การกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ


การกำหนดแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจจะเริ่มจาก การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อุตสาหกรรม และอื่นๆ และสภาพแวดล้อมภายใน ด้านต่างๆ เช่น การบริหารเงิน การวิจัย โครงสร้างองค์กร ทรัพยากร บุคลากร และอื่นๆ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่จะมีต่อธุรกิจทั้งในทางบวก และทางลบ

หลังจากวิเคราะห์ SWOT Analysis แล้ว ก็ต้องมากำหนด Mission หรือก็คือทิศทางของธุรกิจในอนาคต กำหนด วัตถุประสงค์ (Objectives) และกลยุทธ์ (Strategies) และค่อยกำหนดแผน Operational Plan (แผนปฏิบัติการ)

โดยในการกำหนดกลยุทธ์นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 แนวทาง คือ

1.     Stability Strategies เป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะคงธุรกิจเดิมเอาไว้ หรือก็คือ ธุรกิจจะยังคงขายสินค้าเดิม บริการเดิม ในตลาดเดิม และบริหารด้วยโครงสร้างเดิม การเน้นกลยุทธ์นี้ จึงหมายถึงการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวา โดยเน้นในสิ่งที่ตนชำนาญ และมีความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน มักจะเป็นธุรกิจที่ดี อยู่ในช่วง Mature Stage ซึ่งธุรกิจไม่ได้ทำกำไรหวือหวา แต่จะเป็นการทำกำไรอย่างต่อเนื่องและมั่นคง (Cash Cow) โดยเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มผลกำไร

2.     Expansion Strategies เป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ มีการขยายสายการผลิตใหม่ ขยายตลาด และขยายแนวทางในการบริหาร โดยตั้งอยู่บนฐานเดิม แต่มีการเพิ่มองค์ประกอบใหม่ๆ เช่น ธุรกิจของ ซีพี ซึ่งเลี้ยงไก่ขายก็ขยายมาผลิตอาหารสัตว์เพื่อใช้เอง และขายให้บุคคลภายนอก เป็นต้น โดยธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์นี้มักจะเป็นประเภทที่อยู่ในขั้น Emerging Market ซึ่งเปิดโอกาสให้มีอัตราการเติบโตที่สูง

3.     Retrenchment Strategies หมายถึง การลดขนาดของธุรกิจหรือเลิกธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมการลด หรือเลิกสายการผลิต หรือบริการ ลดตลาดและกิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ขายบริษัทลูกบางบริษัทออกไป กลยุทธ์นี้ ถือเป็นกลยุทธ์ที่มีความยากลำบากในการดำเนินงานมากที่สุด เพราะมักจะถูกมองว่า ธุรกิจกำลังล้มละลาย จึงมักจะเกิดในช่วงวิกฤตที่ไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว ซึ่งในความเป็นจริง ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์นี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในช่วงวิกฤต แต่เป็นการเน้นการถดถอยในบางจุดเพื่อทุ่มเทกับจุดอื่น ที่จะเพิ่มผลตอบแทน และถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้วยซ้ำ

4.     Combination Strategies เป็นการดำเนินมาตรการ หรือกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านข้างต้น โดยนำมาผสมผสานกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ โดยอาจจะเน้นการขยายตัวของผลิตภัณฑ์หรือตลาดหนึ่ง แต่ลดหรือถอนผลิตภัณฑ์ในอีกตลาดก็ได้ เช่น สินค้าบางตัวขายดี ก็ใช้กลยุทธ์ขยายตัว ส่วนในขณะที่สินค้าบางตัวขายไม่ดีนัก ก็อาจจะยกเลิกสายการผลิตนั้น เป็นต้น โดยกลยุทธ์นี้มักจะใช้กับธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลาย หรือมีตลาดหลากหลายที่จะเปิดโอกาสให้มีการผสมผสานกลยุทธ์ประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน

ที่มา : สยามอินโฟบิส (www.siaminfobiz.com) โดย Aimanun

หมายเลขบันทึก: 162593เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2008 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท