รู้จักโอเพนซอร์ส (open source)


โอเพนซอร์ส คือ ซอฟต์แวร์ ที่สามารถนำไป ใช้งาน ศึกษา แก้ไข และ เผยแพร่ (ไม่ว่าจะแก้ไขหรือไม่ ไม่ว่าจะคิดราคาหรือไม่)
 บันทึกนี้เพื่อการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมประเภท  โอเพนซอร์ส (open source)และ ฟรีแวร์ (free ware)เพื่อนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนนักเรียนครับ
โอเพนซอร์ส คือ อะไร
    โอเพนซอร์ส คือ ซอฟต์แวร์ ที่สามารถนำไป ใช้งาน ศึกษา แก้ไข และ เผยแพร่ (ไม่ว่าจะแก้ไขหรือไม่ ไม่ว่าจะคิดราคาหรือไม่) ได้อย่างเสรี ปราศจากเงื่อนไขเพิ่มเติม (เช่นคิดค่า license หรือต้องเซ็นสัญญาพิเศษ) การพัฒนา ที่เปิดเผยซอร์สโค้ด (รหัสต้นฉบับ) ให้สาธารณะนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทำให้เกิดการร่วมมือกันทำงานอย่างไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

!ข้อสังเกต
- คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และซอฟต์แวร์เสรี มีความหมายเดียวกัน และใช้แทนกันได้
- หลักการทั้งหมดบังคับด้วยเงื่อนไขที่ชัดเจนของ license ที่เรียกว่า open-source license (เช่น GPL, BSD) การจะเป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สหรือไม่ ดูได้อย่างชัดเจนจาก license ที่ใช้ว่าตรงตามเกณฑ์ข้างต้นหรือไม
- เงื่อนไขในการต้องเปิดให้ศึกษาและแก้ไขได้อย่างเสรี ทำให้ต้องเปิดโอกาสให้เข้าถึงซอร์สโค้ดไปกับการเผยแพร่เสมอ
- ผู้ที่ได้รับซอฟต์แวร์ตาม license นั้นไปจะได้รับสิทธิข้างต้นไปทั้งหมด เช่นสามารถนำไปลงกี่เครื่องก็ได้ หรือทำซ้ำกี่ชุดเพื่อการใช้งานหรือขายก็ได้ หรือปรับปรุงแล้วเผยแพร่ต่อไปก็ได้
ที่มา http://opensource.thai.net
ข้อดีของซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส  OSS (Open Source Software)
 
     1.ลดค่าใช้จ่ายจากค่าลิขสิทธิ์ซอฟแวร์
     2.ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้
     3.เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้
     4.เปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะของโปรแกรมเมอร์ไทย
      5.ลดความเสี่ยงที่จะใช้ ซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ ซึ่งทาง สภาฯ ได้มีข้อตกลงในเบื้องต้นกับทาง ซีป้า ใจความว่า ทางสภาฯ จะทำการพลักดันให้ร้านอินเตอร์เน็ตและเกม มีซอฟต์แวรโอเพนซอร์ส ใช้ทุกเครื่องภายในร้าน อย่างน้อย ร้าน ละ 1 โปรแกรม  เพื่อเป็นการต่อยอด การเรียนรู้ของเยาวชนไทยให้ ใช้ซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส มากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน
      ประมาณการไว้ว่า ในเวลา 5 ปี ท่านสมาชิกของสภาฯ จะใช้โปรแกรม ซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส ในอย่างคล่อง และ สมารถ สอนการใช้ให้กับเด็กรุ่นใหม่ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณ ของร้านสมาชิกเอง รวมถึงประหยัดไม่ให้เงินตรารั่วไหลออกต่างประเทศ

ใครบ้างที่ใช้ ซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส   OSS (Open Source Software)

ปัจจุบันมีการนำเอา  ซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส   OSS (Open Source Software) เข้าไปใช้ในองค์กร โดยทั่วไป โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ ที่จะมีค่าใช้จ่ายสูงๆ ในการซื้อไลเซนต์ จึงหันมาให้ความสนใจใช้ OSS มากขึ้น ขออนุญาต ยกตัวอย่าง เช่น

       1.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย *
     รายนี้ใช้มานานครับ ประสบความสำเร็จในระดับที่ดีมากๆ

        2.สวทช.*   
     รายนี้เป็นการใช้งานแบบ 100% ใน NECTEC ซึ่งเป็นศูนย์หนึ่งใน สวชท. ซึ่งกำลังพยายามทำให้พนักงานใช้ OpenOffice.org มากขึ้น
 


        3.การบินไทย*
     รายนี้สนใจที่จะใช้ OSS ตัวง่ายๆ ที่ไม่กระทบต่อการทำงานในองค์กร อย่างเช่น 7-zip, PDFCreator, Freemind, FireFox ซึ่งได้ทำการสำรวจแล้วว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้ดีมากกว่าซอฟต์แวร์ที่เสียเงิน ที่เดิมใช้อยู่ และเปลี่ยนมาใช้โดยไม่มีผลกระทบใดๆ

       4.องค์การเภสัชกรรม*   
     รายนี้ยังไม่ลงตัวในองค์กร แต่พนักงานส่วนใหญ่ในองค์กรชอบใจและให้ความสนใจกันมาก เข้าใจว่าเป็นเพราะทีม  IT ส่วนหนึ่งสนใจเรื่อง OSS และเริ่มนำเข้ามาใช้ในองค์กรตั้งแต่ ปลาดาว และ ออฟฟิศทะเล ปัจจุบันทีมงานนี้ และ พนักงานให้ความสนใจกับ OpenOffice.org อย่างมาก และยังมีที่สนใจกำลังนำเข้าไปใช้ หรือ กำลังอยู่ในช่วงประเมินผลกระทบอยู่ และยังมีที่ใช้โดยที่ผมได้ยินมาแต่ยังไม่ได้เข้าไปเก็บข้อมูลอีกเยอะ ซึ่ง จริงๆ แล้วโดยปกติ บริษัทหรือหน่วยงานหลายๆ ที่ก็ใช้ OSS อยู่โดยไม่รู้ตัว หรือ โดยที่พนักงานก็ใช้ OSS อยู่โดยไม่ทราบอยู่แล้วน่ะครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น Apace, Sendmail, Linux Server

        5.ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านเกมส์
   หลายร้านได้ ลงโปรแกรม  OpenOffice.org โดยที่ท่านนำมาใช้ แทน MS Office แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในบางคำสั่ง สภาฯ icct-th.com สื่อกลาง ช่วยส่งเสริมให้ ร้านสมาชิกใช้ ซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส   OSS (Open Source Software) ได้อย่าแพร่หลาย มาก ยิ่งๆขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
 
แหล่งข้อมูล http://www.icct-th.com 
 
        โอเพนซอร์ส หรือ โอเพนซอร์ซ (open source) คือการพัฒนาระบบใดระบบหนึ่งทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วยเงื่อนไขที่ผู้สร้างสรรค์หรือ ผู้คิดค้นไม่ถือเอาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการพัฒนาระบบนั้นๆ พร้อมทั้งเปิดเผยแหล่งต้นกำเนิดของระบบนั้น เช่น source code หรือความเป็นมาทางด้านเทคนิคของการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นๆไปพัฒนาได้ต่อไป โดยมีเงื่อนไขทางกฎหมายบางประเภท เช่น GPL, BSD, OSL, AFL เป็นต้น
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (open source software - OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดเเผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยี่ของซอฟท์แวรฺนั้นให้ บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและ เผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (source code) ได้ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น GPL License หรือ BSDLicenseซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดโดยกลุ่มผู้กำหนดโอเพ่นซอร์ส[1][2]ที่วางข้อกำหนดคำนิยาม 10 ประการในการกำหนดว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวกับโอเพ่นซอร์ส คือ
  1. เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดผู้หนึ่งผู้ใดในการจำหน่ายหรือการจ่ายแจกซอฟต์แวร์ ให้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์แบบแยกส่วนที่ประกอบด้วยซอฟต์แวร์จากหลาหลาย แหล่ง และจะต้องไม่มีข้อกำหนดใดๆที่เกี่ยวกันกับค่าใช้สิทธิหรือค่าสิทธิใดๆในการจำหน่ายซอฟต์ แวร์นั้น กล่าวคือให้มีการจ่ายแจกได้อย่างไม่มีการคิดค่าตอบแทน
  2. โปรแกรมนั้นจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ source codeและจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับ (source code) ได้เช่นเดียวกันกับโปรแกรมที่อยู่ในรูปของการแปลงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว โดยหากแม้ไม่สามารถนำสินค้านั้นแจกจ่ายได้พร้อมโปรแกรมต้นฉบับ (source code) ก็จำต้องแหล่งแห่งที่อันเป็นสาธารณะที่สามารถเข้าถึงโปรแกรมต้นฉบับ ซอร์สโค้ดได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอื่นใด ทั้งนี้โปรแกรมต้นฉบับ (source code) นั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบที่นักโปรแกรมสามารถที่จะแก้ไขได้โดยจำต้องปราศจากซึ่ง การเขียนโปรแกรมต้นฉบับในลักษณะที่เป็นการสับสนโดยเจตนา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะของโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมต้นฉบับที่จำต้องมีตัว แปลภาษาเฉพาะ (translator) หรือมีส่วนที่ต้องนำเข้าสู่โปรแกรมในรูปแบบของโปรแกรมที่แปลงสภาพแล้ว (preprocessor)
  3. เงื่อนไขจะต้องยินยอมให้สามารถทำการพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายแจกเช่นเดียวกันกับเงื่อนไขของโปรแกรมฉบับเริ่มต้น
  4. เงื่อนไขอาจจะวางข้อกำหนดในการจำกัดเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (source code) ฉบับที่แก้ไขแล้วได้ต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้ยินยอมให้มีการแจกจ่าย patch file พร้อมโปรแกรมต้นฉบับเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโปรแกรมนั้นในเวลาทำการสร้างโปรแกรม ทั้งเงื่อนไขจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมนั้นที่ได้รับการแก้ไขโปรแกรมต้น ฉบับได้ แต่เงื่อนไขนั้นอาจจะกำหนดให้โปรแกรมฉบับต่อยอดใช้ชื่อที่แตกต่างหรือใช้รุ่นที่ แตกต่างจากโปรแกรมฉบับเริ่มต้นก็ได้
  5. เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดๆ
  6. เงื่อนไขต้องไม่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอันเป็นการเฉพาะ
  7. เงื่อนไขที่กำหนดจะต้องใช้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น
  8. สิทธิใดๆของโปรแกรมนั้นจะต้องไม่มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงกับสินค้าหนึ่งสินค้าใด
  9. เงื่อนไขต้องไม่กำหนดอันเกี่ยวกับข้อจำกัดในการใช้ร่วมกันกับโปรแกรมอื่น เช่นกำหนดให้ต้องใช้โปรแกรมดังกล่าวกับโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สเท่านั้น
  10. ต้องไม่มีข้อกำหนดใดๆในเงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้เทคโนโลยี่ของใครหรือเทคโนโลยี่แบบใดเป็นการเฉพาะ
 
ฟรีแวร์
ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย [1] (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
ฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาต
แหล่งข้อมูล http://th.wikipedia.org/
แหล่งข้อมูลอื่น
 
หมายเลขบันทึก: 163907เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2014 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท