พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504


พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504


เจ้าหน้าที่ของกรมประมงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอุทยาน
แห่งชาติฯ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ลงวันที่ 22 เมษายน 2534 โดยมีอำนาจเฉพาะพื้นที่ทะเลและอ่างเก็บน้ำ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในเขตท้องที่รับผิดชอบ หรือปฏิบัติงาน เฉพาะมาตรา 20,21,22, และมาตรา 28
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมีดังนี้
1.
มาตรา 20 การจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2.
มาตรา 21 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 16 ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ หรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ
3.
มาตรา 22 ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ เป็นเหตุใดมีสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่หรือมีสิงอื่นใดในอุทยานแห่งชาติผิดไปจากสภาพเดิมให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดทำลายหรือรื้อถอนสิ่งนั้น ๆออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชาติ หรือทำให้สิ่งนั้น ๆกลับคืนสู่สภาพเดิม แล้วแต่กรณี ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตาม หรือถ้าไม้รู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่อุทยานแห่งชาติ พนักงานเจ้าหน้าที่จะกระทำการดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งเสียเองก็ได้ตามสมควรแก่กรณี และผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการเสียเองนั้น
4.
มาตรา 28 บรรดาความผิดตามมาตรา 25 และมาตรา 26 และมาตรา 27 ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบได้
ฐานความผิดที่สำคัญตามพระราชบัญญัตินี้ได้แก่
มาตรา 16 ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด
(1)
ยึดหรือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่อนสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า
(2)
เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ
ซึ่งไม้ ยางไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น
(3)
นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์
(4)
ทำด้ายประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ดินหิน กรวด
หรือทราย
(5)
เปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้นำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึงท่วมท้น หรือ
เหือดแห้ง
(6)
ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือบางบก
(7)
เก็บหา นำออกไป ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพ
ซึ่งกล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว
(8)
เก็บ หรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่ดอกไม้ ใบไม้หรือผลไม้
(9)
ทำยานพาหนะเข้าออกหรือขับขี่ยานพาหนะในทางที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
(10)
นำอากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก
พนักงานเจ้าหน้าที่
(11)
นำหรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป
(12)
นำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไป เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดี
กำหนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี
(13)
เข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก
พนักงานเจ้าหน้าที่
(14)
ปิดประกาศ โฆษณา หรือขีดเขียนในที่ต่าง ๆ
(15)
นำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใด ๆ เข้าไปเว้นแต่จะได้รับ
อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งพนักงาน
(16)
ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิดซึ่งวัตถุระเบิด หรือจุดดอกไม้เพลิง
(17)
ส่งเสียงอื้อฉาวหรือกระทำการอื่นอันเป็นการรบกวน หรือเป็นที่เดือดร้อน
รำคาญแก่คนหรือสัตว์
(18)
ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งต่าง ๆ ในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น
(19)
ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง
ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 16 มีโทษตั้งแต่ มาตรา 24 – มาตรา 27 http://www.cffp.th.com/law_nationalpark.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16261เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท