การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในห้องเรียน เนียนไปกับงาน


การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน นำไปสู่การเลื่อนวิทยฐานะ

   การทำวิจัย ชื่อนี้เหมือนยาขมหม้อใหญ่สำหรับครูที่ไม่ได้เริ่มต้น หรือเริ่มต้นที่จะทำ  สำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ (อย่างผมเป็นต้น) เรามความคิดว่าทำอย่างไรจะได้ไม่รู้สึกว่ามันเป็นภาระที่นอกเหนือจากงานที่เราทำ

  เริ่มต้นจาก 1. ปรับพฤติกรรมตนเองจากที่เป็นอยู่ เช่น 1 วันเราใช้เวลารับประทานอาหารในมื้อเย็นนานเท่าไหร่ ให้ลดลงประมาณ 5 นาที 2. เราใช้เวลาคุยโทรศัพท์ต่อวันเท่าไหร่ ลดลง 5 นาที 3.เราใช้เวลาดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุต่อวันเท่าไหร่ลดลง 10 นาที ทำได้ไหมครับ  ถ้าทำได้อ่านต่อ

                 2. ฝึกให้มีสมุดเล่มเล็ก ๆ คู่ชีพติดกายตลอดเวลา อ๋อ อย่าลืมปากกานะครับ เผื่อจดเหตุกาณณ์ สำคัญ คำพูดที่โดนใจ  ความคิดที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว เราต้องหัดเป็นผู้จดบันทึกให้เป็นนิสัย

    เริ่มการวิจัยในชั้น

                1. เลือก 1 ห้องเรียน 1 สาระการเรียนรู้ (อาจจะหลายห้องก็ได้ถ้าเรามีเวลาว่างมากพอที่จะเก็บข้อมูล แต่ปกติก็วิจัยทีละห้อง)

                2. สำรวจดูสภาพปัญหาของห้องเรียนเราก่อนว่า มีปัญหาอะไรบ้าง พฤติกรรม  การเรียน  ผลสัมฤทธิ์  กระบวนการคิด  การมีส่วนร่วม เป็นต้น

                3. เลือกประเด็นที่เราสนใจ มีปัญหา อยากแก้ อยากพัฒนาเด็ก แล้วพัฒนาประเด็นการวิจัย (แต่ข้อพึงระวังเวลาตั้งชื่ออย่าให้เมือนกับบทความนะครับ) 

                 4. ดำเนินการค้นคว้า หลักการ/ทฤษฎี  จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย (จริง ๆแล้วเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับครูทุกท่านนะครับ ไม่ได้แปลกแยกแตกต่าง ) มาใช้ เวลาอ่านจากหลาย ๆ สำนัก หรือหลายๆ เจ้าของทฤษฏี เราควรอ่าน แล้วสรุป เลือกมาใช้ที่ใช้ได้จริง ๆ(อย่าลืมเวลา ถ่ายเอกสารมา หรือยืมหนังสือมา ต้องจดแหล่งอ้างอิงด้วยนะครับ) มาผสมผสานกันสร้างเป็นกรอบแนวคิดหลัก ๆ สำหรับตนเอง + ความเชื่อ/ทฤษฏีส่วนตัวอีกนิดหน่อย ก็ใช้ได้แล้วครับ

                 5. เราก็ตัดสินใจว่าเราจะใช้กรอบ และแนวทางแบบนี้แหละในการดำเนินการวิจัย  แล้วก็ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนได้ (ข้อพึงระวังอย่าใช้การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบห้องที่เราไม่ได้เก็บข้อมูลนะครับ เพราะว่าเราต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม  เพราะว่าบางคนอาจจะคิดว่า ห้องที่ไม่ได้ทำวิจัยยังคงสอนแบบเก่า แต่ห้องที่ทำวิจัยมีเทคนิคอะไรดี ๆ ปล่อยมาหมด ยิ่งร้ายกว่านั้นห้องที่ไม่ได้ทำวิจัยกลับลดวิธีสอนลง เพื่อให้ผลการวิจัยห้องที่ต้องการดีขึ้น  แบบนี้ถามว่า ห้องที่ไม่ได้ทำวิจัยมีความผิดอะไรหรือ? ถึงไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นนี้)  + กำหนดโครงร่างวิจัย ตามระเบียบการวิจัย นะครับ(จะเขียนบันทึกต่อไป นะครับ) 

                  6. ดำเนินการสร้างแผนการสอนที่เราสร้างขึ้นมาเอง + แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อส่วนตัวในแผนการสอนด้วย  เน้นย้ำอย่าลอกจากแผนที่เขาทำขายนะครับ เพราะมันไม่ได้แสดงตัวตนของบริบทโรงเรียนเราเลยนะครับ แต่ปัจจุบันนี้เวลาเขียนแผนต้องลง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของโรงเรียนลงในแผนด้วยนะครับ เราต้องคำนึงด้วยว่าจะจะมีวิธีวัดอย่างไร (เกณฑ์การเขียนแผนวิทยฐานะรุ่นใหม่) ถ้ายังไม่ชัดเจนให้อ่านที่แบบทึกที่ผ่านมานะครับ

                   7. สร้างเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนประจำหน่วย  1. แบบประเมินตามสภาพจริง จาก ผลงานเด็ก /พฤติกรรมที่ต้องการวัด  2. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 3.แบบทดสอบประจำแผนการเรียนรู้ /ประจำหน่วยการเรียนรู้  3. คะแนนพัฒนาการเด็ก (เพื่อกระตุ้น แรงจูงใจ)

                   8. เก็บข้อมูล จากการสังเกตพฤติกรรมตนเอง  พฤติกรรมเด็ก  ลงในบันทึกหลังสอน (ให้อ่านที่ บันทึกการเขียนบันทึกหลังสอน) ในแต่ละชั่วโมง แต่ถ้าสมมุติทำไม่ได้ทุกชั่วโมงก็ไม่เป็นไร ขอให้เก็บได้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ที่สำคัญ สะท้อนคิดเด็กอย่าลืมให้ทำนะครับ

                    9. หาเวลาคุยกับผู้ปกครอง เพื่อนครูที่สอนห้องเดียวกับเรา คุยกับนักเรียนในห้องแบบเป็นกันเองบ้างนะครับ เพื่อจะได้ข้อมูลที่หลากหลาย ความคิดเด็ก  พฤติกรรมการเรียนรู้เด็กที่อาจจะข้ามทักษะ ความคิดเห็นผู้ปกครอง  เป็นต้น

                   10. ให้คะแนนเด็กตามแบบประเมิน ที่เราสร้างขึ้น (แบบให้น้ำหนักคะแนน โดยมีคำอธิบาย (scalling guide ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือเปล่า) สรุปคะแนนไว้ทีละแผน ส่วนการให้คะแนนผลงานเด็ก อธิบายจากบันทึกการถอดรหัสนะครับ

                     11. ดำเนินการแบบนี้ ไปเรื่อย ๆ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในแผนการเรียนรู้ใหนให้ บันทึกไว้ แต่ถ้าแก้ปัญหาประสบความสำเร็จไม่สำเร็จอย่างไร ก็บันทึกไว้เหมือนกัน

                     12. หลังจาก จบ 1 ปีการศึกษา หรือ 1 เทอม (แต่นิยมกัน 1 ปีการศึกษาเพราะว่าการวิจัยของเราจะเป็นที่น่าเชื่อถือได้ มีจุดแข็ง) ก็นำมาเขียนรายงานการวิจัย ตามระเบียบวิธีการวิจัย ส่วนเรื่องบทที่ 4 เราจะถอดรหัส จากข้อมูลอย่างไร ให้อ่านที่ การถอดรหัสข้อมูลจากบันทึกหลังสอนนะครับ ดังนั้น ในบทที่ 4 ที่เราได้ ก็จะเป็น ข้อมูลทั้งหลายที่สามารถตอบได้ตามจุดประสงค์การวิจัย  ทฤษฎีส่วนตัวหรือความเชื่อ  จุออ่อน  จุดแข็ง ของการจัดการเรียนรู้  และคะแนนของเด็กรายบุคคล รายกลุ่มก็สรุปเปรียบเทียบอีกทีว่า เป็นอย่างไร อธิบายตามตาราง สรุปผ่าน ไม่ผ่าน อาจจะนำเสนอเป็นแผนภูมิ  กราฟเส้น ก็ได้ แล้วแต่เทคนิค 

                       13. บทที่ 5 ก็จะป็นในเรื่อง ข้อมูลที่เราได้จากบทที่ 4 มีความเห็นสอดคล้อง กับทฤษฎีใดบ้าง  ขัดแย้งกับหลักการใด  เป็นการโต้ตอบกันในลักษณะข้อมูลกับทฤษฎี

                      14. ภาคผนวก เรามีความจำเป็นต้องนำสิ่งเหล่านี้มา 1. ตัวอย่างแผนการสอนของเรา ประมาณ 2-4 แผนเป็นตัวอย่างให้ผู้อ่านดู (ไม่ต้องเอามาหมดเพราะเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาของเรา)  2. บันทึกหลังสอนทุกแผน + Mind mapping สรุปหลังบันทึกหลังสอน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น 3. ผลงานเด็ก ที่ยืนยันว่า ดี  ปานกลาง  อ่อน  อาจจะมีการชี้ให้เห็นว่า เราวิเคราะห์ให้คะแนนเด็กอย่างไร ตามเกณฑ์ที่เราตั้งขึ้น 4. คะแนนของเด็ก แยกเป็นรายบุคคล  รายกลุ่ม  แต่ละหน่วยการเรียนรู้  4. ตัวอย่างสะท้อนคิดของเด็ก 5. แบบสัมภาษณ์ครู  ผู้ปกครอง  เป็นต้น แบบนี้เราก็ถือว่า หลักฐานของเราแน่นหนาแล้ว ผู้อ่านสามารถเชื่อได้

                       15. ในกรณีที่ถามว่า เราจะหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้อย่างไร  ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เราจไม่หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือนะครับ เราถือว่าครูซึ่งทำหน้าที่การจัดการเยนการสอนถือว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบการจัดการเรียนการสอนอยู่แล้ว  หรืออีกนัยหนึ่ง แผนการสอนมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (ภาษาอังกฤษ จำไม่ได้) อยู่แล้ว

                        16. สำหรับรูปแบบ การรายงานการวิจัย และหลักการพิมพ์เอกสารทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน จะเขียนในบันทึกต่อไป

หมายเลขบันทึก: 166966เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • กำลัง งง กับการทำวิจัย เข้ามาอ่านแล้ว ได้แนวทางไปปฏิบัติ
  • ขอบคุณมากๆค่ะ

ครูเจิด น้องชาย

  • เขียนได้ดีมากเลยค่ะ  เนียนไปกับเนื้องาน
  • อยากให้เพื่อนครู ได้มีโอกาสเข้ามาอ่าน มารู้บ้างจังเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 P    ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม และให้ความคิดเห็น เป็นกำลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องงานวิจัย บางทีผมอาจจะเขียนไม่ชัด ถ้าอยากถามส่วนรายละเอียดอาขจะแนะนำให้เขียนเพิ่มเติมก็ได้ครับ

P

ขอบคุณครับที่เขียนเข้ามาให้กำลังใจ ถือโอกาสเรียกพี่เลยนะครับ ผมเขียนตามประสบการณ์การทำวิจัยชั้นเรียน ตั้งแต่ปี 47 ครับจนถึงปัจจุบัน ยังคงต้องขอคำแนะนำจากพี่อ้อยอีมากครับ ถ้าอยากจะแนะนำส่วนที่เขียนไม่ถูกต้อง ไม่ต้องเกรงใจนะครับ ยินดีรับฟังคำแนะนำนะครับ

ขอบคุณวำหรับความรู้ดีๆนี้ค่ะ

กำลังจะทำวิจัยเชิงปฏิบัติการอยู่พอดีค่ะ

กำลังเรียนวิชาชีพครู ไม่รู้เรื่องวิจัยมาก่อนเลย

ขอบคุณมากๆนะคะ

แล้วจะแวะมาเยี่ยมใหม่ค่ะ

ขอบคุณที่ทำให้เข้าใจว่าทำไมไม่ต้องหาค่าความเชื่อมั่นจากการทำวิจัยที่มักจะบอกว่าวิจัยคุณอ่อนที่ไม่มีค่าความเชื่อมั่น

ขอบคุณอาจารย์บรรเจิดมากสำหรับความรู้ดีๆที่อาจารย์เขียนเป็นความรู้ดีมากเลยค่ะ ได้รับความรู้มากกว่าไปนั่งอบรมอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท