สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช และสมเด็จพระเอกาทศรุทร


สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์  : สมเด็จพระนเรศวร" พระนามแปลกปลอมของ "สมเด็จพระนเรศ" ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ( ม.ค. 2549 ) หน้า 42-43. 

สอบได้จาก พระไอยการกระบดศึก ที่ตราขึ้นในสมัยพระนเรศ อันเป็นพระบรมราชโองการของสมเด็จพระเอกาทศรุทร ผู้อนุชาเมื่อปี พ.ศ.2126 เรียกพระเชษฐาว่า สมเด็จพระบาทบงกชลักษณอัคบุริโสดมบรมหน่อนราเจ้าฟ้านเรศเชษฐาธิบดี

พงศาวดารพม่า (พงศาวดารฉบับหอแก้ว) พระเจ้าพยีดอ กษัตริย์พม่าเมืองอังวะโปรดให้ราชบัณฑิตรวบรวมเรียบเรียงขึ้นใน พ.ศ.2372 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเรียกพระองค์ว่า พระนเรศ

พงศาวดารฯ ฉบับ วันวลิต ซึ่ง เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) หัวหน้าสถานีการค้า บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East India Company) เขียนขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ.2182 เรียกพระองค์ว่าพระนริศ (Prae Naerith) นริศราชาธิราช

พงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ 4 (สมเด็จพระนารายณ์) โปรดให้เรียบเรียงขึ้นในปี พ.ศ.2223 กลับเรียกพระองค์ว่า สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้า ด้วยเหตุที่พระองค์สวรรคตอย่างกระทันหันที่เมืองหางทำให้ได้พระนามว่าพระนารายณ์เมืองหาง เพื่อให้แตกต่างจากพระนารายณ์เมืองละโว้

อารักษ์อ่านผิดในอีกหลายร้อยปีผ่านมา พระนาม สมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช แทนที่จะอ่านว่า สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช กลับอ่านว่า สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช (ภายหลังยกท่านให้เป็น มหาราช) ทั้งนี้สร้อยพระนาม วรราชาธิราช ยังพบในพระนามทางการของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า (พระเทียรราชา) ผู้เป็นพระเจ้าตาของสมเด็จพระนเรศ ศิลาจารึกวัดบรมธาตุศรีสองรัก หลักที่ 1 เรียกพระองค์ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช การที่สมเด็จพระนเรศใช้สร้อยพระนาม วรราชาธิราช ห้อยท้ายอาจเป็นการแสดงให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ทางเครือญาติที่พระองค์ทรงมีต่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เจ้าเพื่อยืนยันถึงสิทธิ์ในราชบัลลังก์อยุธยาของพระองค์

ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรุทร ผู้อนุชา พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามักจะจดพระนามเพี้ยนเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ ที่แปลว่า กษัตริย์ผู้มีรถ 11 คัน (เอกาทศ =11 / รถ=เกวียนศึก) ส่วนกฎหมายตราสามดวงจดพระนามเพี้ยนเป็น สมเด็จพระเอกาทศรฐ แปลว่ากษัตริย์สิบเอ็ดรัฐ อันเป็นการลดพระเกียรติเสียมากกว่าเพราะแม้แต้เจ้านายผู้กินตำแหน่ง พระญาเอกสัตราช ยังมีพระเกียรติเสีย กว่าด้วยด้วยพระนามแปลว่า กษัตริย์ร้อยเอ็ด มากกว่าสิบเอ็ดรัฐหลายเท่าตัว

ความจริงสมเด็จพระเอกาทศรุทร แปลว่า กษัตริย์แห่งเทพยาดา ทั้ง 11 แม้กระทั่งพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ ยังเรียกพระนามนี้ไว้ต่างกันคือเรียกว่า พระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนราบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว แต่กลับเรียกพระรามาธิบดี พระองค์ที่ 4 (สมเด็จพระนารายณ์) ถูกต้องตามความจริงว่า พระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเอกาทศรุทร พระอนุชา ในสมเด็จพระนเรศ ทรงเป็นกษัตริย์อยุธยา พระองค์ทรงใช้พระนามนี้อย่างเป็นทางการในพระ สุพรรณบัฏ จึงกลายมาเป็นพระนามเฉพาะพระองค์ไปเสีย แม้ก่อนหน้านี้สมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ 3 (สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้า) จะทรงยอพระเกียรติพระราชบิดาคือสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ 2 (สมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า)
ไว้ในลิลิตยวนพ่ายว่า เทพยาดา ทั้ง 11 พระองค์ลงมาจุติเป็นกษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้

พรหมพิษณุบรเมศเจ้า           จอมเมรุ มาศแฮ
ยเมศมารุตอร                       อาศนม้า
พรุณคนิกุเพนทรา-               สูรเสพย์
เรืองรวีวรจ้า                         แจ่มจันทร์



เทพทั้ง 11 ได้แก่
1.พระพรหม
2.พระพิษณุ
3.พระบรเมศ/พระอิศวร
4.พระอินทร์
5.พระยเมศ/พระยม
6.พระมารุต/พระพาย
7.พรุณ/วรุณ/พระพิรุณ
8.พระอัคนี/พระเพลิง (พรุณคนิ=พรุณ+อคนี)
9.ท้าวกุเวนทราสูร (กุเวร+อสูร)/กุเวร/กุเพนทร
10.รวี/พระอาทิตย์
11.พระจันทร์

ภายหลังมีกษัตริย์อยุธยาหันมานิยมใช้พระนามในพระสุพรรณบัฏอย่างพระองค์ว่า สมเด็จพระเอกาทศรุทร อาทิ

  • พระเจ้าทรงธรรม (พระไอยการลักษณะมรดก พ.ศ.2134,2135)

  • พระเจ้าปราสาททอง (พระธรรมนูญ พ.ศ.2178 พระไอยการเบ็ดเสร็จ พ.ศ.2188)

  •  สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ 4 (พระไอยการลักษณ์รับฟ้อง พ.ศ.2214)

  •  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (หมายรับสั่งกรุงธนบุรี จ.ศ.1138 เรื่องตั้งเจ้านันทเสนเป็นเจ้านครเวียงจันทน์ และเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช)

หมายเลขบันทึก: 171714เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2008 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ได้ความรู้ไปมากมายเลย ขอบคุณค่ะที่นำความรู้มาให้กัน เอิกๆๆๆ

   เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ พี่กวิน ------> น้องจิ ^_^

               %e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%99

จึ๋ยน้ำอะไร สีเหมือนเบียร์เลย ชอบ...ฮา

ขอบคุณครับ น้อง...จิ

ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้จริงๆ

สวัสดีครับคุณ Sasinanda ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณP 4. กวินทรากร

ชอบครับ  อ่านดี  สัมมนาต่อได้ดีอีกด้วย

สวัสดีค่ะ คุณกวินทรากร

  • แวะมาทักทายค่ะ  ...ขยันเขียนบันทึกดีจังค่ะ
  • สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ

- อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้นึกถึงเรื่องภควัตคตาค่ะ

- น้องจิน่าจะนำน้ำเก๋ากี้สีเหลืองมาฝาก....เมื่อเก๋ากี้ กลายมาเป็นน้ำผลไม้http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1686 เก๋ากี้ (Chinese Wolfberrhttp://www.it-gateways.com/charoenvej/Herb/kaoki.htmy)

สวัสดีค่ะ

ขออภัยค่ะ.....ภควัตคตา... พิมพ์ตกค่ะต้องเป็น.....ภควัตคีตา

สวัสดีครับคุณ ครูชา เปิงบ้าน ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านครับ อย่างไรขอตามไปฟังสัมนาด้วยนะครับ

สวัสดีครับคุณกฤษณา สบายดีกว่าแต่ก่อนนิดนึงครับ

สวัสดีครับอาจารย์พรรณา นึกถึง ภควัตคีตา ตอนไหนครับ ..

สวัสดีค่ะ

- สมเด็จพระเอกาทศรถ ที่แปลว่า กษัตริย์ผู้มีรถ 11 คัน (เอกาทศ =11 / รถ=เกวียนศึก) ....อรชุนมีธนู...ที่ยิงได้คราวละหลาย ๆ ดอก...

- พี่กับน้องช่วยกันทำสงคราม.....

สวัสดีครับ

  • อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากเลยครับ
  • ชอบอ่านครับ

อาจารย์พรรณา...พูดถึงเรื่อง..ภควัตคีตา..ก็นึกถึง..นางเทราปตี..ที่มีภัสดา..หลายๆ... (เทราปตี=กฤษณา สอนน้อง?)

สวัสดีครับอาจารย์ วิบุล ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

- กล่าวถึงนางเทราปตี....นึกถึงพาหุรัด....ขายผ้ารวยแน่เลย...

- การมีคู่ครองคราวละหลายๆ คน ...ไม่ใช่เรื่องใหม่.....โปรดหายใจให้เป็นปกติจ้า....

อาจารย์ พรรณา พูดถูกครับ

ขอหัวเราะแบบแค่นๆๆๆ ครับ 5555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท