เรียนรู้เรื่องความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยในกำกับ


ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย จากระบบทุนนิยมเสรีและกลไกตลาด
  • การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับที่ออกไปจากระบบราชการ และมีเอกลักษณ์ของตนเองแตกต่างจากที่อื่น  อาจเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนามหาวิทยาลัย  แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่เพียงพอด้วยตนเอง  ต้องมีการพัฒนาด้านอื่นๆ อีกมากด้วย
  • การปฏิรูประบบอุดมศึกษาที่เกิดขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก แม้มีแนวทางต่างๆ กัน แต่เป้าหมายสำคัญเหมือนกันคือ ความต้องการที่จะปรับประสิทธิภาพ เพื่อการจัดการความรู้ (การศึกษา) ให้เกิดสังคมความรู้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยความรู้ 
  • ในบางประเทศ ปรับมหาวิทยาลัยของรัฐให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน  ที่เรียกว่า privertization ซึ่งมีระดับต่างๆกันด้วย  บางแห่งปรับไปจนคล้ายหรือเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชน  ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐกับมหาวิทยาลัยเอกชนลดลงไป จนในที่สุดมีฐานะเท่ากัน รูปแบบนี้คล้ายที่เกาหลี  ข้อด้อยของวิธีการนี้ คือ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในโอกาสเข้าสู่อุดมศึกษา  และเกิดการแข่งขันแบบการตลาด 
  • มหาวิทยาลัยที่เรียกว่า corporatization คือการนำระบบการบริหารแบบเอกชนเข้าไปใช้ แต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและรักษาพันธกิจในภาคสาธารณะไว้  รูปแบบนี้คล้ายที่อังกฤษ กับ ญี่ปุ่น ข้อดี ข้อด้อย ยังเป็นที่ถกเถียง ไม่ชัดเจน ต้องเฝ้าดูตอไป
  • ประเทศออสเตรเลีย ก็เป็น  corporatization แต่มีกลยุทธ์ในการบริหารการเงินทีผูกการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินกับระบบการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย    และระบบเงินกู้ทางการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตของนิสิต  แบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้ช่วยให้มหาวิทยาลัยมีรายได้สูงขึ้นตามความจำเป็นในการพัฒนา และลดสัดส่วนการสนับสนุนจากรัฐ
  • แต่ด้วยเสรีภาพในการบริหารจัดการภายในที่เพิ่มขึ้น  ทำให้บางมหาวิทยาลัย ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการหารายได้เพิ่ม เช่น
    • จากการขายบริการอุดมศึกษาสู่ต่างประเทศ  หรือจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ  ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยได้รับค่าธรรมเนียมการศึกษาสูง  ผลลบที่อาจเป็นไปได้ เช่น ยอมให้จบง่ายเพราะจ่ายแพง
    • จากการรับทุนวิจัยจากภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม ผลลบที่อาจเป็นไปได้ เช่น เสรีภาพในการเลือกหัวข้อวิจัยและการเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์
      • ผลลบโดยรวมอย่างอื่น เช่น
        • ผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจใช้นโยบายจำกัดการเปิดสาขาวิชาเฉพาะที่ให้รายได้สูง
        • อาจารย์เคลื่อนค่านิยมไปในทางวิชาการเฉพาะที่ให้รายได้สูง
  • ดังนั้น การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย พึงสังวรณ์สภาพที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ด้วยการสร้างค่านิยมในลักษณะพิเศษของมหาวิทยาลัยว่า

 

  •  
    • มหาวิทยาลัยต้องสร้างความเสมอภาคในโอกาสเข้าสู่อุดมศึกษา โดยฐานของความสามารถของแต่ละบุคคล และไม่กีดกันผู้มีรายได้น้อย

    • มหาวิทยาลัยต้องมุ่งประโยชน์สาธารณะเหนือประโยชน์ส่วนบุคคล

    • อาจารย์ นักวิชาการ  ในมหาวิทยาลัยต้องมีเสรีภาพในการบุกเบิก คิดค้น และสร้างสรรค์ทางวิชาการ


อ้างอิงจาก ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย : จรัส  สุวรรณเวลา   สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551


 

          ดังนั้น  การสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยของพวกเราเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

          นอกจากจะต้องเลือกผู้ที่มีความสามารถในด้านการบริหารจัดการแล้ว  อย่าลืมตรวจสอบเรื่องคุณธรรมจริยธรรมด้วยนะคะ

          ใกล้วันเลือก นายกสภามหาวิทยาลัยท่านใหม่ของ มน. เข้ามาแล้ว  วันที่ 18 มี.ค. ที่จะถึงนี้  อย่าลืม!  อย่าลืม!

หมายเลขบันทึก: 169480เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2008 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท