การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ กับ งานส่งเสริมสุขภาพ ตอนที่ 1


         ในช่วงปิดเทอมที่ว่างเว้นจากการเรียนการสอน คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร ได้จัดโครงการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ เพื่อให้บริการทางทันตกรรมแก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองเป็นประจำ อย่างในช่วงเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็ได้ไปให้บริการกับประชาชนทั้งใน จ.พิษณุโลก กำแพงเพชร และน่าน

         ประชาชนที่มารับบริการมักเป็นผู้ป่วยที่ต้องการถอนฟันเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นการขูดหินน้ำลาย และอุดฟัน เท่าที่ผู้เขียนสังเกตจะพบว่า ผู้ที่มารับบริการถอนฟันมักเป็นผู้สูงอายุและเด็กที่มีอาการปวดฟัน ส่วนผู้ป่วยในอีกสองกลุ่มหลังมักจะมีปะปนกันหลายวัยทั้งเด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ในการออกปฏิบัติงานแต่ละครั้ง ผู้เขียนมักรับตำแหน่ง พนักงานขูดหินน้ำลายซึ่งก็พบว่า หากผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เคยขูดหินน้ำลายมาก่อน ก็มักจะมีหินน้ำลายมากและเกาะลึกลงไปใต้เหงือก เวลาขูดผู้ป่วยก็จะมีอาการเสียวและเจ็บ ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งที่ออกไปไกลๆ ในหมู่บ้านที่ประชาชนยังนิยมเคี้ยวหมาก เคี้ยวเมี่ยง ผู้ป่วยก็จะมีทั้งหินน้ำลายและคราบหมากเกาะเหนียวเต็มไปหมด เรียกว่าขูดให้แค่คนเดียวก็ทำเอาคุณหมอทั้งหลายหน้ามืดไปเลย

ช่วงหลังๆ มา เลยลองเปลี่ยนรสชาติของชีวิตด้วยการไปเป็น พนักงานอุดฟันบ้าง คราวนี้เลยเจอคนไข้เด็กๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ เด็กบางคนมีความอดทนสูง น่าชื่นชม แต่บางคนก็งอแง ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ผู้เขียนพบว่าเด็กจำนวนมากอายุเพียงแค่ 2-3 ขวบ ฟันก็ผุหมดเกือบจะทั้งปากแล้ว เปิดปากมาก็เลือกไม่ถูกเลยว่าจะอุดซี่ไหนให้ก่อนดี

สำหรับประเด็นที่ผู้เขียนต้องการแลกเปลี่ยน เป็นคำถามที่ติดค้างอยู่ภายใจมานานแล้วว่า "นอกจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงบริการในการรักษา การออกหน่วยบริการจัดเป็นงานส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนได้จริงหรือไม่" เพราะหลายครั้งที่เราไปออกหน่วยที่เดิม เจอคนไข้คนเดิมก็ยังคงมาด้วยอาการเดิมๆ (อีกนั่นแหละ)

 

หมายเลขบันทึก: 175000เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มองได้ 2แง่นะอ.หนิง
  • มันอาจจะส่งเสริม ในตอนที่เรสไปเท่านั้นแหละ
  • ความร่วมมืออีกส่วนน่าจะอยู่ที่กลุ่มตรงบริเวณที่เราออกหน่วยกันด้วยว่ามีการให้ความรู้เพิ่มเติมและต่อเนื่องอย่างไรบ้าง
  • เราทำเองฝ่ายเดียวคงไม่น่าจะสำเร็จ...
  • ว่าไหมอ.หนิง
  • อาการคงร้อนน่าดูเลยเน้อ

สวัสดีเจ้า

คำถามแบบนี้มักโผล่ขึ้นมาในหัวตัวเองบ่อยๆเวลาคุยเรื่องส่งเสริมสุขภาพ เปิดเทอมนี้ตัวเองก็ต้องสอนเรื่องสุขภาพอีกแน่ะ เฮ้อ....สู้ สู้ (อันนี้บอกตัวเอง หากอ.หนิงต้องสอนเหมือนกัน ก็ สู้ สู้ ด้วยกันนะ )

"การออกหน่วยบริการจัดเป็นการส่งเสริมหรือไม่" อาจต้องลองนึก นึก นึกว่า หากการให้บริการเพียงเพื่อ "กำจัดโรค" (disease) ให้หมดไป เอาหินปูนออก เอาฟันผุออก... เราละเลยที่จะมองเห็นความเจ็บป่วย (illness)  หรือความความทุกข์ของผู้คน งานส่งเสริม ถ้าจะเกิดยาก เอาการนา... เพราะเมื่อเราเสร็จงาน คนไข้ยังไม่หายทุกข์

เปิดประเด็นเรียกน้ำย่อยแค่นี้ก่อนละกัน ..อิ๊ิ อิ๊

เรื่องเล่า...

มีครั้งนึงตัวเองไปออกหน่วยที่โีรงเรียนกาวิละอนุกูล  ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ดูแลเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการ ด้านสติปัญญา การรับรู้อะไรทำนองเนี้ยแหละค่ะ  มีคนไข้เด็กผู้หญิง  เธอมีฟันหน้าบน สองซี่ผุ ดำเชียว พ่อแม่ไม่ได้พาไปอุด เพราะไม่คิดว่าลูกตัวเองจะสวยไปทำไม (ครูบอกมาอีกที) เด็กคนนี้เดินมาหาเรา เท้าสะเอว พูดจาด้วยเสียงห้วนๆ สั่งเราซึ่งเป็นหมอว่า จะอุดฟัน  ท่าทางเอาเรื่องอยู่ แอบขำในท่าทีห้าวๆ เอาเรื่อง แต่ในใขจก็นึกว่า ในท่าทีแข็งกร้าว เธอก็อยากสวย มียิ้มหวานๆเหมือนคนอื่นเขา

คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ใจบอกว่าต้องอุดฟันให้เด็กคนนี้แหละ

ตอนอุด เธอให้ความร่วมมือดีมาก มีความอดทนสุดๆ ไม่น่าเชื่อเพราะส่วนใหญ่เด็กๆที่มีปัญหามักจะหลุกหลิก อยู่ไม่นิ่ง พออุดเสร็จ เด็กคนนี้ยิ้มหวานเลย เธอดีใจสุดๆ

ตอนพ่อมารับกลับบ้าน พ่อทำหน้าหงิกเลย เพราะต้องมา นั่งรอลูกสาวอุดฟัน แต่พออุดเสร็จ... พ่อเห็นลูกมีความสุข แม้ว่า ลูกสาวคนนี้จะไม่ปกติ แต่ก็อยากสวยเหมือนคนอื่นเขา.. งานนี้น่าจะทำให้พ่อ และแม่น้องคนนี้ ยิ้มได้บ้างล่ะเนอะ

 

 

ขอบคุณ "สายลมที่หวังดี" ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ

เวลาที่เราไปออกหน่วย บางครั้งจะไปในที่ห่างไกล

แม้แต่สถานีอนามัยก็ไกล เลยไม่รู้เหมือนกันว่า "กลุ่ม" ที่คุณน้อง

"สายลมฯ" หมายถึง จะเป็นใครดี (เข้ามาแลกเปลี่ยนอีกหน่อยนะ)

เอ้อ! หน้าที่ในการดูแลสุขภาพเนี่ย... ควรเป็นของใครดีนะ

ปล. ออกหน่วยหน้าร้อนเนี่ย มันก็ร้อนสมฤดูแหละจ้า

คุณพี่ "ต้นอ้อ" ที่นับถือ

- เทอมหน้ามี Health Promotion เหมือนเดิมละคร๊าบบบบบ

- น่าดีใจกับน้องโรงเรียนกาวิละฯ นะคะ ที่การออกหน่วยทำให้เธอยิ้มหวานได้

- เวลาที่เราออกหน่วย ก็มักจะมีเวลาพูดคุยกับคนไข้ไม่มากนัก หรือไม่ก็.. คุณหมอ

เป็นฝ่ายคุยผสมบ่นซะมากกว่า คนไข้ได้แต่อ้าปากค้าง (ให้เราทำฟันไง)เราก็เลยไม่มี

โอกาสได้รับรู้ทุกข์ หรือแม้แต่สุขของเขา

- ถ้าตามที่คุณพี่ "ต้นอ้อ" แนะนำ หน่วยบริการฯ อาจจะต้องใช้ "ใจ" ในการทำฟัน

เพิ่มจากการใช้ "มือและปาก" แต่เพียงเท่านั้น

อ.หนิง หุหุ

ถามมาอย่างนี้ งง เลย ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า กลุ่มตรวนั้นจะเป็นใคร

แต่ว่า หลักๆน่าจะเป็นอนามัยหรือเปล่าค่ะ

แต่ว่า ไม่ว่าใครจะสานต่อหรือไม่

แต่มันขึ้นอยู่กับว่า เราไปทำด้วยความรู้สึกแบบไหน...อิอิ

ไม่รู้จะได้รเองไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท