เทคโนโลยีกับการศึกษา


เทคโนโลยีกับการศึกษา

เทคโนโลยีกับการจัดการศึกษา

 

                                ทุกวันนี้ท่านคงทราบดีว่าเราตกอยู่ในสภาวะถูกกระแสของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการบริหารประเทศเลือกทิศทาง เปิดเสรีและต้องสมาคมกับประชาคมโลก ด้วยกติกาสากลต่าง ๆ ที่ร่วมกันกำหนดขึ้น

                                เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและรวดเร็วที่สุดในยุคนี้ คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งเข้าไปอยู่ในเครื่องมืออำนวยความสะดวกเกือบทุกอย่าง และที่สำคัญคือการสื่อสาร (Communication)

                                การบริหารจัดการในยุคปัจจุบัน มีการแข่งขันกันสูงมาก การบริหารจัดการ และการตัดสินใจที่ดี คือ การบริหารจัดการและการตัดสินใจที่มี Information ที่ถูกต้องและเพียงพอ ใครมี Information ที่ดีมากกว่า ย่อมได้เปรียบต่อการตัดสินใจ และตัดสินใจได้ไม่ผิดพลาด หรือ ผิดพลาดน้อยที่สุด    ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่ง  Information มากมายและมีประสิทธิภาพสูง กระบวนการซึ่งจะได้มาซึ่ง Information จะประกอบด้วยกระบวนการหลัก ๆ ดังนี้ คือ

-          การสร้างระบบข้อมูล 

-          การวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล

-          การเรียกใช้ข้อมูลและสารสนเทศ

 

              คนในยุคใหม่ที่จะอยู่ในสังคมโลกเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างกลมกลืน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในด้าน ICT 

                                การเริ่มต้นพัฒนาคนด้าน ICT  ในเวลาที่เหมาะสม ควรจะเริ่มต้นในวัยเรียน จริงอยู่การเรียนรู้สามารถจะเรียนได้ตลอดชีวิต  เพราะมีทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งเป็นอีกคุณสมบัติหนึ่ง ที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น แต่ในขณะอยู่ในวัยเรียน โรงเรียนจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียน ให้มีทักษะพื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนรู้  พัฒนาความรู้ และ ทักษะได้ด้วยตนเอง

                                ใครจะช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ในด้านนี้ได้  คงหนีไม้พ้นความรับผิดชอบของผู้ที่จะต้องดำเนินการโดยตรง คือ ผู้บริหารโรงเรียน และ ครู อาจารย์ ทุกท่าน

                                กระทรวงศึกษาธิการ ได้ริเริ่มโครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบของการประสานความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามแนวคิดทฤษฎี Constructionism

                                ทฤษฎี Constructionism (ศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ต : Seymour Papert) ซึ่งขยายความหมายของทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ ออกไป โดยที่เขาอธิบายว่า การศึกษาหมายถึงการนำเอาความรู้ที่เด็กมีอยู่ภายในตนเองออกมาแสดงให้ปรากฏ ดังนั้นการศึกษาต้องเน้นให้เด็กสร้างความรู้ขึ้นมาเอง ถ้าเด็กมี อะไร อยู่ข้างในเป็นฐานแล้ว จากสัมพันธภาพกับสิ่งต่างๆ เด็กต้องสร้างสิ่งอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ อันเป็นบันไดขั้นถัดไปจากการแสวงหาความรู้เบื้องต้น  โดยมีสิ่งแวดล้อมที่ช่วยสร้างบรรยากาศในการสร้างความรู้ของเด็กในความคิดของ Papert ก็คือ

1.       บรรยากาศและเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้เด็กสร้างสรรค์สิ่งที่เขาสนใจได้อย่างแท้จริง

2.       สภาพแวดล้อมสังคมที่มีความหลากหลายเอื้อให้เด็กได้ร่วมมือร่วมคิดกับคนอื่นๆ

3.       สภาพการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติเป็นกันเองอันเอื้อให้ผู้เรียนจมดิ่งสู่การสร้างสรรค์ความรู้โดยไม่ต้องพะวงต่อปัญหาอื่นๆ

 

ความหมายและความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ในการเรียนรู้

 

                                โดยความเป็นจริงแล้ว ครูเราใช้ ICT จัดการเรียนการสอนมานานแล้ว เพียงแต่ยังใช้รูปแบบเดิม ซึ่งหากมีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

                                ICT หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิตอล เครื่องมือสื่อสาร หรือเครือค่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการเข้าถึง จัดการ บูรณาการ ประเมินผล และสร้างข้อมูล

 

เป้าหมายของการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ เพื่อ

 

- เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มผลงาน และการติดต่อสื่อสาร

- ความร่วมมือของนักเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

- บริหารจัดการข้อมูล โดยการค้นคว้าข้อมูล

- ความร่วมมือของครู โดยครูทำงานร่วมกันเอง ทำงานร่วมกับนักเรียน และเพื่อนภายนอกโรงเรียน

- ความร่วมมือระหว่างโรงเรียน โดยนักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่นอกโรงเรียน

- การสร้างงาน โดยการจัดทำชิ้นงาน การเผยแพร่ผลงาน

- ช่วยบททวนบทเรียน โดยซอร์ฟแวร์เสริมการเรียน

 

ICT จะมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อ

 

- ถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหา และพัฒนาความคิดวิเคราะห์

- ใช้ในการสร้างกลยุทธ์ เพื่อไขปัญหาที่ซับซ้อน และพัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สำหรับเรื่องที่สนใจ

 

ประโยชน์จากการนำระบบ ICT มาประยุกต์ใช้ พอสรุปได้ดังนี้

 

1.   ความสะดวกรวดเร็วในระหว่างการดำเนินงาน

2.   ลดปริมาณผู้ดำเนินงานและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง

3.   ระบบการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบมากขึ้นกว่าเดิม

4.   ลดข้อผิดพลาดของเอกสารในระหว่างการดำเนินการได้

5.   สร้างความโปร่งใสให้กับหน่วยงานหรือองค์กรได้

6.   ลดปริมาณเอกสารในระหว่างการดำเนินงานได้มาก (กระดาษ)

7.   ลดขั้นตอนในระหว่างการดำเนินการได้มาก

8.   ประหยัดเนื้อที่จัดเก็บเอกสาร (กระดาษ)

 

ข้อดี

ข้อด้อย

การศึกษา

     แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาไม่ได้ขีดวงจำกัดอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น และไม่ได้จำกัดเวลาเรียนช่วง School time

 

 

 

     เป็นการสื่อสารทางเดียว ในตอนที่กำลังศึกษาหากมีปัญหาต้องการรู้ตอนนั้น ทำไม่ได้ทันที อาจฝากคำถามไว้ก่อนได้ และบางเรื่องก็เสี่ยงต่อศีลธรรม วัฒนธรรม ดังนั้น วุฒิภาวะของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้จักพิจารณาเลือกเรียนอย่างเหมาะสม         

 

ข้อดี

ข้อด้อย

ค่าใช้จ่าย

     ลงทุนติดตั้ง Hardware และ Software ในระยะแรกสูงแต่ใช้ได้ตลอดไปเมื่อมีการติดต่อผ่านโทรศัพท์ จึงเป็นการลงทุนครั้งเดียว

     ลดปริมาณการใช้กระดาษและมลภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

การซื้อขาย

     ย่นย่อเวลาการติดต่อค้าขายระหว่างผู้ผลิตที่ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า พนักงาน ค่าโฆษณา และการตกแต่งหน้าร้าน

 

     การใช้จ่ายในเรื่องค่าโทรศัพท์ที่กลายเป็นเบี้ยหัวแตก นอกจากเช่า Leaseline ที่ชำระแพงมากในระยะติดตั้ง

 

 

 

     ลูกค้าหมดโอกาสต่อรองราคาและเสียงต่อการรับของที่ถูกใจ การไว้วางใจกับผู้ผลิตเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การซื้อขายแบบเดิม ๆ คือ Try before you buy ประเภทขอชิมก่อนนั้นเลิกคิดเลย

 

                                เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโน
โลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาดังนี้

                1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้านมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น                                          

                2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
                            3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น  การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

                4.  พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล

 

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน

 

                เทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ

                                1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น

                                2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น

                                3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง เป็นต้น

 

แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

 

                                1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา

                ระบบคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญา โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป

                                2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา

                การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตรเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ

หมายเลขบันทึก: 167564เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท