เริ่มต้นสายงานการตรวจสอบภายใน


เริ่มต้นสายงานการตรวจสอบภายใน

          ธันวาคม 48 เป็นครั้งแรกของทำงานในสายงานการตรวจสอบภายใน และก็เป็นครั้งแรกที่คณะเกษตรศาสตร์ฯ ได้จัดให้มีหน่วยตรวจสอบภายในระดับคณะขึ้น ก็นับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องพัฒนาการดำเนินงานด้วยตัวเองเพราะยังไม่มีที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุงและอาศัยความร่วมมือหลายๆ ฝ่ายต่อไป เรียนรู้ มุ่งมั่น สู้ๆ คะ
        

        หลายคนสงสัยว่าการทำงานตรวจสอบภายใน ต้องเรียนจบอะไรมา ส่วนใหญ่ต้องจบด้านบัญชี เพราะต้องตรวจการจัดทำบัญชีเพื่อให้ความเชื่อมั่นในฐานะทางการเงินขององค์กรต่อผู้บริหาร แต่ก็มีผู้ตรวจสอบภายในหลายๆ คน ที่จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ,ด้านกม. หรืออื่นๆ  เพราะเนื่องการการดำเนินงานขององค์กรมีหลากหลายกระบวนการ ฉะนั้นผู้ตรวจสอบภายในที่จบสายการบัญชีไม่มีความรู้ในด้านนั้นๆ จึงต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญมาตรวจสอบเพื่อความมั่นใจในผลการตรวจสอบที่เสนอต่อผู้บริหาร
        ด้านการตรวจสอบภายในเป็นสายงานแขนงหนึ่งของบัณฑิตที่จบการศึกษาเกี่ยวกับการบัญชี ที่สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้
 สายงานด้านการบัญชีหลักๆ  ได้แก่
  1. การเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ (CPA)
  2.การเป็นผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)
  3.การเป็นผู้ทำบัญชี (Accountant)

ต่อไปขอกล่าวถึงสายงานการตรวจสอบภายในต่อนะคะ

1. เรียนรู้ความหมาย


      การตรวจสอบภายใน หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนงานที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารการเงิน การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารงานด้านอื่น ๆ ตลอดจนการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห์ประเมินความ เพียงพอและประสิทธิผลของการควบคุมภายในของส่วนราชการ รวมทั้งการรายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ (ตามระเบียบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2542)
 
      การควบคุมภายใน (ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายในพ.ศ.2544) หมายถึง  กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล  ฝ่ายบริหาร  และบุคลากรของหน่วยรับตรวจ  จัดให้มีขึ้น  เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุผลว่า  การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน  มี  3  ประการ  คือ
 1. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน  (Operation  Objectives)
ได้แก่  การปฏิบัติงานและการใช้ทรัพยากรของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล  ซึ่งรวมถึงการดูแลทรัพย์สิน  การป้องกันหรือลดความผิดพลาด  ความเสียหาย  การรั่วไหล
การสิ้นเปลือง  หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ
 2. เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน  (Financial  Reporting  Objectives)
ได้แก่  การจัดทำรายงานทางการเงินที่ใช้ภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
เชื่อถือได้  และทันเวลา
 3. เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย  และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง  (Compliance
Objectives)  ได้แก่  การปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
กับการดำเนินงาน  รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่หน่วยรับตรวจได้กำหนดขึ้น

ส่วนความหมายอื่นๆ จะไปค้นหามาเล่าต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 167877เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่สร้างสรรค์คณะเกษตรศาสตร์ร่วมกันสู่ที่ทำงานสร้างสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท