สมองเรียนรู้อย่างไร (๔)


ที่ไหนมีภาษา ที่นั่นก็มี คณิต และ วิทย์ ด้วย

การเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลัก BBL

       ๑. เรียนด้วยความสุข/สนุก : limblic system เปิด สมองทำงานเต็มที่
       ๒. การเรียนที่สอดคล้องกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง
       ๓. เรียนรู้จาก "ของจริง" ไปหา  "สัญลักษณ์"  ทั้ง  "ภาษา - คณิต - วิทย์"
       ๔. เรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าความจำ

Limblic system กับการเรียนรู้ของสมอง

       • ทำไมต้องเรียนด้วยความสุข/สนุก
               ๑. พิ้นที่หน่วยความจำของสมอง "เปิดเต็มที่" เพื่อบันทึกองค์ความรู้
               ๒. "การจำของสมอง" ขณะมีความสุข...จะ   จำง่าย...จำได้มาก...จำได้กว้าง...
                    จำได้นาน...จำได้ละเอียด
               ๓. เมื่อ "จำได้ดีมาก"  การดึงข้อมูลกลับมาเพื่อการใช้ประโยชน์...เปรียบเทียบ...
                   ประยุกต์...ก็ทำได้ง่าย  รวดเร็ว  และไม่ผิดพลาดด้วย
      
ทำไมต้องเรียนรู้จาก "ของจริง"  → "สัญลักษณ์"
               ๑. ข้อมูลที่สมองมีอยู่ใน "คลัง" หรือ ธนาคาร" หน่วยความจำ  ได้มาจาก "ของจริง"...
                   คน  สัตว์  พืช  สิ่งของ  ธรรมชาติแวดล้อม  มีสะสมอยู่เป็นจำนวนมากตั้งแต่แรกเกิด
                   ลืมตาดูโลก  ข้อมูลเหล่านี้มาจากของจริง  ทั้งเรื่องของภาษา - คณิต - วิทย์
               ๒. สัจธรรมขององค์ความรู้  ทั้ง ๓ ด้าน ภาษา - คณิต - วิทย์ "เกิดขึ้นพร้อมกัน
                   ในธรรมชาติ....ในสมองด้วย  "อยู่ด้วยกันและอยู่ที่เดียวกันด้วย"
                   องค์ความรู้ทั้ง ๓ ด้าน ไม่แยกออกจากกัน  อยู่ด้วยกัน  แต่การเรียนรู้ในเด็ก
                   จำเป็นต้องนำองค์ความรู้ทั้ง ๓ ด้าน มาแยกสอนทีละด้านตามลำดับความยาก - ง่าย
                   ของวิชา และ พัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมองเด็ก
               ๓. สัจธรรมขององค์ความรู้  ทั้ง ๓ ด้าน ภาษา - คณิต - วิทย์ "เกิด - อยู่ - แตกดับ...
                   พร้อมกัน   สรุปก็คือ  ที่ไหนมีภาษา ที่นั่นก็มี คณิต และ วิทย์ ด้วย
                   และที่ไหนมีคณิต  ที่นั่นก็มี ภาษา และ วิทย์ ด้วย
               ๔. เมื่อสมองยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ "สัญลักษณ์" ดังกล่าวอยู่ในสมอง  การเริ่มต้นเรียน
                   ด้วยสัญลักษณ์ ก็ต้องเริ่มสร้างธนาคารหน่วยความจำเกี่ยวกับสัญลักษณ์ขึ้นมาใหม่
                   อีกวิธีหนึ่งก็คือ เอา "สัญลักษณ์" ที่ได้เห็นไปเชื่อมโยงกับ "ของจริง" ที่มีอยู่ใน
                   "คลังหน่วยความจำ"
       
  ทำไมต้องเรียนรู้ด้วยความเข้าใจมากกว่าความจำ

                   "เข้าใจ"  → สมองทั้งหมดได้เรียนรู้

                   "จำ..(ตา + หู)  สมองได้เรียนรู้เพียงบางส่วน

หมายเลขบันทึก: 167590เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท