อนุทินส่วนตัว ๕ ก.พ. ๕๑


ภาษาต่างประเทศ
         ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนและความต้องการภาษาต่างประเทศในประเทศไทยโดย ศ. ดร. ปราณี กุลละวณิชย์,  รศ. ดร. เอนก กิมสุวรรณ,  ผศ. ดร. ปรารถนา กาลเนาวกุล,  ผศ. ดร. เยาวลักษณ์ อภิชาติวัลลภ, รศ. ดร. สุวาณี สุรเสียงสังข์
ISBN 987-974-9990-83-4 
         เป็นผลงานวิจัยเพื่อสร้างความรู้ในภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนและความต้องการภาษาต่างประเทศในประเทศไทย     ซึ่งเป็นความรู้ที่มีประโยชน์    แต่ไม่ค่อยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง     ถ้าจะทำวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ควรใช้วิธีการวิจัยอีกแบบหนึ่ง ซึ่งผมเรียกว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาโดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ
เรื่องนี้จะแยกไปบันทึกต่างหาก ในหัวข้อ การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ

มองต่างมุม
         มีคนส่งหนังสือ A Coup for the Rich เขียนโดย รศ. ใจ อึ๊งภากรณ์ มาให้     ผมชอบการมองต่างมุมอยู่แล้ว     จึงอ่านด้วยความสนใจ    อ่านแบบไม่เถียงแต่ก็ไม่เชื่อ    และผมก็เห็นต่างจาก อ. ใจ หลายเรื่อง เช่น เรื่องการออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัย ผมไม่มองว่าเป็น privatization     ผมไม่มองว่าคนที่เข้าไปเป็น ครม. ชุดขิงแก่เป็นพวก pro rich และรังเกียจคนจน ผมไม่มองว่าคนที่สนับสนุนคณะปฏิรูปที่ล้มรัฐบาลทักษิณ ว่าเป็นคนที่รังเกียจคนจน   เป็นต้น   ข้อมูล และข้อเขียนหลายอย่าง ให้มุมมองใหม่สำหรับผม     ซึ่งชอบสอนตัวเองให้มองหลายๆ มุม    เพื่อเข้าใจมายาต่างๆ ได้ดีขึ้น   โดยเฉพาะการต่อสู้ระหว่างฝ่าย autonomist, ฝ่าย neo-liberalst, post-modernist, third way reformist  

สสส. คณะ ๓
         ทพ. กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ กลับมาจากเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี     มาคุยเรื่องทั่วๆ ไปของ สสส.     เราคุยเรื่องทั่วๆ ไปด้วย : ความอ่อนแอของระบบราชการ ไม่เป็นมืออาชีพ    กระบวนการตัดสินใจของ ครม. ที่ต้องรอผลการเวียนถามหน่วยงาน และ รมต. ไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
         ผมเล่าความในใจเรื่อง การจัดการ potential CoI, การจัดให้มี CoI code of conduct, Governance Committee & Governance code of conduct.     ข้อสังเกตผลงานของ สสส. ด้านการสร้างระบบสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน     และการสร้างระบบนี้ในอนาคต    เรื่อง granting agency mentality  vs  partnership mentality    เรื่องการจัดการ และ staffing ของสำนัก ๓
คุยกันเรื่องความสำเร็จในวิธีทำงานแบบ partnership ของงานด้านเด็ก & เยาวชน ที่มีการทำงานแบบเครือข่าย ได้ คข. ผู้บริโภค  คข. ผู้โฆษณา   คข. ครอบครัว  ฯลฯ มาร่วมเป็นภาคีทำงาน ไม่ใช่ granting     ได้รับการยอมรับจากหน่วยราชการ  ชุมชน  และนักวิชาการสูงมาก    ตัวอย่างงานที่มีผลเชิงระบบ เช่น TV rating    การโฆษณาขนมเด็ก

โบราณคดีชุมชน
         พิธีเปิดแหล่งโบราณคดีและนิทรรศการ “มาจาก (คนละ) ฟากฟ้าของเพิงผา”  ๒ แหล่ง จาก ๒ โครงการคือ (1) Archeological Heritage Management at Ban Rai  (2) Tham Lod Rockshelter    ที่ อ. ปางมะผ้า  จ. แม่ฮ่องสอน    วันที่ ๑๕ ก.พ. ๕๑ ที่แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสอง
         รศ. ดร. รัศมี ชูทรงเดช (http://highland.trf.or.th) มี จม. เชิญ แต่ไปร่วมไม่ได้

ประเมิน KM
         คุณมนต์ชัย พินิจจิตสมุทร ผู้จัดการสำนักงาน  วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย  EITCBO (Engineering Institute of Thailand Certify Body Office) มา ลปรร. ที่ สคส.   ให้บริการ certify ISO 9000   เป็นการ certify 3 ปี    มีการ audit ระหว่างปี ดูผล ดูกระบวนการ หา non-conforming

KM Assessment  ซับซ้อนกว่ามาก
   • การสำรวจ
   • การประเมิน

กระบวนการ
   • สร้างเกณฑ์     เช่น ๑๐ เกณฑ์ของ KM Inside
   • เยี่ยมสำรวจ
   • ตัดสินตามเกณฑ์ที่กำหนด   รายงานด้วย spider web/Radar Chart     มี minimum requirement
   • Benchmark กับตัวเอง
                 
การสร้างกระแส
    เพื่อให้เกิด demand

เป้าหมายของการประเมิน
   • เพื่อ certify  หรือ
   • เพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้

             Certification
             เวลานี้เน้นการให้คำแนะนำ เพื่อการพัฒนา
             Certification = เข้า minimum requirement  ยังมีทางปรับปรุงต่อไปอีก     มอง dynamic
             เป็นการสำรวจระบบ

เริ่มจาก output/outcome ที่ดี    แล้วสาวไปหาที่มาของ outcome นั้น 
           
ประเมิน
   • การใช้เครื่องมือ KM
   • ระบบการเรียนรู้  วัฒนธรรมการเรียนรู้
   • การ ปป. ที่เกิดขึ้น
               - งาน
               - พฤติกรรมของคน
               - HRD การเรียนรู้ของคน  - เป็นการ audit ระบบ HRD    ไม่ใช่ประเมินการเรียนรู้ของตัวบุคคล   

การวินิจฉัย/ตรวจสุขภาพขององค์กรในเชิงความมั่นคงของธุรกิจ
               - สสท.
               - อจ. นิด้า  

           การประเมินการเรียนรู้นี้น่าจะใช้ใน IOCS ช่วงเดือนที่ ๔     ให้ช่วยกันคิดเกณฑ์  ใช้ประเมินองค์กรของตนเอง หรืออาจผลัดกันประเมิน

หมายเลขบันทึก: 163649เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 03:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท