สอนให้ฟัง (4)


การสอนฟังให้เกิดผลสัมฤทธิ์

สอนให้ฟัง (4)

            คนที่จะฟังได้เก่ง  ต้องพยายามยกระดับการฟังของตนให้ได้    มีผู้คนจำนวนมากจากทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างงดงามจากการฟังเก่ง    คนที่ฟังเก่งปรากฏอยู่ในหลายอาชีพ   ไม่ว่าจะเป็นอาชีพนักร้อง  ....นักดนตรี     โปรดิวเซอร์ ......ทนายความ  อัยการ  ผู้พิพากษา ...... นักข่าว....  นักการเมือง  ฯลฯ 

             ไม่ว่าคนเราจะฟังเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน  ฟังเพื่อให้ได้ความรู้   ฟังเพื่อให้ความเพลิดเพลิน หรือฟังเพื่อให้   คติชีวิตและความจรรโลงใจ  เราจำเป็นฝึกฝนเพื่อให้เกิดสมรรถภาพในการฟัง  ซึ่งดูเหมือนว่าต้องฝึกฟังตลอดชีวิตด้วยซ้ำ    เพราะเมื่ออายุมากขึ้นเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง      ก็มีความสลับซับซ้อนจากการได้ทำหน้าที่ที่สำคัญและรับผิดชอบมากขึ้น    รายละเอียดที่ต้องฟังก็มากยิ่งขึ้น 

            การสอนฟังให้เกิดผลสัมฤทธิ์  จึงต้องใช้พื้นบานการฝึก   เช่น   การคำนึงถึง  สาระ ที่จะให้แต่ละช่วงวัยได้ฟัง   ต้องเลือกสาระที่เหมาะสม   มีเนื้อหามากขึ้นและมีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นตามวัย   รวมไปถึงการเลือกสื่อในการฝึกฟังให้น่าสนใจและเหมาะสมกับวัยของผู้ฟังอีกด้วย  

            ในการฝึกการฟังแต่ละครั้ง  สถานที่    สภาพแวดล้อม  และเวลา  เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจจัดให้เหมาะสม  ถ้าเวลาจำกัด  สภาพแวดล้อมก็น่าอึดอัด  มีปัญหาเรื่องแสง  เสียง  และกลิ่นไม่ดีต่างๆ  ย่อมเป็นอุปสรรคที่ทำให้การฟังครั้งนั้นไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังไว้

            การสอนการฟังให้ได้ผล    สำหรับเด็กเล็ก   ควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการสร้างจินตนาการ   ฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น    หรือให้เด็กช่วยเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้ฟัง     นอกจากฟังแล้วยังมีภาระต้องช่วยคิด  และเดาสถานการณ์ว่า ....  ถ้ามีเหตุที่มาอย่างนี้แล้ว...    ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น   การฝึกให้เด็กเล็กๆ  ฟังเรื่องราวต่างๆ  จึงต้องมีการเว้นระยะสักระยะหนึ่ง   เพื่อฝึกการฟังไปพร้อมๆกับเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม   จะทำให้สามารถประเมินสมรรถภาพในการฟังได้ดีพอๆกับเด็กๆ   ที่สามารถตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังได้

            เมื่อฝึกฟังแล้วต้องฝึกบันทึกผลการฟังให้ได้ใจความสำคัญคร่าวๆ   ว่าเป็นเรื่องของใคร   ทำอะไร  ที่ไหน   อย่างไร  ทำกับใครและเกิดอะไรขึ้น   การดำเนินการฝึกให้เป็นลำดับดังที่กล่าวมา  ย่อมเกิดการพัฒนาทักษะการฟังได้อย่างแน่นอน  เพราะการฟังและการพูด  เป็นการสื่อสารที่มนุษย์ใช้ก่อนการเขียนและการอ่าน

             เริ่มต้นฝึกการฟังให้สำเร็จ   ด้วยข้อมูลการ  สอนให้ฟัง ทั้ง 4 ตอน  ตามที่ได้เขียนมา    เพิ่มทักษะการฟังให้เก่งด้วยวิธีการของตัวเอง  แล้วบันทึกข้อมูลไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป...

 

 

หมายเลขบันทึก: 178571เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2008 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เรื่องนี้มักถูกมองข้ามไป
  • เลยทำให้พวกเราต้องพูดบ่อยๆๆว่า
  • พูดไม่รู้เรื่อง
  • ขอบคุณที่นำของดีมาให้

สวัสดีค่ะผอ.

*เป็นผู้บริหารมานาน ผอ.คงฟังมาเยอะนะคะ..ประสบการณ์คือขุมทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่จริงๆนะคะ

*ดิฉันเข้าชมเว็บไซต์ของโรงเรียนบางลี่วิทยา..ดูก้าวหน้า..สง่างาม..ขอติดตามต่อไป

*ขอบคูณค่ะ...ที่ผอ.ให้เกียรติแวะมาทักทาย

แด่ กิติยา เพื่อนรัก

จงปลูกฝังการฟังตั้งสมาธิ

ด้วยดำริตริตรองให้พร้อมพรั่ง

จินตนาการกว้างไกลไร้ภวังค์

เพิ่มกำลังคลังสมองของปัญญา

แล้วหมั่นฝึกบันทึกผลจนแน่วแน่

ไม่ปรวนแปรแก่กล้าการศึกษา

ใครทำอะไรที่ไหนใคร่บอกมา

ร่วมพัฒนาอย่างไรให้รู้จริง

จบการฟังทั้งสี่ตอนที่สอนสั่ง ขอ....

เดี๋ยวมาต่อให้...จะไปงานศพคนที่ทำงานของคุณขนบ..มาเขียนให้ที่ทำงานของคุณขนบจ้ะ

สวัสดีครับอาจารย์กิติยา

  • มาอ่านแล้วครับ  ฟังมากก็รู้มากครับ
  • อาจารย์ครับ สงกะสัย และอยากรู้ เทคนิคที่อาจารย์นำภาษาอังกฤษเป็นสื่อในวิชาภาษาไทย และสอนจากถุงขนม
  • ขอรบกวนด้วยนะครับ หากมีเวลา
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะครูสุ

ขอบคุณค่ะ..ที่สนใจและติดตาม

****เป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆเท่านั้น....เอาไว้แก้ปัญหา เช่น

****ขณะที่ถอดคำประพันธ์ให้ฟังแล้วนักเรียนไสนใจฟัง...ก็ต้องถอดให้ฟังเป็นภาษาอังกฤษ...ทำให้ดึงความสนใจกลับมาได้ขณะหนึ่ง...นักเรียนบางคนอาจตั้งใจฟังครูภาษาไทยพูดภาษาอังกฤษ...แล้วอาจคิดในใจว่า...จริงหรือมั่ว...ชัวร์หรือไม่...เวลาถูกแซวด้วยภาษาไทยก็ตอบเป็นภาอังกฤษ

****ในณะที่สอนคำพ้องรูป พ้องเสียง ก็ลากภาษาอังกฤษเข้ามาขยายเป็นเครื่องชูรส แต่ต้องไม่มากเกินไปจนนักเรียนรำคาญ...ค่อยๆใส่ให้เรื่องละนิดละหน่อย..เพื่อให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอื่นๆแล้วนำมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารให้เข้าใจง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น

****บางครั้งก็เล่าเรื่องสัมพันธภาพกับชาวต่างประเทศง่ายๆ ...เพื่อจูงใจนักเรียนให้ต่อบทสนทนา..หรือยกตัวอย่างการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้แล้วสื่อสารง่ายขึ้น

****ทุกสถานการณ์ต้องเตรียมข้อมูลให้ถูกต้องการเชื่อมโยงภาษามาใช้เป็นสื่อจึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์...การสร้างความตระหนักให้รักที่จะเรียนรู้ก่อนในเบื้องต้น จะทำให้ใช้สื่อได้ง่ายขึ้น

****เคยจัดนิทรรศการหนังสือแปล...และยกตัวอย่างนักแปลที่มีชื่อเสียงของไทยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้รักการอ่านและเห็นคุณค่าของการเรียนภาษาอังกฤษ ใช้หนังสือในการจัดนิทรรศการทั้ง หนังสือนิทานอีสป แฮร์รี่ พอตเตอร์ เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะริงส์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นักเรียนสนใจยิ่งขึ้นเมื่อครูบรรยายและพูดโน้มน้าวใจประกอบนิทรรศการ...

****นิทรรศการนิทานอีสป...เป็นหนังสือเล่มเล็กที่ดิฉันเคยใช้เป็นสื่อได้อย่างหลากหลาย..รายละเอียดไว้ถ่ายทอดเมือมีโอกาส

**** ช่วงที่ลูกเรียนชั้นประถม.. ซองขนม กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ กล่องซีเรียล บรรจุภัณฑ์อื่นๆ ดิฉันเคยเก็บมาเป็นสื่อในการพูดคุยกับลูก เล่นกับลูก สอนภาษาอังกฤษจากคำและข้อความที่มีอยู่บนซอง หรือกล่องเหล่านั้น การพบคำซ้ำๆ บนซองขนมทำให้ลูกจำแม่นและช่างสังเกต จนติดเป็นนิสัยว่าถ้าพบเจอซอง กล่องอาหาร บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับโฆษณาใดๆ ก็ต้องอ่านภาอังกฤษควบคู่ไปด้วย บางคำที่ไม่รู้เขาก็จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม...

****ช่วงมัธยม..ต่อยอดให้ลูกด้วยการใช้ สื่อไอซีที และ การดูหนัง Sound trackและฟังข่าวภาษาอังกฤษจากเคเบิล ทีวี

****ปัจจุบัน...สนับสนุนให้ลูกเรียน Ellis Program ซึ่งทางมหาวิทยาลัยใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมการเรียนรู้

****ข้อมูลทั้งหมดเป็นเพียงบางส่วน...เป็นวิธีการในการในการใช้สื่อบริบท ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรม Homeschool ใช้นำสื่อรอบๆตัวมาสอนลูกแล้วได้ผล

****ต้องขออภัยด้วยนะคะ ถ้าไม่เป็นเรื่องที่ได้สาระตามที่ครูสุคาดหวัง...ดิฉันใช้วิธีการหลากหลายในการปูพื้นฐานภาอังกฤษให้กับลูก เพียงมุ่งหวังให้ลูกใช้สื่อสารกับญาติที่เติบโตในต่างประเทศและพูดภาไทยไม่ได้เท่านั้น...แต่บังเอิญสนุกและใช้สื่อได้ผล..เลยนำมาบอกต่อเพื่อสนับสนุนวิธีคิดของครูสุที่จะใช้สื่อง่ายๆในการสอนภาค่ะ

*ไว้ได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไป

ต่อให้จบนะกิติยา

จบการฟังสี่ตอนที่สอนสั่ง

เป็นพลังคลังขุมทรัพย์นับค่ายิ่ง

จงเร่งปรับสดับถ้อยอย่าอ้อยอิ่ง

ไม่หยุดนิ่งได้ยินยลฝึกฝนฟัง

จบบริบูรณ์

ขอแก้ใหม่นะจ๊ะ

เร่งสดับตรับวาจาอย่าประวิง

มิเฉยนิ่งเมื่อยินยลฝึกฝนฟัง

เปิดพจนานุกรมแล้ว ตรับ แปลว่าเอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุข

หรือความคิดเห็นของผู้อื่น มักใช้คู่กับคำว่าสดับ เป็น สดับตรับฟัง

มาเยี่ยม...

การฟังด้วยดีย่อมก่อเกิดปัญญานะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท