ปฏิทินมีใช้กันมานานแค่ไหน


ปฏิทินใช้เป็นครั้งแรกในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 5

 

 

                 ปฏิทินมีใช้กันมานานแค่ไหน

                          วันนี้นั่งทำคะแนนสอบชองเด็กทั้งวัน  หลังสอบปลายภาคเสร็จไปเมื่อสัปดาห์ที่

ผ่านมา   นักเรียนหยุดแล้วแต่ครูยังทำงานอยู่   ช่วงนี้กำลังรับสมัครนักเรียนใหม่  ตอนเย็น ๆ  ได้มี

โอกาสอ่านนิตยสารขวัญเรือน  เกี่ยวกับความรู้รอบตัว  เลยเก็บมาเล่าให้ฟังกันค่ะ

                          แทบทุกบ้านต้องมีปฏิทิน  แล้วคุณรู้ไหมคะ .....ปฏิทินมีใช้กันมานานแต่ไหนแล้ว

                          ปฏิทิน  เป้นสิ่งที่ใช้บอก  วัน  เดือน  ปี  ที่ทุกบ้าน  ทุกสำนักงานต้องมี

                          ย้อนกลับไปในอดีตก่อนที่จะมาเป็นปฏิทินหลากหลายรูปแบบ   อย่างที่เราเห็นใน

ปัจจุบัน  

                          คนสมัยก่อนเขาใช้วิธีคำนวณดูวันเวลาจากการโคจรของดวงจันทร์  ระยะ

เวลาการหมุนขอโลกรอบดวงอาทิตย์   วิธีการนับแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน  เพราะฉะนั้น

ปฏิทินเขามีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ 

                          ตามข้อมูลก็คือ  มีการทำปฏิทินสมัยจูเลียส  ซีซาร์    ได้กำหนดให้เดือน

ต่าง ๆ  มี  30  และ  31 วัน  สลับกัน     ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ มี  29  วัน  แต่ถ้าเป็นปี

อธิกสุรทินก็เพิ่มอีก  1  วัน 

 เป็น  30  วัน       ต่อมาสมัยจักรพรรดิออกุสตุสครองจักรวรรดิโรมัน  ได้ทรงปรับปรุงเทียบกับ

ปฏิทินอียิปต์  โดยลดเดือนกุมภาพันธ์ลงเหลือ  28  วัน  ถ้าเป็นปีอธิกสุรทินก็เพื่มเป็น  29  วัน

                    ส่วนการใช้ปฏิทินเป็นครั้งแรกในเมืองไทยนั้น  ได้มีการประกาศใช้ปฏิทินตาม

                                           สุริยคติกาลเป็นทางราชการ  เมื่อปี  พ.ศ. 2432 

                                ในสมัยรัชกวลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                  (ข้อมูล: อ่านแล้วเก็บมาเล่า....จากหนังสือนิตยสาร  ขวัญเรือน ปักษ์แรกมีนาคม  2551)

            

หมายเลขบันทึก: 171188เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะครูแก้วตา เป็นเรื่องรอบรู้ค่ะ ดีค่ะ

จะว่าไปถ้าไม่มีปฎิทิน แล้วเราจะใช้อะไรเป็นตัวกำหนดนัดหมายในเรื่องเวลา

 

สวัสดีค่ะ คุณberger0123

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมบันทึก นั่นสิคะเราคงต้องอาศัยการสังเกตเวลาขึ้นเวลาตกของพระอาทิตย์และพระจันทร์ คงวุ่นน่าดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท