เมื่อต้องดมยาสลบ... “หมู” ...(หมูจริงๆ)


แพทย์ได้ความรู้นำมา ปกป้องรักษา มวลมนุษย์ปราศจากโรคภัย ...ให้ทานความรู้ยิ่งใหญ่ มากกว่าสิ่งใด บุญกุศลส่งสู่สรวงสวรรค์ ...

จากบันทึก... หากพูดถึงคำว่า "หมู"...ท่านคิดถึงอะไรคะ?.... ก่อนหน้านี้

บันทึกนี้อาจทำให้ท่านได้คำตอบมากขึ้นค่ะ

เมื่อประมาณต้นเดือนนี้ได้รับคำถามจากทีมผ่าตัดว่า... "ถ้าจะดมยาหมู...ติดต่อยังไง?"

ฉันให้คำแนะนำเท่าที่ประสบการณ์เคยมี  และแอบเงี่ยหูฟังห่างๆว่า  scrub nurse กับแพทย์ผ่าตัดเขาคุยเรื่องนี้อย่างไร

 

และเมื่อวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจึงทราบคำตอบ......

 

แพทย์ออร์โธปิดิกส์หรือหมอกระดูกจะใช้หมูทดลองทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องส่อง

 

เป็นกิจกรรมของ ชมรม Thai Spine  ค่ะ เราได้รับการติดต่อว่าขอลงทำหัตถการเวลาบ่ายโมง    

เราเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์เพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ

 

 

เทคนิคการนำหมูเข้ามาอย่างสงบคงไม่ต่างจากสมัยก่อนๆที่เคยดม  นั่นคือการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหมูในขนาดที่หมูปลอดภัยจนสลบก่อนถูกนำเข้าห้องlabอย่างสงบ

 

 

ติดเครื่อง monitor ...ดูค่าออกซิเจนในเส้นเลือดจากใบหู....วัดค่าความดันเลือดที่ขาและดูคลื่นหัวใจจากบริเวณอก   แล้วเริ่มให้ยาทางเส้นเลือด 

จากนั้นก็ให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดทางใบหูที่ได้รับการโกนขนมาแล้ว....

 

 

 

  

การใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งคราวนี้แปลกกว่าทุกทีเพราะใช้ double lumen  ซึ่งเป็นท่อชนิดพิเศษ(ชนิดเดียวกับที่ใช้ในคน) 

 

มีรูให้ลมเข้าสองทางโดยสามารถแยกลมเข้าระหว่างปอดข้างซ้ายและข้างขวา  เพื่อให้การผ่าตัดสามารถทำได้สะดวกโดยไม่ให้ปอดข้างนั้นขยายมาบังตำแหน่งที่ผ่าตัด  ใช้ปอดข้างเดียวทำงาน  เรียกว่า เทคนิค one-lung ventilation หรือเราๆเรียกกันว่า  แฟบปอดบ้าง  ยุบปอดบ้าง

 

 

ภาพบนซ้าย : นพ.กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย  ภาพบนขวา : นพ.สุรชัย แซ่จึง

ภาพล่างซ้าย : ทีม Thai Spine  ภาพล่างขวา : คุณศศิธร เรืองประเสริฐกุล scrub nurses

 

 

หัตถการดำเนินไปด้วยดี  ยกเว้นเวลายุบปอดที่มีการแสดงค่าของออกซิเจนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด  อาจารย์วิสัญญีแพทย์ดัดแปลงเทคนิค CPAP เพิ่มเข้าไป จากนั้นทุกอย่างราบเรียบจึงหันมาเริ่มทำหัตถการในหมูอีกตัว  คราวนี้ตัวนี้ดูราบรื่นมากกว่าเพราะการเรียนรู้จากตัวแรก....

 

 

 

ขอขอบคุณทีมชมรม ชมรม Thai Spine  ของชาวแพทย์ผ่าตัดทางกระดูกค่ะ  อีกไม่นานนี้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องผ่าตัดกระดูกสันหลังจะมีแผลเล็กๆ 3-4 รูเท่านั้น...แผลไม่ยาวอย่างปัจจุบันค่ะ

 

ฉันขออนุญาตทีมในการเก็บภาพ..... 

....เรามีการหยอกล้อกันนิดหน่อย(ตามสไตล์ของฉัน)....

 

ขอบคุณทีมอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความเป็นกันเองค่ะ  โดยเฉพาะ อ.พรภวิษญ์  ศรีภิรมย์ ที่ทำให้บรรยากาศผ่อนคลายก่อนฉันกลับ   และการฝึกซ้อมผ่าตัดก็ยังคงดำเนินต่อไปจนเย็น

 

 

ภาพจากซ้าย : นพ.สมเกียรติ  ยงยิ่งศักดิ์ถาวร, นพ.พรภวิษญ์  ศรีภิรมย์, วิวัฒน์  วจนะวิศิษฐ์,

สุรชัย แซ่จึง และนพ.พงศธร  เหล่าภักดี

 

ตอนเย็น อาจารย์พลพันธ์  บุญมาก วิสัญญีแพทย์กลับมาบอกฉันว่า

พี่ติ๋วไม่ได้ถ่ายรูปตอนที่ผมฉีดยาแก้ปวดเข้าไขสันหลังหมู  พอมันปวดน้อยลง  ค่าvital signs stable ขึ้นเยอะเลย

 

รองศาสตราจารย์พลพันธ์  บุญมาก อาจารย์วิสัญญีแพทย์ผู้นำทีมวิสัญญี และ

พญ.วนิดา จงอรุณงามแสง

 

อาจารย์ดูมีความสุขกับการที่ทำให้หมูไม่ทุกข์ทรมาน  ทีมงานเราดูแลหมูเสมือนผู้ป่วยคนหนึ่ง  นั่นคือให้ได้หลับ  สลบ ไม่รู้สึกตัว และไม่เจ็บปวด

 

เพิ่มเติมเทคนิคการดมยาค่ะ  Anesthetics and Analgesics used in Pigs 

 

…………………………………………………………………………………………………………

 

บารมีทั้ง ๑๐  อันได้แก่ ทานบารมี สีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ซึ่งเรียกโดยย่อว่า ทา. สี. น. ป. วิ. ข. ส. อ. เม. อุ. อันเป็นหัวใจบารมี ๑๐ ทัศนั้น แยกออกไปอย่างละ ๓ คือ

  • อย่างต่ำเรียกว่าบารมี
  • อย่างกลางเรียกว่าอุปบารมี
  • อย่างสูงเรียกว่าปรมัตถบารมี

 

การบริจาคทรัพย์ภายนอก มีข้าวของเงินทองเป็นต้นให้เป็นทาน เรียกว่าทานบารมี

การบริจาคซึ่งอวัยวะร่างกายน้อยใหญ่มีดวงตาเป็นต้น เรียกว่าทานอุปบารมี

การบริจาคชีวิต คือการสละร่างกายถึงกับยอมตายให้เป็นทาน เรียกว่าทานปรมัตบารมี

 

ส่วนบารมีนอกจากนี้ ก็ขอให้เทียบเคียงกับบารมีข้อที่ ๑ นี้เถิด

 

ที่มา :  เตมิยชาดก กัณฑ์ที่ ๑ (คัมภีร์ขุททกนิกาย มหานิบาตชาดก ตอนทศชาติ)

http://www.geocities.com/barame10/01te/te001.htm

.......................................................................................................................... 

 ขออนุญาตกล่าวนามอาจารย์แพทย์และแพทย์ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมคราวนี้ค่ะ

·        นาวาอากาศโท นพ.ทายาท  บูรณกาล  รพ. ภูมิพล

·        นพ.วิวัฒน์  วจนะวิศิษฐ์  รพ.รามาธิบดี

·        นพ.กันต์  แก้วโรจน์  รพ.รามาธิบดี

·        นพ.พรภวิษญ์  ศรีภิรมย์  รพ.ราชวิถี

·        นพ.อดิศร  วิตตางกูร  รพ.กลาง

·        นพ.สมเกียรติ  ยงยิ่งศักดิ์ถาวร  รพ.กลาง

·        นพ.ธนิต  ฟูเจริญ  รพ.ศูนย์ขอนแก่น

·        นพ.พงศธร  เหล่าภักดี  รพ.ราชวิถี

·        นพ.กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย  รพ.ศรีนครินทร์

·        นพ.สุรชัย แซ่จึง รพ.ศรีนครินทร์

·        นพ.พลพันธ์  บุญมาก รพ.ศรีนครินทร์    

·       พญ.วนิดา จงอรุณงามแสง รพ.ศรีนครินทร์ตอนนี้ทีมวิสัญญีมีแนวคิดที่จะประสานงานกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มข.ในการทำกิจกรรม เพราะเฉพาะทางกว่ามาก 

 

 

(ขอขอบคุณ : แหล่งความรู้โรคกระดูกสันหลังของไทย http://www.thaispine.com/)

 



ความเห็น (19)
  • ดมยาสลบหมู เรื่องหมูๆ สินะครับ อิๆ
  • แวะมาทักทายตอนดึกครับ

หวัดดีครับน้องติ๋ว

กำลังลุ้นเรื่องหมูอยู่ดี ไหงมาออกบารมีสิบทัศน์ละเนี่ย..อิอิ

นึกว่าจะหักมุมว่าหลังผ่าตัดแล้วหมูตาย จัดการทำหมูหันซะอีก เอิ้กๆๆ อยากกินหมูเพราะหมูแพง อิอิ

สวัสดีค่ะ คุณ กวินทรากร

  • เมื่อเกือบสิบปีก่อนไม่หมูหรอกค่ะ...เราเห็นเขาร้องอู๊ดๆเข้ามาในห้องผ่าตัดเลยค่ะ  ตอนนั้นน่าสงสารมาก  เป็นครั้งแรกของพวกเราที่ได้ดมยาหมูด้วย..ต่อๆมาก็เริ่มศึกษากันค่ะว่าทำยังไงถึงสงบขึ้น  แล้วก็ดีขึ้นเรื่อยๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย

สวัสดีค่ะ ท่านพี่อัยการ

  • เห็นแล้วก็สงสารค่ะ
  • ....จริงๆแล้วเสร็จผ่าตัด....สุดท้ายมันก็ต้องตายจริงๆค่ะ....

ในที่สุดก็รู้แล้วว่าเรื่องหมูๆ ที่ดูแล้วไม่หมูเลยคือเรื่องอะไร

ได้รายละเอียดดีจังค่ะ ได้เห็นการทำงานของหมอ และพยาบาล ... ผ่าตัดครั้งหนึ่งต้องใช้คนมากจริงๆ นะคะ

จะว่าไปน้องหมูโชคดี คนดูแลเพียบ แต่น้องหมูก็เป็นหมู(ไม่ใช่หนู)ทดลอง เพื่อคนป่วยคนอื่นๆ อีกหลายๆ คน นับเป็นทานบารมีอีกแบบหนึ่งนะคะ

ขอบคุณพี่ติ๋วสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ น้องรอง

  • เป็นยังไงบ้างคะ  สบายดีมั้ย...งานเยอะมั้ย  ได้เพื่อน(กิน)บ้างหรือยังคะ  คิดถึงน้องเล็กบ้างรึเปล่า...
  • ถ้าพวกเราแว่วๆว่ามีดมยาหมู....ก็ให้หวาดๆแล้วละค่ะ  ว่าคิวใคร   ใครโดนก็ต้องทำใจแหละ.....
  • ....มีน้องคนนึง  เคยเห็นหมูน้ำตาไหล  ตอนจะให้มันจบชีวิตเมื่อเสร็จงานด้วยค่ะ...ว้า...เล่าแล้วขนลุก....
  • พี่ติ๋วโชคดีที่ได้ดมไปนานมากแล้ว....ยังไม่ถึงคิวรอบใหม่ค่ะ
  • ....พี่ติ๋วจะไปกรุงเทพฯอาทิตย์หน้า...เสียดายน้องรองไม่อยู่ให้ได้พบกัน....
  • พี่ติ๋วสบายดีค่ะ....คิดถึงน้องรองเสมอ

ลืมทักทายน้องรอง...รูปใหม่ใส่ชุดเท่เชียวแหละ

เชื่อไหมครับ..
ตอนนี้ผมเพิ่งตะเวนซื้อเรื่องหมูน้อยเทวดา ภาค 1 มาได้ .. อยากให้เจ้าจุกดูมาก  เลยต้องเทียวหาซื้อมาหลายเดือน

...

ตกลงหมูตัวสะอาด ๆ ตัวนี้  เป็นยังไงบ้างครับ ..

สวัสดีค่ะ น้องแผ่นดิน

  • ...หมูน้อยเทวดาเหมาะกับครอบครัวหมู...ของหลานจุกค่ะ....
  • ส่วนเจ้าหมูตัวนี้...สุดท้ายกลายเป็นหมูเทวดาค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกฤษณา

เพิ่งทราบว่ามีการทดลองกับหมูด้วย ได้แวะมาอ่านเรื่องที่พี่เล่าบ่อยๆค่ะ สนุกดีค่ะ  เป็นเพื่อนของซูซานและได้เห็นรูปที่พี่ไปเจอกับซูซาน ที่กรุงเทพฯค่ะ ซูซานเอารูปมาอวดหน้าตาอาหาร  เลยขออนุญาติ มาทักทายที่นี่ค่ะ  ขอถามหน่อยนะคะ ไม่ทราบว่าหมูเนี่ยชีพจรกับความดันเลือดปกติเท่าไหร่คะ คือขี้สงสัยคุ่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ที่นี้รู้แล้วหละว่า  ถ้ามีเหตุต้องผ่า  จะไปผ่าที่ไหน   อิอิ  เพราะมีผู้มากประสบการณ์ดมยาเราอยู่ที่นั่น

จะว่าไปไม่รู้ว่าเพราะอานิสงค์หรือป่าวนะคะพี่ติ๋ว (หนิงบริจาคร่างกาย ตั้งแต่เรียนพยาบาล  และบริจาคโลหิตเป็นประจำ) เวลามีเหตุให้ต้องผ่าตัด  หนิงจะอยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนแพทย์อ่ะค่ะ (ทั้งศรีนครินทร์และสวนดอก) โชคดีเนาะ  ได้ขึ้นเขียงมือโปรตลอด  อิอิ

  • ไม่เคยเห็นการผ่าตัดหมูอย่างเป็นทางการเลยค่ะ
  • เป็นครั้งแรกที่ได้เห็น น่าทึ่งมาก
  • ตอนสมัยม.ปลาย stardust เคยตอนหมูค่ะ
  • สด ๆ เป็น ๆ ไม่มีการวางยา
  • เสียงหมูร้องดังลั่นโรงเรียน สยอง แต่กลัวสอบตก
  • เลยหลับหูหลับตาตอนมันไป
  • สรุป ทุกอย่างเรียบร้อยดี หมูน้อย อ้วนท้วนสมบูรณ์
  • แต่สุดท้าย ก็กลายเป็น อาหารของคนอยู่ดีค่ะ ^__^

สวัสดีค่ะ คุณ a l i n l u x a n a =)

  • ดีใจมากๆค่ะที่แวะมาทักทาย  และขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ
  • น้องซูซาน(น้องเล็กแก้มยุ้ย) พูดถึงคุณให้พี่ฟังด้วยเช่นกันค่ะ  และพี่เคยอ่านเรื่องของคุณที่บันทึกน้องและของคุณด้วย  แต่ยังไม่มีโอกาสทิ้งรอยไว้ค่ะ มีโอกาสคงได้พบกันนะคะ
  • ค่าปกติโดยทั่วไปของหมู หัวใจเต้นประมาณ 60-120 ครั้งต่อนาที  หายใจ 10-12 ครั้งต่อนาที  อุณหภูมิกาย 38-40 องศาเซลเซียส ค่ะ...ดูๆก็ใกล้เคียงคนนะคะ  มีหัวใจดูจะเต้นในอัตราสูงกว่าสักหน่อย  และร่างกายออกจะร้อนๆกว่าเราๆค่ะ...
  • ไปอยู่ต่างประเทศนานมั้ยคะ จะกลับตอนไหน...ซูซานเธอบ่นคิดถึงเพื่อนๆค่ะ...ไปต่างประเทศกันเยอะ

 

 

 

สวัสดีค่ะ น้องหนิง

  • ดูน้องหนิงจะมากด้วยประสบการณ์การผ่าตัดแฮะ...
  • เอาเป็นว่าหากใครอยากทราบประสบการณ์การผ่าตัด(ของหมู)....ให้ถามน้องหนิงเหรอคะ....อิ...อิ....

พี่ติ๋วคะ

แวะมาอ่าน อ่านแล้วสนุกไปอีกแบบ มาเรียนรู้คะ

สวัสดีค่ะ คุณ stardust

  • โอ้โห...ตอนหมูเป็นด้วยเหรอคะ  เก่งจริง....พี่ไม่กล้าทำสดๆหรอกค่ะ....ใจไม่สู้เลยแหละ
  • ....ถ้าให้ทำอีกแบบไม่สอบเอาคะแนนเนี่ย...น้องฝุ่นจะทำได้มั้ยน้า....

สวัสดีค่ะ น้องมะปรางค์

  • ไม่หวาดเสียวบ้างเหรอ...นึกสนุกอีกด้วย...เก่งแฮะ...
  • ดีใจค่ะที่ไม่กลัวกัน

น่าชื่นชมในความตั้งใจพัฒนาขีดความสามารถเพื่อพัฒนาแต่ขอรบกวนนิดนึงครับ การใช้สัตว์ทดลองตอนนี้มีกฏหมายควบคุม รวมทั้งผู้ใช้สัตว์ทดลองต้องผ่านการอบรมและมีใบอนุญาติด้วยนะครับ

หากทราบแล้ว ขออภัย

สวัสดีค่ะ คุณ keitipoomp

  • ยินดีที่ได้รู้จักท่านและดีใจอย่างมากๆค่ะ  เพราะอยากแลกเปลี่ยนเรื่องนี้มานานแล้วค่ะ...เพราะเราไม่ยินดีเลยที่ต้องดมยาสัตว์
  • ทีมดมยาไม่เคยคิดจะพัฒนาขีดความสามารถในการดมยาสลบสัตว์ค่ะ  เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา  แต่ที่ผ่านมานั่นด้วยความจำเป็น(ตามประสาประเทศกำลังพัฒนา...ขาดทรัพยากรหลายอย่าง) และขาดแคลนทีมผู้ชำนาญดมสัตว์  ตอนนี้เราได้ปรึกษาให้ทางโรงพยาบาลสัตว์ที่นี่ทำต่อแล้วค่ะ..เห็นหัวหน้าบอกว่าน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของเรา
  • ขอบคุณท่านค่ะที่แวะมาให้คำแนะนำที่เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการพิจารณาเลิกทำต่อ....เพราะกฎหมายควบคุม  จะได้นำไปเรียนให้ทีมแพทย์ทราบต่อไปค่ะ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท