตร์จะไม่

สมบูรณ์ จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป แต่พบว่าสมมติฐานของวิชานี้มีประโยชน์อย่างมากต่อ

วงการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอิทธิพลในยุคใหม่ที่เน้นหนักถึงการเปลี่ยนแปลง (Change)

และการแปรเปลี่ยน(Variability)สมมติฐานของพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งนำมาประยุกต์เป็นกระบวนการ

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงองค์การนั้นคือ การพัฒนาองค์การ (Organization Deelopement) หรือ

ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า O.D.

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายของท่านอาจารย์ ประกาย ชลหาญ (Prakai Cholahan , Director, ACAP Advisory PCL) เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2550 ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่อง “ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์” เพิ่มขึ้น ซึ่งพอจะสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้

1. จากคำกล่าวของแจ๊ค เวลช์ (Jack Welch ผู้เข้าไปบริหารจีอี (General Electric) ในฐานะ CEO เมื่อปี 2524 ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 20 ปี และประสบความสำเร็จอย่างสูง จนทำให้หุ้นของจีอี มูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 13,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 596,000 ล้านดอลลาร์ นับเป็นมูลค่าหุ้นสูงที่สุดในโลกในช่วงเวลานั้น) ที่ว่า “ธุรกิจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยทั่วไป และในความเป็นจริงชีวิตก็ประกอบด้วยครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ครู ผู้สอน ผู้ฝึกฝน เพื่อนบ้าน ซึ่งในที่สุดแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญก็คือมนุษย์”

(“Business is about people. In fact life is only people-family, friends, colleages, bosses, teachers, coaches, neighbors. At the end of the day, its only people that matter.”…Jack Welch in WINNIG)

กล่าวโดยสรุปก็คือ “มนุษย์เท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” และอีกคำพูดหนึ่งของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่ว่า ”คนเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร” (Human Capital is the most valuable asset in any Organization”…K. Paron Issarasena, Former Cement Thai President)

2. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายพันธุ์แท้อย่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (ผู้ก่อตั้งสถาบัน ทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2523 และ ต่อมาได้ผลักดันให้ ก่อตั้งมูลนิธิ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. 2539) เจ้าของทฤษฏี ทุนในทรัพยากรมนุษย์ 8K’s ก็ได้ให้ความสำคัญกับ “คน” ในฐานะทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นอันดับแรก และมีความหมายครอบคลุมถึงทุนขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาแต่วัยเยาว์ ตั้งแต่การได้รับการอบรม และเลี้ยงดูจากบิดามารดา พื้นฐานการศึกษา และพื้นฐานทางสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

เช่นเดียวกับคุณหญิงดร.ทิพาวดี เมฆสวัสดิ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ซึ่งมองว่า “คน… เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี” (2 พลังความคิด ชีวิตและงาน 2 ผู้นำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้, 2549)

3. แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) ได้ให้ข้อคิดที่ว่า ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องมีความสามารถใน 2 ด้าน กล่าวคือ 1. มีความสามารถในการบริหารคนและ 2. มีความสามารถในการบริหารเงินจึงจะประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย

4. การที่บุคคลหรือนักบริหารจะประสบความสำเร็จ และมีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่จะบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัย ปรัชญาความเชื่อใน 4 ปัจจัย (4E’s) กล่าวคือ

1. Energy : ต้องมีพลัง มีความกระตือรือล้น

บุคคลต้องทุ่มเทพลัง และตั้งใจทำงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ ให้กับองค์กร

2. Energize : ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดพลัง เติมพลังได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลแสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงาน ต้องให้ความสนใจในสิ่งต่างๆ ทั้งปัจจัยจากรายได้ และสวัสดิการ รวมทั้งการสร้างบรรยากาศแวดล้อมที่ดีให้กับองค์กร

3. Edge : ต้องสร้างแรงผลักดัน

ทั้งนี้ ผู้บริหารต้องส่งเสริมความสามารถของบุคลากรในองค์กร ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การอบรม การเพิ่มเติมความรู้ เป็นต้น

4. Execution : ต้องทำให้สำเร็จ

ผู้บริหารต้องผลักดันให้บุคลากรขององค์กรได้ทำงานที่มอบหมายให้สำเร็จผลอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปรัชญาความเชื่อใน 4E’s คือ ทั้ง 1. Energy 2. Energize 3. Edge 4. Execution นั้น ควรได้เพิ่ม E ที่ 5 เข้าไปด้วย คือ

Ethics ซึ่งหมายถีง ผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรมในการทำงาน ควรสร้างค่านิยม สร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เป็นองค์กรที่มีคุณธรรม จริยธรรม การสร้างค่านิยมนี้ต้องสร้างตั้งแต่สถาบันครอบครัวจนถึงสถาบันการศึกษา ในระดับอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย เพราะค่านิยมดังกล่าวเมื่ออยู่ในตัวผู้บริหารหรือผู้นำแล้ว จะทำให้การบริหารบรรลุเป้าหมาย หากเป็นองค์กรก็เป็นองค์กรธรรมาภิบาล เป็นบุคคลก็เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม เหล่านี้ล้วนสร้างให้สังคมเป็นสังคมคุณธรรม เป็นรัฐก็เป็นรัฐนิติธรรมอย่างสมบูรณ์

5. การบริหารจัดการที่เกี่ยวกับ “คน” นั้นมักจะมีโครงสร้างเหมือนวงกลม 3 วง ซ้อนทับกันและคล้องประสานกัน โดยมีพื้นที่ที่ทั้ง 3 วงประสานกันคือ

1. Leader ผู้นำ

2. Follower ผู้ตาม

3. Environment สภาพแวดล้อม

การบริหารจัดการต้องมีการประสานกันอย่างต่อเนื่องของผู้นำ ผู้ตาม และสภาพแวดล้อม ซึ่งต้องขึ้นกับสภาพความเป็นจริงขององค์กรเป็นหลัก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดของ แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch)

6. Human Performance Framework ในระดับ Organization หน้าที่หลักของผู้นำ จะต้องสร้างให้องค์กร ซึ่งมี “คน” เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ให้มี Ability หรือ Competency ให้เกิดการสร้างเสริมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จนเกิดความสามารถในการประกอบสัมมาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการ

สร้างกระบวนการของ Motivation คือการปลุกเร้า การสร้างเสริมแรงจูงใจ การกระตุ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ อันได้แก่

1. Structure ต้องมีโครงสร้างการบริหาร ความรับผิดชอบของคน ของงาน ของงบประมาณ อย่างชัดเจน ต้องมีงานที่เหมาะสมกับคน สายบังคับบัญชาต้องชัดเจน มีการสร้าง Job description ที่ละเอียดชัดเจน รวมถึงค่าตอบแทนที่เหมาะกับงานและ คน อย่างกรณีที่มีการปรับโครงสร้างสายบังคับบัญชาของระบบราชการใหม่โดยยกเลิกระบบซี ทั้งนี้ก็เพื่อให้ความรู้ ความสามารถ ของผู้ทำงานได้เติบโตตามสายงานของตนโดยตรง ทั้งยังสร้างองค์กรผดุงคุณธรรมเพื่อตรวจสอบ และถ่วงดุลการวิ่งเต้นตำแหน่ง สร้างองค์กรคุณธรรมขึ้น

แนวคิดของ วอร์เรน เบนนิส (Warren Bennis) ที่ว่า “ในอนาคตองค์กรที่อาศัยการออกคำสั่ง การควบคุมอย่างใกล้ชิดและการคาดการณ์จะหมดสมัยแล้ว บริษัทในยุคต่อไปจะต้องอาศัยการทำงานในรูปสหพันธ์ ซึ่งกระจายความรับผิดชอบและอำนาจในการตัดสินใจให้แก่หน่วยเล็กๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้ทันกับสภาพแวดล้อม” (คิดนอกรอบ ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547) แนวคิดดังกล่าวดูจะสอดคล้องกับหลัก structure นี้

2. Resourcing มีการบริหารจัดการกับกำลังคนให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและ งบประมาณ กับกำลังการผลิต สร้างให้เกิดการสมดุล จัดให้พอดี ไม่มากไป หรือน้อยไป เพราะถ้าคนมากกว่างานองค์กรก็จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าหากกำลังคนน้อยกว่า งานก็จะสร้างสภาวะกดดันให้บุคลากรเกิดความเครียด และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์กร เช่น กรณีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค กำลังคนไข้ที่ไปรักษาพยาบาลของรัฐมีมากกว่าหมอ อีกทั้งงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ตลอดจนคนไข้เรียกร้องสิทธิมากกว่าในอดีต จนหมอเกิดความเครียดมากขึ้น ทำให้เกิดการขาดแคลนหมอในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากหมอเริ่มมีการลาออกจากหน่วยงานรัฐไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

3. Performance Management ต้องมีระบบการประเมินที่ดี มีเป้าหมายชัดเจน ผู้บริหารต้องรู้ว่าผลการประเมินเอาไปใช้ทำประโยชน์อะไร ต้องวัดและประเมินผลในงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ต้องทำการประเมินเป็นระยะๆ ควรบอกจุดอ่อน จุดแข็งให้กับผู้ถูกประเมินทราบ ทั้งนี้ต้องประเมินไปเพื่อการพัฒนาคน พัฒนาความรู้ เพื่อประสิทธิภาพของงบประมาณ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม เพื่อสร้างมาตรฐานของคุณธรรมเป็นที่ตั้ง

4. Training/ Knowledge Support องค์กรต้องมีการสนับสนุน ส่งเสริม “คน” ให้ได้รับการอบรม ฝึกฝน ฝึกงาน ต้องได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอๆ เพื่อทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถ เป็นการพัฒนาทั้งด้าน IQ และด้าน EQ ต้องให้ได้รับการฝึกฝนทั้งด้านความรู้ ด้านเทคโนโลยี

แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) สนับสนุนใฟ้พนักงานแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากการเฝ้าดูคู่แข่ง เพื่อนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในองค์กรของตน ผู้ที่มีความคิดใหม่ๆ จะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ มีเรื่องเล่าว่า... พนักงานคนหนึ่งไปได้ความคิดใหม่มาจากอังกฤษ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ผู้น้อยเป็นครู (Reverse Mentoring) เรื่องนี้มีที่มาจากเมื่อระบบอินเตอร์เน็ต เริ่มแพร่ระบาด พนักงานหนุ่มสาวเท่านั้นที่มีความเรื่องอินเตอร์เน็ต ส่วนผู้บริหารอายุมากๆ มักไม่ค่อยเข้าใจและใช้ไม่เป็น บริษัทในอังกฤษจัดให้พนักงาน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านอินเตอร์เน็ตฝึกผู้บริหารตัวต่อตัว จนผู้บริหารสามารถใช้เครื่องมือสำคัญนั้นได้อย่างคล่องแคล่ว

แจ๊ค เวลช์ เห็นว่านั่นเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์มาก เขาจัดให้จีอีมีการฝึกเช่นนั้น ภายใน 2 สัปดาห์ ตัวเขาเองก็เข้ารับการฝึกจากพนักงานระดับปลายแถวด้วย (คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547)

5. Performance Support องค์กรต้องสนับสนุนในทุกๆ ด้าน เพื่อให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการจัดบรรยากาศ ในที่ทำงานให้เหมาะกับงาน สร้างความสะดวกในการปฏิบัติงาน สร้างอุปกรณ์ในการทำงานให้ทันสมัย และสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร อีกทั้งดูแลเรื่องสภาพแวดล้อม ด้านสุขอนามัย ของสถานที่ทำงานให้สะอาด ปราศจากแหล่งเพาะเชื้อโรค แสงและเสียง ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

6. Leader ship องค์กรต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ ทั้งนี้เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่มีความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรแห่งความสุข

ผู้นำที่ดี จะต้องมี 4 บทบาทด้วยกัน กล่าวคือ

1. Pathfinder เป็นผู้นำที่สร้างเป้าหมายให้พนักงานได้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคน ต่างทำ คนละเป้าหมาย เพื่อให้ทุกคนเดินไปในทางที่ถูกต้อง

2. Aligning All เป็นผู้นำที่ให้ทุกคนในองค์กรได้ปฏิบัติงานไปตามบทบาทหน้าที่อย่างพร้อมเพรียงกัน เปรียบเสมือนฟันเฟืองทุกตัวที่เดินไปพร้อมๆ กัน ในทิศทางเดียวกัน

3. Empower เป็นผู้นำที่ต้องบริหารแบบกระจายอำนาจให้แก่ลูกน้อง กล้าคิด กล้าทำ ด้วยตนเอง ให้เขากล้าตัดสินใจในอัตราที่เสี่ยงได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกน้องเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของผู้นำได้ ทั้งยังเป็นการสร้างกลไกของสภาวะผู้นำในรุ่นต่อๆ ไป ขององค์กร

4. Role Model ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กร เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกน้อง

ผู้นำต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Do the right things) ทำในสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดจรรยาบรรณ จริยธรรม และต้องสร้างแบบอย่างของการให้กับสังคม มีจิตสาธารณะเป็นองค์ประกอบ

บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) ดูจะมีบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำ ตามที่กล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี เขาได้กล่าวว่า “คนฉลาดควรมีอำนาจขับเคลื่อนความคิดรีเริ่ม” เขาจึงมุ่งสร้างบริษัทไมโครซอฟท์ ให้เป็นองค์กรแห่งปัญญา โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลของบริษัทได้อย่างทั่วถึง ให้ได้รับการฝึกให้รู้จักวิเคราะห์ ตีความ และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นพนักงานไมโครซอฟท์ ยังมีช่องทางในการเสนอความคิดเห็นโดยตรงต่อผู้บริหารทุกระดับ ซึ่งผู้บริหารในบริษัทต้องมีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของทุกคน บิลล์ เกตส์ มองว่าในภาวะเช่นนั้น ทุกส่วนขององค์กรจะทำงานร่วมกัน เป็นปึกแผ่นเสมือนมันสมองก้อนใหญ่อันชาญฉลาด และปราดเปรียว

เกตส์ เองทำตัวเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนบริษัทฯ โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัททุกคนส่งข่าว และความคิดเห็นไปถึงเขาทางอีเมลล์ได้ตลอดเวลาไม่ว่า ข่าวร้ายหรือความคิดใหม่ๆ ซึ่งแย้งกับเขา ยิ่งเป็นข่าวร้ายเขายิ่งต้องการได้รับเร็วที่สุด

ความใจกว้าง ถ่อมตน และยืดหยุ่นได้ ของบิลล์ เกตส์ เป็นที่รู้กันทั่วไปในไมโครซอฟท์ (คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547)

7. Communication ต้องทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีการสื่อสารที่ดี ต้องสร้างระบบที่ดี เหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กรควรจัดทำคู่มือ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ ไม่ควรพึ่งพาคนเพียงคนเดียว เช่น มีคนรู้ข้อมูลเพียงคนเดียว เพราะอยู่มานาน เป็นการสร้างอำนาจของผู้นำโดยธรรมชาติ (Information is power) ให้เกิดขึ้นในองค์กร องค์กรควรสร้างระบบการสื่อสารที่เข้าใจได้ตรงกับนโยบายขององค์กร ไม่ให้มีการสื่อสารผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ต้องสื่อสารให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน

8. Culture ต้องสร้างให้มีวัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้น เพราะวัฒนธรมมองค์กรที่ดีจะทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดการมีความจงรักภักดีต่อองค์กร มีความสามัคคีกลมเกลียว ทำงานมุ่งไปในทางเดียวกัน เกิดการร่วมมือในการฝ่าฟันอุปสรรคด้วยกัน ช่วยลดภาระ และค่าใช่จ่ายขององค์กร

จอห์น คอตเตอร์ (John Kotter) ได้อธิบายว่า...”วัฒนธรรมเป็นมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ของพฤติกรรมที่สมาชิกในองค์กรถือปฎิบัติ มาตรฐานหรือหลักเกณฑ์นี้ไม่มีเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นที่รู้กันในหมู่สมาชิกว่ามันคืออะไร อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ

วัฒนธรรมจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในองค์กรที่ได้รับความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

อย่างกรณีของจีอี (GE) ที่ แจ๊ค เวลช์ (Jack Welch) ได้สร้างให้มีวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ “เขาได้ใช้เงินกว่า 45 ล้านดอลลาร์เพื่อปรับปรุงศูนย์ฝึกอบรมของบริษัทให้กลายเป็นสถาบันในการฝึก และระดมสมองของผู้บริหารและพนักงานอย่างแท้จริง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ศูนย์นั้นตั้งขึ้นเพื่อผู้บริหารและพนักงานทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น เพราะเขาเชื่อว่าไม่มีใครจะรู้อะไรไปหมดทุกอย่าง รวมทั้งตัวของเขาเองด้วย แจ๊ค เวลช์ เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ฝึกอบรมเป็นประจำ รวมทั้งเป็นครูผู้สอน เพื่อใช้ความรู้ระดับปริญญาเอก ทางด้านวิศวกรรมเคมีของเขาให้เป็นประโยชน์ด้วย” (คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์, ดร.ไสว บุญมา, พฤศจิกายน 2547)

7. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Organization หน้าที่หลักของผู้นำองค์กร ต้องทำให้ “คน” ถูกพัฒนาเป็น “ทรัพยากรมนุษย์” ต้องสร้าง “คน” ให้มีความรู้ ความสามารถและมีประสิทธิภาพ ทำให้ “คน” ต้องมี Ability หรือ competency ซึ่งมีทั้งความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อสร้างความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ โดยผ่านขบวนการ Motivation ต้องสร้างทั้งแรงจูงใจ ต้องปลุกเร้า กระตุ้นให้บุคคลในองค์กรได้พัฒนาตนเอง ด้วยการอาศัยปัจจัยสนับสนุนจาก 1. Structure 2. Resourcing 3. Performace Management 4. Train/Know Support 5. Performance Support 6. Leadership ซึ่งประกอบด้วย Pathfinder, Aligning All, Empower, Role model 7. Communication 8. Culture เหล่านี้ล้วนต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

8. Human Performance Framework ในระดับ Operations

องค์กรต้องสร้างบุคลากรขององค์กรให้วัฒนธรรมในการทำงาน และพัฒนาตน โดยองค์กรต้องมี

1. Process สร้างกระบวนการในการทำงานให้เหมาะสมทั้งลักษณะของงาน สถานที่ทำงาน อุปกรณ์เครื่องใช้ เพื่อสร้างประสิทธิภาพของงานภายใต้กรอบนโยบายและงบประมาณที่จำกัด กระบวนการจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อน “คน” ให้เป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร

2. Technology มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ใช้ และการลงทุนขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสิทธิภาพ และลดต้นทุน ตลอดจนเพื่อการบริหารเวลาที่คุ่มค่า

3. Physical Setting ต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องกับ process เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และสร้างกระบวนการทำงานให้ราบรื่น สะดวกสบาย อีกทั้งเป็นการลดต้นทุน และลดเวลาการทำงานให้น้อยลง

9. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Operations ความสัมพันธ์ของทั้ง 1. Process 2. Technology 3. Physical Setting ได้ช่วยให้องค์กรพัฒนาบุคลากรให้มีการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่นกรณีที่สำนักทะเบียน บัตรประชาชนของกรมการปกครองได้นำเทคโนโลยีระบบออนไลน์มาใช้ทั้งประเทศ ช่วยให้ประชาชนสามารถอยู่ที่ไหนของประเทศไทยก็สามารถทำบัตรประชาชนได้ โดยไม่ต้องกลับมาที่ภูมิลำเนาเดิม เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน อีกทั้งยังได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วกว่าในอดีต

10. Human Performance Framework ในระดับ Strategy

องค์กรต้องจัดให้บุคลากรได้มีทักษะ มีความสามารถ ได้สะท้อนให้เห็น

1. Corporate Vision สร้างให้องค์กรเป็นสถาบันที่มองการณ์ไกล เป็นองค์กรที่สะท้อนภาพพจน์ของอนาคตได้ ต้องพัฒนาทั้งคนและกระบวนการต่างๆ ในการเสริมสร้างองค์กร เช่น บริษัทข้อมูลแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ซึ่งเป็นองค์กรที่สะท้อนข้อมูลที่สร้างเสถียรภาพ เครดิตของประชากรของชาติในการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่าขึ้นหรือลงด้วยการประเมินจากอัตราการบริโภคแต่ละภาคส่วนของการลงทุนในประเทศกับการจับจ่ายใช้สอยของคนในชาติ

2. Corporate Strategy ให้เป็นองค์กรที่มียุทธศาสตร์ ต้องพัฒนาบุคลากรให้มีภาพพจน์ดังกล่าวตามแนวคิดนี้ เช่น การที่กรณีที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ได้สร้างให้องค์กรของตนเป็นโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพที่ทันสมัยครบวงจรที่ดีที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้

3. Corporate Values สร้างให้องค์กรเป็นองค์กรที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ตลอดเวลา เช่น บริษัทไมโครซอฟท์ของบิลล์ เกตส์ (Bill Gates) ที่เป็นองค์กรที่มีมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา ในกรณีของประเทศไทยองค์กรที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทมหาชน “ปูนซีเมนต์ไทย” เป็นต้น

11. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Strategy บุคลากรและผู้นำต้องสร้างองค์กรให้เป็นสถาบันทางยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วย 1. Corporate Vision 2. Corporate Strategy 3. Corporate Values

12. Human Performance Framework ในระดับ Environment

องค์กรต้องจัดให้บุคลากรได้มีการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ยึดโยงและเชื่อมโยงกันอยู่ ตลอดจนสร้างสรรค์เครือข่ายที่เอื้อต่อสภาพแวดล้อมขององค์กร องค์กรต้องคำนึงถึง

1. Economic สภาวะแวดล้อมด้านเศรษฐกิจทั้งระบบการเงิน การคลัง อัตราดอกเบี้ย อัตรา การแลกเปลี่ยน เช่น กลุ่มค้ากุ้งของไทยในเวลานี้ ต่างก็ติดตามข้อมูลข่าวสารทั้งของรัฐ และเอกชน ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้คนทั้งระบบ

2. Regulatory กฎระเบียบต่างๆ ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของบริบทในสังคมไทยที่มีวัฒนธรรมชุมชนเป็นหน่วยยึดโยง วิถีการดำเนินชีวิต

3. Physical ที่ตั้งขององค์กรต้องสอดคล้องกัน และเอื้อต่อผู้ประกอบการ ที่ตั้งทำเลธุรกิจใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเป็นต้น

4. Social ด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนของความต่างทั้งในด้านศาสนา และวิถีชีวิตของแต่ละชาติพันธุ์ แต่ละกลุ่ม ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งสิ้น

5. Technological ต้องให้องค์กรใช้ และพัฒนาให้สอดคล้องกับธรรมชาตินิสัยของผู้บริหารหรือผู้นำ เช่น ในกรณีที่ประเทศไทยนำเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดหรือสิ่งผิดกฎหมาย โดยผ่านเครื่อง CTX ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดเสียขึ้นมา ทั้งนี้เป็นเพราะความชำนาญของผู้ใช้ไม่เพียงพอ การรีบเปิดสนามบิน เพื่อให้ทันกับพิธีกรรมบางอย่างของผู้นำ จึงก่อให้เกิดการคอรัปชั่นเชิงนโยบายขึ้นในสังคมไทย

13. สรุป Human Performance Framework ในระดับ Environment ผู้บริหารขององค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะระดับดังกล่าวมีผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคมมากมายทั้ง 1. Economic 2. Regulatory 3. Physical 4. Social 5. Technological

เพราะรัฐและองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ปูนซีเมนต์ไทย ปตท. ล้วนเป็นองค์กรที่มีความละเอียดอ่อนทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นต้องฝึกฝนบุคลากรให้มีความสามารถสูง และสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดเวลา

14. การประยุกต์ใช้ Human Performance Framework ของ HR ในระดับจุลภาค (Micro)

เราจะพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันใกล้ๆ ตัวเราอยู่เป็นประจำ อีกทั้งตัวของเราก็เป็นส่วนหนึ่งของการนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา

หากเราเอาตัวของเราเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ HR กับวิถีชีวิตของเรากับคนรอบข้าง การทำงาน การบริโภคและอื่นๆ อาทิ เราจะต้องสร้างความสามารถของเราอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนารายได้ พัฒนาความรู้ บุคลิกภาพ การยกฐานะตนเองกับสังคม ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้าง Ability ให้กับตนเอง เราได้สร้างและรับอิทธิพลจากวิถีชีวิตประจำวัน ในการสร้าง Motivation การจูงใจทั้งผู้อื่น และตัวเราเองเพื่อบรรลุเป้าหมายของการงานที่วางไว้ เราต้องสร้างแรงจูงใจให้กับคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่กับคนขับรถ ลูกจ้าง ด้วยคำพูดเพียง 2 ประโยค เช่น ขอบคุณ และขอโทษ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองและคนรอบข้างตลอดเวลา

ในระดับโครงสร้าง (Stucture) ตั้งแต่ระดับครอบครัว ซึ่งเป๋นหน่วยเล็กๆ ของสังคมเราก็มีระบบโครงสร้าง ชั้นปกครอง การแบ่งงาน แบ่งภารกิจของสมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่พ่อซึ่งเป็นผู้นำ (Leadership) ต้องรับผิดชอบในการสร้างความมั่นคงด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องแสดงความรับผิดชอบกับรายรับมากกว่ารายจ่าย คนเป็นแม่ต้องเป็นทั้งหลักในการควบคุมรายจ่าย สภาพแวดล้อมของครอบครัว ลูกต้องรับผิดชอบในการศึกษาเล่าเรียน ประพฤติตัวเป็นคนดีของพ่อแม่ ต่อสถาบันการศึกษา ตลอดจนต่อสังคมอีกด้วย

และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ พ่อและแม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้ และให้การศึกษาแก่บุตรเพื่อกล่อมเกลาให้เป็นคนดีของสังคม เป็นทรัพยากรที่มีค่าของครอบครัวและสังคมในอนาคต

จะต้องบริหารจัดการทั้งทางโครงสร้าง (Structure) ด้านบุคลากรของครอบครัว (Resourcing) ต้องมีการประเมินความสามารถของผู้นำ และผู้ตาม (Perform Management) ดูได้จากรายรับ และผลการศึกษาของลูก และรายจ่ายของครอบครัว ต้องมีการให้การศึกษาอบรมสมาชิกในครอบครัว (Train/Know Support) เช่นการเรียนเสริมของลูก การอบรมหลักสูตรระยะสั้นของพ่อแม่ การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน (Performance Support) และคนรอบข้าง มีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) ต้องรับผิดชอบตลอดเวลา ต้องกระตุ้นให้คนในครอบครัวกระตือรือร้น และมีพลัง กำลังใจในการทำงาน และศึกษาเล่าเรียนอยู่ตลอดเวลา ต้องมีการสื่อสารให้ชัดเจน ทั้งสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน (Communications) ตลอดจนต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรเล็กๆ ของครอบครัว (Culture) ด้วยการสร้างวัฒนธรรมรักการอ่าน เคารพการใช้เหตุและผล สร้างค่านิยมการไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีคุณธรรม ครอบครัวเราจะสอนลูกให้รู้จักกตัญญู ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างจริยธรรม คุณธรรม สอนให้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและความผิด ต้องกล้ายืนยันในหลักการความถูกต้อง เป็นต้น

หากเราจะมอง HR ในระดับจุลภาคที่อยู่ไกลจากตัวเราไปอีกนิด เช่น เราจะพบว่าคนขายก๋วยเตี๋ยว คนขายข้าวแกง ต่างก็ต้องใช้การบริหารจัดการกับอาชีพของตนให้ดีเป็นเลิศให้ได้ ไม่อย่างนั้นร้านค้าของเขาก็จะไม่มีคนเข้าร้าน เพราะการบริหารจัดการที่ไม่ดี ความชำนาญ ทักษะ ไม่เพียงพอ ทำให้อาหารไม่อร่อย เป็นต้น

ธุรกิจระดับ SME ดูจะเป็นธุรกิจที่เรามองการประยุกต์ใช้ HR ได้เป็นอย่างดี

15. การประยุกต์ใช้ด้วยการมอง ด้วยการศึกษา วิเคราะห์ Human Performance Framework ในระดับมหภาค (Macro)

เราจะมองเห็นการประยุกต์ใช้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะที่ผ่านมาไม่นานนี้ อาทิเช่น นโยบายการปรับโครงสร้างโดยผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) (26 มิถุนายน 2550) มีกฎหมายบังคับใช้อีก 1 ปี ข้างหน้า (ปลายปี 2551) ของตำแหน่งและเงินเดือนของข้าราชการ ที่ได้จัดโครงสร้างให้บุคลากรของรัฐ ปรับขีดความสามารถให้ตรงกับสายงาน แข่งขันกัน ในสายงานของตน ยกเลิกระบบซี เพื่อให้ทุกคนอยู่บนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เท่ากับรายได้ (เงินเดือน) ใช้ความสามารถเป็นตัวบ่งชี้ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น มีโครงสร้างระบบคุณธรรม เพื่อป้องกัน และปราบปรามการวิ่งเต้น มีการให้โทษ ลงโทษในระดับปลัดกระทรวงและอธิบดีได้ ด้วยโครงสร้างทีมบริหารมีการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) มี 7 คน เป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ มีการปรับโครงสร้างเงินสร้างเงินเดือนแบ่งเป็นกลุ่มๆ

1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นกับระดับสูง

2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้นกับระดับสูง

3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ

ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับ ทักษะพิเศษ

โครงสร้างการปรับดังกล่าว จุดมุ่งหมายใหญ่ก็คือ การสร้างทรัพยากรบุคคลของราชการเป็นหลัก เป็นการปฏิวัติ ปฏิรูป การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HR) ของรัฐไทยอีกครั้งหลังจากการปฎิรูปโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ในสมัยนายกทักษิณ ที่ทำให้กลไกข้าราชการนี้มีอายุการบริหารมากกว่า 100 กว่าปี เกือบพังลงไป โดยการบริหารแบบคุณธรรม ขาดหลักนิติธรรมในการปกครองประเทศ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข 5050504645

ทำอย่างไรองค์กรจึงจะพัฒนาได้สำเร็จ? มีองค์กรใดบ้างที่ทำได้สำเร็จ ทำสำเร็จอย่างไร และได้ประโยชน์อะไร?

ตอบ

การวางแผนกับการตัดสินใจและการพัฒนาองค์การ

การวางแผนเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของหน่วยงานเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพราะองค์การจะดำเนินก้าวหน้าไปด้วนดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้นั้นตองอาศัยการวางแผน

การตัดสินใจ

(decision maling) หมายถึงกระบวนในการสร้างทางเลือกการดำเนินงานใดๆไว้หลายๆทางแล้วพิจารณาตรวจสอบประเมินผลทางเลือกเหบ่านั้นเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียวเพื่อนำไปดำเนินงาน

ประสิทธิภาพของการตัดสินใจ

คือความเป็นจริงและความชัดเจนของข้อมูลที่ใช้ แต่ไม่แน่นอนเพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดีช่วงการตัดสินใจที่เลวที่สุดถึงการตัดสินใจที่ดีที่สุด มินท์ซเบอร์ก (henry mintzberg) ได้อธิบายบทหลัก 4 ประการที่ผู้บริหารยึดถือในการตัดสินใจคือ

1. การตัดสินใจในบทบาทของผู้ประกอบการ จะต้องพยายามคิดและหาวิธีการเพื่อมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยงาน หาประโยชน์จากโอกาสต่างๆ การปรับปรุงกิจกรรมของหน่วยงานให้ดีขึ้นไตร่ตรองอย่างรอบคอบในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

2. การตัดสินใจในบทบาทของผู้พิชิตความยุ่งยาก ต้องดัดสินใจยุติปัญหาที่อาจสร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้นเพื่อมิให้ปัญหานั้นมีความรุนแรงลุกลามใหญ่โต กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความสูญเสียแกหน่วยงาน

3. การตัดสินใจในบทบาทของผู้จัดสรรทรัพยากร ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจแบ่งสรรให้ตามลักษณะงานและตามความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างยุติธรรม

4. การคัดสินใจบทบาทของผู้เจรจาต่อรอง ถึงรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานไว้ให้มากที่สุด

กระบวนการตัดสินใจ

แสดงถึงอิทธิพลของเวลา ใน3ลักษณะ 1)อดีต เป็นเวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นและความตัดสินใจย่อมเกิดขึ้น 2) ปัจจุบัน เป็นเวลาที่แนวทางเลือกต่างๆได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อนำไปดำเนินการและ 3)อนาคต เป็นเวลาตัดสินใจเลือกที่ดีที่สุดไปปฏิบัติตรวจสอบประเมินผลหรือเปลี่ยนแปลงทางเลือกนั้นตามความเหมาะสม

องค์กรที่ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดและกล่าวขวัญกันมากที่สุดคือกรณีของ Encyclopaedia Britannica ซึ่งถือเป็นสารานุกรมอันดับหนึ่งของโลก ที่ประสบความสำเร็จมาตลอดจากการขายสารานุกรมที่เป็นเล่มใหญ่ๆ ตามบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาและทางผู้บริหารไม่สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงองค์กรตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก็ส่งผลให้สารานุกรมที่เคยเป็นที่หนึ่งของโลกมีอันต้องเกือบล้มละลายและเปลี่ยนมือเจ้าของไปในที่สุด จริงๆ แล้วจะโทษว่าผู้บริหารของ Encyclopaedia Britannica ไม่สามารถมองเห็นถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่นะครับ เนื่องจากผู้บริหารของบริษัทเขาก็เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสุดท้ายก็ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของทั้งบริษัท

ผู้บริหารที่ผมได้เจอหลายๆ ท่านก็เห็นนะครับว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภายนอกจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อองค์กรบ้าง เพียงแต่ท่านเหล่านั้นจะมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้สอดคล้องต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่ ผมเองเชื่อว่า ในปัจจุบันเราควรที่จะเห็นได้แล้วครับว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เพียงแต่เราจะยอมรับและปรับเปลี่ยนองค์กรให้เหมาะสมได้หรือไม่?

จริงๆ แล้วเราอาจจะมองในอีกมุมหนึ่งได้นะครับว่า การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะต้องมีความสามารถในการละทิ้งต่อสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำกันมา ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะต้องพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าและหาวิธีการใหม่ๆ โดยพร้อมที่จะละทิ้งในสิ่งเก่าๆ ที่เคยทำกันมา แต่อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

เมื่อมีแนวร่วมแล้วก็จะต้องขยายผลต่อไปทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้ทั่วทั้งองค์กรมีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ในบางองค์กรอาจจะมีการกำหนดมาตรการหรือแนวทางที่เข้มงวดสำหรับบุคลากรในการปฏิบัติ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ที่โรงแรมแห่งหนึ่งที่ต้องการเน้นการบริการที่เป็นมิตรให้มากขึ้น ได้มีการออกกฎเลยครับว่า โทรศัพท์ที่มีการโทร.เข้ามาทุกครั้งจะต้องได้รับการตอบรับภายในเสียงเรียกครั้งที่สาม และเป็นการตอบรับด้วยรอยยิ้ม หรือกรณีของจีอีที่อดีต CEO อย่าง Jack Welch ออกกฎเลยว่าทุกธุรกิจของจีอีถ้าไม่เป็นที่หนึ่งก็ต้องเป็นที่สองในอุตสาหกรรมของตนเอง

ประเด็นสุดท้ายของการบริหารการเปลี่ยนแปลงก็คือต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง การแสดงความไม่เห็นด้วยหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดาในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีก็คงต้องเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งวิธีที่เหมาะสมที่สุดก็หนีไม่พ้นในเรื่องของการสื่อสารที่จะต้องเน้นอย่างมากและมีการเปิดช่องทางในการสื่อสารไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้นำสามารถสื่อสารถึงการเปลี่ยนแปลงให้กับทุกคนในองค์กร

ลองนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ แต่อย่างที่ผมเรียนไว้แล้วว่าการเขียนเรื่องของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าทำให้เกิดผลจริงมากนัก

นางสาวชนนิกานต์ แสงสุข 5050504645

แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารคนในองค์กร

หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ “เกาถูกที่คัน” หรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรค หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร

มีหลายองค์กรสอบถามผมว่าเราจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างที่จะสำรวจ ค้นหาและประเมินปัญหาในการบริหารคนขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิธีการที่หลายองค์กรนิยมใช้ในการประเมินปัญหาคือ การพูดคุยสอบถาม การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การใช้กล่องรับความคิดเห็น ฯลฯ แต่สุดท้ายผู้บริหารองค์กรก็ยังรู้สึกว่าปัญหาที่ได้มามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันไม่ตรงกับความรู้สึกของตัวผู้บริหารเอง หรือไม่ก็พอนำไปแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาเรื่องคนก็ยังไม่จางหายไป

ผมคิดว่าการที่หลายองค์กรเริ่มหันกลับมามองที่การค้นหาปัญหามากกว่าการหาเครื่องมือมาแก้ไขปัญหาน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีขององค์กรในบ้านเราในปัจจุบันและอนาคต เพราะถ้าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงในการบริหารคนของเราคืออะไร ต่อให้ใช้เงินลงทุนไปมากเท่าไหร่ ต่อให้ใช้เครื่องมือการบริการจัดการคนสมัยใหม่อย่างไรก็คงจะไม่ได้ผล แถมยังเสียเงินเสียเวลาไปแบบไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก

จากการที่ผมได้ให้คำแนะนำองค์กรต่างๆไป รวมถึงได้มีโอกาสเห็นแนวทางการค้นหาปัญหาขององค์กรบางองค์กร จึงอยากจะนำเสนอทางเลือกในการค้นหาปัญหาด้านการบริหารคนดังนี้

กำหนดกลุ่มของปัญหาที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์

เนื่องจากปัญหาของคนมีหลายรูปแบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ปัญหาที่แท้จริง จึงควรจะแบ่งกลุ่มปัญหาของคนในองค์กรออกเป็นกลุ่ม เช่น ปัญหาเกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเกี่ยวกับผลตอบแทน ปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่องานหรือองค์กร ปัญหาด้านการทำงานร่วมกัน ปัญหาชีวิตส่วนตัวครอบครัว ฯลฯ การแบ่งกลุ่มปัญหาจะช่วยให้การศึกษาปัญหาชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าเราศึกษาปัญหาโดยภาพรวมทำให้ไม่สามารถแยกแยะลักษณะและสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน

เลือกเครื่องมือในการค้นหาปัญหา

เมื่อเราแบ่งกลุ่มของปัญหาได้แล้ว ให้ลองหาเครื่องมือในการค้นหาปัญหาว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง แต่ละเครื่องมือมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง เช่น การสำรวจอาจจะเหมาะสำหรับการค้นหาภาพรวมของปัญหา แต่อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาจจะดีตรงที่ได้ข้อมูลละเอียด แต่ถ้าผู้สัมภาษณ์ไม่เหมาะสม ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง สุดท้ายวิธีการที่เหมาะสมอาจจะเป็นแบบผสมกันก็ได้ เช่น ช่วงแรกอาจจะใช้วิธีการสำรวจ เมื่อได้ปัญหาในภาพรวมมาแล้ว ก็ค่อยมาใช้วิธีการเจาะลงรายละเอียดของปัญหาแต่ละปัญหาย่อยอีกครั้งหนึ่ง

การตรวจสอบความถูกต้องของปัญหาที่ค้นหาหรือสำรวจมา

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปัญหาที่เราค้นหามาได้นั้นสะท้อนปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงเปลือกนอกของปัญหา จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของปัญหา อาจจะใช้บุคคลภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินการสำรวจปัญหาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าปัญหาที่เราได้มานั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการศึกษาเชิงการวิจัยที่มีการตั้งสมมติฐานของปัญหานั้นๆตามที่เราได้ศึกษามาในเบื้องต้น และทดสอบสมมติฐานคร่าวๆโดยการศึกษาเชิงการวิจัย แต่คงไม่ต้องลงลึกที่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรมากมายนักนะครับ

การประเมินระดับของปัญหา

เมื่อแน่ใจว่าปัญหาในการบริหารคนขององค์กรถูกต้องและสะท้อนความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการประเมินระดับของปัญหาว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเกิดขึ้นมานานหรือยัง ปัญหานั้นๆส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อองค์กรอะไรบ้าง อย่างไร ระดับไหน นอกจากนี้อาจจะต้องมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ประเมินได้ด้วยว่าปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาเร่งด่วนกว่ากัน ปัญหาไหนที่ต้องแก้อีกปัญหาหนึ่งก่อนจึงจะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาได้ เช่น การที่จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรได้ จะต้องแก้ไขปัญหาชีวิตส่วนตัวของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่องานให้ได้ก่อน

จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหรือแผนพัฒนาบุคลากร

เมื่อรับทราบปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำเอาปัญหาทั้งหมดมาจัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนา แผนที่ว่านี้อาจจะจัดทำเอง หรืออาจจะลองให้ที่ปรึกษาจากภายนอกเข้ามานำเสนอแผนก็ได้ ส่วนเราจะเลือกใช้บริการหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ อย่างน้อยเราจะได้มั่นใจได้ว่าแผนที่เราจัดทำขึ้นมานั้นถูกต้อง (ตรงกับแผนที่บุคคลภายนอกนำเสนอ)

การดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนาบุคลากร

เมื่อเราได้ปัญหาที่แท้จริงแล้ว จัดทำแผนการแก้ไขหรือพัฒนาเรียบร้อยแล้ว บางปัญหาเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการ เช่น ปัญหาเรื่องผลตอบแทน ปัญหาเรื่องระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน ฯลฯ แต่บางปัญหาอาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เช่น การพัฒนาฝึกอบรมต่างๆ และถ้าจะให้ได้ผลควรจะกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะต้องพัฒนาฝึกอบรมให้ชัดเจน กลุ่มนี้จะต้องพัฒนาเรื่องการวางแผนงาน กลุ่มนี้จะต้องเน้นเรื่องการคิดเชิงระบบ อีกกลุ่มอาจจะต้องเน้นเรื่องการประสานงาน/ทำงานเป็นทีม ไม่ควรกำหนดเป็นระดับ เช่น พนักงานระดับนี้(ทุกคน) จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ เพราะจะทำให้ปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขหรือคนที่ไม่เก่งก็ยังคงไม่เก่งต่อไป ส่วนคนที่เก่งอยู่แล้วก็เก่งมากยิ่งขึ้น

สรุป แนวทางในการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาบุคลากรขององค์กรควรจะทำอย่างเป็นระบบและเริ่มให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้มากเพราะถ้ากำหนดปัญหาผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้กระบวนการต่อๆมาไม่มีประโยชน์อะไร และการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตามควรจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ผลที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการแก้ไขหรือพัฒนา ถ้ายังกำหนดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งดำเนินการเลยครับ เดี๋ยวจะเสียเงินเสียเวลาเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกนะครับ สุดท้ายนี้หวังว่าทุกองค์กรจะมุ่งเน้นการสำรวจปัญหาการบริหารคนขององค์กรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท