โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

อยากเป็นนักเขียน ฉบับปฐมฤกษ์


วันแรกของการไปเข้าอบรม "อยากเป็นนักเขียน" ฝันใกล้เป็นจริง หรือยิ่งไกลออกไป คงต้องให้เวลาและความใส่ใจเป็นเครื่องพิสูจน์

     ตั้งใจไว้ ไม่ว่าจะดึกแค่ไหน เหนื่อยอย่างไร จะต้องกลับมาเขียนบันทึก เพราะความสดของเรื่องราวยังคงอยู่กับตัวผู้เขียน ซึ่งน่าจะทำให้การเขียนไหลลื่นด้วย

    

     จากการไปเข้าอบรมหลักสูตรหนึ่งของ อัมรินทร์เทรนนิ่ง ชื่อว่า อยากเป็นนักเขียน รุ่นที่ 13 เป็นการอบรม ทุกวันเสาร์บ่ายรวม 4 สัปดาห์  ดูจากหัวข้อกำหนดการ เป็นการปูพื้นฐานการเขียน ครอบคลุมการเขียนบทความ สารคดี และบทสัมภาษณ์

ที่เข้าไปเรียนเพราะคิดว่าตอบสนองความฝันส่วนหนึ่ง และอยากพัฒนาการเขียนของตัวเองให้ดีขึ้น  ความรู้สึกหลากหลายเกิดขึ้นขณะนั่งเรียนเพียงสี่ชั่วโมง จากตอนแรกคิดว่าตัวเองน่าจะเรียนรู้ได้เร็ว เพราะมีประสบการณ์การเขียนบทความมาบ้างทั้งในงานและ เขียนบันทึกใน blog G2K นี้  แต่พอเรียนไปสักพัก คิดว่าข้อมูลที่ได้รับทราบในวันนี้ บางเรื่องก็ไม่เคยรู้ หรือตระหนักถึงความสำคัญมาก่อน ยิ่งอาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัด เกิดความรู้สึกเหมือนทุกครั้งที่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ  นั่นก็คือ ฉันยังต้องศึกษาและฝึกฝนอีกมาก กว่าจะไปถึงฝั่งฝัน

     นอกจากนั้นสิ่งที่ไม่คาดคิด และไม่เคยรู้สึกประหลาดใจอะไรเหมือนวันนี้   ยังติดคำเดิมๆ ที่ว่า ช่างเป็นเรื่องบังเอิญเหลือเกิน แต่ถ้าคิดถึงกฎแห่งการดึงดูด ไม่มีอะไรเป็นความบังเอิญ  สิ่งที่ได้พบในวันนี้ ดีใจนะที่มีโอกาสได้รู้จักกับคุณแม่ของน้องเอก ที่เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนา Inno FA ของธุรกิจเดียวกัน และเพิ่งกลับจากการไปร่วมเป็นพี่เลี้ยงในค่ายพนักงานใหม่ด้วยกัน  เมื่อมาคุยกับคุณแม่หลังเลิกเรียน จึงทราบว่าท่านทำงานแปลหนังสืออยู่แล้ว ซึ่งเคยเป็นสิ่งที่เราอยากทำมากๆ เมื่อสิบปีก่อน  นับเป็นเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง จริง ...จริง

     ถึงเวลาที่อยากสรุปบทเรียนที่ ได้รับรู้มาในวันนี้

v     แต่ละคนมีต้นทุน ต้นทางไม่เหมือน ไม่เท่ากัน ข้อสำคัญหาให้พบว่าเราถนัดอะไร

v     การเขียนคือการถอดสิ่งที่เราเขียนไว้ในสมองออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร การที่เราจะเขียนอะไรได้มากมาย ต้องหมั่นคิดและเขียน หมั่นสังเกตเรื่องราวที่เราได้พบ ได้เห็น ฆ่าเวลาแห่งความเหงา  ความซ้ำซากจำเจของชีวิต 

v     ที่ชอบอันนึงคือหนังสือ คลังคำ แต่งโดย อ.นววรรณ พันธุเมธา ซึ่งจะช่วยให้การเขียนมีสีสันมากขึ้น มีการจัดหมวดหมู่คำได้อย่างน่าสนใจ และทำให้เรามีทางเลือกของคำมากขึ้น

v     ต้องสกัดภาษาแม่ ให้ออกมาเป็นภาษาของเรา เพราะนั่นคือเสน่ห์ และเอกลักษณ์งานเขียนของเรา ไม่เลียนแบบภาษาของคนอื่น ฝึกสร้างคำใหม่

v     เขียนให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ตรงกับความรู้สึกที่อยากถ่ายทอด

v     ภาษาไม่มีผิด ถูก ดี ไม่ดี ไพเราะ หยาบคาย ภาษามีแต่ใช้ได้ ใช้ไม่ได้ในสถานการณ์นั้นๆ

v     หมั่นเก็บรวบรวมคำที่ได้พบ สร้างคลังคำของตัวเอง  คำทุกคำมีพลังอยู่ในตัว

v     อยากเขียนเก่ง ต้องอ่านเยอะ  หนังสือที่ได้รับคำแนะนำให้หามาอ่าน (ไม่เคยอ่าน หรือเห็นเลย)

o       บึงหญ้า ป่าใหญ่ ของ เทพศิริ สุขโสภา

o       บันทึกจากหุบเขา ฝนโปรยไพร ของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

o       โรงเรียนนักเขียน ของ เพลินตา

v     สิ่งที่ต้องกลับมาทำทุกวัน อีกอย่างหนึ่ง คือ การอ่านออกเสียงทุกวัน วันละ 10 นาที ทบทวนทีละประโยค เพื่อให้เห็นเสียงของคำ  แปลกไหม เห็นเสียงได้ยังไง

v     การเขียนเหมือนการแสดงละคร จะเขียนให้คนอ่านคล้อยตามอารมณ์ที่เราต้องการสื่อ ผู้เขียนต้องอุ่นอารมณ์ของตัวเองก่อน ถ้าเป็นภาษาเรา ก็คือ build อารมณ์ให้ขึ้นจึงเริ่มเขียน

  

                                     

 สัปดาห์หน้าคงมีอะไรเพิ่มเติม เข้มข้นมากกว่านี้มาเล่าให้ฟัง หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปใน website www.amarintraining.com  มีหลักสูตรอื่นๆ ที่น่าสนใจให้ศึกษาหาความรู้ ที่เป็นเรื่องสนุกๆ อีกเยอะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 178917เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2008 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับ

บึงหญ้า ป่าใหญ่ และบันทึกจากหุบเขา เคยอ่านครับ ใช้ภาษาได้งดงาม เข้าใจง่าย

เมื่อวานได้หนังสือเก่า (พิมพ์ใหม่) "ดรุณศึกษา" อ่านสนุก จนเพลิน มีทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง

อีกเล่มหนึ่งที่ชอบแนะนำเพื่อนๆ ก็คือ "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" ใช้ภาษาได้ดีเหมือนกันครับ

ตัวภาษา ไม่มีดี ไม่ดี ไม่มีหยาบคาย ไม่มีไพเราะ ฯลฯ

แต่ การสื่อความหมาย จะบอกได้ว่า เนื้อความนั้น ไพเราะ หยาบคาย ดี หรือไม่ดี ฯลฯ ;)

ขอบคุณ คุณ

1. ธ.วั ช ชั ย

มากๆ ค่ะ

ที่ช่วยให้คำแนะนำเพิ่มเติม เรื่องภาษาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และลึกซึ้งมากค่ะ

เพิ่มเติมความเห็นของคุณธวัชชัย

เรื่องคุณตา คุณยายยังเด็ก เคยเป็นหนังสือนอกเวลาตอนเรียนมัธยมต้น จำได้ว่าชอบมากๆ ค่ะ อ่านแล้ววางไม่ลง โดยเฉพาะเล่ม 1 ตอนที่ชอบมากคือ ตอนทำน้ำปรุง ทำให้รู้จักชมดเช็ด กับอีกตอนคือ เรื่องปลาเสือ แต่จำรายละเอียดไม่ได้แล้วค่ะ

ไม่ทราบว่าตอนนี้ยังเป็นหนังสือนอกเวลาของนักเรียนอยู่หรือเปล่าคะ

น่าสนใจครับ แวะไปดูด้วยแล้ว

สวัสดีค่ะ คุณ Citrus

ดีจังเลยค่ะ ไปอบรมและนำความรู้จากการอบรมมาแบ่งปัน

ขอเป็นกำลังใจให้ในเส้นทางตามหาความฝันของคุณนะคะ

สู้ๆ ค่ะ รออ่านงานของคุณต่อไปค่ะ

  • สวัสดีครับ อิอิ
  • ข้อมูลน่าสนใจมากเลยครับ
  • ขอบคุณคร้าบบบ

สวัสดีครับ

ไม่แน่ใจว่ายังเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาหรือเปล่านะครับ

เพราะว่านานแล้ว อีกอย่างหนึ่งหนังสืออ่านนี่

แต่ละโรงเรียนก็กำหนดไม่เหมือนกันครับ;)

  • สวัสดีครับ อิอิ
  • ข้อมูลน่าสนใจมากเลยครับ
  • ขอบคุณคร้าบบบ

พี่ส้มครับ

ลองอ่านดูนะครับ

หากหาไม่ได้บอกมานะครับ จะส่งไปให้ยืม

ผมเขียนหนังสือ เรื่องสั้น นวนิยาย โดยไม่ต้องอบรมให้เสียเวลา คุณเองก็ไม่ต้องอบรมให้เสียเวลา และนักเขียนหลายคนก็ไม่เคยอบรมให้สียเวลา เพียงแต่คุณอ่านอย่างหนักหน่วง ทุกแบบ ทุกแนว มากกว่าที่คุณคิดว่าจะอ่านได้ อ่านจนคุณรู้สึกว่า หนังสือในโลกนี้คุณอ่านแทบไม่ทัน ต่อจากนั้นคุณก็เขียนอย่างหนักหน่วง เขียนทุกอย่าง ทุกแนว จากนั้นก็เปิดใจ กล้าที่จะลองส่งต้นฉบับ กล้าที่จะทำใจยอมรับการ "ลงตระกล้า" และไม่กลัวที่จะท้อ แล้วเมื่อนั้นคุณจะเป็นนักเขียนที่มีคุณภาพได้ไม่ยาก

สำคัญที่คุณต้องอ่านมากเท่านั้นเอง

อีกอย่าง ผมใช้วิธีการคุยกับนักเขียนโดยตรง มีอะไรก็ถาม ถามจนเขารู้สึกเบื่อ เพียงไม่กี่ นาที รู้มากเป็นกองเลยครับ

ยินดี และชอบใจ คนที่อยากเขียนครับผม

ก่อนอื่นต้องขอโทษทุกท่านที่เข้ามาให้ความเห็นนะคะ ที่ citrus ห่างหายจาก internet ไปหลายวัน เพราะต้องไปตระเวณอยู่แถวชายทะเล ช่วยงานบริษัทอยู่ค่ะ

ขอขอบพระคุณทุกท่านมากๆ ค่ะ

4. พี่หนุ่มคนตานี : แวะเข้าไปอ่านใน link ที่แปะไว้ให้แล้ว สนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษไหมคะ

5. jaewjingjing : ขอบคุณที่ช่วยอวยพรค่ะ

6. นายสายลม อักษรสุนทรีย์ : ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมนะคะ ถ้าเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่อ่าน ก็ยินดีเล่าต่อไปค่ะ

7. ธ.วั ช ชั ย : ขอบคุณมากค่ะที่กลับมาให้ความเห็นเพิ่มเติม

9. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม : พี่ไปหาหนังสือในร้าน ยังหาไม่ได้ ขายหมดค่ะ แต่ไปยืมจากห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยแล้วค่ะ

10. วาทิน ศานติ์ สันติ : ขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากๆ ค่ะ ต้องทำงานหนักมากขึ้นค่ะ เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่จะต้องอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานเยอะมากเลยไม่มีเวลาไปอ่านหนังสือประเภทอื่นเท่าไร แต่ก็จะพยายามค่ะ เพราะ การอ่านมากทำให้เรามีข้อมูลมากขึ้น และเรียนรู้การใช้คำของผู้เขียนแต่ละท่านอีกด้วยค่ะ

ก้าวแรกของการเป็นนักเขียนคือ...เริ่มอ่าน

ก้าวต่อมาคือ...เริ่มเขียน

ก้าวต่อไปคือ...พากเพียร

เริ่มอ่าน เริ่มเขียน พากเพียร แล้วใครดู

เป็นคนหนึ่งซึ่งอยากเป็นนักเขียน อยู่ในวังวนของความคิดมาตลอด เข้ามาอ่านครั้งนี้ได้ข้อมูลและข้อคิดเห็นมากมายจากคนที่มีความมุ่งหมายเดียวกัน มีโอกาสดีๆอย่างนี้นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ เพราะอยากอบรมอยากเป็นนักเขียนของอมรินทร์มาก แต่อยู่ต่างจังหวัด ไม่มีโอกาส ขอบคุณมากนะคะ

อีกหลักสูตรก็น่าเรียน แต่ยังหาเวลาไม่ได้เลยค่ะ คือ เล่าเรื่องเป็นเล่ม และดูชื่อ อ.ที่จะมาสอนแล้ว ก็เป็นนักเขียนอาชีพ เคยพบตอนเรียน อยากเป็นนักเขียน ช่วงท้ายๆ ใช้นามปากกาว่า "การะเกด" แต่เป็นผู้ชายค่ะ

น่าเสียดายที่อาจจะมาเรียนลำบาก ถ้าอยู่ต่างจังหวัด เพราะต้องแวะเข้ามาเรียนวันเสาร์บ่าย ประมาณ 4-5 สัปดาห์ติดกันค่ะ

ถ้าสนใจจริงๆ ก็รอติดตามปีหน้าค่ะ เพราะปีนี้จะหมดรุ่นแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท