เทียบเคียงแนวการคิด six thinking hats ของ Edward de Bono


             เอดเวิร์ด เดอ โบโน ได้ทำการคิดค้นเทคนิคการคิด ขึ้นมา เพื่อเป็นระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักในการจำแนกความคิดออกเป็น 6 ด้านที่เรียกว่า six thinking hats (หมวก 6 ใบ)ที่มุ่งเตือนใจให้คนคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ ไม่คิดกระโดดไปกระโดดมา หรือคิดพร้อมกันทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สับสนใช้เวลานาน และสรุปไม่ได้ จนบางครั้งก็เกิดการโต้เถียงขัดแย้งกัน
        
กล่าวแบบย่อๆของการคิดแบบหมวก 6 ใบก็คือ  หมวกสีขาว เป็นการคิดเกี่ยวกับข้อมูล  ข้อเท็จจริงต่างๆที่ตรงไปตรงมาไม่แต่งเติม  หมวกสีแดงเป็นการคิดที่แสดงออกทางด้านอารมณ์  ความประทับใจ  ความรู้สึก  หมวกสีเหลือง เป็นการคิดในทางบวก  คิดถึงข้อดี  จุดเด่น  หมวกสีดำ  เป็นการคิดที่ค้นหาปัญหาอุปสรรค ข้อบกพร่อง  หมวกสีเขียว เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ คิดริเริ่ม  สร้างสรรค์  และหมวกสีฟ้า เป็นการคิดเชิงระบบ  คิดเชิงสรุป ซึ่งถ้าการคิดที่มีประสิทธิภาพจะต้องคิดให้ครบทั้ง 6 สี  จะเริ่มสีใดก่อนหลังขึ้นอยู่กับสภาพบริบท      
        ทีนี้เราลองมานึกถึงภาพของคนที่ทะเลาะกัน  จะเห็นว่าเขาต่างสวมหมวกกันแค่ 3 ใบ คือสีขาวซึ่งก็ยังเป็นสีขาวที่กะมอมกะแมม คือยังไม่พูดกันด้วยข้อเท็จจริงที่บริสุทธิ์ ยังแต่งเติมขึ้นมาเพื่อให้เกิดรสชาติ  และสิ่งที่แต่งเติมขึ้นมาก็คือการมองหาจุดอ่อนของคนอื่น  ด้วยการใส่อารมณ์ความรู้สึกของคนสวมหมวกสีแดงและสีดำ  จะวนเวียนสวมหมวกแค่ 3 ใบ  อย่างที่ว่า
โทษคนอื่นมองเห็นเท่าภูเขา  โทษของเรามองเห็นเพียงเส้นขน... แล้วจะไม่ทะเลาะกันได้อย่างไร  ถ้าเขาเหล่านั้นมาสวมหมวกสีเหลือง  สีเขียว  และสีฟ้ากันด้วย  ก็คงจะลงเอยด้วยดี  การคุยกัน  หรือบรรยากาศในการประชุม  ในการจัดการเรียนการสอน ก็คงจะดีขึ้น และได้สาระ
       เป็นเรื่องแปลกที่คนเราเวลาจะพูดอะไรก็มักจะเอาดีเข้าตัว  โยนชั่วให้คนอื่น ยิ่งเป็นคนที่เป็นลูกน้อง  หรือคนที่ตนเองขาดความเกรงใจก็จะใส่อารมณ์อย่างเข้มข้น  เพื่อให้ได้ตามที่ตนเองต้องการ(วัฒนธรรมอำนาจ) โดยมักจะพูดกันที่ปลายเหตุ ที่ไม่มองอย่างรอบด้านว่า 
พฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ ตามหลัก อิทัปปตยตา คนที่เขาไม่อยากโต้เถียงด้วย เขาก็อาจจะนิ่ง  แต่เขาไม่ได้ยอมรับนะ
       ลองเอาแนวคิด
หมวก 6 ใบ ไปใช้บ้างก็ดีนะ  สังคมจะได้น่าอยู่มากขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #six thinking hats#หมวก 6 ใบ
หมายเลขบันทึก: 170067เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2008 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาอ่านครับ
  • ชอบเรื่องความหลากหลายของคนครับ
  • เลือกหมวกสีเขียวครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ ขออนุญาต ลปรร ครับ

       จากประสบการณ์ในการประชุม ในฐานะที่ผมเป็นสมาชิกในที่ประชุม  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหมวกสีแดง และ สีดำ ครับ จึงทำให้ผลการประชุมออกมาแบบบาดเจ็บสาหัส

       ผมเองในฐานะผู้บริหารโรงเรียน  เคยนำการประชุมแบบหมวก 6 ใบ ไปใช้ครับ  ใช้ในการประชุมเพื่อพิจารณาพัฒนางานของโรงเรียนเรื่องหนึ่ง ผลปรากฏว่าได้ผลดีกว่าการประชุมแบบปกติครับ

      ขออนุญาตเล่าประสบการณ์ให้ฟังนิดหนึ่งครับ ขั้นตอนของการประชุมดังกล่าว   ผมดำเนินการดังนี้ครับ

  1. ชี้แจงให้คณะครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหมวก 6 ใบ

  2. ผมในฐานะประธานในที่ประชุม สวมหมวกสีฟ้าครับ

  3. ผมเริ่มประชุมด้วยหมวกสีขาว  คือ ชี้แจงข้อมูลทั่วไปให้สมาชิกทุกคนเข้าใจให้ตรงกัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการประชุม

  4. หลังจากนั้นจึงให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่จะทำถึงข้อดีด้วยหมวกสีเหลือง

5.  และข้อจำกัดด้วยหมวกสีดำ

6. แสดงความรู้สึกด้วยหมวกแดง

7. หาทางออกด้วยหมวกสีเขียว

8. ผมสรุปด้วยหมวกสีฟ้า

    ดีมากครับ  

    ผมว่าในการประชุมตกลงพิจารณาในเรื่องต่างๆ ถ้าประชุมด้วยหมวก 6 ใบ ผลก็น่าจะออกมาอย่าง win-win นะครับ

    แต่การประชุมที่มุ่งเน้นชนะกันด้วยการใช้อำนาจ  ผลที่ออกมามีทั้งผู้ชนะและผู้แพ้   มีทั้งพระและมาร  

     ผมไม่ชอบเลย

                                  ขอบคุณครับ

  • ไม่ค่อยชอบใส่หมวก จะเสี่ยงกับการเป็นเอดส์มั้ยครับ อ่อคนละหมวก คนละความหมาย
  • สวัสดีครับแวะเข้ามาอ่านครับ อิๆ แซวนิดนึงนะครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่ร่วม ลปรร.โดยเฉพาะผอ. smallman ที่เล่าจากประสบการณ์จริง  ผมคิดว่าถ้าเราใช้บ่อยๆระบบการคิดของเราก็จะดีขึ้น  ในที่สุดก็จะได้หมวกสีเขียวเหมือนที่คุณขจิตต้องการ และสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติเข้าสู่วงจร PDCA ปกติ 

แล้วมันมีข้อดีข้อเสีย ของการใช้หมวก หก ใบ หรือไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท