บีโทเฟน (Ludwig Van Beethoven)


บีโทเฟน (Ludwig Van Beethoven) นักดนตรี นักแต่งเพลง

บีโทเฟน (Ludwig Van Beethoven)

เกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 หรือ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2313(ค.ศ. 1770) เนื่องจากเราทราบเพียงวันที่เขาได้เข้าพิธีศีลจุ่ม(17 ธันวาคม) ชื่อต้นของเขาเป็นชื่อเดียวกับปู่ (ที่จริงแล้ว เขามีพี่ชายที่ชื่อลุดวิกเหมือนกัน แต่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย) ครอบครัวของเขามีเชื้อสายเฟลมิช (จากเมืองเมเชเลนในประเทศเบลเยียม) ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าเหตุใด นามสกุลของเขาจึงขึ้นต้นด้วย ฟาน ไม่ใช่ ฟอน ตามที่หลายคนเข้าใจ

บิดาเป็นนักดนตรีไม่มีอันดับ และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ เบโทเฟนจำต้องรับภาระดูแลครอบครัวตั้งแต่เยาว์วัย ความสามารถทางดนตรีของเขาโดดเด่นตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้บิดาของเขาพยายามจะหาผลประโยชน์จากเขาด้วยการบอกว่าเขาเป็นเด็กอัจฉริยะ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ บิดาของเขาได้ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยถึงกับโกงปีเกิดของเบโทเฟน บอกว่าเขาเกิดเมื่อปีค.ศ. 1772 ซึ่งที่จริงแล้วเขาเกิดในปีค.ศ. 1770

เบโทเฟน ตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่ออายุ 22 ปี และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง เมื่อโมซาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโทเฟนแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโทเฟนจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป เบโทเฟนมีโอกาสศึกษาดนตรีกับโจเซฟ เฮย์เดนพักหนึ่ง เขาประสบความสำเร็จในการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาได้สดๆ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงบทแรกขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลงในขณะที่อายุใกล้ 30 ปี เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิคคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิค แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด

มีกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโทเฟนสนับสนุนการเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าเบโทเฟนต้องอยู่ในเวียนนา ทำให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ และผลิตผลงานตามที่เขาต้องการโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร

ช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 19 เบโทเฟนโด่งดังมากในฐานะคีตกวีเอก ในช่วงนี้เองที่เขาได้รับพิษจากสารตะกั่ว ไม่นานหลังจากนั้นเขาก็เริ่มสูญเสียการได้ยิน แต่ก็ยังคงประพันธ์เพลงต่อไป อาการสูญเสียการได้ยินมีมากขึ้น แต่เขาพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ มีผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เบโทเฟนถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น - สั้น - สั้น - ยาว อาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเตตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน

ก่อนเสียชีวิต เบโทเฟนมีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับหลานชายที่เขารับมาอุปการะ เขาถูกหาว่าเป็นคนบ้า และถูกเด็กๆขว้างปาด้วยก้อนหินเมื่อเขาออกไปเดินตามท้องถนน แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นอัจฉริยะของเขาได้ เบโทเฟนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1827 งานพิธีศพของเขาได้จัดขึ้นอย่างอลังการในโบสถ์เซนต์ ตรินิตี โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 30,000 คน ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา

อ้างอิง http://l2evolution.forumco.com/post~method~TopicQuote~TOPIC_ID~213~FORUM_ID~10.asp

 http://www.pantown.com/board.php?id=712&name=board12&topic=12&action=view
 

หมายเลขบันทึก: 167840เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สมัยผมสอบเอ็นทรานส์  ผมจ้องท่องประวัตินักดนตรี  ทั้งไทยและเทศเป็นพัลวัน  แต่ได้ความรู้และสิ่งดี ๆ จากประวัติคนเหล่านั้นมากมาก

 

โดยเฉพาะคนนี้  ยิ่งใหญ่มาก   แม้ชีวิตจะลำบาก  แต่ท้ายที่สุดก็ยิ่งใหญ่  ชีวิตนั้นสั้น  แต่ผลงานที่ทิ้งไว้  ยาวนาน  ดูจาก ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เขาแต่งแม้ขณะหูหนวก  ที่สำคัญ  ซิมโฟนีบทนี้มีบทร้องด้วย  ซึ่งบีโทเฟน  ไม่ค่อยได้แต่งนัก

 

บล๊อกนี้ผมชอบมากครับ  จะเข้ามาอ่าย บ่อย ๆ

ขออภัย  แก้จาก บทที่ 5 เป็นบทที่ 9

 

รีบพิมพ์ไปหน่อย  อ่านใหม่ผมพิมพ์ผิดบานเลย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท