พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513


พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490   พ.ศ. 2513

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าได้มีผู้มีปลาปิรันยา (PIRANHA) หรือปลาคาริบี (CARIBE) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุลเซราซาลมัส (SERASALMUS) และมีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ในแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ไว้ในครอบครอง ปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาแปบ หรือปลาโคก แต่มีฟันคมและมีนิสัยดุร้ายมาก ชอบอาศัยอยู่เป็นฝูง ชอบรุมกัดกินเนื้อมนุษย์และสัตว์ทุกขนาดเป็นอาหาร เช่น โค กระบือ ม้า ฯลฯ ที่ลงไปในแม่น้ำลำคลองที่ปลานี้อาศัยอยู่ และบัดนี้มีผู้นำหรือสั่งปลาในสกุลนี้มาจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศไทยหลายราย โดยจำหน่ายเป็นปลาประเภทสวยงาม และแปลกประหลาด ถ้าปล่อยให้มีปลาในสกุลนี้ไว้ในครอบครองอาจจะมีการผสมพันธุ์ปลาในสกุลนี้ขึ้นจำหน่าย หรืออาจจะมีผู้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ ปลาสกุลนี้จะขยายพันธุ์และแพร่หลายทั่วไปจะเป็นอันตรายต่อประชาชน สัตว์เลี้ยงและสัตว์น้ำอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง โดยห้ามมิให้มีสัตว์น้ำตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาไว้ในครอบครอง ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อการค้าหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และโดยที่เป็นกรณีเหตุฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ ก่อนที่จะได้มีการขยายพันธุ์จนสายเกินที่จะป้องกันกำจัดได้  สมควรออกพระราชกำหนดโดยด่วน
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17102เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท