เพื่อนร่วมงานเล่าเกาหลี


นั่งคุยกับเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องที่เคยไปทำวิจัยที่เกาหลี เล่าให้ฟังถึงเรื่องน่าสนใจที่ไปพบมา ฟังแล้ว ก็รู้สึกว่า ระบบคิดของคนเกาหลี มีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจ

เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม

เวลาเข้า natural park คนเขาถือหลักว่า ขยะของตัวเอง ต้องเก็บคืนมาให้หมด แม้แต่ที่ดูว่า ไม่จำเป็น เช่น กินส้ม แล้วเขาไม่ได้ถือวิสาสะทิ้งเปลือก ทิ้งเมล็ด ด้วยเหตุผลคือ ส้มที่กิน เป็นสิ่งแปลกปลอมของระบบนิเวศดั้งเดิม ถ้าปล่อยให้งอกขึ้น ระบบนิเวศอาจเสีย

ฟังแล้วนึกถึงกรณีของไทย  เรื่องปลาเทศบาลที่กำลังมีปัญหา หอยเชอรี่ตามท้องนา หรือมะละกอเอเลี่ยน (ขาดก็แต่ปิรันย่า)

หรือที่ช่วงนี้ยอดฮิต คือพวกที่แกะป้าย ฝาท่อ สายไฟฟ้า สมบัติสาธารณะออกไปขาย

ล่าสุด วัยรุ่นแกะน๊อตเสาไฟฟ้าแรงสูงไปชั่งกิโลขาย ผลกระทบกระเทือนไปคงเป็นหลักร้อยล้าน

 

หรือขายหนักกว่านั้น ยังมีเลย

 

ฟังแล้วอึ้ง

 

หรือเรื่องนโยบายวิจัย รัฐบาลเขาอุดหนุนงานวิจัยเอกชนถึงขั้นว่า รัฐออกทุนให้นักเรียนจากประเทศอื่นมาทำ R & D ในบริษัทเอกชน และให้ความสำคัญกับการถ่ายเทเทคโนโลยี-ความรู้ระหว่างภาครัฐและเอกชนมาก เช่น หัวข้อวิทยานิพนธ์ยอดนิยม คือทำแบตเตอรรี่มือถือขึ้นมา(อีกรุ่น)  ซึ่งดูเผิน ๆ อาจไม่พิศดาร แต่เป็นอะไรที่ใช้งานได้จริง และทำให้วงจรเกลียวความรู้นำสู่การปฎิบัติได้เร็ว

บ้านเรา นโยบายจูงใจตรงนี้ มีอยู่บ้าง แต่อาจไม่เร้าใจหรือเปล่าไม่รู้ ?

 

คำสำคัญ (Tags): #เกาหลี
หมายเลขบันทึก: 169331เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ อ.วิบุล

ไม่เคยไปเกาหลีทั้งเหนือและใต้เลยไม่รู้จะคุยอันหยัง แต่นึกขึ้นได้ว่าเบิร์ดเคยถกกับเพื่อนเรื่องการจัดการศึกษาของแต่ละประเทศน่ะค่ะ

แล้วได้ข้อสรุป ( ที่เพื่อนเบิร์ดเป็นคนสรุปโดยเบิร์ดนั่งอ่านหนังสืออย่างเดียว แหะ แหะ ) ว่า

จุดเด่นของเกาหลีคือ

1. งบประมาณการศึกษา= 4.4 % ของ GDP , 19 % ของงบประมาณแผ่นดิน  เด็กประถม ฯ - มัธยม ฯ 95.6 - 99.9 % ของประชากร และเรียนอุดมศึกษา 74.3 % ค่ะ
                  

2. ปัญหาสำคัญคือ สิ่งแวดล้อมในการเรียนไม่ดี  การวัดผลยังเน้นการจำเนื้อหา ( เหมือนกันซะไม่มีเลยค่ะ ) การเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการแข่งขันที่สูญเปล่า ต้องกวดวิชาเกินจำเป็น

3. เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาของเค้าคือ สร้างวัฒนธรรมใหม่ใน รร. เน้นการสร้างลักษณะนิสัยที่ดีและความคิดสร้างสรรค์  ให้เอกชนจัดการศึกษา ให้มหาวิทยาลัยแข่งขันกันเชิงคุณภาพ , จัดการเรียนการสอนสนองปัจเจกบุคคล  โรงเรียนเป็นอิสระ แข่งขันกันเชิงคุณภาพ เน้นรับผิดชอบต่อผลที่สังคมต้องการ , มหาวิทยาลัยมีวิธีการรับนักศึกษาที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยเป็นอิสระ รับผิดชอบในผลการจัดการศึกษา แข่งขันกันในเชิงคุณภาพ สร้างผลงานวิจัยต่อสังคม , ครูต้องมีความเป็นผู้นำมืออาชีพ ถูกตรวจสอบด้านความสามารถและถูกประเมินผลการทำงานค่ะ , รัฐบาลประเมินคุณภาพ  จัดระบบสนับสนุน  สร้างความทัดเทียมให้กับผู้เรียนทุกคนในโอกาสและผลที่ได้รับ และสุดท้ายคือ สังคมเป็นสังคมที่มีความสามารถค่ะ  ( มิใช่สังคมแห่งการเรียนรู้แบบเราเนาะคะ ^ ^ )

4. ยุทธศาสตร์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของเค้าค่ะ

-  ประธานาธิบดีประกาศเป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษา

-  ปฏิรูปหลักสูตรพัฒนาครูกระจายอำนาจให้ผู้มีส่วนได้เสีย  มีส่วนร่วม

-  ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

-  จัดการศึกาาอาชีพร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม  ให้สนองความต้องการของอุตสาหกรรม

-  ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงในระดับผู้ปฏิบัติ

5.  แนวคิดแนวปฏิบัติใหม่ๆค่ะ
    -  จัดระบบบันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อติดตัวผู้เรียนไป

    -   ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกระดับการศึกษา โดยจัดระบบธนาคารเครดิต  บันทึกผลการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ในช่วงเวลาต่างๆให้เทียบโอนความรู้ได้ค่ะ

    -   จัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา  พัฒนาระบบเครือข่ายลงสู่ รร.ประถม ฯ และมัธยม ฯ ค่ะ

   -   จัดโปรแกรมให้การศึกษาภายหลังการจบการศึกษาแต่ละระดับค่ะ

 

เบิร์ดชักง่วง ไปนอนก่อนนะคะ..วันนี้เหมือนเป็นคอมพ์ ฯ ที่แฮงค์ยังไงชอบกล..ถ้านึกอะไรออกจะเข้ามาเล่นใหม่ค่ะ ^ ^                   
                     
                
                      
                   
                     
                     

สวัสดีค่ะอาจารย์

อาจารย์บอกว่า...เรื่องนโยบายวิจัย รัฐบาลเขาอุดหนุนงานวิจัยเอกชนถึงขั้นว่า รัฐออกทุนให้นักเรียนจากประเทศอื่นมาทำ R & D ในบริษัทเอกชน และให้ความสำคัญกับการถ่ายเทเทคโนโลยี-ความรู้ระหว่างภาครัฐและเอกชนมาก

ปัญหานี้ ของเราอยู่ที่ เราไม่ได้มีเงินมากอย่างเขาค่ะ

สิ่งที่เกาหลีมี คือเขามีต้นน้ำคือความฝัน (Inspiration) เชื่อมต่อกลางน้ำคือ วิสัยทัศน์ (Vision) จนถึงปลายน้ำคือการผลักดัน ให้นโยบายเกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ (Action)

สิ่งที่ประเทศไทยมีเหมือนเกาหลี คือ ปัญหาหมักหมม

เรามีความฝันเหมือนเกาหลี แต่สิ่งที่เราไม่มีคือความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า

เกาหลีเอาจริง และร่วมกันทำจริง

ในช่วงที่เกิดวิกฤต เกาหลีลุกเหมือนเราแต่ลุกก่อนเรา แต่ที่แตกต่างในขณะนี้คือ จากล้มสู่ลุก ตอนนี้เกาหลีใต้จากลุกสู่ทะยานแล้ว ในขณะที่ไทยยังเผชิญกับความท้าทายใหม่ เป็นวิกฤตเชิงการเมือง

  • สวัสดีครับ น้อง เบิร์ด และพี่ Sasinanda
  • ขอบคุณครับ ที่มาเติมต่อ
  • ปัญหาการจัดการการศึกษา บ้านไหนเมืองไหน ก็คงมี
  • แต่ความมุ่งมั่นนโยบายระดับประเทศ อาจต่างกันมาก
  • ถ้ามองว่า การศึกษา มีเพื่อตอบสนองสังคม ก็ต้องมองว่า เป็นกระบวนการมีหลายช่วงตอน กว่าไปถึงขั้นตอบสนองสังคมได้จริง บางช่วงตอน แม้ไม่แข็งแกร่ง แต่หากระบบรับส่งแต่ละช่วงดี ก็ยังประคองไปได้ อย่างเช่น บ้านเขา อาจจัดการการศึกษาระดับต้นไม่ต่าง แต่วิสัยทัศน์ในการจัดการระดับต่อยอด ไปได้ทะลุกว่าเรา
  • กระบวนการรับส่งของประเทศไหนยังอ่อนแอ เวลาช่วงตอนไหนมีปัญหา ก็คงล้มจ้ำเบ้าอยู่ตรงนั้น

 

อาจารย์คะเข้ามาอีกทีค่ะ ลอกมาทั้งความเห็นที่แลกเปลี่ยนกับอาจารย์วัชราภรณ์ วัตรสุข ที่ 102#เลยค่ะ เพราะเห็นว่า เกี่ยวข้องกันมากค่ะ......

จากการวิจัยเรื่อง "การศึกษาการนำเสนอเนื้อหาสำหรับเด็กของสื่อมวลชนในปัจจุบัน" ด้วยการสนับสนุนของ สสส.และโครงการยุทธศาสตร์สื่อเด็ก

ปรากฏว่า เด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ เอาแต่ดูทีวี สมัยนี้เด็กไม่ค่อยชอบฟังนิทานหรอก ชอบแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกัน รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กก้น้อย และไม่นานก็มักปิดตัวไป น่าเป็นห่วงค่ะ

มีหน่วยงานที่ทดสอบความรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์TIMSS

TIMSS, the Trends in International Mathematics and Science Study, is designed to help countries all over the world improve student learning in mathematics and science. It collects educational achievement data at the fourth and eighth grades to provide information about trends in performance over time together with extensive background information to address concerns about the quantity, quality, and content of instruction.

The TIMSS 2003 data collection is complete, and the results released December 14, 2004. Conducted on a four-year cycle, the first round of TIMSS was in 1995 and the second in 1999. Preparations are underway for the next round of TIMSS, which will take place in 2007.

รวมการทดสอบเด็กไทยไว้ในหลายรายการด้วย

ผลของ TIMSS มีดังนี้

ในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้น ป. 4 ของไทยเข้ามาลำดับที่ 22 ในบรรดา 26 ประเทศ และชั้น ม. 2 เข้ามาลำดับที่ 21 ในบรรดา 41 ประเทศ

• ในด้านวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้น ป.4 ของไทยเข้ามาลำดับที่ 24 และชั้น ม.2 เข้ามาลำดับที่ 22

ผลการทดสอบของ PISA บ่งว่า เด็กไทยได้ลำดับที่ 33-36 ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่านและการแก้ปัญหาเมื่อเทียบกับการทดสอบนักเรียนใน 41 ประเทศ

รายงานการทดสอบของทั้ง TIMSS และ PISA มีรายละเอียดอีกมาก ผู้สนใจอาจติดต่อ Boston College ในสหรัฐ หรืออ่านจากเวบไซต์ของเขาที่ http://timss.bc.edu และ OECD ในกรุงปารีส หรืออ่านจากเวบไซต์ของเขาที่ www.pisa.oecd.org

ในรายละเอียดมากมายนั้น มีข้อน่าสังเกตหลายอย่าง เช่น TIMSS ชี้ว่า

ในด้านคณิตศาสตร์ การทดสอบนักเรียน ป.4 และ ม. 2 พบว่า เด็กที่มาลำดับ 1-4 ได้แก่ เด็กสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่นและฮ่องกง

ในด้านวิทยาศาสตร์ การทดสอบนักเรียน ป.4 พบว่า เด็กเกาหลีมาที่ 1 เด็กญี่ปุ่นมาที่ 2 เด็กสิงคโปร์มาที่ 10 และเด็กฮ่องกงมาที่ 14 การทดสอบเด็ก ม.2 พบว่า เด็กสิงคโปร์มาที่ 1 เด็กญี่ปุ่นมาที่ 2 เด็กเกาหลีมาที่ 3 และเด็กฮ่องกงมาที่ 24

PISA ชี้ว่า ในด้านคณิตศาสตร์ ฟินแลนด์ แทรกเข้ามาเป็นอันดับ 1 ส่วนประเทศที่กล่าวถึงได้คะแนนลดหลั่นกันลงไป แต่จะไม่เปลี่ยนภาพที่ชี้ว่า เด็กจากเกาหลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์มักมาในอันดับต้นเสมอไม่ว่าจะทดสอบอะไรและในระดับไหน

Executive summary

Key findings

  • Finland, with an average of 563 score points, was the highest-performing country on the PISA 2006 science scale.
  • Six other high-scoring countries had mean scores of 530 to 542 points: Canada, Japan and New Zealand and the partner countries/economies Hong Kong-China, Chinese Taipei and Estonia. Australia, the Netherlands, Korea, Germany, the United Kingdom, the Czech Republic, Switzerland, Austria, Belgium and Ireland, and the partner countries/economies Liechtenstein, Slovenia and Macao-China also scored above the OECD average of 500 score points.
  • On average across OECD countries, 1.3% of 15-year-olds reached Level 6 of the PISA 2006 science scale, the highest proficiency level. These students could consistently identify, explain and apply scientific knowledge, and knowledge about science, in a variety of complex life situations. In New Zealand and Finland this figure was at least 3.9%, three times the OECD average. In the United Kingdom, Australia, Japan and Canada, as well as the partner countries/economies Liechtenstein, Slovenia and Hong Kong-China, between 2 and 3% reached Level 6.

ผลการทดสอบนี้ไม่ใช่ของใหม่ เป็นการตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เมืองไทยล้าหลังอย่างน่าวิตกในยุคโลกไร้พรมแดน

ซึ่งต้องการคนทางปัญญา และมีความสามารถทางเทคโนโลยีสูง ปัญญาและความสามารถนั้นต้องมาจากฐานความรู้อันแข็งแกร่งทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ตอนนี้คะแนนสร้างความวิตกให้ผู้ใหญ่อเมริกันมาก

 หากคะแนนของเด็กอเมริกันสร้างความวิตกให้ผู้ใหญ่ของเขา คะแนนของเด็กไทยน่าจะสร้างความวิตกให้ผู้ใหญ่ไทยของเราเป็นหลายร้อยเท่าทวีคูณ

ฉะนั้น ยุคนี้ สังคมไทย ต้องการรัฐบาลที่เข้าใจ มีวิสัยทัศน์กระจ่างแจ้ง และมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยให้ทันโลกอย่างแท้จริงค่ะ

 
  • สวัสดีครับ พี่ Sasinanda
  • เวลาพูดถึงระบบการศึกษา คนจะมักนึกถึง "จะสอนอะไร" เรื่องเดียว
  • แต่ไม่นึกถึง "จะสอนอย่างไร"
  • แย่กว่านั้น "จะเรียนอย่างไร"

สอนอะไร: ดูเนื้อหา

สอนอย่างไร: ก็ไปช็อปปิ้ง ระบบจัดการ ที่นู่นมั่ง ที่นี่มั่ง มาขยำ ๆ ดีมั่ง ไม่ดีมั่ง ใครจะไปรู้ ถึงรู้ ใครจะไปสน

จะเรียนอย่างไร: ไม่พูดถึง

ผู้ปกครองคิดว่า สิ่งที่ตนเองทำ เป็นการส่งเสริมให้ลูกหลานตนเอง อยู่ต้น ๆ ห่วงโซ่อาหาร...

เสาร์อาทิตย์ จับส่งไปกวดวิชา ลูกเล็กเด็กน้อย โตแบบบอนไซสังเคราะห์ ไม่มีลานกว้างให้วิ่งเล่น ไม่มีลานเวลาให้งอกเงย ชีวิต เปิดกระป๋อง หยิบความรู้สำเร็จรูปมาบริโภค

ผมเคยเห็นนักศึกษาที่เรียนไม่ได้ เพราะชินแต่ระบบติว ฟังอาจารย์สอนไม่สามารถจด ไม่สามารถฟัง ต้องให้เพื่อนช่วยทำชีทติว จึงจะรู้เรื่อง

(ถอนใจ)

ไม่ค่อยอยากพูดเรื่องสยองขวัญแบบนี้เท่าไหร่ครับ ผมเองก็ขวัญอ๊อน...อ่อน

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท