การจัดการความรู้


การจัดการความรู้

กรมอนามัย
มีบทบาทหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสืบทอดความรู้ ของระบบการจัดการความรู้ของกรมอนามัย โดยเป็นแหล่งทั้งส่วนสนับสนุน และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนแนวปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการทั้งภายในและภายนอกกรมอนามัย
วัตถุประสงค์
n    เป็นแหล่งรวบรวม ประมวลความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ
n    เป็นศูนย์กลางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของศูนย์ความรู้ของกรมอนามัย
n    สนับสนุนและส่งเสริมให้กรมอนามัยก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
n    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเผยแพร่ความรู้ และประสบการณ์
การจัดการความรู้เพื่อพิจิตรแข็งแรง
 คุณลักษณะทั่วไปขององค์กร

n    วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
n    สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
n    สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผู้มีน้ำใจ
n    เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรปลอดสารพิษ   
n    ส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน
n    ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
n    พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจชุมชน
n    ผลักดันนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายสู่ภาครัฐ
ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตเกษตรกร 
n    ด้านเศรษฐกิจ
n    ด้านสังคม
n    ด้านจิตวิญญาณ 
n    ด้านสิ่งแวดล้อม
n    ด้านสุขภาพ
TRUE

กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสรมการเกษตรได้กำหนดวิธีการดำเนินงาน
เป็น  3  ขั้นตอนหลัก  คือ
-ขั้นตอนการเตรียมการ  เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องสร้างความเข้าใจในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
-ขั้นตอนการดำเนินการ  จะดำเนินการตามแนวการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร  มีการจัดทำเป้าหมาย  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
-ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล  จะติดตามผลว่า การดเนินงานนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร  เพื่อจะได้นำมาแก้ไข  ปรับปรุง  และวางแผนขยายผล
7 – eleven

AIS
บริษัทAISจัดการความรู้โดยการสร้างวิทยากรภายใน  ในการจัดการความรู้ของบริษัทAIS เพื่อช่วยลดบทบาทระดับบุคคลลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาในภาพรวม โดยการสร้างศูนย์กลางของผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งการสร้างวิทยากรภายในนั้นจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ประเทภTatic ที่วิทยากรมีไปเป็น Tatic ของผู้เรียนอีกหลายๆคน
ขั้นตอนดังนี้
 กำหนดขอบเขต
คือ กำหนดขอบเขตของโครงการเสียก่อนว่า  สิ่งที่ต้องการได้จากโครงการนี้คืออะไร  บริษัทต้องการมีวิทยากรกี่ท่าน  มีคู่มือผู้สอนกี่หลักสูตร  จากประสบการณ์
กำหนดชื่อหลักสูตร
เชิญตัวแทนจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมา เพื่อร่วมกำหนดรายชื่อหลักสูตรที่ต้องการมี  ชื่อหลักสูตรมาจากข้อมูลความจำเป็นในการฝึกอบรมของบริษัท  
แต่งตั้งคณะทำงาน
 - มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในเรื่องที่จะได้รับมอบหมาย
มีทักษะในการสื่อสารและการนำเสนอที่ดี 
- เคยได้รับโอกาสในการนำเสนอเป็นครั้งคราว
เขียนแผนการสอน
แผนการสอน คือ แนวทางที่วิทยากรเตรียมการไว้ล่วงหน้าว่าจะดำเนินการอย่างไรในการฝึกอบรม
จัดทำสื่อการสอน และอุปกรณ์ต่างๆ  เช่นPowerPoint  เกมส์  เป็นต้น
จัดทำคู่มือผู้สอน  บรรจุเอกสารลงในแฟ้ม ซึ่งประกอบด้วย
                                -   รายละเอียดหลักสูตร
                                -   แผนการสอน 
                                           -   เอกสารที่พิมพ์จาก PowerPoint  รวมถึง ไฟล์คอมพิวเตอร์
ทดสอบสอน ควรมีการทดสอบสอน โดยใช้คู่มือที่ผู้เรียนเป็นผู้พัฒนา  ในครั้งแรกควรให้เวลาประมาณ 15 นาที 
ติดตามผล  ควรมีผู้ให้การวิพากษ์ เพื่อให้ผู้ทดสอบสอนนำข้อเสนอแนะกลับไปปรับปรุงอีกครั้ง
ขึ้นเวทีจริง  ควรจัดการฝึกอบรม โดยให้โอกาสวิทยากรมือใหม่ได้มีโอกาสในการลองเวที 
ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข  พนักงานติดงาน  ไม่มีเวลา แนวทางแก้ไข ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมสำหรับทำโครงการ  เลือกช่วงที่ไม่มีงานเร่งด่วน ซึ่งจะทำให้พนักงานร่วมโครงการอย่างเต็มใจ
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
อุดมการณ์   ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย  ดังนี้
ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ”  โดยพื้นฐานต้องมีความเป็นธรรมต่อคน 3 กลุ่ม (In General) คือ
            1.  ผู้ถือหุ้น ถ้าหากไม่มีผู้ถือหุ้น ก็ไม่มีเครือซิเมนต์ไทย
            2.  ลูกค้า ถ้าไม่มีลูกค้ามาซื้อสินค้า เครือซิเมนต์ไทยก็อยู่ไม่ได้
3.    พนักงาน ต้องให้ผลตอบแทน สวัสดิการ และโบนัสที่เหมาะสม
       “ มุ่งมั่นความในความเป็นเลิศ ”  โดยรับพนักงานส่วนใหญ่ ที่มี GPA ไม่ต่ำกว่า 2.75 และแต่ละปีรับนักศึกษาที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ประมาณ  20 คน จากจำนวนที่รับ 120 คน มาเป็นพนักงาน และเน้นการฝึกอบรมและพัฒนา มีห้องฝึกอบรมราคา 10 ล้านบาท มีอุปกรณ์ที่ดีที่สุด ซึ่งดีกว่า Harvard Business School  และ Stamford University เพราะได้ส่งคนไปดูงาน และดูว่าอะไรที่ดีที่สุดในโลก จะนำมาดัดแปลงและพัฒนาให้ดีกว่าและจัดหามาไว้ให้พนักงานได้ใช้
       “ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ”   ให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของพนักงาน และถือว่าเขาเหล่านั้นคือสมบัติ ที่มีค่าที่สุดพยายามคัดสรรบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาร่วมงาน ให้การฝึกฝน พัฒนา และดูแลอย่างดี ด้วยสวัสดิการ และผลตอบแทนตามสมควร
       “ ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ”  ในขณะที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤต บริษัทปูนซีเมนต์ไทยประสบภาวะขาดทุนหลายหมื่นล้านบาท  แต่บริษัทฯ ไม่ได้ lay off  พนักงานเลย จะรักษาพนักงานไว้ทุกคน โดยประกาศว่าบริษัทมี Non Lay Off Policy เพราะเชื่อว่า     “ Employees are important and valuable resources”
Strategies  กลยุทธ์ของเครือซีเมนต์ไทย
1.       Merit System : Promote excellent and good person
ระบบคุณธรรม : ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์  มีการโปรโมท ยกย่อง แต่งตั้ง คนเก่ง คนดี ทำงานดี ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นได้ตลอดเวลา
2. Fairness : Committee/everyone
มีความเป็นธรรม : มีเหตุผล มีข้อมูลสนับสนุนในการเลื่อนลำดับขั้น หรือเลือกคนให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่มีความลำเอียง ไม่มีการเลือกสถาบัน  มีระบบคณะกรรมการดูแลพนักงานทั้งเครือ
3.       Best recruit and retain : Labor market and business                                                          
มีกระบวนการในการสรรหาที่ดีที่สุด
4.       Training and Development : Fully utilized capability ใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาท/ปี
เฉพาะ Classroom Training  ซึ่งยังไม่รวม On the job training หรือส่งไปอบรมทั้งในและต่างประเทศ
Blog Solutions
- บล็อก คือ เว็บไซต์เพื่อการบันทึกไดอารี่
- เน้นกลุ่มผู้ต้องการบันทึก ถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ และ เทคนิคการทำงานต่างๆ
- เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ + เผยแพร่ความรู้ + แลกเปลี่ยนความรู้
Blog Solutions       – gotoknow.org = เขียน
-          planet  matter = รวบรวม
-          feedspring = เผยแพร่
-          blog express = อ่าน
TOYOTA
หลักการที่สำคัญ

l    พัฒนาตนเองอยูตลอดเวลาและอยางตอเนื่อง เรียกว Kaizen
l    ในการปฏิบัติงานก็มีระบบการใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ในแทบทุกกระบวนการ ซึ่งเรียกว่า 5 Whys
l    การแลกเปลี่ยน tacit knowledge ระหว่างกันในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ จะยึดหลัก Genchi-Genbutsu (Go and See)
l     "การเรียนรู้" ของโตโยต้าเน้นที่ OJT - on the job training
l    การนำเสนอ "ความรู้" ระดับบุคคล  ได้แก่  Suggestion System
l    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำวัน   เรียกว่า Morning Talk
n     
ไม้เรียง
ชุมชนเข้มแข็ง  ไม้เรียง
. ชุมชนเข้มแข็งเพราะเป็นชุมชนเรียนรู้ 
ชุมชนเช่นนี้ไม่มีวันอ่อนแอไม่มีวันนั่งรอความช่วยเหลือจากรัฐหรือภายนอกแต่จะขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญาของตนเองชุมชนใดมีความรู้ มีปัญญาแม้ว่ามีทรัพยากรน้อยก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆมีเงินน้อยก็จะมีเงินมาก ตรงกันข้าม ชุมชนใดไม่มีความรู้  ไม่มีปัญญา แม้ว่ามีทรัพยากรมากก็จะหมด   แม้มีเงินมากก็จะไม่เหลือและเป็นหนี้
. ชุมชนเข้มแข็งตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกไปบอกไปถามนักการเมือง ข้าราชการ  พ่อค้า นักวิชาการ เอ็นจีโอ ซึ่งให้แนะนำได้เสมอ ดีๆ   ทั้งนั้น แต่เมื่อเอาไปทำแล้วเจ๊ง คนเสียหายคือชาวบ้าน ไม่ใช่คนที่แนะนำ ชาวบ้านต้องมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ  มีเป้าหมายการพึ่งตนเองอย่างมั่นคง ไม่ใช่คิดแต่จะรวย มืดบอดไปเพราะความโลภ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ใครบอกว่าทำอะไรรวยก็รีบทำ
. ชุมชนเข้มแข็งจัดการ "ทุน" ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ทุนซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่หมายถึงทรัพยากร  ความรู้ภูมิปัญญา ทุนทางสังคมวัฒนธรรม และอื่นๆ  โดยการค้นหาทุนเหล่านั้นให้พบให้มากที่สุด  เรียนรู้ว่าจะจัดการอย่างไรจึงจะพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง
. ชุมชนเข้มแข็งมีธรรมาภิบาล มีการบริหารจัดการที่ดีโปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ
ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ บ้านหนองกลางดง สามร้อยยอด  ประจวบคีรีขันธ์บอกว่า
"การรวมตัวกันต่อเนื่องเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้มั่นใจว่าเราแก้ปัญหาในหมู่บ้านได้  ที่เกินกำลังค่อยบอกข้างนอกมาช่วย พูดง่ายๆ  คำตอบอยู่ที่หนองกลางดง ไม่ได้อยู่ที่แหล่งงบประมาณเงินเป็นเรื่องเล็กแต่ความรู้สึกมั่นใจของคนในชุมชนเป็นเรื่องใหญ่กว่า"เขาย้ำอีกว่า
"ผมไม่เชื่อว่าคนข้างนอกจะไปสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้ ชุมชนต้องสร้างเองเหมือนผลึกที่มันต้องเกิดตรงนั้นแล้วก็โตขึ้นโดยธรรมชาติ"
โรงพยาบาลศิริราช
แผนปฏิบัติการ
โครงการ การจัดการความรู้ในองค์กร
1. Transtition and Behavior Management
- การวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการจัดการความรู้  + ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในโครงการ ฯ และเป็นแบบอย่างที่ดี + มีแนวทางดำเนินงานและประเมินผล
2. Communication
- มีการสื่อสารเรื่องการจัดการความรู้ในองค์กรทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง
3. Process and tools
- มีฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ CQI
- มีชุมชน ( Cop ) ทั้งกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในโครงการ
- มีการแลกเปลี่ยนความรู้ CQI ในกลุ่ม Cop อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
- มีระบบสารสนเทศที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการความรู้
4. Learning
- จัดฝึกอบรมทักษะที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่บุคลากรทางคลินิก
5. Measurements
- มีเครื่องชี้วัดการดำเนินโครงการ
6. Recognition  and  Reward
- มีระบบการให้รางวัลบุคลากรที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
แนวทางการดำเนินงานของ สคส.
1.สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้
เน้นการส่งเสริมงาน   “พัฒนาและวิจัย”   ศาสตร์และรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กร(Organization-based), การจัดการความรู้เป็นรายประเด็น (Issued-based) และเป็นรายพื้นที่  (Area-based)  ภายใต้บริบทของไทย  พร้อมทั้งสร้างการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายภาคีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมการสร้างนักประสานงาน นักอำนวยความสะดวกจัดการความรู้ ณ จุดปฏิบัติการต่างๆ
2.สร้างกระแสการจัดการความรู้ในสังคมไทย
ใช้การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นมหกรรมความรู้หรือตลาดนัดความรู้ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ การตั้งรางวัลชุมชนกิจกรรมความรู้แห่งปี เพื่อสร้างกระแส และกระตุ้นให้คนในสังคมไทยเกิดความสนใจในการใช้การจัดการความรู้ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งใช้วิธีการอื่นๆ และใช้การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ กับสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนชาวนา
กระบวนการสำคัญในการจัดการความรู้สู่นักเรียนชาวนา
n    ประกอบด้วย  3 เวที คือ
1. เวทีชาวบ้าน : จะช่วยให้เกิดการอภิปราย การวิเคราะห์ประเด็นและปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น นำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดมุมมองจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลจะช่วยแสดงความคิดความอ่าน
2. เวทีวิชาการ (เชิงปฏิบัติการ) : เจ้าหน้าที่โครงการจะทำหน้าที่ 'คุณอำนวย' คือเป็นผู้ประสานและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เชื่อมโยงความรู้จากตำรา จากภายนอกมาสู่นักเรียน โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สอนเทคนิควิธีการ เพื่อจะให้นักเรียนชาวนานำไปปฏิบัติ
3. เวทีอื่นๆ : สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา ได้แก่ การไปศึกษาดูงานที่แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นอกชุมชน การเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาในเวทีต่างๆ ทั่วไป ที่จัดโดยองค์กรและหน่วยงานทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน
หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนชาวนา 
1. ระดับประถมศึกษา = หลักสูตรการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี หลักสูตรนี้จะเรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพรที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช และระบบนิเวศในแปลงนา 
2. ระดับมัธยมศึกษา = หลักสูตรการปรับปรุงบำรุงดินโดยไม่ใช้สารเคมี นักเรียนชาวนาจะได้เรียนรู้โครงสร้างของดิน และวิธีการปรับปรุงดินโดยวิธีธรรมชาติ 
3. ระดับอุดมศึกษา = หลักสูตรการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน    

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16066เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท