ไปจัดเวทีที่เครือข่ายสินธุ์แพรทอง จ.พัทลุง(2): เครือข่ายฯและภาคี


ยุทธศาสตร์นี้เป็นกรอบในการทำงาน กรอบในการคัดกรอง วางตำแหน่งของภาคีจากภายนอกที่จะมาร่วมงาน ว่าเป็น “การร่วมงาน”ในยุทธศาสตร์ หรือเป็นเพียง “ความร่วมมือ”นอกยุทธศาสตร์

เครือข่ายสินธุ์แพรทอง

  พวกเราจะเข้าใจวิธีคิดและกระบวนการทำงานของเครือข่ายสินธุ์แพรทองได้ไม่มากนัก  ถ้าไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ของพื้นที่ในเขตของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เกิดกรณี ถังแดง  รวมถึงการเข้าใจวีถีชาวบ้านและกิจกรรมกลุ่มที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น    

เครือข่ายสินธุ์แพรทองที่เป็นทางการ ก่อตั้งปี 2544 เป็นเครือข่ายที่ประสานการทำงานของหลายหมู่บ้าน  แต่ละหมู่บ้านมีกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมของตนเอง  เครือข่ายฯ วางบทบาทของตัวเองอย่างชัดเจนในฐานะ คุณเอื้อ  จะสนับสนุนการทำงานของชาวบ้าน หรือองค์กรชาวบ้านเท่านั้น พ่อเล็ก (คุณอุทัย บุญดำ) บอกว่า เครือข่ายไม่ลงมาทำเอง  แต่หนุนเสริมทุกด้านทั้งความรู้  ความคิด  งบประมาณ  แผน   บนฐานแนวคิดชุมชนเข้มแข็ง   

เครือข่ายฯกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของตัวเองอย่างชัดเจน ขึ้นไว้บนบอร์ดในห้องประชุมที่ทุกคนเข้ามาก็อ่านได้  จากการพูดคุยเราเข้าใจว่า ยุทธศาสตร์นี้เป็นกรอบในการทำงาน กรอบในการคัดกรอง วางตำแหน่งของภาคีจากภายนอกที่จะมาร่วมงาน ว่าเป็น การร่วมงานในยุทธศาสตร์ หรือเป็นเพียง ความร่วมมือนอกยุทธศาสตร์

จนถึงปัจจุบันมีภาคีภายนอกมาร่วมงานด้วยถึง 18 ภาคี ในจำนวนนี้มีที่ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีประมาณ 7-8 ภาคี  ซึ่งก็คือที่พวกเรา (บอ.ร่วมกับเครือข่ายฯ) เรียนเชิญมาร่วมงานถอดบทเรียนในครั้งนี้  ความสามารถของเครือข่ายฯในการจัดขบวนภายในและจัดแถวขบวนของภาคีภายนอกเป็นสิ่งน่าเรียนรู้   

เหตุผลและความคาดหวังของภาคีในการร่วมงานกับเครือข่ายสินธุ์แพรทอง  

เริ่มต้นด้วยหน่วยงานต่างๆบอกกิจกรรมที่ตัวเองทำงานกับเครือข่ายฯ  เราจดยิกๆ เพราะเป็นคนไม่สามารถจำรายละเอียดอะไรได้มากนัก  แต่จะสนใจเชิงเป้าหมาย  รูปแบบ กระบวนการที่เป็นหลักเชิงยุทธศาสตร์มากกว่า  

หลายหน่วยงานบอกว่า แนวคิดของเครือข่ายฯเป็นแนวคิดเดี่ยวกันกับหน่วยงาน จึง..มาเติมเต็มกัน..    ความสัมพันธ์จึงเป็นลักษณะ พึ่งพาและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามสถานการณ์  เป็นเพื่อนและห่วงใย เช่น เมื่อหน่วยงานภายนอกเข้ามาในพื้นที่เยอะแยะ  พื้นที่จะจัดการอย่างไร  

คุณอนุชาบอกว่า  ภาคีและเครือข่ายมีเป้าหมายร่วมกันคือเรื่องพลังชาวบ้าน   แต่ระยะการก้าวย่างอาจไม่เท่ากัน 

ดูเหมือนเครือข่ายฯ จะเป็น ผู้ให้ มากกว่า ผู้รับ  เพราะใครๆก็เลือกลงมาสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  ได้พื้นที่ และได้บทเรียนการทำงานจากลำสินธุ์   มีเพียงอนามัยเท่านั้นที่บอกว่า  เข้ามาสร้างการตระหนักรู้  ให้เครือข่ายฯ (ในสมัยนั้น)  เห็นความสำคัญต่อเรื่อง สุขภาวะ ของผู้คนในชุมชนมากขึ้น  

ส่วน ธกส. บอกว่า  ได้ลอกเรียนเรื่องกระบวนการกลุ่ม  การจัดเวทีและการขับเคลื่อนเวทีแบบมีส่วนร่วมไปจากที่นี่

(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 162644เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มารออ่านนะคะอาจารย์  เพราะหว้ายังไม่เคยลงชุมชนเลยค่ะ  ขอมาเรียนรู้จากอาจารย์นะคะ

 

 น่าสนใจคะอาจารย์  เรื่อง การเข้าใจประวัติศาสตร์ของพื้นที่ นี่เป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน

เวลา หน่อยอยู่ในชุมชน แล้วได้ฟังประวัตศาสตร์ย้อนหลัง นี่ ตื่นตาตื่นใจ

และทำให้เราเข้าใจ ปัจจุบัน ความเข้มแข็ง อ่อนแอ ก็มาจาก ราก ด้วย

เช่นกัน

สวัสดีคะอาจารย์ปัท·        ขอบคุณมากคะสำหรับการถ่ายทอดเรื่องราว ติดตามอ่านอยู่คะ·         ตอนนี้ e-mail km4fc น่าจะมีปัญหา แต่เฉพาะกับบาง address เท่านั้น อีกหลาย ๆ address ยังติดต่อกันได้ปกติ จึงไม่มั่นใจว่าช่วงนี้รัชพลาดข่าวอะไรจากอาจารย์ไปบ้าง ·       รักษาสุขภาพด้วยคะรัช

สวัสดีค่ะอาจารย์ลูกหว้า 

ขอบคุณที่มาเป็นกำลังใจนะคะ   วิธีทำงานของเครือข่ายสินธุ์แพรทองน่าสนใจมากค่ะ

คุณหน่อยคะ

พี่เองไม่ค่อยได้รู้จักพื้นที่แถบสุรินทร์มากนัก แต่ก็ชอบปราสาท และสนใจอยากเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของที่นั่น รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คน วัฒนธรรมต่างๆค่ะ  น่าจะมีอะไรดีๆให้ศึกษาเยอะ  แม้แต่วิธีคิดต่อเรื่องป่าของพื้นที่ต่างๆในภาคอีสาน จะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร   ก็รออ่านจากบล็อกคุณหน่อยนะคะ

น้องรัชคะ

พี่ลงลำสินธุ์ 3-4 ครั้งแล้ว ยังไม่ค่อยได้คุยได้เห็นเรื่องกระบวนการจัดสวัสดิการของพื้นที่  จึงรออ่านจากบล็อกน้องรัช  อยากลงไปร่วมประชุมเวลาพัทลุงจัดเวทีสวัสดิการเหมือนกันค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท