NGO กับงานพัฒนาการเกษตร (ตอนที่ ๕) โรงเรียนชาวนาจึงเปลี่ยน "ความคิด" ชาวนา


“ชาวนาไม่มีทางรอด หากความรู้ในสถาบันการศึกษายังรับใช้ระบบทุนนิยม ยังสอนแบบนักวิชาการที่เรียนมาแบบฝรั่ง คือสอนให้พึ่งพา...”

การถอดบทเรียนการทำงานของโครงการนำร่องเกษตรกรรมยั่งยืนที่ได้ดำเนินการเป็นเวลา ๓ ปี ครอบคลุม ๑๙ ภูมินิเวศน์เกษตรทั่วประเทศ ได้ทำให้พวกเราเรียนรู้ว่า เกษตรกรรมยั่งยืนที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องราวของ ภายในเป็นเรื่องของอุดมการณ์และจิตวิญญาณ เป็นการทำการเกษตรด้วยความรัก โดยมุ่งเกื้อกูลทั้งต่อตัวเอง ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อทุกผู้คนในสังคม 

การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากระบบเกษตรกรรมแบบพึ่งพาสารเคมีไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน...จึงจำต้องสร้างขบวนการเปลี่ยนแปลงจากภายใน หากทว่าสิ่งที่เรียกกันว่า กระบวนทัศน์ ที่ฝังลึกอยู่ในตัวเกษตรกรนั้น... ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนได้โดยง่าย 

พี่เดชาได้อธิบายถึงเรื่องนี้ให้ลูกศิษย์เราฟังว่า

แต่ความแปลกก็คือ ๑๐ ปีมาแล้วที่คุณชัยพรทำ แต่ไม่มีใครทำตาม…”

เป็นเพราะทำ ใจ ไม่ได้ ออกจาก โปรแกรม นี้ไม่ได้ เสียงพี่เดชาเล่าปนหัวเราะต่อไปอีกว่าถ้าไม่ฉีดยาแล้ว นาข้างบ้านทำ มันนอนไม่หลับ...ถ้าไม่ใส่ปุ๋ย แล้วข้างบ้านใส่ ก็นอนไม่หลับ... 

มิน่าเล่า ครูบาอาจารย์ถึงสอนนักหนาว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว และสิ่งที่อยู่เหนือนายอีกชั้นหนึ่งนั้น ก็คือ นิสัย นั่นเอง... อะไรที่เราทำซ้ำ ๆ ทำบ่อย ๆ ทำจนกลายเป็น ความเคยชิน นั่นแหละคือนิสัย ซึ่งถ้าหากไม่ได้ทำสิ่งนั้นแล้ว...จะเกิดความรู้สึกว่าไม่มีความสุขหรือไม่สบายใจ เช่น การที่เราสวดมนตร์ไหว้พระและนั่งสมาธิก่อนนอนเป็นประจำทุกคืน ถ้ามีคืนไหนที่ไม่ได้ทำ ก็อาจจะนอนไม่หลับ...

ชาวนาก็คงเหมือนกันนั่นแหละนะ ด้วยความเคยชิน ความที่เคยทำแบบนี้มานาน ถ้าจะให้เปลี่ยนนิสัย คงต้องใช้เวลาไม่น้อย... 

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ชาวนาให้หลุดพ้นจากความเชื่อ...หลุดพ้นจากการโฆษณาที่มีมานานกว่า ๓๐ ปี จึงไม่ใช่เรื่องง่ายมาถึงตรงนี้ พี่เดชาโยนคำถามท้าทายมายังสถาบันการศึกษา "ชาวนาไม่มีทางรอด...หากความรู้ในสถาบันการศึกษายังรับใช้ระบบทุนนิยม ยังสอนแบบนักวิชาการที่เรียนมาแบบฝรั่ง คือสอนให้พึ่งพา... 

อีกประโยคต่อมาของพี่เดชาที่ โดนใจ เราเข้าเต็ม ๆ อาจารย์หากินกับบริษัท ตั้งบริษัทเองก็มี แล้วอย่างนี้ ชาวนาจะรอดได้อย่างไร?” 

ทำไมไม่ใช้เครื่องดำนาล่ะ? เพราะขัดผลประโยชน์...พวกขายพันธุ์ข้าวไม่เอา พวกขายยาฆ่าหญ้าไม่เอา พวกขายปุ๋ยก็ไม่เอา...ถ้าหว่านใช้ปุ๋ยเยอะ ถ้าดำใช้ปุ๋ยน้อย...พี่เดชาอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่มีการศึกษาค้นคว้าเท่าที่ควรเกี่ยวกับเครื่องจักรกลที่ใช้ในการดำนา ทั้ง ๆ ที่เครื่องดำนานี้เองที่เป็น ตัวคลิก ในการพัฒนาระบบการปลูกข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครัวเรือนเกษตรและชุมชนชนบทที่กำลังขาดแคลนแรงงาน

ถ้าชาวนาทำนาแล้วลดต้นทุนแบบนี้ บริษัทก็จะเดือดร้อน กำไรขายปุ๋ยประมาณ ๑ เท่าตัว คือ ประมาณ ๘ หมื่นล้าน ยาอีกประมาณ ๒-๓ หมื่นล้าน ...เกษตรกรไม่ซื้อเสียอย่าง ใครจะมาบังคับเราคิดไว้นานแล้วว่า น่าจะมีใครช่วยทำการศึกษาวิจัยระบบธุรกิจสารเคมีการเกษตรนะ ข้อค้นพบจากงานวิจัยจะได้นำสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ...แต่คงไม่มีใครกล้าให้ทุน หรือถึงให้ทุนก็คงไม่มีใครให้ข้อมูลนักวิจัยเป็นแน่  

โรงเรียนชาวนาจึงเปลี่ยน ความคิด ชาวนา......

และการจะปรับเปลี่ยนความคิดหรือกระบวนทัศน์ได้นั้น ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้กับกระบวนการกลุ่มเป็นเครื่องมือ 

ภาพและเรื่องราวของโรงเรียนชาวนาในวิดิทัศน์ว่าด้วยเครือข่ายการจัดการความรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญที่ลูกศิษย์ได้ดูในชั่วโมงเรียนก่อนหน้านี้แล้วนั้น คงช่วยให้ลูกศิษย์รับรู้สิ่งที่พี่เดชาเล่าได้ชัดเจนขึ้น 

ก่อนจากกันวันนั้น พี่เดชาได้ให้ข้อคิดทิ้งท้ายกับลูกศิษย์เราไว้ว่า 

ฟังแล้วคิดได้บ้างไหม... ที่มาสอนก็เพราะเชื่อว่า อาจมีนิสิตที่มาทำงานด้านนี้... มาเป็น NGO ...สักคนสองคน

ไม่ต้องห่วงชาวนาก็ได้ แต่ควรห่วงตัวเอง ดูแลตัวเองให้ดี...เอาตัวให้รอดก่อน ค่อยช่วยชาวนา...ไม่รู้จบแล้วพวกเราจะไปเป็นอะไร?”

“ต้องยกระดับจิตใจ...ฟังเพลงต่ำ ใจก็ต่ำ ดูหนังดีหรือหนังรุนแรง ใจก็ต่างกัน ...เราเสพแต่ของแย่ ๆ เราจึงเป็นคนคุณภาพต่ำ แม้จะเรียนสูง....

นั่นซินะ...ด้วยสิ่งที่เราเลือกเสพนี้เองเราจึงเป็นคนคุณภาพต่ำ... แม้จะเรียนสูง

ลูกศิษย์เราสมควรต้องไปเข้าเรียนใน โรงเรียนชาวนา เสียแล้วกระมัง

เพราะในสถาบันการศึกษาที่พวกเขาเรียนอาจไม่ได้สอนพวกเขาในเรื่องเหล่านี้ ???

หมายเลขบันทึก: 164995เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เป็นเรื่องจริงที่โดนใจมากครับ

กระผมเคยเจอประเภทกลัวเสียหน้าครับ กลัวว่าจะได้ผลผลิตไม่เท่าเพื่อนหรืออยากได้มากกว่าเพื่อนเพื่อจะได้เอาไว้คุยว่าตัวเองเก่งได้ผลผลิตมากกว่า กระผมก็พยามยามอธิบายว่าให้คำนึงถึงต้นทุนเป็นหลักว่าคุ้มหรือเปล่าไม่ต้องไปกังวลว่าจะได้ผลผลิตมากกว่าหรือน้อยกว่าคนอื่น แต่เขาก็อดคิดไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าเห็นหรือรู้ว่าเพื่อนใช้อะไรตัวเองก็จะต้องใช้ให้เหมือนเพื่อนถ้าไม่ได้ใส่แล้วนอนไม่หลับ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงจริงๆครับ (ถ้าเขาเข้าใจความต้องการของพืช กับสิ่งที่มีอยู่ในดินเขาจะเชื่อผมหรือเปล่านะว่าถึงเป็นพื้นที่เดียวกันก็ไม่ต้องใส่ให้เหมือนกัน) กระผมเคยเอาปุ๋ยน้ำชีวภาพไปให้เขาทดลองใช้ เขาก็ใช้แล้วก็ตามด้วยปุ๋ยเคมี เพราะเขาเคยใส่ถ้าไม่ได้ใส่ก็กังวล เลยเป็นอันว่าหันกลับไปใช้ปุ๋ยเคมีตามเดิม แต่กระผมก็ยอมรับในความสามารถในการพัฒนาการปลูกพืชในช่วงประมาณสามปีที่กระผมมาอยู่ที่ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบฯ ช่วงแรกเป็นหน่อไม้ฝรั่ง แรกๆได้ผลดี(ทั้งราคาและผลผลิต)ต่อมาปลูกตามกันแล้วก็เจอปัญหาราคาตก ต้นทุนสูง ผลผลิตไม่ดี เลยเปลี่ยนเป็นถั่วลิสง ถั่วฝักยาว หัวผักกาด จนกระทั่งปัจจุบันกำลังบูมการปลูกมันเทศครับ เนื่องจากต้นทุนต่ำ ผลผลิตดี กำไรพอสมควร แต่กระผมก็เริ่มทราบว่าเริ่มมีปัญหาแมลงแล้วก็แก้ปัญหาด้วยสารเคมี ซึ่งก็ได้ผลเป็นบางครั้ง ในส่วนตัวกระผมมองว่าเขาขาดทุนชีวิต แล้วตอนนี้ก็มีการปลูกเชิงเดี่ยวมากขึ้น อีกทั้งพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น อนาคตปัญหาเดิมๆก็คงจะกลับมา กระบวนทัศน์เป็นสิ่งสำคัญหากเขาไม่คิดได้เองเราไปเปลี่ยนก็คงได้เพียงชั่วคราวแล้วสุดท้ายเขาก็จะหันกลับไปใช้สารเคมีอีกตามความเคยชิน

สำหรับครู อาจารย์ และนักศึกษาต้องคิดให้มาก  เพราะเป็นกำลังสำคัญในการที่จะหาวิธีทำการเกษตรให้ง่ายและมีผลดีต่อส่วนรวม

สำหรับหลักสูตรกระผมก็คิดว่าควรปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัย แต่ต้องยึดพื้นฐานหลักที่จะต้องเรียนไว้  (กระผมเจอมาตั้งแต่ตอนเรียนจนกระทั่งโอนมาเป็นครูก็ยังมีการปรับหลักสูตร จนกระทั่งเป็นห่วงว่าเด็กรุ่นใหม่สะกดคำไม่ค่อยเป็น แล้วถ้าเขาอ่านหนังสือไม่ออกเราจะไปพัฒนาเขาอย่างไร แล้วรุ่นต่อๆไปจะเป็นอย่างไร) 

สวัสดีค่ะ อ.ตุ้ม สวัสดีปีใหม่ไทย-จีนด้วยค่ะ

ไม่ค่อยได้เห็น อ.ตุ้มเขียนเป็นซีรีส์อย่างนี้ ติดตามอ่านรวดเดียวจบเลยค่ะ

อ่านแล้วนอกจากเจ็บปวดแทนพี่น้องชาวนา แถมยังอดเป็นห่วงพี่น้องชาวเขาชาติพันธุ์ที่กำลังออกห่างจากวิถีชีวิตที่เคยพึ่งตนเองได้ วิ่งเข้าสู่วังวนเดียวกันอยู่ทุกวันนี้

จะทำยังไงกันดีคะอาจารย์ ??!!

 สวัสดีครับ อ.ทิพวัลย์

            มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ครับ ผมเคยเรียนรู้กับเวทีปราชญ์ชาวบ้านหลายคน  มันเริ่มจากใจครับ  ตัดได้หรือไม่  ละได้หรือไม่ มั่นคงหรือไม่  แล้ว ค้นหาตัวตน ชีวิต ครอบครัว สังคม "ดูตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้" อันนี้เป็นเรื่องจิตวิญญาณ  หรือแนวปรัชญา  ครับ ต้องเข้าหากความจริงที่ยิ่งใหญ่ของชีวิตเกษตร  หรือชีวิตที่ใช้อยู่ในดินแดนที่เหมาะกับเกษตรแบบนี้ให้ได้

              จากนั้นก็ต้องมุ่งมั่นอดทน ต้านกับกระแสสังคมให้ได้ เข้มแข็งและมุ่งมั่น รอเวลา

              ที่อาจารย์เล่ามาทั้งหมดล่ะครับ

              เกษตรธรรมชาติ หรือยั่งยืน ต้องเริ่มจากภายในอุดมการณ์และจิตวิญญาณ ซึ่งเกษตรกรน้อยคนที่จะเข้าใจครับ ( เพราะถูกดึงไปจากวีถีดั้งเดิม )

              นักวิชาการเกษตรจึงต้องเริ่มจากภายในครับ ( เพราะก็ถูกดึงไปจากวีถีความรู้แบบที่เหมาะสมกับเมืองไทย )

              นักศึกษาเกษตรก็จะต้องเริ่มจากภายในครับ เพราะเขากำลังพบกับสิ่งที่ยากและท้าทายที่สุดของการเรียนรู้

              ครับผม  แต่อย่างน้อย ผมก็เห็นว่ามี อาจารย์ทางเกษตรกรรมหลายท่านที่เริ่มจากภายในแล้วครับ

              โรงเรียนชาวนา มีแล้วและจะเป็นมหาวิทยาลัยชาวนาได้อย่างแน่นอนครับ  

              ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

อาจารย์ตุ้มคะ 

กำลังคิดอยู่เหมือนกันว่าต้องหาคนศึกษาเรื่องธุรกิจเกษตร  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่กำลัง "คืบคลาน"มา "ครอบคลุมและควบคุม" ("คุกคาม" ?)  ภาคเกษตรไทยมากขึ้นทุกทีๆ

ตัวเองจัดสรรเวลาทำงานไม่ถูกแล้วว่าจะศึกษาเรื่องไหนก่อน  เพราะสังคมมีปัญหาหลายเรื่อง  เคยคิดเล่นๆว่าจะให้ลูกศิษย์ที่ยังไม่มีงานทำ ลองศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจเกษตรไปพลางๆ  ... กะว่าจะออกทุนเองค่ะ

สวัสดีค่ะทุกท่าน

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความเห็นและ "กำลังใจ" ที่ส่งมาให้นะคะ

และขอเชิญชวนมา "ร่วมด้วยช่วยกัน" ชวนคิด-ชวนคุย  เพื่อตอบโจทย์คุณน้อง Pilgrim ที่ว่า "จะทำยังไงกันดีคะอาจารย์" 

ตัวเองคิดว่ายังพอมี "ทางออก" อยู่บ้างค่ะ แม้จะทำอะไรไม่ได้มากเท่าที่อยากทำ แต่ก็จะทำให้ได้มากที่สุด ทำให้เต็มที่ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดที่มีค่ะ

ที่ตั้งใจคือ อยากทำ "วงคุย" เรื่องราวเหล่านี้เพื่อให้เกิดการ "รับรู้" ในวงกว้างมากขึ้น(เลยยอมปวดหลังนั่งพิมพ์ติดต่อเป็นซีรี่ส์) เพราะที่ผ่านมา มักคุยกันในแวดวงพวกเรา NGO ที่ทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก การขยายผลบทเรียนการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนสู่แวดวงคนทำงานด้านอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง น่าจะช่วยให้เกิด "พลัง" ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรที่เหนื่อยยาก ผลิตอาหารให้เราได้ "กินอิ่มนอนอุ่น" กันอยู่ทุกวันนี้ โดยอาจเป็นวงคุยที่หมุนเวียนไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เป็นช่วง ๆ ....เป็นเวที "สัญจร" เพื่อไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละที่.... เป็นวงคุยตามสะดวก

น้อง Pilgrim อาจเชิญชวนพวกเราไปเรียนรู้ที่เชียงราย คุณสุมิตรชัยหรือคุณวุฒิชัยอาจจะรับเป็นเจ้าภาพในพื้นที่ อาจารย์ปัทช่วยเป็นผู้ประสานงาน นัดหมายลูกศิษย์ที่ยังไม่มีงานทำมาร่วมเวที....ฯลฯ ว่าแต่ว่า...แล้วเราจะ "นัดเจอ" กันได้เมื่อไหร่ดีคะ???  

ดีเลยค่ะ อ.ตุ้ม + อ.ปัท ด้วยนะคะ

จะได้ชวนชาวบ้าน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในโครงการเกษตร (ที่กำลังเริ่ม) มาแลกเปลี่ยนกับ อ.ด้วยค่ะ

เรากำลังมีโครงการสาธิตที่จะทำเกษตรธรรมชาติ ปลอดสารเคมี สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่เราก็กำลังเรียนรู้แนวคิดนี้ กำลังทำผลิตภัณฑ์ EM . ใช้กันอยู่ พวกเขาก็พยายามทำตามแนวทางที่เราวางแผนร่วมกันนะคะ แต่ที่บ้านพวกเขาก็ทำเกษตรเคมีกันอยู่แหละค่ะ คงต้องค่อยๆ ใช้เวลาให้พวกเขาเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนจากข้างในใช่ไหมคะ

รออาจารย์อยู่นะคะ ..เมื่อไรดีคะ??

สวัสดีค่ะ  P

ช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน อาจารย์มีแผนไปลงดูพื้นที่ที่แม่สาใหม่(งานโครงการหลวงค่ะ) และมีนัดทำเวทีเรื่องงดเหล้าของเครือข่ายภาคเหนือด้วยค่ะ (เวทีลำปางน่าจะเดือนมีนาค่ะ) ถ้าได้วันแน่นอนเมื่อใดจะแจ้งให้ทราบนะคะ อยากชวนไปลงพื้นที่ด้วยกันค่ะ ....จะได้ถือโอกาสแนะนำให้รู้จัก "คนเคลื่อนงาน" ด้านการพัฒนานะคะ และหากมีเวลาพออาจถือโอกาสขึ้นไปเชียงรายได้ค่ะ

การเรียนรู้จาก "ภายใน" มักเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาค่ะ...แต่ว่าจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็น "เรื่อง" อะไรด้วยเหมือนกันค่ะ ....งานชุมชนเป็นสุขที่ทำในภาคตะวันตก เราพบว่ามีบางคนที่เกิด "ปิ๊งแว๊บ" จากการพาไปดูงาน.... กลับมาแล้วเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง และกลายมาเป็น "แกนนำ" ของชุมชน เพระได้ไปฟัง ได้ไปเห็น ได้ไปรับรู้ แล้วก็เลย "คลิ๊ก" ขึ้นมาได้ค่ะ....

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

แต่กระผมขอไปหยั่งๆ เกษตรกรในพื้นที่ที่กระผมใช้ชีวิตอยู่ใกล้ๆ ดูก่อนนะครับว่าเขาพอจะมีเวลาว่างช่วงไหน และสนใจเกี่ยวกับเกษตรปลอดสารเคมีบ้างหรือยัง    เพราะตอนนี้พวกเขากำลังมันกับการปลูกมันเทศแบบของเขาหนะครับ เขายังไม่คิดเรื่องของปัญหาที่จะเกิดกับตัวเขาในอนาคตเพราะปัจจุบันยังทำเงินได้ดี อย่างอื่นยังมองไม่เห็นครับ สงสัยต้องอาศัยการพาดูงานอีกแล้วกระมังครับ จะได้คลิ๊ก ขึ้นมาได้บ้างหนะครับ

 

สวัสดีครับ อ.ทิพย์ฯ

  • สังคมต้องเปลี่ยนแปลง หยุดไม่ได้
  • เรายอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงอย่างไรจึงจะสมดุลทุกภาคส่วนและได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์
  • สังคมปัจจุบันมันซับซ้อนมากกว่าอดีตมากมายตั้งแต่เราทำ "สัญญาเบาริ่ง" เป็นต้นมา เมืองก้าวไปสุดโต่ง  ชนบทวิ่งตามเมือง แต่อย่างไรก็ไม่ทัน และไม่จำเป็นต้องวิ่งให้ทัน เพราะการวิ่งไปข้างหน้าของเมืองแบบระบบปัจจุบันเป็นการวิ่งไปหาจุดจบของตัวเอง
  • เพลิดเพลินกับวัตถุนิยม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสมากกว่า แล้วไปกำหนดว่าชนบทต้องก้าวตามในทิศทางเดียวกัน...
  • หากมีใครมาร่วมมือกันกับชนบท นั่งใตร่ตรอง เอาข้อมูลต่างๆมาพิจารณากัน 3 วัน 5 วัน ทบทวนวิถีชีวิตที่ผ่านมา มองไปดูอนาคตที่จะก้าวไป อะไรมันควรไม่ควร ตัวอย่างมากมายในสังคม หยิบเอามาวิเคราะห์เจาะลึกกัน มันก็ได้คนกลุ่มหนึ่งที่เกิดสติขึ้นมา แล้วก็หันมาคุยต่อว่า แล้วทางออกคืออะไร ด้านสุขภาพ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านความเป็นอยู่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ .....ลูกหลานของเราจะเอาอย่างไร..และ.......
  • คุยกันซะ แล้วกำหนดแนวทางขึ้นมาแล้วก็ทำในระดับครับเรือน ระดับกลุ่ม ระดับหมู่บ้าน ระดับเครือข่าย และมองไปในอนาคตระดับพื้นที่ ภูมิภาค.....จนชั่วชีวิต
  • มันเป็นการปฏิวัติอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่เอาปืนผาหน้าไม้มาฆ่าฟันกัน แต่ปฏิวัติตัวเอง ครอบครัวเรา เพื่อนบ้านเรา .....
  • โดยทั่วไปเราทำตามเงื่อนไขที่เราสามารถทำได้ มันไม่ครอบคลุมรอบด้านอย่างที่คิดฝัน  ก็ค่อยๆทำกันไป คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน ขยายกันไป
  • บางคนก็ทนแรงทุนไม่ไหวก็หันกลับไปบริโภคอีก  ก็ปล่อยไป หลายคนก็ก้าวเข้ามาใหม่...ก็เกาะเกี่ยวกันไป การปฏิบัตินี้เรียกการปฏิบัติเงียบ
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติจิตสำนึกตัวเองก่อน...
  • ครับพูดน่ะง่าย ทำน่ะยาก ก็ค่อยๆไปพร้อมกับทวน "กระแสหลัก" จิตไม่แกร่งจริงก็หลุดตามกระแสไป..
  • แลกเปลี่ยนกันแค่นี้ก่อนครับ อาจารย์ครับ

ครับผม

         ผมคิดโครงการระยะยาวไว้เหมือนกัน ไว้พร้อมเมื่อไหร่จะเรียนเชิญนะครับ ที่นครนายก ผมพอมีพื้นที่ศึกษาอยู่เช่นกัน

         ส่วนที่ขอนแก่น มีพื้นที่ที่ทำได้รุดหน้าไปแล้วอย่างที่ อ.อุบลรัตน์ โดย รพ.อุบลรัตน์และคุณหมออภิสิทธิ์ครับ  ที่นั่นจัดการสุขภาพโดยไม่แยกจากสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และชัดเจนในวิถีเกษตรธรรมชาติ คือสุขภาพของมนุษย์ครับ

สวัสดีค่ะคุณวุฒิชัย

มีโอกาสคงได้ลงไปเรียนรู้ที่พื้นที่ทำงานของคุณวุฒิชัยนะคะ การทำ "วงคุย" สบาย ๆ แบบกัลยาณมิตรช่วยให้ "คลิ๊ก" ได้เช่นกันค่ะ

คุณพี่บางทรายคะ

อ่านแล้วได้ข้อคิดดีจังเลยค่ะ

ต้องปฏิวัติ "จิตสำนึก" ของตัวเอง...ใช่เลยค่ะ

ถ้าไม่แกร่งจริงก็มีสิทธิหลุดตามกระแสอย่างที่ท่านพี่ว่านะคะ...เราน่าจะทำวงเรียนรู้ว่าด้วยเรื่องนี้กันดูดีไหมคะ เพราะน่าจะเป็น "จุดคานงัด" ของปัญหาทุกเรื่องได้ดีนะคะ...ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคะ เข้ามาอ่านเป็นครั้งแรก อ่านแล้วเห็นด้วยอย่างพี่เดชาว่าทุกประการ การเรียนรู้ที่ดีต้องเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในและความคิดที่ตกผลึกของตนเอง แต่เท่าที่ผ่านมา ระบบการศึกษาของเราสอนให้เป็นการเรียนรู้ที่ยัดเยียด ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เมื่อเรียนแล้วก็ไปรับใช้คนอื่น ไม่ได้รับใช้ชุมชน.ส่วนกระบวนการเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นกระบวนการที่ฉาบฉวย เอาเร็วเข้าว่า อ่าน ท่องจำ แต่นำไปใช้ไม่เป็น อาจารย์ยังคงสอนแบบนี้ แล้วในอนาคตข้างหน้าเราจะฝากความหวังของการพัฒนาการเกษตรไว้ที่ใคร

พระไมตรี วิสุทฺโธ

ได้ความรู้มากๆๆ ขอให้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ บุคคลที่อยากทราบ อัตมาได้นำบทความนี้ อภิปรายหน้าห้องเรียน เพื่อให้ความรู้ที่ได้รับจากท่านให้เพื่อนๆรับ และเป็นประโยชน์มากครับ ขอบคุณ ขอเจริญพรมา ณที่นี้ด้วย

สวัสดีค่ะอาจารย์หนึ่ง

นั่นซินะ...เราคงต้องช่วยกันสร้าง "กระบวนการเรียนรู้" อย่างที่ควรจะเป็นให้เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาทุกระดับค่ะ

มาจัด "วงคุย" เรื่องพวกนี้กันดีไหมคะ

กราบนมัสการพระอาจารย์ไมตรีด้วยความเคารพค่ะ

ยินดีมากค่ะที่ท่านได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์จาก Lifediagram ค่ะ และขอกราบขอบพระคุณที่ท่านได้ช่วยเผยแผ่ข้อคิดข้อเขียนเหล่านี้นะคะ

สาธารณะยังไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราวของพี่น้องชาวนาซักเท่าใดค่ะ...ความทุกข์ยากของชาวนาในผืนแผ่นดินไทยควรจะได้รับการบอกกล่าวเล่าขาน และผู้คนในสังคมต้องมา "ร่วมด้วยช่วยกัน" แก้ไขคลี่คลายปัญหาให้มากกว่านี้ค่ะ

หัวใจสำคัญคือ การพัฒนา "คน" ด้วยหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ

กราบนมัสการค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท