ฝากให้ อาจารย์วิบูลย์ เรื่อง "หลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย "


ฝากอาจารย์ให้อาจารย์นะครับ และท่านอื่นที่สนใจ

หลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย

 
          ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาไว้ดังนี้
  1. หลักเกณฑ์เบื้องต้นของบริษัทที่ปรึกษา
    (1) บริษัทจะต้องมีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาทขึ้นไป
    (2) บริษัทที่ปรึกษาจะต้องเป็นของคนไทย (มีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 โดยพิจารณาจากจำนวนหุ้นและสิทธิในการออกเสียง) และจดทะเบียนในประเทศไทย
    (3) บริษัทที่ปรึกษาไทยที่เป็นองค์กร สถาบันการศึกษา จะต้องมีการบริหารงาน และงบประมาณเป็นอิสระของตนเองเช่นเดียวกับบริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมทั้งต้องมีบุคลากรวิชาชีพ ถือสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

  2. หลักเกณฑ์เบื้องต้นของที่ปรึกษาอิสระ
    (1) ต้องไม่เป็นพนักงานประจำของบริษัทใด
    (2) ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
    ** หมายเหตุ ที่ปรึกษาใดที่มีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์เบี้องต้นดังกล่าว ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาจะไม่รับจดทะเบียนให้กับที่ปรึกษานั้นๆ

  3. ที่ปรึกษาประเภท A (บริษัทที่ปรึกษา) หมายถึง
    (1) บริษัทที่ปรึกษาที่มีบุคลากรที่เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญประจำอย่างน้อย 2 คน โดยแต่ละคนจะต้องมีประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษาระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี โดยสำเร็จจากสถาบันที่ทางการยอมรับ (ตรวจสอบจากประสบการณ์ และผลงานของบุคลากรที่เสนอมา) อย่างไรก็ดี บริษัทที่ปรึกษาควรยื่นจดทะเบียนบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของบริษัททั้งหมด
    (2) บริษัทจะต้องดำเนินกิจการในฐานะที่ปรึกษามาแล้วอย่างน้อย 3 ปี (ตรวจสอบจากประสบการณ์ และผลงานของบริษัทที่เสนอมา มิใช่นับจากอายุการจดทะเบียนของบริษัท)
    (3) บริษัทที่ปรึกษาจะต้องมีประสบการณ์ผลงานตามโครงการในสาขาต่างๆ ที่ได้แจ้งไว้อย่างน้อย 3 โครงการ
    (4) สำหรับบริษัทที่ปรึกษาที่ดำเนินกิจการมาไม่ถึง 3 ปี ในข้อ (2) ก็สามารถจะเข้าหลักเกณฑ์ที่ปรึกษาประเภท A ได้ โดยบริษัทเสนอผลงานที่เป็นประสบการณ์ของบริษัทอย่างน้อย 3 โครงการ และมีบุคลากรวิชาชีพประจำทำงานเต็มเวลาอย่างน้อย 2 คน โดยแต่ละคนต้องมีประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษาอย่างน้อย 6 ปี โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ทางการยอมรับ และพิจารณาร่วมกับข้อ (3) ด้วย

  4. ที่ปรึกษาประเภท A (ที่ปรึกษาอิสระ) หมายถึง
    (1) จะต้องมีประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษามีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยสำเร็จจากสถาบันที่ทางการยอมรับ (ตรวจสอบจากประสบการณ์ และผลงานของที่ปรึกษาอิสระที่เสนอมา)
    (2) จะต้องมีประสบการณ์ผลงานตามสาขาต่างๆ ที่ได้แจ้งไว้อย่างน้อย 3 โครงการ

  5. ที่ปรึกษาประเภท B หมายถึง บริษัทที่ปรึกษาที่ยื่นขอจดทะเบียนไม่ครบถ้วน หรือขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่ปรึกษาประเภท A ข้างต้น
         สำหรับการพิจารณารับจดทะเบียนที่ปรึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะเป็นผู้พิจารณาว่าที่ปรึกษาใดมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และควรจัดอยู่ในประเภทใด โดยพิจารณาจากข้อมูล ประวัติการทำงาน การศึกษา ผลงานโครงการในสาขาต่างๆ ของที่ปรึกษา ฯลฯ ซึ่งที่ปรึกษาจะให้รายละเอียดมาตามแบบฟอร์มใบสมัครขอลงทะเบียนของศูนย์ข้อมูลฯ (Registration Application Form) ทั้งนี้ ที่ปรึกษาที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว จะต้องทำการต่ออายุทะเบียนทุก 2 ปี เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาให้ถูกต้อง และทันสมัยอยู่เสมอ
คุณสมบัติของที่ปรึกษา  
           ศูนย์ข้อมูลเปิดรับจดทะเบียนที่ปรึกษาไทยทุกประเภทที่ดำเนินการภายใต้กฎหมายไทย โดยจะพิจารณารับจดทะเบียนจากข้อมูลซึ่งที่ปรึกษาไทยให้รายละเอียดมาตามแบบฟอร์มใบสมัครขอลงทะเบียนของศูนย์ฯ (Registration Application Form) สำหรับที่ปรึกษาซึ่งมีสิทธิขอจดทะเบียนกับศูนย์ข้อมูลฯ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. องค์กรผู้ประกอบอาชีพที่ปรึกษา ทั้งในรูปของบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด

  2. ที่ปรึกษาอิสระซึ่งมีสัญชาติไทย และไม่ขึ้นตรงกับองค์กรที่ปรึกษาใด ๆ

  3. องค์กรที่ปรึกษาที่ไม่แสวงหากำไร

  4. หน่วยงานที่ให้บริการที่ปรึกษา โดยเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย เป็นต้น
คงต้องรบกวนอาจารย์อาจารย์นะครับ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17786เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นเรื่องใหม่สำหรับผม ผมจะรีบศึกษาและดำเนินการต่อให้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท