|
กรอบแนวคิดของกิจกรรมหนึ่งไร่พอเพียง กรอบแนวคิดของการดำเนินศูนย์การเรียนรู้คือการหาเกษตรกรที่มีความขยันหมั่นเพียร พร้อมทำตามพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มีอาหารกินรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ทำกิจกรรมในสิ่งที่ตนกินและกินในสิ่งที่ตนเองทำ โดยเริ่มต้นจากการปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ ผสมผสานกันในพื้นที่หนึ่งไร่ เกษตรกรที่ได้รับคัดเลือก/อาสาเป็นศูนย์การเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรมรูปแบบของหนึ่งไร่สัก 2-5 รูปแบบในโอกาสต่อไป ในจะใช้ศูนย์การเรียนรู้เป็นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ พัฒนาต่อยอดสู่เกษตรทฤษฏีใหม่เป็นลำดับขั้นไป ขณะเดียวกันในระยะเริ่มแรก ของการดำเนินกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ จะเปิดโอกาสให้กับเกษตรกรใกล้เคียงได้ทำการทดลอง กิจกรรม หนึ่งไร่พอเพียงอีก 5 จุด ในพื้นที่ไม่ไกล จากศูนย์การเรียนรู้ มากนัก ในแต่ละจุดการเรียนรู้ทำกิจกรรมปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์รายละไม่เกินหนึ่งไร่ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จะใช้จุดที่เป็นศูนย์การเรียนรู้เป็นที่นัดหมาย ความสำเร็จของกิจกรรมการปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ผสมผสานในพื้นที่หนึ่งไร่ เป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องปรับตัวอย่างมาก การว่างงานจะไม่เกิดขึ้น เพราะเกษตรต้องมีความขยันทำงาน หมั่นสังเกต หมั่นจดบันทึกลงในสมุด “วิจัยชาวบ้าน หนึ่งไร่พอเพียง” โครงการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หลักการและเหตุผล ปัญหาความยากจนของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายรัฐบาลดำเนินการแก้ไขกันมาอย่างต่อเนื่อง คนส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในภาคการเกษตร ในแต่ละปีหลังจากการทำนาปีเสร็จ จะมีการย้ายถิ่นเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เป็นเช่นนี้มาช้านาน เหตุปัจจัยของการเคลื่อนย้ายถิ่นเนื่องจากสภาพทางกายภาพ ดินเป็นทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดการบริหารจัดการน้ำฯ สภาพทางสังคม เกษตรกรขาดปัญญาเพื่อการเรียนรู้การผลิตทางการเกษตรที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอก รองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมาก มองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป ” เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่องและสอดรับกับการพัฒนาของจังหวัดอำนาจเจริญ อันจะนำมาสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โครงการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างองค์ความรู้หนึ่งไร่พอเพียง จะเป็นจุดเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติของเกษตรกร อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นลำดับขั้นต่อไป ตามแนวทางทฤษฏีใหม่ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การทำการเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฏีใหม่ 2. เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความสามารถในการการสังเกต การจดบันทึก การวิเคราะห์สภาพของการทำการเกษตร ฯ (เป็นนักวิจัยชาวบ้าน) 3. ลดการเคลื่อนย้ายไปหางานทำนอกภาคการเกษตร 4. เพื่อรองรับการพัฒนาสู่การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ในลำดับขั้นต่อไป
พระราชดำรัชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..
ที่มา : www.porpoang.org |
|