KM Workshop เพื่อพัฒนา QA Staff


ขอเชิญชวนชาว มน.ทุกท่านเข้าร่วม ลปรร. ร่วมกันเพื่อสร้างความรู้แล้วนำกลับมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยของเราต่อไปค่ะ

         หลังจาก EQA รอบ 2 จาก สมศ. ของเราชาว มน. เสร็จสิ้นลงด้วยความชื่นใจจนหายเหนื่อย  เราชาว NUQA Staff ก็ไม่ทันได้หยุดพักหายใจเพราะต้องรีบกลับมาตั้งสติเพื่อเดินหน้าทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมกับ IQA ใหม่ของ สกอ. ที่จะต้องใช้ในปีการศึกษา 2550 ที่จะถึงนี้เป็นปีแรกกันต่อ  ถึงจะฟังๆ ดูแล้วน่าเหนื่อยแต่ก็สนุกครื้นเครงไปอีกแบบตามประสาพวกเราค่ะ 



Thank you party ที่ QA Staff ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อขอบคุณอาจารย์วิบูลย์
ที่ทำงานหนักเพื่อสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นจริงใน มน.
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2550
(วันสุดท้ายของการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสอง สมศ.)

        โครงการสำคัญโครงการหนึ่งที่พวกเราชาว NUQA ใช้เป็นโครงการเริ่มต้นของ IQA 50 นี้ก็คือ “โครงการ KM Workshop เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษา”  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ
         1.  สร้างความรู้ความเข้าใจและความมั่นใจในการพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายใน (IQA) แบบใหม่  ประจำปีการศึกษา 2550  ให้กับ QA Staff
         2.  ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของแต่ละคณะวิชาให้ดียิ่งๆ ขึ้น
         3.  ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือนของแต่ละคณะวิชา
         4.  นำผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือนมาใช้ในการพัฒนา / แก้ไข / ปรับปรุงงานที่เหลืออีก 4 เดือนให้ดียิ่งขึ้น
         5.  ส่งเสริมจิตสำนึกและวัฒนธรรมคุณภาพในมหาวิทยาลัยนเรศวร
         6.  ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักและคุ้นเคยกับกระบวนการการจัดการความรู้ (KM)

โดยโครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 BAR (Before Action Review) วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2551  (ครึ่งวัน)
กิจกรรมประกอบด้วย
1. การชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 3 ช่วง 
2. QA Staff แต่ละคณะวิชารายงานผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือน ตามตาราง common data set ของ สกอ. (แบบใหม่)

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย
  QA Staff ทั้งระดับคณะวิชา / สำนักวิชา และ ระดับมหาวิทยาลัย

ช่วงที่ 2  DAR (During Action Review) วันพุธที่ 13 – วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551
กิจกรรมประกอบด้วย
1. QA Staff แต่ละคณะวิชา / สำนักวิชา นำเสนอผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือน ตามตาราง Calculation table ของ สกอ.
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อ “ผลงานที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการเป็น QA Staff” 
3. QA Staff ที่ร่วมทำงานหนักด้วยกันมาได้พักผ่อนและร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย
  QA Staff ทั้งระดับคณะวิชา / สำนักวิชา



NUQA Staff ระดับคณะวิชา / สำนักวิชา จากพิษณุโลก พะเยา และศูนย์ฯ กทม.
ที่เข้าร่วมโครงการ KM Workshop เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
เมื่อวันพุธที่ 13 - วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551

ช่วงที่ 3 AAR (After Action Review) วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 
จากโครงการดังกล่าวทั้ง 2 ช่วงทำให้เราเห็นถึง ผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของแต่ละองค์ประกอบในแต่ละคณะวิชา  ดังนั้นโครงการในช่วงที่ 3 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้จึงมีการปรับกำหนดการจากเดิมเพื่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น  เป็นดังนี้ค่ะ

กำหนดการ
“โครงการ KM Workshop เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษา”
ช่วงที่ 3  :  AAR (After Action Review) 
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551

ช่วงที่ 1 เวลา 09.00 น. - 12.30 น.
ห้องคอมพิวเตอร์ 209 ตึก CITCOMS

09.00 – 11.30 น. 
QA Staff ทดลองกรอกข้อมูลลง CHE QA Online System

11.30 – 12.30 น. 
รับประทานอาหารกลางวัน

ช่วงที่ 2 เวลา 13.00 น. - 16.30 น.
ห้องประชุมนเรศวร 5  สำนักงานอธิกาบดี

12.45 – 13.00 น. ลงทะเบียน 
(ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี  คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้ประเมินภายใน นิสิต QA Staff ระดับคณะวิชา / สำนักวิชา และระดับมหาวิทยาลัย)

13.00 – 13.15 น. กล่าวรายงาน  โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ 
กล่าวเปิด  โดย  รศ.ดร.มณฑล  สงวนเสริมศรี อธิการบดี

13.15 – 13.45 น. ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ 
แนะนำ
         -  IQA แบบใหม่ของ สกอ. พร้อมทั้งชี้แจงเกี่ยวกับผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ในระดับ
   มหาวิทยาลัย
         -  CHE QA Online System
         -  EQA 3
         -  ภาพกิจกรรม  “โครงการ KM Workshop เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษา”
         -  นำเสนอ River Diagram และ Stair Diagram ผลการดำเนินงานรอบ 8 เดือน ระดับคณะวิชา / สำนักวิชา

13.45 – 14.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.00 – 16.30 น. 
ตัวแทนคณะวิชานำเสนอวิธีการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละองค์ประกอบ

คณะวิทยาศาสตร์  :  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและกิจการพิเศษ
องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน
องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย
องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

คณะเภสัชศาสตร์  :  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน 

คณะวิทยาการจัดการ :  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและงบประมาณ
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม
องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ :  รองคณบดีฝ่ายบริหาร
องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ
องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ

Commentators  : 
รศ.มาลินี  ธนารุณ  คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ 
รศ.เทียมจันทร์  พานิชยผลินไชย รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  คณะศึกษาศาสตร์

กำหนดการดังกล่าววัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นการขยายความสำเร็จในองค์ประกอบและเพื่อให้
1.  เกิดความเข้าใจตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินของ สกอ. ใหม่ที่จะต้องเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2550 นี้เป็นปีแรก
2.  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในแต่ละตัวบ่งชี้

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย  อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี  คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้ประเมินภายใน นิสิต QA Staff ระดับคณะวิชา / สำนักวิชา และระดับมหาวิทยาลัย

         ขอเชิญชวนชาว มน.ทุกท่านเข้าร่วม ลปรร. ร่วมกันเพื่อสร้างความรู้แล้วนำกลับมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยของเราต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 165983เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • รอติดตามผลการดำเนินงานผ่านทาง Blog นะครับ
  • เห็นภาพแล้ว อบอุ่นกันจังเลยนะครับ อิอิ
  • สวัสดีครับ
  • เห็นภาพแล้วสัมผัสพลังความร่วมมือที่น่ายกย่อง
  • และผมก็เชื่อมั่น  รวมถึงชื่นชมพลังของชาว มน. มานานแล้ว
  • .....
  • เคลื่อนไปด้วยใจ.... อะไรต่อมิอะไรก็ดูจะง่ายไปหมด...
  • เป็นกำลังใจให้นะครับ
  • ตามน้องๆๆมาดู
  • รู้สึกถึงความอบอุ่นและเข้มแข็งในการทำงานครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เยี่ยมเลยครับ มมส กำลังจะประเมินภายใน ระดับ สถาบัน ปีการศึกษา ๒๕๔๙ ตามแนวทาง ของ สกอ และ
  • เตรียมทำการเขียน SAR 2550 และ SWOT ระดับ หน่วยงานให้เสร็จสิ้น ก่อน ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เพื่อวางแผนสำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๑ ต่อไปครับ
  • ก่อนอื่นต้องขอสารภาพว่ารู้สึกเขินๆ ที่เขียนบันทึกนี้เพราะตัวเองห่างหายจาก blog ไปนานแสนนาน
  • แต่พอได้กลับเข้ามาอีกครั้ง  หรืออีกกี่ครั้งที่นี่ก็ยังอบอุ่นเหมือนเดิมขอบคุณพี่ๆ น้องๆ  ทุกๆ ท่านนะคะ

เป็นการประชุมที่ได้รับความรู้ สนุก อิ่มอร่อย และฮามาก ๆ ค่ะ ขอบคุณหน่วยประกันฯ ที่จัดให้ค่ะ...ปีหน้าขอเหมือนเดิมนะคะ 555 ++

สนุก มันส์ เต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความรักและสามัคคี หวังว่าบรรยากาศแบบนี้จะยังคงอยู่กะเราชาว ม.น. ไปอีกนานแสนนานนะคะ

จากการประเมินที่ผ่านมา ทำให้พวกเรา (QA Staff) ผูกพันกันมากขึ้น  รักกัน ช่วยเหลือกัน  แต่เสียดายที่ไม่ได้ไปโคราช ไม่งั้นคงสนุกกว่านี้แน่ๆ

 

เป็นการประชุมที่สนุกมาก ๆ  ขอบคุณหน่วยประกันฯที่จัดกิจกรรมแบบนี้ อยากให้จัดแบบนี้ต่อเนื่องอีกทุกปี

ขอบคุณหน่วยประกัน มน. และ QA Staff ทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการนี้ ขอบอกว่าสนุกมากกกก  เสียดายที่ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน จะคอยดูความสำเร็จของ QANU ค่ะ

อยากไปร่วมด้วยจังเสียดายมั่กๆๆ

จะมีวันนั้นอีกไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท