กิจกรรมบำบัดแบบกลุ่มไม่ใช่กลุ่มบำบัดในกิจกรรมบำบัด


บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัดฯ ม.มหิดล

Group Dynamic in Occupational Therapy หมายถึง กลุ่มบำบัดในกิจกรรมบำบัด มีพลังในการเสริมสร้างทักษะชีวิตของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ที่ WHO ประกาศว่า นักกิจกรรมบำบัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินและฝึกทักษะการดำเนินชีวิตด้วยกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเน้นบทบาทการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม หรือ social participation

ผมในฐานะผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม จึงพยายามที่สอนนักกิจกรรมบำบัดของคณะกายภาพบำบัดฯ ม. มหิดล ว่า เราไม่ควรแบ่งแยกฝ่ายกาย ฝ่ายจิต ฝ่ายเด็ก ฝ่ายผู้สูงอายุ ในการทำงานทางคลินิก แต่เราควรจัดกระบวนการรวบรวมปัญหาและศักยภาพของผู้รับบริการ ผ่านการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องภายใต้แนวคิดทางกิจกรรมบำบัดและความรู้ทางการแพทย์ ใช้ความรู้ในตัวตนและทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกคัดกรองหรือประเมินให้เห็นปัญหาและศักยภาพที่เกี่ยวข้องกัน พร้อมๆกับการร่วมตั้งเป้าหมายของการรักษาทางกิจกรรมบำบัดให้สอดคล้องกับความสำคัญและความพึงพอใจในการเพิ่มหรือคลสภาพทักษะชีวิต ที่สำคัญต้องมีการประเมินเพื่อปรับเปลี่ยนสื่อการรักษาให้มีประสิทธิผล วัดได้ว่ามีความก้าวหน้าทางการรักษาแบบบรรยายความรู้สึกและแบบตรวจวัดได้ชัดเจน ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรมีความสามารถประเมินและให้การรักษาด้วยสื่อกิจกรรมบำบัดตลอดช่วงอายุ มองภาพรวมขององค์ประกอบร่างกายและจิตสังคมควบคู่กัน และเลือกที่จะทำผู้รับบริการในช่วงอายุที่สนใจในแบบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้

กลุ่มบำบัดในกิจกรรมบำบัด จึงแยกออกเป็น 3 กระบวนการหลัก ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวได้อย่างพลวัต ได้แก่

  1. กิจกรรมที่พัฒนาได้ จากโครงสร้างกิจกรรมที่มีรูปแบบแน่นอนจากนักกิจกรรมบำบัด พัฒนาเป็นแบบร่วมกันทำกิจกรรม ร่วมกันสร้างกิจกรรม คิดสร้างกิจกรรมภายในกลุ่มอย่างมีเป้าหมาย ตลอดจนพัฒนาเป็นกิจกรรมของกลุ่มที่สร้างคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมภายนอกกลุ่ม
  2. ปฏิสัมพันธ์ที่ตอบสนองระหว่างความรู้สึกภายในตนเอง แต่ละบุคคล ระหว่างบุคคล และเชื่อมโยงบุคคล กิจกรรม และสิ่งแวดล้อม 
  3. จากสองข้อข้างต้นพัฒนาขึ้นเป็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ผู้รับบริการรวมกลุ่มเพื่อคิดและมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างมีความหมาย มีนักกิจกรรมบำบัดสังเกตการณ์ห่างๆ เพื่อเปรียบเทียบผลของพลวัตที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละบุคคลที่คาดหวังผลก่อนเข้ากลุ่ม (Expected performance) และการแสดงออกในแต่ละบุคคลที่เห็นขณะทำกลุ่ม (Actual performance)

คราวนี้หากนักกิจกรรมบำบัดคิดว่าผู้รับบริการไม่อยู่ในขอบข่ายที่ต้องใช้กลุ่มบำบัดในกิจกรรมบำบัดได้ เพราะไม่มีโอกาสพัฒนากระบวนการดังกล่าว แต่ผมเน้นว่า "อย่าคิดว่าผู้ป่วยทำไม่ได้ ต้องลองประเมินสิ่งที่ยากหรืแท้ทายผู้ป่วยแล้วค่อยๆลดลำดับความยากลงมาเพื่อค้นหาสื่อการรักษาที่ดีที่สุด"

ถ้าประเมินแล้ว ทำไม่ได้จริงๆ นักกิจกรรมบำบัดสามารถจัดกิจกรรมบำบัดแบบกลุ่ม (Occupational Therapy in Group Area) เช่น หากผู้ป่วยสนใจการเล่นคนเดียว แต่นักกิจกรรมบำบัดวางแผนพัฒนาให้เล่นกับเพื่อนได้ จากเล่นแบบต่างคนต่างเล่น เล่นแบบร่วมมือกัน เล่นแบบมีเป้าหมาย จนถึงมีทักษะการเล่นเป็นกลุ่มได้ สังเกตว่าแต่ละรูปแบบของกิจกรรมการเล่นจำเป็นต้องแยกไว้ฝึกในแต่ละครั้ง และค่อยๆ ประเมินความสามารถในการเล่นในรูปแบบที่สูงขึ้น ซึ่งไม่ต่อเนื่องหรือพัฒนาได้ทันทีเหมือนกลุ่มบำบัดในกิจกรรมบำบัด

เมื่อมีนักกิจกรรมบำบัด 1 คน โดยหลักสากลไม่ควรจัดกิจกรรมบำบัดแบบกลุ่มกับผู้รับบริการมากกว่า 4 คน และไม่ควรมีนักกิจกรรมบำบัดมากกว่า 1 คนต่อกลุ่ม เนื่องด้วยจะลดประสิทธิภาพของ teaching and learning process ซึ่งเป็นสื่อการรักษาอย่างหนึ่งที่สำคัญ

มองดูแล้วกลุ่มบำบัดแบบหลัง ทำให้ผู้รับบริการได้ฝึกกลุ่มทำหน้าที่ของร่างกายและจิตใจ (Functional group in physical and mental components) แต่จริงๆแล้ว ณ ปัจจุบันนักกิจกรรมบำบัดควรเป็นวิชาชีพที่สำคัญในการใช้ Group dynamic in social participation ครับ

หมายเลขบันทึก: 165450เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท