หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน....จะปรับอีกแล้ว..นะ..จะบอกให้


หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน....จะปรับอีกแล้ว..นะ..จะบอกให้

         ในช่วงที่ผมเข้าสัมมนาครูดีในดวงใจ.....ผมโชคดี......หรือโชคร้ายก็ไม่รู้......มีโอกาสได้ทราบ....แนวโน้มและทิศทางในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ที่เราใช้กันอยู่....ในปัจจุบัน

        บางคนบอกว่า...หลักสูตรเดิมยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งเลย.....จะปรับ...จะเปลี่ยนกันอีกแล้วหรือ.....แล้วจะปรับอะไร....ปรับเมื่อไหร่

       ผมก็ขอนำมาเล่าเท่าที่ผมพอจับประเด็นได้ก็แล้วกัน

       คำถามที่ ๒ ว่าปรับเมื่อไหร่.....ทราบว่าขณะนี้...คณะผู้ดำเนินงานกำลังร่างเอกสาร...เตรียมให้ประชาพิจารณ์...ผ่านแล้วน่าจะประกาศใช้ในปี พ.ศ.๒๕๕๒

      คณะวิจัยที่เป็นผู้ศึกษา..หาข้อมูลจากโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ๑๔ โรงจาก ๑๓ เขตตรวจราชการ และกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยอาจารย์ภาควิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะผู้เชี่ยวชาญของสพฐ. นักวิชาการกลุ่มพัฒนาหลักสูตร วิจัย ประเมินผล สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

      คณะทำงานได้กำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยจะมีการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ ดังนี้

      ๑. ทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้

      จริงๆแล้วการปรับครั้งนี้เป็นการปรับเพียงรายละเอียดไม่ได้ปรับหลักการ  เพราะหลักสูตรเดิมก็มีมาตรฐานการเรียนรู้อยู่แล้ว แต่ไม่ชัดเจนว่าได้สนองมาตรฐานอย่างไรดังนั้นจึงจะ

      ๑.๑ ปรับมาตรฐานการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น ให้เป็นหลักสูตรที่ " อิงมาตรฐานอย่างแท้จริง" และคำที่สำคัญที่สุดในหลักสูตรคือคำ "มาตรฐาน" นี่เอง

     ๑.๒  จัดทำตัวชี้วัดการบรรลุมาตรฐาน เป็นตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ คือ ป.๑ - ม.๓ แสดงว่าในการศึกษาภาคบังคับ.....จะไม่มีมาตรฐานช่วงชั้นแล้ว แต่จะมีตัวชี้วัดชั้นปีมาแทน ส่วนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.๔-ม.๖) ก็จะมีตัวชี้วัดช่วงชั้นมาแทน

      ๒. จัดทำหลักสูตรแกนกลาง

      ในการจัดทำหลักสูตรแกนกลาง ส่วนกลาง จะกำหนดในเรื่องต่อไปนี้

     ๒.๑ กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งที่จริงที่แล้วๆมาก็เริ่มมีการให้แนวทางไว้ในเอกสารประกอบหลักสูตรอยู่บ้างเช่นหลักสูตรวิชาภาษาไทย  ......แต่ต่อไปนี้คงเป็นการกำหนดอย่างจริงจังมากขึ้น

     ๒.๒ กำหนดโครงสร้างหลักสูตร/เวลาเรียน ในแต่ละกลุ่มสาระวิชาของแต่ละชั้นปี ให้มีแนวปฏิบัติชัดเจนยิ่งขึ้น...ครูจะได้ไม่ต้องมาทะเลาะเพราะแย่งชั่วโมงสอนกันหรือในระยะหลังอาจจะแย่งกันสอนน้อยก็ได้......โดยอาจกำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำให้โรงเรียนปรับลดเพิ่มได้ไม่เกินเพดานที่กำหนดไว้

     ๒.๓ กำหนดเกณฑ์การวัดผลประเมินผลกลาง เช่นจะมีการปรับเรื่องคุณลักษณะ ปรับเกณฑ์การวัดผลต่างๆ กล่าวกันว่า "การปรับครั้งนี้การวัดผลประเมินผลจะเป็นตัวเอก...หรือตัวนำการแสดงทีเดียว"

     ๓. ปรับกระบวนการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

      โดยใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร แบบอิงมาตรฐาน ใช้มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายในการจัดทำหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการรายงานผลการเรียนรู้ นั่นคือเรียนจบหน่วยการเรียนรู้นั้นๆแล้วบรรลุมาตรฐานอะไร ต้องตรวจสอบกลับไปที่มาตรฐาน

     ๔. กำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรให้ชัดเจนได้แก่

     ๔.๑  สพฐ.มีหน้าที่จัดทำหลักสูตรแกนกลาง จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้

     ๔.๒ สพท.(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับท้องถิ่น มีหน้าที่จัดทำกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งบรรจุสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับใช้กับโรงเรียน

     ๔.๓ โรงเรียนมีหน้าที่จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น

     ๕.  พัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร

      คงต้องมีการอบรมพัฒนาบุคลากรทุกระดับ  ให้มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตรกันอีกขนานใหญ่แหละครับ...คอยติดตาม...นะครับถ้าไม่เกษียณเสียก่อน

หมายเลขบันทึก: 164699เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

หวัดดีค่ะอาจารย์

  • ครูๆ อย่างเราก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปงั้นสินะคะ
  • แต่ถ้าปรับแล้วมันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก....ก็น่ายินดีนะคะ
  • กลัวแต่ร่ยการ copy ของนอกตามเคย  โดยไม่เช็คสภาพแวดล้อมท้องถิ่นไทยล่ะค่ะอาจารย์
  • ขอบคุณค่ะ....กับข่าวใหม่ล่าสุด
  • ขอบคุณ...ครูเกศวิไล....มาเยี่ยมเยือน  มาไกล...จากสงขลาที่เดียวครับ
  • ตามระเบียบ.....พัก
  • ตามมาอึ้งๆค่ะ สงสารครู สงสารเด็ก สงสารพ่อแม่ สงสารประเทศชาติ นี่ละหนาคนทำไม่ได้สอน คนสอนไม่ได้ทำ
  • มัวแต่ไปให้ความสำคัญกับสาระ และมาตรฐานจนเกินไป
  • จนหลงหลืมว่าถ้าเด็กยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ในภาษาแม่ของตัวเอง
  • เรื่องอื่นก็ไม่ต้องพูดถึงหรอกค่ะ
  • ขอบคุณ คุณนารี สุวรรณ(ถอดอักษรถูกไหมครับ) ที่แวะมาแสดงความคิดเห็น....ครูเราก็ต้องพัฒนาวิชาชีพต่อไปครับ....ไม่เช่นนั้นถูกยึดใบประกอบวิชาชีพแน่
  • ขอบคุณสำหรับของขวัญที่ส่งให้นะครับ....สวยและมีความหมายมาก
  • ขอบคุณ คุณ Lin Hui มากครับสำหรับความสุขวันวาเลนไทน์ที่มอบให้ ขอความสุขนี้จงยกกำลังสอง...สนองตอบคุณหลินฮุย เช่นกันครับ
  • โชคดีที่ ครูพิสจน์ได้ข้อมูลเรื่องนี้ก่อน
  • จะได้เป็นแกนหลักให้พวกเรา
  • ในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป
  • ที่จริงคณะวิจัยที่ครูพิสูจน์ว่า
  • มานั่งประชุมหารือกันที่ห้องเกียรติยศ
  • ของบางลี่วิทยาเมื่อต้นๆภาคเรียนที่ผ่านมา
  • ขอบคุณท่านผอ.ประจักษ์ครับ...ผมเพียงมีโอกาสดีได้รับทราบข้อมูลมาก่อน..แต่ก็ยังไม่ลึกซึ้งนัก...ถึงวันประกาศใช้คงเข้าใจอะไรดีขึ้น
  • ครูโรงเรียนบางลี่วิทยาเก่งๆกันทั้งนั้นแหละครับ....คงเป็นหลักได้หลายๆคน

- หลักสูตรกับการปรับแก้ดูจะเป็นของคู่กันกับนักการเมือง หรือผู้บริหารกระทรวงศึกษา ใครเข้ามาก็มองหาอาหารชิ้นแรก คือ การปรับแก้หลักสูตร ทุกที เพราะต้องใช้เงินมหาศาลหรือเปล่าหนอ

- หลักสูตรมันเป็นคนเลวนักหรือถึงต้องปรับแก้มันนัก ความจริงมันเป็นเพียงเอกสารที่มีความหนักไว้รอการชั่งกิโลขายมากกว่า การใช้อย่างจริงจัง เพราะคนสร้างก็อาจจะยังไม่รู้จักหลักสูตรด้วยซ้ำไป เพราะหลักสูตรมันไม่ใช่เอกสารเล่มหนาๆ ที่ทุกโรงเรียนต้องหาทุนทรัพย์มาพิมพ์หรือสำเนาเก็บไว้ในตู้จนแน่นเอี๊ยด รอฝุ่นเกาะ และรอให้กระทรวงศึกษาธิการปรับแก้ จะได้ชั่งขาย แล้วพิมพ์หรือสำเนาใหม่มาวางไว้แทน

- แล้วหลักสูตรมันคืออะไรล่ะ?

ลองคิดเล่นๆ ดูนะ คำว่า "หลักสูตร" จะนำมาใช้ หรือเรียกกันเมื่อเกิดเหตุการณ์สองลักษณะ คือ การเรียนการสอน(ชื่อเก่า) การเรียนรู้(พยายามเรียกกันไหม่) และการฝึกอบรม(การหาเงินใช้)

การเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมที่เห็น และเป็นอยู่ ก็คือ การจัดลำดับการถ่ายทอดขึ้ปากของคนๆ หนึ่งให้อีกคนหนึ่งหรือหลายคนฟัง จด เก๋หน่อยก็อาจะเรียกว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นอบรมที่มีการแทรกการปฏิบัติของปากกาบนกระดาษ ของปากกับหูผู้เข้ารับการอบรม หรือบางทีดีหน่อยก็มีการปฏิบัติจริงบ้าง และที่โฆษณาเสียหรูว่า จะเกิดศักยภาพที่เลิศหรู แต่เมื่ออบรมเสร็จก็นำไปทำอะไรไม่ได้ เสียเงินฟรี อาจมีคนโชคดีบางคน เอาไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง ก็นับว่าคุ้มมาทีเดียว

- แล้วหลักสูตรล่ะอยู่ตรงไหน?  เศษกระดาษแผ่นหนึ่ง ที่บอกช่วงเวลา๑ กำหนดชื่อเหตุการณ์หรือเรื่อง๑ และคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า ครู หรือวิทยากร และนักเรียนหรือคนฟังอีก๑ นั่นหรือ คือ "หลักสูตร"

- ถ้าไม่มี คนการเรียนรู้ การฝึกอบรมจะเกิดคำว่าหลักสูตรไหม?  ไม่เลย แล้วสมัยทิศาปาโมกข์ล่ะ เขามีหลักสูตรอยู่ที่ไหน หรือเขาไม่มีหลักสูตร ถ้าไม่มี เขาปฏิบัติเยี่ยงครู หรือวิทยากรได้อย่างไร? และแถมยังเรียกครู อาจารย์ด้วยเช่นกัน

- เมื่อคิดถึงทิศาปาโมกข์ เช่นนี้ "หลักสูตร" จึงน่าจะเป็นเพียง "เหตุการณ์ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสองเรา" (คือ คนที่ถูกเรียกว่า "ครู/อาจารย์" กับคนที่ถูกเรียกว่า "นักเรียน/นักศึกษา/นิสิต" ก็เรียกกันไป ตามอยาก) เพื่อผลประโยชน์อย่างหนึ่ง คือ "สติปัญญา" ในอดีต ซึ่งประกอบด้วยความมีสติ ความสามารถ ความรู้ที่จะใช้ความสามารถที่ได้รับการฝึกปรือมาจากผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "อาจารย์" เพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และเป็น "สมบัติ" ที่ติดอยู่กับอาจารย์ ใครจะเอาไป หรือเคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่ปัจจุบัน กร่อนเหลือเพียง "ความรู้/ความจำ" เท่านั้น หาใช้ประโยชน์อะไรได้ไม่? ต้องคิดดีๆ ก่อนนะ จึงมาแย้งว่า "ใช้ประโยชน์ได้" เพราะเท่าที่เห็น คนงานทุกคนที่ทำงานรับจ้างเขาอยู่ขณะนี้ ได้ใช้ความรู้ความจำที่เล่าเรียนมาบ้างไหม? เปล่าเลย ต้องมาเรียนรู้การทำงานกันใหม่ทั้งนั้น บางแห่งยังไม่ยอมรับเข้าทำงานด้วยเลย ใช่ไหมเอ่ย?

- คนในอดีต เมื่อเรียนรู้แล้วจะมีสติปัญญาสูงกว่า คนสมัยปัจจุบัน

- คนในอดีต เมื่อเรียนรู้แล้วจะมีความสามารถสูงกว่า คนสมัยปัจจุบัน

- คนในอดีต เมื่อเรียนรู้แล้วจะมีความเฉลียว ฉลาดสูงกว่า คนสมัยปัจจุบัน เพราะว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่คนในอดีตทำไว้ คนปัจจุบันไม่มีปัญญาทำได้อย่างนั้นอีกเลย แม้แต่จะรู้เพียงว่า เขาทำอย่างไรก็ยังหมดปัญญา ไม่อาจจะรู้ได้ จริงไหมล่ะ

คราวนี้ ใครอยากจะรู้ว่า อาจารย์แห่งทิศาปาโมกข์เขา อบรมสั่งสอนศิษย์ของเขาอย่างไร จึงได้เก่งหนักหนา ก็ไปลอกเอาของเขามา โดยการจำ ต่อมาก็โดยการเขียน สิ่งที่ได้มาเป็นเพียง "เอกสารหลักสูตร" ไม่ใช่ "หลักสูตร" เพราะหลักสูตรติดอยู่ที่ตัวอาจารย์ทิศาปาโมกข์โน่น

ดังนั้น

- การปรับหลักสูตร จึงน่าจะเป็นการปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ของคนหนึ่ง ที่จัดให้กับอีกคนหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้เขาเกิด "สติปัญญา" ไม่ใช่ความรู้ความจำเยี่ยงปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า พัฒนาศักยภาพของครู ให้สามารถกระตุ้นให้คนเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ลึกซื้ง ต่อเนื่อง ยาวนาน ด้วยกระบวนการ วิธีการกระทำของเขาเอง และเมื่อสิ้นสุดการกระทำ หรือยังไม่สิ้นสุดก็เป็นได้ เขาจะรู้เอง ว่าเขากำลังทำอะไร ได้อะไร รู้อะไร ดีตรงไหน ตรงใดไม่ดี จะแก้ไขอย่างไร? จากนั้นเขาก็จะแก้ไขจนได้สิ่งที่ดีที่สุดตามที่เขาต้องการ

- กระบวนการ วิธีการปฏิบัติของเขา ถือว่า เป็นหลักสูตร อยากรู้ว่าเขาทำอย่างไร ก็ต้องให้เขาเล่าให้ฟัง หรือเขียนออกมาเป็นเอกสารหลักสูตร

อย่าหลงงมงายกับการพัฒนาเอกสารหลักสูตรเพื่อหาเงินใช้กันอยู่เลย โปรดสงสารประเทศชาติเถอะ ช่วยสงเคราะห์ครู ให้สามารถจัดการกับการกระตุ้นให้นักเรียนของเขาได้เรียนรู้ ตามที่เขาสนใจหรือถนัด ด้วยความสมัครใจของเขา เพื่อให้เขาได้เรียนรู้จากการกระทำของเขาเอง น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากกว่า

- หรือไม่ได้ ต้องปรับหลักสูตร เท่านั้น

เพราะการทำให้กระดาษเปื้อนหมึก มีราคาที่ย้อนกลับสูงกว่า ทำครูให้มีศักยภาพในการพัฒนานักเรียน ซึ่งจะพลาดเสียไม่ได้

-ถ้าเช่นนั้น ก็ขอแสดงความเสียใจกับประเทศไทย

 

 

 

 

 

- หลักสูตรกับการปรับแก้ดูจะเป็นของคู่กันกับนักการเมือง หรือผู้บริหารกระทรวงศึกษา ใครเข้ามาก็มองหาอาหารชิ้นแรก คือ การปรับแก้หลักสูตร ทุกที เพราะต้องใช้เงินมหาศาลหรือเปล่าหนอ

- หลักสูตรมันเป็นคนเลวนักหรือถึงต้องปรับแก้มันนัก ความจริงมันเป็นเพียงเอกสารที่มีความหนักไว้รอการชั่งกิโลขายมากกว่า การใช้อย่างจริงจัง เพราะคนสร้างก็อาจจะยังไม่รู้จักหลักสูตรด้วยซ้ำไป เพราะหลักสูตรมันไม่ใช่เอกสารเล่มหนาๆ ที่ทุกโรงเรียนต้องหาทุนทรัพย์มาพิมพ์หรือสำเนาเก็บไว้ในตู้จนแน่นเอี๊ยด รอฝุ่นเกาะ และรอให้กระทรวงศึกษาธิการปรับแก้ จะได้ชั่งขาย แล้วพิมพ์หรือสำเนาใหม่มาวางไว้แทน

- แล้วหลักสูตรมันคืออะไรล่ะ?

ลองคิดเล่นๆ ดูนะ คำว่า "หลักสูตร" จะนำมาใช้ หรือเรียกกันเมื่อเกิดเหตุการณ์สองลักษณะ คือ การเรียนการสอน(ชื่อเก่า) การเรียนรู้(พยายามเรียกกันไหม่) และการฝึกอบรม(การหาเงินใช้)

การเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมที่เห็น และเป็นอยู่ ก็คือ การจัดลำดับการถ่ายทอดขึ้ปากของคนๆ หนึ่งให้อีกคนหนึ่งหรือหลายคนฟัง จด เก๋หน่อยก็อาจะเรียกว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นอบรมที่มีการแทรกการปฏิบัติของปากกาบนกระดาษ ของปากกับหูผู้เข้ารับการอบรม หรือบางทีดีหน่อยก็มีการปฏิบัติจริงบ้าง และที่โฆษณาเสียหรูว่า จะเกิดศักยภาพที่เลิศหรู แต่เมื่ออบรมเสร็จก็นำไปทำอะไรไม่ได้ เสียเงินฟรี อาจมีคนโชคดีบางคน เอาไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง ก็นับว่าคุ้มมาทีเดียว

- แล้วหลักสูตรล่ะอยู่ตรงไหน?  เศษกระดาษแผ่นหนึ่ง ที่บอกช่วงเวลา๑ กำหนดชื่อเหตุการณ์หรือเรื่อง๑ และคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า ครู หรือวิทยากร และนักเรียนหรือคนฟังอีก๑ นั่นหรือ คือ "หลักสูตร"

- ถ้าไม่มี คนการเรียนรู้ การฝึกอบรมจะเกิดคำว่าหลักสูตรไหม?  ไม่เลย แล้วสมัยทิศาปาโมกข์ล่ะ เขามีหลักสูตรอยู่ที่ไหน หรือเขาไม่มีหลักสูตร ถ้าไม่มี เขาปฏิบัติเยี่ยงครู หรือวิทยากรได้อย่างไร? และแถมยังเรียกครู อาจารย์ด้วยเช่นกัน

- เมื่อคิดถึงทิศาปาโมกข์ เช่นนี้ "หลักสูตร" จึงน่าจะเป็นเพียง "เหตุการณ์ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสองเรา" (คือ คนที่ถูกเรียกว่า "ครู/อาจารย์" กับคนที่ถูกเรียกว่า "นักเรียน/นักศึกษา/นิสิต" ก็เรียกกันไป ตามอยาก) เพื่อผลประโยชน์อย่างหนึ่ง คือ "สติปัญญา" ในอดีต ซึ่งประกอบด้วยความมีสติ ความสามารถ ความรู้ที่จะใช้ความสามารถที่ได้รับการฝึกปรือมาจากผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "อาจารย์" เพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และเป็น "สมบัติ" ที่ติดอยู่กับอาจารย์ ใครจะเอาไป หรือเคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่ปัจจุบัน กร่อนเหลือเพียง "ความรู้/ความจำ" เท่านั้น หาใช้ประโยชน์อะไรได้ไม่? ต้องคิดดีๆ ก่อนนะ จึงมาแย้งว่า "ใช้ประโยชน์ได้" เพราะเท่าที่เห็น คนงานทุกคนที่ทำงานรับจ้างเขาอยู่ขณะนี้ ได้ใช้ความรู้ความจำที่เล่าเรียนมาบ้างไหม? เปล่าเลย ต้องมาเรียนรู้การทำงานกันใหม่ทั้งนั้น บางแห่งยังไม่ยอมรับเข้าทำงานด้วยเลย ใช่ไหมเอ่ย?

- คนในอดีต เมื่อเรียนรู้แล้วจะมีสติปัญญาสูงกว่า คนสมัยปัจจุบัน

- คนในอดีต เมื่อเรียนรู้แล้วจะมีความสามารถสูงกว่า คนสมัยปัจจุบัน

- คนในอดีต เมื่อเรียนรู้แล้วจะมีความเฉลียว ฉลาดสูงกว่า คนสมัยปัจจุบัน เพราะว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่คนในอดีตทำไว้ คนปัจจุบันไม่มีปัญญาทำได้อย่างนั้นอีกเลย แม้แต่จะรู้เพียงว่า เขาทำอย่างไรก็ยังหมดปัญญา ไม่อาจจะรู้ได้ จริงไหมล่ะ

คราวนี้ ใครอยากจะรู้ว่า อาจารย์แห่งทิศาปาโมกข์เขา อบรมสั่งสอนศิษย์ของเขาอย่างไร จึงได้เก่งหนักหนา ก็ไปลอกเอาของเขามา โดยการจำ ต่อมาก็โดยการเขียน สิ่งที่ได้มาเป็นเพียง "เอกสารหลักสูตร" ไม่ใช่ "หลักสูตร" เพราะหลักสูตรติดอยู่ที่ตัวอาจารย์ทิศาปาโมกข์โน่น

ดังนั้น

- การปรับหลักสูตร จึงน่าจะเป็นการปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ของคนหนึ่ง ที่จัดให้กับอีกคนหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้เขาเกิด "สติปัญญา" ไม่ใช่ความรู้ความจำเยี่ยงปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า พัฒนาศักยภาพของครู ให้สามารถกระตุ้นให้คนเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ลึกซื้ง ต่อเนื่อง ยาวนาน ด้วยกระบวนการ วิธีการกระทำของเขาเอง และเมื่อสิ้นสุดการกระทำ หรือยังไม่สิ้นสุดก็เป็นได้ เขาจะรู้เอง ว่าเขากำลังทำอะไร ได้อะไร รู้อะไร ดีตรงไหน ตรงใดไม่ดี จะแก้ไขอย่างไร? จากนั้นเขาก็จะแก้ไขจนได้สิ่งที่ดีที่สุดตามที่เขาต้องการ

- กระบวนการ วิธีการปฏิบัติของเขา ถือว่า เป็นหลักสูตร อยากรู้ว่าเขาทำอย่างไร ก็ต้องให้เขาเล่าให้ฟัง หรือเขียนออกมาเป็นเอกสารหลักสูตร

อย่าหลงงมงายกับการพัฒนาเอกสารหลักสูตรเพื่อหาเงินใช้กันอยู่เลย โปรดสงสารประเทศชาติบ้างเถอะ ช่วยสงเคราะห์ครู ให้สามารถจัดการกับการกระตุ้นให้นักเรียนของเขาได้เรียนรู้ ตามที่เขาสนใจหรือถนัด ด้วยความสมัครใจของเขา เพื่อให้เขาได้เรียนรู้จากการกระทำของเขาเองอย่างสูงสุด น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากกว่า

- หรือ ไม่ได้!!! ต้องปรับหลักสูตร เท่านั้น

- หรือการทำให้กระดาษเปื้อนหมึก มีราคาที่ย้อนกลับสูงกว่า ทำครูให้มีศักยภาพในการพัฒนานักเรียน

- ซึ่งจะพลาดเสียไม่ได้

- การปรับหลักสูตรที่เป็นเพียงการแก้เอกสาร ไม่ทำให้ครูไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหร็อก แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้น คือ ค่าใช้จ่ายอันมหาศาลของรัฐ ซึ่งอภิโปรเจกต์เท่าไรก็น่าพิศมัยเท่านั้น

ถึงเวลาต้องถอนทุนคืนแล้ว

-ถ้าเช่นนั้น ก็ขอแสดงความเสียใจกับประเทศไทย

  • ขอบคุณ ท่านผู้สนใจที่ได้สละเวลา มาต่อยอดให้ความรู้ให้ความคิด แนวคิดของท่านน่าสนใจ..จริงๆครับ
  • หลักสูตร ตามประสาของนักวิชาการ เห็นเขาก็บอกว่า...เป็นมวลประสบการณ์ทั้งหลายที่เขาต้องการจัดให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามที่มุ่งหวัง...แหละครับ
  • ขอบคุณอีกครั้ง...และคิดว่าคงเป็นประโยชน์..และเป็นข้อคิดสะกิดใจ..แก่ผู้อ่านครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท