ผลกระทบของการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิต


การช่วยเหลือให้หลุดพ้นจากผลกระทบของการเจ็บป่วย บางครั้งยากยิ่งกว่าการรักษาอาการป่วยเสียด้วยซ้ำ

ก่อนจะพูดถึงแนวคิดของการฟื้นฟู ก็อยากจะเท้าความถึงแนวคิดเรืองการเจ็บป่วย

ในบทความของ Anthony ได้พูดถึงผลกระทบของการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคใดก็ตามจะมีผลกระทบด้วยกัน  4 ระดับคือ

  1. impairment คือ  การเกิดความผิดปกติไปจากเดิมทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรืออาการของโรค
  2. dysfunction  คือ  ความสามารถในกาำำรทำหน้าที่ของบุคคลเสียไป อันเป็นผลจากความคิดปกติ หรืออาการเจ็บป่วย
  3. disability  คือ  ความพิการที่หลงเหลือให้เห็นหลังจากการเจ็บป่วย
  4. disadvantage คือ  การสูญเสียผลประโยชน์อันพึงได้รับ หรือการถูกกีดกันในการได้รับผลประโยชน์เนื่องจากเป็นบุคคลพิการหรือป่วย

ยกตัวอย่างให้เห็น  เอาง่ายๆ สำหรับบุคคลป่วยด้วยโรคจิตเภท

impairment  ก็คือ การมีอาการทางจิต เช่น หูแว่วประสาทหลอน  ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ก้าวร้าว เป็นต้น

dysfuntion  ก็คือ  การไ่ม่สามารถทำงานไ้ด้ตามปกติ  ดูแลตัวเองไม่ได้  ทำงานไม่ได้ในช่วงขณะที่มีอาการ

disability ก็คือ  การมีความพิการหลงเหลือจนไม่สามารถกลับไปทำงานได้ดังเดิม หรือต้องมีผู้ดูแล

disadvantage ก็คือ  การที่ถูกสังคมตีตราว่าเป็นคนบ้า   การไม่สามารถทำธรุกรรมได้เพราะมีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต  รับราชการไม่ได้เนื่องจากมีประวัิติเจ็บป่วยทางจิต รุนแรง

แนวคิดการผลกระทบการเจ็บป่วยนี้ สามารถอธิบายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกายหรือโรคทางจิต  โดยเฉพาะ  โรคเรื้อรัง หรือโรคที่ส้ังคมไม่ยอมรับ จะสามารถใช้โมเดลนี้ในการอธิบาย ปัญหาที่เกิดกับตัวผู้ป่วยได้ชัดเจน 

หมายเลขบันทึก: 159189เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2008 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เข้าใจแล้วค่ะ  โมเดลนี้คืออะไร 
  • แล้วจะเป็นวิจัยต่อไปกับ  ผู้ป่วยจิตเภท 
  • จะเป็นกรอบงานวิจัยอย่างไรหนอ
  • ช่างสงสัย อยากรู้ ซะแล้ว

ต้องติดตามต่อไป

หวัดดีครับครูอ้อย   โมเดลอันนี้  เรียกว่า  Disability Model  ออกแบบด้วย World Health Organization  ใช้ในการอธิบายผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยครับ

ประเด็นปัญหาก็คือ   ระบบสาธารณสุขทุกวันนี้  ยังช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ครอบคลุม   ดูแค่เรือง  รักษาอาการให้หายจากโรค  แต่ไปไม่ถึงคุณภาพชีวิตของเขาหลังการเจ็บป่วย  เช่น

คนเป็นเบาหวาน  เขาต้องปรับเปลียนอะไรบ้าง หลังจากออกโรงพยาบาล  ลักษณะการทำงานต้องเปลี่ยนไหม  อันนี้ดังดุไม่ถึง

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ  คนโรคจิต และ คนเป็นเอดส์  แม้จะรักษาหายแต่เขาก็มีชีวิตอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ เพราะสังคมไ่ม่ยอมรับ  ดังนั้น บทบาทของพวกผมก็คือ   ต้องช่วยเหลือให้เขายืนอยุ่ในสังคมให้ได้ อย่างมีความสุข 

ที่กลุ่มวิจัย ELDERS ที่ UBC ที่มัทอยู่นี้ก็ใช้ WHO ICF เช่นกันค่ะ

วันนี้มาเรียกให้พี่แวะไปดูวีดีโอนี้

เป็นผลกระทบของการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตอีกข้อค่ะ

 

ขอบคุณน้องมัทมากนะครับ ที่หยิบยกประเด็นการถูกทำร้ายโดยคนไข้

ในการดูแลคนไข้จิตเวชในภาวะที่เขาัยังไม่มีสติสัมปชัญญะ และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ก็มักจะเกิดปัญหา ความรุนแรงได้

การถูกคนไข้ทำร้าย (assault)มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น

พยาบาลบางคนถูกคนไข้ด่าทอ ทุบตี

พยาบาลบางคนถูกคนไข้เอาไม้ฟาด หรือทิ่มแทงจากข้างหลัง

พยาบาลบางคนถูกคนไ้ข้ข่มขืน

พยาบาลบางคนถูกคนไข้ฆ่าตาย

ปัญหาที่หยิบยก เคยมีหมดทุกรูปแบบในเมืองไทย (อันนี้กลุ่มพยาบาลจิตเวชรุ่นก่อนจะทราบดี)

ถ้ามองเรืองความรุนแรงแบบนี้

ในฐานะคนทำงาน ก็ต้องมองแบบเรืองของ Aggressive management

ในฐานะประกันคุณภาพ ก็ต้องมองแบบเรืองของ Risk management

ในฐานะหัวหน้างาน ก็ต้องมองเรือง work's motivation and morale

ในฐานะอาชีวอนามัย ก็ต้องมองเรือง risk and safety in workplace

ผมขอขยายความในเรือง Assault in nursing และ Aggressive management นะครับ เพราะเป็นเรืองที่เจอบ่อยในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชครับ

ขอบคุณมากๆค่ะ มัทเป็นหมอฟันไม่ได้อยู่ดูแลคนไข้ 24 ชม. เลยเคยโดนแค่ตะโกนใส่ กับพยายามทุบตี แต่เท่าที่ผ่านมายังหลบทันค่ะ มีผู้ช่วยเคยโดนเล็บคนไข้จิกเลือดออก นั่นคือมากสุดแล้ว เห็นแล้วไม่เคยโกรธเลยแต่เห็นใจคนไข้และคนที่ต้องดูแลคนไข้ 24 ชม.

วีดีโอที่ส่งให้ดูเป็นเรื่อง resident assult resident ด้วยกันเอง เพราะตอนนี้คนไข้ dementia มีมากขึ้นมาก และไม่ได้แยกออกไปอยู่สถานพยาบาลทางจิตเวช

มัทเลยมีคำถามในใจสำหรับคนที่เห็นความสำคัญของการให้คนไข้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างพี่เชษฐ์เห็นอย่างไรกับเรื่องที่ว่าเราควรจะแยกคนไข้ออกไปหรือไม่ ไม่ว่าจะออกไปจาก รพ. ธรรมดา ออกไปจากบ้านพักผู้สูงอายุ หรือ ออกไปจากบ้านก็ตาม

มัทคิดถึงเรื่อง asylum ที่ Foucualt เขียน ว่ามันเหมือน "Out of sight out of mind" แต่พอมาเห็นว่า สถานพยาบาลดีๆแบบในวีดีโอที่เป็นของทหารผ่านศึกของแคนาดาทำก็รู้สึกว่า  hmmm ผู้สูงอายุเหล่านี้น่าจะมีความสุขดี มันขึ้นอยู่กับการดูแลจริงๆไม่ว่าสถานที่จะเป็นที่ไหนก็ตาม

แล้วจะตามอ่านเรื่อง Assault in nursing และ Aggressive management ค่ะ

หวัดดี น้องมัท

ในประเด็นที่ว่า ควรจะแยกประเภทคนไข้ และก็จัดสถานที่ไว้เฉพาะสำหรับคนไข้แต่ละประเภทหรือไม่

อันนี้เป็นดาบสองคมครับ

ในแง่ดี ก็คือว่า คนไข้ได้รับการดูแลโดยคนที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพราะต้องมีการอบรมการดูแลคนไข้เฉพาะโรคอยู่แล้ว นอกจากนี้ การจัดเตรียมสถานที่ก็สามารถออกแบบให้เหมาะกับคนสูงอายุ หรือคนสมองเสื่อม รวมถึงการจัดกิจกรรม self help group ก็จะ่ง่ายเพราะเป็นคนไข้ชนิดเีดียวกัน

สรุปแล้ว ก็เหมือนจะ win win ทั้ง คนไข้และผู้ดูแล

(จากประสบการณ์คนไข้บางคนบอกว่า เขาไม่ได้บ้า ไม่ได้แก่เลอะเลือนทำไมต้องมาอยู่กับคนพวกนี้ด้วย)

แต่ปัญหาก็คือว่่า

ภายใต้ทรัพยากร งบประมาณ บุคลากรอันจำกัด การจะสร้างยูนิตเฉพาะสำหรับคนไข้เฉพาะโรคหรือกลุ่มโรค ก็อาจจะไม่คุ้มทุน หากจำนวนคนไข้ไม่มากพอ

การสร้างหน่วยงาน หรือ สถานบริบาลเฉพาะ สำหรับคนเหล่านี้ เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้ญาติเอาคนไข้มาฝากมากขึ้น ระบบครอบครัวก็จะเสียไป อีกทั้งต้นทุนต่า่งๆ ก็เพิ่ม ดังนั้นการดูแลคนไข้แบบ Asylum ที่เมือก่อนเคยใช้กับคนไข้จิตเวช เลยค่อยๆ เลือนหายไป

โดยตอนนี้ หลายประเทศ รวมทั้งไทย ก็กำลังสู่ยุค Deinstitutionalization ก็คือ นโยบายการผลักดันให้คนไข้ ไปใช้บริการในชุมชน หรือทำการบำบัดรักษาในชุมชน (โดยอาจจะมีเครือข่ายบริการรองรับ หรือ ทำงานร่วมกับ หน่วยบริการอื่นที่ดูแลในลักษณะเดียวกัน)

ปัญหาถัดมาก็คือว่า สำหรับโรคบางโรค ไม่สามารถทำได้ เพราะเหมือนกับเป็น การ label คนไข้ เช่น ใครไป รพ สมเด็จเจ้าพระยา ก็ถูกมองว่าเป็นคนบ้า ใครเดินออกจาก รพ. บำราศนราดูร ก็ถูกมองว่า เป็นคนเอดส์ ใครเดินออกจาก นิคมโรคเรื้อนก็ถูกมองว่าเป็นโรคเรื้อน เป็นต้น

เพือลดปัญหา stigmatization เราก็เอาคนไข้มารวมๆ โดยให้หน่วยบริการแต่ละแห่ง สามารถดูแลคนไข้ได้ครอบคลุม ใครที่ไหนก็เข้าไปใช้บริการได้ เพราะคนมากมาย จะแยกไม่ได้หรอก ว่า คนไหนเอดส์ไม่เอดส์ บ้าไม่บ้า dementia หรือ คนแ่ก่งกเงิ่น

สำหรับสังคมไทย ที่ยังมีระบบครอบครัวคอยสนับสนุน จึงคิดว่า ควรใช้ประโยชน์จากครอบครัวก่อน และ family intervention ควรมีการพัฒนาให้เหมาะสำหรับคนไข้แต่ละโรค

(ตอนนี้ในทางพยาบาลจึงมีสาขา family nursing การพยาบาลครอบครัว โดยมุ่งการส่งเสริมระบบครอบครัวให้เข้มแข็ง หรือ ปรับตัว เพื่อให้สู่ภาวะ wellness ทั้งรายบุคคลและครอบครัว)

นอกจากนี้ ทัศนคติ และความรู้ของคนไทย คงยังไม่เอื้อที่จะจัดทำให้ระบบบ้านพักสำหรับผู้ป่วยแต่ละประเภทได้ ถ้ามีจริง คนคงจะเข้าไปใช้บริการแบบ หลบๆ ซ๋อนๆ เพราะใครพาพ่อแม่ไปฝากเลี้ยง คงจะถูกประนามว่า เป็น "ลูกเนรคุณ" (แรงไปไหมเนี่ย)

อีกทั้ง งบประมาณ บุคลากร ที่ต้องเอื้อมากๆๆๆๆๆ ระบบถึงจะเป็นไปได้

แต่ไม่แน่ ในแ่ง่ของผู้สูงอายุ อาจจะมีระบบนี้ก็ได้ เนืองจากประชากรผู้สูงอายุนับวันยิ่งมากเรือยๆ บวกกับระบบครอบครัวกลายเป็น ครอบครัวเดียวมากขึ้น ดังนั้น น้องมัท อาจจะได้เห็นระบบนั้นก็ได้ครับ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่ตอบให้มัทยาวชื่นใจ

จริงๆมัทว่าบ้านเรามีระบบสถานพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุแล้วแหละค่ะ แต่มันคนละ form กับของโลกตะวันตก ก็เพราะวัฒนธรรมและระบบครอบครัวของเรา

ซึ่งจริงๆเรามีข้อดีมากมาย มัทเริ่มรู้สึกว่าสถานพยาบาลใหม่ๆที่รับดูแลผู้สูงอายุยังเอา model เก่าของโลกตะวันตกมา ซึ่งมันไม่ได้ดีเสมิไป จริงๆเราน่าจะทำระบบที่เหมาะกับเราเอง ปรับโน่นปรับนี่

มัทจะเขียนเรื่องนี้แยกเป็นอีกบันทึกดีกว่าค่ะ เดี๋ยวยาว ไว้ว่างๆกว่านี้ก่อน เพราะคิดมานานแล้ว

ทีนี่มีคนเอเชียมากมาย เค้าก็กลัวการถูกประนามว่าเป็นลูกทิ้งพ่อแม่เหมือนกันค่ะ มัทเห็นมาแล้วคนที่กลัวถูกประนาม ให้ผู้สูงอายุอยู่บ้าน แต่ไม่ดูแล ท่านเหงามากๆ ลูกให้ที่นอน ให้อาหาร แต่ไม่ดูแลแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ที่นี่เค้ามีทางออกที่เราน่านำมาเป็นบทเรียน
 เพราะคนเราอายุยืนมากขึ้นมาก โรค progress ไปไกล คนที่อายุยืนแต่ frail มากจะมากขึ้น บ้านเราต้องเริ่มคิดเรื่องระบบนี้อย่างจริงจังแล้วค่ะ

มัทเห็นด้วยกับ family support แต่ว่า เราจะช่วย family ได้อย่างไรบ้าง อาจจะมี nurse-next-door มี home health care ที่ดีกว่านี้ มี handyDart โอยยย คิดได้มากมายเลยค่ะ

ไปดีกว่าค่ะ เพ้อเจ้อมากแล้ว : P

 

หวัดดีครับน้องมัท

ไว้พี่จะแยกบันทึกออกไปใหม่นะครับ

รับทราบ

สวัดดี คะ เราได้ถกประเด็น นอกบล็อกกันมานาน ว่างๆ จะเข้ามาเยี่ยมชมใหม่นะคะ

สวัสดีครับ สบายดีไหมครับ ขอติดตาม RM ของอาจารย์อย่างต่อเนื่องครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท