การถ่ายโอนภารกิจด้านสุขภาพสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ไม่ออกเดินทาง ไม่มีวันถึงจุดหมายปลายทาง...

...วันศุกร์ที่ 22 กุมภา 51..ตัวเองได้มีโอกาสเป็นผู้ร่วมจัดสัมมนา..เรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น... ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.. มีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษและบุรีรัมย์...ประมาณเกือบ 500 คน..

..บรรยากาศอบอุ่นที่รวมพลคนดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ได้มากขนาดนี้..ย่อมมีปัจจัยดึงดูดความสนใจ.. ใช่เลยค่ะ...เพราะการบรรยายช่วงเช้า..ได้รับเกียรติจาก นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ..ผู้ที่เป็นKey person ระดับกระทรวงในการดำเนินการภารกิจนี้ตามพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ พ.ศ. 2542 ..มาจนถึงปัจจุบันที่ได้มีการเคลื่อนจริง..สู่การถ่ายโอน 22 สถานีอนามัย ใน16 จังหวัด สู่ 18 อปท... จากบรรยากาศเหมือนอบอุ่น.. พอเข้าชั่วโมงจริง ..กลับกลายเป็นร้อนขึ้น.. ๆๆ เพราะจนท.ใจร้อน..ต้องการให้วิทยากร..ได้ตอบและชี้แจงให้ตรง..ชัด.ถึงประเด็น..ว่าต้องไปจริงหรือ..

...อ.นพ.สุวิทย์..มีความมั่นคงมาก..พยายามชี้แจงว่าใจเย็น ๆ เพราะทุกคนควรที่จะทราบความเป็นมาและหลักการให้เข้าใจตรงกันก่อน..

  • จากรัฐธรรมนูญ 2540 ได้กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ มาตรา 78 "รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น"
  • จึงเกิดพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ 2542..
  • มาเรื่อย ๆจนถึงแผนการกระจายอำนาจให้แก่อปท. 2543 และแผนปฏิบัติการถ่ายโอนภารกิจ 2545
  • และถ่ายโอนรอบแรก..พฤศจิกายน 2550 จำนวน 22 สถานีอนามัย
  • กว่าจะถึงวันนี้..ได้มีการดำเนินการอย่างเข้มข้น ละเอียดทุกขั้นตอน..ไม่ว่าจะเป็น
  • การคัดเลือกอปท.ที่มีความพร้อม ได้รับรางวัลธรรมาภิบาล..และผ่านการประเมินจากคณะกก.
  • มาจนถึงความสมัครใจของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยนั้น ๆ ต้องมากกว่าร้อยละ 50
  • จึงจะดำเนินการถ่ายโอนได้...

...หลักการในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ... ยึดหลัก 3 ข้อ ดังนี้

  1. มุ่งประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน..ที่มุ่งให้อปท.มีศักยภาพระยะยาวในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาได้ผลดี เพื่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่เสมอภาค มีประสิทธิภาพและคุณภาพดี
  2. มุ่งระบบที่มีส่วนร่วม ..บนพื้นฐานร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ..เพื่อให้เกิดความราบรื่น
  3. มุ่งระบบที่ยืดหยุ่นมีพลวัต.. ยืดหยุ่นตามศักยภาพ ความเป็นไปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบสุขภาพ

...ที่ประชุมค่อย ๆ เย็นลง ๆๆๆ และพยายามเข้าใจสถานการณ์และหลักการที่ควรเป็น...

...ตัวเองได้มีโอกาสนั่งฟัง..อย่างตั้งใจ..deep listening.. ทำให้รู้..รู้..มากขึ้นเยอะเลย..รู้ว่าทางกระทรวง..คิดอย่างไร ..ถึงได้ทำอย่างนั้น..แล้วพื้นที่คิดอย่างไร...ถึงได้สะท้อนออกมาแบบนั้น..

...แต่ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผลที่เกิดหรอกนะคะ..ไม่ได้เป็นตัวละคร..จะไม่มีทางรับรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกของเขา..อย่างแน่นอน..(เป็นสิ่งที่ตัวเองมักใช้สรุปทุกครั้งที่ได้รับทราบเรื่องของผู้อื่น)

....นี่เพียงแค่ชั่วโมงแรกนะคะ..ยังมีการบรรยายอีกจาก..อบจ...และ การอภิปรายโดยนพ.สสจ. ผอ.สปสช.เขต และปลัดเทศบาลที่รับสถานีอนามัยรอบนี้...ฮะฮ๊า..น่าสนใจนะคะ ..

..ติดตามนะคะ...

หมายเลขบันทึก: 166960เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ค่ะ จะติดตามตอนต่อไปด้วยใจจดจ่อนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท