เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ (2549) ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกช่างอีเล็คโทรนิคส์คอมพิวเตอร์แทนคนเก่าที่ขาดงานไป ทำให้โรงพยาบาลต้องเลิกจ้าง
ช่างคนเก่าสวมวิญญาณอัศวิน ยืมเงินเจ้าหน้าที่แล้วชักดาบเลย ถ้าเขาได้งานที่ดีกว่า ไปทำที่อื่นก็ขอแสดงความยินดีด้วย ยินดีเฉพาะความสุขความเจริญนะครับ บาปกรรม(ลักทรัพย์)นี่ไม่ยินดีด้วยเลย
คนดี(ถ้าไม่ระวังตัว)มักจะเป็นเหยื่อของคนโกง พยาบาลท่านหนึ่งเล่าว่า คนไข้มะเร็งท่านหนึ่งหลอกพยาบาลว่า ไม่มีสตางค์ค่ารถกลับบ้าน พอรวบรวมเงินให้ได้ คนไข้รายนั้นก็เอาไปซื้อหวยหน้าตาเฉยเลย
ผู้เขียนสังเกตว่า คนรุ่นใหม่ที่ “เสียคน” อย่างรวดเร็วมักจะมีเหตุ 2 อย่าง
อย่างแรกคือเล่นการพนันจนเป็นหนี้ แล้วต้องหนีหนี้ อย่างที่สองคือสนุกไปหน่อย ติดเอดส์ แล้วต้องหนีหน้า
การคัดเลือกช่างอีเล็คโทรนิคส์ใหม่คราวนี้ทำกันอย่างรอบคอบ ภาคเช้าสอบปฏิบัติ ให้ซ่อมคอมพิวเตอร์จริงๆ ผู้สมัครบางท่านซ่อมอย่างไรไม่ทราบ เสียงซ๋อมดังโครมคราม อย่างนี้คงไม่ผ่าน
ภาคบ่ายสัมภาษณ์โดยกรรมการทั้งในและนอกหน่วยงาน คนที่มาสมัครงานท่านหนึ่งบอกว่า ตอนนี้สมัครงานเพื่อหาเงินมาต่อเงิน ขายสินค้าแบบขายตรง (direct sale) ไปด้วย
ชีวิตท่านไม่ต้องการทำงาน ต้องการใช้เงินทำงาน กล่าวคล้ายหนังสือ “พ่อรวยสอนลูก” ของโรเบิร์ต คิโยซากิ คิดอย่างนี้อาจจะเหมาะกับงานขายสินค้า หรือทำงานผ่านตลาดหลักทรัพย์มากกว่างานช่าง
อาจารย์โกศล อนุสินนำบาป 7 ประการในสายตามหาตมะ คานธีเขียนบทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้...
แหล่งข้อมูล:
ไม่มีความเห็น