เรียนรู้เรื่องความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย จากประวัติศาสตร์ 4


  • คศ. ๑๘๑๐ เมื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เกิดแนวคิดใหม่โดย วิลเฮล์ม วอน ฮุมโบลต ซึ่งเป็นผู้กำกับการศึกษาในอาณาจักรปรัสเซียในขณะนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยบุกเบิกหาความรู้ โดยรวมการสอนกับการวิจัยเข้าด่วยกัน

  •   Wilhelm von Humboldt
  • Friedrich Wilhelm Christian Karl Ferdinand Freiherr von Humboldt (June 22, 1767 - April 8, 1835), government functionary, diplomat, philosopher, founder of Humboldt Universität in Berlin, friend of Goethe and especially of Schiller, is especially remembered as a linguist who made important contributions to the philosophy of language and to the theory and practice of education. In particular, he is widely recognized as having been the architect of the Prussian education system which was used as a model for education systems in countries such as the United States and Japan. (1)

  • อาจารย์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ทั้งสองพร้อมกัน  ไม่ใช่มุ่งสู่วิชาชีพ แต่การสอนเน้นการสร้างความสามารถในการวิจัยในสาขาต่างๆ
  • ด้วยหลักการนี้  จุดเน้นจึงอยู่ที่อาจารย์ต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  จึงมีเสรีภาพในการเลือกหัวข้อวิจัย และสาระที่จะสอน
  • แม้แต่นักศึกษาก็มีเสรีภาพในการกำหนดสิ่งที่จะเรียน และระยะเวลาที่จะใช้
  • ความสัมพันธ์ของอาจารย์กับนักศึกษามีความใกล้ชิดทางความคิด และมีอิสระจากกัน
  • โดยใช้ห้องเรียนขนาดเล็กและการถกปัญหามากกว่าการบรรยาย
  • การศึกษาในมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ระดับสูงสุด คือปริญญาเอก :  doctor
  • เมืองและรัฐทำหน้าที่ให้เงินสนับสนุนทั้งอาจารย์และนักศึกษา เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม
  • มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงโดยเร็ว
  • ได้รับการขนานนามว่า เป็นมหาวิทยาลัยแบบ ฮุมโบลต (Humboldtian University)
  • นี่เป็นจุดต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัย  ซึ่งมีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ และเน้นเสรีภาพทางวิชาการ

 


 

อ้างอิงจาก : ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย : จรัส  สุวรรณเวลา   สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551

บันทึกอ่านเพิ่มเติม  :   http://gotoknow.org/blog/council/175825

หมายเลขบันทึก: 168422เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท