การพัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์


การพัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รู้จักคิด รู้จักพัฒนา และมีค่านิยมที่ดี การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการพัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ ของโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ตามกรอบการศึกษาค้นคว้าทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านภารกิจและความรับผิดชอบ ด้านบริการห้องสมุด ด้านบริการและกิจกรรม และด้านงานเทคนิคห้องสมุด โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีจำนวน 14 คน ซึ่งเป็นคณะกรรมการอำนวยการและประสานงาน จัดทำหนังสือให้นักเรียนได้อ่าน และเสริมสร้างกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าหมวดวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครู-อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย และครูบรรณารักษ์ทุกสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ และสถิติพื้นฐาน ดังนี้คือ 1) ค่าร้อยละ(Percentage)  2) ค่าเฉลี่ย (Mean) 3 )หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า การดำเนินงานพัฒนาห้องสมุด โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ที่ผ่านมาครูบางคนยังไม่เห็นความสำคัญของห้องสมุดหรือมุมหนังสือ และนักเรียนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการอ่านหนังสือเรียน และการใช้ห้องสมุดร่วมกัน

การพัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการพัฒนา 3 กิจกรรม คือ

                กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ

                กิจกรรมที่ 2 การศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด

                กิจกรรมที่ 3 การนิเทศแบบภายใน ตามระยะเวลาใน 2 วงรอบ พบว่า ด้านภารกิจและความรับผิดชอบผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าสามารถทำหน้าที่การดูแลและบำรุงรักษา งานสนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร การเตรียมวัสดุสารนิเทศเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า จากผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทั้งหมด ยังมีบางคนไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่และวิธีการจัดกิจกรรมตามเป้าหมาย เมื่อสะท้อนผลวงรอบที่ 1 ผู้ศึกษาค้นคว้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้การนิเทศแบบภายในซึ่งผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่ยังไม่เข้าใจ ได้เปลี่ยนแปลงการจัดกิจกรรมแบบใหม่ควบคู่ไปกับการศึกษาเอกสาร การดำเนินงานห้องสมุด ทำให้ผู้ร่วมศึกษาสามารถจัดกิจกรรมเป็นไปตามกรอบการศึกษาค้นคว้า ด้านการบริหารผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีการวางแผน กำหนดบทบาทหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุด แบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาห้องสมุด บรรลุเป้าหมายตามกรอบการศึกษาค้นคว้า ด้านงานบริการและกิจกรรมของห้องสมุดพบว่าผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ตามกรอบที่กำหนดให้เมื่อพัฒนาครบ 2 วงรอบ ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าบางคนไม่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตสามารถจัดกิจกรรมบรรลุตามกรอบการศึกษาค้นคว้า ด้านงานเทคนิคผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความเข้าใจสามารถสำรวจ เลือกจัดหา จัดซื้อ และเตรียมงานเกี่ยวกับหนังสือวัสดุ อุปกรณ์สารสนเทศต่าง ๆ เพื่อรับบริการการใช้ห้องสมุดตามกรอบการศึกษาค้นคว้า

หมายเลขบันทึก: 173998เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2008 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท