"มีดีที่ตรงไหนนะ..เจ้าชาเขี๊ยว..เขียวนี่น่ะ"


ดียังงัย..ดียังงัย..ดียังงัย

 

          

          เมื่อคืน  OOHOOH  ไปซื้อของกินที่เซเว่นมาค่ะ..อยากกินโกโก้เย็น  แต่ดันหมดซะแล้ว  ก็เลย..เอาว๊า..ไหน ๆ ออกมาแล้ว  ชาเขียวแทนไปก่อนก็ได้  โอ้โห..คุณ ๆ ขา..คือปกติ  OOHOOH  จะไม่กินกาแฟนะคะ..แต่กับชาเขียวคิดว่ามันคงจะอ่อนกว่ากาแฟ..ก็เลย..เสร็จมัน  !  กินเข้าไปแล้วนอนไม่หลับเหมือนกันค่ะ  เอาล่ะสิในเมื่อประเภทเดียวกับกาแฟ..ก็เลยลองหาข้อมูลของชาเขียวซะหน่อย..ว่าทำไมช่วงหลัง  ธุรกิจต่าง ๆ ถึงได้เล็งชาเชียวกันนัก..อย่าว่าแต่เครื่องดื่มเลยค่ะ..ไม่ว่าจะขนม..เครื่องสำอางค์  ก็ยังมีส่วนผสมของ" ชาเขียว "  มาค่ะ  มาดูกัน  ว่าทำไมเจ้าตัวนี้ถึงเป็นพระเอก..นานจัง

ชาเขียวมีดีตรงไหน

          ชาเขียวเป็นที่นิยมดื่มมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวจีนดื่มชากันอย่างแพร่หลายกว่าพันปี จนปัจจุบันได้เป็นที่รู้จักและนิยม ดื่มกันทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์พบว่าคนที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง และความดัน น้อยกว่าคนที่ ไม่ได้ดื่มเป็นประจำ

ชาเขียวมีสาร สำคัญอยู่หลายตัวทั้ง คาเทซิน คลอโรฟิลล์ คาเฟอีน เบตาแคโรทีน แต่ที่มีความสำคัญคือ คาเทซิน เพราะว่า มีความสามารถ ในการต้านการออกซิเดชันซึ่งจะลดความเสี่ยงในการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งจะเข้าไปทำลายเซลล์ในร่างกายและเมื่อเซลล์ถูกทำลาย จะส่งผลทำให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง รวมถึงความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ

                                 


                   ส่วนสารสกัดจากชาเขียวที่ผสมลงในขนมหรือเครื่องดื่มต่างๆ นั้น จะมีฤทธิ์ในการควบคุมน้ำหนักเพราะสารคาเฟอีนที่อยู่ ในชาจะกระตุ้นให้รู้สึกสดชื่นและใช้พลังงานมากขึ้น 

          นอกจากนี้ยังมีมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เจ็บคอและท้องเสีย และยังพบว่าชา เขียวมีฟลูออไรด์ซึ่งทำให้ฟันแข็งแรงมากขึ้น และยังลดกลิ่นปากที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในปากได้อีกด้วย

                                                                                     


          แม้ว่าชาเขียวจะมีข้อดีอยู่มาก แต่ขอเตือนว่า การดื่มชามากเกินไปจะมีผลต่อโภชนาการ เพราะชาเขียวจะ ขัดขวางในการดูดซึมธาตุเหล็ก จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง หญิงตั้งครรภ์ เด็กในวัยเจริญเติบโต และคาเฟอีนในชา เขียวก็ยังมีผลทำให้นอนไม่หลับด้วย  (นั่นยังงัยล่ะ..ตาค้างทั้งคืนเลย) 

                  

คำสำคัญ (Tags): #kmobec#kmska2#songkhal2
หมายเลขบันทึก: 162749เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ทานแล้วขี้แข็งดีครับ
  • อิอิ

สวัสดีครับ

  • ชาเขียวกินแล้วดีจริงๆ มีไอ้นั้น...ไอ้นี่...
  • แต่กินมากก็ไม่ดีนะ...........มันแพง
  • ฮิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • ขอบคุณมาก

 P

  • ดีจ้ะ
  • สบายดีนะจ้ะ...คนสงขลา
  • อากาศทางโน้นร้อนไหม
  • ทางยะลาร้อนจริง ๆ
  • ชาเขียว...ดื่มแล้วสดชื่นจริง ๆ ด้วยนั่นแหละ
  • แต่ก็ดื่มมากไม่ดีเช่นกัน อิอิ
  • ขอบคุณสำหรับสาระดี ๆ จ้ะ

ขอบคุณค่ะ..

คุณ  sathiwan  ไม่ให้โอกาส  OOHOOH  แวะไปเยี่ยม  blog  บ้างเหรอคะ ? 

 

P คุณ  suksom   อุเหม่.. !  พูดอย่างนั้นได้เยี่ยงไรคะ..เค้าต้องพูดว่า  "ทานแล้วอุจจาระแข็งตัวดีอย่างยิ่งค๊า !

 

P  คุณ  Sasinanda   แวะมาเยี่ยม  blog  ของ  OOHOOH  บ่อย ๆ นะคะ  จะได้มีคนสวย ๆ เต็ม blog  เลย

 

P ท่าน  เกษตรยะลา  มีไอ้นั่น..ไอ้นี่..น่ะ..ไอ้ไหรคะ ?  ถึงจะแพง..ก็..แค่น ๆ กินไปเถอะค่ะ..อ้อ !  ไม่เอาภาพ  "มด"  มาลงซะเลยล่ะคะ..แหม่..ภาพเล็กลงเรื่อย ๆ ๆ ๆ เนาะ..

 

 P คุณ  อ้อยควั้น  ค่ะ..อากาศทางนี้ก็ร้อน..เหมือนกัน..กินชาเขียวแล้วชื่นใจขึ้นค่ะ..blog  คุณ  อ้อยควั้น  มีอะไร ๆ ที่  OOHOOH  สนใจเยอะเลย..ขอบคุณมากค่ะ

 

 

 

 

 

ขอบคุณที่มีข้อมูลดี ๆ มาฝากค่ะ

จะจดจำไว้ๆๆๆ

ขอบคุณค่ะ...

P   คุณ  พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)  ยินดีที่ได้รู้จักคุณครูคนเก่งค่ะ 

 

ขอเป็น เหรียญ..อีกด้าน..(หน้าด้านค้านเขาได้ทุกเรื่องซิท่า)

ชาเขียว..ดีจริงจ้า..ผมก็ซื้อดื่ม..เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอย่างไร มันเท่..มันเป็นกระแส..กลัวตกเทรน..

สารสำคัญในชาเขียวชาเขียวเป็นแหล่งสำคัญของสารพฤกษเคมีกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่มากในชาเขียว คือ แคททิชิน (Catechins) โดยอยู่ในรูปของสารเอพิแกลโลแคททิชินไกลเคท (Epigallo Catechin Glycate) ส่วนสารพฤกษเคมีกลุ่มโพลีฟีนอลส์ที่เรียกว่าธีอะฟลาวินส์ (Theaflavins) เกิดจากการ Polymerization ของแคททิชินระหว่างกระบวนการบ่มผลิตใบชาอู่หลงและชาดำ จึงพบได้น้อยในชาเขียว

สารพฤกษเคมีในชาเขียวจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการออกซิไดซ์ของแอลดีแอล คอเลสเตอรอล ดังนั้น การยับยั้งออกซิไดซ์ แอลดีแอล
คอเลสเตอรอล ย่อมเป็นผลดีในการชะลอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และลดการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันจากลิ่มเลือด
 จากผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคนจีนที่ไขมันในเลือดสูงเล็กน้อยถึงปานกลางและรับประทานอาหารไขมันต่ำจำนวน 240 คน โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากชาเขียวที่มีการเติมสารธีอะฟลาวินส์ เปรียบเทียบกับยาหลอกเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดจากชาเขียวที่เติมธีอะฟลาวินส์สามารถลดคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) 11.3%, แอลดีแอล คอเลสเตอรอล ลดลง 16.4%, เอชดีแอล คอเลสเตอรอล (ไขมันที่ดี) เพิ่มขึ้น 2.3% ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ได้ยาหลอก คอเลสเตอรอรวม แอลดีแอล คอเลสเตอรอล เอชดีแอล คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ไม่เปลี่ยนแปลง

สรุปได้ว่าการรับประทานสารสกัดจากชาเขียวที่อุดมด้วยสารอีจีซีจีและเสริมด้วยสารธีอะฟลาวินส์ร่วมกับการรับประทานอาหารไขมันต่ำสามารถช่วยลดแอลดีแอล คอเลสเตอรอล ในคนไขมันในเลือดสูงได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสนับสนุนว่าสารสำคัญในชายังสามารถช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน เป็นต้น
  เอกสารอ้างอิง
  • 

ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

  • 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข www.fda.moph.go.th

  • 

Ikeda I, Imasato Y, Sasaki E, et al. Tea catechins decrease micellar solubility and intestinal absorption of cholesterol in rats. Biochim Biophys Acta. 1992;1127:141-146.

  • 

Kris-Etherton PM, Keen CL. Evidence that the antioxidant flavonoids in tea and cocoa are beneficial for cardiovascular health. Curr Opin Lipidol. 2002;13:41-49.

  • 

Maron DJ, Lu GP, Cai NS, et al. Cholesterol-Lowering Effect of a Theaflavin-Enriched Green Tea Extract. Arch Intern Med. 2003;163:1448-53.

  • 

Vinson Ja, Dabbagh YA. Effect of green and black tea supplementation on lipids, lipid oxidation and fibrinogen in the hamster: mechanisms for the epidemiological benefits of tea drinking. FEBS Lett. 1998;433:44-46.

  • 

Young W, Hotovec RL, Romero AG. Tea and artherosclerosis. Nature. 1967;216:1015-1016

  • แต่ชาเขียวที่คุณ..โอ๊อะ..ทานนะ..มาจากชา 1 ช้อนชา กับน้ำ 50 ลิตร (รู้จริงป๊ะ..) เพิ่มน้ำตาล เพิ่มคาเฟอีน แต่งสี แต่งรส ใส่สารกันบูด ใส่โฆษณา ใส่กระแส ไม่น่ามีผลทางรักษาโรค
  • คำแนะนำของหมอคือวันละไม่กิน ครึ่ง..ขวด/วัน
  • ไปละ..

 ขอบคุณค้าบ ! ..

P ท่าน  เกษตร  (อยู่)จังหวัด   โอ้โห !..อัดอั้น..ตันใจ..อันใดเล่าท่านพี่..ยิงมาเป็นปืน M.16  เลย..แต่ก็..ขอบคุณในความรู้ที่นำมาฝากเพิ่มเติมค่ะ

 

 

ชาเีขียว น่ะดีครับ

แต่ชาเขียวปกติจะมีรสชาติขมๆ  จึงต้องผสมน้ำตาลลง และน้ำุตาลที่ผสมลงในขวดชาเขียวที่ขายทั่วไปก็มีมาก เพื่อกลบความขมและเพิ่มความอร่อย

ใน 1 ขวด ที่ขายทั่วไปมีน้ำตาล ประมาณ 7-10 %

ประมาณง่ายๆ โดย แบ่งน้ำชาเขียวเป็น 10 ส่วน (น่าจะประมาณ 7 ช้อนชา)

1 ส่วนที่กินเป็นน้ำตาล น้ำตาลล้วนๆ แต่เรากินจะไม่ค่อยรู้สึกว่ามันมีความหวานมากเท่าไหร่หากกินขณะเย็นจัด

วิธีกินให้ทราบว่า ชาเขียวนั้นหวานจริง ต้องตั้งทิ้งใว้ให้หายเย็น

จนอุณหภูมน้ำชาเขียว เท่ากับอุณหภูมิห้อง

แล้วค่อยๆ ยกขึ้นมาจิบทีละน้อยจะทราบว่ามันมีความหวานมากที่เดียว และหากค่อยๆ เอียงขวดไปมาช้าๆ จะเห็นว่าน้ำชาค่อนข้างหนืดเลยทีเดียว หนืดเพราะน้ำตาลที่ผสมอยู่้มาก

สรุป ชาเขียวเป็นชาที่ดีแต่วิธีการรับประทานเป็นสิ่งสำคัญ กว่าการมองว่าเป็นสิ่งดี

ขอบคุณค่ะ

คุณ  Softmail   อุ่ย !  ใส่น้ำตาลมาก..หวานจนขนาดน้ำข้นเนี่ย..ไม่ไหวแน่ ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท