276 น้ำ เกาะแก่ง ทราย และภูเขาในลำน้ำโขง


<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หากเราถามท่านที่ไปหลวงพระบางก็ย่อมที่จะมีเรื่องราวในตัวเมืองมากมายมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งน่าดูน่าชื่นชมมาก ความเป็นเมืองมรดกโลกก็รับประกันอยู่แล้วแม้ว่าอนาคตจะน่าห่วงอยู่ก็ตาม ผมและ paleeyon นำเสนออีกมุมหนึ่งของพื้นที่ของเมืองหลวงพระบางและใกล้เคียงคือ เมืองไชยบุรี เมืองนาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p>พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวมีแต่ภูเขา โดยเฉพาะส่วนเหนือของประเทศ อันได้แก่หลวงน้ำทา พงสาลี อุดมไชย บ่อแก้ว หัวพัน รวมทั้งหลวงพระบาง ไชยบุรี  เป็นต้น รูปที่ท่านเห็นด้านบนนี้เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างเมืองไชยบุรี และเมืองนานของหลวงพระบาง โดยมีแม่น้ำโขงแบ่ง ซึ่งไหลไประหว่างเทือกเขาตลอดเส้นทางเดิน สำหรับผมคิดว่าน่าสนใจในฐานะคนทำงานพัฒนาชนบท อยากทราบว่าประชาชนที่อาศัยบริเวณนี้เป็นอยู่กันอย่างไร </p><p>ผู้บันทึก คุณ paleeyon และคณะได้ลงเรือตระเวนล่องขึ้นแม่น้ำโขงส่วนนี้ตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยแบ่งแยกกันไปตามหน้าที่ มิได้ลงเรือลำเดียวกัน จึงขอนำเอาเรื่องราวในลำน้ำโขงและสิ่งที่เห็นมาบอกกล่าวเพื่อนๆที่รัก นอกเหนือจากการทำงามตามหน้าที่</p><p>   </p><p></p><p>โดยภาระ เราต้องลงเรือไปตามหมู่บ้านต่างๆริมฝั่งโขง โดยมีทีมงานเป็นข้าราชการของเมืองไชยบุรีไปร่วมทำงานด้วย จำนวน 10 คนต่อทีม ครั้งแรกเพื่อนผู้จัดการทุกอย่างได้ติดต่อเรือที่เราเคยใช้บริการมา แต่เป็นเรือเล็ก ที่นั่งได้พอดี แต่ข้าราชการเห็นแล้วบอกว่าไม่เอาขอเปลี่ยนเป็นเรือลำใหญ่ เพราะเขาบอกว่าอันตรายสำหรับคน 10 คนนั่งในเรือขนาดเล็กล่องแม่น้ำโขง เหตุผลที่สำคัญ คือ กระแสน้ำแรงมาก และมีปริมาณมากหากการเดินเรือผิดพลาดก็จะเกิดอุบัติเหตุได้ จึงป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ค่าจ้างเรือนั้นขึ้นกับระยะทางที่เราจะไป ก็สามารถต่อรองราคาได้ บังเอิญคนขับรถที่เราใช้ประจำนั้นเคยมีอาชีพเดินเรือมาก่อนจึงทราบระยะทางและราคาที่เหมาะสมจึงช่วยต่อรองราคาให้เรา  เราลงเรือที่หมู่ บ้านท่าเดื่อฝั่งไชยบุรี ส่วนฝั่งเมืองนานเป็น บ้านโคกขอนเป็นท่าเรือเฟอร์รี่บันทึกรถข้ามแม่น้ำโขงไปมา และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำในพื้นที่นี้ เมื่อเราลงเก็บข้อมูลหมู่บ้านแล้วจึงทราบว่า มีความสำคัญมากๆ และเกี่ยวข้องกับเมืองไทยในเชิงธุรกิจมากมายด้วย แต่ละวันเงินสะพัดที่นี่จำนวนหลายล้านกีบ ทั้งชาวบ้านเองและนักธุรกิจท้องถิ่นและระดับชาติเกี่ยวข้องที่นี่ </p><p>  </p><p></p><p>เมื่อเราพร้อมลงเรือกันทั้งหมดแล้ว พ่อลูกที่เป็นเจ้าของเรือต่างทำหน้าที่สอดคล้องกันคือ หากใครเป็นคนบังคับเรือซึ่งเป็นเรือเหล็กที่ติดเครื่องยนต์ตรงกลางลำค่อนไปทางหางเรืออีกคนก็จะไปนั่งหัวเรือคอยช่วยดูด้านหน้าเรือว่าเรือกำลังแล่นไปร่องน้ำที่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะน้ำที่เราเห็นโล่งๆนั้นด้านใต้มีภูเขาหิน ก้อนหินซ่อนอยู่มากมายอย่างที่เราเห็นโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำนั่นแหละ หากเดินผิดร่องน้ำก็อาจจะไปชนกับหินเหล่านั้นได้ นี่แหละการใช้เรือที่มีขนาดใหญ่จึงปลอดภัยมากกว่า แม้ว่าราคาค่าเช่าจะแพงมากขึ้นไปอีกก็ตาม  </p><p> </p><p></p><p>เกาะแก่ง ก้อนหินมหึมา : ลองดูภาพวาดที่คณะของอองรี มูโอต์ ที่มาสำรวจเมื่อร้อยกว่าปีนั่นสิ สมัยนั้นเทคโนโลยี่ก็ไม่ดี โครงสร้างของเรือก็เป็นไม้ ความเสี่ยงมีมากมาย และอุปสรรคนี้เองที่เขารายงานสู่ประเทศฝรั่งเศสและยกเลิกความคิดใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางสู่ประเทศจีนในที่สุด  ผมพบก้อนหินทีมีหินเป็นสีดำสนิท และเป็นมันวาว รู้ด้วยสามัญสำนึกว่า หินเหล่านี้โดนกระแสน้ำที่มีทราย ตะกอนต่างๆพัดพามา ขัดก้อนหินทั้งก้อนให้มันวาว ลบเหลี่ยมคูต่างๆลงไป ก้อนหินที่โผล่เหนือน้ำใต้น้ำเหล่านี้ คืออุปสรรคสำคัญยิ่งในการเดินเรือของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน  ผมยังแปลกใจเมื่อวันที่ 18 เพื่อนร่วมงานลงเรือไปดูหมู่บ้านด้วยจำนวนคน 10 คนและพยายามเก็บข้อมูลให้มากที่สุดจนค่ำมืด ใครต่อใครก็เป็นห่วงว่าจะเดินทางกลับมาอย่างไร กลางวันยังอันตรายมาก กลางคืนก็ทวีคูณ ผมไปถามเจ้าของเรือเป็นเฒ่าแก่เนี้ย นั่งขายของที่กระต๊อบ เขาบอกว่าไม่เป็นไร คนขับเรือเขาเก่ง เดินทางบ่อยๆกลางคืน ซึ่งผมก็พอนึกออกว่า เขาคงมีไฟสปอร์ทไลท์ส่อง  เมื่อถามดูเข้าบอกว่า ไม่มีหรอกใช้ความชำนาญ..????? (ผมนึกในใจ นี่เอาชีวิตมาแขวนไว้กับความชำนาญนะเนี่ยะ..) บังเอิญเป็นคืนข้างขึ้นจึงมีแสงจันทร์พอสมควร....เฮ่อ..ลุ้นทีมเพื่อนอยู่...</p><p>
     </p>
<p></p><p>กระแสน้ำ : เพราะสภาพก้อนหินมหึมาตามลำโขงที่มีอยู่ทั่วไปจึงเป็นสภาพที่บังคับทิศทางการไหลของน้ำตลอด เกิดน้ำเปลี่ยนทิศการไหล น้ำวน น้ำถูกบังคับให้ไหลแรงและผันผวน หากคนที่ไม่คุ้นเคยก็คงลำบากในการบังคับเรือให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม ถูกต้อง  หลายครั้งที่คนบังคับเรือถามเราว่าช่วงนี้เป็นแก่งหลวงจะลงเดินไปตามชายตลิ่งก่อนไหม แล้วจะไปรับเมื่อเรือผ่านไปแล้ว  เป็นความหวังดีของเขาที่เรือกำลังเผชิญความเสี่ยงก็สอบถามผู้โดยสาร  โดยเฉพาะช่วงน้ำเปลี่ยนทิศการไหล ผมเองมีบ้านริมน้ำ และอยู่กับน้ำมาตลอดยังรู้สึกว่าอันตรายมากจริงๆ  </p><p> </p><p></p><p>ทราย: สองฝั่งโขงตามตลิ่งจะมีกองทรายมากบ้างน้อยบ้าง ตลอดเส้นทาง เป็นทรายขนาดเล็กสะอาดพร้อมที่จะเอาไปใช้งานก่อสร้างบางอย่างได้เลย ผมคำนวณไม่ถูกว่าธรรมชาติพัดพาเอาทรายนี่มาให้มนุษย์เอาไปใช้มีปริมาณมากเท่าใด  ทรายสวยงามเหล่านี้กลายเป็นทรัพย์ที่ชาวบ้านสามารถมารับจ้างขนทรายไปขาย ทำให้เกิดรายได้มากมายต่อเดือนต่อปีทีเดียว นอกจากการทำนาทำไร่พืชต่างๆแล้ว โดยเฉพาะตรงบ้านท่าเดื่อเป็นจุดรับซื้อทรายไปส่งยังเมืองไชยบุรี เมืองนานและบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด paleeyon คงเขียนเรื่องนี้บ้างแล้วนะครับ ชาวบ้านทั่วไปก็สามารถเอาทรายเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ เป็นสนามเล่นของเด็กๆ เป็นที่เพาะปลูกถั่วดิน หรือถั่วลิสงนั่นแหละ สิ่งสำคัญที่ผมประสบคือ ทรายเหล่านี้มีอันตรายต่อผู้โดยสารเรืออย่างเราที่ไม่รู้จักการเดินทางตามลำน้ำโขงคือ ระหว่างที่เรือวิ่งไป หากมีลมกระโชกมาก็จะพาทรายเม็ดเล็กๆปลิวมาเข้าตาเราได้ จึงขอเตือนท่านที่สนใจจะล่องแม่โขงควรที่จะใส่แว่นตากันแดดซะด้วยเพื่อป้องกันทั้งแดดและทรายที่จะปลิวมาครับ เพื่อนคนหนึ่งถึงกับต้องไปหาหมอเพราะทรายเม็ดเล็กๆเข้าตาครับ</p><p>   </p><p></p><p>ลองดูภาพบนนี่ซิครับ กองทรายธรรมชาติท่วมหัว แค่มีปัญญาตักเอาไปขายให้พ่อค้าเท่านั้น  ธรรมชาติเอามาประเคนให้ถึงหน้าบ้านว่างั้นเถอะ นี่คือปัญหาใหญ่ที่ชาวบ้านจะสูญเสียอาชีพเสริมนี้ไปหากน้ำท่วม   </p><p> </p><p></p><p>ภาพแรกสุดนั้นท่านก็เห็นว่าแม่น้ำโขงไหลผ่านเทือกเขา ตลอดเส้นทางและมีความแรงของกระแสน้ำมาก ซึ่งก่อเกิดอันตรายดังกล่าว ภูเขาเหล่านี้เป็นที่ทำกินของประชาชนลาวลุ่มและลาวเทิงทั้งหลาย บางลูกก็สูงมาก แต่ประชาชนก็ยังขึ้นไปทำกินบนยอดนั้น  เรื่องนี้เป็นวิถีการผลิตเฉพาะของประชาชนลาวในเขตระบบนิเวศภูเขา หากเราศึกษาพัฒนาการวิถีชีวิตก็จะเข้าใจเขา ธรรมชาติต่างๆดังกล่าวคิดว่าผู้ที่รักผจญภัยนั้นชอบนักแล....แต่ถามว่าความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นอย่างไร มีความแตกต่างจากวิถีที่เรารู้จักกันมากทีเดียวครับ....แล้วจะทะยอยชวนไปรู้จักครับ..</p>

หมายเลขบันทึก: 160561เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีค่ะ อ.บางทราย
  • ทำงานสนุกจังค่ะ
  • รูปถ่ายก็สวยด้วยสิ
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ อ.บางทราย

  • ยายกาแฟก็เลยลุ้นระทึก
  • นั่งเรือเร็วยาวจากหลวงพระบาง-ปากแบง-เชียงของ
  • ไม่รู้อะไรมาเข้าสิง ค่ะทำไปได้ 
  • เรือเร็ว ที่นั่งอ.คงจะเห็นเรือที่นักท่องเที่ยว ใส่หมวกกันน๊อคกะชูชีพ
  • ลงเรือทีมือแข็ง เมื่อยขบไปทั้งตัว
  • เวลามีเร็วสวนมาที คลื่นก็ยกเรือลอยขึ้นแล้วกระทบพื้นน้ำสนั่นหวั่นไหว
  • วันนั้น หัวใจได้ทำงานหนัก ตลอด 8 ชั่วโมง เฮ้อ ..
  • คำบางคำ  เค้าพูดไร้เดียงสาแต่เราเสียวหลังเลยนะคะ
  • อย่างเช่น "เค้าใช้ความชำนาญ" อิอิ
  • ภาพที่ อ.นำมา สวยและระทึก มากเลยค่ะ เห็นแล้วจำความรู้สึกได้ชัดเจนทีเดียว อิอิ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

แม่น้ำโขงดูทั้งสวยและน่าเกรงเลยนะคะ มีคนเคยพูดว่าใต้แม่น้ำโขงมีทั้งโพรงหิน เกาะแก่งมากมาย ทำให้เราไม่ทราบเลยว่ายังมีสัตว์ที่เราไม่เคยรู้จักอาศัยอยู่มากเพียงไหน

ทรายที่ไหลมากับน้ำมากขนาดนี้เลยเหรอคะพี่บางทราย นี่ถ้าเป็นบ้านเราคงมีสัมปทานดูดทรายกันอุตลุตไปแล้ว พี่บางทรายพูดถึงน้ำท่วม บริเวณเหล่านี้คือส่วนที่จะได้รับผลกระทบจากเขื่อนเหรอคะ ?

มาแจ้งว่าโดนคิดถึงอย่างแรงค่ะ

 ^ ^

 

จำไม่ได้ชัดว่ามีตำนานเกี่ยวกับลาวที่พื้นที่เขาเป็นเขาสูงแบบนี้เพราะนาคไชพื้นทำให้ปูดโปนหรือเปล่า พี่บางทรายน่าจะทราบมากกว่าหนู ..เกาะแก่งในแม่น้ำโขงช่วงที่พี่ไปน่ากลัวจังค่ะ เป็นหนูนะไม่กล้านั่งกลับเวลามืดแน่ๆ เสียวมาก แต่รูปที่มูโอต์วาดไว้เหมือนแก่งตามหน้าผาทะเลมากกว่าแม่น้ำค่ะ เสียดายถ้าแก่งหินไม่มากขนาดนี้คงจะขนทรายขายโดยล่องทางเรือแบบบ้านเราได้ง่ายทีเดียว
  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามมากครับ
  • มีหลายอย่างที่บริบทต่างไปจากบ้านเรา
  • การทำงานก็คงมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างออกไปและคงจะหลากหลายน่าดู
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับป้าแดง

รูปมีเป็นร้อย ร้อย เลยครับเตรียมสำหรับถ่ายรูปเต็มที่ทั้งเพื่องาน และส่วนตัว  ถ่ายเสร็จตกค่ำถึงที่พักก็ download ลงเครื่องคอมตัวเก่งของเรา ถ่านกล้องถ่ายรูปเตรียมไปสามชุด ชาร์ทเต็ม limit พร้อมใช้งาน กล้องคล้องคอตลอด อิอิ...ยังกะนักข่าว..แน่ะ

สวัสดีครับน้องP  2. coffee mania


  • นั่งเรือเร็วยาวจากหลวงพระบาง-ปากแบง-เชียงของ  ไม่รู้อะไรมาเข้าสิง ค่ะทำไปได้  เรือเร็ว ที่นั่งอ.คงจะเห็นเรือที่นักท่องเที่ยว ใส่หมวกกันน๊อคกะชูชีพ ลงเรือทีมือแข็ง เมื่อยขบไปทั้งตัว
  • เวลามีเรือเร็วสวนมาที คลื่นก็ยกเรือลอยขึ้นแล้วกระทบพื้นน้ำสนั่นหวั่นไหว
  • วันนั้น หัวใจได้ทำงานหนัก ตลอด 8 ชั่วโมง เฮ้อ ..
  • คำบางคำ  เค้าพูดไร้เดียงสาแต่เราเสียวหลังเลยนะคะ อย่างเช่น "เค้าใช้ความชำนาญ" อิอิ

เส้นทางที่น้องกาแฟ..ใช้ คือ เชียงของ - หลวงพระบางนั้นเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์นะครับ อีตา McCarthy หรือเจ้าพระยาวิภาคภูวดล เจ้ากรมแผนที่คนแรกของประเทศไทย ใช้เดินทางไปหลวงพระบางครั้งที่ 2 เพื่อทำแผนที่ประเทศไทยสมัยนั้น ดังนี้

...... พระวิภาคภูวดลได้ขึ้นไปภาคเหนืออีกสองครั้ง  เพื่อทำแผนที่ให้แก่กองทัพโดยไปที่เมืองเทิง อยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง  และเวลานั้นเป็นที่ตั้งกองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และได้กลับกรุงเทพฯ ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๙ ครั้งที่สองที่พระวิภาคภูวดลเดินทางหลวงพระบางนั้นท่านเดินทางไปเชียงใหม่-เชียงราย แล้วนั่งเรือลงแม่น้ำโขงล่องไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง   เมื่อกราบถวายบังคมลารัชการที่ 5 เพื่อกลับบ้านเกิดเมืองแล้วได้เขียนหนังสือเผยแพร่ 2 เล่ม คือ Report of Survey in Siam และ Surveying and Exploring in Siam ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านได้นะครับ ดีมากเลยครับ.......

แต่สมัยนั้นไม่มีเรือเร็วจี๋..อย่างที่น้องใช้ คงนั่งเรือกระแชงที่มีหลังคาตรงกลางลำเพื่อกันแดด กันฝนสำหรับเจ้านายสมัยนั้น  คุณ paleeyon ก็ใช้เรือเร็วสำรวจหมู่บ้านแม่น้ำโขง ที่ไปพร้อมๆกับพี่ เช่นกัน เขาบอกเร็วดี แต่เร็วเกินไปสำหรับการถ่ายรูปสวยๆ แต่ดีสำหรับการประหยัดเวลาในการเดินทางจากบ้านนี้ไปบ้านโน้น..เพราะใช้เรือใหญ่อย่างที่พี่ใช้นั่งเป็นสิบคนนั้นช้าเป็นชั่วโมง  แต่ได้เห็นโน่นเห็นนี่ชัดเจนดีครับ....

พี่เคยนั่งเรือแบบนี้ในแม่น้ำเจ้าพระยาครับ  ก็จุกเหมือนกัน เวลาสวนกันมีคลื่นนะ...โอย..ตับใตใส้พุงมันย้ายที่ไปหมดแล้ว...อิอิ.

สวัสดีครับน้อง P 3. เบิร์ด

แม่น้ำโขงดูทั้งสวยและน่าเกรงเลยนะคะ มีคนเคยพูดว่าใต้แม่น้ำโขงมีทั้งโพรงหิน เกาะแก่งมากมาย ทำให้เราไม่ทราบเลยว่ายังมีสัตว์ที่เราไม่เคยรู้จักอาศัยอยู่มากเพียงไหน

หมู่บ้านหนึ่งที่พี่ไปคุยกับเขาเป็น "ลาวเทิง" เขาเล่าว่าเขากลัวเกาะแก่งมากเพราะในความเชื่อเขานั้นว่ามีนางเงือกอาศัยอยู่ในแม่น้ำนั้น และหากใครทำไม่ดีก็จะโดนลงโทษครับ ลาวเทิง นี่เขานับถือผี.. จึงมีผีมากมายหลายต่อหลายตัวที่เขาเกรงกลัว..วาว..ขนลุก...

ทรายที่ไหลมากับน้ำมากขนาดนี้เลยเหรอคะพี่บางทราย นี่ถ้าเป็นบ้านเราคงมีสัมปทานดูดทรายกันอุตลุตไปแล้ว พี่บางทรายพูดถึงน้ำท่วม บริเวณเหล่านี้คือส่วนที่จะได้รับผลกระทบจากเขื่อนเหรอคะ ?

มีการสัมปทานเช่นกันครับแต่ไม่มากเหมือนบ้านเราและไม่ใช่ดุดทรายเป็นการตักทรายเพราะมันกองอยู่เหนือน้ำที่มีปริมาณทรายมากมายจริงๆ งานก่อสร้างบ้านเขาไม่มากเหมือนบ้านเรา กระบวนการขนทรายจึงเป็นแบบง่ายๆ ใช้แรงงานคน  เหมาะกับสภาพของเขาครับ

เรื่องน้ำท่วมคือประเด็นใหญ่ที่เราทำรายงานครับเพราะอาชีพนี้หมดไปแน่นอน ทรายมหึมานี้ต้องจมอยู่ในแม่น้ำ ชาวบ้านที่มีรายได้ทางนี้หมดไป ชาวบ้านที่เอาทรายฟรีไปก่อสร้างเล็กๆน้อยๆตามกำลังของเขาก็ทำไม่ได้แล้ว  หรือจะต้องซื้อพวกนักธุรกิจ ทุนมากที่อาจจะมาทำอาชีพดูดทรายขายกันแล้ว  ผู้ลงทุนต้องรับผิดชอบผลกระทบสิ่งนี้ครับ...ยังมีอีก จะทะยอยนำลง g2k กันระหว่างพี่กับ paleeyon.... 

มาแจ้งว่าโดนคิดถึงอย่างแรงค่ะ

 ^ ^

พี่ไปหอบความคิดถึงกลับมาบ้านนอนยิ้มแล้วครับ อิอิ..

สวัสดีครับน้องซูซาน P 4. Little Jazz \(^o^)/

จำไม่ได้ชัดว่ามีตำนานเกี่ยวกับลาวที่พื้นที่เขาเป็นเขาสูงแบบนี้เพราะนาคไชพื้นทำให้ปูดโปนหรือเปล่า พี่บางทรายน่าจะทราบมากกว่าหนู ..เกาะแก่งในแม่น้ำโขงช่วงที่พี่ไปน่ากลัวจังค่ะ เป็นหนูนะไม่กล้านั่งกลับเวลามืดแน่ๆ เสียวมาก แต่รูปที่มูโอต์วาดไว้เหมือนแก่งตามหน้าผาทะเลมากกว่าแม่น้ำค่ะ เสียดายถ้าแก่งหินไม่มากขนาดนี้คงจะขนทรายขายโดยล่องทางเรือแบบบ้านเราได้ง่ายทีเดียว

ตำนานที่น้องกล่าวถึงนั้นพี่ไม่ทราบครับ อือ...น่าสนใจคราวหน้าจะสอบถามดู ไปทำงาน เวลาน้อย ทางเจ้านายเขาก็ประหยัด ทำงานเสร็จก็ให้รีบกลับ เราน่ะอยากอยู่ต่อเพื่อเก็บสิ่งที่เราสนใจน่ะครับ  คงต้องต่อรองเขาแล้วหละคราวหน้า  เสร็จงานขออยู่ต่อ อิอิ

ทรายที่เห็นเป็นทรายเม็ดเล็กแบบละเอียด คงเหมาะกับงานก่อสรางบางชนิดเท่านั้น อาจจะไม่เหมาะกับงานก่อสร้างทั้งหมด เท่าที่ทราบงานก่อสร้างหลายอย่างที่ใช้ทราย นั้น จะใช้ทรายที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ครับ... แต่ก็น่าที่จะเอาไปทำงานอื่นๆได้ เช่นเป็นทรายสำหรับใช้ผสมปูนฉาบผนังเป็นต้น และ...ฯลฯ

น้องสิงห์ป่าสักP 5. สิงห์ป่าสัก 
  • เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามมากครับ
  • มีหลายอย่างที่บริบทต่างไปจากบ้านเรา
  • การทำงานก็คงมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างออกไปและคงจะหลากหลายน่าดู

สภาพพื้นที่ที่เป็นป่าเขามากเสียจนไม่ค่อยมีที่ราบลุ่มสำหรับตั้งบ้านเรือน และทำนาข้าวที่เป็นนาปีนั้น วิถีชีวิตจะอยู่แต่ภูเขาครับ  และพึ่งพาภูเขาทั้งหมด แบบที่พี่พบที่ดงหลวง  และการทำลายทรัพยากรธรรมชาตินั้นมหาศาล จะทะยอยเล่าสู่กันฟัง 

ผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานก็คือระบบการดำรงชีวิตด้วยเงินตรา และระบบพ่อค้าที่ทำธุรกิจทุกอย่างที่ได้เงิน ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจว่าสิ่งที่ตัวทำไปนั้นมันส่งเสริมการทำลายล้างทรัพยากรกันเชียงหละ 

และผู้บริโภคอย่างเราก็บริโภคไปโดยไม่รู้ว่ากระบวนการได้มาของสิ่งนั้นๆน่ะ มันเป็นลูกโซ่ที่ไปทำลายทรัพยากร  ซึ่งเป็นเพื่อนกับการมีชีวิตของเรา  นี่คือสัญญาณแห่งความหายนะของมนุษยชาติครับ..น้องสิงห์

ดูคล้ายๆแม่น้ำสาละวินครับ

--------

ผมนั่งเรือจากเชียงของไปสู่หลวงพระบาง วิวทิวทัศน์ที่สวยงามแบบนี้ได้ไปสัมผัส มีโอกาสอยากหวนไปอีกครา

  • ภาพสวยมากครับ
  • อยากกลับไปถ่ายด้วยตัวเองจังครับ
  • สวัสดีน้องเอก 
  • 11. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
    ดูคล้ายๆแม่น้ำสาละวินครับ
  • พี่ไม่เคยไปน้ำสาลวิน แต่เดาเอาจากข้อมูลที่ผ่านหูผ่านตามาจะคล้ายกันครับ  จนอังกฤษก้ไม่สามารถใช้เป็นทางผ่านไปจีนได้ เช่นกันครับ
  • ออตครับ เช้าวันที่พี่จะกลับพี่เดินผ่านร้านค้าของรัฐบาล ดูจะเป็นสำนักวัฒนธรรม เป็นผ้าย้อมสีธรรมชาติ และเป็นผ้าฝ้ายเส้นใหญ่แบบมีตุ่มๆด้วย  โอยของโปรด เลยควักกระเป๋าซื้อมาฝากคนข้างกายหมดเลย สวยมาก สีก็สวย เป็นรายแรกที่เข้าไปซื้อเขาเลยลดให้พิเศษ 10% เขาบอกคนไทยเขาถือว่าเช้าๆมีคนมาซื้อแบบนี้ก็จะเฮงทั้งวัน เขาเลยทำแบบนั้นบ้าง  อิอิ
  • ส่วนรูปนั้นก็พยายามถ่ายครับ พี่มีกล้องอีกตัวหนึ่ง แต่เกิดปัญหาเลยเข้าโรงซ่อมไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท