นิติกาญจน์


บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ
บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ1.  บ่อเกิดหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ  ได้แก่-  สนธิสัญญา  (Treaty)  เป็นบ่อเกิดที่เกิดจากข้อตกลงหรืออาจเรียกว่าเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งความหมายของสนธิสัญญาได้แบ่งออกเป็นความหมายอย่างกว้างและความหมายอย่างแคบ ดังนี้ความหมายอย่างกว้างของสนธิสัญญา  คือ  เป็นความตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งความตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีจุดประสงค์หรือมีจุดมุ่งหมายหรือมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดสิทธิและความผูกพันทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญาความหมายอย่างแคบของสนธิสัญญา  คือ  เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่กระทำขึ้นระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร  และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ  ทั้งนี้ไม่ว่าสนธิสัญญานั้นจะกระทำในรูปเอกสารฉบับเดียว   สองฉบับหรือหลายฉบับ  และไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างไรก็ตาม   ซึ่งตามความหมายอย่างแคบนี้เป็นคำนิยามของคำว่าสนธิสัญญาในมาตรา 2 (1) (a)  ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา -  กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ  (Customary International Law)  เป็นบ่อเกิดที่มิได้เกิดจากข้อตกลงหรืออาจเรียกว่าเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  มีลักษณะไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้หรือยกเลิกได้โดยการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของรัฐต่างๆ  เป็นการกระทำซึ่งรัฐปฏิบัติต่อกันอยู่เป็นนิจ  กล่าวคือ  รัฐได้ปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีก  ทำซ้ำๆ การปฏิบัติน่าจะต้องมีลักษณะทั่วไป  (Common Practice)  เป็นสิ่งที่รัฐปฏิบัติต่อกันมิใช่เป็นเรื่องที่รัฐหนึ่งทำอยู่แต่ผู้เดียว  นอกจากนั้นยังเป็นการกระทำที่รัฐปฏิบัติไปเพราะความรู้สึกว่าจะต้องกระทำ  (Obligatory Practice)  อันแตกต่างจากอัธยาศัยไมตรีระหว่างประเทศ  (International Comity)     การก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับกันในกฎหมายระหว่างประเทศต้องประกอบด้วยปัจจัย 2  ประการ  คือ                1.  การปฏิบัติ  โดยปกติรัฐทั่วไปจะยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานานพอสมควร  สำหรับระยะเวลานานเท่าใดนั้นไม่มีกำหนดแน่นอนและไม่มีประเทศใดคัดค้าน  แต่การปฏิบัติไม่จำเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐในโลก  เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอแล้ว                2.  การยอมรับ  โดยการที่จะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นจะต้องได้รับการยอมรับการกระทำดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ  กล่าวคือ  รัฐ  หรือองค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้น ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ  แต่จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จำต้องยอมรับโดยทุกประเทศ                บ่อเกิดของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ   อาจเกิดจากสิ่งดังต่อไปนี้                -  จารีตประเพณีหรือกฎหมายภายใน หรือคำตัดสินของศาลยุติธรรมของรัฐหนึ่ง  และประเทศอื่นเห็นว่าดีก็นำหลักการดังกล่าวมาปฏิบัติ  จนนานเข้าก็กลายเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ                  -  สนธิสัญญาประเภทกฎหมาย  คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ -  หลักกฎหมายทั่วไป  (General Principle of Law)  หมายถึงหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากประเทศศิวิไลซ์ทั้งหลาย  ซึ่งหมายความถึง                1.  หลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั่วไปที่ยอมรับและใช้บังคับอยู่ในกฎหมายภายในของรัฐทั้งหลาย  โดยบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายภายในของรัฐต่างๆ หรือหลักกฎหมายภายในของประเทศที่มีความเจริญในทางกฎหมาย  ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป  อันอาจนำมาเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัยคดีได้  เช่น  หลักกฏหมายที่ว่าสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้ทำสัญญา  หลักความสุจริตใจ                2.  หลักการทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ  ซึ่งรัฐต่างๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วไป  โดยมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น  หลักการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของรัฐอื่น 2.  บ่อเกิดลำดับรองของกฎหมายระหว่างประเทศ และบ่อเกิดที่มิได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้แก่-  แนวคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ  (Jurisprudence of International Law)  คำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศอาจเป็นเครื่องช่วยให้ศาลวินิจฉัยหลักกฎหมาย  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติข้อ 59  แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 36 (ง)-  ทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระหว่างประเทศ (Doctrine of Publicist)  หรือจากคำเผยแพร่ของผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย 
หมายเลขบันทึก: 165099เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แสดงความยินดีค่ะที่เข้ามาบันทึกงานแล้วค่ะ

ในประการแรก เปลี่ยนชื่อบันทึกก่อนดีไหม ? ไม่ใช่เอาชื่อตัวเองไปเป็นชื่อบันทึกนะคะ ชื่อบันทึกย่อมต้องเป็นชื่องานเขียนของเรา

อย่าลืมอ้างอิงนะคะ

แอบดูบันทึกของคนอื่นๆ ซิคะ เขาดูไม่เขียนแบบทื่อๆ แบบคุณนะ ค่อยพัฒนานะคะ ศักยภาพในการเขียนหนังสือจะค่อยๆ เกิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท