เสวนาระบบการตรวจสอบและประเมินผล (๒)


ความเสี่ยงมีอยู่เสมอไม่หมดไป แต่ทำอย่างไรให้ความเสี่ยงนั้นลดลงและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

ตอนที่ ๑

หลังพักรับประทานอาหารว่างช่วงเช้า ตามกำหนดการเป็นการเสวนาในประเด็น “บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบฯ และผู้บริหารกับการตรวจสอบและประเมินผล” วิทยากรคือนายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการตรวจสอบและประเมินผล มวล. และนายกฤช ฟอลเล็ต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ธนาคารแห่งประเทศไทย

กิจกรรมค่อนข้างจะเป็นการบรรยายเสียมากกว่า วิทยากรผลัดกันพูด โดยคุณกฤชได้พูดถึง Internal Audit Conceptual Framework ให้เห็นวิวัฒนาการของการตรวจสอบจากแบบโบราณที่ “ความผิดของท่านคืองานของเรา” มาจนถึงปัจจุบันที่มีลักษณะของการเป็นที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การจับผิด

คุณกฤชยังให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างของ มวล. โดยเฉพาะ line การรายงานของหน่วยตรวจสอบภายใน รวมทั้งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยด้วย

นอกจากนี้ก็ให้ความรู้ว่าความเสี่ยงว่าคืออะไร เรื่องหลักๆ มีอะไรบ้าง Inherent risk, Residual risk กล่าวคือความเสี่ยงมีอยู่เสมอไม่หมดไป แต่ทำอย่างไรให้ความเสี่ยงนั้นลดลงและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงแบ่งเป็น ๔ ระดับคือ สูงสุด สูง กลาง และต่ำ ส่วนการบริหารจัดการก็แบ่งเป็น ๓ ระดับคืออ่อน พอใช้ ดี การบริหารความเสี่ยงมีหลายกระบวนการ (ไม่ได้ลงรายละเอียด)

ส่วนที่เหลือกล่าวถึงหน้าที่งานตรวจสอบภายใน หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยตรวจสอบภายใน บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบและผู้บริหารกับการตรวจสอบและประเมินผล  แต่ละฝ่ายมี risk อะไรที่เป็น key concern รวมทั้ง COSO Framework for Enterprise Risk Management (ERM)

คุณนนทพลกล่าวถึงการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลสำหรับสถาบันการศึกษาชั้นสูง ท่านบอกว่าเตรียม PowerPoint เมื่อเช้านี้หลังจากที่ได้คุยกับผู้บริหารของ มวล. เมื่อวาน จึงเป็น PowerPoint ที่ออกมาจากใจ บอกให้รู้ว่าการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลนั้น แต่ละกิจกรรมมี focus อยู่ที่เรื่องใด ตั้งคำถามเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในหลายข้อ

Success factors ของงานตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล ได้แก่
- การจัดองค์กร ให้ความอิสระแก่ผู้ตรวจสอบ
- ผู้บริหารเข้าใจ เห็น และใช้ประโยชน์
- ความร่วมมือจากผู้รับตรวจ
- ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา พูดถึง core competencies เรื่องของความรู้ ทักษะ (ไม่มีรายละเอียด) และคุณลักษณะเฉพาะตัว เช่น ความเป็นคนช่างสังเกต ความอ่อนน้อมถ่อมตัว ไม่อวดเก่ง เป็นต้น


สถาบันการศึกษาพึงประเมินอะไรบ้าง ได้แก่ การบริหารการเงิน การงบประมาณ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเป็นเลิศทางวิชาการ การวิจัยและพัฒนา ระบบงานด้าน IT สำหรับการบริหารมหาวิทยาลัย บริการวิชาการแก่สังคม ท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศชาติ เป็นต้น และบอกว่าถ้าเพิ่มเรื่องกระบวนการเรียนรู้เข้าไปด้วย ก็จะครบตาม Balanced Score Card

ปัญหาที่พบเสมอๆ ได้แก่
- Form ดี Substance ไม่ดี มีแต่รูปแบบ แต่จริงๆ ไม่ function
- มักบอกว่าทำตาม Best practices แต่ในความเป็นจริงปฏิเสธ Best practices
- ความเป็นอิสระไม่พอ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

หมายเลขบันทึก: 164894เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท