ผลกระทบการบริหารงานองค์กรส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในเรื่องระบบสารสนเทศ


ผลกระทบการบริหารงานองค์กรส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในเรื่องระบบสารสนเทศ
ในเรื่องระบบสารสนเทศ

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

          ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information Technology หรือ IT) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามาช่วยในการติดต่อและส่งผ่านข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นเหตุให้ข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศได้มีความสำคัญมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการบริหารองค์การต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม
          กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานซึ่งมีภาระหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชนในประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความจำเป็นและให้ความสำคัญกับการจัดระบบและบริหารสารสนเทศจึงได้มีการจัดตั้ง ศูนย์สารสนเทศกระทวงมหาดไทย ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางของกระทรวงมหาดไทยในการวางระบบและประสานให้มีการบริหารข้อมูลอย่างเป็นระบบต่อเนื่องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในขั้นต้นได้ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลไป 2 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) ในระดับกระทรวงโดยวางระบบฐานข้อมูลเบื้องต้นไว้ 12 กลุ่ม และพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จากการวางระบบและจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผ่านมานั้นได้มีการแบ่งข้อมูลเป็น 2 ชุด คือ ข้อมูลมหาดไทยและข้อมูลจังหวัด แต่การดำเนินการจัดทำข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีการจัดระบบการบริหารข้อมูลที่เป็นระบบและให้มีความต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถบริหารข้อมูลได้ทันสมัยตลอดเวลา รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน เป็นต้น
          ในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้เน้นถึงความสำคัญในการวางระบบบริหารข้อมูลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องมากขึ้น จึงมีนโยบายเน้นหนักในปี 2538 ที่จะดำเนินการพัฒนาและสนับสนุนให้มีระบบข้อมุลสารสนเทศเพื่อการบริหาร การวางแผน การตรวจติดตาม การรายงานผล โดยพัฒนาประสิทธิภาพการวางระบบข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และระบบโทรมคมนาคมเพื่อการสื่อสารข้อมูลและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นระบบครบวงจรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในการจัดระบบและบริหารสารสนเทศของกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด ได้เป็นไปตามแนวความคิดและหลักการที่ว่าข้อมูลสถิติเพื่อการกำหนดนโยบารย (Policy Data) การวางแผน (Planning Data) และการบริหารงานประจำวัน (Operation Data) มีลักษณะและระดับของข้อมุลที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมของการใช้งานแต่ละระดับ อย่างไรก็ตามในสภาพความเป็นจริงของมูลในแต่ละระดับต่างมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็จต้องมีการจัดวางระบบและบริหารสารสนเทศให้เหมาะสมกับระดับและสภาพของข้อมูลแต่ละตัวด้วย (ศูนย์สารสนเทศ กระทรวงมหาดไทย, 2538)
          การจัดวางระบบสารสนเทศสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งก็คือการกำหนดมาตรฐานข้อมูลจากส่วนกลางที่สามารถเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเหมือนกันในเรื่องเดียวกันระหว่างข้อมูลมหาดไทยและข้อมูลจังหวัด

                จากสภาพปัจจุบันระบบข้อมูลจังหวัดมีปัญหาและข้อจำกัด สรุปได้ดังนี้

-      การขาดหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบระบบข้อมูลจังหวัดโดยตรง ทำให้ระบบข้อมูลขาดความเป็นเอกภาพ ขาดมาตรฐาน รวมทั้งขาดการประสานเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในจังหวัดและขาดความต่อเนื่องไม่ครบถ้วน อีกทั้งข้อมูลยังไม่เป็นปัจจุบัน
-      ศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารที่ดี ซึ่งมีสาเหตุมากจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญโดยตรง ขาดการสนับสนุนทางด้านเทคนิค อาทิเช่น การพัฒนาโปรแกรม การวางระบบข้อมูลดิบของทางราชการมีเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถจัดเก็บหรือรวบรวมเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อการเรียกใช้ที่มีประสิทธิภาพ
-         ระเบียบข้อบังคับในการรายงานข้อมูลจากส่วนกลางกำหนดข้อจำกัดไว้มากมายเกินความจำเป็น
จากข้อจำกัดของระบบข้อมูลจังหวัดและแนวนโยบายเน้นหนักในด้านการวางระบบบริหารข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว เพื่อให้การบริหารราชการทั่วไปในจังหวัดและการวางแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งมีสำนักงานจังหวัดรับผิดชอบโดยตรงได้มีระบบการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาจังหวัดและเป็นศูนย์ข้อมูลจังหวัดที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ตั้งฝ่ายข้อมูลและติดตามประเมินผลขึ้น เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลเพื่อการบริหารและข้อมูลเพื่อการวางแผน การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการ จากหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายข้อมูลและติดตามประเมินผลนั้นจะเห็นได้ว่า ข้อมูลของจังหวัดซึ่งมีการจัดเก็บในหลายหน่วยงานและหลากหลายรูปแบบยังไม่ได้มีการรวบรวมและจัดทำให้เป็นระบบเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานและมีความเป็นปัจจุบันสอดคล้องกับความต้องการใช้งานอย่างแท้จริง จังหวัดเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นเมืองหลักตามนโยบายการพัฒนาเมืองหลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2530 – 2534)  น่าจะเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านข้อมูลแทบทุกด้าน เพียงแต่ยังมิได้ดำเนินการจัดทำให้เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานจังหวัดอย่างแท้จริงเท่านั้น ดังนั้น การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานจังหวัด : ศึกษากรณีจังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา นอกจากจะเป็นการศึกษาหาแนวทางและรูปแบบการจัดระบบสารสนเทศในภาพรวมของจังหวัดเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังอาจเป็นแนวทางให้กับจังหวัดอื่นได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมมากขึ้น

อ้างอิง

ก้องเกียรติ   อัครประเสริฐกุล, ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
          สัมภาษณ์, 14 พฤศจิกายน 2539.
กาศพล   แก้วประพาส.  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย,
          สัมภาษณ์,  14  พฤศจิกายน  2539.
ครรชิต  มาลัยวงศ์,  ทัศนะไอที.  กรุงเทพมหานคร : ศุนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอกนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2540.
--------, ไอทีกับธุรกิจแนวคิดและแนวทาง. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2537.
จาดุร   อภิชาตบุตร.  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, สัมภาษณ์,  23  ธันวาคม  2539.
ฉัตรชัย  สุมามาลย์,  การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร :
          บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2539.
ชัยวุฒิ   ชัยพันธุ์, ทฤษฎีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำหรับนักเศรษฐศาสตร์.
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16793เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท