ทีมดูแลผู้ป่วย จากทฤษฎี สู่ การปฏิบัติ


ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยของทีมดูแลผู้ป่วย(PCT) นั้น หากจะพิจารณากันอย่างจริงจัง แม้ว่าในโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลแล้ว ก็ยังดูจะ งง งง และหลงทางกับ หน้าที่ และภารกิจอยู่ไม่น้อย

ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยของทีมดูแลผู้ป่วย(PCT) นั้น หากจะพิจารณากันอย่างจริงจัง แม้ว่าในโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลแล้ว ก็ยังดูจะ งง งง และหลงทางกับ หน้าที่ และภารกิจอยู่ไม่น้อย

อาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการโรงพยาบาล จึงมอบหมายให้ ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ลองทบทวนและกำหนดหน้าที่ภารกิจของทีมดูแลผู้ป่วยให้เป็นแนวทางเดียวกัน อีกซักที

ทางศูนย์จึงเชิญแกนนำจาก PCT ต่างๆ รวมถึง คุณหมอที่เป็นประธาน CLT มาร่วมกำหนดแนวทาง โดยใช้ ทฤษฎีหรือหลักการที่ อาจารย์ชำนิ เคยสอนเอาไว้ มาเป็นหลักในการกำหนดภารกิจ

เราได้แนวทางร่วมกันว่า

หน้าที่ของทีม ของ Patient Care Team

  • กำหนดทิศทาง เป้าหมาย ในส่วนที่รับผิดชอบ(การดูแลผู้ป่วยทางด้านคลินิก)
  • ค้นหาโอกาสพัฒนา
  • จัดทำแผนกำกับคุณภาพ/กำหนดทีมรับผิดชอบ(กำหนดเกณฑ์ชี้วัด กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ ควบคุมกระบวนการทำงาน ประเมินผล และกระบวนการแก้ปัญหา)
  • สนับสนุนทรัพยากร(ตามที่ได้รับมอบจากทีมนำ)
  • ควบคุมคุณภาพทางคลินิก

กิจกรรม Patient Care Team

  • ทบทวนระบบ การดูแลผู้ป่วย
  • ปรับปรุงระบบ การดูแลผู้ป่วย
  • วางระบบ การดูแลผู้ป่วย

กิจกรรมของทีมดูแลผู้ป่วย ดูเหมือนจะน้อยดีนะ เราตกลงกันว่า เวลาที่ประชุม พี่ซีที เราจะพูดเฉพาะเรื่อง คลินิก ที่จากเดิม เราพูดถึงเรื่องไม่ใช่คลินิกด้วย

และในการประชุมหรือกิจกรรมของพี่ซีที ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการ และมาตรฐานแต่ละวิชาชีพ นั้นก็หมายถึงว่า เรานำ core values ที่ พรพ.แนะนำ มาใช้เป็นหลักในการพัฒนา/ปรับปรุงระบบ

 

core values ที่เกี่ยวข้องกับ PCT

  • Patient/Customer Focus
  • Forcus on Health
  • Evidence-based Appoach
  • Teamwork
  • Ethic & Professional Standard
  • Management by Fact
  • Creativity & Innovation
  • Cont.Process Improvement
  • Learning
  • Empowerment
  • Focus on Results

core values 17 ตัว ที่ พรพ.แนะนำ อาจจะต้องนำเป็นหลักในการพัฒนา/ปรับปรุงระบบของ PCT เกือบทั้งหมด คิดอีกทียากลำบากไม่น้อยเลยนะ

ทีมดูแลผู้ป่วย หรือ PCT เป็นหัวใจของการดูแลผู้ป่วยเลยก็ว่าได้ แต่นั้นหมายถึงว่า ทีมที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่อยู่กับผู้ป่วยต้องมีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก อะไรที่หน่วยงานทำได้ดีแล้ว PCT ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำซ้ำอีก หากผลการทบทวนเกี่ยวข้องกับทีมใด ก็เชื่อมโยงหรือโยนลูกไปยังทีมที่เกี่ยวข้อง

หากทำได้ดี ประสานงานกันได้อย่างยอดเยี่ยมและดำเนินการไปพร้อมๆกัน รับรองว่ากระบวนการดูแลผู้ป่วยไปโลดแน่ จิ๊กซอร์ทุกตัวก็จะมาต่อกันได้อย่างสวยงาม นั่นหมายถึง การเชื่อมโยงกันทั่วทั้งองค์การ

ดูเป็นเรื่อง ท้าทายไม่น้อย

หมายเลขบันทึก: 165621เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

หากทำได้ดี ประสานงานกันได้อย่างยอดเยี่ยมและดำเนินการไปพร้อมๆกัน รับรองว่ากระบวนการดูแลผู้ป่วยไปโลดแน่ จิ๊กซอร์ทุกตัว  ก็จะมาต่อกันได้อย่างสวยงาม นั่นหมายถึง การเชื่อมโยงกันทั่วทั้งองค์การ

การทำงาน   ถ้าทุกคนทำงานในส่วนของตัวเองให้ดี และมีความรับผิดชอบในงานที่ทำและประสานการทำงานร่วมกัน สื่อสารกันให้ดี การพัฒนาคุณภาพ  เราก็สามารถทำได้ทุกวันในงานนะคะ

ส่วนมากที่เห็นแต่ละ รพ พอใกล้วันที่ พรพ จะมารับรองคุณภาพเราก็ตื่นตัวใหม่ทุกครังค่ะ

เพราะที่ รพ ศรีนครินทร์  ก็รอรับการตรวจปี 2552 ก็กำลังตื่นเต้นอีกครั้งค่ะป้าแดง

  • ถ้าในแต่ละ PCTจับตาดูคนไข้ที่ รพ.ให้ความสนใจ(หรือชุมชนเราพบบ่อยๆ)....แล้วไล่ตามแบบClinical Tracer....ป้าแดงน่าจะทำได้ง่ายๆนะคะ
  • ....โชคดีนะคะ...

สวัสดีค่ะ คุณ pa_daeng

 - หนูอ่านบันทึกหลายครั้งแล้วชื่นชมในความมุ่งมั่นและพัฒนางานคุณภาพโรงพยาบาลจริงๆค่ะ 

 - หนูว่าสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการทำงานร่วมกันใน PCT คือใจค่ะ สัมพันธภาพที่ดีค่อกัน ซึ่งโดยจิตวิญญาณของแพทย์พยาบาลทุกคนก็อยากให้ผู้ป่วยที่มารับบริการหายและได้รับในสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ(หนูเชื่ออย่างนั้นนะค่ะ) แต่ด้วยความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคลที่ไม่อาจปล่อยวางได้ ทำให้การทำงานอาจมีอุปสรรค์บ้าง

 - โรงพยาบาลของหนูทีมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจะกำหนดเข็มมุ่งให้แต่ละ PCT ไปดำเนินการ เป็นเหมือนกับการกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและมีการดำเสนอผลการดำเนินการของแต่ละ PCT ในรูปแบบของสหสาขาวิชาชีพอย่างจริงจัง โดยมีข้อกำหนอว่าประธาน PCT (แพทย์)

 - พยาบาลอย่างเราทำได้ทุกอย่างอยู่แล้วค่ะ

 

 - ยังเขียนไม่จบก็ Post แล้ว ขอเขียนต่อตรง แพทย์เป็นผู้นำเสนอผลงานค่ะ ทำให้เกิดการตื่นตัวของประธานว่า ฉันจะนำเสนออะไรดี ? ซึ่งคุณเลขาแสนเก่ง(พยาบาล)ก็จะประสานงานทุกอย่างและดำเนินการทุกอย่าง ซึ่งเมื่อถึงเวลานำเสนอ ท่านประธาน(ผ.อ.)และทีมพัฒนาคุณภาพก็จะ ช่วยกันตบแต่งผลงาน ของแต่ละ  PCT ให้สมบูรณ์มากขึ้น แล้วทุกอย่างก็จะผ่านไปได้อย่างสวยงามค่ะ

 - ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้อีกครั้งค่ะ  

สวัสดีค่ะป้าแดง

ตามมาเรียนรู้กับเขาอีกคนคะ

 

  • สวัสดีค่ะ อ.อุบล
  • อาจารย์พูดได้ถูกต้องทีเดียวค่ะ
  • อยากให้ทุกคนเห็นว่าเป็นการประจำไม่ต้องทำอะไร พิเศษขึ้นมา
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อ.พี่ติ๋ว
  • การทำ trace ก็เป็นสิ่งดีนะคะ อยากทำอะไรที่ง่ายๆ แต่ได้ผลดีค่ะ
  • อาจารย์แนะนำอย่างนี้ คิดว่า ถูกทางเลยละค่ะ
  • ขอบคุณมากเลยค่ะ
  • สวัสดีคะ น้องสมคิด
  • น้องเขียนได้โดนใจ ดีมากๆค่ะ
  • พยาบาลเราเป็นได้ทุกเรื่องค่ะ
  • ที่นี่ก็ยกให้พยาบาลหมดหมดเหมือนกันค่ะ
  • แต่เราพยายามที่จะให้หมอ กำหนด specific clinical risk ให้เรา แต่บางครั้งพยาบาลก็อาจจะกำหนดได้ดีกว่า อีกนั่นแหละ แต่เราต้องเอา มาตรฐานของแต่ละคนมาใช้ให้ได้
  • พูดง่าน เวลาทำ ยากมาก
  • เรามาเป็นกำลังใจให้กันและกันนะคะ
  • สวัสดีค่ะ อ.เพชรน้อย
  • เรืองของ PCT ดูเหมือนยากนะคะ ในการทำงาน เพราะฉะนั้น ศูนย์คุณภาพคงต้องทำงานให้หนัก ติดตามให้ดี การประสานงานคงเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวค่ะ
  • ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆละกันนะคะ เพื่อให้คนไข้ปลอดภัย

 

สวัสดีค่ะ หนูของสมัครเป็นน้องอีกคนได้มั้ยคะ

ตอนนี้ที่โรงพยาบาลแม่สอดกำลังเครียดเพราะว่ากำลังรอรับการตรวจประเมิน

แต่หนูคิดว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ถ้าเราช่วยกันจนเต็มความสามารถแล้ว

ขอรบกวนคุณพี่ป้าแดงเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนางานได้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท