บทเรียนจาก CUP Manager Training และก้าวต่อไป ณ ภาคเหนือ


บทเรียนจาก CUP Manager Training และก้าวต่อไป ณ ภาคเหนือ

บทเรียนจาก CUP Manager Training และก้าวต่อไป ณ ภาคเหนือ

 

กว่า 3 เดือนแล้วที่การอบรมผู้บริหาร CUP ทั้ง 4 รุ่น ได้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้เวลาที่จะพบปะกันอีกครั้งเพื่อถามข่าวคราวความเคลื่อนไหว เล่าสู่กันฟังว่าหลังจากอบรมไปแล้ว แต่ละ CUP ได้นำความรู้ ประสบการณ์ ที่ได้แลกเปลี่ยนกับวิทยากร และสมาชิกผู้บริหาร CUP จากที่ต่างๆ ไปใช้ในการขับเคลื่อนขับสู่ฝันได้มากน้อยเพียงใด เจอะเจอปัญหา อุปสรรค หรือเรื่องคับข้องใจอะไรบ้าง เพื่อร่วมกันวางแผนก้าวต่อไปในอนาคต

 

เริ่มด้วยการไปพบปะ CUP จากโซนภาคเหนือ ในวันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีผู้บริหาร CUP จาก 6 CUP 40 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมี CUP เชียงคำ จ.พะเยา อาสาเป็นเจ้าภาพให้การต้อนรับ และสถานที่ในการนั่งคุยกัน ซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย กับมิตรภาพ และความอบอุ่นในการต้อนรับเป็นอย่างดี

 

บรรยากาศการประชุมเริ่มด้วยการแนะนำตัวของแต่ละ CUP เพราะแม้ว่าทุก CUP จะผ่านการอบรม แต่ด้วยความที่เข้าอบรมต่างรุ่นกัน บาง CUP จึงยังไม่รู้จักกัน นับว่าทำให้เกิดเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก

 

ช่วงเช้าของวันที่ 22 ผู้บริหารจากทั้ง 6 CUP ได้แลกเลี่ยนบทเรียนการบริหาร รวมถึงปัญหา อุปสรรค ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น สรุปหัวข้อในการแลกเปลี่ยนกัน ได้ 7 ประเด็น ดังนี้

1.             ระบบการประเมินผล: หลาย CUP มีเสียงบ่นว่ามี KPI มากเกินไปทั้งจากกระทรวง และ สปสช. ซึ่งส่งผลมายังระบบการจัดทำรายงานที่เยอะมากๆ อีกทั้งตัวชี้วัดบางตัวไม่เหมาะกับสถานการณ์จริง เช่น การฆ่าตัวตายเป็นต้น

2.             การจัดการระบบข้อมูล: ซึ่งพบว่ามีการเก็บข้อมูลใน PCU เยอะมาก แต่ยังไม่มีการจัดระบบให้ตอบสนองต่อการวางยุทธศาสตร์ การจัดทำรายงาน และตอบ KPI

3.             การจัดทำแผนยุทธศาสตร์: ที่ไม่ได้เกิดจากพิ้นฐานของสถานะทางสุขภาพ (Health status) ของประชากรในพื้นที่อย่างแท้จริง  

4.             แนวคิดเรื่องบริการปฐมภูมิ (Primary care): ซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจที่ตรงกันทั้งในระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ

5.             การจัดทำงบประมาณ: ที่ยังเป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้บริหารในแนวทางการจัดสรรเป็นอย่างยิ่ง

6.             การใหบริการ: ที่ยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ประกันสังคม ราชการ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทเดิม) และยังมีการร้องเรียนมากขึ้น  

7.             การประสานความร่วมมือ: ทั้งกับหน่วยงานทางด้านสุขภาพ (สสอ. กับ รพ. และ สสจ.) และองค์กรส่วนท้องถิ่น ที่ยังคงเป็น 2 นครา (หรืออาจจะมากกว่านั้น) อยู่

 

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนกันพอหอมปากหอมคอ ด้วยเวลาที่จำกัด จึงได้เวลาที่มีอยู่ชวนกันคิดต่อว่าด้วยอุปสรรคทั้ง 7 ข้อ นั้น ถ้ามองเป็นความท้าทายสำหรับการก้าวต่อไป มีแนวคิดอะไรบ้างที่ทำให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ หรือย่างน้อยเป็นแนวทางที่จะก้าวต่อไป ซึ่งโดยการกว้าง คือ การเสริมศักยภาพในด้านการบริหารจัดการเชิงระบบ เริ่มต้นด้วยวิธีการคิด นำไปสู่การจัดการ ซึ่งถ้ามีโอกาสจะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป แต่ถ้าท่านใดมีข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยน ก็อย่าลืมเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

 

ด้วยความเคารพรัก

หมายเลขบันทึก: 169384เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ช่วงนี้กำลังยุ่งเกี่ยวกับการปั่นผลงานตาม KPI ควบคู่ไปกับการพยายามสรุป ผลการการเรียนรู้ ในหลักสูตรผู้บริหาร CUP สู่การปฏิบัติจริง อยู่ค่ะ

นายภูวนารถ ลิ้มประเสริฐ

การที่ได้พบกับเครือข่าย ทำให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในแต่ละพื้นที่ ทำให้คิดได้ถึงหลักคำสอน เพราะมีสิ่งนี้ เลยทำให้สิ่งนี้เกิด การเรียนรู้กับของจริง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาตนเองได้ต่อไป อยากพบทีมอาจารย์กับเพื่อนเครือข่ายอีกหลาย ๆ ครั้ง เอาเป็นว่าปีละ 2 หนท่าจะดี จะได้เจอกันตัวเป็น

เป็นกำลังใจให้ครับ สำหรับ CUP วังชิ้น หวังว่าโครงการฯ จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการให้เกิดผลที่ดีขึ้นได้

เห็นด้วยครับกับพี่ภูวนารถ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายภาคด้วย ซึ่งในช่วงปลายปีเราคงได้พบกันที่เวทีชาติ และหลังจากนั้นคงฝากไว้สำหรับคนทำงานว่าเราจะสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันอย่างที่ตั้งเป้าไว้อย่างไร แต่ที่ไม่ต้องรอ คือ การแลกเปลี่ยนผ่าน webblog แห่งนี้ครับ

ด้วยความเคารพรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท