beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

รอร่า <๓> : ข้าวขวัญ


"ใช้เพื่อที่จะไม่ต้องใช้อีก" เพราะในที่สุดระบบนิเวศน์และสมดุลของธรรมชาติก็จะกลับคืนมา ชาวนาก็จะหลุดพ้นจากวังวันของการพึ่งพาปัจจัยภายนอกในทุกขั้นตอน"

๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้าวขวัญ

         ข้าวเป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวันของคนไทย และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ปัจจุบันการทำนาเปลี่ยนแปลงไปมาก จาคเทคโนโลยีแบบพื้นบ้านที่สะสมถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ เปลี่ยนแปลงมาเป็นการทำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เน้นการใช้เคมีเกษตร ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวง และการพัฒนาพันธุ์ข้าวเป็นไปเพียงเพื่อตอบสนองต่อระบบการตลาดเท่านั้น

         การมุ่งปรับปรุงพันธุ์ข้าวป้อนตลาดข้าว ทำให้ชาวนาต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณที่สูงขึ้น ขณะที่ปุ๋ยราคาสูงขึ้นทุกๆ ปี นอกจากนี้พันธุ์ข้าวสมัยใหม่มักมีความต้านทานโรคน้อยกว่าพันธุ์พื้นเมือง ทำให้ชาวนาในระบบเกษตรสมัยใหม่มักจัดการปัญหาด้วยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควบคู่กันไปด้วย ซึ่งภายใต้การพัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีนี้กลับทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาเพิ่มสูงขึ้น

         ฉันว่า การปลูกข้าวแบบใหม่ เน้นการใช้เคมีเกษตรใช้ปุ๋ย และสารเคมีเร่งผลผลิต ซึ่งต่างจากสมัยก่อนชาวนาจะเรียนรู้จักฤดูกาลและระบบธรรมชาติ ไม่พึ่งพิงเงื่อนไขภายนอก แต่การปฏิวัติดลกเกษตรกรรม ทำให้การทำนาถูกกระแทกด้วยความรู้ชุดใหม่จากภายนอก เช่น สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ กรมวิชาการข้าว สถาบันวิจัยพันธุ์ข้าว ซึ่งกำหนดให้ทุกอย่าง ตั้งแต่การใช้เมล็ดพันธุ์ การไถนา หรือระบบชลประทาน การใช้ยาฆ่าหญ้า หรือเคมีเกษตร แม้แต่การขายยังต้องพึ่งพิงปัจจัยภายนอก ขายได้ราคาก็รอด ปุ๋ยราคาถูกก็ค่อยยังชั่ว หรือได้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค ผลผลิตก็ดี กระบวนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายไม่ได้เกิดจากตัวชาวนาเอง ทำให้พื้นความรู้เดิมหายไปหมด เลิกใช้ควายไถนา เลิกเลี้ยงควาย

         จากการได้ดูวิดีทัศน์ เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมาย เพื่อให้เกษตรกรและชุมชน มีการเรียนรู้จากความรู้ภายนอก และการฟื้นฟูควมรู้ดั้งเดิม มาจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ สามารถการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น สานสร้างเครือข่ายของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และความสำคัญกับเรื่องของวิถีชีวิต สังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง การพัฒนาระบบเกษตรกรรม กับการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข ใช้หลักการเกษตรแบบยั่งยืน พึ่งพาตัวเองเป็นสำคัญ ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

          มีการนัดมาเรียน จนชาวนาเกิดการเรียนรู้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในระบบเกษตรของตน เช่น การไม่เผาฟาง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำสมุนไพรขับไล่แมลง รวมทั้งการรู้จักแมลงดี-แมลงร้าย แต่ที่สำคัญคือ ห้ามเผาฟาง เพราะจะทำลายแมลงทั้งสองกลุ่ม (ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย) ธรรมชาติจะมีวิธีจัดการด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปยุ่งกับเขามากนัก ดังจะเห็นได้จากสื่อที่ อ.Beeman ให้ดู คือ แมลงดีในธรรมชาติ จะมีมากกว่าแมลงศัตรูพืชมากมายทีเดียว จนถึงการเก็บและขยายพันธุ์จุลินทรีย์ (จากป่าสมบูรณ์) การทำฮอร์โมนเพื่อการบำรุงต้นข้าว เป็นต้น   ฉันว่าสิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นเทคนิคใหม่ที่ชาวนาได้นำไปประยุกต์ใช้ โดยคำนึงถึงวัตถุดิบภายในท้องถิ่นของตนเป็นสำคัญ

           ที่เห็นได้ชัดเจนจากการได้ดูสื่อคือ การมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย มีภาวะผู้นำ การสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และเน้นการมีส่วนร่วม การเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ เข้ากับการจัดการความรู้ มีการแสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จ มีการจดบันทึก และที่สำคัญ คือการสร้างใจ ฉันคิดว่าเป็นหัวใจของการเรียนรู้ (KM)

             การเรียนรู้ต้องเกิดจากสิ่งเล็กๆ ไปหาใหญ่ ตั้งแต่
             ๑. ระดับบุคคล ครัวเรือน เน้นการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรายรับรายจ่าย
             ๒. ระดับกลุ่ม  เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้วัตถุในท้องถิ่น
             ๓. ระดับสังคม เน้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล

            เมื่อชาวนาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กับเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาพันธุ์ข้าว ชาวนาไม่ต้องเหนื่อยต่อสู้กับแมลง แต่ให้แมลงต่อสู้กันเอง ผลผลิตก็ได้มาก ข้าวก็มีรสชาติอร่อยเพราะไม่มีสารเคมี ข้าวขายได้กำไรงาม (เพราะผลผลิตสูง)

             "การเรียนรู้มาจากการเล่นก็ได้ การเรียนรู้ต้องมากับความรื่นเริง สนุกสนาน"

             "การที่ชาวนาพยายามที่จะหาสิ่งทดแทนสารเคมีทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นเพียงการเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนวิถีผลิต ที่ในท้ายที่สุด กระบวนการและเทคนิคต่างๆ เหล่านั้น ก็ไม่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ในพื้นที่เกษตรอีกต่อไป กล่าวคือ "ใช้เพื่อที่จะไม่ต้องใช้อีก" เพราะในที่สุดระบบนิเวศน์และสมดุลของธรรมชาติก็จะกลับคืนมา ชาวนาก็จะหลุดพ้นจากวังวันของการพึ่งพาปัจจัยภายนอกในทุกขั้นตอน"

รอร่า....

หมายเลขบันทึก: 161698เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท