20. ออสโตรเอเชียติก


มีอะไรที่อินเดียไม่กล้าทำบ้าง

การประชุมนานาชาติออสโตรเอเชียติกวันที่ 2

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 เป็นวันที่สองของการประชุม ฉันตื่นแต่เช้าเพราะ

เมื่อคืนหลับสนิท  อากาศหนาว มีหมอกจางๆ วันนี้แต่งตัวเสร็จไปเดินเล่น

ด้านนอกเส้นทางเดิมที่เดินในวันแรก เห็นผู้คนสัญจรไปมาเพราะได้เวลากลับ

จากการออกกำลังกายบ้าง ได้เวลาเดินทางไปทำงานบ้าง  แต่คนยังไม่มาก

ฉันเดินไปไม่ไกลก็กลับมาได้เวลาอาหารเช้า ทานไปคุยกันไปตามเดิม

ทานเสร็จไปเอาสมบัติที่ห้อง ออกมารอขึ้นรถ เช้าก่อนเข้าห้องประชุม

มีการถ่ายรูปหมู่ไว้เป็นที่ระลึก การประชุมวันที่สองก็มีผู้เสนองานทั้งชาว

อินเดีย ชาวต่างประเทศ และกลุ่มชาติพันธุ์คาศีและมุนดา น่าสนใจดี

พวกนี้เป็นคริสต์ ได้รียนหนังสือสูงๆ พูดภาษาอังกฤษดีและคล่องมาก

ฉันฝากตั๋วเครื่องบินให้น้องนักศึกษาไทยไปช่วยยืนยันให้ด้วย อินเดียน

แอร์ไลนส์ควรยืนยันการเดินทางทุกครั้ง แกบอกพรุ่งนี้สายๆ จะเอามาให้

ในช่วงทานอาหารเที่ยง มี business meeting ผู้เข้าประชุมมี 9 คน

จากหลายๆ ประเทศสำหรับหารือกันว่าใครจะรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ครั้งต่อไป ฉันกับ Dr. Doug เสนอตัวจะร่วมกันเป็นเจ้าภาพในปี 2009

แต่ยังไม่กำหนดเดือนหลังจากนั้นอีกสองปีนักวิชาการชาวคาศีจะ

จัดที่เมือง Shillong อีสานของอินเดีย เสร็จแล้วพวกเราไปทานข้าว  

มีการเวียนถามกันว่าใครจะสั่งรูปหมู่บ้าง ชำระเงิน 90 รูปีต่อหนึ่งภาพ

ฉันสั่งพร้อมทั้งจ่ายให้น้องคนไทยสองคนด้วย

ตอนบ่ายๆ น้องคนไทยพาไปซื้อหนังสือในเมืองซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวิทยาลัย

โอ้โฮ ตัวเมืองที่พาไปน้องๆ เชียงใหม่กระมัง มีร้านอาหารจานด่วน

หลายร้าน อย่างนี้ถูกรสนิยมนักศึกษาไทยแน่นอน น้องพาไปเลือกซื้อ

หนังสือสองร้าน ฉันซื้อได้หอบใหญ่ๆ เสร็จแล้วพาไปร้านขายสาหรี

เพราะฉันอยากซื้อไปฝาก Dr. P พี่สาวเจ้าของบ้านที่เชนไน ร้านบางร้าน

ยังปิดพักตอนบ่าย แต่มีหลายร้านเปิดอยู่ ฉันไปเลือกๆ ดูก็ได้สีและลายที่

ถูกใจซื้อให้พี่หนึ่งชิ้น แวะไปอีกร้านซื้อให้ตัวเองสองชิ้นเป็นผ้าที่ผลิตที่ปูเน

กะจะเอามาตัดชุดเสื้อกางเกงผ้าพาดบ่าแบบสาวแขกใส่ (จนป่านนี้ยัง

ไม่ได้ตัดเลย) เสร็จแล้วเรียกรถตุ๊กนั่งกลับ ฝากของไว้ที่ห้องพักนักศึกษา

ของน้องคนไทยเพราะพรุ่งนี้ก็ต้องเอากระเป๋ามาที่นี่ จากนั้นเราก็เข้าไป

นั่งฟังเขาเสนองานที่ห้องประชุมกันต่อ จนเลิก นั่งรถกลับที่พัก มืดอีก

ตามเคย กลับไปห้องพักก่อน ปรากฎว่าน้องๆ มาเคาะประตูหอบสัมภาระ

ที่ฝากไว้มาให้ ขอบคุณมากจะได้อัดลงกระเป่าเลย

            พวกเราไปทานอาหารเย็นกัน วันนี้มหาวิทยาลัยปูเนเป็นเจ้าภาพ

อาหารคงสั่งมาจากภัตตาคาร เมนูก็ต่างออกไป อร่อยดี ทานได้เหมือน

เช่นเคย ตบท้ายด้วยโยเกิร์ต เสร็จแล้วก็เดินออกมาส่งเพื่อนๆ กลับไป

ที่พักในเมือง วันนี้น้องคนไทยให้ยืมใช้โทรศัพท์แต่ฉันเติมเงินเอง แกมีสอง

เครื่อง แต่ในหมาวิทยาลัยนี้ไม่มีสัญญาณถ้าพูดในอาคาร ฉันต้องออกมา

เดินที่ลานหน้าอาคารโล่งๆ เพื่อหาสัญญาณ คุยกับเพื่อนๆ ได้ ฉันได้โทร.

กลับบ้านด้วย เสร็จแล้วกลับห้องพัก เปลี่ยนเสื้อผ้า เขียนบันทึก จัดกระเป๋า

เข้านอน

            ข้อสังเกตที่ฉันเห็นได้จากการไปร่วมประชุมคือนักวิชาการอินเดียมีความกล้าที่จะจัดการประชุมนานาชาติ เขาเห็นเป็นเรื่องธรรมดา สังเกตเห็นว่าการประชุมสำคัญๆ ทางวิชาการของโลกทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์นั้นมีกำเนิดจากประเทศอินเดีย เช่น การประชุม Thai Studies Conference, Austroasiatic Linguistics Conference, South and Southeast Asian Association for the Study of Culture and Religion (SSEASR) Conference เป็นต้น สถาบันการศึกษาในเมืองไทยไม่ใช่ทุกแห่งที่จะมีประสบการณ์การจัดการประชุมนานาชาติ ดังนั้น น่าคิดว่าเราจะอยู่ในระดับไหนของเวทีโลก ไม่ว่าจะเป็นการด้า ธุรกิจ การศึกษา วิชาการ ฯลฯ

------------------

ขอเรียนเชิญท่านที่สนใจเรื่องราวของอินเดียที่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ขณะนี้สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษารอบสอง หลักสูตรอินเดียศึกษา ระหว่างวันนี้ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2551 กรุณาสมัครด่วน ท่านอาจจะได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ประเทศอินเดีย หากมีผลการเรียนในระดับปริญญาโทดี

หมายเลขบันทึก: 163372เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์โสภนาครับ

เห็นด้วยครับว่านักวิชาการอินเดียมีความกล้าที่จะจัดประชุมระหว่างประเทศ

ผมว่าเขาสอนกันมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ระดับโรงเรียนมัธยม ก็สามารถจัดเทศกาลนานาชาติได้สบายๆ

เมื่อไม่มีปัญหาเรื่องภาษาและภูมิใจกับวัฒนธรรมของตนเอง ก็มีความอาจหาญที่จะท้าทายกับต่างชาติครับ

 

เรียน คุณพลเดช ที่เคารพ

       ขอบคุณค่ะสำหรับความเห็น คนไทยถูกเลี้ยงดูแบบ home oriented คือมีความสุข ความพอใจอยู่ที่บ้านเรา (ประเทศเรา) เท่านั้น ไม่ขวนขวายที่จะไปแสดงตัวกับโลกภายนอก อยู่ไหนก็เงียบไม่แสดงความคิดเห็น ไม่โต้แย้ง อาจด้วยภาษาเราไม่ดีด้วยกระมัง เราจึงเป็นเพียง passive participant เท่านั้น การจัดงานระดับนานาชาติต้องการสรรพกำลัง เครือข่ายมากกว่าที่จัดงานระดับชาติหลายเท่านัก ไม่ง่ายและท้าทายค่ะ

   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท