ฉลองครบรอบ 30 ปี อิเคโนโบ อิเคบานา ในฮาวาย - วันแสดงผลงาน


วันนี้ได้มีโอกาสแสดงผลงานการจัดดอกไม้อิเคบานาเป็นครั้งแรกที่นี่ ที่ฮาวาย มาช่วยกันติชมนะคะ

เมื่อวันศุกร์หลังจัดเสร็จก็ปวดขา แปลกใจเหมือนกันว่าทำไม? นั่งนึก..ในที่สุดก็นึกออก  เพราะมัวแต่ ตามเดินดูโปรเฟสเซอร์ให้คำชี้แนะ ติชมเพื่อนคนอื่นๆ ด้วย ร่วม 4 ชั่วโมง  แถมไปแอบสังเกตการณ์ ดูฝีมือของ Head Master รู้สึกว่าท่านจัดแบบสบาย ๆมีการเดินมาคุยเล่นกับลูกน้องคนอื่น ๆ

ตอนที่แล้ว ซูซานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดว่า มีการจัดกี่แบบ ก็เลยรู้ว่า เล่าข้ามขั้นตอนไปทำให้ คนอ่านสับสน ต้องขออภัยด้วย เดิมเกรงว่าจะใช้เนื้อที่มากไป เลยย่อมากไปหน่อย คือ ดั้งเดิมแต่โบราณ ตั้งแต่ 500 ปีก่อนนั้น อิเคบานามีการจัดหลายแบบมาก คือ rikka, shoka, nageire, moribana, chabana style    Chabana ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ในพิธีชงชา แสดงถึง ความรู้สึกผ่านฤดูกาล จึงพัฒนามาเป็น free style

ทุกอย่างย่อมมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป อิเคบานาก็เช่นเดียวกัน จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ได้ความท้าทายใหม่ ๆเกิดขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงสปิริตของเวลา จึงจัดให้เหลือ 3 แบบหลัก คือ  rikka, shoka and frees style

rikka - เิริ่มในศตวรรษที่ 16 พัฒนามาถึง 17เป็นแบบที่ซับซ้อนมีหลายชั้น และสีตัดกัน เน้นความงาม ของ Landscape มี  2แบบย่อย คือ แบบดั้งเดิมคือ rikka shofutai  และแบบใหม่ คือ  rikka shimputai

shoka - เป็นแบบที่ง่าย มาในศตวรรษที่ 18-19 มี 2 แบบย่อย คือ shoka shofutai- แสดงถึงความประทับใจในต้นไม้นั้นในแบบเรียบง่ายและสวยงาม  และ  shoka shimputai- แสดงความสมดุลย์ ด้วยความสดใสและความรู้สึกร่วมสมัย

free style - จะเป็นแบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่สุด เน้นความรู้สึก รสนิยมส่วนตัวในสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่  ที่ไม่จำกัด

 

เกรงจะทำให้งงไปกันใหญ่ คือผู้เขียนก็ออกตัวก่อนว่า ไม่ได้รู้มากเท่าไหร่นักในประวัติ ต้องไปศึกษาเพิ่ม เมื่อต้องหาคำตอบทำให้ได้เรียนรู้ไปด้วย คราวนี้มาถึงแบบที่ผู้เขียนจัด คือ โชกะ ชิมพูไต ซึ่งมี 2 ส่วนหลัก เหมือน หยิน-หยาง แต่เป็น ชู-โย เพื่อสร้างความสมดุลย์ ส่วนที่สาม คือ อะชิไร ส่วนใหญ่เพิ่มเพื่อให้สมบูรณ์

จากภาพ ผลงานอิเคบานาที่อยู่ด้านข้างนั้นเป็นของ Head Master

ในวันเสาร์ที่ 16 กุมภาฯ ที่ผ่านมา เป็นวันทำพิธีเปิดการแสดงโชว์ผลงานของสมาชิกอิเคโนโบ อิเคบานา ซึ่ง Head Master Sen'ei Ikenobo เป็นผู้ทำพิธีเปิดงานและชมผลงานของแต่ละคน ท่านก็จะติชม แนะนำ เพื่อให้พัฒนาต่อไป ทำให้ผู้เขียนตื่นเต้นมาก

บังเอิญตอนที่จัดวางแจกันของสมาชิกแต่ละท่าน ผู้เขียนได้รับการบอกเล่าจากเพื่อนสมาชิกที่เป็นชาย ว่าเค๊าเป็นคนที่ยกมาวางไว้แถวหน้าสุด ตรงข้ามกับแจกันที่ Head Master จัด เพราะเค๊าชอบดอกหน้าวัว สีแดงสดกล่ำนั้น ซึ่งจริงๆก็ตกใจเหมือนกัน ทำไมมาอยู่แถวแรกได้เนี่ย ทำให้เข้าใจทันที เมื่อพิธีเปิดเรียบร้อย ทุกคนก็ยืนประจำผลงานของตน เพื่อรออธิบาย หรือฟังคำติชม ซึ่งเมื่อท่านเดิน มาถึงก็กล่าวชื่นชมอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสว่า ดูแล้วไม่ค่อยได้เห็นแบบนี้ คือไม่ธรรมดา ดูสวย น่าสนใจ ดีมาก จริงๆมีล่ามแปลให้ฟังค่ะ ก็เลยทำให้ดีใจสุด ๆ

 

จากภาพ ซ้ายล่างเป็นผลงานของโปรเฟสเซอร์ อคิโน - rikka shofutai

 

ส่วนของเพื่อนคนอื่นๆ ก็มีสวยๆ กันทุกคน แบบของแต่ละคนก็จะโดดเด่นแตกต่างกันออกไป   ส่วนใหญ่ คนที่อาวุโสก็จะทำแบบที่ยากกว่า เช่น ริกะ หรือ โชกะ โชฟูไต ท่านก็จะบอกว่า คนนี้คงเรียนหนัก ทำการบ้านมาเยอะ

ส่วนสาวญี่ปุ่ีนที่บินมาร่วมงานนั้นก็ได้จัด ดอกไม้เบนโตะ เรียบร้อย สวยงามแต่กินไม่ได้ เป็นกล่องใส่ข้าวหน้าไข่หั่นฝอย เค๊าเรียกว่า ชิราชิ เหมือนกัน เป็นแบบที่เก๋ไก๋ ความคิดสร้างสรรดีมาก

ไม่ทราบว่าชอบแจกันไหนกันบ้างคะ ส่วนในวันสุดท้าย จะเป็นงานใหญ่ ซึ่งเป็นงานเลี้ยงฉลองครบรอบ 30 ปี และ Head Master & Professor Akino จะแสดงโชว์การจัดอิเคบานาในแบบต่าง ๆบนเวทีค่ะ โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 166367เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อ่านต่อกันเลย ได้อารมณ์ ภาพสวยมาก และเรื่องก็เขียนได้เข้าใจง่ายด้วยคะ โอย ชอบไปหมด (คนบ้าดอกไม้)

อโลฮ่า ค่ะพี่นุช ...ขอบคุณค่ะที่ชอบ ดีใจจังเจอคนคลั่งไคล้ดอกไม้เหมือนกัน เนี่ยอุ๊ก็เป็นเอามาก ยิงภาพแหลก พอดีได้กล้องใหม่ตอนกลับเมืองไทย ตอนกลางปี ที่แล้ว กลัวใช้ไม่คุ้ม เค๊าบอกว่า กดชัตเตอร์ครั้งละบาท เนี่ยไม่รู้กี่พันละเนี่ย

สวยๆ ทั้งนั้นเลย ได้ความรู้เยอะดีนะ ไว้อย่างน้อยก็จำไปโม้งูๆ ปลาๆ ได้แล้ะ ชอบอันที่มีดอก bird of paradise อ่ะ สวยจัง รู้สึกมิธรรมดา อันนี้จัดแบบไหนเนี่ย เราว่ากระถางที่เลือกใช้ก็มีส่วนเสริมหรือขัดอย่างแรงเลยนะ ถ้าเลือกไม่ดีมันจะไม่ส่งเสริมให้ดอกไม้ดูเด่น แถมอาจจะข่ม หรือไม่เข้ากันก็ได้ ถึงมักเห็นคนเลือกกระถางหรือแจกันสีขาว ดำ เทา เพราะเป็นสีค่ากลางที่ช่วยส่งเสริมงานที่อยู่ด้วย ตอนเราเรียนอาร์ตเวลาพรีเซ้นท์ก็มักใช้กระดาษหลังแค่สามสีนี้ล่ะ สีอื่นมันดึงความสนใจของงานออกไป แต่หลักนี้ก็ไม่เสมอไปนะ ต้องดูเฉพาะงานด้วย

ปล. ไปยืนด้านหลังไซโค head master ท่านหรือเปล่าเนี่ย ส่งกระแสจิตสะกดท่านเหมือนหนอนชาเขียว "ชมสิ ชมสิ ชมสิ ชมชั้นเดี๋ยวนี้" 555

ซูซาน..อันที่มี Bird ใช่เลย ตาถึง นั้นแหละของ Head Master เค๊าจัด แบบยากสุด คือ rikka shofutai แล้วอันนี้ดูได้หลายด้าน ภาพบนด้าน หน้าตรง ส่วนอีกภาพที่มีดอกไม้ ถ่ายทะแยงขวา จะได้ความงามอีกแบบ ส่วนการเลือกแจกันก็ใช่แน่นอน สำคัญมากจริงๆ พอๆกับดอกไม้ ต้องไปด้วยกัน โดยเฉพาะสี ตัดกัน เพราะการจัดสัมพันธ์ กับแจกันสุด ๆ สั่งตรงมาจากญีุ่ปุ่น แต่แปลกแจกันที่พี่เลือก ไม่มีใครเลือก  ยืมมา อาจะเป็นเพราะ สีดำจะแรง เข้ม ส่วนใหญ่เค๊าจะชอบทรงแปลก ๆ และสีไม่เข้มมาก เวลาจัดต้องดู Composition และ focal point ด้วย พี่ก็ชอบดอกเหลือง อองซิเดียม เหมือนมีหญิงสาวมาเต้นรำอยู่ข้างหน้า แจกัน ทุกส่วนสำคัญประกอบกัน

สวัสดีค่ะ

  • รูปสวยจริงๆด้วยค่ะ
  • ดอกไม้สวยจริงๆด้วย

 

P pa_daeng

สวัสดีค่ะคุณป้าแดง

ขอบคุณมากค่ะ ดีใจจังเลยค่ะที่แวะมา มีพี่เลี้ยงดีทำให้รูปสวยได้ดังใจค่ะ

 

  • สวยจริงๆค่ะ ทุกท่านเก่งๆทั้งนั้น
  • สวยทุกแบบโดยเฉพาะ หน้าวัว อิอิ เก่งจังเลยค่ะ

P สวัสดีค่ะ คุณ naree suwan

ขอบคุณมากค่ะ คือพยายามโปรโมทตัวเองเต็มที่ เบอร์ห้าค่ะ ที่นานๆจะได้มีโอกาสจัดโชว์

ดีจังค่ะ เอาไว้จัดตามบ้าง

ที่บ้านมีดอกเบริ์ดมากค่ะ ปลูกเป็นดงเลย มีหลายพันธุ์ ดอกใหญ่ ดอกเล็ก แต่มดชอบขึ้นดอกค่ะ สงสัย ชอบตรงเกสรนะคะ

P สวัสดีค่ะ Sasinanda

่ขอบคุณค่ะ ชอบเบริ์ดมากเหมือนกันค่ะ เป็นดอกไม้ที่สง่าดีค่ะ  เคยเห็นเพื่อนมีเบริ์ดสีขาวด้วยค่ะ ใหญ่มาก ๆแต่สวยสู้สีนี้ไม่ได้ค่ะ มดที่นี่ก็เยอะจริงๆด้วยค่ะ ท่าจะหวานน่าดู

ได้รับเมล code แบบหรือยัง ทำไมฉบับแรกมันตีกลับก็ไม่รู้ ถ้าไม่ได้อีกบอกด้วยนะ จะหาวิธีส่งให้ทางอื่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท