อยู่ที่ใจเป็นสำคัญ
ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ความนึกคิดและจินตนาการของคนเรานี้ยิ่งใหญ่ แต่เราจะทำอะไรก็ตามอยู่ที่ใจเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพจึงขอยกตัวอย่างเรื่อง “อยู่ที่ใจเป็นสำคัญ”
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วยังมีพรานชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ได้จับนกกระทามาเลี้ยงไว้เป็นนกต่อฝึกหัดจนชำนิชำนาญดีแล้ว นำไปต่อนกกระทามาขาย เลี้ยงลูกเมียเป็นเวลาช้านาน
ครั้นวันหนึ่งเจ้านกกระทาเกิดคิดขึ้นมาว่า “พวกเราตายกันมากมาย เพราะเราคนเดียวเป็นต้นเหตุ หลอกหล่อให้มาติดกับ ช่วยนายพราน ดังนั้นเราไม่ควรร้องอีกต่อไป”
จากนั้นมันไม่ยอมร้องอีกเหมือนที่เคย นายพรานใช้เรียวไม้ตีมันจนเจ็บปวดรวดร้าวไปทั้งตัว เมื่อมันทนไม่ไหวก็ร้องขึ้น ทำให้นกกระทาพวกอื่นหลงมาติดตาข่ายนายพราย และตายเป็นจำนวนมาก
ต่อมาอีกวันหนึ่ง นายพรานกลับจากต่อนกได้นำกรงนกกระทาตัวนั้นไปตั้งไว้ใกล้อาศรมของดาบส แล้วนอนหลับไปนกกระทาก็ถามดาบสขึ้นว่า “พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ากินอยู่อย่างสบาย แต่อยู่ในอันตรายอันน่ากลัวอย่างนี้ต่อไป ข้าพเจ้าจะบาปหรือเปล่า”
“ถ้าใจของเจ้าไม่ยินดีในบาปกรรม บาปกรรมของเจ้าก็ไม่มี” ดาบสตอบ
“แต่นกกระทาเป็นจำนวนมากมาตายเพราะข้าพเจ้านะ” นกกระทาสาธยายขยายความชั่วของตนเอง ซึ่งอัดอั้นอยู่ในหัวใจมาเป็นเวลานานนั้นต่อไป “ข้าพเจ้าหลอกลวงเขา เขาจึงมาติดตาข่ายของนายพรานและถูกฆ่า”
“แต่ยังไงถ้าใจของเจ้าบริสุทธิ์ บาปกรรมก็ไม่ทำลายเจ้า” ดาบสชี้แจง ”บาปกรรมนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยใจคิดอาฆาตเคียดแค้นเขา ต้องการฆ่าเขา สำหรับเจ้าเพียงแต่ร้องไปตามหน้าที่ อย่างนี้คือว่าไม่มีเจตนาจะให้ฆ่าคนอื่นเลย
เมื่อนกกระทาได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็สิ้นความสงสัยในเรื่องบาปกรรม เวลานายพรานก็ถึงกรงนกกลับบ้าน และ...มันได้ทำหน้าที่เป็นนกต่อมาอีกเป็นเวลานานจนกระทั่งมันตาย
คติจากเรื่องนี้ บาปกรรมสำคัญอยู่ที่ใจ หากใจบริสุทธิ์ก็ไม่เป็นบาป แต่หากใจไม่บริสุทธิ์ก็ไม่พ้นบาปกรรมไปได้
...........................................................................จริงไหมครับท่านผู้อ่านติชมมาได้นะครับ...............................................
.............
ไม่มีความเห็น