10. ยืนหยัดเป็นหมู่บ้าน (หัวใจท้องถิ่น : เจ้าเอื๊อกมาเมืองไทย)


ที่ลุงโตทานิภูมิใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นการที่สหกรณ์สามารถจ้างงานผู้หญิงให้เข้ามาทำงานรับโทรศัพท์ และบรรจุหีบห่อได้เป็นจำนวนมาก ปกติทั่วไป งานที่มีอยู่ในบ้านนอกจะเป็นงานสำหรับผู้ชายแทบทั้งหมด และงานบรรจุหีบห่อที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง สหกรณ์ไม่อยากให้พวกวัสดุกันกระแทกกลายเป็นขยะ ก็เลยเลือกใช้ผ้าขนหนูห่อขวดแทน คนรับได้เอาไปใช้อีกต่างหาก เรียกว่าได้ประโยชน์หลายต่อค่ะ

     

  

            ความพยายามสร้างหมู่บ้านให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งของลุงโตทานิ ดำเนินมาได้ประมาณ 25 ปีแล้ว สหกรณ์การเกษตรบ้านอุมะจิ ยังคงยืนหยัดอย่างเป็นเอกเทศ ท่ามกลางกระแสควบรวมองค์กรของสหกรณ์การเกษตรและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแถบใกล้เคียง ความพยายามทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นฐานให้หมู่บ้านสามารถยืนหยัดอย่างเป็นเอกเทศ ท่ามกลางกระแสควบรวมท้องถิ่นที่กำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆในแถบชนบทญี่ปุ่น

            บางคนอาจจะสงสัยว่า ควบรวมท้องถิ่นแล้วเสียหายยังไง ลุงเคยเล่าให้ฟังว่า เห็นตัวอย่างหมู่บ้านอื่นๆที่อยู่ใกล้กัน พอไปควบรวมกับท้องถิ่นอื่นที่ใหญ่กว่า คนก็จะยิ่งไหลออกจากหมู่บ้าน สุดท้ายแล้วก็แทบจะกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ลุงไม่อยากให้หมู่บ้านที่เกิดและเติบโตมากลายเป็นอย่างนั้น

 

(อ่านรายละเอียดการสัมมนาในช่วงนี้ได้ที่นี่)

หมายเลขบันทึก: 166804เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท