โลมาหัวบาตร


โลมาอิระวดี จ้าวแห่งทะเลสาบลำปำ
โลมาอิระวดี จ้าวแห่งทะเลสาบลำปำ
(เนื้อหาบางส่วนจาก "โลมาหัวบาตร จ้าวแห่งทะเลสาบลำปำ" เขียนโดย จันทริกา)

 

 

โลมา เป็นสัตว์โลกอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความผูกพันกับมนุษย์มากที่สุด และกลายเป็นตัวเอก ในภาพยนตร์ หลายต่อหลายเรื่อง แต่ชีวิตจริงโลมาทั่วโลก โดยเฉพาะโลมา ในน่านน้ำไทย กำลังถูกคุกคาม และอยู่ในสภาวะวิกฤติ สาวิตรี ศิรสุขประเสริฐ เล่าเรื่องโลมาหัวบาตร แห่งทะเลสาบลำปำ จังหวัดพัทลุง ณ ทะเลสาบสงขลา อาณาเขตแห่งคลื่นน้ำลูกเล็กที่โยนตัวไปตามความพลิ้วไหวของกระแสลมอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไป ของชีวิตน้อยใหญ่ ที่ต่างอาศัยลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นที่พักพิง

 

โลมาหัวบาตร หรือ โลมาอิระวดี (ค้นพบในลุ่มน้ำอิระวดี ประเทศพม่า) เดิมเรียกว่า "โลมาหัวหมอน" เพราะมีรูปร่างใหญ่ กลม คล้ายหมอนหนุน หรือท่อนไม้ ลำตัวมีสีเทาอมฟ้า บางตัวมีสีดำเทาอมฟ้า ท้องสีจาง มีรูหายใจ (รูจมูก) อยู่บนหัว หัวกลมทุ้ยคล้ายบาตรพระ ตาขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นมากจนแทบสังเกตไม่เห็น ลำคอใหญ่ ครีบอกใหญ่ ปลานมน ครับหลังขนาดเล็กค่อนไปทางส่วนหาง ครีบหางสองแฉกแผ่แบนลง โคนหางคอดและเรียวเล็กลง ใช้สำหรับโบกขึ้นลงต่างกับปลาที่จะโบกไปมาซ้ายขวา ช่วงคอสามารถขยับได้ทุกทิศทาง ครีบอกมีลักษณะคล้ายมือคน หรือแขน ขาหน้า ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกชนิดอื่นๆ ภายในครีบอกมีกระดูกเรียงคล้ายนิ้วมือคนและหายใจด้วยปอด อยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
   สำหรับชาวประมงที่แล่นเรือออกหาปลาในทะเลสาบลำปำนั้น จะค้นเคยกับโลมาชนิดนี้มาช้านาน เพราะเปรียบเสมือนเพื่อนร่วมทางในท้องทะเลใหญ่ แต่ไม่มีใครทราบว่ามันเข้ามาอาศัยอยู่ที่ทะเลสาบลำปำตั้งแต่เมื่อไหร่ บางครั้งมันจะว่ายตามเรือเป็นฝูงใหญ่ส่งเสียงร้องคล้ายหมู บางครั้งก็จะกระโดดหมุนตัวตามกันเหมือนลมทอนาโด หรือพ่นน้ำเล่น
   โลมาเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาดมาก ขี้เล่น และไม่ทำร้ายมนุษย์ มีเรื่องเล่ากันว่า บางครั้งเมื่อเรือล่มเพราะถูกลมมรสุม คลื่นลมแรง โลมาจะช่วยพยุงคนที่จมน้ำให้รอดชีวิตได้ โดยการให้คนเกาะหลังและว่ายพาเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย แต่ห้ามถูกต้อง "นม" โดยเด็ดขาด เพราะมันจะสะบัดหลุดและว่ายน้ำหนีไปทันที
   บริเวณที่พบเห็นโลมาหัวบาตรบ่อยที่สุดในทะเลสาบลำปำ คือ บริเวณตรงร่องกลางทะเลสาบ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านลำปำ ตรงที่เรียกว่า "ลับห้า" คือ บริเวณที่เกาะใหญ่บดบังเกาะสี่เกาะห้ามิดพอดี

 

ที่มา. http://www.muanglung.com/loma.html

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17104เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท