kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ความรู้คู่ช่องปาก : อุบัติเหตุที่เกิดต่อฟัน (1) : ลักษณะและการป้องกัน


อุบัติเหตุที่เกิดต่อฟัน เป็นสิ่งที่พบได้เป็นประจำ มักพบโดยไม่ทราบล่วงหน้า แต่การรักษาต้องได้รับอย่างเร่งด่วน

      อุบัติเหตุที่เกิดต่อฟัน เป็นสิ่งที่พบได้เป็นประจำ มักพบโดยไม่ทราบล่วงหน้า แต่การรักษาต้องได้รับอย่างเร่งด่วน ดังนั้นความรู้ในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุต่อฟันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้

     ความสำเร็จของการรักษฟันที่เกิดอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับลักษณะของอุบัติเหตุและเวลาที่เกิดขึ้นในการรักษาที่ทันท่วงที ที่ผ่านมาพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่ควรจะสามารถรักษาได้ แต่เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา ทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียฟันไปอย่างน่าเสียดาย

     สำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อฟัน อาจแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • ฟันแตกหัก (Fracture)

  • ฟันโยก (Mobility)

  • ฟันเปลี่ยนตำแหน่งไปจากเดิม (Displacement)

  • ฟันกระแทกจมลงไปในเป้ากระดูกฟัน (Intrusion)

  • ฟันหลุดจากเป้าฟัน (Avulsion)

     ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งอาจเกิดลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน และการรักษาแต่ละลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุก็จะแตกต่ากันไป (ซึ่งจะได้นำมาบันทึกไว้ให้ทราบในโอกาสต่อไป)

     สำหรักการป้องกัน มีดังนี้คือ

  • คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่นั่งรถ ถ้าเด็กเล็กมากควรให้นั่ง Car seat

  • ควรใส่หมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขี่จักรยาน จักรยานยนต์ เล่นสเก็ต

  • กระโดดน้ำเฉพาะสระที่จัดไว้

  • ใส่ Mouth guard เมื่อเล่นกิฬาที่มีการกระทบกระแทก

  • มีเบอร์โทรศัพท์ของทันตแพทย์ประจำตัว เพื่อขอคำปรึกษาทันที

  • ในเด็กเล็กที่กำลังหัดเดิน ควรป้องกันเป็นกรณีพิเศษ เช่นขอบโต๊ะที่สูงพอดีกับช่องปากเด็ก หรือการหกล้มในบริเวณพื้นปูน 

การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ

อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้หากรู้วิธี

หมายเลขบันทึก: 171110เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท