หลักสูตร “ทรัพยากรมนุษย์มีความสามารถพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก้าวไกล” รุ่นที่ 1


ทรัพยากรมนุษย์คือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ สศก. ที่รักทุกท่าน           

          ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสจัดหลักสูตร ทรัพยากรมนุษย์มีความสามารถพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก้าวไกล ให้แก่ข้าราชการระดับ 8 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หลักสูตรนี้เน้นการสร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการทำงานในองค์กรยุคใหม่ และขอถือโอกาสใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกัน หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ                                                            

                                                                                                          จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สศก
หมายเลขบันทึก: 159752เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สวัสดีค่ะ

       น่าภูมิใจนะคะที่มีหลักสูตรแบบนี้   อยากให้กรมส่งเสริมการเกษตรมีหลักสูตร ดีๆ แบบนี้บ้าง  แต่อย่าลืมน้องๆที่ มีแค่ซี 5-6 เพราะปัจจุบันเขาเป็นพลังในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่สำคัญ  ไม่บ่น ไม่จู้จี้ ขี้บ่นเหมือนคนแก่ที่ควรจะเกษียณ ตัวเองได้แล้ว

 

 

                                                          เด็กภูมิภาค

Workshop ช่วงปฐมนิเทศน์

คาดหวังอะไรจากการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ มีอะไรจะปรับปรุง และทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

เป้าหมายคืออยากให้เป็นคนดี หรือ คนเก่ง
 ดร.จีระ เป็นโครงการต่อจาก อตก. อยากให้เริ่มจากมีความสุข เป็นคนดี และเป็นคนเก่งด้วย รู้จักกัน สร้างความคิดเห็น เน้นความสุขในการทำงาน เน้นความดี การอยู่ร่วมกัน และวิธีการเรียน  
การมอง Environment และข้อเท็จจริง  แต่ในระบบราชการบางครั้งไม่สามารถพูดความจริงได้
ดร.จีระ  ใน 4 L’s เริ่มจาก Environment ในการเรียนก่อน ให้รู้จักเตรียมพร้อมก่อน มี Defence Mechanism(อย่ากลัวการเมืองเกินไป)  
ความคาดหวังหลังจากอบรมหลักสูตรแล้วอยากให้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร และลดความขัดแย้ง มีการทำงานเป็นทีม มีการtraining สม่ำเสมอ มีเทคโนโลยีที่ดีในการทำงาน มีความกระตือรือร้น เพื่อการพัฒนาองค์กรไปในทางที่ดีขึ้น
ดร.จีระ  การเริ่ม Share ความรู้ จะทำให้การรู้คงอยู่ในองค์กร  Content สำคัญน้อยกว่า Methodology   
ความคาดหวังอยากให้เพื่อนร่วมงานเปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรมในการทำงาน ลดความเชื่อมั่นของตนเอง และหน่วยงาน อีกเรื่องผู้บริหารระดับสูงที่ผ่านอบรมไม่ได้นำมาพัฒนาอบรมในองค์กร  ดังนั้น การอบรมในครั้งนี้ ไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เนื่องจากการตัดสินใจมาจากข้างบน
ดร.จีระ  ขอค้าน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างให้เริ่มต้นจากที่ตัวเองก่อน ให้ศึกษาจาก 7 Habits เน้นให้ตัวเองมีศักยภาพก่อน   
การเปลี่ยนแปลง จริง ๆ เกิดจากจิตใจ และตัวเราก่อน แม้ยาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ เนื่องจากการบริหารเป็นแบบ Silo แข็ง มีการเปลี่ยนแปลงยาก คนไม่สามารถ Link ต่อกัน เนื่องจากคนยึดมั่นถือมั่นในตนเอง ไม่ได้ถือมั่นในองค์กร  ดังนั้นควรเปลี่ยนจากจิตใจก่อน   
อยากให้องค์กร มีความรู้ ความสามารถในองค์รวม ให้เรียนรู้การเข้าใจตนเอง และองค์กร ไม่ต้องพึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี และเน้นเรื่องคน ควรเพิ่มประเด็นความสามารถในการประสานงาน การสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร  สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้คนเป็นคนเก่ง และคนดี
ดร.จีระ  อยากให้เน้นวิธีการเรียน  เรียนร่วมกัน ออกความคิดเห็นร่วมกัน ให้มีการปะทะกันทางปัญญา  
พุ่งความคาดหวังตามชื่อหลักสูตร ได้วิธีการ แนวทาง ความรู้ที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในโลกปัจจุบัน
ดร.จีระ  Talent Management เป็น Brand ที่ควรทำได้จริง แม้ว่าไม่ได้พูดทุกเรื่อง เช่น Innovation แต่ในความเป็นจริงแล้วควรทำทุกเรื่องแต่อาจเริ่มจากที่ในหลักสูตรนี้ก่อน  Talent ประกอบด้วย Skill , Knowledge , Mindset รู้จักเปลี่ยน Paradigm ให้มองอะไรที่ชัดขึ้น เช่น แก้ Silo เพิ่ม Competencies ในตนเอง ให้มี Management Skill กับ leadership Skill และมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ Execution   
เราจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีแรงบันดาลใจผลักดันให้รู้จักการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสุข สนุกงาน ทำให้ใจมี Relationship กับคนอื่น สามารถสร้างเครือข่ายทั้งในและนอกองค์กรได้เพื่อเป้าหมายเดียวกัน   
ขอทราบความหมายที่แท้จริงของหัวข้อหลักสูตร
ดร.จีระ  ในองค์กรมีคนเก่ง เริ่มจากการทำงานเป็นทีม มีความคิดเห็นร่วมกัน การทำงานอย่างมีความสุข ฯลฯ ถ้าทำต่อก็จะทำให้การทำงานเชิงรุกมากขึ้น  โดยปกติ Talent Management เริ่มจากการทำตั้งแต่เด็ก ๆ  ให้ค้นพบตนเองว่าเก่งอะไร ปลูกฝังความคิด เพื่อให้เป็นคนที่เก่ง และมีความสามารถมากขึ้น   
ดร.มนตรี ในยุค Globalization ต้องมีการเตรียมคนในองค์กร คัดเลือกคนอัจฉริยะที่อยู่ในองค์กร มาเรียนรู้ และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า  ดังนั้น การจัดเตรียมความพร้อมต่าง ๆ จะอยู่ในกลุ่มระดับผู้บริหารที่มีบทบาทในการพัฒนาองค์กร เน้นการพัฒนาทักษะทางสังคม ดังนั้นจึงคิดหลักสูตรโดยมุ่งที่ Talent Capital เป็นหลัก ซึ่งทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปได้ตามกรอบ หรือระเบียบที่มีอยู่  
ฟังแล้วมีอะไร 2 เรื่องที่เอาไปใช้เป็นประโยชน์ในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1.สร้างผู้นำโดยการสร้างเสริมประสบการณ์ : Experience
2.การมอบงานให้กับลูกน้อง Empowerment
3.ในระดับ 8 ก็ควรจะมีวิสัยทัศน์ด้วย Vision
4. ทำไมผู้ใหญ่จึงไม่สนับสนุนให้ทำงานอะไรใหม่ น่าจะให้เขาลองเสียก่อน 
หลังจากดูเทปเรื่องผู้หญิงกับเวทีผู้นำแล้ว ได้อะไรบ้าง   (ในมุมมองของผู้หญิง/ผู้ชาย)
ที่ทำงานส่วนใหญ่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ความคิดมีความเท่าเทียมกัน ผู้หญิงต้องมีความรับผิดชอบครอบครัว ด้วย ทำไมองค์กรไม่มอบหมายให้ทำงานที่บ้านได้ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนี้ก็ล้ำหน้าแล้ว
ดร.จีระ Globalization ทำให้ผู้หญิงละเลยเรื่อง Family Values Quality time แม้มีเวลาน้อย แต่ต้องรู้จักใช้ให้คุ้มค่า แต่ไม่ควรเลิกการทำงาน ขึ้นกับสถานการณ์ต่าง ๆ  
ผู้นำพูดถึงเรื่องจริยธรรม สงสัยว่าเกิดได้อย่างไร แต่ละคนเท่ากันหรือไม่ วัดได้ ?
ดร.จีระ ในเทปบอกว่าผู้หญิงมีจริยธรรมมากกว่า ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน แต่ก่อน ขึ้นอยู่กับ ครอบครัว บ้าน วัด โรงเรียน แต่เด็กรุ่นใหม่ สื่อมีอิทธิพลสูง  โดยทั่วไป องค์กรที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำ ส่วนใหญ่คุณค่าจริยธรรมสูง  Warren Buffet บอกว่า ถ้ามี Integrity ,Imagination, Innovation จะเลือก Integrity มากกว่าดร.จีระ ต้องการคนที่ดีก่อน เก่งทีหลัง  
สรุปที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ความเป็นผู้นำ มี 2 แบบ คือ ผู้นำโดยธรรมชาติ กับ การแต่งตั้ง  จากการฟัง การคิดดี พูดดี กระทำดี มีความรับผิดชอบ ทำให้ผู้อื่นยอมรับ มีการทำตาม สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้นำต้องรู้จักแสวงหาความรู้  สนใจ IT  ใช้ภาษาต่างประเทศ คิดนอกกรอบในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาความยั่งยืนผู้นำสร้างได้ สามารถเลียนแบบได้ เกิดจากประสบการณ์เช่นปราชญ์ชาวบ้าน  เกิดจากการเรียนรู้  โอกาสที่ได้แสดงออก ภาพรวมทั้งวัน ในความคิดคือการสร้างพลังให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น 
ที่เรียนมาในวันนี้ทั้งวันในช่วงเช้าเราได้ตอบคำถามที่คาใจว่า เราได้อะไรจากการอบรมในครั้งนี้  ค้นหาความเป็นผู้นำในตนเอง ภาคบ่าย ทราบว่าภาวะผู้นำประกอบด้วยอะไรบ้าง สุดท้ายคือทุกคนไปพิจารณา สำรวจตัวเอง และพัฒนาการเป็นผู้นำได้ แม้ว่าไม่เป็นกลุ่มบริหาร แต่สามารถเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้ 
ดร.จีระ บอกว่าTrust ต้องใช้เวลาในการสร้าง และต้อง Consistent ทำแล้วดีแล้วก็ทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ  ดูจุดอ่อน จุดแข็ง แล้วรู้จักพัฒนาจุดแข็งของเขา  
ดร.มนตรี  สาระสำคัญในการเรียนรู้วันนี้จะเกี่ยวกับ  ภาคเช้า เป็นการปฐมนิเทศน์ แนะนำรายละเอียดของหลักสูตร ความแตกต่างระหว่างผู้บริหาร  ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน หรือผู้จัดการกับผู้นำในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง มุ่งหวังจะให้เห็นภาพ ของภาวะผู้นำ รวมทั้งผู้นำประเภทต่าง ๆ โดยการนำเสนอตัวอย่างของผู้นำผ่านการวิเคราะหื ตลอดจนบทบาทที่สำคัญของภาวะผู้นำตามแนวทางของ ดร.จีระ  ของ Jack Weltch เรื่อง 4 E's ของ Steven Covey 7 habits  ของ Centre for Creative Leadership หรือ ของ Klann 5 E's ของ Michael Hammer 3 ประการ นอกจากนี้ ยังได้เน้นในแนวคิด ความท้าทายของภาวะผู้นำ หรือ Leadership Challenge ของ Posner and Kouzes  5 ประการ และทฤษฎีภาวะผู้นำของ Moris 22 ประการ ซึ่งทั้งหมดนี้คาดหวังจะให้เป็นพื้นฐานองค์ความรู้สำหรับ Talented Capitals ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่จะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่องตามวิถีของผู้นำมืออาชีพต่อไป

ดีใจและขอบคุณที่สศก.จัดอบรมครั้งนี้ ทำให้ได้แง่คิดและแนวทางในการบริหารงานที่สามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ วิทยากรแต่ละท่านมีการเตรียมตัวและตั้งใจถ่ายทอดอย่างเต็มที่ ซึ่งหากจะให้การอบรมประสบผลสำเร็จ ควรจะมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น และจุดประกายให้นักบริหารของสศก.ได้รวมตัวกัน จำเป็นต้องสานต่อเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ สศก.ตั้งใจ

ความคาดหวังที่ได้จากหลักสูตร คือ ทฤษฎีหรือ แนวคิด ส่วนใหญ่ที่มีในเอกสาร มีเนื้อหาที่ดี และสามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ อยากให้เพิ่มเติมแนวคำสอนของศาสนาพุทธ ซึ่งมีอยู่มากมาย และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของคนไทย เป็นเนื้อหาประกอบในหลักสูตร

                                                     ธรณิศร  กลิ่นภักดี (กลุ่ม 6)

                                                 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9

การบริหารความขัดแย้งและศิลปะการตัดสินใจ เป็นวิชาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก  ในการที่จะนำไปใช้ในที่ทำงาน                                                                         บัณฑิต  เกษราพงศ์ 
ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่มีค่ามากที่สุด ในบรรดาทรัพยากรในโลกนี้ ดังนั้นการที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ฝึกอบรมบุคลากรระดับ 8 รุ่น 1 ในหลักสูตร ทรัพยากรมีความสามารถพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก้าวไกล ในครั้งนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการพัฒนาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ถูกทาง และหากเป็นไปได้ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และควรมีการประเมินผล เป็นระยะ ๆ                                                                          กลุ่ม 7
โฆสิต วิโรจน์เพ็ชร์

เป้าหมายการมาอบรมต้องการพัฒนาตนเองให้เกิดพลังในการทำงาน มุ่งพัฒนาทีมงาน สู่การทำงานให้องค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ ตามภาระกิจหน้าที่ นำสู่ Vision องค์กร

สิ่งที่ได้จากการอบรม 2 วันที่ผ่านมา

1. ลักษณะของ Leadership ในยุคโลกาภิวัตน์

2. EQ ได้รู้มากขึ้นเกี่ยวกับ EQ แต่เวลาน้อยไป

3. การทำงานเป็นทีมได้สิ่งให้เห็นถึงการทำงานคนเดียจวไม่ได้เพิ่อระดับตนเองสูงขึ้น

ข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตร

1. การเข้าอบรม , ฝึกให้คิด , กลับมาระดมความคิด

2. ฝึกปฏิบัติให้มาก เพื่อสรุปเข้าสู่แนวคิดของที่เรียน

3. ให้โอกาสระดมความคิดในกลุ่มผู้เข้าอบรม โดยผู้รู้ที่เป็นพี่เลี้ยง นำไปสู่การเรียนรู้ วิธีการจัดการกับปัญหา  และการคิดสร้างสรรค์

                                  โฆสิต  วิโรจน์เพ็ชร์

1. มีความคาดหวังว่าจะได้รับความรู้จากวิทยากรเป็นอย่างมาก เพราะ

1.1 ศรัทธาอาจารย์ผู้บรรยาย เป็นผู้มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากสังคมตลอดจนที่มีผลงานต่าง ๆ มากมาย

1.2 หัวข้อบรรยายทุกหัวข้อ โดยเฉพาะหัวข้อภาวะการเป็นผู้นำและการบริหารความขัดแย้ง เป็นหัวข้อที่ให้ความสนใจมาก เพราะในฐานะที่เป็นหัวหน้ากลุ่มที่รับผิดชอบ ทั้งเป็นผู้นำและผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้ากลุ่มงาน) ที่ใกล้ชิดกัน มีผู้ปฏิบัติงานโครงการ จึงประสบปัญหาและรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านส่วนตัว และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ แต่กลับไม่มีอำนาจหรือบทบาทที่จะปรับปรุงแก้ไขได้มากนัก จึงตั้งใจว่าหัวข้อที่กล่าวน่าจะช่วยได้มาก

2 . ข้อคิดเห็น

2.1 หัวข้อและวิขาการบรรยายหลายหัวข้อเน้นความเป็นภาวะผู้นำและผู้บริหารในระดับที่มีอำนาจหรือบทบาทในการพิจารณาตัดสินใจ หรือ มีผลในทางปฏิบัติโดยตรง (ผู้บริหารระดับหน่วยงาน)

2.2 ปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะผู้นำหรือผู้บริหารระดับหัวหน้ากลุ่มงาน (ส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมอบรมฯ ) ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติดดยตรง แต่หัวข้อบรรยายไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้โดยตรงเพราะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารเหนือขึ้นไป

2.3 มีหัวข้อที่สามารถมีประโยชน์และนำไปปรับใช้ได้ และสมที่คาดหวัง

    1. จิตวิทยาของผู้นำและความฉลาดทางอารมณ์

    2. การบริหารความขัดแย้ง ซึ่งการบรรยายตรงกับปัญหาที่ประสบอยู่ และนำไปปรับแก้ไขได้เลย     

                                               สมพงษ์  หนูเนียม

- สร้างบรรยากาศ/กระต้นให้เพื่อนร่วมงานกล้าแสดงความคิดเห็น

- สร้างกระบวนการยอมรับความคิดเห็นซื่งกันและกัน

- ปรับรูปแบบการทำนให้เป็นทีม และทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น

1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม

-          ผู้นำจะต้องนำทั้งด้านความคิด กล้านำ และกล้าพูด มององค์กรในภาพกว้าง และมองไปนอกองค์กร

-          การพัฒนาต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ยึดติดแต่กรอบเดิม ๆ

-          ต้องรู้จักกระจายงาน มอบหมายงานตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

-          การเป็นผู้นำต้องมี EQ  ต้องรู้จักตนเอง ควบคุมอารมณ์  ร่วมรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น

-          ต้องรู้จักลดความขัดแย้งทั้งระหว่างบุคคล กับองค์กร ระหว่างหน่วยงาน ซึ่งความขัดแย้งที่เป็นประโยชน์ คือ ความขัดแย้งส่วนรวม เพราะนำไปสู่การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี

2. วิทยากรที่บรรยายในแต่ละวัน มีประสบการณ์ ความรู้มากในการถ่ายทอดความรู้                                                                                     

                                                                           พนิดา  โตพ่วง

ได้รับประโยชน์จากการอบรมในหลักสูตรนี้มาก เพราะสามารถนำไปใช้ปรับปรุงการทำงานได้ทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา ตนเอง และผู้ใต้บังคับบัญชาโดยการทำงานต่อไปนี้ จะมอบงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้การทำงาน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทักษะและประสบการณ์การทำงานให้เป็นผู้มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเติบโตก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอนาคต  นอกจากนี้ยังจะนำความรู้ที่ได้รับมาพิจารณาตรวจสอบจุดแข็งและจุดอ่อนในความเป็นผู้นำของตนเองเพื่อแก้ไข พัฒนา และปรับปรุงจุดอ่อน และสามารถถึงจุดแข็งของตนเองขึ้นมาใช้ในการบริหารงานได้

การที่รับการอบรมหลักสูตรทรัพยากรมนุษย์มีความสามารถพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก้าวไกล นับว่าได้ประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากการอบรมหลักสูตรอื่อน ๆ ที่ผ่านมา จะเน้นทางด้านวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ  สำหรับหลักสูตรในครั้งนี้ มุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีการพัฒนา กระตุ้นแนวความคิดใหม่ ๆ หรือคิดนอกกรอบ การบริหารการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารอารมณ์ ให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ การบริหารความขัดแย้งในระดับต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับ จะเป็นการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในองค์กร อย่างไรก็ตาม เห็นว่าบุคลากรภายในองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ หรือพฤติกรรม โดยควรมุ่งหวังผลประโยชน์ขององค์กรมาก่อน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ

It is a great opportunitiy for me to attend this class. I have to thank my Secretary General who has a wide vision. I can say that I have learnt a lot from the class. Now, I know how important of EQ is and how to manage my EQ, how to manage the happines capital, how to manage the conflicts. The topics I have never known before. I am not a leader but I found that it is very useful for every body. I highly recommend the Leaders and Administrators of OAE to attend this class too. 

ความคาดหวังที่เข้าร่วมโครงการฯ พบแล้วว่า

1. แนวทางการบริหารความขัดแย้ง ทั้งระดับบุคคลกับบุคคล บุคคลกับองค์กรและองค์กรกับ องค์กร

2. น่าจะนำไปปรับใช้กับการทำงานได้

อยากให้มีการพัฒนาบุคลากรของ สศก.ที่มีอายุอยุ๋ในช่วง 30-35 ปี เพื่อฝึกฝนภาวะการเป็นผู้นำที่มีศักยภาพต่อไป

  ผมต้องขอบคุณ บรรดา C 8 รุ่น 1 ที่กรุณาส่ง Blog  กัน หลาย ๆ ท่าน ซึ่งผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ระหว่างที่เขียน ก็เป็นช่วงเข้าที่ อ.รัศมีมาร่วม  อยากจะให้ช่วยคิดต่อว่า

 1. จบไปแล้ว เราจะทำอะไรต่อ

 2. ฝากประธานรุ่นให้ช่วยประสานด้วย

 3. แนะนำว่ามีเรื่องอะไรที่ยังขาดอยู่

 

                                                    จีระ  หงส์ลดารมภ์

จากหลักสูตรนี้พบว่า ปัญาหาและแนวทางการแก้ไข ล้วนมาจากการฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์  ที่สำคัญคือ ความเข้มแข็งของจิดใจ ซึ่งท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับการป้องกันปัญหาความอ่อนแอของจิตใจที่เป็นปัญหาในสังคมไทยเราในปัจจุบัน จะช้าเกินไปไหมถ้าเรามาพัฒนาผู้คนในอายุเท่านี้ ในขณะที่ มนุษย์มีการพัฒนาและทำลายจิตใจตั้งแต่เริ่มรู้จักกับสังคม มีเด็กมากมายที่เก่ง ดี แต่อยู่ในครอบครัวที่อ่อนแอทางจิตใจ แต่เด็กบางคนเอาความดีที่มีอยู่เอาชนะความวุ่นวายของสังคม เช่น พ่อที่เมาและทำร้ายแม่ ต่อหน้าลูกที่ไร้เดียงสา แต่ลูกกลับสามารถเป็นแพทย์ และอยู่ในเกณฑ์แพทย์ผู้เสียสละ ในฐานะที่ท่านสามารถมีโอกาสเข้าใกล้ชิดผู้นำประเทศ ท่านคิดว่าท่านน่าจะมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเยาวชนไทยอย่างไร หรือปล่อยเขาให้เป็นผู้นำ/ผู้บริหารเสียก่อนจึงค่อยพัฒนา ทั้งที่บางครั้ง ความอ่อนแอนี้สั่งสมนานานจนกลายเป็นทาสวัตถุ ทาสสังคมไปแล้ว

  ขอบคุณค่ะที่ให้โอกาส 

นำความรู้ไปปรับใช้กับการทำงานeและการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดียิ่ง

ความรู้ที่ได้รับจากทีมงานของ ดร.จีระ ดีมาก โดยเฉพาะเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ และความคิดในเชิงบวก ควรมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และทุก ๆ คน ใน สศก.  ควรได้มีโอกาสในการเรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อให้เกิดสังคมที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ก่อนอื่นกระผมขอขอบคุณผู้บริหาร สศก. และสถาบัน Chira Academy ที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้เรื่องดีๆ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิต การอบรมครั้งนี้ทำให้ได้พบคณะวิทยากรที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งสามารถกลั่นกรองเนื้อหาที่เป็นวิชาการยากๆ มาบรรยายให้เข้าใจได้ง่าย มีการยกกรณีตัวอย่างให้เห็นวิธีการนำความรู้ไปปรับใช้จริง มีข้อคิดดีๆ ที่ประมวลจากประสบการณ์ของวิทยากรแต่ละท่าน การให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ทำให้เข้าใจและจดจำได้ดี นอกจากนี้ยังมีเทคนิคในการการจัดห้องเรียนให้เอื้ออำนวยกับการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งควบคุมให้ผู้เข้ารับการอบรมตั้งใจรับความรู้อย่างจริงจัง ความรู้จากการเข้าอบรมในครั้งนี้ หลายเรื่องกระผมได้ปฏิบัติอยู่แล้ว ทำมีความมั่นใจในการปฏิบัติมากขึ้นและยังได้แนวคิดจากวิทยากรมาใช้ปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ส่วนความรู้อีกหลายเรื่องที่ไม่เคยปฏิบัติก็จะนำไปปรับใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตต่อไป

ขอบคุณอีกครั้ง

"ขอเรียนด้วยความเคารพว่า ช่วง 4 วันที่ได้เข้ารับการอบรมกับทีมงานท่านอาจารย์จีระ นับได้ว่าคุ้มค่ามาก ทำให้รู้ว่ามีอะไรอีกตั้งมากมายที่ต้องเรียนรู้ ทำให้มีความรู้สึกว่ายิ่งได้เรียนมากเท่าไหร่ยิ่งอยากรู้มากขึ้นเท่านั้น"

อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเด็นที่ยังสงสัย คือ เรื่องการสร้างความสุข วันแรกที่ขึ้นต้นว่าความสุขอยู่ที่ตัวเรา อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ครั้นวันต่อมาได้มีการนำเสนอวิธีการสร้างความสุขด้วยวิธีการต่างๆ ด้วยการหาสิ่งภายนอกมาปรุงแต่ง โดยลืมประเด็นเรื่องสุขทุกข์อยู่ที่ตัวเราเกือบโดยสิ้นเชิง จริงๆ แล้วคาดหวังที่จะได้ยินว่าความสุขที่แท้จริงคือ "ความพอใจในสิ่งที่ตนมี" ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางพุทธศาสนา และแนวเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง

จึงใคร่ขอเสนอตัวอย่าง ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี คือ อดีตนายกทักษิณ จะมีความสุขถ้าเขามีความพอใจกับความมั่งมีที่เขามีอยู่ เสวยสุขตามแบบที่นักธุรกิจทั่วไปทำ แม้แต่การหลีกเลี่ยงภาษีได้ก็ทำได้โดยไม่มีใครไปเรียกร้องถึงจริยธรรม  แต่ด้วยที่เขายังไม่พอใจในสิ่งที่เขามีอยู่คือความมั่งคั่ง เขายังต้องการมีเกียรติ จึงขันอาสาพาตัวเองเข้าสู่การเมืองด้วยปณิธานที่ว่าต้องการรับใช้บ้านเมือง และเขาก็ทำได้ดี บ้านเมืองกำลังไปได้สวย แต่กลับสดุดหยุดลงด้วยกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่สมประโยชน์ หรือจะเกลียดกันโดยส่วนตัวก็แล้วแต่ จึงลงทุนโค่นล้มรัฐบาลทักษิณโดยเอาบ้านเมืองเป็นตัวประกัน  ท้ายที่สุดอดีตนายกทักษิณจึงต้องชดใช้ความไม่พอเพียงใจในสิ่งที่ตนมีในต่างแดนด้วยข้อหาต่างๆนาๆ ทั้งที่ศาลยังไม่พิพากษา เรื่องที่ถูกยกมาเป็นประเด็นมากที่สุดคือ เรื่องหลีกเลี่ยงภาษี ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยมี 2 มาตรฐาน นักธุรกิจทั่วไปทำได้ แต่นักการเมืองทำไม่ได้ แต่ทุกคนทราบดีว่าอีกหลายบริษัทที่ทำมาหาได้โดยไม่เคยเสียภาษีเลย เพราะได้ได้รับการยกเว้น อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานนอกเหนือจากที่กล่าว อย่างไรก็ตาม ใคร่ขอเน้นว่านี่คือ ตัวอย่างความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี อันนี้เป็นสัจจธรรม และขอคิดว่า ทุกคนสามารถสร้างความสุขด้วยตัวเองได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

เมื่อพูดถึงมาตรฐาน อะไร คือ มาตรฐานวัดความสุขที่มนุษย์ต้องการ ยกตัวอย่าง ประเทศภูฎาน ได้รับการยกย่องชื่นชมว่าประชาชนมีดรรชนีความสุขสูงสุดประเทศหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยชื่นชมนักหนาอย่างเป็นอยากมีดัชนีความสุขสูงอย่างภูฎาน แต่ถ้าถามว่าจะมีใครซักกี่คนที่ปราถนาจะไปตั้งรกรากหรือใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศภูฎาน อันนี้น่าสนใจ น่าศึกษาต่อ

อันนี้เป็นเพียงข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะไม่ make sense เท่าใดนัก แต่ก็พยายามที่จะหัดใช้สมองลองคิดดู

ด้วยความเคารพทุกแนวความคิด

 

ผมได้อ่าน Blog  ที่ 22 เห็นด้วยกับ แนวคิดที่ว่า ความสุขอยู่ที่คน ไม่ใช่อยู่ที่เครื่องปรุงแต่งครับ  เป็นความคิดที่ดี  แต่สำหรับบางเรื่องนั้นเครื่องปรุงแต่งก็สามารถเสริมให้เรามีความสุขได้บ้างครับ ซึ่งก็สามารถเสริมกันได้ครับ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคำว่าพอประมาณ และพอเพียงครับ
สศก. ไร้พุง    สมาชิก กลุ่ม 8 
หลักการ และเหตุผล
·       คน สศก.ทุกหน่วยมีสุขภาพแข็งแรง
·       เริ่มจากคนส่วนใหญ่ มีความอ้วนเกินมาตรฐานที่คิดว่าระหว่าง อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก  ดังนั้น ในปัจจุบันความอ้วน หรือ โรคอ้วน ในวันทำงาน คือ 30 - 59 พบมาก  ส่วนวัย 24 – 29 ปี ปัจจุบันก็มีความอ้วนมากขึ้น  ·       อาหารไม่มีคุณภาพในปัจจุบัน 
·       การจำหน่ายยาลดความอ้วน  
·       โครงการนี้ น่าเป็นประโยชน์ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งมีค่า เป็นปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อให้มีพุงลดลง บุคลากรมีบุคลิกภาพที่ดี
2.      เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจ เบิกบาน แจ่มใส
3.      สุขภาพที่ดี ทำให้มีสุขภาพใจที่ดี 
เป้าหมาย  ดำเนินการในเจ้าหน้าที่ สศก.ทุกคนให้มีส่วนร่วมทุกคน 
วิธีดำเนินการ
1. สำรวจมวลรวมร่างกายตามหลักวิชาการกระทรวงสาธารณสุข  วัดส่วนสูง  น้ำหนัก แยกเพศ หาค่าเฉลี่ย มีการตรวจร่างกายประจำปี
2.      กิจกรรม กำหนดวันพุธของทุกอาทิตย์เป็นวัน สปอร์ตเดย์  มีเครื่องแต่ละหน่วยอยู่ตามภูมิภาค และกรุงเทพฯ
3.      ตรวจสุขภาพ มีหน่วยบริการ กระทรวงสาธารณสุข  จับชีพจร วัดความดัน
4.      มีการวัดผลทุก 2 เดือน แต่ละศูนย์  และจัดลำดับว่าหน่วยงานไหน ทำได้ตามที่กำหนดไว้ 
ระยะเวลาดำเนินการ   เริ่มตุลาคม 2551 ต่อเนื่องไปทุกปี 
งบประมาณ 200,000 บาท ค่าตรวจสุขภาพ  ติดต่อกระทรวงสาธารณสุข  อุปกรณ์ วิทยากร ประชาสัมพันธ์ 
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
1.      มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2.      พุงลดลง 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
มีการประเมินผลติดตามผลงานตามที่ประสบความสำเร็จ 
ดร.จีระ  บอกว่า เป็นโครงการดี และน่าเป็นไปได้ เข้าหลักของเรื่องสุขภาพ และงบประมาณไม่แพงนัก  
กลุ่มที่ 6  Happy Room
วัตถุประสงค์ 
เอาไว้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการในกอง สำนัก และอาจก้าวไปสู่สำนักงานใหญ่ เพื่อให้ข้าราชการมีเวลาปรึกษาหารือกัน
กลุ่มเป้าหมาย
ข้าราชการทุกคน
กิจกรรมที่ดำเนินการ
จิบน้ำชายามเช้า  พักผ่อนหลังอาหารเที่ยง เช่น ดูทีวี  อ่านหนังสือ     กิจกรรมยามเย็น ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ  ถ้าพร้อมแล้วอาจเริ่มกุมภาพันธ์
บประมาณ ปีละ 100,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.      สามารถสร้างความสุข  และความสัมพันธ์ที่ดี
2.      สร้างความเป็นกันเอง และเปิดใจระหว่างลูกน้อง และหัวหน้า3.      สร้างความสุขในการทำงาน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จโครงการ
1.      เวลาส่งโครงการเสนอผู้ใหญ่ อาจจะได้รับอนุมัติโครงการมากขึ้น
2.      บุคลากรมีขวัญ และกำลังใจ ทำงานมีประสิทธิภาพ มีชิ้นงานเพิ่มมากขึ้น  
ดร.จีระ  เสนอว่า เป็นโครงการดี  ชื่อน่าสนใจ เสริมการสร้างบรรยากาศให้คุยกันครบถ้วน  มีอินเตอร์เน็ต  และมุมกาแฟ  เริ่มที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน  วันที่เปิดอาจเชิญเลขาฯ หรือ ดร.จีระ ไปร่วมด้วย  อาจมีการนำเสนอความรู้ แลกเปลี่ยนกัน ควรมีมุมได้Share ความรู้กัน
กลุ่มที่ 3  โครงการธนาคารคนจน
หลักการและเหตุผล
1.1 รายรับของข้าราชการในสศก. มีจำกัด แต่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง การบริหาร การจัดการเงินในแต่ละเดือนไม่คล่องตัว
1.2 วงเงินกู้สวัสดิการ  สศก. และวงเงินกู้ฉุกเฉินมีไม่เพียงพอ และมีเงื่อนไขมาก
1.3 ช่วยเหลือเรื่องการเงินสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน
1.4 ต้องการสร้างรายได้ให้ผู้มีเงินเหลือใช้ นำเงินมาออม และได้ผลตอบแทนคุ้มค่า
วัตถุประสงค์
1.      ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ สศก.ที่เดือนร้อนด้านการเงิน และเพิ่มผลตอบแทนให้เจ้าหน้าที่ที่มีเงินออม
2.      เพิ่มความสุขในที่ทำงานกลุ่มเป้าหมาย   เจ้าหน้าที่ สศก. ทุกคนที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ  
แนวทางการดำเนินการ
1.      เก็บค่าสมาชิกแรกเข้าคนละ 500 บาท
2.      เก็บเงินผู้เข้าร่วมโครงการทุก ๆ วัน ๆ ละ 1 บาท
3.      ให้กู้ยืมคนละ 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี กำหนดชำระคืนภายใน 3 เดือน ในกรณีผิดเงื่อนไข คิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 8 และงดการให้กู้เป็นระยะเวลา 3 เดือน
4.      กำหนดอัตราผลตอบแทน สำหรับผู้ฝากเงินร้อยละ 3
5.      การบริหารจัดการในรูปแบบเดียวกับสหกรณ์ โดยคณะกรรมการมาจากการคัดเลือกจากสมาชิก 
ระยะเวลาดำเนินการ
มีนาคม 2551 เป็นต้นไป 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่  สศก. ที่มีปัญหาเร่งด่วนด้านการเงินไม่น้อยกว่า 200 คนเพิ่มผลตอบแทนให้เจ้าหน้าที่ สศก. ที่มีเงินออมไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 
ปัจจัยความสำเร็จ
ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ สศก.ได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากร สถานที่ปฏิบัติการ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเบื้องต้นจาก สศก.  
กลุ่มที่ 4  โครงการทำงานให้สนุก & เป็นสุขกับการทำงาน
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อให้บุคลากร สศก.ทำงานมีความสุข
2.      เพื่อให้บุคลากร ทำงานสนุกกับการทำงานที่ทำให้ผลิตภาพงานเพิ่มขึ้น
3.      เพื่อให้ สศก. เป็นองค์กรแห่งความสุขของทุกคนที่อยู่ร่วมกัน
4.      เพื่อให้ สศก.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสังคมที่ทำงาน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดไป
กลุ่มเป้าหมาย  ทุกคนที่ สศก.
แนวทางดำเนินงาน
1.      มีการจัดสวัสดิการใหม่ ๆ เพิ่มให้ทุกหน่วยงาน ใน สศก.ได้แก่สวัสดิการทั่วไป
1.      มีห้องเอกสารวิชาการ
-          จัดเก็บเอกสาร/ รายงานประชุม / หนังสือทางวิชาการ
-          หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ / นิตยสาร/ วารสารต่าง ๆ
2.      ห้องพยาบาล
-          มียาสามัญประจำบ้าน / อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
-          มีเตียงพยาบาล
-          โทรศัพท์ / หมายเลขฉุกเฉิน
3.      สถานที่ออกกำลังกาย
-          มีห้องออกกำลังกาย
-          มีเครื่องออกกำลังกายที่มีผลดีต่อสุขภาพ 5-6 ชนิต
-          สนามออกกำลังกาย
4.      ห้องฝึกสมาธิ/ ปฏิบัติธรรม (ทุกศาสนา)
-          มีผู้นำมาฝึกสอน
-          มีการบรรยาย / เทปธรรมะ
สวัสดิการด้านวิชาการ
1.      มีที่ปรึกษาทางวิชาการ
-          ทั้งภายใน / ภายนอก เพื่อช่วยเหลือ / แนะนำในการทำการศึกษา / วิจัย
-          ผู้ให้คำแนะนำ ในการแก้ปัญหาการทำงาน
2.      องค์กรแห่งการเรียนรู้
-          เชิญบุคคลภายนอกมาให้ความรู้ / วิทยาการใหม่ ๆ
ระยะเวลาดำเนินการ                       
ต่อเนื่อง / ตลอดไป
งบประมาณ
1. จัดซื้อเอกสาร/หนังสือวิชาการใหม่ ๆ ปีละ     100,000 บาท
2. จัดซื้อหนังสือพิมพ์ (เพิ่มเติมให้ครบทุกฉบับ) ปีละ   50,000 บาท
3. จัดห้องออกกำลังกาย/วัสดุอุปกรณ์ปีละ 100,000 บาท
4. จัดห้องฝึกสมาธิ/ปฏิบัติธรรม (ทุกศาสนา) และค่าวัสดุอุปกรณ์ (เทป/หนังสือธรรมะ/ผู้สอน)   ปีละ  100,000 บาท
5. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อยาสามัญประจำบ้าน ปีละ 100,000 บาท
6. จัดจ้างนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาให้คำปรึกษา  ปีละ     50,000 บาท
รวม   500,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.      เพิ่มผลิตภาพของงาน
2.      เพิ่มผลิตภาพของคน
3.      เพิ่มผลิตภาพของ สศก. โดยรวม
4.      คุณภาพชีวิต ในการทำงานของข้าราชการ สศก. ดีขึ้น
5.      บุคลากรมีความรัก ความพึงพอใจในองค์กร และมีชีวิตการทำงานมีความสุขมากขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
1.      ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร
2.      ได้รับงบประมาณเพียงพอ
3.      ได้รับการจัดหารเจ้าหน้าที่มาทำงานในการให้บริการ
4.      บุคลากรของ สศก. มีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น/ เสนอแนะ  
กลุ่ม 7 โครงการศูนย์สุขภาพ สศก.
วัตถุประสงค์   เพื่อดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น
กลุ่มเป้าหมาย           บุคลากรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
แนวทางในการดำเนินงาน
1.      จัดหาสถานที่
2.      จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
3.      จัดหาเอกสารวิชาการด้านสุขภาพต่าง ๆ
4.      จัดจ้างพยาบาล
5.      เปิดให้บริการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ระยะเวลาในการดำเนินงาน   1 ต.ค. 51 – 30 ก.ย. 52
งบประมาณ
1.      เตียงพร้อมเครื่องนอน จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน  20,000 บาท
2.      ตู้เก็บยา และเวชภัณฑ์  จำนวน 1 ใบ เป็นเงิน 8,000 บาท
3.      ชุดโต๊ะทำงาน 1 ชุด เป็นเงิน 6,000 บาท
4.      เก้าอี้รอรับบริการ   4 ตัว  เป็นเงิน 2,000 บาท
5.      อุปกรณ์การแพทย์  (เครื่องวัดความดัน หูฟังแพทย์ ชุดปฐมพยาบาล)  เป็นเงิน 10,000 บาท
6.      เครื่องช่างน้ำหนักพร้อมเครื่องวัดส่วนสูง  เป็นเงิน  10,000 บาท
7.      ชุดยาสามัญประจำบ้าน เป็นเงิน 2,000 บาท
8.      ค่าจ้างพยาบาล  เป็นเงิน 120,000 บาทรวมงบประมาณทั้งสิ้น  178,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  บุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ไม่เสียงาน และไม่เสียวันลา  ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ การสนับสนุนงบประมาณจากผู้บริหารอย่างจริงจัง  
กลุ่ม 5  โครงการ : ลีลาศเพื่อสุขภาพ (Dance For Health)
วัตถุประสงค์ : เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากรในองค์กร
กลุ่มเป้าหมาย : ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สศก.
แนวทางการดำเนินงาน :
1)     ประชาสัมพันธ์โครงการ
2)     รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
3)     คัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงาน
4)     ติดต่ออาจารย์ผู้สอน หรือ ชมรมลีลาศ ในสถาบันการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินงาน : เริ่มต้นในปีงบประมาณ 2551 (ทุกเย็นวันศุกร์สัปดาห์ละครั้ง)
งบประมาณ : 50,000 บาท
1)     ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม  10,000 บาท
2)     ค่าอาหารและทีมงานผู้สอน (สัปดาห์ละ 500 บาท 52 สัปดาห์)  30,000 บาท
3)     ค่าอื่น ๆ  10,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.      ข้าราชการ สศก. มีสุขภาพจิต และสุขภาพกายดี
2.      ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรักที่จะทำงานอย่างมีความสุข
3.      สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างข้าราชการในหน่วยงาน
ปัจจัยที่เป็นความสำเร็จของโครงการฯ
1.      ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ
2.      มีผู้บริหารจัดการโครงการ
3.      มีสมาชิกสนใจเข้าร่วมโครงการ
ผมอยากให้รุ่น 1 ช่วย ดู Blog  ด้วย  เพราะรุ่น 2 มีคน Click เข้ามากกว่า 200 คนแล้ว Blog รุ่น 1 ก็ดี เหมือนกันครับ  อย่างไรก็ตาม ผมขอฝากความคิดถึงทุกคนด้วย

เรียน  อาจารย์ ดร.จีระ  ที่เคารพอย่างสูง

             การฝึกอบรมหลักสูตรนี้เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่ายิ่งขององค์กร  กล่าวได้ว่าผู้บริหาร สศก.เกาถูกที่คัน   โดยเฉพาะงานรับผิดชอบของสศก.ที่ต้องมีบุคลากรประเภทรับผิดชอบสูงบ้าคลั่งงาน  ศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตและเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ   ซึ่งกล่าวได้ว่างานวิชาการเป็นงานไม่มีที่สิ้นสุดและถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด  อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  สถานที่  บุคคลและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานเป็นทีม  สามัคคีรักใคร่นับถือกัน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน  เสมือนญาติพี่น้องกัน  เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่ต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานดังกล่าวให้เกิดขึ้นในองค์กร  หากเป็นดังที่กล่าวมาแล้วผมเชื่อว่าผลงานของสศก.ที่ออกมาจะมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น  ขอยกย่องชมเชยท่านอาจารย์ดร.จีระและคณะที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตลอดระยะเวลา   4  วัน  ด้วยความเต็มใจและทุ่มเทอย่างเต็มความสามารถ  ความรู้ความเข้าใจทั้งหลายสามารถนำไปใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างดียิ่ง  จึงขอขอบพระคุณท่านและคณะเป็นอย่างยิ่งไว้ ณ ที่นี้

  

                                                                                                                นายฉัตรชัย  เต้าทอง

                                                                                                                       รุ่น 1 กลุ่ม 8

สวัสดีครับลูกศิษย์ชาว สศก. ทุกท่าน

            ผมเปิด Blog:www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/สศก. : Follow up สำหรับลูกศิษย์ สศก. เพื่อติดตามผลการเรียนรู้หลังจบโครงการสำหรับทุกคน คือ บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้กับผมทั้ง108 คน โดยขอให้ทุกคนใช้ Blog:www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/สศก. : Follow up  เป็นช่องทางในการตอบคำถาม สำหรับโจทย์แรกที่ผมมอบหมายให้ดังนี้

แบบทดสอบ

ใช้ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ 8 K’s และ 5 K’s (ใหม่) วิเคราะห์ผู้นำ 3 คู่ และเชื่อมโยงไปถึงตัวท่านเองและการสร้างผู้นำในองค์กรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรแบบ Ram Charan ว่าจะช่วยได้อย่างไร

·       อภิสิทธิ์ / อภิรักษ์

·       Gordon Brown / Tony Blair

·       Obama / McCain

 

            โปรดตอบโจทย์นี้ภายใน 2 สัปดาห์นับจากนี้ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่าน โดยตอบผ่าน Blog:www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/สศก. : Follow up  และทางอีเมล์ [email protected] (ทั้ง 2 ช่องทาง)

 

            ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะให้ร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะกิจกรรมนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวท่านเอง องค์กร และการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรของเราต่อไป

           

 

                                                               จีระ หงส์ลดารมภ์

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณจิระในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ค่ะ

ที่ว่า องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีบุคลากรที่ดี

โดยจะต้องมีทัศนคติที่ดีเเละรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ

และนอกจากจะเป็นคนดีแล้ว จำต้องเป็นคนเก่งด้วย

และที่สำคัญต้องมีการเเลกเปลี่ยนความคิดกันโดยลดความยึดมั่นถือมั่นในตนเองและกล้าที่จะแสดงความเห็นกันในทางสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท